ตุรกีได้เทคโนโลยีทางทหารจากเมกาและอิสราเอลมากจนผลิตแบล็คฮ็อคกะรถถังอแบรมได้ที่ีทางไทยน่าสนใจ ร่วมมือมาเลกะอินโดในการสร้างรถเกราะ
อียิปต์มีเทคโนโลยีของเมกา,โซเวียต,อังกฤษ,ฝรั่งเศส,อังกฤษ,เยอรมัน,จีน ผลิตอาวุธมากมายหลายอย่าง แต่ทางการเมืองในประเทศไม่นิ่ง
ปากีได้จากจีนมา จนผลิตเครื่องบินขับไล่กะรถถังได้ ขายให้บังกลาเทศ,ศรีลังกา,พม่า
อิหร่านศึกษาเทคโนโลยีจากเมกาเอง โดยจีนกะรัสเซียหนุน จนทำให้f-4,f-14,f-5บินได้ ยิ่งกว่านั้นยังดัดแปลงกะสร้างf-5ขึ้นมาใหม่ได้ รถถัง,รถเกราะก็ก็อปจีนกะรัสเซียได้ แต่เมกาแบนอิหร่านทุกวิถีทาง!
สามประเทศนี้น่าร่วมลงทุนมาก ทางไทยน่าจะร่วมลงทุนในการสร้างหรือปรับปรุงรถถัง,รถเกราะที่มีเหมือนกัน ปัจจุบันมีการแข่งขันมากไม่ต้องง้อมหาอำนาจก็ยังได้ ถ้าไม่ติดแบนนิวเคลียร์อิหร่านกะปากี ไทยส่งคนไปเรียนเรื่องนี้ที่อิหร่านกะปากียังได้เลย สำหรับความร่วมมือทางอิหร่านคงอีกนานอยู่
ปล.ทั้งสี่ที่นี้สามารถผลิตอาวุธทหรารบภาคพื้นดินออกขายตลาดโลกได้อยู่
ผมเห็นด้วยกับแนวคิดครับ แต่ควรห่างๆประเทศที่มีโอกาสลากเราเข้าไปสู่ปัญหาความขัดแย้งด้วย. ผมมองจับมือกับสวีเดน บราซิล แอฟริกาใต้ครับ อยู่คนล่ะทวีปร่วมกันวิจัยอาวุธแล้วช่วยกันขายในแต่ล่ะภูมิภาค น่าจะดีกว่า
การพัฒนาอาวุธของไก่ง่วง ยังเป็นการพัฒนาระดับปลายน้ำอยู่ครับ (เหมือนของ ดีที ไอ เรา) ไม่เหมือนของญี่ปุ่น ซึ่งพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเลยครับ ส่วนเกาหลีเริ่มพัฒนาเทคโนโลยี่กลางนำ้และต้นน้ำได้บางส่วนแล้ว เพราะฉนั้น สำหรับไก่ง่วง ถ้าต่างประเทศไม่ขายเทคโนโลยี่ ประเภทชิ้นส่วนสำเร็จพร้อมประกอบติดตั้งให้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี่ต้นน้ำให้ ไก่ง่วงก็ไม่สามารถทำรถหุ้มเกาะล้อยางได้ครับ (รถถัง ยานรบอื่นก็เช่นเดียวกัน)
-ชุดเพลาและล้อ จากคานาดา (มีเทคโนโลยี่ให้เลือกให้อีก จากเยอรมัน ฝรั่งเศษ อิตาลี)
-เครื่องยนต์และเกียร์ จากอเมริกา (มีเทคให้เลือก จากอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศษ อิตาลี)
-แผ่นอะลอยเกาะกันกระสุน จาก สวีเดน (มีให้เลือกอีก จาก เยอรมัน อเมริกา)
(สังเกตดูนะครับ รถหุ้มเกาะส่วนใหญ่มันใช้ชิ้นส่วน มาจากแหล่งเดียวกันแทบจะทั้งหมด ที่ทุกประเทศพัฒนามา ยกเว้นญี่ปุ่น รัสเซีย)
ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมมันจึงทำราคาลงมาได้ไม่มากนัก เพราะถ้าผลิตเอง มันลดค่าแรงงานและการกำหนดอัตราผลกำไรที่ลดลงได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็มากอยู่นะ มากกว่าซื้อสำเร็จรูปโดยตรง)
ขนาดนั้นไทยเรายังไม่ยอมพัฒนาเองเลยครับ เรารับช่วงการพัฒนาระดับปลายน้ำจากเพื่อนบ้านทางใต้มาอีกต่อหนึ่งครับ มันเลยเป็นการซื้อเทคโนโลยีกันมาหลายช่วง ยิ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก
หากเราพัฒนา ระดับปลายน้ำเองทั้งหมด ไม่ผ่านใคร ซื้อเทคโนโลยี่สำเร็จพร้อมประกอบ จากต่างประเทศโดยตรง เช่น มาร์ซัน ชัยเสรี เราก็จะลดต้นทุนได้มาก
ผมว่าในเวลานี้ ถึงเวลาที่ ดีทีไอ ควรเริ่มต้นพัฒนา แท่นปืน รีโมสคอนโทรล ได้แล้ว เพราะราคามันแพงมากเหลือเกิน (ไม่รวมปืน) และเทคโนโลยีนี้ ถ้าเป็นชนิดที่ไม่รักษาระดับอัตโนมัติ ใช้แค่การเล็งออพติเคิลปกติมันเป็นเทคโนโลยีพลเรือน ที่มีพอหาซื้อได้ครับ เหมือนกับการขายโดรนพลเรือนครับ เราแค่พัฒนาเทคโนปลายน้ำให้มันออกมาใช้งานได้จริง ยิงแล้วเข้าเป้า สำหรับใช้กับปืนกลหนัก (.50 นิ้ว) และปืนกลเบาก็พอแล้ว
ถึงเวลานี้แล้ว มันถูกบังคับให้ต้องทำเสียแล้ว ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่ หรือมีความรู้มากน้อยแค่ไหน 5555 (โลกแห่งความจริง)
การใช้เทคฯ ปลายน้ำตอนนี้ สำหรับรีโหมดขนาดเล็ก ก็ต้องเลือกซื้อเทคโนโลยีที่มีในท้องตลาด (ต่างประเทศ) ครับ
แนวแรกน่าจะเป็น เทคฯ แขนกลของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมตัวเล็กที่มัน Fine moving มากๆ กับกล้องติดรถยนต์ 3-5 ตัว พร้อมดอทเลเซอร์ติดปืนธรรมดาไปก่อนกัน ครับ ถ้าเคลื่อนที่ช้าๆ ก็น่าจะยิงเข้าเป้าอยู่นะ เพราะปืนกลหนักยิงด้วยมือมันก็ได้ประมาณนี้ละครับ
(เทคโน หุ่นยนต์ ทั้งฮาร์ด ทั้งซอฟ ทางพลเรือนมันช่วยได้มาก แต่ตอนนี้เอาแต่ฮาร์ด มาต่อยอดก็น่าจะพอครับ)
มีอารมณ์ มีแรงจูงใจมากขึ้นค่อยยกระดับ ไปพัฒนาอะไรที่สูงขึ้นอีก มันก็มีเทคฯ ขายในระดับนั้นอยู่ดีละครับ
ค่อยๆ เริ่ม อย่ารีบร้อน แต่ก็อย่าอยู่เฉยละ อยู่เฉยมันไม่มีอะไรน่าภูมิใจ นับหนึ่งเมื่อไร จึงจะมีโอกาสนับสองได้ครับ
ล่าสุดทอ.ฟิลิปินเอาC-130H (t/n: 4704)ไปซ่อม6ปีตามโครงการStructural Maintenance Program (SMP)ที่อายรอดมาเล ทั้งๆที่ฟิลิปินมีศักยภาพประกอบกะผลิตเครื่องบินSIAI-211มาแล้ว ไทยเองก็เคยเอาC-130ไปซ่อมที่อายรอดมาแล้ว ก่อนจะมีศูนย์ซ่อมสร้างอากาศยานที่เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย
ผมเล็งสวีเดนเหมือนท่านระยอง. ประเทศนี้มีเทคโนโลยีครบทุกด้าน แทบจะพูดใด้ว่าถ้าให้เลือกแค่ประเทศเดียวในโลกที่เราจะซื้ออาวุธ ผมเลือกสวีเดนนี่ล่ะ
เจาะจงไปที่เรื่องเครื่องบินรบ ผมมองว่า อีก 25ปีจากวันนี้ ถึงไทยยังไม่มี บ รบ gen 5 ก็ยังไม่น่าจะเข้าข่ายวิกฤติ มองที่ตอนนี้ ยกเว้น 701 แค่ฝูงเดียว ที่ยังไปต่อใด้อีก 25ปี ที่เหลือจะทยอยหมดอายุไปเรื่อย จะเอาอะไรมาแทนก็วนๆไปที่ค่าย สรอ อีก ข้อเสียคือขยับทำอะไรด้วยตัวเองยากมาก ถ้ามองว่า 25 ปีจากนี้ ทอ ต้องการ gen 4.75 รวมทั้งหมด 75 ลำ บวก AeWAC อีก 6 ลำ บ ตรวจการทางทะเลอีก 4ลำ เราขยับไปเป็น partner กับ Sabb ใด้แน่ๆ คุยเรื่องประกอบที่นี่ ศูนย์ซ่อมบำรุงที่นี่ ฯลฯ
อนาคตของ gripper ไม่ดับแน่ๆ เพราะยังไง ทอ สวีเดน ก็ใช้ grippen แน่ๆ ประวัติศาสตร์เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ viggen. Draken. ว่าแต่ว่า จริงๆแล้ว ทอ ไทยเรา รัก grippen แค่ไหน อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ
แปลกแต่จริงรถเกราะเยอรมันเทคโนโลยียุค80 แต่ปัจจุบันบริษัทเกาหลีใต้เอาไปผลิตใหม่(ไม่รู้ว่าก็อปปี้ปะ)ตั้ง2บริษัท แต่ก้ยังขายได้อยู่!? https://en.wikipedia.org/wiki/TM-170 แสดงว่าเทคโนโลยีเยอรมันยังคงล้ำสมัยอยู่
ล่าสุดตุรกีผลิตฮ.แบล็คฮอคในชื่อT-70ออกขายละ
บังลาเทศปรับปรุงรถถังT-59จำนวน174คันให้เป็นปืนใหญ่125มม. หลักๆปรับปรุงโดยป้อมกะปืนจากจีน มีระบบนชค. ระบบดับไฟไหม้เอง ระบบการยิง,วิทยุกะเครื่องยนต์ใหม่ สายพานยาง ปรับปรุงละหนักกว่าของเดิมนิดเดียวเอง ปรับปรุงโดยบริษัทในประเทศตนเอง
ถ้าราคาถูกหรือมีข้อเสนอน่าสน รถถังT-69ไทยอาจมีโอกาส กลับมาใช้ประจำการหลักได้อีกครั้ง
ปล.ภาพทุกอย่างของรถถัง,เครื่อบิน,ฯลฯ ทำไมถึงมีแต่มุมซ้าย ไม่มีมุมขวาเลย ไม่เข้าใจ?
Specifications | |
---|---|
Mass | 40 tonnes (39 long tons; 44 short tons) |
Length | 6.04 metres (19.8 ft) (hull) |
Width | 3.27 metres (10.7 ft) |
Height | 2.59 metres (8 ft 6 in) |
Crew | 4 |
Main armament |
125 mm main gun |
Secondary armament |
2 x Type 80 7.62 mm coaxial machine gun 1 × Type 85 12.7 mm heavy machine gun |
Engine | Diesel 730 hp |
Speed | 49 kilometres per hour (30 mph) |
รถถังT-59บังกลาเทศปรับปรุงใหม่ ด้านข้างซ้าย
รถถังT-59บังกลาเทศปรับปรุงใหม่ ด้านบน
รถถังT-59บังกลาเทศปรับปรุงใหม่ ด้านหลัง
เปรียบเทียบรถถังที่ใช้ปืนใหญ่125มม. สังเกตป้อมปืนของบังลาเทศใหญ่กว่าจีนกะของปากี แถมมีพลรถถังมาก คาดว่าใช้ระบบยิงเอง ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ
ช่วงนี้ตุรกีมาแรง
-ได้ขายรถเอ็ม113แบบaifvให้มาเล(มาเลก็มีแบบนี้ที่เกาหลีใต้ขายให้มาเลเป็นชาติแรก
-ร่วมลงทุนผลิตรถถังกะอินโด เสนอขายให้ฟิลิปปิน
-ขายรถเกรดดินทางทหารให้ฟิลิปปินไปละ
ไม่แน่ไทยอาจร่วมมือกะตุรกีก็ได้
เสียดายอีกเช่นเดิมที่รถถังVN-18ก็ไม่จรวดให้อีกเช่นกัน
ปล.กูเกิ้ลโครมบล็อกเว็บที่ล็อกอินไปหลายที่รวมเว็บนี้ด้วย!