หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ศาลาโกหก: เครื่องบินขับไล่แบบที่๒ บ.ขล.๒ F-14 กองทัพเรือไทย

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 01/04/2019 18:24:09

เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒ (บ.ขล.๒ ก/ข) แบบเครื่อง F-14B "TOMCAT", F-14D "SUPER TOMCAT"
https://aagth1.blogspot.com/2019/04/f-14d.html

ขอขอบคุณข้อมูล(ที่ไปจับตรงนั้นตรงนี้มาดัดแปลง)จาก website กองการบินทหารเรือ

Happy April Fool's Day





ความคิดเห็นที่ 1


F-14 นี่ผมมองทีไรก็ชอบ ชอบกว่าทุกแบบที่อเมริกามี

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 01/04/2019 16:28:33


ความคิดเห็นที่ 2


สำหรับการทดแทนเครื่องบินโจมตี บ.จต.๑ A-7E Corsair II ๑๘เครื่องที่ กบร.ปลดประจำการไปในปี ๒๕๕๑ นั้น

ถ้ากองทัพอากาศไทยสามารถที่จะสามาถจัดหาเครื่องบินรบไอพ่นมือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯได้อยู่

เครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II หรือเครื่องบินขับไล่ F/A-18A+/B/C/D Hornet เป็นตัวเลือกที่เป็นได้มากกว่าและดีกว่า F-14 ครับ

เพราะ Harrier II เอามาแทน บ.ขล.๑ AV-8S ในการปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศรได้

ส่วน F/A-18 Hornet รุ่นดั้งเดิมก็เป็นเครื่องที่มีสมถรรนะการใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินที่หลากหลายกว่า F-14

(แต่ในช่วงที่ A-7E ปลด สหรัฐฯมีเครื่อง Hornet กับ Harrier ไม่พอใช้งาน ไม่ทราบจะมีเครื่องสำรองไว้ขายต่างประเทศหรือไม่)

แต่มีเรื่องที่น่าสนใจว่า F-14B/D ใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินได้หลายอย่างเท่าที่เคยเห็น A-7E ติดตั้งใช้เลย

เช่น F-14B/D ติดระเบิด Mk82 ได้ถึง ๑๘นัด หรือระเบิดอมภัณฑ์ย่อยต่อต้านยานเกราะ Mk 20 ได้ ๑๐นัด

กระเปาะจรวด LAU-10 ความจุ ๔นัด สำหรับจรวด Zuni ๕นิ้วได้ ๗กระเปาะ(๒๘นัด) หรือกระเปาะจรวด LAU-68 ความจุ ๗นัด สำหรับจรวด FFAR ๒.๗๕นิ้วได้ ๗กระเปาะ(๔๙นัด)

รวมถึงกระเปาะชี้เป้า LANTRIN พร้อมระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล Paveway II หรือ ระเบิดนำวิถีดาวเทียมตระกูล JDAM ที่ไม่เห็นว่า A-7E ของกองทัพเรือไทยเคยติดด้วย

ในแง่อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนอกจาก AIM-9 Sidewinder ที่ กบร.มีใช้กับ AV-8S กับ A-7E มาก่อนแล้ว

F-14 สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-7 Sparrow ได้ แม้ว่าจะทันสมัยน้อยกว่า AIM-120 กองทัพอากาศไทยใช้ก็ตาม แต่ก็ยังมีหลายประเทศใช้อยู่

(มีเหตุผลบางประการที่ ทร.จะไม่ได้รับอาวุธอากาศสู่อากาศที่สมรรถนะสูงกว่าที่ ทอ.มีใช้)

ในแง่อายุการใช้งาน เครื่องที่กองทัพเรือจะจัดหาจะประกอบด้วย F-14B ในสายการผลิตใหม่ ๓๘เครื่องช่วงปี 1987-1990

กับ F-14D ที่อยู่ในสายผลิตใหม่ ๓๗เครื่องช่วงปี 1989-1992 ไม่ใช้เครื่อง F-14A มา Upgrade ใหม่

ทำให้อายุการใช้งานถ้าเอามาแทน บ.จต.๑ A-7E หลังปี 2006 ที่เครื่องปลดจากกองทัพเรือสหรัฐฯจริงๆจะใช้ได้อีกไม่ต่ำกว่า ๑๕-๒๐ปี พอๆกับ F-16 ADF

แต่ถ้าได้มาจริง(ซึ่งในความจริงเป็นไปไม่ได้หรอก) กบร.คงไม่ทำการบิน F-14 บ่อยนัก เพราะค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการสูงมาก

อีกทั้งสหรัฐฯคงจะต้องส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเครื่องที่สนามบินอู่ตะเภาอย่างเข้มงวดตลอดด้วยครับ(กลัวอะไหล่หรือข้อมูลอะไรอื่นๆจะหายไปที่อิหร่าน)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/04/2019 18:24:09