https://www.facebook.com/MyanmarAF/videos/272498913434285/
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/jf-17.html
ตามหลังการทำพิธีรับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder จำนวน ๔เครื่อง อย่างเป็นทางการในวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่าปี 2018
Music Video ที่กองทัพอากาศพม่าเผยแพร่ออกมายังเปิดเผยถึงระบบอาวุธของ JF-17 ที่เป็นนับเป็นก้าวกระโดดทางขีดความสามารถทางอากาศของพม่าอย่างมาก
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-5EII จีนนั้นมีขีดความสามารถเทียบเท่ากับ AIM-9L Sidewinder สหรัฐฯ
ซึ่งเป็นอาวุธอากาศสู่อากาศมาตรฐานที่กองทัพอากาศพม่านำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่ F-7M ที่จัดหามาในช่วงปี 1990s แล้ว
แต่อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง SD-10A ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ PL-12 จีนที่เทียบเท่ากับ AIM-120A/B สหรัฐ นับเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Active Radar แบบแรกของกองทัพอากาศพม่า
เพราะเครื่องบินขับไล่ MiG-29B/SE รัสเซียที่จัดหามานั้นพบว่าใช้เฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-27R ที่นำวิถีแบบ Semi-Active Radar
ยิ่งกว่านั้นยังปรากฎภาพอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802AK ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำแบบแรกของกองทัพอากาศพม่า
ที่นับเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อกองทัพเรือของประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับพม่า ซึ่งยังไม่ทราบว่า JF-17 จะยังมีอาวุธที่ทันสมัยแบบอื่นๆอีกหรือไม่ครับ
รุ่นของพม่า เราจะเรียกว่า JF-17 หรือ FC-1 ดี
ในสื่อต่างๆของพม่าจะเรียก บ.ขับไล่ใหม่นี้ว่า JF-17M Thunder คงเพราะว่าเครื่องมีสายการผลิตหลักที่โรงงานอากาศยาน Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน
อีกทั้งความต้องการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7M และเครื่องบินโจมตี A-5C พม่ายังมีแผนที่ทำการประกอบ JF-17 ในพม่าด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/jf-17.html)
ภาพบนนี่...เห็นการติดอาวุธโชว์.....ถ้าจะให้เสียงประกอบหนังพม่า ก็ต้องประมาณว่า........" เฮ้ย..!!!!! เอ็งหน่ะ......เอ็งนั่นหล้ะ....ไง....ได้ข่าวว่า มะก่อน สดหรา จี๊ดเลยสิท่า......"
เครื่องฝึกจำลองการบินของเครื่องบินขับไล่ JF-17 กองทัพอากาศพม่าที่แสดงใน MV ดูมีความทันสมัยใหม่ครับ
แบบนี้ต้องจัดJAS-39 C/Dขั้นตำ่มาอีก21ลำ ดุลอำนาจจะได้สมดุลกันทั้งภูมิภาค เพราะพม่าจัดSUมาด้วยนิแต่ผมไม่แน่ใจว่ารุ่นไหนนะครับ
การจัดหา Gripen C/D เพิ่มของกองทัพอากาศไทยจะติดประเด็นที่ว่าถ้าจะลงนามสัญญาจัดหาภายในเร็วๆนี้คือปีงบประมาณ ๒๕๖๒ นี้ สวีเดนจะมีแต่เครื่องที่เก็บสำรองไว้
เนื่องจากปัจจุบัน Saab ได้ปิดสายการผลิต Gripen C/D ไปหลายปีแล้ว เพื่อเปิดสายการผลิต Gripen E/F แบบเต็มอัตราให้กองทัพอากาศสวีเดนเอง และส่งออกให้บราซิลพร้อมสิทธิบัตร
แถมการแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของหลายประเทศในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ Gripen สวีเดนก็แพ้เครื่องบินขับไล่แบบอื่น
แม้ว่า Saab จะประชาสัมพันธ์ว่าพร้อมที่จะเปิดสายการผลิต Gripen C/D+ รุ่นปรับปรุงโดยใช้มาตรฐานล่าสุดได้ถ้าลูกค้าสั่งจัดหา
แต่นั่นก็คงต้องมีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาพอสมควรถ้ากองทัพอากาศไทยจะสั่งจัดหาในรูปแบบนั้น
หรือถ้ากองทัพอากาศไทยจะเลือกจัดหา Gripen C/D ที่สวีเดนเคยประจำการมาก่อน แม้จะอยู่ในสภาพดีและชั่วโมงการใช้งานน้อย
ก็คงจะถูกวิจารณ์ว่าซื้อเครื่องมือสองมาอีกแล้วและก็ถูกต่อต้านอย่างหนักอยู่ดี
ซึ่งในอนาคตอันใกล้การที่กองทัพอากาศไทยจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่นั้น คงจะเป็นอะไรที่ยุ่งยากและลำบากมากๆครับ
สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 จำนวน ๖เครื่องของกองทัพอากาศพม่า มีข้อมูลออกมาสองกระแสครับคือ
๑.เป็น Su-30SME รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่าเพิ่งไปทำการบินที่รัสเซียมา(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30sm.html)
๒.เป็น Su-30K ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอินเดียคั่นระยะก่อนการรับมอบ Su-30MKI แล้วต่อมาอินเดียคืนให้รัสเซีย ก่อนขายต่อให้แองโกลาเป็นลูกค้ารายแรก
ซึ่งถ้าเป็น Su-30K ราคาจะถูกเป็นพิเศษและส่งมอบได้เร็วครับ
พม่าเครื่องบินมีจำนวนระดับปานกลางอยู่นะ
ทดสอบการลงจอดสนามบินในตะวันออกกลางขณะเกิดพายุทะเลทรายด้วยระบบช่วยการเดินอากาศ
จะเห็นได้ว่าระบบ Avionic และการแสดงผลในห้องนักบินของเครื่องบินขับไล่จีนยุคใหม่ดูมีความเป็นตะวันตกมาก
เกมจำลองการบิน DCS: JF-17 กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาครับ