มีความเป็นไปได้มั้ยครับที่ AV-8B Harrier II จะเกิดใน ทร.ไทย ประจำการที่ HTMS Chakri Naruebet; CVH-911
คงยากแล้วครับ ด้วยที่ว่า AV-8B+ ก็อายุอานามมากแล้ว อะไหล่ก็ไม่มีผลิตใหม่แล้ว แถม นย.สหรัฐก็ยังใช้ไม่ได้ปลด เพราะว่าโครงการ F-35B ล่าช้าไปมาก
ถ้าเป็นเมื่อสักสิบปีก่อนคงน่าสนใจ แถมยังเคยนั่งลุ้นกันอยู่ตอนที่อังกฤษจะปลด Harrier FA2 ว่าถ้า ทร.ไทยจะซื้อต่อมาใช้บนเรือจักรีก็ดี แต่เครื่องของอังกฤษที่ปลดถูกทร.สหรัฐมาซื้อเหมาเข่งไปเพื่อไปใช้เป็นอะไหล่ให้กับ AV-8B ของตัวเองไปในระหว่างที่ยังไม่ได้รับมอบ F-35B เสียนี่
เรือจักรีฯ ลำใหญ่ ใส่ชุดควบคุม UAV ลงไปสัก 2 ชุด (ทำนองว่า ยกฝูง 404 ลงเรือไปเลย) สามารถทำได้ไหมครับ
เครื่องบิน AV-8B Harrier II ปัจจุบันยังไม่ล้าสมัยครับ สามารถต่อยอดอัพเกรดได้อีก โดยมีข่าวว่า ปรับปรุงขีดความสามารถอื่นๆยังรวมถึงเครือข่ายทางยุทธวิธี Link 16 และการบูรณาการระบบรับส่งข้อความ VMF(Variable Message Format) สำหรับการทำงานร่วมกันแบบ Digital
การขยายขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) เช่นเดียวกับ Harrier II+ ที่ส่งออกให้กองทัพเรืออิตาลี และกองทัพเรือสเปน และปรับปรุงการเข้ากันและการดำรงสภาพของ radar AN/APG-65 รวมถึง หมวกนักบินติดจอแสดงผล HMCS (Helmet-Mounted Cueing System) สำหรับนักบิน เพื่อขยายขีดความสามารถการโจมตีสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดของ Harrier โดยหมวก HMCS จะเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์ด้วยการแสดงสัญลักษณ์ระบบการบินและอาวุธสู่สายตาของนักบินโดยตรง
ถ้าทร.จัดหามือ2จากสหรัฐฯมาด้วยราคาไม่สูงมากนักและปรับปรุงขีดความสามารถแล้ว อายุการใช้งานต่ำๆน่าจะมี15ขึ้นไป ถ้าคำนวณแล้วมีความคุ้มค่า เชื่อได้เลยว่าอาจจะมีสิทธิ์ที่เรือหลวงจักรีนฤเบศรจะมีเครื่องบินกลับมาประจำการอีกครั้ง ถ้ารอ F35B บอกได้เลยว่ายังอีกยาวไกลในระยะ20ขึ้นไปแน่นอน อีกทั้ง ถ้าทร.จัดหา AV-8B Harrier II มือ2 ก็ไม่ต้องปรับปรุงตัวเรือใหม่ ไม่เหมือนกับF35Bหากนำเข้ามาประจำการต้องปรับปรุงตัวเรือใหม่หลายๆจุด
เรือหลวงจักรีนฤเบศรกับอากาศยานปีกตรึงทดแทน
https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html
ประวัติแนวคิดการจัดหาเครื่องบินขับไล่ไอพ่นประจำ ร.ล.จักรีนฤเบศร ทดแทน บ.ขล.๑ก AV-8S Harrier ของกองทัพเรือไทย ผู้เขียนได้เขียนไว้ครบถ้วนแล้วตามบทความดังกล่าว
โดยสรุปคือ แผนการจัดหา บ.ขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของกองเรือไทยเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรฐกิจในปี 1997
จากการตัดลดงบประมาณกลาโหมในช่วงนั้นทำกองทัพเรือไทยไม่สามารถจะสั่งจัดซื้อ AV-8B Harrier II+ ใหม่จากโรงงานของ Boeing ที่ปิดสายการผลิตในปี 2003 ได้
ตัวเลือกเครื่องมือสองคือ Sea Harrier FA.2 ที่ปลดประจำการจากกองทัพเรืออังกฤษในปี 2006 ก็เป็น 1st Genearation Harrier แบบเดียวกับ AV-8A/AV-8S ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องอะไหล่ในระยะยาวเพราะผู้ใช้งานรายอื่นเลิกใช้แล้ว
ถ้าจะจัดหา AV-8B Harrier II+ ที่เป็นเครื่องส่วนเกินของนาวิกโยธินสหรัฐฯควรจะจัดหามาตั้งแต่ปี 2004-2006 ก่อนที่กองทัพเรือจะปลด AV-8S ในปี พ.ศ.๒๕๔๙(2006) แล้ว
USMC seeks HMCS for Harrier II+ aircraft
https://www.janes.com/article/85013/usmc-seeks-hmcs-for-harrier-ii-aircraft
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/hmcs-av-8b-harrier-ii.html
ซึ่งกองทัพอากาศอังกฤษก็ปลดประจำการเครื่องบินโจมตี Harrier GR.9A ของตนในปี 2009 ซึ่งเป็น 2nd Genearation Harrier แบบเดียวกับ AV-8B ที่สหรัฐฯ อิตาลี สเปนใช้
โดยสหรัฐฯได้ซื้อ Harrier GR.9A ของอังกฤษมาเป็นอะไหล่ให้ AV-8B ของตน ซึ่งหลังจากการปรับปรุงความทันสมัยก็ตั้งใจจะใช้ไปจนถึงปี 2026 ซึ่งอิตาลี และสเปน ก็จะเริ่มปลดตามหลังจากนั้นเช่นกัน
ตอนนี้หลายฝูงบินของนาวิกโยธินสหรัฐฯที่ใช้ F/A-18D กับ AV-8B เดิมเช่น VMFA-121 กับ VMFA-211 ก็เปลี่ยนไปใช้ F-35B Lightning II แล้ว
ดังนั้นแนวคิดที่จะจัดหา AV-8B Harrier II+ สำหรับกองทัพเรือไทยนั้น เป็นสิ่่งที่ควรจะทำไปเมื่อ ๑๕-๒๐ปีที่แล้วตอนที่ บ.ขล.๑ก AV-8S กำลังจะปลด ซึ่งตอนนี้ไม่คุ้มค่าที่จะจัดหามาแล้วครับ
สำหรับเครื่อง AV8B ผมคิดว่าหากปรับปรุงตามแบบของสหรัฐทำ ก็จะทำให้ AV-8B มีความทันสมัยใกล้เคียงเครื่องยุค 4.5 ไม่ต่างอะไรกับการปรับปรุง F5 ของ ทอ. ไทย จึงมองว่าหากได้ AV-8B upgrade มาประจำการบนเรือจักรีฯ จำนวน 6 เครื่อง จะทำให้เรือมีขีดความสามารถสูงสุดตามที่ออกแบบไว้ สามารถคุ้มกันกองเรือได้เกินกว่าระยะที่เครื่องบินฝ่ายข้าศึกจะเข้ามาในระยะปล่อยอาวุธโจมตีกองเรือได้ ผมถือว่าช่วงนี้เหมาะสมที่สุดที่จะนำเข้าประจำการเพราะจากจำนวนที่เหลือประจำการในสหรัฐประมาณ 100 + แสดงว่ามีเครื่องจำนวนมากแล้วที่ปลดสำรองคลังไว้ หาก ทร. ได้มาในช่วงนี้ก็น่าจะประจำการได้นานโดยไม่มีปัญหาเรื่องอะไหล่ไม่ต่ำกว่า 15 ปี ( คิดจากปีที่สหรัฐวางแผนปลดประจำการในปี 2026 บวกไป 10-12 ปี)
ปัญหามีอย่างเดียวคือ ทร. จะมีงบประมาณในการจัดหาและคงสภาพความพร้อมรบไว้ได้หรือไม่ โดยหากจัดหามาแล้วมีสภาพไม่สมบูรณ์เหมือนตอน AV8A A7E คือ บินได้ แต่ไม่มีอาวุธ ไม่มีอะไหล่ ก็ไม่เอาดีกว่า ครับ
จำลองสถานการณ์รบ สมมุติว่า ทร. จำเป็นต้องส่งกองเรือรบออกไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพนอกประเทศแถวทะเลจีนใต้ ที่ห่างจากประเทศไทยเกินกว่าระยะเครื่องบิน JAS39 F16 จะคุ้มครองได้ โดยกองเรือประกอบด้วย เรือหลวงจักรีฯ (บรรทุก AV-8B Upgrade 6ลำ , ฮ. SH-60 ปราบเรือดำน้ำ 2 , ฮ.ลำเลียง MS-60S 2 , H145M 2) เรือคุ้มกันเป็นเรือหลวงท่าจีน เรือตากสิน เรือนเรศวร เรือสนับสนุนมี เรืออ่างทอง เรือสิมิลัน เรือสีชัง ที่ตรงนั้นหากมีเครื่องบินฝ่ายข้าศึกเข้ามา สมมุตฺิให้ให้ AV-8 บินลาดตระเวนวนรอบกองเรือที่ระยะ 100 กิโลเมตร บวกระยะยิงจรวดอัมรามไปอีก 100 กิโลเมตร ทำให้ระยะคุ้มครองกองเรือสามารถป้องกันตัวเองได้ตั้งแต่ระยะ 200 กิโลเมตร เกินกกว่าระยะที่ข้าศึกจะยิงอาวุธเข้าใส่กองเรือได้ หากไม่มีเครื่องบิน AV-8 ไปด้วย แล้วใช้แค่อาวุธประจำเรือระยะยิงสูงสุดไม่เกิน 40 กิโลเมตร ฝ่ายข้าศึกสามารถใช้อาวุธสาระพัดชนิดโจมตีกองเรือไทยได้ง่ายมากๆ ครับ
เงินน่ะ...มีม่ายย...
อย่ามาเบียด ท่าจีนลำ 2 ผมน่ะ.....5 5 5
เข้ามาตอบบท่านนริส การเอาฝูงบิน 404 ใส่ไปบนเรือ 911 ผมมองไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย เพราะ UAV ที่ประจำการในปัจจุบันบินได้ 100 กิโลเมตร และมีอุปกรณ์ตรวจจับกา-จอก มาก โดยปรกติแล้วถ้าเป็น UAV ขนาดเท่านี้เขาจะใช้เครื่องยิงสำหรับขาขึ้นและตาข่ายสำหรับขาลง เรือตรวจการของหน่วยยามฝั่งมาเลเซียยาว 45 เมตรก็ใช้งาน UAV แบบนี้อยู่ ฉะนั้นเราเอาฝูงบิน 404 มาลงที่ 911 มีค่าการทำงานเท่ากับเรือยาว 45 เมตร
ลำดับต่อไปอย่างที่เห็นในภาพยนตร์ฝรั่งเยอะมาก UAV ติดจรวดเฮลไฟร์ยิงจากที่ไหนไม่ทราบจัดการกับศัตรูได้ แต่อภิโถ...ศัตรูที่ว่าคือกองโจรอยู่กลางทะเลทราย มีปืนอาก้าไม่กี่กระบอกกับทหารอารักขาที่แพ้พระเอกทุกเรื่อง ส่วนของจริงในทะเลคือเรือฟริเกตทันสมัยมีเรดาร์ 3 มิติ ตรวจจับเป้าหมายได้ไกล 300 กิโลเมตร การส่ง UAV ติดจรวดเฮลไฟร์ไปยิงเรือ 4,000 ตัน ต้องยิงประมาณ 50 นัดถึงจะจมมั้งครับ เพราะจรวดลูกน้อยเดียวเอง ที่สำคัญทางนั้นโต้คืนด้วยของหนักเรือเราจะแย่เอา
ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเป็น UAV ติดจรวดต่อสู้เรือรบ ฮ่าๆๆๆๆ ไม่มีครับ ยังไม่มี UAV ประเภทนี้บนโลก ที่ใหญ่หน่อยคือเอาเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 427 มาทำ UAV เขาว่าจะติดตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำให้ได้ แต่ก็เล็กเกินไปที่จะติดจรวดยิงเรือ
ถ้าอย่างนั้นเครื่องบินปีกแข็งล่ะ อ่าาาาา...... ไม่มีครับ ปัจจุบันมีการพัฒนา UAV ปีกแข็งบินลงเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกาได้ แต่ยังเป็นแค่ต้นแบบอีก 10 ปีเป็นอย่างต่ำถึงจะพร้อมใช้งานจริง และเรือเราเล็กเกินไปที่จะใช้บินขึ้นบินลง แล้วถ้าจะเอาๆๆๆๆๆ ต้องทำอย่างไร ก็ต้องไปเอา F-35B มาพัฒนานั่นแหละครับ ราคา F-35B เท่าไหร่ให้คูณ 2 สำหรับค่าเครื่องบิน UAV ปริมาณน้อยที่สุดที่ผลิตได้ ไม่นับรวมงบพัฒนาอีก 2 หมื่นล้านเหรียญ กับเวลาในการตามแก้ไขอีก 10 ปี
สรุปก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบิน UAV ยังมีอยู่แค่ในนิยายแฟนตาซีครับ ไม่ใช่นิยายไซไฟนะครับ สตาร์วอร์นี่ก็นิยายแฟนตาซีเช่นกัน มีคนพูดเรื่องนี้เสมอๆ แต่คนพูดไม่เคยบอกเลยว่าจะเอา UAV ลำไหนมาใช้งาน เรื่องพวกนี้ตัดสินกันได้ง่ายมาก ถ้ามันทำได้จริงอเมริกา อังกฤษ พวกนี้คงมีไปนานแล้ว กองทัพเรือเราแค่ลอกการบ้านให้เหมือนเป็นพอ อย่าไปเอาประเภทใช้งานประเทศเดียวบนโลกเหมือนที่ผ่านมาเดี๋ยวจะเอวัง
การใช้งานเรือ 911 ก็คงใช้เหมือนประเทศออสเตรเลียนั่นแหละ คือมีฮ.ประจำไม่กี่ลำ เวลาทำภารกิจค่อยเอาฮ.มาลงบนเรือแล้วออกเดินทาง จะเป็นฮ. กองทัพเรือ กองทัพบก กองทัพอากาศ หรือตำรวจก็ได้ เรือลำใหญ่น่าจะรองรับได้ทุกประเภท ช่วงนี้ว่างๆ ทบ.ก็ลองซ็อมเอา MI-17 มาบินขึ้นบนลงบนเรือบ้าง ถึงเวลาใช้งานจริงจะได้ไม่เหวอ หมดยุคสมัยแล้วที่ต้องเป็นฮ.ทร.เท่านั้น
ปัจจัยสำคัญที่มักจะถูกหลายคนลืมไปเมื่อกล่าวถึงการจัดหาอากาศยานแบบใหม่ของแต่เหล่าทัพคือเรื่อง 'กำลังพล'
เป็นที่ทราบกันว่าอากาศยานแต่ละแบบจำเป็นจะมีนักบินเป็นผู้บังคับเครื่อง และช่างเครื่องทำการปรนนิบัติซ่อมบำรุงเพื่อดำรงความพร้อมปฏิบัติการ
ซึ่งในกรณีอากาศยานรบปีกตรึงเครื่องยนต์ไอพ่นของกองทัพเรือในอดีตทั้ง บ.จต.๑ A-7E Corsair II และ บ.ขล.๑ AV-8S Harrier นั้น
กองการบินทหารเรือได้ขาดช่วงการฝึกนักบินและช่างอากาศยานสำหรับอากาศยานแบบดังกล่าวมานานมากตั้งแต่ที่เครื่องบินที่กล่าวมาปลดไป
โดยประสบการณ์ในการจัดหาอากาศยานมือสองที่อะไหล่ปิดสายการผลิตไปแล้ว และไม่มีผู้ใช้งานเหลือแล้วหรือเหลืออยู่น้อยมาก
น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญหนึ่งทีทำให้ในช่วงหลายปีหลังมานี้ กบร.จึงเลือกจัดหาอากาศยานสร้างใหม่จากโรงงาน แม้ว่าจะจัดหาได้น้อยเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณก็ตาม
ดังนั้นในกรณีการจัดหา AV-8B Harrier II+ มือสองจากนาวิกโยธินสหรัฐฯ นอกจากตัวเครื่องและอะไหล่สำรองแล้ว ยังต้องมีการฝึกนักบินและช่างเครื่องที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่หมดตามมาด้วย
สำหรับเครื่องที่จะมีอายุการใช้งานไม่ถึง ๒๕-๓๐ปี ในภาพรวมอย่างไรก็ไม่คุ้มพอที่กองทัพเรือไทยจะนำงบประมาณที่มีจำกัดมาใช้ครับ
ลองให้เจ้าม้าป่าวิ่งบน 911 พอได้ไหมครับ
อีกรูป
อีกรูป
อีกรูป