หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ยุทธการพิฆาตฟ้าครองสมุทร ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เตรียมเข้าฉายในญี่ปุ่นปี 2019

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 19/12/2018 11:55:20

หลังจากที่เคยแนะนำการ์ตูนญี่ปุ่นแนวสงครามทางทะเลสมัยใหม่ "Aircraft Carrier Ibuki" (Kuubo Ibuki) โดยอาจารย์ ไคจิ คาวางูจิ(Kaiji Kawaguchi) ไปในปีที่แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/aircraft-carrier-ibuki-1st-sortie.html)

มีบางความเห็นกล่าวว่าการ์ตูนเรื่องนี้ไม่น่าจะได้ทำเป็น Animation เหมือน "ยุทธการใต้สมุทร" หรือ "Zipang" เพราะมีเนื้อหาค่อนข้างอ่อนไหวในประเด็นกรณีพิพาททางทะเลกับจีน

แต่ดูเหมือนจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามครับ เพราะการ์ตูนของ อ.คาวางูจิ เรื่องนี้ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สงครามแบบคนแสดง เตรียมเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นในปี 2019 แล้ว

ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวถ้าดูจากภาพยนตร์สมัยใหม่ของญี่ปุ่นที่กล่าวถึงกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในเชิงการเมือง-การทหาร น่ากลัวภาพยนต์เรื่องนี้จะออกมาคล้ายๆกับภาพยนตร์สัตว์ประหลาดเรื่อง "Shin Godzilla"(2016)

ที่ ๓ใน๕ส่วนของเรื่องเป็นการประชุมหารือกันของรัฐบาลญี่ปุ่นกับหน่วยงานความมั่นคง แทนที่จะยิงกันตูมตามแบบภาพยนตร์ Hollywood ครับ (ตัวอย่างหนังตัดมาแค่ฉากที่น่าตื้นเต้นเท่านั้น)





ความคิดเห็นที่ 1


ในโลกความเป็นจริงดูเหมือนว่าญี่ปุ่นกำลังมีความพยายามเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ว่าต้องการจะมี 'เรือบรรทุกเครื่องบิน' เป็นของตนเอง

โดยรัฐบาลญี่ปุ่กำลังจะพิจารณาแผนแนวทางโครงการกลาโหมแห่งชาติ(NDPG: National Defense Program Guidelines) ที่จะร่างในสิ้นปีนี้

ซึ่งรวมการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL ที่มีประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF) แล้ว

และการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL สำหรับนำมาปฏิบัติการจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF)

ซึ่งญี่ปุ่นมีแผนที่จะจัดหา F-35 ทั้งสองรุ่นรวมราว ๑๐๐เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/f-35b-izumo.html)

ทั้งนี้ทางด้านเกาหลีใต้เองมีแผนที่จะพิจารณาการจัดหา F-35B มาใช้ปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ของตนเช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/f-35b.html)

ถ้าแผนดังกล่าวเป็นจริงนั้นจะทำให้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ F-35B ปฏิบัติการได้เท่ากันสองลำคือ

DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga ของญี่ปุ่น กับ LPH-6111 ROKS Dokdo และ LPH-6112 ROKS Marado ของเกาหลีใต้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/lph-6112-marado.html)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 30/11/2018 18:32:04


ความคิดเห็นที่ 2


อย่างไรก็ตามถ้ามองจากภัยคุกคามทางทะเลและทางอากาศที่ญี่ปุ่นและอาจจะรวมถึงเกาหลีใต้อาจจะต้องเผชิญหน้าคือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA)แล้ว

นอกจากที่กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF) กำลังนำเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ อย่าง J-20 เข้าประจำการเป็นจำนวนมาก(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/j-20.html)

รวมถึงกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN) ที่จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินตามแบบเข้าประจำการพร้อมกัน ๒ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/type-002.html) และกำลังอยู่ระหว่างการสร้างลำที่๓ นั้น

ญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ที่มีเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ F-35A จะเสริมกำลังด้วย F-35B ที่ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตนเพื่อรับมือภัยคุกคาม ก็ยังนับว่ามีขีดความสามารถด้อยกว่าและช้ากว่าจีนอยู่พอสมควรครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 30/11/2018 18:42:38


ความคิดเห็นที่ 3


กฏหมาย รธน ของยุ่นไม่ได้อนุญาติให้มีเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ยุ่นก็แหกกฏได้  (แสดงว่ากฏหมายยุ่นไร้ความหมาย)  และ อะไรๆที่เขียนในกฏหมายยุ่นทั้งหมด(ที่เกี่ยวกับด้านทหาร)  ล้วนเอาไว้หลอกเพื่อนบ้าน...วันใดยุ่นจะสร้างนุก ก็อย่าได้แปลกใจ

(เคยมีสมาชิกในเว็บนี้ ต่อว่าผม หาว่าผมดูถูกดูแคลนกฏหมายยุ่น)

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 01/12/2018 09:13:50


ความคิดเห็นที่ 4


ขนาดเรือDDV-192 เอ๊ย DDH-183 Izumoแค่27000 ตัน คงมีF-35ได้แค่1ฝูงๆละ6ลำ เรือIzumoกับKaga รวมกัน2ฝูงบิน แต่สั่งซื้อรุ่นBประมาณ40ลำ เป็นไปได้มั้ยว่ากำลังคิดจะต่อเรือCVจริงๆแบบQueen Elizabeth2รึเปล่า เพื่อให้มีเรือ3ลำเท่าจีนในอนาคต

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 01/12/2018 09:52:55


ความคิดเห็นที่ 5


ในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนครับว่าถ้ารัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจจะจัดหา F-35B จริงจะประจำการอยู่ในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF) เช่นเดียวกับ F-35A ที่จัดหามาก่อนแล้ว

หรือจะให้ F-35B ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF) ซึ่งนั้นจะทำให้ญี่ปุ่นกลับมามีฝูงบินขับไล่นาวีอีกครั้งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่๒ ที่มีการยุบกองทัพเรือญี่ปุ่น

ในส่วนของอากาศยานปีกกระดก V-22 Osprey จำนวน ๙เครื่องก็จะเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นลูกค้าส่งออกประเทศแรกของอากาศยานแบบนี้ของสหรัฐฯ

จากที่ได้สั่งชุดแรก ๕เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2015/07/v-22-5.html) และชุดที่สอง ๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2016/07/mv-22-4.html)

โดยญี่ปุ่นจะใช้ V-22 ปฏิบัติการจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เพื่อสนับสนุนการยกพลขึ้นบกในกรณีที่ถูกกองกำลังต่างชาติยึดหมู่เกาะที่ห่างไกลของตน และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/12/2018 16:05:43


ความคิดเห็นที่ 6


แน่นอนว่าประเด็นที่ญี่ปุ่นมีแนวคิดจะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B มาประจำการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตนได้สร้างความไม่พอใจแก่จีนอย่างมาก

โดยจีนมักจะตอบโต้ญี่ปุ่นอย่างรุนแรงว่า "ญี่ปุ่นควรจะหัดเรียนรู้จาก 'บทเรียนทางประวัติศาสตร์' ในอดีตที่ผ่านมาอย่างระมัดระวัง"

แต่ในทางกลับกันถ้าดูจากข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญสันติภาพของญี่ปุ่นเองจะเห็นได้ว่า F-35B อาจจะไม่ได้สร้าง 'ศักย์สงคราม' แก่ญี่ปุ่นมากอย่างที่คิด

F-35A ของญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่แบบอื่นที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ที่ถูกตัดขีดความสามารถในการรบ 'เชิงรุก' ตามข้อจำกัดในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น

ตัวอย่างเช่น เครื่องบินขับไล่ F-4EJ Phantom II และ เครื่องบินขับไล่ F-15J Eagle ของญี่ปุ่นนั้นไม่ถูกติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศเพื่อเพิ่มพิสัยการบิน และติดอาวุธอากาศสู่พื้นไม่ได้เลยด้วย

แม้แต่เครื่องบินขับไล่ F-2 ที่มีภารกิจโจมตีภาคพื้นดินก็ไม่มีระบบอาวุธพิสัยไกลพวก Standoff Weapons ใช้ได้แต่ระเบิดนำวิถี Laser หรือระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM ในระยะใกล้

หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ ASM-3 ที่มีระยะยิงไกลราว 150km ที่ติดได้ก็ถูกจัดเป็นอาวุธเชิงป้องปรามเท่านั้น

ทำให้ดูเหมือนว่าจีนจะอ่อนไหวกับอากาศยาน STOVL ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว ทั้งๆที่ตนกำลังจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินถึง ๓ลำ และเครื่องบินขับไล่ประจำเรือคือ J-15 มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการใช้อาวุธและระบบสนับสนุนเหนือกว่าทุกอย่างครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/12/2018 16:09:21


ความคิดเห็นที่ 7


เออออ ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม แถมยังเป็นประเทศผู้แพ้สงครามที่เป็นฝ่ายไปกระทำชำเรากับประเทศอื่นๆก่อน (ไม่ใช่แพ้สงครามเพราะโดนใครรุกราน หรือกระทำก่อน)  จากนิสัยที่ชอบรุกรานคนอื่นแบบนี้นี่เอง ประเทศผู้ชนะสงครามจึงให้ญี่ปุ่นมีกฏหมาย รธน ตีกรอบ บังคับ  ห้ามญี่ปุ่นมีกองทัพ มีอาวุธร้ายแรง โดยเฉพาะอาวุธที่ไม่ใช่เอาไว้ใช้ป้องกันตนเอง.......เช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินลำเลียงบินระยะไกล เครื่องบินเติมน้ำมัน จรวดยิงระยะไกล ฯ หรือแม้แต่ห้ามมีฐานทัพในต่างแดน...แต่ตอนนี้ยุ่นแหกกฏเกือบหมดทุกข้อ กฏหมายกลายเป็นเศษกระดาษ....ทั้งหมดเพราะได้รับการยินยอมจากไอ้กัน เพราะไอ้กันต้องการลดต้นทุนด้านทหารของตัวเองที่ใช้กดดันจีนและรัสเซีย (โดยให้ประเทศลิ่วล้อเช่นญี่ปุ่นพัฒนากองทัพให้แข็งขึ้น เอาไว้ช่วยตัวเองอีกแรง)

จะเอายุ่นไปเทียบกับจีนคงไม่ได้ เพราะจีนเคยถูกยุ่นและชาติฝรั่งย่ำยีตลอดระยะ200ปีหลังนี้ และ ยิ่งอเมริกาวางฐานทัพรอบๆจีนนับสิบๆฐาน จะให้จีนมัดมือมัดตีนตัวเอง ให้ยุ่นและฝรั่งย่ำยีอีกครั้ง จีนคงไม่ยอม เมื่อจีนมีเงินมีเทคโนโลยี่ จีนก็ต้องสร้างกองทัพเพื่อป้องกันตนเอง

ให้ดี ญี่ปุ่นควรถอดหน้ากากกันอาย(กองกำลังป้องกันตนเอง)ออก ใช้ชื่อเท่ๆว่า กองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่น ไปเลย เพราะถ้าจัดอันดับความทันสมัย+งบประมาณ+ความสามารถด้านทหาร ญี่ปุ่นอยู่ที่อันดับระหว่าง 4-7 ของโลกเลยทีเดียว

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 01/12/2018 19:51:17


ความคิดเห็นที่ 8


Japan sets naval-friendly requirement in search to replace AH-1S Cobra fleet
https://www.defensenews.com/digital-show-dailies/japan-aerospace/2018/11/29/japan-sets-naval-friendly-requirement-in-search-to-replace-ah-1s-cobra-fleet/
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/ah-1s-cobra.html

งานจัดแสดงทางการบินนานาชาติ Japan Aerospace 2018 ณ กรุง Tokyo ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๐ พ.ย.ที่ผ่านมายังได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นหลายอย่าง

เช่น โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF) เพื่อทดแทน ฮ.โจมตี Bell/Fuji AH-1S ที่ใช้งานมานาน

โดยบริษัท Subaru (บริษัทอุตสาหกรรมหนัก Fuji) เดิมเป็นผู้ผลิต ฮ.โจมตีรายหลักให้กับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นมานาน โดยแบบล่าสุดคือ ฮ.โจมตี Boeing/Fuji AH-64DJP Apache แต่ก็ผลิตออกมาเพียง ๑๓เครื่องเท่านั้นเนื่องจากราคาที่แพง

ตามที่ญี่ปุ่นได้ออกเอกสาร RFI ไปก็มีหลายบริษัทที่สนใจจะส่ง ฮ.ของตนเข้าร่วมโครงการ แม้ว่าบางบริษัทจะไม่ได้ส่งแบบ ฮ.โจมตีแท้ๆเข้าแข่งขันก็ตาม

เช่น Sikorsky รวมกับบริษัทอุตสาหกรรมหนัก Mitsubishi ที่ส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60JA Black Hawk รุ่นติดคานอาวุธข้าลำตัว

หรือ Airbus Helicopters ที่ไม่ได้ส่ง ฮ.โจมตี Tiger แต่เสนอ ฮ.ใช้งานทั่วไป H135/H145M ติดระบบอาวุธ HForce

ที่น่าสนใจคือความต้องการที่กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นกำหนดสำหรับ ฮ.โจมตีใหม่นั้นระบุว่าควรจะติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้ปฏิบัติการจากเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF) ได้ด้วย

โดยเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่นี้น่าจะสามารถวางกำลังได้บนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga ที่มีจุดรับ-ส่ง ฮ.๔จุด และเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ที่มีจุดรับ-ส่ง ฮ.๕จุด

นั่นทำให้บริษัท Bell สหรัฐฯที่เสนอ ฮ.โจมตี AH-1Z Viper ที่ถูกออกแบบและพิสูจน์การใช้งานโดยนาวิกโยธินสหรัฐฯแล้ว ดูจะมีความได้เปรียบเมื่อพิจารณาในขีดความสามารถนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 02/12/2018 08:42:22


ความคิดเห็นที่ 9






Tamiya DDV-192 JS Ibuki Aircraft Carrier Destroyer 1/700
http://www.tamiya.com/english/products/25413/index.htm

กลับมากล่าวถึงเรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน DDV-192 Ibuki ที่เป็นหัวข้อหลักเริ่มต้นครับ

แบบจำลองขนาด 1/700 ที่ออกโดย Tamaiya เมื่อราวกลางปี 2018 (ราคาขายในไทยประมาณ ๑,๔๔๐บาท) นี้ก็อ้างอิงมาจากข้อมูลในการ์ตูนของ อ.ไคจิ

แต่ในโลกความเป็นจริงการดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo หรือจะต่อเรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบินจริงๆ

คงจะทำเฉพาะการเสริมความแข็งแรงของดาดฟ้าบินเช่นการเคลือบ Urethane สูตรพิเศษเพื่อป้องกันไอร้อนจากไอพ่น F-35B จากเดิมที่ออกแบบมารองรับอากาศปีกหมุน เช่น SH-60J Seahawk และ V-22 Osprey

แต่คงจะไม่จำเป็นต้องสร้างแผ่นยกกันไอพ่น (JBD: Jet Blast Deflector) แบบในเรื่อง เพราะถ้าดูจากที่ F-35B บินขึ้นจากเรือ LHD ชั้น Wasp ก็ใช้แรงยกจากการปรับท่อไอพ่นลง 30 degree เพื่อเพิ่มแรงยกในการบินขึ้นใส่ดาดฟ้าบินตรงๆ

เช่นใน Clip ที่ F-35B ฝูงบิน VMFA-121 ฐานบิน Iwakuni นาวิกโยธินสหรัฐฯ ทำการฝึกบนเรือ LHD-1 USS Wasp ที่ Okinawa ร่วมกับ MV-22B ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 03/12/2018 09:01:33


ความคิดเห็นที่ 10


ผมชอบการ์ตูนของ อ. คาวางูจิ มาก แต่พอเป็นอนิเมะ หรือเป็นภาพยนตร์ ไม่เคยได้ดูสักกะเรื่องเลย

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 03/12/2018 16:00:22


ความคิดเห็นที่ 11


ผลงานของ อ.ไคจิ คาวางูจิ ที่เห็นมีการทำมาเป็น Animation มีหลักๆ สองเรื่องคือ

ยุทธการใต้สมุทร(The Silent Service) ทำเป็น OVA(Original Video Animation) ความยาวสามม้วน VHS โดย Sunrise ปี 1996-1998

ซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้ดูหายากมาก ใน Youtube เคยเห็นว่ามีลงแต่ไม่ครบทุกตอน แล้วไม่มี Subtitle ภาษาอังกฤษด้วย

กับ Zipang ออกอากาศทางโทรทัศน์ปี 2004-2005 ความยาว ๒๖ตอนโดย Studio Deen

ซึ่งเรื่องไปตัดจบที่ตอนเรือพิฆาต DDH-182 JDS Mirai กลับไปฐานทัพ Yokosuka ปี 1942 แล้วตัวละครเดินทางเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นภาค Shanghai จีนแต่ก็จบแค่นั้นไม่มีภาค๒

(ส่วนตัวแนะนำว่าอ่านต้นฉบับที่เป็น Manga อย่างเดียวก็ได้)

อีกเรื่องคือ Aircraft Carrier Ibuki ที่ทำเป็นภาพยนตร์คนแสดงฉายในปี 2019 ตามที่แนะนำไปข้างต้นครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 03/12/2018 17:02:11


ความคิดเห็นที่ 12


ซิปัง ฉบับมังงะ ผมมีครบครับ (เอ่อ จริงๆ เล่มแรกๆหายไปไหนก็ไม่รู้)

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 04/12/2018 09:39:16


ความคิดเห็นที่ 13


เข้าใจว่า F-35B นอกจากจะประจำบนเรืออิซูโมแล้ว

ยังสามารถวางกำลังที่ฐานบินส่วนหน้า ระยะทางวิ่งสั้น ตามเกาะแก่งต่างๆของญี่ปุ่นด้วย

แต่จำนวน 40 ลำ ถ้าเทียบกับภัยคุกคาม ผมว่าน้อยเกินไป

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 04/12/2018 10:58:30


ความคิดเห็นที่ 14



LST-4001 JS Osumi (wikimedia.org)

ช่วงที่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นนำเรือยกพลขึ้นบกชั้น Osumi ๓ลำเข้าประจำการในปี 1998-2003

ก็มีนักวิเคราะห์ทางทหารในญี่ปุ่นบางรายมีความเห็นว่าดาดฟ้าเรือที่ยาวตลอดทั้งลำสามารถนำอากาศยาน STOVL ในช่วงนั้นคือเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II มาประจำการบนเรือได้

ซึ่ง บ.โจมตี AV-8B เองก็น่าจะนำมาใช้ปฏิบัติการจากสนามบินส่วนหน้าบนฐานทัพในเกาะที่ห่างไกล ซึ่งเครื่องขับไล่ตามแบบขนาดใหญ่ขึ้นลงไม่ได้ด้วย


LST-4002 JS Shimokita (wikimedia.org)

อย่างไรก็ตามกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้ออกมาชี้แจงว่าเรือชั้น Osumi ไม่มีโรงเก็บอากาศยานในตัวเรือ มีแต่อู่ลอย(Well Dock) กับโรงเก็บยายนต์และยานเบาะอากาศ LCAC เท่านั้น

ดาดฟ้าของเรือชั้น Osumi เองก็บางและสั้นเกินไปสำหรับอากาศยานปีกตรึง ย.ไอพ่น โดยรองรับ ฮ.ลำเลียงหนัก เช่น CH-47J/JA Chinook หรือ V-22 ได้เพียง ๒เครื่องเท่านั้น

โดยการจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2016/04/aav7a1-bae-systems.html) ก็จะนำมาใช้กับเรือชั้น Osumi นี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 04/12/2018 14:23:22


ความคิดเห็นที่ 15


ในกรณีการจัดหา F-35B ของญี่ปุ่นเองที่มีจำนวนขั้นต้นที่ ๔๐เครื่องนั้น ตรงนี้มองว่าในช่วงการดัดแปลงและทดสอบการใช้งานกับเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo

ญี่ปุ่นน่าจะให้ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯมาทำการทดสอบการวางกำลังปฏิบัติการ่วมบนเรือเหมือนกับที่ให้ MV-22B นาวิกโยธินสหรัฐฯฝึกวางกำลังบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga และ Izumo มาแล้ว

โดยน่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับที่นักบินกองทัพอากาศอังกฤษและกองทัพเรืออังกฤษนำ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯมาทดสอบบนเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)

โดยการให้สหรัฐฯนำอากาศยานของตนมาปฏิบัติการบนเรือญี่ปุ่นนั้น จะเป็นการเสริมกำลังและความเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงในส่วนที่ญี่ปุ่นขาดหรือมีข้อจำกัดได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 04/12/2018 14:32:06


ความคิดเห็นที่ 16


รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณกลาโหมระยะเวลา ๕ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2019-2023 วงเงิน 27.47 trillion Yen(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/izumo-f-35.html)

ซึ่งแผนดังกล่าวได้ร่วมการดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพหุบทบาทที่เครื่องบินขับไล่ F-35B สามารถปฏิบัติการได้

รวมถึงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เพิ่ม ๖๓เครื่อง และ F-35B อีก ๔๒เครื่อง รวม ๑๐๕เครื่อง จากเดิมที่กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นสั่งจัดหา F-35A แล้ว ๔๒เครื่อง

นั่นจะทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นปรนะเทศผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่๓ของโลก รองจากอันดับ๑ สหรัฐฯ และอันดับ๒ อังกฤษครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/12/2018 11:55:20