หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรือไทยจะปรับโครงสร้าง นสร.กร. และ สอ.รฝ.

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 05/11/2018 10:56:42

เดิมรายละเอียดดังกล่าวนี้ถูกเปิดเผยในเอกสาร 'นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒' ที่ลงใน website ของกองทัพเรือไทย(https://www.navy.mi.th)

แต่ล่าสุด link เอกสารดังกล่าวได้หายไปแล้วครับ (สรุปรายละเอียดหลัก https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html)

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ นสร.กร. ที่ปัจจุบันมีอัตรากำลัง ๑กรมรบพิเศษ จะมีการปรับอัตราโครงสร้างใหม่เป็น ๒กรมรบพิเศษ

แบ่งเป็น Alfa Force ๑กรม และ Charlie Force ๑กรม(สงสัยว่า Bravo Force หายไปไหน)

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. จะมีการปรับอัตราโครงสร้างใหม่ ประกอบด้วย กรมต่อสู้อากาศยานที่๑, กรมต่อสู้อากาศยานที่๑ และกรมรักษาฝั่งที่๑

โดยแต่ละกรมจะมี ๒กองพัน โดยปิดอัตรากรมไป ๑กองพัน(๒กองพันบรรจุเต็ม ๑กองพันโครง)

กรม สอ.จะยังคงใช้ ปตอ.Bofors 40mm L/70 และ ปตอ.Type 74 37mm จีนอยู่ เช่นเดียวกับ กรม รฝ.ที่ยังใช้ ป.ลากจูง GHN-45 155mm และ Type 59-I 130mm จีนอยู่

แต่จะมีแผนจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล เพิ่มกองพันละ ๑ระบบครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ซี-๘๐๒ สองระบบ สำหรับ กองพันรักษาฝั่ง  แต่กรณี แซมพิสัยใกล้นี่สิ ยังไงดี................ เคยเห็น ระบบสกายการ์ด ควบคุม 2 x ปืนเออไรก้อน  และ 1 แท่น แอสปิเด้/สแปร์โร่ว .............. เป็นที่ทราบดีว่า จรวดพวกนี้ เข้าเป้าตามลำคลื่นเรดาร์ในโหมด เรดาร์พากลับบ้านกระฉับกระเฉงครึ่งหนึ่ง....................

ซึ่งนั่นหมายความว่า เจ้าสกายการ์ด นอกจากมีโหมดตรวจจับและติดตามแล้ว จะต้องมีส่วนที่สร้างลำคลื่นเรดาร์ได้ด้วย.................เกิดคำถาม   ของ ทอ. ทำได้มั้ย...??????  เพราะ เอแดท นั้นนำวิถีแบบไต่ลำเลเซอร์ หน่วยยิงจึงมีเฟลอร์ และ เลเซอร์ทราเก็ตติ้งอยู่ด้วย.................    ลำเรดาร์ นี้ เป็นออปชั่นของระบบมั้ย   ถ้าเอาด้วย ก็แพงหน่อย ถ้าไม่เอาตรวจจับติดตามอย่างเดียวก็ถูกลง ...............................

ที่พูดมานี้ก็เพราะ ทร. ยังมีระบบ คคกย. ที่ยังไม่ตกยุคอยู่ตัวนึง คือ ฟลายแค้ชเช่อร์................. เท่าที่เห็น   ใช้ คคกย สี่สิบทับเจ็ดสิบ อย่างเดียว       ถ้าโม หรือม้อด สักหน่อย   แล้วจัดหาแอสปิเด้รุ่นตั้งโต๊ะมาใช้สักสี่ซ้าห้าระบบ ก็คงเท่ไม่น้อยนะครับ  แบบว่า ประยุกต์ของที่มีอยู่แล้ว

 

ปล. สังเกตุระบบ เรดาร์ควบคุมการยิงในเรือรบของไทยนะจ๊ะ  รุ่นตุ่มๆเป็นโดมเหมือนถังแซ้กบนกระโดงเรือ

๑. ดับบลิวเอ็ม-๒๒   ติดตั้งบนเรือชุดชลบุรี  ชุดตาปี และ รล.มกุฏราชกุมาร    คคกย.ได้แค่ปืนอย่างเดียว (ติดตาม)

๒.ดับบลิวเอ็ม-๒๕   ติดตั้งบนเรือชุดรัตนโกสินทร์   ควบคุมการยิงแอสปิเด้ได้  แสดงว่าแพร่ลำคลื่นได้อย่างต่อเนื่อง

๓.ดับบลิวเอ็ม-๒๘ ติดตั้งในเรือชุด ปราบปรปักษ์ และชุราชฤทธิ์   ............ ซึ่งชุดปราบปรปักษ์นั้น เคยติดตั้งจรวดกาเบรียล ระยะยิงไกลสุด ยี่สิบ กม. และนำวิถีด้วยระบบเรดาร์พากลับบ้านกระฉับกระเฉงครึ่งหนึ่ง  จะเห็นว่ากาเบรี้ยลนั้น ยิงได้ที่ระยะของฟ้าจึงไม่ซับซ้อน เล็งกันจะๆ เห็นกันจะๆซัดไปเลย     จะต่างจาก เอ็มๆ -๓๘  เอ็กโซเซ่ต์ อยู่สักหน่อย  ตรงที่แบบหลังนี้นำวิถีด้วยระบบเรดาร์พากลับบ้านกระฉับกระเฉง(เต็มตัว)  ระยะยิงไกลกว่าขอบฟ้าแบบปริ่มๆ คือ สี่สิบกิโลเมตร  ดังนั้นเพื่อความชัวร์ก็เลยต้องใช้บริการการแพร่ลำคลื่นอยู่ด้วยแม้ตัวเองจะนำวิถีด้วยระบบเรดาร์พากลับบ้านกระฉับกระเฉง(เต็มตัว)ก็ตาม.............

 

ดังนั้นจึงถือว่า ๒๕  ดีที่สุดในรุ่น เท่าที่เรามี   เพราะ  คคกย.   อาวุธปล่อย  พ -อ ด้วยการปล่อยบีมเรดาร์ได้    ขณะที่ ๒๘  ใช้ได้กับ พ - พ

      

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 31/10/2018 19:51:15


ความคิดเห็นที่ 2


เอ่อ.. Active/semi active homming RADAR อะไรทำนองนั้นใช่ฤาไม่ขอรับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 01/11/2018 09:33:33


ความคิดเห็นที่ 3


กระฉับกระเฉงครึ่งหนึ่ง  = semi active  ใช่ไหมครับ 

โดยคุณ hs3mmq เมื่อวันที่ 01/11/2018 15:24:38


ความคิดเห็นที่ 4


Thailand to replace coastal guns with long-range missiles
http://www.janes.com/article/56447/thailand-to-replace-coastal-guns-with-long-range-missiles
https://aagth1.blogspot.com/2015/12/blog-post_4.html

แนวคิดการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบฐานยิงบนฝั่งนั้นก็เห็นมีการเปิดเผยมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ แล้ว

ตรงนี้ก็มองว่าทาง สอ.รฝ.คงประเมินแล้วว่าอาวุธที่มีประจำการอยู่ในปัจจุบันทั้งปืนใหญ่ลากจูง และปืนต่อสู้อากาศลากจูง คงไม่สามารถรับมือภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคตได้แล้วครับ


http://chinesearmory.blogspot.com/p/dkpl-9-sam.html

จำได้ว่า สอ.รฝ.เคยมีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ PL-9 จีนที่เป็นแท่นยิงลากจูง เพราะเคยเห็นเอามาพ่วงกับ รยบ.ในพิธีสวนสนามอยู่

แต่ไม่แน่ใจว่าปัจจุบัน สอ.รฝ.เลิกใช้งานไปหรือยัง โดยปัจจุบันนี้ สอ.รฝ.ก็มีการ MANPADS แบบ QW-18 จีนที่ทดสอบยิงจริงมาหลายครั้งแล้ว

ถ้าจะจัดหาระบบ SAM พิสัยกลาง ประเด็นสำคัญคืองบประมาณจะมีพอจัดหาได้หรือไม่ เพราะต่อให้เป็นของจีนก็ยังจัดว่าค่อนข้างแพงอยู่ดีครับ


http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2016/august-2016-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/4277-vietnam-peoples-navy-deploys-bastion-p-mobile-coastal-defense-systems-in-drills.html

หลายประเทศในกลุ่ม ASEAN ก็มีระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำฐานยิงบนฝั่งประจำการมานานแล้ว

เช่น กองทัพเรือประชาชนเวียดนาม ที่มีหลายระบบเช่น Bastion-P,  P-15 Termit และ P-5 Pyatyorka ตามข้อมูลใน Wikipedia

ถ้ามองจากข้องจำกัดด้าน งป. ระบบที่ค่อนข้างเป็นไปได้สำหรับ สอ.รฝ.ระบบหนึ่งคือ C-802A รุ่นฐานยิงบนฝั่งจีน เนื่องจากเป็นระบบที่มีใช้ในเรือผิวน้ำของไทยและมีใช้งานหลายประเทศทั่วโลก น่าจะง่ายเรื่องการบำรุงรักษาและมีราคาสมเหตุสมผล

แต่ก็ยังมีระบบตะวันตกที่น่าสนใจอีกหลายแบบแม้ว่าราคาจะจัดว่าแพงก็ตาม อย่าง RBS15 สวีเดน, Harpoon สหรัฐฯ หรือ Exocet ฝรั่งเศสครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/11/2018 19:54:37


ความคิดเห็นที่ 5


อ่อ.......... ดับบลิวเอ็ม ๒๘   ตำรานี้บอกว่า แทร็ค คอนโทรน จรวดแซมได้ด้วย .................. แต่ข้อมูลไม่ชัดเจนเหมือน ๒๕  ซึ่ง อันนั้นบอกเลย แพร่ลำคลื่นออกไปให้ ระบบ จรวดเรดาร์พากลับบ้านกระฉับกระเฉงกึ่งนึง แถมบอกด้วยว่าโหมดอากาศ แทร็คด้วย เพล้าวส์ ดลอพเพล่อ เรดาร์................

เด๋วขอเวลาแปร้บ..............ตัว ๒๘   ไปหาข้อมูล ตัว ไลเซ่น ของไอ้กัน

 

Variants/Upgrades The WM-20 series are configured to perform a wide variety of naval fire control missions. Broadly, these can be stated as follows: 

Mk 92/94. Future orders for these licensed production WM-20 series fire control systems will be placed with Sperry in the US.

WM-20 is designed to control torpedo and gunfire on small attack craft. It has one air and one surface guncontrol channel and two torpedo fire control channels. WM-20 can track one air and three surface targets simultaneously. 

WM-22 is a simpler gun-fire control system of the WM-20 for larger surface ships, capable of tracking one air target. It is intended for use with a long-range search radar and can control two guns against one air and one surface target simultaneously. A third gun channel can be added as an option.

WM-24 has one air and one surface gun control channel with an option for a third, plus an ASW control channel. It is the only member of the family with an ASW capability.

WM-25 is specifically for low-level air defense applications, applying an integrated system concept. It can control a semi-active surface-to-air missile by providing continuous-wave target illumination and has the capability to simultaneously track one air, one surface and one shore target or one air and two surface targets. Air targets are tracked by the pulse Doppler dish, while surface targets are tracked by the search antenna in TWS mode. The WM-25 is usually used with the Sea Sparrow missile system. The WM-25 is also fitted with anti-clutter and anti-jamming features. 

WM-26 is a highly simplified anti-surface gunnery fire control system and navigation system. It is limited to controlling two single-purpose guns and uses only the search element of the WM-20 series radar. The WM-26 is designed to provide continuous air and surface surveillance, radar navigation, combat information, target designation, and weapon control.

WM-27 is a combined SSM, gun and anti-ship torpedo control system, which provides one surface gun channel, one surface-to-surface missile channel and two torpedo control channels. This and the WM-20 are the only members of the family with torpedo-control capability. 

WM-28 can track one air and one surface target simultaneously while controlling one surface-to-air missile and two light or medium guns. WM-28 is license-built (in a modified form) in the US as the Mark 92 FCS. 

WM-29 controls one command-guided surface-to-air missile and two surface gun channels.WM-29 is designed to include a Signaal LIOD optical director, which can be used as a secondary tracking channel. 

In 1991, CelsiusTech Industries (now SaabTech Electronics) introduced a major upgrade applicable to all members of the WM-20 family. This upgrade reduces the number of printed circuit boards from 1300 to approximately 12 (the exact number depends on the version of the WM-20 being modernized). This modification greatly increases the availability of the system, while new prediction algorithms improve reaction time four to eight seconds. Angular resolution is also improved significantly. 

This was quickly followed by an equivalent upgrade package from Signaal, which also uses modern electronics technology to improve the reliability of the system and enhance performance against low-altitude targets. The ability of the system to operate in severe clutter conditions and engage maneuvering targets was also upgraded. Reaction time was improved to three to five seconds. Overall angular resolution is improved to 0.8 mrad

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 01/11/2018 22:35:02


ความคิดเห็นที่ 6


แหงะ....................   ไอ้กันมันบอก  มาร์ค ๙๒    ไลเซ่น ตามแบบ ดับบลิวเอ็ม ๒๕     ซึ่ง  มีหลายม้อด   แต่ละม้อด แทร็ค และจัดการเป้าหมายได้ตาม เทเบิ้ล ข้างล่าง

Modification Surface Engagement Channels Air Engagement Channels (gun) Air Engagement Channels (missile)
0 2 1 1
1 2 1 0
2 2 1 2
5 2 1 0
6 2 1 2

 

ดังนั้น   ๒๘   ยังเป็นอะไร งงๆ ต่อไป ตกลงมันแพร่คลื่นส่องเครื่องบินด้วยจรวด กระฉับกระเฉงกึ่งนึง ได้จริงหรือไม่

 

แต่สรุปคือ ๒๕ ของ เรือชุดรัตนโกสินทร์ของเรา ส่องเครื่องบินได้เป้านึง  พร้อมๆกับ ออโต้ ๗๖ ส่องเรือ หรือ เป้าบนฝั่ง   แถมยังส่องให้ฮาร์พูนยิงออกไปได้อีก (กรณียิงแบบใช้เรดาร์ส่อง)  เป็นแบบ สามทางในเวลาเดียวกัน   .............ส่วน สี่สิบ ทวิน  อันนั้น ส่องโดย ไลร้อด-๘ ถือว่าเป็นเด็กนอกสังกัด................

 

ส่วน ๒๒ นั้น ส่อง(แทร็ค) เป้า เครื่องบิน เป้านึง กับ เป้าเรือ เป้านึงได้พร้อมกัน   ........ มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ในส่วนของการเล็งเป้าอากาศนั้น  สามารถควบคุมปืนสองกระบอกได้ในลักษณะหันไปด้วยกัน เพื่อเพิ่มโชคในการยิงถูก...... อันนี้ตรงกับแนวทางของเรือชุด ชลบุรี และ รล.มกุฎ เลย เนื่องจากมีปืนหลักสองป้อม ......................จะต่างจาก ๒๕ นะ  เพราะอันนั้น เล็งเป้าพื้นน้ำได้สองเป้าพร้อมกัน  หมายความว่า ถ้าเรือรัตนโกสินทร์ มี ๗๖ อีกกระบอกนึง เธอจะ ควบคุมปืน สองกระบอกให้เล็งได้สองเป้า (พื้นน้ำ) ในเวลาเดียวกัน ........................  แต่ถ้าจ่ายเพิ่ม ๒๒  ก็สามารถเล็งเป้าน้ำ แยกสองเป้า กับเป้าอากาศ ในลักษณะสามทางได้เหมือนกัน (ได้แค่ปืน) ซึ่งมันเป็นแค่ออปชั่น

 

 

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 01/11/2018 22:42:20


ความคิดเห็นที่ 7


พาออกทะเลเล็กน้อย..........แต่.............จะว่าออกทะเลก็ไม่เชิงหรอก...............เรื่องมีอยู่ว่า   การจัดหา อวป. พ-อ  ของ ต.ส.อ.ย. ล. ร.ษ.ฝ.  เนี่ย  ไอ้เรื่องที่จะไปจัดหาแซมระยะปานกลาง  โดยเฉพาะพวกฉมัง แบบ นกกระจอกทะเลวิวัฒ หรือ เอสเตอร์นั้น คงไม่มีทางเป็นไปได้................ดังนั้นก็จะเป็นพวกพิสัยใกล้ ๘ กิโล ๑๕ กิโล อะไรเทือกๆนี้แหล่ะ...................ซึ่งพวกนี้ตัวกั่นๆ ก็มักจะนำวิถีอยู่ สามแบบ คือ  กระฉับกระเฉงกึ่งนึง  เลเซอร์   และก็ อินฟาเรด...............

 

ทีนี้นี่   ไอ้จรวดทุกประเภทที่กล่าวมา มันก็มีลูกจรวด กับแท่นจรวดส่งมาด้วยให้กระดกหงึกๆ อ่ะนะ.............ทีนี้ถามว่า ระบบ คคกย. หล่ะ จะใช้อะไร ....................  คำตอบตรงที่ของเรามีอยู่แล้วไง     ยี่สิบปีก่อน ทอ.ซื้อปืนเมาเซอร์  ได้สกายการ์ดมาด้วย ดีใจเต้นสามช่า............... แต่นี่  ทร. มีไอ้ตัวจับแมงวัน หรือ ฟลายแคชเช่อร์อยู่แล้ว........................

 

ระบบพวกนี้ถือเป็นพิมพ์นิยม หรือไม่ก็เหมือนผงผัดคะนอ ใส่ไรก็หร่อย.............. เนื่องจากตัวมันเองสมบูรณ์แบบด้วยความที่ครบเครื่อง.............. มีเรดาร์ค้นหา (หมุนแหง่วๆ)   มีเรดาร์ติดตามเป้าหมาย (แพร่คลื่นดินสอ แทร็คเป้า) มีคอมพิวเตอร์คำนวณขีปณะ    แถมยังมี ออปโตรนิค ส่องเป็นภาพได้ทั้งกลางวันกลางคืนอีกด้วย.....................โว๊ะ................... ก็มันสุดยอดขนาดนี้จะไปหาอะไรมาอีก...............

 

แต่อย่างว่า  ที่เห็นเจ้าตัวนี้ทั้งของ ทร. และ ทบ.  จะพ่วง ๔๐/๗๐ ได้แค่สองแท่นเท่านั้น แถมยัง ส่ายหงึกๆ ไปทางเดียวกันอีกด้วย (น่าจะมีแค่ ฉะแน่ว เดียว (สกายการ์ดได้สองฉะแน่ว คืออันแรกได้ปืนสองกระบอก อีกอันได้เอแดท (หรืออาจจะเป็นฉะแน่วเดียวแต่สวิทชิ่งเอารึป่าวก็ไม่รุ)))..................... ทีนี้ถ้าเราจะมีแซมระยะยิงสักสิบกิโลแบบตั้งโต๊ะมาใช้เนี่ย  จะต้องโมยังไงบ้าง เลยขอแยกเป็นดังนี้

๑.  ถ้าเป็นแซมแบบ อินฟาเรด  อันนี้คงง่ายที่สุด  น่าจะเป็นการเชื่อมเพียงแค่ซอฟท์แวร์   เนื่องจากจรวดมันไม่ต้องการอะไรแล้ว  มันแค่ส่ายตามการ แทร็คของเรดาร์และการคำนวณขีปณะ เมื่อหัวจับสัณญาณได้มันก็ร้อง  อ่อยยยยหย่อยยยยยย..... ก็กดยิงไปเลย...........

๒.ถ้าเป็นเลเซอร์  อันนี้ลอกคำตอบของทอ.เลย   หน่วยยิงจรวด ต้องมีเลเซอร์ทราเก็ตติ้งมาด้วย เหมือนเอแดท   แล้วมาเชื่อมต่อกันโดยซอฟแวร์   ก็อาศัยการแทร็คและคำนวณขีปณะเหมือนแบบแรก และเจ้าเลเซอร์ก็จะหันเงยหน้าเงยตาส่องไปที่เป้าตามจานแทร็คกิ้งเรดาร์ และ กล้อง ออปโตรนิคของระบบ คคกย นั่นแหล่ะ ...................... แต่อันนี้ต้องลงทุนซื้อเลเซอร์มาเอง  ซึ่งเชื่อว่าการโมโดมเลเซอร์มาหมุนแหง่วๆ บนหลังคาฟลายแคชเชอร์คงไม่น่าเป็นไปได้.........

๓. สุดท้ายคือ แบบ กระฉับกระเฉงกึ่งนึง................. อันนี้แน่นอน ต้องโมมากเลยแหล่ะ   ก็คงประมาณเหมือน  เอดีเอฟ ๑๐๒ นั่นแหล่ะ   คือทำให้แพร่การส่องเรดาร์ให้จรวดได้ด้วย....................

 

แต่ทั้งหมดคือแนวทางประหยัดที่สุด.....................คิดแต่เรื่องจรวด    อย่าลืมเรื่องการควบคุมการยิงด้วยนะจ๊ะ.............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 01/11/2018 23:48:26


ความคิดเห็นที่ 8


อ่อ  ส่วนรักษาฝั่งนั้น   ที่สมเหตุผล มีสองช้อยส์ คือ ๘๐๒   กับ ฮาร์พูน........................ สองตัวนี้ นำวิถีขั้นแรกด้วยแรงเฉย    ก็กำหนดด้วยจีพเอส ซัดเลย   ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าไม่มีปัญหา  ร้อยกิโลซัดไปเลย..................ปรากฏว่า โดนเรือประมง..............แหง่ว............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 02/11/2018 00:03:18


ความคิดเห็นที่ 9


ในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ Zhuhai Airshow 2018 ในวันที่ ๖-๑๑ พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ จีนจะมีการเปิดตัวระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจรสำหรับส่งออกของตนหลายแบบ

หนึ่งในนั้นคือระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียง CM-401 ซึ่งมีระยะยิงถึง 15km-290km ด้วยความเร็วสูงถึง 4-6Mach

นับว่าใกล้เคียงกับอาวุธปล่อยนำวิถี CM-708UNB ที่รองรับการใช้งานกับเรือดำน้ำแบบ S26T ที่กองทัพเรือไทยจะจัดหามาก

ถ้า สอ.รฝ.ไม่ติดปัญหาเรื่องราคาที่น่าจะแพงแล้ว ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือรูปแบบของจีนนี้จัดว่าน่าสนใจทีเดียวครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 04/11/2018 22:11:36


ความคิดเห็นที่ 10


จรวดไฮเปอร์โซนิค พวกนี้ ยอมรับว่าน่ากลัวมากสำหรับเรือรบ................... แบบที่ยิงจากฐานยิงบนฝั่ง หรือ ยิงจากเรือด้วยกันเอง อันนี้จะน่ากล้วตรงการโคจรเข้าหาเป้าขั้นสุดท้าย ...............คือปกติ พวก ซุปเปอร์โซนิค จะบินเรียดน้ำที่ราวๆ เก้าร้อย กม/ชม.   แต่พวกไฮเปอร์จะเร็วกว่า แต่เชื่อว่า คงไม่ถึงสามมัค อย่างที่พูดหรอกเพราะถ้าโคจรเรี่ยยอดคลื่นที่สามมัค มาตั้งแต่ระยะเส้นขอบฟ้า ความหนาแน่นอากาศน่าจะทำให้เกิดความเสียหาย   สามมัคอาจเป็นการโคจรช่วงกลางที่ระยะสูง  แต่อย่างไรก็ตาม การโคจรช่วงท้ายก็คงเร็วกว่าแบบเดิม ซึ่งมีผลให้การดำเนินมาตรการป้องกันตัวเองมีเวลาน้อยลงไปอีก...............

 

แต่ที่น่ากลัวเป็นสองเท่าคือ พวกที่ติดกับเครื่องบินรบนี่สิ.................... คือปกติ หากฐานปล่อยเป็นเรือรบ ถ้าเป็นการรบเครือข่ายดาวเทียมหรือเรด้าร์แจ้งพิกัดและทิศทางข้าศึก ก็มีเวลาเลี่ยงหรือหาเหลี่ยมมุมรบโดยไม่เสียเปรียบได้ทัน......................แต่กรณีมากับเครื่องบินรบ มันรวดเร็วและตรวจจับยากทุกอย่าง    เครื่องบินก็ตรวจยากบินเร็ว  จรวดก็เร็วอีก......................น่ากลัวมากๆ

 

และที่สำคัญ  พม่า กำลังฝึกฝนใช้งาน เจเอฟ-๑๗  อยู่ด้วย     นี่ยังไม่ได้พูดถึงการโมติดตั้งเรดาร์เฟสอาร์เรย์นะ..............เอาแค่ ถ้ามี ซีเอ็ม สี่ร้อย รุ่นติดเครื่องบินมาใช้   เอฟๆจี นเรศวร   และ เอฟๆจี แดจังกึม      คงรับบทหนักในการคุ้มกันเป็นแน่แท้...............  และถ้าเกิดพม่า ฮึด ติดเฟสอาร์เรย์เข้าให้   งานนี้บอกก่อนเลยนะ  สมรรถนะ เหนือกว่า กริเพ่น กระบี่มือหนึ่งไปอีกหนึ่งขุม

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 05/11/2018 10:45:34


ความคิดเห็นที่ 11


แต่ที่สุด  ยิงจากเรือดำน้ำ ย่อมน่ากลัวกว่ายิงจากเครื่องบิน   อันนี้ฟันธงแน่แท้................................................ แต่แปลก  ยังมีความรู้สึกแบบอนุรักษ์นิยม   เชื่อว่า ตอปิโดเป็นอาวุธที่น่ากลัวกว่า  เนื่องจากมันเงียบกว่า ซัดแบบเผาขนกันจะๆ...................... ส่วน อวป. มันโฉ่งฉ่างโจ๋งครึ่ม  แต่อย่างว่า   มันยิงได้ไกลกว่า    แต่ก็อีกหล่ะ  ถ้าวัดกันที่ นน.หัวรบ    ตอปิโดเหนือกว่า แถมเป็นการพิฆาตแบบเจาะใต้แนวน้ำ  สาหัสกว่าเยอะ  ตอปิโดแบบตั้งฉนวนเฉียดระเบิดโดยตั้งความลึกให้วิ่งผ่านใต้ท้อง  เรือขนาดสี่พันตันโดนเข้าไปถึงกับขาดกลางลำ....................

 

ลองนึกดูนะครับ   ถ้ามีการรบกันเกิดขึ้น ข้าศึกส่งเรือ แอลพีดี บรรทุกกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์เต็มพิกัด กะมายกขึ้นหัวหาดของเรา     ถ้า ผบ.เรือดำน้ำหวังผลกำจัดให้สิ้นซากด้วยการจม แต่ดันเลือกใช้ จรวดซับโซนิค ยิงที่ระยะห้าสิบกิโล   ผบ.กองเรือรู้คงตีตาย..............  งานนี้ต้องตอปิโดอย่างเดียวจึงจะอยู่  ดำไปให้ใกล้ ซัดเผาขนนั่นแหล่ะคือคาแรคเตอร์เรือดำน้ำ................... ยิงไกลขนาดนั้น ผบ.บอก ไม่ต้องเรือดำน้ำแค่เรือเร็วโจมตีไปก้ได้   

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 05/11/2018 10:56:42