จากข้อมูลที่หายไป เพื่อนๆ คิดว่า A-jet ของเรา จะมีการปรับปรุงอะไรใหม่ๆ บ้างครับ
การปรับปรุงครั้งนี้ จะออกมารูปแบบไหนน้อออออ
ภาพไม่มา
ที่นั่งหลัง
เอาใหม่อีกรอบ ภาพที่นั่งหลังของ A-jet เบลเยี่ยม เพิ่มจอมัลติฟังชั่น 1 จอ
ส่วนภาพนี้ ฟูล กลาสค๊อกพิท ตามโครงการแอดวานด์เทรนเนอร์ ที่โดนยกเลิกไป
อีกที
ภาพนี้อัพเบาๆ แบบโปรตุเกส เพิ่ม ระบบ RWR
ของโปรตุเกสเป็น รุ่น A เหมือนเราครับ
Portugal to phase out Alpha Jet A
https://www.janes.com/article/75823/portugal-to-phase-out-alpha-jet-a
กองทัพอากาศโปรตุเกสเพิ่งจะปลดประจำการเครื่องบินโจมตีเบา Alpha Jet A ๖เครื่องสุดท้ายจาก ๕๐เครื่องที่จัดหาในปี 1993 ซึ่งเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนีมาก่อน
ซึ่งเครื่องของโปรตุเกสเป็นรุ่นเดียวกับที่กองทัพอากาศไทยจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๔๓ อาจเป็นไปได้ที่ไทยเราอาจจะไปเจรจาขอจัดซื้อเครื่องบางส่วนมาเป็นอะไหล่
เช่นเดียวกับกองทัพอากาศเบลเยียมที่เพิ่งจะปลดประจำการเครื่องบินฝึกไอพ่น Alpha Jet 1B ๒๙เครื่องที่ประจำการในโรงเรียนการบินร่วมในฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1978
โดยเบลเยี่ยมเปิดการประกวดราคาเพื่อขายเครื่องบินฝึกไอพ่น Alpha Jet 1B เหล่านี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามเครื่องรุ่นนี้ของเบลเยียมเป็นคนละรุ่นกับของเยอรมนีที่ขายให้ไทยกับโปรตุเกส
สำหรับโครงการปรับปรุงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet จำนวน ๑๔เครื่องของกองทัพอากาศไทย วงเงิน ๓,๓๘๘,๖๓๗,๘๐๐บาท ไม่ทราบว่าจะสามารถดำเนินการได้ในระดับใด
จะเห็นได้จากกองทัพอากาศโปรตุเกสประจำการเครื่องบินโจมตีเบา Alpha Jet A ที่จัดหาจากเยอรมนีในช่วงปี 1993-2018 รวมอายุการใช้งาน ๒๕ปี
เมื่อมองรูปแบบการจัดหาลักษณะเดียวกันกับกองทัพอากาศไทยก็น่าจะประจำการ บ.จ.๗ Alpha Jet ไปจนถึงราวปี พ.ศ.๒๕๖๘ เป็นอย่างต่ำ
อย่างไรตามถ้าดูจากแนวทางการใช้งานอากาศยานรบแบบอื่นๆของกองทัพอากาศไทยที่มีแต่จะพยายามยืดอายุการใช้งานไปถึงมากกว่า ๔๐ปีแล้ว
อาจจะเป็นไปได้ว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะประจำการ บ.จ.๗ Alpha Jet ไปได้ถึงปี พ.ศ.๒๕๗๓ เลยทีเดียวถ้าสภาพเครื่องเอื้ออำนวยครับ
ใจจริง อยากให้ปรับปรุง เผื่อรองรับระบบ เดต้าลิ้งค์ แบบเต็มรูปแบบ มีจอแสดงผลรับข้อมูลจากระบบป้องกันภัยทางอากาศของ ทอ. และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องบิน จะ JAS39 F-16 หรือ F-5ST ได้ เพิ่มเติมการใช้อาวุธสมาร์ทใหม่ๆ และที่สำคัญคือ เพิ่มในส่วนของปืนใหญ่อากาศด้วยนะครับ ไม่รู้จากงบที่ได้ มันจะพอไหม 55555
คือ ผมมี แบ็คอัพ ที่ลงไปก่อนนี้ แต่เป็นว่า อาจกระเทือนต่อมความมั่นคง เอาว่า ไม่ลงอีกแล้วนะครับ...........
ง่ายๆคือ ตาม วีดีโอด้านล่าง................. หากไม่มีอุปกรณ์นำร่อง ไอเอ็นเอส สิ่งที่ทำได้ก็เหมือน แอว-39 นั่นคือ การจิกหัวต่อตีด้วยปืนหรือจรวด ......ในการทอยระเบิด เพื่อความแม่นยำ นักบินต้องปลดที่เพดานบินต่ำ ระเบิดก็พวก นาปาล์ม หรือ แรงต้านสูง อย่างเช่นสเนคอาย (แรงต้านไม่สูง พวกจะบินตามมาระเบิดใต้ท้องน้อย) หรือไม่งั้นก็ใช้ท่าไม้ตาย จิกหัวดำทิ้ง สร้างแรงส่งระเบิดดิ่งตรงไปที่เป้า ก่อนนักบินจะดึงขึ้นเพื่อหลบหลีก อันนี้ก็ปลดได้ไกลขึ้นไปอีกหน่อย .......................
จะเห็นว่า การทิ้งให้แม่นยำ นักบินต้องประสบการณ์สูง บินต่ำทอยต่ำ ไม่งั้นก็ใช้ท่าไม้ตาย ต้องจิกหัว ซึ่งเสี่ยงสูง................. ปัญหาจะหมดไป เมื่อมีระบบนำร่อง ( เป็นอย่างไรนั้น ไม่อธิบายแล้ว ) นักบินทอยระเบิดเพดานบินสูง แม่นเป๊ะ เว่อร์ ................... และถ้าจะวิเศษมีกระเปาะอินฟราเรด เฟลอร์ ใช้ร่วมจอเล็กๆสักจอ งานนี้ส่องกลางคืนได้ด้วย.................... เอวังก็คงมีด้วยประการเพียงแค่นี้ ก็เพียงพอแล้ว.....................
เสียดาย ม่ายทันแค๊ปไว้ 55555 แต่จากชื่อโครงการ ปรับปรุงโครงสร้าง ระบบเอวิออนิค และเพิ่มการใช้อาวุธ รอบนี้ INS คงมีติดมาด้วยละครับ
มี ไอเอ็นเอส คอยนำร่องคำนวณ จังหวะการใช้อาวุธ ............ มี ผตน. ส่องเลเซ่อร์ให้บนยอดเขา อัลฟ่าเจ็ท ทอย เบฟเวย์ เลเซอร์ไกเด็ด มาจากเพดานบินสูง แค่นี้ก็แม่นไม่แพ้ เอฟ-16 แล้วครับ.............. กระเปาะชี้เป้า แอตลิส สอง ไล้เทนนิ่ง สไนเป้อร์ ไม่ต้อง .......... เนื่องจาก อัลฟ่าเจ็ท บทบาทสนับสนุนในพื้นที่การรบ ซึ่งพื้นที่นั้น เรามี ผตน คอยชี้เป้าอยู่แล้ว ........... ขณะที่ เอฟ-16 โจมตีทางลึก ไม่มี ผตน. คอยช่วยหลังแนว จึงต้องพก กระเปาะ ไปเอง............................
ด้วยดังนี้ อัลฟ่าเจ็ท จากเครื่องบินโจมตีสนับสนุนการรบอย่างใกล้ชิด ก็จะเพิ่มมิติภารกิจ สามารถโจมตีขัดขวางในพื้นที่การรบ ด้วยอาวุธแม่นยำสูง อย่างมีประสิทธิภาพ
ปล. หรือจะทอยเปล่าๆ ด้วยระเบิดซื่อบื้อ ไอเอ็นเอส ก็ช่วยให้แม่นเว่อร์ เหมือน เอฟ-16 ในคลิป
ดูเหมือนว่า การจะแทร็ค เลเซอร์สปอต ที่ฉายไปที่เป้า ยังไงก็คงต้องมีจอภาพเล็กๆสักจอ ซึ่งแน่นอนภาพย่อมได้จากกระเปาะอินฟาเรด (เฟลอร์)........... ดังนั้นเราจึงเห็น เอ-10 มีกระเปาะอินฟาเรด น้อยๆอยู่ใต้ค็อคพิท ใช้งานร่วมจอภาพใหญ่บักเอ้บ ที่ด้านขวาของคอนโซล (แม้ว่าเราจะไม่ค่อยเห็น เอ-10 ติด เลเซอร์พอด (ก็เพราะใช้บริการจาก แฟกค์ ภาคพื้นเหมือนในคลิป)) ............... กรณี เอฟ-16 103 กระเปาะชี้เป้า แอตลิสสอง ตามสเปค คล้ายว่าจะเป็นกล้องทีวี ใช้งานกลางคืนได้ไม่ดีนัก ระบบแลนเทิร์น เมื่อก่อน ก็แยกเป็น เดินอากาศ และ เลเซอร์ชี้เป้า แต่กระเปาะใหม่ๆ เด๋วนี้ ชี้เป้าในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี
นั่นหมายความว่า ถ้า อัลฟ่าเจ็ท ตั้งใจว่าจะให้ใช้ ระเบิดเลเซอร์ให้จงได้ เช่นนั้นก็ต้องมีจอภาพ 1 จอ พร้อมกระเปาะอินฟาเรด (แบบถอดได้) ซึ่ง อาจไม่ต้องมีกระเปาะเลเซอร์ชี้เป้า โดยใช้บริการจากภาคพื้น.............................. ยกเว้นซะแต่ ไม่มีจุดประสงค์ในการใช้งานระเบิดนำวิถี เอาแค่ทอยระเบิด คอนเวนชันนั่ล แม่นยำ ........... ถ้างี้ก็แค่ ไอเอ็นเอส และ คอมพิวเตอร์ขีปนะ พ่วงใส่กับ ฮัด ไม่จำเป็นต้องมีจอภาพ จ้า...............
ถ้างั้นอัพ แบบของเบลเยี่ยมก็น่าจะเวิร์ค มีจอด้านหลัง 1 จอ ไว้ทอยไข่ 55555
หรือจะทำขนาดนี้เลยก็ได้ครับ อดีต A เหมือนบ้านเรา
http://s56.radikal.ru/i153/1109/b8/1e095e01f15e.jpg
ต่อเนื่องจากเมื่อกี้สักหน่อยนะครับ........................... เมื่อกี้ ลงไปทานข้าว พึ่งนึกได้......................... เพื่อนๆหลายคนเคยติดตามภาพข่าว สมัยสงครามอ่าว ตอนที่ เอฟ-15 อี สไตร้ค์อีเกิ้ล ขนระเบิดไปถล่ม แบกแดด ................ เพื่อนๆจะเห็นภาพการทิ้งระเบิดที่แสดงในจอภาพ เป็นสองแบบ .................... แบบแรกคือ มีภาพเป้าหมายปรากฏอยู่ในจออินฟาเรด มีกากะบาดเล็กๆทับทาบอยู่ สักพัก ก็เห็นเป้ามายนั้นปะทุขึ้นจากลูกระเบิดที่ส่งลงไป............................ อีกแบบนึงคือ มีภาพเป้าหมายปรากฏอยู่ในจอภาพอินฟาเรด เหมือนกัน แต่ภาพมันจะใหญ่ขึ้นๆ จนเหมือนกระทบกับกล้องแล้วภาพก็กลายเป็นแมงเม่า...............
เพื่อนๆครับ แบบแรกนั้น ก็คือแบบที่ผมอธิบายไปตอนแรก คือต้องมีกระเปาะสร้างภาพติดอยู่ที่เครื่องบิน................ในขณะแบบที่สองนั้น เป็นภาพที่ได้จากกล้องที่หัว ของระเบิด/จรวด นั้นเอง ระบบนี้จึงเรียกว่า การนำวิถีด้วย ทีวี ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นการประสมกันระหว่าง กล้องอินฟาเรดที่หัวอาวุธ กับระบบนำวิถี ไม่ว่าจะเป็น เลเซอร์ , ไลน์ ออฟ ไซจท์ หรือ อินฟาเรดนำวิถี(เช่นจรวดเฮลไฟร์) ............... ครับซึ่งถ้าเป็นแบบหลังนี้ อาจไม่ต้องมีกระเปาะอินฟาเรดที่เครื่องบิน ไปใช้ของทีวีที่หัวนำวิถีกันเลย ประมาณว่า เป็นแบบใช้แล้วทิ้งนะครับ ซึ่งแน่นอน ระเบิดมันก็คงจะแพงกว่าแบบธรรมดาหน่ะหล่ะ...........................
"
เรียนท่านเล็ก สำหรับ ภาพตามลิ้งค์ นั่นก็น่าจะพอเป็นไปได้ครับ ฮัดยังเป็นอันเดิม ที่เพิ่มมาคือจอภาพ เอนกประสงค์เล็กๆจอนึงตรงกลาง เอาไว้สร้างภาพตอนทิ้งระเบิด ................ซ้ายบนนั่น เดิมเป็นกล่องกระเปาะเดินอากาศ อันนี้ดู หะรูหะรา ไม่น้อย ............ ที่ขาดไม่ได้ ขวามือด้านล่าง (ไม่ปรากฎในภาพ ) จะต้องมี ปุ่มบิดหมุน รวมถึงช่องดาวโหลดข้อมูลสำหรับระบบ ไอเอ็นเอส ครับ..................... ลำนี้ ไม่มี เรดาร์วอร์นนิ่ง นะครับ...................ซึ่งผมว่าจริงๆ ภารกิจนี้อาจไม่ต้องก็ได้ครับ เพราะศัตรูตัวฉกาดคือ แซม อินฟาเรดแบบแมนแผด ครับ...................... เผลอๆ ตอนยิงไม่มีเรดาร์อะไรด้วยซ้ำ ใช้ วิช่วล เพียวๆ
คงอยู่ที่ ทอ.ละครับ ว่าจะจัดเต็มขนาดไหน หรือเอาแค่ ยืดอายุการใช้งานไปเฉยๆ อยากเห็นข้อมูลการอัพจริงๆ
ปล.ได้ไปอ่าน link ZA ของอัฟริกาใต้คร่าวๆ มันสามารถใช้ร่วมกับ HAWK 120 ได้ด้วย เป็นไปได้ไหม ว่า A-jet เราจะไปทำหน้าที่ตรงนั้น ในฐานนะ link T แต่ข้อมูลไม่รู้จะแชร์กันได้ขนาดไหน จะมาทั้งภาพ และเสียงไฮไฟ สเตริโอ หรือ ไปได้แค่เสียง แบบโมโน ^.^
ขุด ครับขุด เลขที่ออก อ๊อด อ๊อด
อืมมมมม ปรับปรุงรอบนี้ A-jet จะได้อะไรบ้างนะ
รูปครับ
A-jet
รูปไม่ไป TT เอา link ไปแทนละกันครับ RV คอนเน็ค ได้งานไป เหมือนกับคราวปรับปรุง AU-23 เลย๐
https://www.facebook.com/groups/thaiarmedforce/permalink/2283988475179163/