ช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๓๙ กองทัพอากาศไทยได้มีการสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F/A-18C/D Hornet สหรัฐฯจำนวน ๘เครื่อง
ตามความต้องการในขณะนั้นที่จะคงกำลังฝูงบินขับไล่ขั้นต่ำที่ ๕ฝูงบิน โดยยังขาดอยู่ ๑ฝูงบิน
F/A-18C Basic Training Flight
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F/A-18C ๔เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F/A-18D ๔เครื่อง เดิมมีกำหนดที่จะส่งมอบให้กับกองทัพอากาศไทยในปี พ.ศ.๒๕๔๒
ซึ่งนับเป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจที่มีขีดความสามารถบางด้านที่เหนือกว่า บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block OCU ที่ประจำการในช่วงนั้น เช่น การใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนอกระยะสายตา BVR
F/A-18C Take Off and Navigation
Clip ทดสอบการใช้หมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHCMS ร่วมกับ AIM-9X ของเครื่องบินขับไล่ F/A-18C ในเกมจำลองการบิน DCS: F/A-18C Hornet
จะเห็นได้ว่าในการรบแบบ Dogfight กับ MiG-29 ๒เครื่อง F/A-18C เมื่อใช้หมวก JHCMS กับ AIM-9X จะได้เปรียบอย่างชัดเจน
โดยถ้าเปลี่ยนไปใช้ IRIS-T ที่มีความคล่องแคล่วสูงกว่าและระยะยิงไกลกว่าจะยิ่งได่เปรียบชดเชยความไม่คล่องแคล่วของ F/A-18C/D ขึ้นไปอีกครับ
อย่างไรก็ตามผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทำให้กองทัพอากาศไทยจำเป็นต้องยกเลิกการจัดหา F/A-18C/D และเปลี่ยนไปจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ๑๖เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อนแทนในปี พ.ศ.๒๕๔๕
ทำให้กองทัพอากาศไทยไม่มีเครื่องบินขับไล่ที่กำหนดแบบเป็น บ.ข.๒๐ จนกว่าจะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D สวีเดน ในปี พ.ศ.๒๕๕๔
F/A-18C Take Off and Landing
บริษัท Boeing สหรัฐฯที่ได้ควบรวมกิจการบริษัท McDonnell Douglas ในปี 1997 ได้ปิดสายการผลิต F/A-18C/D Hornet ในปี 2000 ซึ่งเครื่องที่เดิมกองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาได้ถูกส่งมอบให้กับนาวิกโยธินสหรัฐฯแทน(เป็น F/A-18D สองที่นั่งทั้ง ๘เครื่อง)
โดยนอกจากกองทัพเรือสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯที่ใช้ F/A-18 Hornet ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว ยังมี แคนาดา สเปน ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ คูเวต และมาเลเซีย ที่จัดหาไปใช้งานซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบินตามแบบประจำการ
F/A-18C aircraft carrier take off and landing on CVN-74 USS John C. Stennis
เครื่องบินขับไล่ F/A-18C Hornet ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจเหมือนเครื่องบินขับไล่ F-16 Fighting Falcon โดย
สำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ Hornet ถูกออกแบบมาทดแทนเครื่องบินโจมตี LTV A-7E Corsair II และเครื่องบินโจมตี Grumman A-6E Intruder
Basic Fighter Maneuvers F/A-18C vs MiG-21Bis
F/A-18C Hornet ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F404-GE-402 สองเครื่อง ทำใหม่มีมิติขนาดที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่ MiG-29 รัสเซียที่สร้างในยุคเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในแง่สมรรถนะการรบอากาศสู่อากาศ MiG-29 มีความคล่องแคล่วทางการบินมากว่า F/A-18C อยู่ระดับหนึ่ง
Basic Fighter Maneuvers F/A-18C vs MiG-29
ถ้าสมมุติว่ากองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ๘เครื่องตามแผนเดิมในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ภัยคุกคามที่จะต้องเผชิญจากน่าจะมาจากเครื่องบินขับไล่รัสเซียที่ประจำการในกลุ่ม ASEAN
เช่น เครื่องบินขับไล่ F-7M จีนที่ลอกแบบจากเครื่องบินขับไล่ MiG-21, เครื่องบินขับไล่ MiG-29B/SE และเครื่องบินขับไล่ Su-30SME ในอนาคตจากทางพรมแดนตะวันตกเป็นต้น
Basic Fighter Maneuvers F/A-18C vs Su-30
เครื่องบินขับไล่ F/A-18C ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ M61 Vulcan 20mm ความจุกระสุน ๕๗๘นัด ภายในลำตัว ซึ่งเป็น ปญอ.แบบเดียวกับที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-16A/B
F/A-18C gun kill IL-76MD
เครื่องบินขับไล่ F/A-18C ติดตั้ง radar แบบ AN/APG-73 ซึ่งสามารถใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-7 Sparrow และ AIM-120 AMRAAM ได้
F/A-18C firing AIM-7M
ในภารกิจการรบอากาศสู่อากาศเครื่องบินขับไล่ F/A-18C สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder ที่ตำบลอาวุธปลายปีก ๒จุดแข็งรวม ๒นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-7 หรือ AIM-120 ที่ตำบลอาวุธข้างลำตัวเครื่อง ๒จุดแข็งรวม ๒นัด
เมื่อรวมกับตำบลอาวุธใต้ปีก ๔จุดแข็งที่สามารถติดตั้งรางยิงอาวุธแบบ LAU-115 ที่สามารถติดรางอาวุธ LUA-127 สำหรับ AIM-9 หรือ AIM-120 ได้ ๑คู่ ๒นัด ทำให้ F/A-18C สามารถติด AIM-120 ได้สูงสุดถึง ๑๐นัด
Air Combat Manoeuvring F/A-18C vs MiG-29
นับว่าในสมัยนั้นกองทัพอากาศไทยมองการณ์ไกลที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ที่สามารถทำภารกิจครองอากาศและโจมตีทางลึกได้ระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ F-16 ADF และเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM EMLU ที่มีในปัจจุบันที่สามารถติด AIM-120C ได้สูงสุด ๔-๖นัด
โดยห้องนักบินแบบ glass cockpit ของเครื่องบินขับไล่ F/A-18C ในช่วงที่พิจารณาจัดหาก็มีความทันสมัยกว่าห้องนักบิน F-16A คือ F/A-18C มีจอแสดงผลเอนกประสงค์ ๓จอ โดยเป็นจอสี ๑จอ ขณะที่ F-16A มีจอ REO(Radar Electro Optical) กับแผงควบคุม SCP(Stores Control Panel) เท่านั้น
Air Combat Manoeuvring F/A-18C vs Su-27 and MiG-29
เครื่องบินขับไล่ F/A-18C ในภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน ซึ่งสามารถติดตั้งอาวุธมาตรฐานที่มีใช้งานในกองทัพอากาศไทยอยู่แล้วได้แทบทุกแบบ เช่น จรวดไม่นำวิถี Hydra 2.75" และลูกระเบิดทำลายตระกูล Mk80s รวมถึงระเบิดอมภัณฑ์ย่อย Mk20 Rockeye II และตระกูล CBU
แม้ว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่แต่กองทัพเรือสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯมักจะมอบหมายภารกิจโจมตีทางอากาศให้กับเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D เป็นหลัก
F/A-18C gun and rockets training
ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐฯได้ถอนเครื่องบินขับไล่ F/A-18C ออกจากการวางกำลังในการรบตั้งแต่เดือนเมษายน 2018 โดยหลายฝูงบินขับไล่/โจมตีที่ประจำการเดิมได้ถูกเปลี่ยนแบบไปเป็นเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E Super Hornet แทนหรือ Lockheed Martin F-35C Lightning II ในอนาคต
ขณะที่นาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนที่จะประจำการเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ไปจนถึงช่วงต้นปี 2030s โดย Boeing ได้สนับสนุนแผนการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้าง SLEP(Service Life Extension Program) จากเดิมที่ออกแบบมาใช้งานได้ ๖,๐๐๐ชั่วโมงบินเป็น ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน
F/A-18C conventional bomb training
เกมจำลองการบิน DCS: F/A-18C Hornet ที่นำมาเป็นภาพประกอบนี้ยังอยู่ในช่วง Early Access ซึ่งยังขาดคุณสมบัติอีกหลายอย่างเช่น Mode Air-to-Air Radar ยังไม่ครบ ยังไม่มี Air-to-Ground Radar การใช้งานหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS ร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9X ยังไม่สมบูรณ์
ยังไม่มีกระเปาะชี้เป้าหมายอย่าง AN/ASQ-228 ATFLIR ยังใช้ระเบิดนำวิถี Laser Paveway ระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้าน radar AGM-88 HARM และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ AGM-84 Harpoon ไม่ได้ครับ
(เกมจำลองการบิน F/A-18 Hornet 3.0 ของ Graphsim Entertainment ที่ออกในยุค Windows 95 ยังมีความหลายหลายในการใช้อาวุธและระบบตรวจจับกว่า)
การยกเลิกโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ในปี พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๑ มีผลกระทบต่อแผนการพัฒนากำลังรบของกองทัพอากาศในช่วงหลังจากนั้นมาอย่างมาก
อย่างไรก็ตามถ้าสมมุติกองทัพอากาศไทยยังคงสามารถจัดหา F/A-18C/D เข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ได้จริง
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D เข้าประจำการในฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ เพื่อทดแทน บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F
รวมถึงโครงการปรับปรุง บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ก็คงน่าจะเป็นไปตามแผนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่
ทำให้เป็นไปได้มากที่ F/A-18C/D กองทัพอากาศไทยอาจจะได้รับการปรับปรุงให้ใช้หมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS ร่วมกับ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T เหมือน EF-18M กองทัพอากาศสเปน
และอาจจะรวมถึงกระเปาะชี้เป้าหมายอย่าง Sniper ที่ติดกับ CF-18 กองทัพอากาศแคนาดา หรือ LITENING ที่ติดกับ F/A-18C/D นาวิกโยธินสหรัฐฯครับ
เกมจำลองการบินในตระกูล DCS World นั้น F/A-18C Hornet เป็นเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐฯแบบแรกๆที่ถูกเพิ่มเข้าไป
ในอนาคตจะมีเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบินอีกหลายแบบ เช่น F-14A/B Tomcat, A-7E Corsair II และ A-6E Intruder เป็นต้น
ซึ่งเครื่องที่นำมาจำลองในเกมตระกูลนี้ได้ ถ้าไม่ปลดประจำการไปแล้ว ก็ใกล้จะปลดประจำการแล้ว หรือประจำการมานานมากแล้วครับ
EF-18A Spanish Air Force with IRIS-T
www.aviationcorner.net
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยใกล้ที่ใช้งานร่วมกับหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS ที่เครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B/C/D Hornet รองรับการใช้งาน
คือ AIM-9X ของ Raytheon สหรัฐฯที่ใช้ในกองทัพเรือสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯและอีกหลายประเทศ กับ IRIS-T ของ Diehl เยอรมนีที่ใช้โดยกองทัพอากาศสเปน
ถ้าหากว่ากองทัพอากาศยังคงสามารถจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ได้ตามแผนเดิมอยู่ ก็เป็นไปได้มากว่าในช่วงหลังจากที่มีการจัดหา Gripen C/D หรือ F-16AM/BM EMLU
F/A-18C/D ก็น่าจะได้รับการปรับปรุงโดยมีการจัดหาหมวก JHMCS พร้อมกับ IRIS-T เพื่อให้มีความเป็น Common Fleet ด้วยครับ
clip การทดสอบการใช้งานขั้นต้นของหมวก JHMCS ใน DCS: F/A-18C Hornet (ยังไม่ได้ใน Early Access Version ล่าสุด)
การแสดงผลของหมวก JHMCS รวมถึงการควบคุมที่ใช้กับเครื่องบินขับไล่ F-16 จะต่างไปจากที่เห็นนี้บางจุดครับ
Clip นี้เป็นการสาธิตการใช้งานหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHCMS ของเครื่องบินขับไล่ F-16 ในเกมจำลองการบิน Falcon BMS 4.33
ห้องนักบินของ F-16C Block 50/52 กับ F-16AM EMLU นั้นมีความแตกต่างกันน้อยมาก การจัดวางแผงควบคุมกับการแสดงผลต่างๆแทบจะเหมือนกันเกือบทั้งหมด
ซึ่งใน Clip ก็ได้เห็นภาพรวมว่าการใช้งานหมวก JHCMS ใน บ.ข.๑๙ F-16AM EMLU กองทัพอากาศไทยจะมีลักษณะต่างจาก F/A-18C ใน Clip ก่อนอย่างไรครับ
Military: Finland To Replace Hornet Jets By 2030
A Finnish air force F-18 Hornet jet takes to the skies after updates to revamp its combat capabilities are updated.
https://www.defensenews.com/home/2015/06/11/military-finland-to-replace-hornet-jets-by-2030/
MLU 2 will give the Hornet provisions for the delivery of stand-off air-to-ground munitions, among other improvements.
http://aagth1.blogspot.com/2015/06/fa-18-jdam.html
กองทัพอากาศฟินแลนด์เป็นลูกค้าส่งออกรายท้ายๆของ Boeing สหรัฐฯที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet ก่อนที่จะปิดสายการผลิตในช่วงต้นปี 2000s
ด้วยความเป็นประเทศเป็นกลางกองทัพฟินแลนด์เพิ่งจะเริ่มการฝึกการใช้อาวุธทางอากาศด้วยระเบิดจริงเป็นครั้งแรกในปี 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/06/2.html)
ซึ่งที่ผ่านมาฟินแลนด์ไม่เคยฝึกทิ้งระเบิดจริงเลยนับตั้งแต่สิ้นสุดสงคราม Winter War กับรัสเซียช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (เพราะช่วงหลังมานี้รัสเซียเริ่มมีการปฏิบัติการทางทหารคุกคามฟินแลนด์มากขึ้น)
โดยกองทัพอากาศฟินแลนด์จัดหาอาวุธโจมตีภาคพื้นดินความแม่นยำสูงหลายแบบมาใช้กับ F-18 ของตน เช่น JDAM กับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน AGM-158 JASSM
ทั้งนี้ฟินแลนด์มีแผนที่จะใช้ประจำการ F-18 ไปจนถึงช่วงปี 2030s โดยตั้งโครงการศึกษาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนแล้ว
ถ้ากองทัพอากาศไทยยังคงสามารถจัดหา F/A-18C/D ได้อยู่ก็น่าจะประจำการไปได้นานกว่าฟินแลนด์อยู่บ้าง แต่คงจะไม่ได้ปรับปรุงติดอาวุธบางอย่างที่เหมือนกันครับ
จอแสดงผลควบคุม UFCD(Up-Front Control Display) ได้ถูกนำติดตั้งใช้ในเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet
รวมถึงถูกนำมาแทนที่แผงควบคุม UFC(Up-Front Control) เดิมที่ถูกใช้ในเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยของสวิตเซอร์แลนด์และแคนาดา
จอ UFCD ถูกใช้การป้อนและปรับแต่งค่าข้อมูลต่างๆ เช่น ความถี่วิทยุ, ช่องสัญญาณนำร่อง/ลงจอด TACAN และ ILS เป็นต้น
ก็ไม่ทราบว่าถ้ากองทัพอากาศไทยยังคงได้รับมอบ F/A-18C/D ๘เครื่องตามแผนเดิมอยู่ จะมีการเปลี่ยนไปใช้จอ UFCD ใหม่นี้หรือไม่ครับ