อยากทราบว่าปีกพวกนี้เป็นปีกลู่หรือเปล่าครับ
Su6
G8n1
Swept wings น่าจะลู่ทั้งปีกนะครับ แบบในภาพน่าจะอยู่ในหมวดปรกตรงอยู่
อันนี้เป็นวิชาการปนกับความรู้สึกนะครับ ผิดตกบกพร่องขออภัย..................
ปีกแบ่ง ชายขอบ ออกเป็น2ด้าน คือชายขอบหน้า และชายขอบหลัง...........โดยที่
1.ชายขอบหน้า เป็นส่วนปะทะอากาศ ทำให้เกิดความต่างของความเร็วด้านบนและล่างของปีกทำให้เกิดแรงยก
1.1 ชายขอบหน้า ตรง กระแสอากาศไหลผ่านใต้ปีกมากได้แรงยกมาก แต่แรงต้านซึ่งเกิดจากการปะทะอากาศตรงๆก็มีมาก
1.2 ชายขอบหน้าลู่หลัง เกิดการผ่องถ่ายกระแสอากาศไหลไปตามชายปีกสู่ด้านหลังลดแรงปะทะจึงเกิดแรงต้านน้อย และเนื่องจากกระแสอากาศไหลผ่านปีกน้อยลง จึงได้แรงยกน้อยกว่าปีกตรง เสถียรภาพการบังคับก็น้อย
1.3 ชายขอบหน้า ลู่หน้า เกิดการผ่องถ่ายกระแสอากาศไหลไปทางด้านหลังตรงโคนปีกติดลำตัว แรงต้านน้อย และมีเสถียรภาพการบังคับมาก (ถ้าวันไหน เมียใจดีขับรถให้นั่ง ลองแง้มกระจก แล้วทำฝ่ามือแบนๆยื่นออกไปทั้งแขน ลองเทียบระหว่าง ยื่นเฉียงตรงไปข้างหน้า กับยื่นเฉียงไปด้านท้าย แล้วลองกระดกข้อมือขึ้นลง อย่างแรกแรงปะทะทำให้แขนขยับขึ้นลงรุนแรงทั้งลำ)
ทั้งหมดนี้คือสันฐานชายขอบหน้าแบบปกติ ซึ่ง ไม่ใช่การเปิดแฟล่บ หรือการเพิ่มส่วนโค้งงอปีก ทำให้เกิดแรงยกเพิ่มนะครับ อันนั้นสันฐานแบบไหนก็ยกได้เยอะ.................. มีต่อ
2.ชายขอบหลัง...... เป็นส่วนทีอากาศไหลพ้นผ่านออกไป ซึ่ง อันนี้ เป็นความรู้สึกล้วนๆนะครับ ชายขอบหลังนี้ จะมีส่วนในเรื่องเสถียรภาพของปีก โดยถ้าวัดจากชายขอบหน้ามายังชายขอบหลัง ส่วนใหนของปีกที่มีระยะห่างระหว่างชายขอบทั้งสองมาก บริเวณนั้นจะมีแรงดันให้เกิดเสถียรภาพมาก
2.1 ชายขอบหลังที่ขนานไปกับชายขอบหน้า เมื่อลมเข้าสู่ปีกผ่านจากชายขอบหน้าสู่ชายขอบหลัง และระยะทางที่อากาศเคลื่อนผ่านเท่ากันตลอดปีก จึงไม่เกิดความแตกต่างของความดัน กระแสลมจึงไหลลื่นปรื๊ดลื่นปรื๊ด.........
2.2 ชายขอบหลังที่มีระยะต่างๆกัน เมื่อวัดจากชายขอบหน้า เมื่อระยะที่อากาศเคลื่อนผ่านปีกไม่เท่ากัน จึงเกิดความแตกต่างของความดัน ส่วนใดที่กระแสอากาศไหลผ่านปีกได้ระยะทางมากว่าก็จะเกิดแรงมาก เสถียรภาพจึงเกิดที่บริเวณนั้นมากกว่า
2.2.1 ชายขอบหลังทำให้พื้นที่โคนปีกมากกว่าปลายปีก เสถียรภาพอยู่บริเวณด้านใน ทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างฉวัดเฉวียน แต่เสถียรภาพน้อย เหมือนรองเท้าเสก็ตน้ำแข็ง
2.2.2 ชายขอบหลังทำให้พื้นที่ปลายปีกมากกว่าโคนปีก เสถียรภาพอยู่บริเวณด้านนอก ทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างมีเสถียรภาพ แต่ความคล่องแคล่วน้อย เหมือนนันยางดอกใหม่ๆวิ่งบนปูนขัด หรือไม่ก็ให้นึกถึงลูกแบตมินตั้น ขนไก่เหมือนปลายปีก สร้างเสถียรภาพแต่ก็ทำให้มันไปตรง ยากที่จะซิกแซก............ (สังเกตครีบหน้า ของจรวด เอๆ-10 อลาโม่ แรงเกิดขึ้นที่ปลายครีบมากกว่าโคนครีบ ส่งผลต่อโมเมนต์การบังคับเลี้ยว).........
ครับ ที่นี้เห็นปีก ก็ลอง เอา ชายปีกหน้า กับชายปีกหลัง มาประกอบกันดู ได้ผลอย่างไร