ต้นทางจาก Facebook Page Thaifighterclub
วันอาทิตย์ ท่ามกลางฝนที่ตกพรำๆชวนง่วงนอน ลองมาคิดกันเล่นแก้ง่วงครับ กับคำถามที่ว่า
ถ้าเกิดกรณีความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคนี้ จนรัฐบาลในประเทศนั้นคุมสภานการณ์แทบไม่ได้ จนต้องมีการอพยพคนไทยจำนวนมากออกจากประเทศนั้นเป็นการด่วน แต่โจทย์สำคัญคือ สนามบินในประเทศนั้นปิดใช้การไม่ได้ และรัฐบาลเจ้าของประเทศไม่รับรองความปลอดภัย เนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นสนามบินถูกยิึดครองโดยอีกฝ่าย หรือสภาพของสนามบินไม่สามารถใช้การได้ทำให้การอพยพทางเครื่องบินนั้นทำไม่ได้ ทางรัฐบาลไทยต้องอพยพคนไทยทางเรือ โดยส่งกองเรือเข้าไป และให้กองเรือลอยเรืออยู่ในน่านน้ำสากลนอกชายฝั่ง และส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าไปอพยพหรือเรือลำเลียงพล โดยอาจกำหนดจุดว่าเป็นสนามบิน,สถานทูตไทย หรือชายหาดของประเทศนั้น
แต่กองเรือของไทยนั้นประกอบไปด้วย ร.ล.จักรีนฤเบศร,ร.ล.อ่างทอง และเรือคุ้มกันที่เป็นเรือฟริเกตอีก 2 ลำ และสิิงที่เพิ่มเติมในกองเรือนั้นพอดีกองทัพเรือได้รับงบซื้อ AH-1Z มา8 ลำ จึงขนไปด้วย 4 ลำเพื่อทำหน้าที่คุ้มกัน แต่ฮ,ที่ใช้ลำเลียงขนาดใหญ่นั้น ทางกองทัพเรือไมมี จึงขอ ใช้ MI-17 จาก ทบ. ไป 2ลำ เพื่อจะขนคนออกมาได้มากที่และลดเที่ยวบินในการขนย้าย
คิดว่าแบบนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ให้มีเรือจักรีฯคือเป็นสนามบินลอยน้ำของ ฮ.โจมตีและฮ.ลำเลียงส่วน ร.ล.อ่างเพื่อเตรียมสำหรับการขนย้ายโดยเรือลำเลียงพลจากชายหาด และเป็นเรือลำเลียงคนที่อพยพออกจากประเทศนั้นๆ
ป.ล.ได้แนวคิดจากหนังเรื่อง Rules of Engagement ครับ
https://www.facebook.com/Thaifighterclub.org/posts/10156258262924733
สถานะการณ์สมมุติ
พ.ศ.๒๕๖x ประเทศ อ.ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN ของไทยเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มีนโยบายการปกครองแบบรัฐโลกวิสัย กับกลุ่มสุดโต่งที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองประเทศไปเป็นรัฐศาสนา
ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงขยายตัวจากการก่อการร้าย เช่น วางระเบิด และโจมตีเป้าหมายอ่อน ได้ยกระดับไปสู่การต่อสู้โดยใช้กองกำลังติดอาวุธโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นส่วนหนึ่งให้การสนับสนุน
สงครามกลางเมืองในประเทศ อ.ได้เกิดขึ้นทั่วประเทศจากหมู่บ้านเล็กๆ สู่เมืองใหญ่ จนรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่อยู่ในสถานการณ์ที่สามารถควบคุมประเทศได้ทั่วหมดแม้แต่ในเมืองหลวงก็ตาม
๓วันก่อนสถานเอกอัครราชทูต ประจำเมืองหลวงประเทศ อ.ได้ประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์ความรุนแรงแก่คนไทยที่อาศัยหรือมาท่องเที่ยวในประเทศ อ.ให้มีความระวัดระวัง
ทว่าสถานการณ์ในประเทศ อ.ได้ทวีความรุนแรงอย่างมากโดยรวดเร็ว ขณะที่ยังมีคนไทยที่อยู่ในสถานะหายสาบสูญไม่สามารถติดต่อได้ราว ๓๐คน สถานทูตไทยในเมืองหลวงประเทศ อ.ได้รับคนไทยเข้ามาหลบภัยแล้วรวมมากกว่า ๑๘๐คน ซึ่งแออัดและกำลังขาดแคลนน้ำและอาหารอย่างมาก
ล่าสุดกองทัพฝ่ายปฏิวัติได้บุกเข้าเมืองหลวงประเทศ อ. และต่อสู้กับกองทัพรัฐบาลอย่างรุนแรง ขณะที่กองทัพบกประเทศ อ.ยังคงต่อสู้ตามคำสั่งรัฐบาล แต่กองทัพเรือประเทศ อ. และกองทัพอากาศประเทศ อ.ได้ประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายเดียวกับกองทัพปฏิวัติแล้ว
ทำให้แผนของรัฐบาลไทยที่จะส่งเครื่องบินโดยสารไปรับคนไทยจากสถานทูตที่สนามบินประเทศ อ.เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากกองทัพฝ่ายปฏิวัติได้ควบคุมสนามบินทั้งประเทศแล้ว
กองทัพไทยจึงได้เสนอแผนต่อรัฐบาลไทยที่จะทำการอพยพคนไทยจากประเทศ อ.ทางทะเลโดยใช้หมู่เรือเฉพาะกิจประกอบด้วย
กำลังทางเรือ
๑.เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นเรือธง
๒.เรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.อ่างทอง
๓.เรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ร.ล.นเรศวร
๔.เรือฟริเกต ร.ล.สายบุรี
กำลังอากาศยาน
๑.เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๕ MH-60S ๒เครื่อง
๒.เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B ๔เครื่อง
๓.เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ H145M(EC645 T2) ๒เครื่อง
๔.เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300 ๒เครื่อง
๕.เฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ AH-1 ๔เครื่อง จาก ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย
หมายเหตุ: รัฐบาลไทยได้ร้องขอให้กองทัพบกสนับสนุนโดยส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ๒เครื่องจัดกำลังไปกับหมู่เรือเฉพาะกิจด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธจาก ศบบ.
โดยให้เหตุผลว่า นักบิน Mi-17V5 ทบ. ไม่เคยฝึกการลงจอดบนเรือมาก่อน รวมถึงระบบนำร่องของเครื่องก็ไม่มีความเหมาะสมในการใช้ปฏิบัติการร่วมกับเรือผิวน้ำ และทั้ง ร.ล.จักรีนฤเบศร และ ร.ล.อ่างทอง มีดาดฟ้าบินที่ไม่รองรับการลงจอดของ Mi-17 ด้วย
กำลังทางบก
๑.ชุดปฏิบัติการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ๑๖นาย
หมายเหตุ: กองทัพเรือไทยได้เสนอแนะให้มีการจัดกำลังนาวิกโยธินพร้อมยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ไปกับหมู่เรือเฉพาะกิจด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลไทยโดยให้เหตุผลว่า
การส่งทหารไปเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านอาจจะเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อประชามคมโลกได้ว่าไทยฉวยโอกาสขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเกิดความขัดแย้งภายในประเทศส่งทหารเข้าไปแทรกแซง
ภัยคุกคามจากกำลังฝ่ายตรงข้ามที่คาดว่าจะมี
ทางบก
-กองกำลังติดอาวุธ ทั้งที่เป็นประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ในประเทศ อ. รวมถึงอาสาสมัครจากต่างชาติไม่ต่ำกว่า ๘,๐๐๐-๑๕,๐๐๐นาย
-รถถังหลัก Leopard 2 ไม่ทราบจำนวน ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-รถถังเบา Scorpion ไม่ทราบจำนวน ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-รถรบทหารราบ Marder ไม่ทราบจำนวน ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-รถรบทหารราบ BMP-2 ๔๐คัน ที่นาวิกโยธิน กองทัพเรือประเทศ อ. แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกองทัพปฏิวัติ
-รถรบทหารราบ BMP-3 ๕๔คัน ที่นาวิกโยธิน ประเทศ อ. แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกองทัพปฏิวัติ
-รถสายพานลำเลียง M113 ไม่ทราบจำนวน ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-รถสะเทินน้ำสะเทินบก LVTP-7A1 ๑๕คัน ที่นาวิกโยธิน ประเทศ อ. แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกองทัพปฏิวัติ
-ยานเกราะล้อยาง 8x8 6x6 และ 4x4 หลายรุ่นเป็นจำนวนมาก ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล และจากนาวิกโยธินที่แปรพักตร์
-เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง Astros II, RM-70, Type 90B ประมาณ ๑๐กว่าระบบ ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล และจากนาวิกโยธินที่แปรพักตร์
-ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 ประมาณ ๕-๑๐ระบบ ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-ปืนใหญ่ลากจูงหลายแบบและหลายขนาดลำกล้อง เป็นจำนวนมาก ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล และจากนาวิกโยธินที่แปรพักตร์
-อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ เช่น Starstreak, Mistral, Strela-3, Igla, Grom และ QW-3 เป็นจำนวนมาก ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานลากจูง เช่น Rh 202 20mm, ZU-23-2 23mm, Bofors L70 40mm และ S-60 57mm เป็นจำนวนมาก ที่กองทัพปฏิวัติยึดได้จากกองทัพรัฐบาล
-รถยนต์บรรทุกดัดแปลงติดอาวุธ Technical จำนวนมาก
ทางเรือ(กองทัพเรือประเทศ อ. แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกองทัพปฏิวัติ)
-เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ๕ลำ
-เรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีสมรรถนะสูง ๒ลำ
-เรือคอร์เวตติดอาวุธปล่อยนำวิถีสมรรถนะสูง ๔ลำ
-เรือคอร์เวตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ๖ลำ
-เรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำ ๑๔ลำ
-เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี ๒๒ลำ
-เรืออู่ยกพลขึ้นบก ๖ลำ
-เรือยกพลขึ้นบกใหญ่ ราว ๑๒+ลำ
ทางอากาศ(กองทัพอากาศประเทศ อ. แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกองทัพปฏิวัติ)
-เครื่องบินขับไล่ Su-35 ๑๑เครื่อง ที่หน่วยบินแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกองทัพปฏิวัติ
-เครื่องบินขับไล่ Su-30MK2 ๑๑เครื่อง ที่หน่วยบินแปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เครื่องบินขับไล่ F-16A/B/C/D ราว ๔๐เครื่อง ที่หน่วยบินแปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เครื่องบินโจมตีใบพัด A-29B Super Tucano ๑๕เครื่อง ที่หน่วยบินแปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C-295, CN-235, C-130 และ C-212 รวมมากกว่า ๕๐เครื่อง ที่หน่วยบินแปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ๘เครื่อง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ๕เครื่อง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ AS550 Fennec ราว ๑๐เครื่อง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-17 ราว ๑๐เครื่อง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 412 ราว ๕๐เครื่อง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง H225M ๖เครื่อง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับกองทัพปฏิวัติ
-อากาศยานไร้คนขับหลายแบบรวมถึง UAV ติดอาวุธ เป็นจำนวนมาก
ความเห็นวิเคราะห์จากผู้เขียน
เป็นเรื่องน่าสนใจที่ว่าไทยจะสามารถใช้ปฏิบัติอพยพคนไทยจากประเทศที่มีศักย์สงครามใกล้เคียงกัน โดยใช้กองทัพไทยเป็นหน่วยงานหลักได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม กองทัพประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN เกือบทุกประเทศจะมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีการฝึกร่วมกับกองทัพไทยอยู่บ่อยครั้ง
ถ้ารัฐบาลกลางประเทศ อ.อยู่ในสถานะที่ควบคุมสถานการณ์ในประเทศไม่ได้แล้ว ทางไทยคงจำเป็นต้องติดต่อกับผู้บัญชาการระดับสูงของฝ่ายกองทัพปฏิวัติว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการอพยพคนไทยออกมาได้หรือไม่
แต่ปัญหาสำคัญจะอยู่ที่กลุ่มอาสมัครติดอาวุธท้องถิ่นในประเทศ อ.ที่กองทัพปฏิวัติอาจจะควบคุมไม่ได้ทั้งหมด ซึ่งอาจจะเกิดเหตุรุนแรงที่ไม่คาดคิดขึ้นได้
รวมถึงการรอความช่วยเหลือจากชาติมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯ หรือจีน อาจจะล่าช้าเกินไปก็ได้ครับ
ซีนารีโอ้ของพี่ อย่างยากเลยครับ เพราะเหตุว่า ทร.+ทอ. ของประเทศ อ. ดันเข้าด้วยกับฝ่ายปฏิวัติเสียแล้ว
ปฏิบัติการอพยพคนไทยจากประเทศเพื่อนบ้านที่เหตุจลาจลครั้งใหญ่ที่เหตุการณ์หนึ่งในในอดีตคือยุทธการโปเชนตงปี พ.ศ.๒๕๔๖
ซึ่งในกรณีนั้นประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวนั้นมีศักย์สงครามที่ต่ำกว่าไทยในภาพรวม คือไม่มีกำลังรบทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศที่เข้มแข็มมากพอที่จะขัดขวางการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายไทยเราได้
ผลฝ่ายไทยเราสามารถส่งเครื่อบินลำเลียงไปที่สนามบินของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับคนไทยกลับ รวมถึงส่งหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินเฉพาะกิจใกล้น่านน้ำนอกอาณาเขตประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเตรียมปฏิบัติขั้นต่อไปหากความรุนแรงทวีมากขึ้นได้
อย่างไรก็ตามในยุคร่วมสมัยปัจจุบันนี้ ไทยเรายังไม่มีประสบการณ์ในกรณีที่ว่าถ้าเหตุการณ์รูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ไกลจากอ่าวไทยหรือทะเลอันดามันออกไป และประเทศเพื่อนบ้านที่เกิดกรณีความไม่สงบดังกล่าวมีศักย์สงครามที่ใกล้เคียงกับกองทัพไทย
ก็จึงเป็นที่มาของกรณีสมมุติที่เป็นโจทย์คำถามในข้างต้นครับ
กรณีนี้ถ้าดูตามกำลังทางเรือไทยที่ส่งไป คงไม่สำเร็จ. ทางที่ทำได้คือ ต้องใช้กองกำลังผสมอาเซียน 3 ประเทศ. โดยมีมาเลเซียเป็นแกนนำ และมีไทย สิงคโปร์ร่วมทัพ. โดยทางอากาศ. F18 F15บินคุ้มครองตลอดเวลา. ใต้น้ำมีเรือดำน้ำ มาเลเซียกับสิงคโปร์ รวม 2 ลำ คอยคุ้มครอง. ทางเรือ ของไทยต้องเพิ่มเรือท่าจีน กับเรือตากสิน สิงคโปร์เรือฟริเกต fomidable 2 ลำ เรือลำเลียงชั้น LPD endurance 4 ลำ เสริมทัพ ส่วนเรือรบผิวน้ำมาเลเซียคงไม่จำเป็น. เนื่องจากนับถือศาสนาเดียวกันคงไม่ต้องอพยพ
ประเด็นสำคัญที่จะเป็นปัญหาสำหรับการจัดตั้งกองเรือผสมเฉพาะกิจชาติพันธมิตร ASEAN เพื่อปฏิบัติการอพยพคนไทยและคนของแต่ละประเทศออกจากเหตุการณ์ความรุนแรงภายในประเทศ อ. นั้น
คือการที่ ASEAN เองยึดถือนโยบายที่ว่าชาติสมาชิกแต่ละประเทศจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกด้วยกัน เพราะชาติสมาชิก ASEAN แต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกันมากถ้าเทียบกับสหภาพยุโรป EU
การจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจระหว่างกองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือประเทศ ม. และกองทัพเรือประเทศ ส. ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับประเทศ อ. จะมีปัญหาสำคัญคือ
๑.เนื่องจากเป็นการส่งกำลังทหารรุกเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน ASEAN ดังนั้นแต่ละประเทศคงจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการประชุมหาข้อตกลงเรื่องขอบเขตและข้อกำหนดของการใช้กำลังทางทหารร่วมกัน
๒.รัฐบาลประเทศ ม. และรัฐบาลประเทศ ส.คงจะให้ความสำคัญกับการอพยพคนของประเทศตนเองออกจากประเทศ อ. มากกว่าในระยะเวลาดังกล่าว
๓.ประเทศ ม. และ ประเทศ ส.ในฐานะเพื่อบ้านที่มีพรมแดนติดกับ ประเทศ อ. และเคยมีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์และทางทหารร่วมกันอยู่นั้น(นับถือศาสนาเดียวกันก็รบกันได้ ดูตัวอย่างได้ในตะวันออกกลาง)
การส่งกองเรือผสมขนาดใหญ่เข้าไปในน่านน้ำประเทศ อ.ช่วงที่กำลังเกิดความขัดแย้งภายอาจจะถูกกองทัพฝ่ายรัฐบาลและกองทัพฝ่ายปฏิวัติของประเทศ อ.มองว่าจะเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ภายในของตนจนบานปลายไปสู่งสงครามระหว่างประเทศก็ได้
ซึ่งไม่อยากนึกภาพ หมู่เรือของกองทัพเรือไทย+หมู่เรือประเทศ ส.+หมู่เรือประเทศ ม. โดนกองทัพเรือและกองทัพอากาศประเทศ อ.ถล่มด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี โดยที่เครื่องบินขับไล่ครองอากาศของกองทัพอากาศประเทศ ม. และกองทัพอากาศประเทศ ส. บินมาช่วยไม่ทันเลยครับ
ผมมองว่าปฏิบัติการนี้กองเรือรบไทยแทบไม่มีทางทำได้เพียงลำพังครับ. จากแผนที่การที่กองเรือไทยจะไปถึงเมืองหลวงของประเทศ อ ต้องผ่านช่องตรงกลางระหว่างเกาะสุ กับเกาะบอ. หากเกิดผิดพลาดอาจโดนรุมโจมตีจากบนเกาะทั้งสองด้าน หรืออาจ 3 ด้านจากเกาะที่ตั้งเมืองหลวง อ. ด้วยจรวดโจมตีเรือติดตั้งบนรถ (เหมือนในตะวันออกกลาง) ถือเป็นจุดตายเลยครับ ต่อให้เก่งแค่ไหนก็คงรอดยาก. คงต้องใช้แผนอื่นแล้ว
ตอน ดังเคิร์ก ทร. ทอ. ฝรั่งเศษในเวลานั้น คงสิ้นสภาพไปแล้ว เหลือแต่กำลังทางบกที่วางแนวป้องกันรอบหาดอยู่ แต่อย่างน้อย ทร. อังกฤษยังคงครองทะเล ประกอบกับระยะทางไม่ไกลมากนัก การอพยพจึงสามารถทำได้ แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปฏิบัติการไดนาโมสำเร็จ ก็อยู่ตรงที่เยอรมันไม่เอาจริงนั่นเอง
แต่ในสถานการณ์สมมุตินี้ หากฝ่ายเราต้องการอพยพคนไทยออกมา ผมเห็นว่า ไม่สามารถทำได้ด้วยปฏิบัติการทางทหารแต่เพียงอย่างเดียว ครับ จำเป็นต้องใช้มาตรการทางการฑูตเข้าช่วย โดยติดต่อกองกำลังฝ่ายปฏิวัติ เจรจาต่อรองให้ฝ่ายเขายอมให้มีการอพยพได้
หากกองกำลังฝ่ายปฏิวัติไม่เอา ทร. ทอ. เข้ารบกับกองเรืออพยพของเรา การลำเลียงคนไทยออกมาจึงจะเป็นไปได้ครับ
ก็เป็นไปตามข้อคิดเห็นของผู้เขียนครับว่า ในกรณีโจทย์สถานการณ์สมมุตินี้การเจรจาระหว่ารัฐบาลไทยกับผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศ อ.ไม่ว่าจะกองทัพฝ่ายรัฐบาล หรือกองทัพฝ่ายปฏิวัติ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทางไทยสามารถอพยพคนไทยออกจากประเทศ อ.ได้อย่างปลอดภัย
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาแล้ว เช่น การอพยพคนไทยออกจากลิเบียซึ่งเกิดภาวะสงครามกลางเมืองจนมีสภาพเป็นรัฐล้มเหลวตั้งแต่ปี 2011 และอีกครั้งในปี 2014 ตอนนั้นมีนักศึกษาและแรงงานไทยอยู่ที่ลิเบียมากกว่า ๑,๕๐๐คน
ตอนแรกรัฐบาลไทยมีแผนจะให้กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินลำเลียงไปรับ แต่ว่าในช่วงนั้นลิเบียอยู่ในสภาพที่เป็นรัฐล้มเหลวไม่มีรัฐบาลกลางควบคุมและเต็มไปด้วยกลุ่มติดอาวุธต่างๆหลายกลุ่มไปแล้ว การส่งอากาศยานทหารไปสนามบินที่ลิเบียตรงๆจะมีความเสี่ยงมาก
ไทยจึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้านของลิเบีย เช่น ตูนิเซีย และมิตรประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเพื่อประสานงานกับกลุ่มต่างๆในลิเบีย จนสามารถอพยพคนไทยออกมาได้แม้ว่าจะล่าช้าพอสมควรก็ตามครับ
โจทย์เหมือนอินโดฯโดนปฎิวัติเลยครับ งานนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแบบเจอเขมร
กำลังของเค้าไม่เป็นรองเราเลย จัดกองเรือไปเดี่ยวๆ ไม่ประสานงาน มีโอกาสเจ็บตัวสูง
ยังไงก้ต้องติดต่อทางรัฐบาลอ. ที่ยังพอประสานงานได้ ให้เตรียมจุดเซฟโซนไว้ให้เราไปขนคนออกมา
รวมถึงอาจต้องคุยกับกลุ่มปฎิวัติด้วย ว่าเราต้องการขนคนของเราออกมา
จากโจทย์ คนไทยที่ต้องช่วยเหลือ มีจำนวนไม่มากนัก คาดว่าปฎิบัติการคงใช้เวลาไม่นาน
ปัญหาคือจะเข้าไปยังไง โดยที่ไม่ต้องปะทะกับกลุ่มปฎิวัติ