คข่าวจากบล็อค
http://aagth1.blogspot.com/2018/08/vtol-putin.html?m=1
รัสเซียกำลังพัฒนาเครื่องต้นแบบของเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง(Vertical Take-Off and Landing) ที่ออกแบบสร้างใหม่ทั้งหมด ตามคำแนะนำของประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ตามที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Yuri Borisov กล่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2018
งานจะมุ่งเน้นไปยังการสร้างอากาศยานแบบใหม่ทั้งหมดแต่ต้นมากกว่าที่การสร้างเครื่องบินที่มีพื้นฐานจากแบบอากาศยานที่มีอยู่แล้วในตอนนี้ Borisov เน้นย้ำ "ไม่ต้องสงสัย นี่คืออนาคตสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินทุกแบบ
โดยปกติจะใช้เวลาราว 7-10ปี ถ้าเครื่องบินแบบใหม่นี้จะเข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากได้" รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Borisov เสริม
คำถาม... 7-10 ปี ถ้ามันสำเร็จผลิตได้จริงๆ 911 จะยังอยู่ไหม ถ้ายังอยู่จะมีโอกาสได้ย้ายค่ายกันไหม >.<
มูลเหตุทางประวัติศาสตร์ สินะครับ
A7 ปัจจุบันยังเหลือใครใช้อยู่บ้าง น่าจะปลดหมดแล้วนะ จะอัพใช้ต่อได้เหรอไม่มีเพื่อนเลย
ยุคทองของทัพเรือ นอกจากเรือฟริเกตใหม่เอี่ยมจากจีน 6 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินจากสเปน 1 ลำ เรายังได้เครื่องบินรบมือสองมา 2 ฝูง กับเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำอีก 2 ลำ
แต่เชื่อไหมว่า เครื่องบิน G222 ที่ทัพฟ้าดันแล้วดันอีกจนกระทั่งซื้อป้ายแดงได้สำเร็จ (โดนถีบตกครม.แล้วก็ยังดันเข้าไปใหม่) กลายเป็นมีอายุน้อยที่สุดไปซะงั้น โชคชะตาหรือจะสู้มานะคน ฮ่า ฮ่า
A-7 ราคาที่ซื้อมาตอนนั้นถูกกว่ารถเบนซ์อีกนะครับ ส่วนตอนจะซ่อมกับอัพเกรด ตกลงได้กับกรีซเรียบร้อย ราคาไม่แพง แต่คุณพ่อเจ้าของเครื่องเค้าเข้ามาขวาง ว่าต้องซ่อมกับเค้าเท่านั้น ห้ามไปที่อื่น แถมแพงอักโข สุดท้าย ทร. ตัดใจไม่ซ่อมปล่อยให้หมดไปตามอายุขัยครับ
เครื่องบินขับไล่ VTOL แบบใหม่ของรัสเซียมีรายงานเรื่องที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียหารือแนวทางความเป็นไปได้กับกลุ่มผู้พัฒนาอากาศยานรัสเซีย(UAC) ตั้งแต่ปี 2017 แล้ว
แต่สำหรับการส่งออกต่างประเทศหรือการนำมาใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐานตะวันตกมีข่าวร้ายอยู่คือ
๑.ระยะเวลาการพัฒนาและสร้างต้นแบบเครื่องแรกอาจจะช้ากว่า ๗-๑๐ปี ตามที่รองนายกฯรัสเซียให้ข่าว ดูตัวอย่างได้จากหลายๆโครงการในปัจจุบัน เช่น Su-57 PAK FA(T-50)
๒.รัสเซียอาจจะไม่ส่งออกเครื่องบินขับไล่ VTOL แบบใหม่ที่กำลังพัฒนานี้ให้ต่างประเทศ ตรงนี้วิเคราะห์จากสมัยที่กองทัพเรือรัสเซียยังใช้ Yak-38 บนเรือลาดตระเวนหนักบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev รัสเซียก็ไม่เคยส่งออกเครื่องรุ่นนี้ให้ต่างประเทศ
๓.ความเข้ากันได้ของระบบนำร่อง-เดินอากาศของอากาศยานรัสเซียกับเรือบรรทุกเครื่องบินมาตรฐานตะวันตกที่น่าจะยุ่งยากในการนำมาปฏิบัติการร่วมกัน ถ้าจะให้รัสเซียติดตั้งระบบตะวันตกเข้ากับเครื่องบินของตน ดูตัวอย่าง MiG-29N และ Su-30MKM กองทัพอากาศมาเลเซียที่ความพร้อมรบต่ำครับ
มองว่าถ้ากองทัพเรือไทยจะยังมีแนวคิดจัดหาเครื่องบินโจมตีไอพ่นอยู่ ก็น่าะเลือกจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา/ฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า ที่มีราคาหรือค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการไม่สูงเกินไปก็น่าจะดีครับ เช่น M-346 อิตาลี, L-39NG หรือ L-159 เช็ก(เฉพาะกลุ่มอากาศยานมาตรฐาน NATO)
โดยในส่วนฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ ที่ บ.จต.๑ก A-7E เคยประจำการ เคยได้ข่าวมาว่ามีแผนจะเปลี่ยนเป็นฝูงบิน MALE UAV อยู่ ซึ่งอาจจะมาทดแทนในส่วนของ บ.ตช.๑ T-337 ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ กบร. ด้วย
แต่ว่ากันตามตรงถ้า กบร.ได้งบประมาณมามากเพียงพอ จัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่แทน บ.ตผ.๒ก/ข P-3T/UP-3T รวมถึง ฮ.ใช้งานทางทะเลแบบอื่นๆให้ครบตามความต้องการจะดีกว่า
เพราะล่าสุด ฮ.ลล.๒ Bell 212 ก็ทำพิธีครบรอบประจำการ ๔๐ปีไปเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาครับ https://th-th.facebook.com/squadron202/posts/2198400350389070
กบร. ถ้า รับข้อเสนอในการอัพดอร์เนียร์จากทางพี่กันเค้า ก็จะได้ บ. ลาดตระเวนทางทะเลที่คิดอุปกรณืเจ๋งๆมาเลยนะครับ ส่วนที่เหลือก็รอลุ้น 235 MPA ว่าจะออกแนว asw เต็มตัวหรือไม่ ส่วน บ.ขับไล่คงลำดับท้ายๆโน่นแหละครับ