ได้ทราบข่าวมาว่ามีคนไปทำ Clip ลงใน youtube ว่า "สหรัฐฯจะเครื่องบินโจมตี A-10 มือสองให้ต่างประเทศ ไทยสนไหม?" ประมาณนี้
ซึ่งเลยเถิดไปถึงว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะจัดหา บ.จ.A-10 มาแทน บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน ๒๓๑ กับ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูงบิน ๔๑๑ เลยทีเดียว
ประเด็นแนวคิดการจัดหา A-10A ในอดีของกองทัพอากาศไทยก็มีการพูดถึงมาก่อนหน้านี้
แนะนำให้อ่านบทความนี้ของท่าน รัชต์ รัตนวิจารณ์ ครับ https://www.facebook.com/rach2511/posts/10213447289434778
30mm Gatling Cannon
ถ้าถามถึงเฉพาะว่า บ.โจมตี A-10 นั้นมีขีดความสามารถสูงกว่า Alpha Jet หรือ L-39ZA/ART อย่างไร
ถ้าเป็น A-10C ที่ปรับปรุงใหม่ไปเมื่อราว ๑๐ปีก็ทันสมัยกว่า Alpha Jet และ L-39 พอตัวทีเดียว คือใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินได้พอๆ กับ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน ๔๐๓
Hydra 70 2.75" rocket pod
แต่ว่าถ้าดูจากโครงการเปลี่ยนปีกใหม่ของ A-10 แล้ว USAF มีแผนจะใช้ A-10 ไปจนถึงปี 2030s ก่อนปลดประจำการเพื่อนำทรัพยากรไปใช้กับ F-35A แทน
ฉะนั้นถ้ารัฐบาลสหรัฐฯอนุมัติขาย A-10 ให้ต่างประเทศ ก็ต้องเป็นเครื่องที่เพิ่งปลดจากฝูงบิน หรือมาจากที่เก็บไว้ในทะเลทราย
GBU-12
ซึ่งทางบริษัท Boeing ก็เคยเสนอแผนปรับปรุง A-10 ในส่วนปีกโครงสร้างอากาศยาน เครื่องยนต์ใหม่ และระบบ Avionic ใหม่ที่ทันสมัยกว่ารุ่น A-10C เพื่อส่งออกต่างประเทศ
แม้ว่าสำหรับภัยคุกคามระดับต่ำ A-10 จะมีค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองกว่า บ.โจมตีเครื่องยนต์ใบพัดก็ตาม แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเครื่องบินขับไล่ไอพ่นระดับหนึ่ง
AGM-65
แต่ก็นั่นละถ้าถึงเวลาที่ Alpha Jet ปลดประจำการจากฝูง๒๓๑ หรือ L-39 ปลดประจำการจากฝูง๔๑๑ จริง
กองทัพอากาศไทยจะมีอากาศยานมาทดแทนในสองฝูงนี้หรือไม่? เพราะฝูงบินโจมตีจะหายไป ๑-๒ฝูง
GBU-38 JDAM
โดยในกรณีของเครื่องบินโจมตี A-10C ถ้าดูในขีดความสามารถเกิดตัวที่จะแทน Alpha Jet รุ่นโจมตีเบาจากเยอรมนีได้ แต่ในแง่อายุการใช้งานระยะยาวแล้วเหมาะหรือไม่?
หรือกองทัพอากาศไทยไม่ครจะจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบใหม่อีกแล้ว และควรให้ความสำคัญกับเครื่องบินขับไล่ที่มีความเอนกประสงค์ในการใช้งานมากกว่าครับ?
(รูปประกอบจับภาพจากเกมจำลองการบิน simulation game "DCS: A-10C Warthog" ที่เล่นเอง แสดงให้เห็นว่า A-10C มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธในรูปแบบใดได้บ้าง)
ถึงเค้าจะขายแต่เราไม่มีเงินซื้อครับ เพราะหาบล.ทดแทนหรือเสริมC-130 กับ บ.ทดแทนฝูง102ซึ่งสำคัญกว่า ก็ไม่มีงบแล้วครับ
ขอบคุณครับ ภาพกราฟฟิกสวย ส่วนตัวชื่นชอบ A-10 มานาน ตอนนี้ก็ยังชอบอยู่ในเรื่องภารกิจสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดนี่ มีความหนักหน่วงรุนแรง ไว้ใจได้ ที่สำคัญ การที่มันบินวนคอยสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นน่าจะสร้างความอุ่นใจได้ดีกว่าไอพ่นความเร็วสูงที่บินมาปล่อยอาวุธแล้วบินหายไปแน่นอน แต่ต้องยอมรับว่ามันก็มีความสี่ยงในการโดนอาวุธนำวิถีสอยเอามากกว่า
ในช่วงที่กองทัพอากาศสหรัฐฯนำเครื่องบินโจมตี A-10 มาวางกำลังในการฝึกร่วมกับไทยหลายครั้งที่ผ่านมา
เช่น A-10C จากฝูงบินขับไล่ที่ 25 ฐานทัพอากาศ Osan สาธารณรัฐเกาหลี ในการฝึก Cope Tiger
ตอนที่ USAF วางกำลัง A-10 ที่กองบิน๒๓ กับกองบิน๑ ก็เห็นภาพว่า นักบินกับช่างเครื่อง Alpha Jet กองทัพอากาศไทยให้ความสนใจมาดู A-10 อย่างมากครับ
แต่ส่วนตัวก็ไม่ทราบครับว่าหลังจาก บ.จ.๗ Alpha Jet จะปลดประจำการเมื่อมีอายุการใช้งานครบ ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน จะมีอากาศยานแบบใหม่มาแทนหรือไม่
ซึ่งกองทัพอากาศเยอรมนีเองก็ใช้งาน Alpha Jet A ก่อนจะขายให้ไทยในปี ๒๕๔๓ มาก่อนแล้วเฉลี่ยราว ๒,๐๐๐ชั่วโมงบิน
ดังนั้น Alpha Jet ที่ประจำการในฝูงบิน๒๓๑ เมื่อจะมีอายุการใช้งานในไทยที่ ๖,๐๐๐ชั่วโมงบิน ก็คงต้องพิจารณาการปลดประจำการแล้ว
ตอนนี้ถ้าจำไม่ผิด กองบิน๒๓ ก็มีฝูงบิน F-16C/D ของกองทัพอากาศสิงคโปร์มาวางกำลังใช้เป็นพื้นที่ฝึกครับ
ผมสนับสนุนให้จัดหา A10C มาประจำการ 1 ฝูง 12-18 เครื่อง. เหตุผลเพราะ ปัจจุบันหากมีการใช้กำลังกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ทางใต้ ทางตะวันตก. อำนาจการยิงของ ทบ. ไม่ได้เหนือกว่าแล้ว. ทั้งจำนวนและระยะยิง ( รถถัง. ปืนใหญ่. จรวดหลายลำกล้อง). การมีเครื่องบินโจมตีแท้ๆสามารถข่วยได้เยอะ. ส่วนเรื่องอันตรายจากจรวดต่อสู้อากาศยาน ผมว่าต่อให้เครื่องบินรบอย่าง F16 ก็รอดยากแถมโอกาสตกอาจมากกว่าเพราะเกราะบาง. แถมเครื่องยนตร์เดี่ยวอีกด้วย. อีกประการ เครื่อง A10 ถึงแม้จะเก่าแต่ด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาให้แข็งแรงจึงทำให้อายุการใช้งานได้นาน. เผลอๆเปลี่ยนเครื่องยนตร์ใหม่กับพวกระบบสายไฟก็ใช้ได้อีกไม่น้อยกว่า 20 ปี. อีกข้อคือจำนวนอาวุธที่บรรทุกได้เยอะมาก ซึ่งเป็นผมในอนาคตอาจดัดแปลง A10 เป็นเครื่องบินไร้คนบังคับก็ได้. ลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นทหารราบ เจอกับ A10Cรุ่นไร้คนขับจะน่ากลัวขนาดไหน
การใช้จ่ายเงินงบประมาณไม่ว่าเรื่องใดๆ ก็ต้องถือหลักสองประการคือ เหตุผลในการจ่าย และ ความสามารถในการจ่าย ควบคู่กันเสมอครับ ปัญหาของการใช้จ่ายเงินงบประมาณในบ้างเรา ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่เหตุผลในการจ่ายหรอกครับ แต่อยู่ที่ความสามารถมากกว่า พูดแบบบ้านๆ ก็คือ "รู้แหละว่าของมันดี แต่เงินหนะมีมั๊ย" นี่แหละครับ
การจะมี บ. โจมตีระดับ Top ในสายงานอย่าง A10 นี่ เรื่องเหตุผล อืม... ผ่านมั๊ยครับ จำเป็นมั๊ยที่ต้องมีตัว Top ถ้าเทียบระดับภัยคุกคาม ใช้ตัวรองกว่านี้ได้หรือไม่ (ตัวอะไรผมก็ไม่รู้ครับ Alpha Jet อีกที T-50 ที่ Custom มาใช้ในภารกิจโจมตี Tucano ฯลฯ)
ทีนี้ถ้า เหตุผลผ่าน เงินหละมีมั๊ย อินี่แหละลำบากครับ ต้องเอางบประมาณมากางเทียบกัน ตั้งตุ๊กตา แบบว่า สมมุติซื้อ 12 เครื่อง + อุปกรณ์ฝึกซ้อม ใช้เงินเท่าไหร่ คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของงบประมาณของ กห. แล้วคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของงบประมาณทั้งประเทศ รับไหวมั๊ย มีอะไรจำเป็นต้องใช้มากกว่านี้หรือเปล่า อะไรงี้ (อันนี้ยังไม่มองเชิงการเมืองนะครับ เพราะการซื้ออาวุธมักมีเสียงคัดค้าน และช่วงนี้ใกล้เลือกตั้ง รัฐบาลอาจเลือกนำเงินไปทำอย่างอื่นที่ได้รับเสียงชื่นชมมากกว่าแทนก็ได้)
ครับ ในกรณี A10C. ผมมองเหมือนกรณีที่เราปรับปรุง F5 คือ หากรวม ค่าใช้จ่าย ซื้อ A10C มาใช้ 20ปี บวกค่าใช้จ่าย บวกประสิทธิภาพ บวกค่าซ่อมบำรุง บวกความอยู่รอด. รวมๆน่าจะถูกกว่ากรณีซื้อ TA50เกาหลีที่อายุ 20 ปีเท่ากัน. ส่วนที่ต่างกันแค่ TA50 สามารถปรับปรุงเป็นเครื่องสกัดกั้นทางอากาศแทน F5 ได้. ซึ่งกรณีนี้ผมให้ลดจำนวนเครื่องแต่ล่ะฝูงเหลือ 12-14 เครื่อง ก็พอ แต่จำนวนฝูงเท่าเดิม 3 ฝูง คือ A10 1. ฝูง 12-14 เครื่อง TA50 2 ฝูง 24-28 เครื่อง.
สรุปคือ ผมมองว่า เราควรมีเครื่องบินแต่ล่ะประเภทให้ครบ เช่น โจมตีคือ A10. 12-14 เครื่อง สกัดกั้น คือ F5 14 เครื่อง. F16AB. 18 เครื่อง ครองอากาศ F16 32.(2 ฝูง) เครื่อง Jas39. 14เครื่อง (ต้องซื้อเพิ่มอีก 3) ฝึกบิน(โจมตี ) TA50. 28. เครื่อง. แค่นี้ก็แทบหางบประมาณไม่ได้แล้ว.