หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


พม่าจะซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-30 รัสเซีย ๖เครื่อง

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 16/02/2018 21:03:59

Moscow to deliver six Su-30 fighter aircraft to Myanmar
http://tass.com/defense/986222
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html

ระหว่างการเยือนพม่าของรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียเมื่อ ๒๐-๒๒ มกราคมที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้แถลงว่าทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงหลายอย่างรวมกัน

รวมถึงที่กองทัพอากาศพม่าจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 จากรัสเซียจำนวน ๖เครื่องด้วย

แนวความคิดในการจัดหาเครื่องบินขับไล่หนักสองเครื่องยนต์ในภารกิจครองอากาศและโจมตีทางลึกของกองทัพอากาศพม่าไม่ใช้เรื่องใหม่ครับ

โดยเมื่อราว ๑๐-๑๕ปีก่อนหน้านี้ กองทัพอากาศพม่าก็เคยมีข่าวให้ความสนใจเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด FBC-1A Flying Leopard II ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ JH-7A จีนมาก่อน

(แต่อย่างไรก็ตามจีนไม่ประสบความสำเร็จในการหาลูกค้าของเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7 ได้เลย)

ก่อนหน้านี้ในปีที่แล้วที่รัสเซียเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ MiG-35 รุ่นใหม่ ก็มีรายงานว่ากองทัพอากาศพม่าให้ความสนใจอยู่ครับ

ซึ่งปัจจุบันนี้กองอากาศพม่ากำลังอย่ระหว่าการขยายขีดความสามารถกำลังรบทางอากาศอย่างมาก

ทั้งการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 รัสเซีย, เครื่องบินขับไล่ JF-17 จีน-ปากีสถาน(ซึ่งมีแผนจะประกอบเครื่องในประเทศด้วย)

ทั้งนี้กองทัพอากาศพม่ากำลังอยู่ระหว่างการปลดประจำการเครื่องบินรบรุ่นเก่าที่ใช้งานมาได้ราว ๒๐กว่าปี เช่นเครื่องบินขับไล่ F-7M กับเครื่องบินโจมตี A-5C จีน

โดยเครื่องบินรบที่จัดหามาใหม่จะมีเสริม ฮ.โจมตี Mi-35P และเครื่องบินขับไล่ MiG-29B/UB/SE ที่มีประจำการอยู่แล้วครับ





ความคิดเห็นที่ 1


น่าสนใจว่าจำนวนที่ต้องการคือเท่าไร พม่ามี Mig-30 กว่าลำ สั่ง JF-17 ไป 16 ลำ แล้วมาสั่ง Su-30 อีก 6 ซึ่งน่าจะแค่เฟสแรก  เขาขยายกำลังได้โหดดีนะครับ แบบนี้ 102 อาจจะไม่ว่างก็ได้หลัง ADF ไป

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 22/01/2018 21:23:10


ความคิดเห็นที่ 2



ที่เห็นทางชุมชนทางทหาร online ของรัสเซียคุยกัน ดูเหมือนว่าเครื่องบินขับไล่ Su-30 ที่พม่าจะจัดหา ๖เครื่องอาจจะเป็นรุ่น Su-30SME ซึ่งมีพื้นฐานจาก Su-30SM ที่กองทัพอากาศรัสเซียใช้งานเอง

โดยรัสเซียได้เปิดตัว Su-30SME รุ่นส่งออกครั้งแรกในงาน Singapore Air Show 2016 ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 22/01/2018 22:03:33


ความคิดเห็นที่ 3


SU-30SME นี่เรดาร์น่าจะเป็นรุ่นเดียวกับ SU-30MKM ของมาเลเซีย หากจะรับมืออาจจะต้องหาเครื่องบิน AEW เพิ่มเติมและบวกด้วย อาวุธระยะใกล้ที่ทันสมัยและระยะไกลที่เพียงพอ 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/01/2018 09:09:56


ความคิดเห็นที่ 4


Su-30MKM กองทัพอากาศมาเลเซียติดตั้ง PESA Radar แบบ BARS N011M ครับ

ขณะที่ Su-30SM กองทัพอากาศรัสเซียติดตั้ง Radar แบบ Bars-R ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นรุ่นใหม่กว่าที่ติดกับ Su-30MKM

อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของสัญญาจัดหา Su-30 ๖เครื่องของพม่าถ้าเป็นรุ่น Su-30SME จริงว่าจะมีอะไรบ้างในขณะนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/01/2018 10:18:24


ความคิดเห็นที่ 5


เราโดน SU30 ล้อมรอบกันเลย มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนิเซีย แล้วมาพม่าอีก หันมาดูของเรา มีแค่ F16 MLU กับ Jas 39 ซึ่งทันสมัยอยู่ แต่ล้วนเป็น บ.เครื่องยนต์เดียว แบบนี้ ADF น่าจะแทนด้วย Gripen 12 + AEW 2 น่าจะดีนะครับ ไหนๆก็ไม่คิดจะมีบ.2 เครื่องยนต์ มาเน้นตามหลักการออกแบบ gripen ของสวีเดนเพื่อรับมือรัสเซียตั้งแต่เกิดดีกว่า หรืออย่างน้อยงบจำกัดจริงๆ คงต้องเพิ่มจำนวน FA-50 อีกซักฝูง 18 ( กับฝูงแรก 18 ) แบ่งชัดเจนไปเลย ฝูงฝึก กับ ฝูงภารกิจ
โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 23/01/2018 10:50:42


ความคิดเห็นที่ 6


ในส่วนตัวผมคิดว่าหากต้องการรับมือกับภัยคุกคามเพิ่มเติม การจัดหา FA-50 ผมว่าไม่ตอบโจทย์กับคู่ต่อสู้ระดับนี้ หาก SU-30 หลุดเข้ามาถึงขั้นด็อกไฟต์ FA-50 โดนกินเรียบแน่นอน นอกจากว่า FA-50 มีการใช้หมวกแบบ JHMCS แต่ยังไม่ทราบว่ามันใช้ได้หรือไม่ครับ ดังนั้นผมมองไปที่ JAS-39C/D เรดาร์รุ่นอัพเกรด หรือ รุ่น A/B มาอัพเป็น C/D กรณีงบน้อย

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/01/2018 11:02:03


ความคิดเห็นที่ 7


มีข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อรัสเซียครับว่า คาดว่าสัญญาการจัดหา Su-30SME ๖เครื่องของกองทัพอากาศพม่าจะมีวงเงินที่ราว $400 million(อาจจะมีในส่วนเงินกู้ช่วยเหลือแก่พม่าจากทางรัสเซีย)

โดยจะเป็นเครื่องใหม่ที่ทำการผลิตที่โรงงานอากาศยาน Irkutsk รัสเซีย ซึ่งอาจจะส่งมอบให้ได้ภายในปี 2019 เป็นต้นไปครับ(ถ้าจริงนับว่าค่อนข้างเร็วมาก)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/01/2018 11:16:21


ความคิดเห็นที่ 8


FA-50 นี่แม้สเปคมันจะเกินหน้าเกินตาเครื่องฝึกไปหน่อย แต่ก็ไม่เหมาะจะเอาไปชน บข.หรอกครับ ถ้ารุ่นที่พม่าจัดหาเป็น sme ทางออกที่ดีอาจจะเป็นการจัดหากริพเพนมาลง 102
โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 23/01/2018 11:57:07


ความคิดเห็นที่ 9


ก็หวังว่ากองทัพเรือไทยจะเร่งซื้อ gripen e/f มาทดแทน f-16adf ไวๆอะนะ 5555  หรือซื้อ gripen c/d มาเพิ่มในฝูง 701 ก็ยังดี   แล้วถ้า su-30 มาสู้กับเรือหลวงท่าจีน หรือหลวงนเรศวร กองเรือเหล่านี้จะมีเขี้ยวเล็บอะไรมารับมือ  su-30ของพม่ามั่ง  เช่นเชิงรับคือ รับการโจมตีด้วยอาวุธปล่อยนําวิถีทําลายเรือรบของ su-30พม่าป้องกันการโจมตีทําลายเรือรบของไทย เชิงรุกใช้จรวดต่อต้านอากาศยานทําลาย su-30เป็นต้น

โดยคุณ bok01 เมื่อวันที่ 23/01/2018 13:39:04


ความคิดเห็นที่ 10


คิดแล้วลำบากในแทน ท.อ. เลยครับ เพื่อรับมือเพื่อนบ้าน (ไม่ได้อยากจะรบ แต่ถ้าเราไม่มีเพื่อนบ้านก็ไม่ค่อยจะเกรงใจ) เราก็ควรมีของดีที่ทัดเทียมกัน แต่บ้านเรานี่ ซื้ออาวุธที พวกก็แขวะกันอยู่นั่นแล้ว นี่แค่ T-50 ต้องแวะซ่อมที่มาเลเซีย พวกก็ถล่มกันซะสนุกสนาน

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 23/01/2018 13:44:39


ความคิดเห็นที่ 11


ดูจากสภาพแวดล้อมแล้ว จัด F-15 SE มาแทนฝูง102 น่าจะเหมาะครับ 8 ลำก็ทดแทนได้ในอัตรา 16 เท่าเดิม หมัดยาว ๆ บรรทุกได้เยอะๆ พอสู้กับเขาได้หน่อยถ้าจะเน้นครองอากาศ
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 23/01/2018 15:01:26


ความคิดเห็นที่ 12


ส่วนตัวมองว่าในแง่การปรับปรุงขีดความสามารถในการรบอากาศสู่อากาศของกองทัพอากาศไทย

สำหรับ Gripen C/D น่าจะมีการพิจารณาจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor มาใช้พร้อมการปรับปรุง Software Version ใหม่

แต่ในส่วนการจะจัดหา Gripen C/D เพิ่มเติมที่ฝูงบิน๗๐๑ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ นั้น

ว่ากันตามตรงคือถึงกองทัพอากาศจะมีแผนวางไว้ แต่ปัจจัยความเป็นไปได้หลักๆขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีจำกัดและต้องใช้ในโครงการจำเป็นหลายรายการ กับสถานการณ์ภายในประเทศครับ

เพราะแค่เฉพาะความล่าช้าในการส่งมอบ T-50TH ๒เครื่องแรกซึ่งเป็นเพียงเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่/โจมตีเบาเท่านั้น

ที่ล่าสุดได้ซ่อมเปลี่ยนเครื่องยนต์และทดสอบเสร็จแล้ว และมีกำหนดเดินทางมาถึง กองบิน๔ วันที่ ๒๕ มกราคมนี้

ยังเป็นประเด็นที่ประชาชนทั่วไปแสดงความไม่พอใจต่อกองทัพอากาศในการจัดหาอากาศยานราคาแพงแต่ไม่ดี(ส่วนใหญ่เข้าใจแบบนั้น)

ถ้าจะจัดหา Gripen C/D เพิ่มเติม หรือเครื่องบินขับไล่ใหม่มาแทน F-16A/B ADF เพื่อรับมือ Su-30 ของพม่า

กองทัพอากาศจะตอบคำถามประชนชนได้หรือไม่ครับว่าไทยเราจะทำสงครามกับพม่าหรือ?

เพราะถ้าคำตอบไม่ชัดเจนพอว่าไทยเราจะทำสงครามกับใคร ที่ไหน เมื่อไร?

ประชาชนส่วนใหญ่ย่อมไม่เห็นด้วยที่จะให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่มีราคาแพงมากและไม่มีความจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตของประชาชนครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/01/2018 15:57:38


ความคิดเห็นที่ 13


แบบนี้จะได้เห็น F-15 หรือ F-35 แทน ADF หรือเปล่าครับ 

โดยคุณ Artist เมื่อวันที่ 23/01/2018 17:39:18


ความคิดเห็นที่ 14


เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ซึ่งมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth เป็นคำตอบสำหรับสงครามทางอากาศในทศวรรษปี 2020s และอนาคตครับ

จะเห็นได้ข้อมูลการฝึกซ้อมรบทางอากาศที่ผ่านมานั้น เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯทั้ง F-22A และ F-35A นั้นสามารถเอาชนะเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ ทั้ง F-15 F-16 ได้ในการรบทางอากาศนอกระยะสายตา

ซึ่งสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสงครามทางอากาศจริงคือ F-22 และ F-35 จะตรวจจับและยิงทำลายเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ ของฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนโดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถที่จะตรวจจับและโจมตีได้

โดยในกรณีของ Su-30SM หรือ Su-35S รัสเซียที่ติดตั้ง radar สมรรถนะสูงซึ่งมีระยะทำการไกลมากนั้น

F-22 หรือ F-35 อาจจะมีข้อเสียเปรียบในส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศอย่าง AIM-120 ที่มีพิสัยการยิงใกล้กว่า R-77-1 รัสเซีย

แต่ด้วยคุณสมบัติ Stealth F-22 หรือ F-35 สามารถตรวจจับ เข้าใกล้ และยิง AMRAAM ใส่ Su-30 หรือ Su-35 ได้ก่อนที่จะถูกตรวจจับได้

F-35A นั้นเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕เพียงแบบเดียวในปัจจุบันที่มีสายการผลิตจริงและได้รับการจัดหาไปแล้วหลายประเทศทั่วโลก

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ของรัสเซียคือ Su-57 นั้นยังอยู่ระหว่างการพัฒนาไม่พร้อมจะส่งออก

เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ของจีนคือ J-20 ที่จีนไม่มีนโยบายจะส่งออก กับ J-31(FC-31) ที่ยังพัฒนาไม่เสร็จไม่พร้อมจะส่งออก(มีต้นแบบแค่ ๒เครื่อง)

เครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ หรือ ๔.๗๕ สองเครื่องยนต์ของตะวันตกแบบอื่นๆ ทั้ง F/A-18E/F Super Hornet, F-15 Advanced Eagle, Typhoon และ Rafale กลุ่มนี้คุณสมบัติของเครื่องบางด้านยังต่อสู้กับ Su-30SM และ Su-35S ได้ค่อนข้างลำบาก

แต่อย่างไรตามเครื่องที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่ราคาแพงระยับทั้งนั้น การจะจัดตั้งงบประมาณจัดหาคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับกองทัพอากาศไทยในปัจจุบันครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/01/2018 18:52:38


ความคิดเห็นที่ 15


พม่าเขาน่าจะหวั่นกรีพเพนเราส่วนตัวคิดว่าแนวทาง ของ ทอ.เดิมดีอยู่แล้วครับ เรื่องอัตราส่วนเครื่องบินของไทยเป็น บข.เครื่องยนต์เดียวแต่มีหลายลำ ติดหมัดยาว AIM 120 ให้ใช้ได้ทุกแบบ อัตราส่วนถ้าเทียบกับ ซู พม่า น่าจะมากกว่า 3:1 เสริมระบบจรวดต่อสู้อาการยานดีๆช่วยแบ่งเบาภาระนักบินบนฟ้าติดตามแนวชายแดน ผมว่าเอาทัพฟ้าพม่าอยู่ครับ แต่คงไม่ใช่กับมาเลย์ อนาคตถ้ากรีพเพนมาตามที่จัดแผนไว้พอเพียงด้วยปริมาณแล้ว งบเหลือถ้าไม่ประมาทก็ค่อยเติมเครื่องครองอากาศไว้ บ้างก็ดีครับทยอยครั้งละ 2 เครื่อง 4 เครื่องก็ยังดีครับของอเมริกาเขาแพง F18 F15 อะไรแบบนั้น (ความคิดส่วนตัวนะครับ)
โดยคุณ blackhawk เมื่อวันที่ 24/01/2018 09:08:12


ความคิดเห็นที่ 16


ยุทธศาสตร์ อำนาจการรบ  มีอยู่ 2 แบบครับ

1.เสริมสร้างกองกำลังไว้เพื่อรับมือ

2.มีกองกำลังไว้เพื่อเอาชนะ ( เรียกแบบสุภาพบุรุษ คือ เป็นฝ่ายรุก เรียกแบบกุ๊ยคือ เอาไว้ระราน )

 

ในอดีตที่ผ่านมา ชาติที่ห้อมล้อมไทยเล่นบทน้องรับ และพี่ไทยเป็นผู้ระรานครับ..............   กรณีของพม่า ถ้ามองด้วยสายตาเป็นกลาง ต้องบอกว่า เราทำเขาไว้แสบ..........    

 

ปฎิกริยาที่แสดงออก การย้ายเมืองหลวง มีความไม่ไว้ใจเหล่านี้เป็นว่วนหนึ่งของสาเหตุ  การสั่งสมอาวุธในรอบสิบปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความหวาดหวั่นต่อท่าทีที่เรามีต่อเขามากมายเพียงใด.............

 

ศักยภาพทางอากาศ หากพม่ามองเพียงแค่การรับมือเหมือนในอดีต  การจัดหา เจเอฟ-17 ติดตั้งเรดาร์สมรรถนสูงในจำนวนเหมาะสม ถือว่าเพียงพอที่จะป้องกันภัยคุกคาม จาก กริเพ่น และ เอ็มแอลยู จากฝั่งไทย .............   หากแต่ในปัจจุบัน เชื่อว่าพม่ามองไกลไปกว่านั้น   การจัดหาเครื่องบินสมรรถนะสูง 2 เครื่องยนต์ขนาดใหญ่  แสดงให้เห็นว่า พม่ามองยาวไปถึงการเอาชนะ ..............   การป้องกันด้วยวิธีการตอบโต้เชิงรุก เป็นการหยุดยั้งความกระสันมุทะลุของชายผู้บ้าคลั่งได้ดีที่สุด.................  และแน่นอน  ซู-30  ตอบโจทย์ทุกข้อ...................

 

เอาหล่ะครับ................วันนี้จะได้มีการบ้านให้ เสธ. ฝ่ายไทย ต้องขบคิดแล้วหล่ะครับ  จากที่เคยวางเป้าหมายกำหนดให้ ทอ.ไทย เป็นกองทัพอากาศเบอร์ 1 ของอาเซียน   เจอดอกนี้เข้าไป จะเดินไปในทางใด   ................    ของจริงไม่เก่งแค่เขกกะบานเด็ก ครับ  ....................

 

 

ปล.. ตามแผนที่  ระยะจากกรุงเทพ ไปถึงสนามบินยุทธศาสตร์ของพม่า อยู่ในรัศมีฉกรร ของซู-30 เลยทีเดียว   หากมีการจัดหากระเปาะนำร่องและระบบเดินอากาศอันทันสมัย   อันนี้ กทม. ก็ดูเหมือนจะอยู่แค่ซอกจั๊กกะแร้ของพี่หม่องเลยก็ว่าได้.............. เพราะด้วยคาแรกเตอร์ของสองเครื่องยนต์ขนาดใหญ่    การบินต่ำหิ้วระเบิดหนักอึ้งเจาะทะลุแนวป้องกัน ย่อมสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง  แต่ด้วยความใหญ่ หลังจากปูพรม ด้วยลูกบอมจนอ่วม คงยังมีแรงเหลือที่จะเล่นบทบู๊กลางอากาศกับเหล่าอินเตอร์เซพท์เตอร์ ก่อนจะล่าถอยกลับออกไป...............   

 

ปล.2  ผมชอบความชาญฉลาดในการจัดหาอาวุธของเพื่อนบ้านครับ................   เริ่มตั้งแต่ สิงคโปร์     หลังจากปลด เอ-4 สกายฮอว์ค   เจ้า สไตรค์ไฟเตอร์ เอฟ-15 อี  ก็เข้ามารับบทบาทการครองอากาศ  ในความรูสึกของท่านๆ  คำว่าครองอากาศจะคิดแต่ว่า คือการรบและชนะบนอากาศ  จริงๆ ไม่ใช่นะครับ  การครองอากาศคือ การสยบเครื่องบินข้าศึก ทั้งที่บินอยู่บนอากาศและที่ยังจอดบนพื้นดิน  รวมถึง ทำลายฐานเรดาร์อันเป็นหูตา    ดังนั้น  การโจมตีฐานบิน ทำลายเครื่องบิน ทำลายทางวิ่งขึ้น  โจมตีฐานเรดาร์ รวมถึงฐานแซม  เหล่านี้คือภารกิจครองอากาศครับ  .............. 

ด้วยเหตุนี้   ไฟท์เตอร์บอมเบอร์หรือชื่อเรียกเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด  และ เครื่องสไตร์คไฟเตอร์อันมีอาวุธ อ-อ และ อ-พ เอกอุ  จึงเป็นเครื่องบินในภารกิจครองอากาศด้วยเช่นกัน   ซึ่งหากเป็น เครื่องทิ้งระเบิดแท้ๆ อาจต้องมี เครื่องแอร์สุพีเหรี่ย ให้การคุ้มกัน   แต่ถ้า สไตรค์ไฟเอร์ อันนี้ ไปเป็นกลุ่มกันได้ ยาวไหนยาวโลด     นี่ยังไม่นับรวม ไวล์วีซึน ติด ฮาล์ม ทำลายเรดาร์นะครับ  นั่นก็รวมในภารกิจครองอากาศด้วย............... นั่นหล่ะครับ  ผมเห็นสิงคโปร์เป็นชาติแรกในอาเซียนที่บรรลุ .................... มาเลย์นี่ก็บรรเจิด  การจัดหา มิก-29 ควบ เอฟ-18 ดี(ไฟเตอร์บอมเบอร์) บวกสรรพกระเปาะ(สับ-พะ-กะ-เปาะ)  นี่ก็เห็นเจตนาทั้งรับและรุก  ................   มาวันนี้เห็นพี่หม่องอีกชาติ ที่กำลังก้าวตาม  ลึกๆแอบอิจฉา แต่ก็ขอแสดงความยินดีด้วย.......................... ก็ยัง งง งง แต่กับ สยามประเทศ ..................  ตกลงแล้ว   เราไปทิศทางไหนกันแน่ครับ.............. ปากบอก ป้องกันๆลูกเดียว  แต่ชีวิตจริงโคตรกร่าง............... มันช่างขัดกับ อาวุธเครื่องไม้เครื่องมือที่มี     ................   เมื่อก่อน กะจะมี เอฟ-18ดี ติดอำราม ก็นึกดีใจ  ครั้นเปลี่ยนเป็น เอดีเอฟ ก็พอเข้าใจว่าบ่จี๊  พอถึงกริเพ่น ชัก เริ่มงง แต่ยังเข้าข้างว่า       เอ่อนะ คงหวังผลป้องกันน่านน้ำ ด้วยจรวดต่อต้านเรือ     แต่พอมาถึง ที-50  นี่สิ  บ่องตง  งงเต้ก ครับ  .........

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 24/01/2018 11:26:13


ความคิดเห็นที่ 17


ที่ทราบมาเบื้องต้น เห็นว่ากองทัพอากาศไทยกำลังมองการวางแผนจัดตั้งโครงการจัดหา Gripen C/D ระยะที่๓ ราว ๔-๕เครื่อง เพื่อให้ฝูงบิน๗๐๑ ที่ขณะนี้มี Gripen C/D ๑๑เครื่องมีจำนวนเครื่องเต็มอัตราฝูงบินขับไล่ที่ ๑๖เครื่องครับ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าทาง SAAB สวีเดนจะประชาสัมพันธ์ว่าแม้บริษัทจะมุ่งไปยังการเปิดสายการผลิต Gripen E รุ่นใหม่ ก็ยังพร้อมที่จะกลับมาเปิดสายการผลิต Gripen C/D สำหรับลูกค้าที่มีงบประมาณจำกัดลงมาอยู่

แต่การกลับมาเปิดสายการผลิต Gripen C/D จะขึ้นอยู่กับว่า SAAB จะมีลูกค้าที่สั่งจัดหาจริงจำนวนมากพอหรือไม่ครับ โดยเฉพาะโอกาสในโครงการจัดหาหลายประเทศอย่าง บัลแกเรีย โครเอเชีย สโลวาเกีย

ซึ่งถ้ากองทัพอากาศไทยสั่งจัดหา Gripen C/D เพียงไม่เกิน ๔-๗เครื่อง ก็ไม่คุ้มที่ SAAB จะเปิดสายการผลิตให้

อีกทั้งการจัดหา Gripen C/D ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนมาก่อนนำมาปรับปรุงใหม่ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ไม่เหมาะสมที่จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นเครื่องมือสองอายุการใช้งานสั้นได้

รวมถึง Gripen E/F ที่มีราคาแพงเกินไปสำหรับการจัดหามาเพิ่มเติมเฉพาะในส่วนฝูงบิน๗๐๑ ด้วยครับ

(ฉะนั้นคงไม่ต้องกล่าวถึง F/A-18E/F F-15E Typhoon Rafale ที่ราคาแพงกว่ามากเกินที่กองทัพอากาศไทยจะจัดหามาในเร็วๆนี้ได้)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/01/2018 12:00:49


ความคิดเห็นที่ 18


ความคิดผมนะ ทอ.ควรจัดกริเพนE/Fไปเลย เนื่องจากสวีเดนผลิตมาเพื่อต่อกรกับ บ.ซูโดยเฉพาะ เสริมด้วย บ.แจ้งเตือนภัยทางอากาศ จัดหามาแบบแพ็คเกสเหมือนครั้งก่อน ผมว่าราคาน่าจะถูกกว่า การจัดหา บ.สองเครื่องยนต์
โดยคุณ jason เมื่อวันที่ 24/01/2018 12:02:10


ความคิดเห็นที่ 19


กองทัพอากาศพม่าเองน่าจะมีความสนใจในการจัดหาเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ AEW อยู่เช่นกันครับ

เพียงแต่ยังไม่มีข้อมูลตัวเลือกออกมาในขณะนี้ครับ(ในภาพข่าวเป็นแบบจำลองของจีนที่คณะนายทหารพม่าเยี่ยมชม)


โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/01/2018 15:29:46


ความคิดเห็นที่ 20


ก็นึกว่าเขาจะวาง JF-17 เป็น บข หลักยุคต่อไป ใครจะไปนึกว่าอยู่ๆก็เซ็นซื้อ Su-30 ซะงั้น มีข่าว ทอ.อินโดขอราคาสำหรับ F-16V 48  ลำด้วย เพื่อนบ้านไปกันไวจริงๆ  น่าสนใจว่า ทอ. เราจะไปทางไหนยังไง แต่ก็ชักจะเสียวว่าตัวเลือกของ ทอ. จะเป็น FA-50..... 

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 24/01/2018 15:32:19


ความคิดเห็นที่ 21


คิดๆดูอีกมุม ผมว่าการที่พม่าคิดจะมี SU หนึ่งฝูง ( 12-16 ในไม่ช้า ) เป็นการกระตุ้นและเพิ่มความชอบธรรมในการที่ ทอ.ไทยจะตัดสินใจ Gripen C/D อีก 5 ( 701 ครบฝูง 16 ) + AEW 2 ไปไว้ที่ 402 ตาคลี เลี่ยงไม่ได้ว่าต้องตอบคำถามถึงความจำเป็นต่อประชาชน รวมไปถึงฝ่ายค้านที่อคติเรื่องการจัดหายุทโธปกรณ์อยู่เสมอ ส่วนฝูง ADF ที่ปลดก่อนเพื่อน งานนี้สงสัยต้องพิจารณากันหนักเลยทีเดียว จะยอมกัดฟันหาบ.ครองอากาศหรือเน้นรับเหมือนเดิมก็ Gripen E/F ส่วนตัวผมว่าโอกาส บ. 2 เครื่องยนต์มีไม่ถึง 20% ครับ
โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 24/01/2018 16:14:24


ความคิดเห็นที่ 22


ท่านกบจะกลัวไปใย ในเมื่อเรามี F-5T ผู้พิฆาต SU-30 อยู่ตั้ง 14 ลำ มากกว่ากันถึง 2 ต่อ 1 เชียวนะ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 24/01/2018 20:11:18


ความคิดเห็นที่ 23


อ่อ............. สงสัย ผู้ประเมิน ประสิทธิภาพ เค้าดู ยูทู้บ ตัวนี้มั้งครับ.................  จัดรอบปีนเกลียวไปเทียบ ซู-34 โน่นเรย.....55555

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 24/01/2018 21:40:30


ความคิดเห็นที่ 24


T-50 ซื้อมาเพื่อทดแทน L-39 เพื่อการฝึกนักบินขับไล่ที่จะไปขับ F-16 หรือไม่ก็ JAS-39 แต่เพิ่ม Option เข้าไปทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังไงก็ไม่เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ ถ้าจะเอาไปเทียบกับ SU-30 มันก็คนละเรื่องเลยละครับ

โดยคุณ tower6221 เมื่อวันที่ 25/01/2018 11:01:32


ความคิดเห็นที่ 25


ถ้านับ ดุลย์สงครามทางอากาศ ใน อาเซียน + 1 รอบๆ น่านฟ้าไทย จะประกอบด้วย

1. พม่า (มี บ.ขับไล่ครองอากาศ แบบ SU-30 กำลังจัดหา)

2. เวียดนาม (มี บ.ขับไล่ครองอากาศ แบบ SU-30)

3. มาเลเซีย (มี บ.ขับไล่ครองอากาศ แบบ SU-30)

4. สิงคโปร์ (มี บ.ขับไล่ครองอากาศ แบบ F-15SG)

5. อินโดนีเซีย (มี บ.ขับไล่ครองอากาศ แบบ SU-30)

บวก 1

จีน (มี บ.ขับไล่ครองอากาศ แบบ SU-30, J-11)

ผมว่า ลำพัง Gripen-39 C/D คงจะยังไม่ได้ ดุลย์สงคราม เท่ากันสักเท่าไหร่ หรือถ้าจะเปลี่ยน E/F ในแง่ ราคาและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน คงไม่ถูกแน่นอน ด้วยปริมาณการผลิตที่ไม่ถึง 100 ลำ ถ้า ทอ.จะเลือก Gripen อีก คงต้องกลับไปที่ C/D เช่นเดิม

ผมจึง ประเมินว่า ถ้า ทอ. จะจัดหา อากาศยาน ฝูงใหม่ สำหรับ 102 ควรจะเป็น บ.ขับไล่ แบบ ครองอากาศ น่าจะทำให้ ดุลย์สงคราม ใกล้เคียงกันมากกว่า

ซึ่งแบบที่เหมาะสมที่สุด ผมว่า ก็ให้ คะแนน F-15 เป็นอันดับหนึ่ง เพราะไม่ต้องไปจัดหา ระบบซอฟท์แวร์จากแหล่งอื่น เพื่อมารองรับ อาวุธนำวิถี และระเบิดนำวิถี แบบต่าง ๆ ที่ใช้งาน กับ F-16 อยู่แล้ว...

ลำดับ รองลงมา ผมว่าให้ คะแนน F-16V ซึ่งถ้า อินโดฯ ตัดสินใจเลือกเข้าประจำการ ก็น่าจะยังมีตลาดใหม่ ๆ จัดหาเข้าประจำการได้อีก...อาจจะสดใสกว่า Gripen E เสียอีก...โดย ทอ. อาจจะจัดหาให้เน้นคุณลักษณะเป็น ครองอากาศ มากกว่าหลากภาระกิจ...

การเลือก F-15 หรือ F-16V จะเท่ากับว่า ทอ. สามารถลงงบประมาณในส่วนของ ตัวเครื่องอากาศยาน ได้เต็มที่...โดยมี ระบบอาวุธจรวดต่าง ๆ มีรองรับอยู่แล้ว...ส่วนที่จะจัดหาเพิ่มเติม อาจจะเป็น AIM-9X เท่านั้น (อินโดฯ ก็จัดหามาใช้แล้ว)

ในความเห็นผม ผมเชียร์ 2 ตัวเลือกนี้ แหล่ะครับ...ส่วนราคา F-15 อาจจะสูงกว่า Gripen E ประมาณ ครึ่งเท่า...ส่วน F-16V ผมคิดว่า ราคาใกล้เคียงกัน...แต่ในแง่ งบประมาณการใช้ตลอดอายุใช้งาน...ผมว่า F-16V น่าจะถูกว่า Gripen E...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/01/2018 11:16:20


ความคิดเห็นที่ 26


ได้แสดงความคิดเห็นไปหลายที่แล้วว่า วัตถุประสงค์การจัดหา ที-50 นั้น ลักลั่น   คือตามที่อ้างว่า นำมาเป็นเครื่องบินฝึกก้าวหน้านั้น ดูจะเกินความเป็นจริงไปมาก   เหตุผลแรกคือ   เครื่องบินเจ็ทความเร็วเหนือเสียง มีเพียงชาติเดียวที่ใช้เป็น บ.ฝึกก้าวหน้า นั่นก็คือ อเมริกา  ซึ่งใช้ ที-38 ในภารกิจเจ็ทเปลี่ยนแบบมาในระยะเวลานานมาก  และมีการวางเจ้า ที-50 ตัวนี้รับไม้ต่อในอนาคต...............

 

สำหรับ ทอ. ชาติอื่น  การใช้เจ็ทฝึกเบอร์นี้  ดูหะรูหะรา ฟุ่มเฟือยเกินงาม   ทั้งต้นทุนการจัดหา การบำรุงรักษา และ ออปะเรชั่นคอส คิดต่อชม.บิน ย่อมจ่ายสูง.............

และยิ่งทราบว่า รุ่นที่ ทอ.จัดหา เป็นรุ่นตัวท้อป ติดตั้งเอวิโอนิคส์ นำสมัย   ยิ่งทำให้ภาพการใช้งานในการฝึกเปลี่ยนแบบ เห็นไกลออกไป.................

 

เชื่อว่ามีเหตุผลแอบแผงในการจัดหาเครื่องดังกล่าวเป็นแน่แท้  โดยภารกิจ กล้าพูดได้เต็มปากว่า ที-50 หรือ เอฟ/เอ-50 ของ ทอ.ไทย จัดหามาเพื่อภารกิจขัดขวาง / โจมตีทางอากาศ

 

ด้วย สนนราคาต่อลำ ไม่ต่ำกว่า 30ล้านยูเอส ซึ่งถือเป็นราคามาตรฐานต่ำสุดสำหรับมวยน้ำหนักนี้   ด้วยจำนวนจัดหาที่ต้องไม่ต่ำกว่า 12 ลำ  รวมจำนวนเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 360 ล้าน ยูเอส................  จำนวนนี้ สามารถจัดหา ซุ-30 (ฟูลออปชั่น) ได้ถึง 6 ลำ หรือหากเพิ่มอีกเล็กน้อย ก็จะได้ เอฟ-15 อี(เปล่าๆ) ในจำนวนเท่ากัน.................

 

ก็เป็นที่รุกันครับว่า   ผุใหญ่ ทอ.ของเรา  ชอบอะไรเล็กๆ     ................. 555555

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 25/01/2018 12:38:58


ความคิดเห็นที่ 27


ตอนนี้ผมมองว่าต้อง F15 silent engle อย่างเดียวครับ 8-12  เครื่อง แทน F16ADF.  ที่เหลือจะเอา FA50 JAS39. F16หรือจะ F5T ก็ได้ แค่ขอให้รบ BVR กับใช้ Data link ได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 25/01/2018 13:12:35


ความคิดเห็นที่ 28


น่าจะมีโครงการแทนฝูง.102 ได้ก็คงใกล้ปลดประจำการหรือปลดไปแล้ว ถึงน่าจะลงตัวในงบประมาณต่างๆรวมถึงการสนับสนุนต่างๆที่จะต้องซื้อมาเพื่อทดแทนหรือข้อสงสัยต่างๆจะลดน้อยลงเน่ืองจากเป็นกานตัดหาเพื่อทดแทน จึงน่าจะยังไม่มีโครงการใหญ่ๆในเร็วนี้ แต่ก็อาจจะไวขึ้นถ้าเอาเรื่องที่พม่าจัดหาเคร่ืองตัวนี้มาก็เป็นได้
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 25/01/2018 13:23:52


ความคิดเห็นที่ 29


สำหรับกองทัพอากาศไทยแล้วแนวคิดการจัดหาเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ไอพ่นไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ

เพราะเดิมทีนั้นฝูงบิน๑๐๒ เดิมก็เคยจะได้รับมอบ F/A-18C/D จำนวน ๘เครื่องมาก่อน

แต่ต่อมาจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ฝูงบิน๑๐๒ จึงได้รับมอบ F-16A/B ADF ในปี ๒๕๔๕ แทน

ทั้งนี้ตัวเลือกเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ขนาดกลางที่เล็กกว่า F-15 หรือ Su-30SM/Su-35S ก็มีหลายแบบครับ
เช่น F/A-18E/F Super Hornet หรือ Eurofighter Typhoon หรือ Rafale ที่กล่าวไปในข้างต้น

ซึ่งในกลุ่มนี้ Typhoon เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ในแง่ระบบอาวุธมีความเข้ากันได้กับระบบอาวุธที่กองทัพอากาศมีใช้งานอยู่แล้วในปัจจุบันมากครับ

เครื่องบินขับไล่ Typhoon ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ Mauser BK-27 27mm เช่นเดียวกับ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศที่รองรับมี AIM-9, AIM-120 และ IRIS-T ที่ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน ๔๐๓ และ Gripen C/D มีใช้ รวมถึงรองรับการใช้ Meteor เช่นเดียวกับ Gripen ด้วยถ้าจะมีการจัดหาในอนาคต

ระบบอาวุธอากาศสู่พื้นก็รองรับอาวุธที่กองทัพอากาศไทยมีใช้อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ครับ ทั้งระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล PAVEWAY GBU, AGM-65 รวมถึงกระเปาะชี้เป้าที่กองทัพอากาศไทยมีใช้ทั้ง LITENING III(Gripen) และ Sniper ATP(F-16AM/BM)

ทั้งนี้ถ้ากองทัพอากาศไทยยังคงกำหนดหน้าที่ของฝูงบิน๑๐๒ เป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้นอยู่เช่นเดิม เครื่องที่จะมาทดแทน F-16A/B ADF ในอนาคตก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่พื้นครับ

โดยถ้าไม่ใช่ Typhoon Tranche 3A ใหม่จากโรงงานเหมือนที่หลายประเทศกลุ่มตะวันออกกลางสั่งจัดหา ก็ยังมี Typhoon Tranche 1 รุ่นก่อนส่วนเกินให้เลือกครับ

อย่างที่อิตาลีเสนอจะขาย Typhoon Tranche 1 ๘เครื่องของตนให้บัลแกเรีย หรือที่ออสเตรียจะเลิกใช้ Typhoon ๑๕เครื่องในปี 2020 แต่คงต้องมีการปรับปรุงสภาพเครื่องกับ Upgrade Software ก่อนครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 25/01/2018 14:27:17


ความคิดเห็นที่ 30


เห็นด้วยกับท่านข้างบนครับ ผมว่า F15 เทคโนโลยีมันเก่ากว่า ใต้ฝุ่น ถ้าเลือกใต้ฝุ่น นอกจากข้อได้เปรียบที่กล่าวมาแล้ว จุดนึงที่น่าสนใจ คือ จะเป็นใต้ฝุ่นท่ามกลาง su30 แน่นอนผมถือว่าเป็นการได้เปรียบ ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ก็ต้องขึ้นกับฝีมือนักบิน ซึ่งผมมั่นใจว่าไม่เป็นรองใคร แต่คงต้องปรับปรุงให้ใช้เครื่องข่ายของเราให้ได้ ไม่รู้ว่าจะลำบากมากน้อยแค่ไหนนะครับ
โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 25/01/2018 14:46:25


ความคิดเห็นที่ 31


สำหรับ F15 Silent eagle เทียบกับไตฝุ่น เรื่องประสิทธิภาพผมว่ารุ่นหลังๆน่าจะพอๆกัน   ที่ต่างคงเป็นเรื่องระยะทำการที่ F15 น่าจะได้เปรียบกว่า  และเรื่อง stelth   ในการครองอากาศ F15 Silent มีติดกระเปาะบรรจุจรวดภายในด้านข้างลำตัว  บรรจุอัมรามได้ 4 นัด  โดยไม่ต้องแขวนที่ปีก  จึงน่าจะได้เปรียบกว่า ไตฝุ่น ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 25/01/2018 15:11:10


ความคิดเห็นที่ 32


อยากได้เครื่องสมรรถนะสูงสักฝูงมาลง 102 อะไรก็ได้ แล้วจะใช้ T-50 เป็นม้างานหลักอะไรก็ว่าไป แต่ให้มีเครื่องโหดๆไว้ขู่หน่อยๆ Typhoon นี่ก็น่าสนใจครับ
โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 25/01/2018 15:31:11


ความคิดเห็นที่ 33


โอยเอา thypoon มาจอดเหรอครับ operation cost มหาโหด ออสเตรียยังขยาดเลยครับ งบ ทอ.ไม่ได้มากมายขนาดนั้น กัดฟันอัพ 403 อีกรอบให้เป็นรุ่น v ซะ   แล้วก็อัพ 103 ที่เหลือให้เป็นบล็อค50/52 เรดาห์ก็เอามาจาก 403 ที่ถอดออก ราคาน่าจะเป็นมิตรกับงบที่จำกัดจำเขี่ย จัดฝนดาวตกให้พุนพินอีกสักชุด ก็น่าจะพอรับมือฝูงซูไหวครับ  แถม ทอ. น่าจะหายใจคล่องขึ้นในอีก 15-20 ปีข้างหน้า

โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 25/01/2018 15:47:28


ความคิดเห็นที่ 34



ในกลุ่มเครื่องบินขับไล่ขนาดกลางสองเครื่องยนต์ในกลุ่มที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จากแผนภาพนี้ของ Gripen Blog ซึ่งอ้างข้อมูลจาก Jane's จะเห็นได้ว่า F/A-18E/F Super Hornet นั้นมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำสุดในกลุ่มเมื่อเทียบกับ Rafale และ Typhoon


สำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯนั้น Super Hornet ถูกนำมาแทนที่ F-14 Tomcat ในฐานะเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นป้องกันกองเรือ(Fleet Defender)

โดยในภารกิจครองอากาศนั้น F/A-18E/F สามารถติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 ได้ ๒นัด+AIM-120 ได้ ๘นัด

ซึ่งอย่างไรถ้าเทียบ Super Hornet กับ Gripen E ที่ติด IRIS-T ได้ ๒นัด+AIM-120 หรือ Meteor ได้เพียง ๗นัด...ขาดไปแค่ ๑นัดเอง

ถ้ากองทัพอากาศไทยมีนโยบายการใช้กำลังเชิงตั้งรับเป็นหลัก Gripen E/F อาจจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าใช้จ่ายที่สุดในการแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒

ในกรณีโครงการจัดหาของบราซิลที่ Gripen E/F มีราคาเฉลี่ยต่อเครื่องเกือบ $150 million อาจจะเพราะบราซิลจัดหามาพร้อมการถ่ายทอด Technology การเปิดสายการผลิตในประเทศ รวมถึงเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนการพัฒนา Gripen F รุ่นสองที่นั่งที่กองทัพอากาศสวีเดนเองไม่ได้สั่งจัดหา

ก็ไม่ทราบว่าถ้ากองทัพอากาศไทยจะจัดหา Gripen E/F ราว ๑๒เครื่อง ราคาเฉลี่ยต่อเครื่องจะต่ำกว่า $100 million ลงมาหรือไม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 25/01/2018 17:51:30


ความคิดเห็นที่ 35



ที่จริงถ้าติดตั้งแบบเต็มอัตราบรรทุก F/A-18E/F Super Hornet จะติด AIM-120 ได้สูงสุดถึง ๑๒นัด+AIM-9 ๒นัด ซึ่งอย่างไรก็มากกว่า Gripen E เกือบเท่าตัวอยู่ดี

แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้เห็นประเทศที่มี F/A-18 ประจำการใช้ AIM-120 ติดบนรางอาวุธแบบคู่บ่อยนักในปฏิบัติการต่างๆครับ

ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าถ้ากองทัพอากาศไทยมีการจัดหา Super Hornet จริงจะจัดหารางติดอาวุธคู่ด้วยหรือไม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 25/01/2018 18:12:28


ความคิดเห็นที่ 36


ในความเห็นส่วนตัว นะครับ...

สำหรับ T-50TH ผมว่า ในปัจจุบัน คงไม่มีอะไรไปมากกว่านั้น...คือ ใช้การฝึกเพื่อเปลี่ยนแบบสำหรับ F-16 AM/BM ซึ่งจะช่วยลดการใช้งานของ F-16 AM/BM ในส่วนการฝึกลง ซึ่งจะทำให้ ฝูง 403 คงสภาพความพร้อมรบได้ครบอายุการขยายอายุใช้งาน...ในตรงนี้ คงให้คำนึงถึง โครงสร้างของตัวเครื่อง...ที่จะมี T-50 มาแบ่งเบาภาระตรงนี้ น่าจะเยอะพอสมควร...

ตามแผ่นภาพ ครับ...

ส่วนภาระกิจรอง ของ T-50TH ก็น่าจะตามที่ ทอ. ให้ข้อมูล คือ เป็น บ.โจมตีเบา...ตรงนี้ ในความเห็นผม...ถ้าในอนาคต มีการเปลี่ยนแปลงแบบอากาศยานเป็นอย่างอื่น...T-50TH คงจะมีหน้าท่ี่ไปสนับสนุน เหมือนฝูง 231 มากกว่า...ซึ่งก็น่าจะหมายถึงว่า ถ้า A-Jet หมดอายุ...T-50TH ฝูง 401 คงไปทดแทน...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/01/2018 08:52:15


ความคิดเห็นที่ 37


การจัดหาเครื่องบินใหม่ เชื่อว่าสิ่งที่ทอ.กังวลที่สุดน่าจะเป็นoperating cost เพราะจำได้ว่าอดีตนายกฯ ทักษิณเคยให้สัมภาษณ์ตอนที่ทอ.สนใจSU30 ที่ค่าoperating costสูงมาก แต่ซื้อแบบบาร์เตอร์เทรดสินค้าเกษตร ถึงจะซื้อมาจอดก็คุ้ม 

โดยส่วนตัวมองว่าค่าoperating costของSU30ที่พม่าซื้อมา สามารถใช้บินจริงได้กี่ลำ 

ผมให้นำ้หนักเรื่องของค่าoperating costและจำนวน คุณภาพอาวุธ(missile)ความพร้อมของเครื่องบินและคุณภาพนักบินที่ผ่านการฝึกมากกว่า 

ปล. ถ้าจัดหาmeteor แล้วน่าจะเจียดงบจัดหาKEPD350 taurusมาด้วยเถอะ เจอgripenติดKEPD350นี่ฝ่ายรับต้องคิดหนัก

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 26/01/2018 08:58:27


ความคิดเห็นที่ 38


ลองเดาใจการจัดหาเพิ่ม ทอ.ดูแล้วคงน่าจะออกมาประมาณนี้ Gripen C +5 ครบ 16 FA-50TH +4 ครบ 16 Gripen E/F +12 ( 4+4+4 = 12 ) ซึ่งมาแทน ADF ก็เข้าสู่ความจริง ราคาเครื่องไม่ถูก แต่ได้คอสการใช้งานที่ต่ำสุด การซ่อมบำรุง สำรองอาวุธ อีก 20 ปี ค่อยเลือก บ.gen 5 หรืออะไรก็ค่อยดูกันอีกที เทคโนโลยีไปเร็วกว่าที่คิด ซึ่งอาจจะข้ามไปเป็นนั่งบังคับ drone ในห้องก็ได้ครับ
โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 26/01/2018 09:05:58


ความคิดเห็นที่ 39


ส่วน T-50TH จะมี อนาคต กับ ทอ.ไทย มากกว่า 12 ลำไหม ?

คงต้องดู ฝูง 102 กับ 103 ว่าจะเป็น บ.แบบใด ที่จะเข้ามาทดแทน...

นักบิน F-16 ฝูง 403 คงเป็น นักบิน จาก 411, 231, 211, 103 มาฝึกเปลี่ยนแบบกับ T-50TH...

นักบิน F-16 ฝูง 103 คงเป็น นักบินจาก 411, 231, 211 มาฝึกเปลี่ยนแบบกับ F-16B...

นักบิน JAS-39 ฝูง 701 คงเป็น นักบินจาก 411, 231, 211, 103 มาฝึกเปลี่ยนแบบ กับ JAS-39D...

เพราะถ้า 102 กับ 103 ถูก ทดแทนด้วย F-15 หรือ JAS-39...ผมว่า สภาพแวดล้อมนักบิน JAS-39 หรือ F-5T อาจจะง่ายกว่า นักบิน F-16...ถึงตอนนั้น ก็อาจจะได้เห็น M-346 อยู่ในฝูง 101...

แต่ถ้า 102 กับ 103 ถูก ทดแทนด้วย F-16V หรือ F-35 ก็น่าจะยังเห็น อนาคตของ T-50TH ที่จะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/01/2018 09:12:44


ความคิดเห็นที่ 40


ในความหมายว่า Cost ถูก จะหมายถึงว่า อะไร ? ตรงนี้ คงต้องคำนึงให้ดีครับ...

รวมอะไหล่ หรือยัง ? ต้นทุนการ อัพเกรด ช่วงครึ่งอายุใช้งาน ?

หรือ เป็นการคำนวณ แค่ เชื้อเพลิง กับวัสดุสิ้นเปลืองในการบิน แต่ ละชั่วโมงบิน...

ซึ่ง JAS-39 ผมว่า ตัวเลขที่แท้จริง ว่าจะประหยัดกว่า ผมว่า น่าจะออกมาช่วงครึ่งอายุใช้งาน...ว่าจะคุ้มค่าในการอัพเกรดต่อหรือไม่ ? ผลออกมาอาจจะคล้าย L-39...

ส่วน JAS-39 E/F ผมว่า ถ้าอัตราการผลิต ยังน้อยอยู่ ก็ไม่น่าจะเสี่ยงนะครับ...เห็นข่าววันนี้ ผมยังไม่ได้อ่านรายละเอียดนัก

ก็ดูเหมือนว่า ล็อตของ บราซิล น่าจะกำลังจะมีปัญหา เรื่องระหว่าง SAAB กับ BAF ว่าจะมีเทคโนโลยี่ ร้ั่วไหล...ซึ่งอาจจะส่งผลให้ ยกเลิกการขายได้...

ผมเลยประเมินว่า ถ้า JAS-39 E/F ยังดุมีความเสี่ยงในอนาคตว่าจะไม่ถึง 100 ลำแบบนี้...ถ้า ทอ. ยังติดใจจะจัดหาจริง ๆ ผมว่า ก็ยังคงต้องเป็น C/D อยู่เหมือนเดิม เพื่อคงสายการผลิตอะไหล่เอาไว้...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/01/2018 09:21:38


ความคิดเห็นที่ 41


การจะรับมือกับ SU-30 อันเป็นเครื่องบินมัลติโรลไฟต์เตอร์ ก็ต้องใช้เครื่องแบบไฟต์เตอร์ในการรับมือ จะมองว่าเอาเครื่องบินฝึกอย่าง T-50TH มารับมือมันดูจะผิดคุณลักษณะและภารกิจ ถึงแม้ว่าจะมีออพชั่นเต็มแต่มันก็คือเครื่องบินฝึกที่เอามาใช้งานในการโจมตีขัดขวางทางอากาศเป็นภารกิจรอง ไม่ใช่จะเอาไปไฟต์กับชาวบ้านเว้นแต่ว่าเครื่องไฟต์เตอร์แท้ๆที่มีอยู่โดนเขาเก็บเรียบ อันนั้นก็ต้องยอมไฟต์ ทั้งนี้เมื่อเพื่อนบ้านเริ่มจะจัดของหนัก ฝูง 102 ซึ่งต้องมีประจำการด้วยเครื่องไฟต์เตอร์แท้ๆเข้ามาแทนหลังจาก F-16ADF ปลดประจำการ ไม่ต้องว่างเว้นรออะไรนานอีกต่อไป ไฟต์เตอร์ชั้นยอดก็ไม่จำเป็นต้องสองเครื่องยนต์เสมอไป ยิ่งเล็กยิ่งค่า RCS ต่ำ ที่เหลือเรดาร์แรงๆบวกอาวุธไกลๆหนักๆ ทำไมจะเอาไม่อยู่ 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 26/01/2018 13:47:00


ความคิดเห็นที่ 42


ผมก็ยัง งงๆว่า ข่าวการจัดซื้อ SU-30  ของพม่า มันโยงมาเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินฝึก แบบ T-50 TH ได้ยังไง  เพราะเราจัดหา T-50 ก่อนที่พม่าจะมีข่าวซื้อเครื่องขับไล่แบบ SU-30   T-50 ทอ. จัดหาเพื่อมาทดแทน L-39 ไม่ใช่จัดหาเพื่อมาทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ อื่นๆที่เรามีประจำการอยู่  ส่วนอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งเข้ามาไม่ขอพูดถึงนะครับ  เพราะมีข้อมูลให้อ่านได้พอสมควรในเพจต่างๆรวมทั้งเพจของกองทัพอากาศที่แจงเหตุผลมาได้ละเอียดพอสมควรในการจัดซื้อ T-50 ครั้งนี้

 

ส่วนในอนาคตรอดูกันต่อไปครับว่า ถ้าเกิด F-16 ฝูง 102 ปลดจริงๆ ทางกองทัพจะจัดหาอะไรเข้ามาแล้วค่อยมาพูดถึงจะดีกว่าไหมครับ  เพราะเรื่อง SU-30กับT-50 นี่มันคนละเรื่องเลย Timeline ก็ไม่ตรงกัน  ไม่ใช่ว่า พม่าจัดหา Su-30 6 ลำ แล้วทางทอ.พึ่งตื่น สั่งซื้อ T-50 TH มารับมือครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 26/01/2018 15:11:10


ความคิดเห็นที่ 43



เครื่องบินขับไล่ Su-30SM/Su-35S ในภารกิจครองอากาศในอัตราบรรทุกสูงสุดจะสามารถติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ R-73 ได้ ๒-๔นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-77 ได้ ๘-๑๐นัด

ฉะนั้นถ้ายังจะคงให้ฝูงบิน๑๐๒ เป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้ยเช่นเดิม เครื่องบินขับไล่แบบใหม่ที่จะมาแทน F-16A/B ADF ถ้าติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศได้จำนวนใกล้เคียงกับ Su-30SM/Su-35 ได้ก็ดีครับ


ซึ่ง F-16A/B ADF และ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน ๔๐๓ นั้นในภารกิจลาดตระเวนทางอากาศจะติด AIM-9 ๒นัดกับ AIM-120 ๔นัด

ถ้ากองทัพอากาศไทยไม่ได้มองเครื่องบินขับไล่ขนาดกลางที่ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศได้เยอะกว่านี้ ก็ต้องเป็นเครื่องที่มีข้อได้เปรียบที่สำคัญถ้าจะสู้กับ Su-30SM/Su-35S ครับ

แต่ส่วนตัวมองว่านอกจากโครงการต่อเนื่องเช่นโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ค้นหากู้ภัย ฮ.๑๑ EC725 ที่ต้องจัดหามาแทน ฮ.๖ UH-1H ให้ครบฝูงที่ปี พ.ศ.๒๕๖๑ นี้ประจำการมาครบ ๕๐ปีแล้ว

ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ บ.ล.๘ C-130H จะประจำการครบ ๔๐ปีครับ ซึ่งจากความจำเป็นทางภารกิจ กองทัพอากาศไทยควรจะเลือกโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่มากกว่า

ขณะที่ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่น่าจะเริ่มปลดในปี พ.ศ.๒๕๖๕ นั้น ยังพอจะปล่อยให้ฝูงว่างไปก่อนเหมือนฝูงบิน๑๐๑ หลังโอนย้าย L-39ZA/ART เพื่อให้ความสำคัญกับการจัดหา บ.ล.ใหม่ก่อนได้

หรือไม่อีกแนวทางหนึ่ง กองทัพอากาศอาจจะเลือกใช้งาน C-130H ต่อไปจนมีอายุถึง ๕๐ปีเหมือนหลายๆประเทศก็ได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 26/01/2018 17:27:09


ความคิดเห็นที่ 44


ผมคิดว่าเราไม่ควรประมาทเขาเหมือนที่เราเคยทำนะครับ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ทางการค้านานาชาติอย่างอยุธยา ใครจะเชื่อว่าจะล่มสลายลงชั่วพริบตา เขาทำมาแล้วนะครับ ตอนนี้เขาจะซื้อม้าศึกจากรัสเซียเพิ่ม และยังสร้างเรือรบเอง ไม่แน่ใจว่าสร้างหัวจักรรถไฟเองด้วยมั้ย และได้ข่าวว่ากำลังจะสร้างเครื่องบินรบเอง โดยเริ่มจาก JF-17 พอเริ่มคล่องขึ้นก็อาจจะเป็น J-11 ต่อไป ถึงตอนนั้นผมก็จะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นล่ะครับ :) ผมยังคงคิดว่าเราไม่ควรจะซื้อข้าวกินเป็นมื้อๆ ต่อไปอย่างนี้ครับ ควรคิดจะปลูกกินเองบ้าง ทาง ทร. กับ ทบ. เขาไปไกลพอสมควรแล้วนะครับ ผมว่าที่ซื้อ VT4 กับ VN1 คงไม่ใช่เพราะประสิทธิภาพอย่างเดียว แต่คงเป็นโรงงานอาวุธจีนที่จะตั้งขึ้นอีกด้วยล่ะครับสำคัญ ถ้าเป็นจริงพวกผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ไม่รู้จะว่าอย่างไรนะครับ ม่านจะสร้างเครื่องบินเองแล้วครับ :)

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 27/01/2018 01:51:01


ความคิดเห็นที่ 45


ดึง 103 มาสัก 12 ลำ แล้ว MLU แบบจัดเต็มไปเลยครับ ใส่ SABR ใส่ IRST แล้วก็พวกระบบแจ้งเตือน RWR ต่างๆมาให้ครบเลยครับ ถ้าเงินไม่พอ ปีกเอาไว้ค่อยเปลี่ยนทีหลังก็ได้
โดยคุณ shifty เมื่อวันที่ 27/01/2018 09:18:42


ความคิดเห็นที่ 46


ในแง่การจัดหาเครื่องบินของพม่านั้น คาดว่าเครื่องบินรบที่พม่าจะใช้หลักๆคงจะเป็น JF-17 ซึ่งตามขนาดที่เล็ก ค่า RCS ที่ต่ำ บวกกับติดเรดาร์ AESA และอาวุธนำวิถีระยะนอกสายตา ทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า F-16A/B ฝูง 103 อยู่มาก เรียกว่าเทียบเท่า F-16eMLU ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ในภารกิจขับไล่สกัดกั้นทางอากาศ ส่วน SU-30SME น่าจะมีไว้สำหรับการรุกตอบโต้และดจมตีทางอากาศ ซึ่งคาดว่าความพร้อมรบของเครื่องบินนั้น ดูแล้ว JF-17 น่าจะมีความพร้อมสูงกว่า ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัตภารกิจและซ่อมบำรุง ส่วนตัวจึงต้องมองไปที่เครื่องบินที่มีความเหนือกว่า JF-17 ซึ่งมีความคล่องแคล่ว ตรวจจับได้ไกลและมีจำนวนมาก ส่วนเรื่องการผลิตในประเทศนั้นเรือรบพม่าที่ต่อเองมีวิศวกรชาวพม่ากี่คน ? ถ้าพม่าต้องการผลิตเครื่องบินเองก็คาดว่าน่าจะเป็นการลงทุนจากจีนมากกว่าที่พม่าจะดำเนินการเอง 

ส่วนกรณีของไทยนั้นก็เริ่มต้นแล้ว ทางอากาศก็มีบริษัท TAI ดำเนินการซ่อมและปรัปรุงเครื่องบิน ไม่จำเป็นต้องลงทุนผลิตเครื่องบินรบเองหรอกครับ กองทัพเรือก้มีอู่ราชนาวีที่เริ่มต้นต่อเรือเองและสั่งต่อจากอู่เอกชนภายในประเทศ กองทัพบกก็เริ่มวิจัยพัฒนายานยนต์หุ้มเกราะและจัดหาจากเอกชนภายในประเทศ ส่วนรถถัง VT-4 นั้นจีนมาตั้งโรงงานซ่อมนะครับ ไม่มีนโยบายมาผลิตที่เราครับ คือเขามาตั้งโรงงานและเอาวิศวกรและช่างเทคนิคเขามาประจำเพื่อซัพพอร์ทและซ่อมรถถังและรถหุ้มเกราะที่สั่งซื้อจากจีน

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 27/01/2018 10:19:50


ความคิดเห็นที่ 47


Russia ignores US charges over Sukhoi fighter jet supplies to Myanmar — Kremlin
http://tass.com/defense/987050
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30.html

รัฐบาลรัสเซียในส่วนโฆษกประจำตัวประธานาธิบดีรัสเซียและกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้ออกมาตอบโต้การแถลงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ

ที่รัฐบาลสหรัฐฯแสดงความกังวลว่าการที่รัสเซียจะจัดส่ง Su-30 ให้พม่าจะทำให้สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น

อย่างที่ทราบครับว่าสหรัฐฯและสหภาพยุโรปได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า

ที่กองทัพพม่าได้มีการปฏิบัติการรบกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆโดยมีการใช้อาวุธที่ทันสมัยซึ่งส่วนใหญ่จัดหาจากรัสเซียและจีนครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 27/01/2018 11:07:40


ความคิดเห็นที่ 48


กระทู้เก่า ปี 2555 ผมเคยประเมิน เกี่ยวกับ กองทัพอากาศอาเซียน ในอนาคต

ในส่วนของ ทอ.พม่า...ก็แม่น เหมือนกัน เน้อออออ...555555

http://www.thaifighterclub.org/webboard/15999/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%84-F-5E-F-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/01/2018 19:23:20


ความคิดเห็นที่ 49


คราวนี้ จะลองดูซิว่า...ในส่วน ทอ.ไทย จะประเมินได้ แม่น ไหมเอ่ย....



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/01/2018 19:26:07


ความคิดเห็นที่ 50



เครื่องบินขับไล่ F-35A ในการรบรูปแบบ Stealth นั้นห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวเครื่องในมาตรฐาน Software ปัจจุบัน

จะสามารถติดตั้ง AIM-120C-7 ได้ทั้งหมด ๖นัดหรือ AIM-9X ๒นัด+AIM-120C ๔นัด ซึ่งก็เท่ากับ F-16A/B ADF และ F-16AM/BM EMLU ของกองทัพอากาศไทย

แต่ในการปรับปรุงขีดความสามารถใน Software รุ่นใหมในอนาคต ห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวของ F-35 จะรองรับการติดตั้ง AIM-120 ได้เพิ่มเป็น ๑๐นัด หรือ AIM-9X ๔นัด+AIM-120 ๘นัด

ถ้าในการรบรูปแบบ Non-Stealth เมื่อรวมกับตำบลอาวุธใต้ปีก ๖จุดแข็ง F-35A จะติด AIM-9 ได้ ๒นัด+AIM-120 ๑๔-๑๘นัด

นับว่าเยอะมากสำหรับเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เดียว ซึ่งมีข้อได้เปรียบถ้าต้องต่อสู้กับ Su-30SM/Su-35S ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 27/01/2018 19:53:18


ความคิดเห็นที่ 51


ที่พูดมาทั้งหมดคือ... การตั้งใจจะเป็น เบอร์1 ของ อาเซี่ยน อันนี้คือต้องได้ทั้งรุกและรับ...... การตั้งรับนั้น จุดสำคัญคือการรบแบบเครือข่าย นั่นคือมีระบบเนตเวิร์คการแจ้งเตือน และอาวุธได้แก่เครื่องรบสกัดกั้น และระบบต่อสู้อากาศยาน....ซึ่งที่มีตอนนี้ของเรามันเจ๋งอยู่แล้ว..... อันนี้จบนะ ทีนี้มาพูดถึงการเป็นฝ่ายรุก อย่างที่บอก การบินรุกเข้าไปในน่านฟ้าเขาลึกขนาดนั้น เข้าไปมีจุดประสงค์อะไร ไม่มีกองทัพอากาศบ้าที่ไหนส่งเครื่องบิน บินลึกเสี่ยงตายในดินแดนข้าศึก โดยติดแค่จรวด อากาศ อากาศ หกลูกแปดลูก เสี่ยงเข้าไปเป็นเป้าให้เขาสอยเล่นหรอก........

 

การบินลึกเข้าไปถึงขนาดนั้นภารกิจหลักคือโจมตี ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีขัดขวาง หรือโจมตีฐานต่างๆ ในภารกิจครองอากาศ ส่วนจะมีเครื่องครองอากศแท้ๆบินไปด้วยนั่นก็เพื่อคุ้มกัน......... เปลี่ยนกระบวนทัศน์ และแนวคิดใหม่ แล้วจะทราบว่าจริงๆต้องการอะไร...... มีแต่เกมส์เท่านั้นแหล่ะ ทีเล่นกันมี เครื่องครองอากาศติดจรวดอากาศ สู่อากาศ บินลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก ยิงกันจนตกแล้วบินกลับบ้าน ..... ลักษณะนั้นมันคือบิน ลว. ทางอากาศ ......... ชัยชนะของสงครามเกิดบนพื้นดิน ยิงเครื่องบินข้าศึกตกจนเกลี้ยงกองทัพ แต่ข้าศึก กวาดทหารราบเราละลายทุกกองพลบุกเข้าถึงเมืองหลวง ขยี่ราบเป็นหน้ากลอง ถามซิ มันมีประโยชน์อะไร.......

 

ที่พูดถึงเครื่องบินสองเครื่องยนต์นี้ คือเครื่องที่ บรรทุกหนัก บินได้ไกล บินเล็ดลอดเข้าพื้นที่ข้าศึกได้ทุกกาลอากาศ มีอาวุธและเอวิโอนิคส์รับมือกับการป้องกันภัยทางอากาศเขาได้ ซึ่ง สิงดโปร มี เอฟ สิบห้า ทุกๆประเทศรอบไทย มีซู สามสิบ ทีนี้เก้ตหรือยัง ................ ...... ..... .....

ปล. ผมยกตัวอย่างนะ ลองนึกดูว่า เรามี โคตร กริเพ่น รุ่น เอ็นจี ไนโตรเจ่นลิควิด ซุปเปอร์เอ็กซ์ ออกแบบมาเพื่อกำจัดซู สามสิบโดยเฉพาะ สิบสองลำ พม่ามียักษ์ ซู รุ่นถูกปราบนี่แหล่ะ หก ลำ ....... คืนนั้น แม่ทัพพม่าเกิดเฮงซวย ไม่เชื่อฟังนายก สั่งซู พร้อมรบทั้งหกลำ ติดกระเปาะเดินอากศกลางคืน โหลดระเบิดและอาวุธอากาศ สู่ อากาศเต็มพิกัด มุดต่ำมุ่งหน้ากรุงเทพ ระบบเครือข่ายฝ่ายเราแจ้งเตือน แต่กว่า กริเพ่นซึ่งวันนี้จอดที่ดอนเมือง กว่าจะเชิดหัวขึ้นสองลำ ปรากฎว่าซูหว่านระเบิดจุดยุทธศาตร์ทั่วกรุงเทพแล้ว แถมระเบิดสองลูกสุดท้ายโยนลงกลางราบสิบเอ็ด ส่งผลนายพลหลายนายเกษียนแล้วบ้างไม่เกษียรบ้างกลับบ่านเก่าสบายหลับปุ๋ย....... หลังจากกริเพ่นตั้งตัวได้ก็เกิดการดวลกลางอากาศแบบหก ต่อ สอง แต่กริเพ่นแจ๋วจริงเพราะออกแบบมาเพื่อปราบซูโดยเฉพาะ บินฉวัดเฉวียนสอยข้าศีกตกไปสาม รอดกลับบ้านได้สาม.......... ถามจริงๆเหอะ งานนี้ใครชนะ ฝ่ายนึง เครื่องบินตกสาม นักบินรอดและถูกจับสอง อีกสี่ระเบิดเป็นจุลกลางอากาศไปพร้อมเครื่อง แต่ฝ่ายเราโรงไฟฟ้า วัดพระแก้ว สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพส่วนอื่นๆ ราบ แถมด้วย ร1 ร11 พล.ม2 กับนายทะหารแก่ๆจำนวนนึง ย่างเกรียมเป็นไก่ย่างวิเชียรบุรี อย่างนี้ถามว่าใครชนะ????

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 27/01/2018 20:35:18


ความคิดเห็นที่ 52


ผมถูกใจความเห็นคุณกบครับ เพราะฉะนั้น ผมถึงได้เชียร์ให้เราซื้อ F-15 หรือแบบอะไรก็ได้ที่พอไปบุกเขาได้เมื่อจำเป็นย้ำนะครับเมื่อจำเป็น ไม่ใช่เอาแต่แบบไว้ตั้งรับอย่างเดียว ตอนนี้เราเหมือนจะหลักนิยมแบบนั้นแต่สถานการณ์มันเปลี่ยนไป เราก็ควรจะต้องเปลี่ยนตามครับ ผมและหลายคนก็คงช่วยสนับสนุนให้เกิดดีลนี้ขึ้นครับ
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 27/01/2018 22:13:05


ความคิดเห็นที่ 53


จำเป็นไหมกับมัลติโรลขนาดหนักสองเครื่องยนต์ อันนี้น่าถกกันครับ ส่วนตัวนะครับ มีก็ดี ไม่มีก็ไม่ได้ทำให้เสียเปรียบครับ มีอาวุธฉลาดๆหลายแบบที่ไม่จำเป็นต้องบินโต้งๆเข้าไปหย่อนนี่ครับ หลายประเทศทำไมเลือกเครื่องยนต์เดียวเป็นเครื่องบินหลักล่ะครับ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 27/01/2018 22:38:57


ความคิดเห็นที่ 54


 

ถ้า มันไม่เป็นตามนี้  เอฟ-15 ซู-30 ทอนาโด   มันจะขายออกเหรอครับ....................     ทุกชาติก็ซื้อแต่เอฟ-16 กริเพ่น  มาใช้กันให้แค่นี้ก็พอสิ  ไอ้กัน รัสเซีย มันจะจัด สไตร์คอีเกิ้ล  ซู-34 มาใช้อีกทำไม ............... และ สิงคโปร์ ชาติโง่ๆ นี่อีก มันจะซื้อเอฟ- 15 ลำแพงๆ   มาใช้ทำมะเขือเผาแบบท่านว่าทำไม   แค่เอฟ-16 สาม สี่ ฝูง   ทำไมยังไม่พอ ประเทศก็เล็กแค่ติ่งขี้มูก.........????

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 27/01/2018 22:46:55


ความคิดเห็นที่ 55


ประเทศ โง่ๆ เล็กเท่าขี้มูก...........  จัดกำลังทางอากาศฝึกร่วม พิทช แบล็ค....................... ประเทศนี้มันโง่จริงๆ   จ่า พูดภาษาอังกฤษกันปร๋อ................... ชาติสิวิไลซ์อย่างตรู  เรียนประกิต ตั้งแต่ ปอ 5  จนถึงปริญญาโท    เจอฝรั่งหล่ะอยาก หร่องห้าย.............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/01/2018 00:08:33


ความคิดเห็นที่ 56


นี่ครับ................ มันคืออย่างนี้.......................... น่ากลัวกว่า      ยิงกันบนอากาศ ตายก็นักรบผู้กล้าตายกันไม่กี่คน.................... แต่แบบนี้ ตายหองกันยกบาง   ....................   อันไหนน่ากลัวกว่ากันครับ.???????????








โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 27/01/2018 23:24:12


ความคิดเห็นที่ 57


รุ่นใหญ่เขาเดินกอดคอกัน............

ออสเตรเลีย กับ ซุปเปอร์ต่อ..................  เจ้าตัวนี้  เป็นการจับเอา ต่อธรรมดา กับ เอฟตองหนึ่ง มาเคี่ยวรวมกัน  .............  ภารกิจจึงเป็นทั้งเครื่องขับไล่เอนกประสงค์และเครื่อง ขับไล่ทิ้งระเบิด............

ส่วนสิงคโปร์ประเทศล้าหลัง   กับ เอฟ-15 อี    ตัวนี้  ภารกิจ โจมตีล้วนๆ..................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/01/2018 00:14:42


ความคิดเห็นที่ 58


น่าเป็นห่วงว่าถ้าพม่าจัดหา Su 30 มาจริง ภูมิภาคนี้คงต้องคิดหนัก เพราะประเทศไทยนี่แหละ งานเครื่องบินรบ gen 5 ต้องมา อเมริกาคงได้ข้ออ้างขาย F35 ให้ไทย เอ้าหยอดกระปุกรอเลย

โดยคุณ Fsas เมื่อวันที่ 28/01/2018 00:34:10


ความคิดเห็นที่ 59


นานๆกระทู้จะครึกครื้น   เป็นที่น่าตื่นเต้นจริงๆว่า ทอ. จะขยับยังไงบ้าง

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 28/01/2018 00:50:58


ความคิดเห็นที่ 60


ด้วยข้อจำกัด งบน้อย...ตามมาตรฐาน

ถ้า ทอ.จะจัด F-15 ที่มองเน้นการป้องกันภัยทางอากาศเป็นหลัก ก็คงเหมือนกับ อิสราเอล ที่ใช้ F-15 ครองอากาศ และใช้ F-16 เป็นโจมตี...ซึ่ง ประเทศไทย มองแล้ว คงจะคล้ายกัน...

ส่วน พม่า การจัดหา SU-30 ผมมองว่า เป้าหลัก คือ การโจมตี คือเป็น Strike Fighter แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็น ครองอากาศ ด้วยเช่นกัน...โดย ภาระกิจหลัก การครองอากาศ ปัจจุบัน ผมยังมองว่า พม่า ยังให้ MIG-29SE เป็น บ.ขับไล่ ครองอากาศ ่เป็นหลักอยู่....เพราะเท่าที่เห็น MIG-29SE ของ พม่า เน้นการติดตั้ง AAM เป็นหลัก...พวก Smart Bomb ยังไม่เคยเห็น....

ดังนั้น การจัดหา SU-30 ของ พม่า คิดว่า คงเน้นการจะมี Smart Bomb เข้าประจำการ ที่ เวียดนาม มีอะไร...พม่า ก็จะมีอย่างนั้น...และอินเดีย จะเสนอ Brahmos ให้หรือไม่ในอนาคต...

สำหรับการจัดหา SU-30 ของพม่า...ประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ บังคลาเทศ..ประเทศไทย แค่ ความขัดแย้งแนวชายแดน..แต่ บังคลาเทศ เป็นความขัดแย้ง เรื่อง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แหล่งพลังงานในทะเล...

ซึ่งการที่รัสเซีย ขาย SU-30 ให้พม่าในคราวนี้...คงจะได้ ลูกค้า เป็น บังคลาเทศ เพิ่มอีกแน่...ซึ่ง อาจจะทำให้ บังคลาเทศ คงต้องหันมาเจรจาเป็นทางการ กับ พม่า เสียที...ไม่งั้น ก็ขู่กัน ไป มา แบบนี้ มีแต่ จน ลง...

แต่ถึงอย่างไร ประเทศไทย...เมื่อดูถึง ดุลย์สงคราม ที่รอบข้าง เขามี บ.ขับไล่ ครองอากาศ มันก็คงไม่แคล้ว ที่ ทอ.ไทย คงต้องมีกับเขาบ้าง...

ทีสำคัญ ในอนาคต ไทย จะมี รางรถไฟ ไทย-จีน ที่วิ่งตั้งแต่ อิสาน เข้ากรุงเทพ และประเมินว่าอาจจะไปถึง ตะวันออก...ซึ่งแผ่นดินไทยฝั่งตะวันออกก็ออกกฎหมาย ่ให้ต่างชาติ เช่าที่ดินได้ 99 ปี เรียบร้อยแล้ว...ผมว่า อย่ากลัว พม่า เลยครับ...กรุณา กลัว จีน เถอะครับ...เขาสามารถบินเข้าในประเทศไทยได้ ง่ายนิดเดียว...ถ้า ประเทศไทย เคยบินไปรับคนไทย ที่ ประเทศกัมพูชา อย่างไร เมื่อเกิดความขัดแย้งทางความคิดรุนแรง...ประเทศจีน ก็คง ทำแบบ ไทย เช่นเดียวกันครับ...

แต่การจะให้เข้ามาง่ายๆ ก็จะทำให้ไม่มีเกียรติเช่นกัน....ประเทศไทย มีบทเรียนกับประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว...แต่ไม่จำ... เนื้อเรื่อง ก็มาแบบนี้แหล่ะครับ...ซึ่งเมื่อถึงเวลาวิกฤติ สงคราม ของจีนกับคู่ขัดแย้ง ไม่ว่าเป็นใครก็ตาม...ก็คงเอาไทย เป็นทางผ่านอีกเช่นเคย...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/01/2018 07:53:01


ความคิดเห็นที่ 61


ส่วน F-35 ถ้าจะมอบภาระกิจ ครองอากาศ...ทอ. คงต้องจัดหา เครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศ มาพร้อม ๆ กันด้วย...

เพราะดูแล้ว ระยะเวลาการบินลาดตระเวณกับระยะทาง คงใกล้เคียง F-16 คงต้องเติมน้ำมันบนอากาศด้วย ระยะเวลาถึงครอบคลุมกับภาระกิจ ครองอากาศ ซึ่ง F-15 มีระยะเดินทางได้ไกลกว่า และความสูงบิน ก็สูงกว่า SU-30 กว่า 10,000 ฟิต...แต่ F-35 ความสูงบิน คงใกล้เคียงกัน...

ส่วนการแบก AAM ให้ได้เยอะ....ก็เพื่อ ไม่ให้ ฝ่ายตรงข้าม มีการใช้อากาศยานส่งผลต่อการยึดพื้นที่...ในเมื่อบิน ลาดตระเวณบนอากาศ ก็ควรมี กระสุน ให้พร้อมยิงตลอดเวลา...

ซึ่งเท่าที่ดู....การโจมตี จะแยกอากาศยาน ออกไป ชัดเจน....ลำไหน ป้องกัน ก็ AAM ทั้งลำ....ลำไหน โจมตี ก็หนัก AGM กับ Bomb เป็นหลัก ส่วน AAM แค่ป้องกันตัว...

ถ้า ทอ. มี 102 เป็น ครองอากาศ ก็จัดเต็ม AAM โดยมี 403 เป็น Strike Fighter ก็จัดเต็ม AGM และเพิ่มเติม บ.เติมน้ำมันทางอากาศ เพื่อสนับสนุน 403 ในการต่อระยะทาง...การจัดหา ของ 102 ก็จะได้ไม่ต้องมีจำนวนเต็มฝูงได้ จะมีสัก 6-8 ลำ เหมือนการจัดหา F/A-18 จำนวน 8 ลำ แต่ได้ F-16ADF จำนวน 16 ลำ มาแทน (ก็ไม่เต็มฝูงเหมือนกัน)

อินโดนีเซีย วางแผน จัดหา เครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศแล้ว...และมีการมองว่า อาจจะจัดหา F-16V กว่า 48 ลำ...ซึ่ง ผมมองว่า มันสัมพันธ์กัน ตรงที่ว่า ถ้าจะใช้เครื่องบินขนาดเล็ก ครองอากาศ...ก็ต้องมีหน่วยสนับสนุนทางอากาศด้วย...เพื่อให้มีภาระกิจครองอากาศ ดำเนินอย่างต่อเนื่อง...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/01/2018 08:16:41


ความคิดเห็นที่ 62


ผมว่า สิงคโปร์ มีการจัดกำลังทางอากศ ที่ลอกแบบมาจากอิสราเอลครับ ด้วยขนาดของประเทศที่คล้ายๆกัน......เดิมทีเดียว อิสราเอล มีเอฟ-16 เอฟ-15 และ เอฟ-4 เป็นกำลังหลัก (ยุคหลังสงคราหกวัน) โดยเอฟ-15 ทำหน้าที่แอร์สุพีเหรี่ย มี เอฟ-4 และ เอฟ-16 ทำหน้าที่ขับไล่เอนกประสงค์ ...... ในยุทธการ แบบิลอน เอฟ-16 ทำหน้าที่ โจมตีทางอากาศ โดยโหลดระเบิดบินหมู่ข้ามหัวชาวบ้านโจมตีโรงปฏิกรอิรัค การณ์นี้ มีเอฟ-15 ติดสแปรโร่ว และ ซวด. ให้การคุ้มกัน........... จะเห็นว่า ด้วยขนาดน้ำหนักบรรทุก พิสัย และเอวิโอนิคส์ในยุคนั้น ทำให้ปฏิบัติการนี้หินสุดๆ แต่อิสราเอลก็ทำสำเร็จ อันนี้ต้องยกเครดิตให้คุณภาพนักบินล้วนๆ
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/01/2018 08:39:12


ความคิดเห็นที่ 63


ครั้นถึงในยุคปัจจุบัน ภารกิจโจมตีพิสัยไกลของอิสราเอลเปลี่ยนไปครับ.......... อิสราเอล ได้รับ สไตรค์ไฟเตอร์ เอฟ-15 อี เข้าประจำการ พร้อมปลด คฟีร์ และแฟนธ่อมเข้ากรุ ............ ในวันนี้ หากเกิดกรณีพิพาทลักษณะเช่นนี้ ยิวไม่จำเป็นต้องจัดเครื่องบินแห่เป็นขบวนขันมากเหมือนยุทธการ แบบิลอน ครับ........ สไตรค์ไฟเตอร์ เอฟ-15 อี รับภารกิจทั้งหมดเรียบวุธ ด้วยตัวของข้าพเจ้าเองผู้เดียว............. เนื่องจากมีลำตัวใหญ่ บรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้มาก เอวิโอนิคส์การนำร่องทันสมัย สามารถบินต่ำทะลุแนวตั้งรับข้าศีกได้ทุกกาลอากาศ ที่สำคัญ มีเราดร์กำลังแรงชี้เป้าให้บีวีอาร์ จึงสามารถอัดกับอิเตอร์เสพทเตอร์ในแบบดาหน้าชนกันได้ทันที กรณีไก่ตื่น............. นี่ครับ มันเหมือนเอา เอฟสิบหก เอฟสิบห้า เอฟสี่ มาแกะเปลือกแล้วใส่ครกตำรวมกัน เติมน้ำปลาผงชูรสเข้าไป รสมันจึงแซบแสบสัน............... การโจมตีขัดขวางทางลึก และการใช้กำลังโจมตีทางอากาศ ยิวจึงมี สไตรค์อีเกิ้ลเป็นดาบทะลงฟันครับ ส่วน อีเกิ้ลตัวเก่า ยังคงเป็นตัวครองอากาศ แต่ดังว่า รุ่นอี เอกอุขนาดนี้ คงหมดยุค ส่งรุ่น เอ หรือซี ติดจรวด ออม. บินไปกับเอฟ-16 อย่างนั้นมันหมดยุคละครับ....... ยกเว้นเสียแต่ เกิดสงครามเต็มรูปแบบจริงๆ และยิวสถาปนาความได้เปรียบทางอากาศสมบูรณ์เต็มรูปแบบแล้ว อิเกิ้ลรุ่นเก่าจึงจะติดจรวด ออม. บิน ลว.ทางอากาศ กดดันข้าศึก ใครโผล่มา กรุสอย..... ซึ่งอันนี้มันขั้นปลายหรือหลังจุดไคล์แม็กซ์ ของสงครามแล้วครับ.......
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/01/2018 08:53:54


ความคิดเห็นที่ 64


ภาระกิจของ102 ทอ.วางไว้ชัดเจนอยู่แล้วครับว่าจะใช้ทำอะไร การพยายามจัดหาเอฟสิบแปดในอดีตเป็นการยืนยันได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ไม่ได้แตนมาแต่ก็ได้เอดีเอฟเป็นฝูงที่ยิงบีวีอาร์ได้ฝูงแรกในบ้านเรา ในอนาคตตัวตายตัวแทนที่เหมาะสมมันมีแน่ๆอยู่แล้วคนับ การขยับของเพื่อนบ้านมันไม่ได้ทำให้เราต้องขยับตามปุบปับครับ แถมเครื่องที่มีอยู่ยังไงก็รับมือไหวถ้าเกิดสงครามขนาดเอาเครืองบินมาหย่อนไข่ใส่กันขนาดนั้น ซึ่งมันเป็นได้น้อยมากๆในสภาวะปัจจุบัน ที่ควรห่วงมากกว่าซูสามสิบคือการเดินหมากของท่านๆทั้งหลายตอนนี้ดีกว่าครับ สังเกตุดีๆว่าจะโคราช หรือขอนแก่น นั่นหล่ะครับการงัดกันของสองขั้วใหญ่ๆในบ้านเรา จุดยุทธศาสตร์ล้วนๆ งานนี้เดินหมากกันดีๆครับ เดินผิดตัวเดียวอาจชิบหายทั้งกระดาน ส่วน ทอ. ในสภาวะฝืดเคืองเบี้ยขนาดนี้การอัพเกรดเครื่องที่มีรวมถึงการจัดหาอาวุธประเภทgame changer เข้ามาเสริมก็น่าจะพอถูพอไถกับดุลย์ทางทหารได้ระดับหนึ่งแหละครับ มาเลย์มีซูตั้งฝูงใหญ่ มันต่างกันตรงไหนกับพม่าที่จะมีซูอีกหกลำ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 28/01/2018 10:26:35


ความคิดเห็นที่ 65


ถ้าลองวิเคราะห์ดูในขณะนี้จะเห็นได้ว่านอกจาก FC-1/JF-17 ที่เป็นโครงการร่วมระหว่าง จีน-ปากีสถานแล้ว

จีนยังไม่ได้ส่งออกเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ ของตนให้กับประเทศใดเลยครับ

อย่างเครื่องบินขับไล่ J-10 ซึ่งมีข่าวมานานว่าปากีสถานสนใจจะจัดหามานานหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่การลงนามสัญญาจัดหาจริงๆออกมา

จนทางปากีสถานเองเริ่มให้ความสนใจ J-31/FC-31 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕แทนแล้ว

หรือในกรณีอิหร่านเองถึงแม้จะสนใจจัดหา J-10 จีนหรือ Su-30 รัสเซีย ก็ถูกกดดันจากชาติตะวันตกและกลุ่มประเทศอ่าวไม่ให้มีการขายเครื่องบินรบสมรรถนะสูงให้อิหร่าน

รวมถึงที่จีนเองไม่มีนโยบายจะส่งออกเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ที่ตนเองประจำการแล้วอย่าง J-20 ให้ต่างประเทศ

หรืแม้แต่ J-31 เองก็ยังเป็นเพียงเครื่องต้นแบบที่มีสองเครื่องที่อยู๋ในระหว่างการพัฒนาไม่พร้อมจะขายจริงตอนนี้

ก็เป็นน่าสงสัยครับว่าตอนนี้จีนพร้อมที่จะส่งออกเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔-ยุคที่๕ ของตนจริงหรือ?

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/01/2018 14:33:18


ความคิดเห็นที่ 66


ในความเห็นผม...มองการจัดหา F/A-18 ของ ทอ. ในยุคนั้น...จุดหลัก น่าจะเป็น การใช้อาวุธนำวิถีโจมตีเรือ ฮาร์พูน...เพราะในยุคนั้น...ไม่มี บ.รบ แบบไหน ของ ทอ. สามารถยิงอาวุธนำวิถีโจมตีเรือได้เลย...ส่วน AIM-120 ผมมองว่า ในขณะนั้น สหรัฐ ยังไม่มีนโยบายขายในภูมิภาค...ประเมินว่า ในยุคนั้น น่าจะเป็น Sparrow ที่จะมากับ F/A-18...สเปค เดียว กับ มาเลเซีย....

ส่วน 102 ที่ได้ F-16 ADF แทน F/A-18 ผมมองว่า น่าจะเป็นโชคดีของ ทอ. มากกว่า...เลยได้ใช้ AIM-120 เร็ว ก่อนนโยบายของสหรัฐ ที่จะปล่อยขาย AIM-120 ในภูมิภาค...แต่ยังมีจุดด้อยในเรื่อง การรักษาน่านฟ้าทางทะเล.... 

ทอ.ไทย เพิ่งมี JAS-39 เป็นแบบแรก ที่ยิงอาวุธนำวิถีโจมตีเรือได้ และเพิ่งจะมี ไม่กี่ปีนี่เอง ครับ...ดังนั้น ในจุดอ่อน ที่ไม่เคยมี ก็อุดช่องเรียบร้อย....และเป็น ฝูงบิน ที่มีความสามารถครบ ในภาคใต้...ก็ช่วยแบ่งเบาภาระในส่วน เหนือ ตะวันตก ตะวันออก ได้...

ก็พอจะมองคร่าวๆ ในยุค จัดหา F/A-18 ว่า 102 คือ Swing-role Fighter, ฝูง 103,211,403,711 คือ Interceptor Aircraft และ 231 คือ Attack Aircraft

ในภาพ ณ ปัจจุบัน ก็มองจะมองเป็น ฝูง 403 คือ Strike Fighter, ฝูง 102 คือ Air Superiority Fighter, ฝูง 103,211 คือ Interceptor Aircraft และ 231 คือ Attack Aircraft  ส่วน 701 คือ Swing-role Fighter

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/01/2018 11:41:24


ความคิดเห็นที่ 67


ผมว่างานนี้เราต้องคิดให้รอบคอบครับ สำหรับผมการซื้อยุทโธปกรณ์ราคาแพง ควรจะพิจารณาถึงสิ่งที่เราจะได้รับให้มากกว่าตัวสินค้านั้น สำคัญที่สุดคือ ความรู้ที่จะอยู่กับไทยไปชั่วลูกหลาน ยิ่งถ้าสร้างเองได้นั่นคือดีที่สุด ลองมองไปที่ประเทศเศรษฐกิจดีๆ อย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ พวกนี้พยายามจะสร้างทุกอย่างเองในประเทศ ก็ใช้โมเดลนี้แหละครับถ่ายทอดเทคฯ และสร้างเองในประเทศสากยันเรือ และไม่นานเขาก็มั่งคั่งครับ

 

ผมมาคิดดูก็คาดว่า ทอ. ก็คงคิดมาอย่างดีแล้วถึงเลือกกริเพน เมื่อลองพิจารณาดูว่า สรอ. (อเมริกา) เคยถ่ายทอดความรู้อะไรใครน้อยมาก ถ้าไม่ใช่เมืองหน้าด่านทางแปซิฟิกของตนเองอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ถึงจะได้สร้าง F16, F15, F35 ดังนั้น ทอ. จึงเบนมาทางยุโรปและมองมาที่กริเพน เราลงทุนกับกริเพนไปพอสมควรแล้วครับ ผมเดาว่าคงพอได้อะไรติดมือมาบ้าง ถ้าเราจะลงทุนต่อยอดไปมันก็คงจะได้อะไรเพิ่มขึ้นอีก ยิ่งตอนนี้อนาคตของซ้าปกำลังน่าเฝ้าระวังครับ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นกับบราซิล หรือความไม่แน่นอนของดีลอินเดียที่ไม่แน่ใจว่าจะเอาเครื่องบินแบบกี่เครื่องยนต์กันแน่ เชื่อกันว่าเรื่องก็คือ อินเดียอย่างสร้างกริเพนอีเองในประเทศ แต่ติดที่ว่ากริเพนไม่ได้เป็นลิขสิทธิ์ของซ้าป 100% ครับ ส่วนพวกมอเตอร์ซูแถวบ้านก็ประมาทไม่ได้ครับ เราอาจจะต้องปลูกต้นไม้แซมไว้รอบบ้านเราไปด้วยครับ :)

 

หมายเหตุ: ผมว่าถึงเราไม่มีเงินก็ทำได้ครับ ผมเคยได้ยินข่าวว่า อิหร่าน จะซื้อ J10 จากจีนร้อยกว่าลำ แต่ไม่เสียเงินครับ เพราะจ่ายเป็นน้ำมันแทน :)

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 28/01/2018 13:26:25


ความคิดเห็นที่ 68


ปัจจุบันนอกจากเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่ได้รับการสั่งจัดหาจากกองทัพอากาศพม่า ๑๖เครื่องในข้างต้น รวมถึงไนจีเรีย ๓เครื่อง

เครื่องบินรบไอพ่นแบบอื่นที่จีนส่งออกให้ต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ก็มีเช่น



เครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบาความเร็วเหนือเสียง FTC-2000 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง JL-9 ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเอง

โดย JL-9 ก็มีพื้นฐานมาจากเครื่องบินขับไล่ J-7(จีนลอกแบบ MiG-21 รัสเซีย) โดยเปลี่ยนส่วนหัวเป็นสองที่นั่งเรียงกันและช่องรับอากาศเข้าใหม่ แต่ใช้เครื่องยนต์ Turbojet WP-13(ลอกแบบ R-13 รัสเซีย) เหมือน F-7 รุ่นส่งออก


อีกแบบคือเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบาความเร็วเหนือเสียง L-15 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง JL-10 ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเองเช่นกัน

ซึ่ง L-15 ใช้เครื่องยนต์ turbofan Ivchenko Progress AI-222K-25 ยูเครนสองเครื่อง มีแซมเบียสั่งจัดหา L-15 แล้ว ๖เครื่องครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/01/2018 15:45:19


ความคิดเห็นที่ 69


ลองรวบรวม คุณลักษณะของ บ.ขับไล่ ใน ASEAN คร่าวๆ

ส่วนรัศมีทำการ ใช้ข้อมูล Combat radius เท่าที่หาได้...ซึ่งพอดูถึง สเปค JF-17 น่าจะพอเทียบเคียงกับ F/A-50 กับ F-5 Upgrade ผมว่า ยังห่างกับ F-16 อีกมาก...ก็คงต้องรอดูว่า ปากีสถาน จะพัฒนาไปได้มากขนาดไหน...ซึ่ง คงยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนานหลายปี...

ถ้าเทียบ JF-17 กับ F/A-50...ผมคิดว่า F/A-50 ยังต้องพิสูจน์ตัวเอง อีกพอสมควร ส่วน JF-17 ก็ต้องรอการพัฒนาอีกสักพัก...คะแนนตอนนี้ JF-17 ยังนำอยู่เล็กน้อย...ส่วน F-5 Upgrade ผมยังให้คะแนนนำ JF-17 ซึ่ง F-5 ยังนำโด่งในเรื่อง เทคโนโลยี่ รวมถึง ความเก๋า ที่พิสูจน์มาเป็นระยะเวลานาน...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/01/2018 17:18:49


ความคิดเห็นที่ 70


รบกวนท่าน Judas เพิ่ม Typhoon T3 ในตารางหน่อยครับโดยเฉพาะเทียบกับ F15se จะได้เห็นภาพชัดขึ้นครับ ขอบพระคุณมากครับ
โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 28/01/2018 19:48:14


ความคิดเห็นที่ 71


ท่านกบครับ ซาอุมีทั้ง Strike Eagle และ Eurofighter ครับ ถ้าให้ผมเลือกทำสงครามทางอากาศกับซีเรีย ตุรกี อิสราเอล และซาอุ ผมเลือกประเทศหลังร้อยครั้งจากจำนวนร้อยครั้งแน่นวล

 

บางครั้งเครื่องดีแต่นักบินห่วย ภารกิจก็ห่วยตามนักบินเช่นกัน 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 28/01/2018 20:50:36


ความคิดเห็นที่ 72


รวยจริงๆไม่ใช่เล่น   .............  ก่อนจะมาได้กับใต้ฝุ่น  เมื่อก่อนโน้น ก็แห่ ทอร์เนโด ไปหลายโหล.............. อะไรดีพี่แกมีหมด.........

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/01/2018 21:49:13


ความคิดเห็นที่ 73


        ผมคิดว่าตอนนี้เรายังไม่ควรซื้อบินรบ 2เครื่องยนต์ใหม่ครับ เเต่ผมคิดว่าเราควรซื้อกริฟเพนให้ครบจำนวน หรือมากขึ้นไปเลย 10-20 ลำอะไรก็ว่าไป เพราะว่าตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ยุคของบินรบยุคที่5 ในหลายๆประเทศก็ได้รับมอบกันเเล้ว  อีกไม่นาน บินรบยุคที่4 กับ 4.5 ก็จะล้าสมัยไปเเล้วยิ่งเป้นพวก 2 เครื่องยนต์ยิ่งเเพงเข้าไปใหญ่  
    เเต่ที่ผมพูดนี่ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะใช้กริฟเพนไปบวกกับซูตรงๆนะครับ ผมหมายถึงเราควรจะต้องซื้อบินรบสองเครื่องยนต์เเต่น่าจะซื้อบินรบยุคที่5 ไปเลยทีเดียวน่าจะคุ้มกว่า รออีกสัก 10 ปีก็ยังทัน ช่วงนี้กริฟเพนน่าจะเอาอยู่
    ส่วนเรื่องที่ว่า อาจจะมีภัยคุกคามนั้นส่วนตัวผมมองว่าตอนนี้ยังไม่มีวี่เเววอะไรเป็นพิเศษ ยังเงียบๆ ยังทรงๆตัวอยู่ พม่าก็เพิ่งพาเรามาก เขาก็คงไม่อยากมีปัญหากับเราเหมือนกัน   ลำพังปัญหาชนกลุ่มน้อยกับโรฮิงยาก็จะเเย่อยู่เเล้วด้วย
    ฉะนั้นผมว่าเเนวทางที่เหมาะสมตอนนี้คือ SAM ครับ เราไม่จำเป็นต้องเอากริฟเพนเข้าไปเเลกหมัด เเค่เขาเอาเครื่องมาบินเฉี่ยวๆก็โดนล้อกเป้าง่ายๆ ผมว่าน่าจะเพียงพอสำหรับในตอนนี้  หลังจากนั้นเรามีเงินค่อยไปซื้อบินรบยุคที่ 5 มาทีเดียวน่าจะดีกว่าครับ
   

โดยคุณ 41best47 เมื่อวันที่ 28/01/2018 22:06:31


ความคิดเห็นที่ 74


http://ace-7.bn-ent.net/media/

สงสัยท่านนายพลมินอองหล่ายเห็นเครื่องบิน su-30ในเกม ace combat 7เลยเกิดแรงบันดาลใจจะคว้า su- 30  5555555

โดยคุณ bok01 เมื่อวันที่ 29/01/2018 09:46:07


ความคิดเห็นที่ 75


คุณกบ : รวยจริงๆไม่ใช่เล่น   .............  ก่อนจะมาได้กับใต้ฝุ่น  เมื่อก่อนโน้น ก็แห่ ทอร์เนโด ไปหลายโหล.............. อะไรดีพี่แกมีหมด.........

มีดีทุกอย่างขาดแค่คุณภาพนักบินครับ

 

 

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 29/01/2018 09:53:55


ความคิดเห็นที่ 76


เคยได้ยินข่าวว่า JF-17 ที่พม่าจัดหานั้นเป็นรุ่น บล็อคIII ซึ่งมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่มีความเร็มเพิ่มขึ้นกว่ารุ่นก่อนซึ่งน่าจำทำความเร้วได้ถึง 2 มัค และเรดาร์เป็นแบบ NRIET KLJ-7A AESA ซึ่งทางจีนให้ข้อมูลว่าตรวจจับวัตถุทางอากาศหน้าตัด 5 m. ที่ระยะ 170 Km. ซึ่งความคิผมนั้นน่าจะตรวจจับเครื่องบิน f-16 ได้ที่ระยะ 110 Km. ซึ่งเพียงพอที่จะใช้อาวุธอากาศสู่อากาศนอกสายตาได้ และถ้าเกิดมีการปฏิบัติภารกิจ คาดว่า SU-30 น่าจะรับภารกิจโจมตีภาคพื้น ส่วน Jf-17 น่าจะมาเป็นเครื่องคุ้มกัน ซึ่งถึงแม้ว่า SU-30 จะมีความคล่องแคล่วสูงแต่ถ้าติดอาวุธอากาศสู่พื้นเต้มพิกัดก็ไม่สามารถบินหลบหลีกหรือผาดแผลงได้เต็มที่ และด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โตทำให้โดนตรวจจับได้ก่อน แต่ตัวที่มาสร้างปัญหาคือ JF-17 ตัวนี้แน่นอน 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 29/01/2018 10:09:09


ความคิดเห็นที่ 77


ของ พม่า น่าจะ Block 2 ครับ...Block 3 ยังไม่เปิดสายการผลิตครับ...และคงต้องมี สายอากาศหน้า Cockpit คล้าย F-16 MLU

CHENGDU REPORTEDLY ACHIEVES MILESTONE IN JF-17 BLOCK-III DEVELOPMENT

Reports from Chinese news sources indicate that Chengdu Aircraft Industry Group (CAIG) reached a major milestone in the development of the JF-17 Thunder Block-III – i.e. entering the “preliminary design stage.”

The Block-III is slated as the JF-17’s first major upgrade involving new electronic subsystems, including an active electronically-scanned array (AESA) radar, a new integrated electronic warfare (EW) system, three-axis fly-by-wire (FBW) digital flight control system and helmet-mounted display and sight (HMD/S).

According to Sina News, CAIG has successfully determined an optimal configuration for the Block-III’s new subsystems, ensuring that it provides markedly improved capabilities.

Reported changes include modifications to the airframe for an AESA radar – potentially Nanjing Research Institute of Electronics Technology’s (NRIET) KLJ-7A – new transmit/receive modules (TRM) (related to the EW system) embedded in the airframe and change in “orientation of the cockpit ventilation pipe.”

CAIG is carrying out the work on a relatively compressed schedule, potentially aligning with the Pakistan Air Force’s (PAF) plan to have the Block-III enter production in 2019 or 2020.

Currently, the PAF intends to procure 50 Block-IIIs.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/01/2018 11:39:07


ความคิดเห็นที่ 78


ผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่ว่ากำลังหมดยุคเครื่อง 4.5++   และ ทอ.มีปัญหาด้านงบประมาณ   แต่ถ้ารอเครื่องยุค 5 มันก็นานเกินไป เกิดช่องว่างที่เราจะเสียเปรียบ   ส่วน F16MLU  Jas39C/D ก็แค่พอสู้เพื่อนบ้านได้ไปได้ราว 3-5 ปี  ผมจึงคิดว่า  F16MLU  Jas39C/D คงพอเท่านี้  แต่ไปเพิ่มที่เครื่องยุค 4.5++ จำนวนนึง  เป็น

F15SE 8-12 ลำ  สำหรับครองอากาศและโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนคู่กรณี  และ F16V หรือ Jas39E/F 12-16 ลำ สำหรับเชิงป้องกันในประเทศ

แค่นี้ก็พอ ซึ่งควรจัดหาภายใน 10 ปีนี้  หลังจากนั้นก็จะเป็นเครื่องบินยุคที่ 5  

(แนวคิดคือ ไม่เน้นปริมาณ เน้นคุณภาพ  โดยฝูงบินรุ่นเก่าจะมีฝูงล่ะประมาณ 18 ลำ  พอเปลี่ยนรุ่นใหม่ อาจมีแค่ 10-14 ลำ แต่ยังคงจำนวนฝูงบินไว้เท่าเดิม  และเครื่อง 4.5++ ก็ไม่จำเป็นต้องมือ 1  จะเป็นมือสองก็ได้ เช่น F16USE ของสหรัฐ upgrade เป็น F16V หรือ Jas39C upgrade)

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 29/01/2018 12:09:48


ความคิดเห็นที่ 79



ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศที่พบว่ามีการติดตั้งกับ JF-17 ที่ประจำการในกองทัพอากาศปากีสถานจริง

ก็เห็นมีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-5E II ๒นัดที่ตำบลอาวุธที่ปลายปีกทั้งสองข้าง กับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง PL-12(SD-10A) ๒นัดที่ตำบลอาวุธใต้ปีกคู่นอกครับ

ซึ่งก็ใกล้เคียงกับ F-5E/F Super Tigris ที่ได้นับการปรับปรุงแล้วที่จะติดตั้ง Python-4/Python-5 ได้ ๒นัดที่ปลายปีก และ I-Derby ๒นัดที่ตำบลอาวุธใต้ปีคู่นอก

แต่ก็เห็นว่า FC-1 จีนที่เป็นตัวทดสอบมีการพัฒนารางอาวุธคู่ทำให้ติด PL-12 ได้เพิ่มเป็น ๔นัด ซึ่งทำให้ขีดความสามารถในการรบทางอากาศเพิ่มขึ้นพอสมควรทีเดียวครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 29/01/2018 12:34:35


ความคิดเห็นที่ 80


ในภาพ ไอ้เจ้าตำบลคู่ใน หน้าตาเหมือนจรวดปราบเรือนะครับ ซี-802 รุ่นหล่นจากฟ้าหรือเปล่า....... นี่แค่ บล็อค2 ถ้าขึ้นบล็อค -3 เรดาร์เฟสอารเรย์ กล้าพูดได้เต็มปากว่า ของเขาแรงกว่ากริเพ่น ของเราครับ
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 29/01/2018 19:32:02


ความคิดเห็นที่ 81


อาวุธที่น่ากลัวของซูสามสิบคือพวก A2G ครับยิ่งพวกตระกูล k100, kh31 พวกเนี้ยน่ากลัวสำหรับสถานีเรดาห์ และเหล่าเรือรบฝั่งเราครับ ส่วนเจเฟสิบเจ็ดจะน่ากลัวตรงซี802 เนี่ยแหละครีบ เรือฝั่งเรายิ่งciws มีน้อยๆอยู่ด้วย ส่วนพุนพินมีอาวุธให่เสริมอีกเยอะครับ ทั้งkepd , spike จ่าดำ หรือพวกจรวดฉลาดรุ่นใหม่ๆ รวมถึงrbs155 รุ่นใหม่ๆครับ รอแค่จะเสริมเมื่อไหร่แค่นั้นครับ ไม่ได้เป็นรองแน่ๆ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 29/01/2018 19:59:41


ความคิดเห็นที่ 82


อากาศยานรบที่กองทัพพม่ามีใช้งานในปัจจุบันเท่าที่มีข้อมูลยังไม่มีแบบใดที่มีขีดความสามารถในการใช้โจมตีภาคพื้นดินความแม่นยำสูงเลยครับ

ตั้งแต่เครื่องบินฝึกไอพ่น G-4 อดีตยูโกสลาเวีย เครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 จีน ที่กองทัพอากาศพม่ามักจะนำมาติดอาวุธโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ก็จะใช้ได้เฉพาะกระเปาะปืนใหญ่อากาศ จรวดไม่นำวิถี และระเบิดทำลายธรรมดา

เครื่องบินขับไล่ F-7M จีนก็คิดกระเปาะจรวดและระเบิดได้จำนวนจำกัดมาก เครื่องบินโจมตี A-5C(A-5IIK) จีนก็ใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นหรือระเบิดนำวิถีไม่ได้

เครื่องบินขับไล่ MiG-29B/SE รัสเซีย ก็เป็นเครื่องส่วนเกินที่มีขีดความสามารถการโจมตีทางอากาศสู่พื้นจำกัดใช้ได้เฉพาะจรวดอากาศสู่พื้นและระเบิดธรรมดาเช่นกัน

แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลเปิดเผยว่า Su-30 ที่กองทัพอากาศพม่าจะจัดหามีการจัดหาระบบอาวุธอะไรมาด้วยบ้าง

แต่การจัดหา Su-30 น่าจะทำให้กองทัพอากาศพม่ามีขีดความสามาารถในการใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินความแม่นยำสูงเป็นครั้งแรกครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 29/01/2018 23:14:40


ความคิดเห็นที่ 83


น่าสนใจตรงที่ว่า  หลังจากเข้าประจำการแล้วความพร้อมรบจะมีเท่าไหร่  รวมถึงงบการดูแลรักษาที่ต้องตามมาอีก อันนี้น่าคิด

โดยคุณ janus เมื่อวันที่ 29/01/2018 23:59:16


ความคิดเห็นที่ 84


เราต่างหากที่เสริมหนักมากคับ  สั่งjas39 อัปเกรดf16 สั่งเครื่องบินฝึกที่เอามารบได้  ซื้อรถถังหลักมาแทนรถังเบาm41 สั่งยานเกราะล้อยาง อัปเกรดเรือรบ สั่งเพิ่มเรือรบ2ลำ สั่งเรือดำน้ำ  ประเทศรอบข้างเขาอยู่นิ่งไม่ได้หรอก

โดยคุณ ome1217 เมื่อวันที่ 30/01/2018 05:46:54


ความคิดเห็นที่ 85


ผมคิดว่าการมีเครื่องบินอย่าง Su30  F15  เรื่องค่าใช้จ่ายหลังประจำการผมว่าไม่ใช่ปัญหา  ปัญหาคือการจัดงบประมาณในการซื้อมาประจำการมากกว่าเพราะการจะซื้อมา 1 ฝูงเล็กๆ 12 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุน  อาวุธ คงไม่ต่ำกว่า 40,000 บาทขึ้นไป  ส่วนความพร้อมรบยามปกติ 60% ผมว่าก็ยอมรับได้  คือ ถ้ามี 10 ลำ  พร้อมใช้ 6  จอดซ่อม รออะไหล่ 4 ซ่อมกินตัวไปก่อน (งบซ่อมประจำปี วางแผนซ่อมตามงบที่มี)   เวลาจำเป็นจริงๆ การสั่งอะไหล่อย่างมากก็ไม่เกิน 3 เดือน  ถ้าสั่งด่วนไม่เกิน 20 วัน (งบพิเศษ)  สรุปคือถ้าจำเป็น ก็พร้อมรบ 100% ภายใน 1 เดือน ซึ่งก็ไม่ได้เกิดบ่อยๆ 

 อีกอย่างคือ เวลามีสถานการณ์ขัดแย้งจริงๆ  เราก็มีเครื่องบินหลายฝูงกระจายทั่วประเทศ สมมุติทุกฝูงพร้อมรบ 60%  เวลาเกิดขัดแย้งกับชายแดนด้านใดก็สามารถย้ายกำลังจากด้านอื่นไปเสริมได้  เช่น ถ้าขัดแย้งกับประเทศทางใต้ ขอแค่มี F15 Su30 ซัก 4-6 เครื่องไปบิน ปรากฏตัวบ้างเท่านั้น  ที่เหลือ ในทางปฏิบัติใช้ F16 F5 Jas39  ก็มากพอจนเหนือกว่าอีกฝ่ายแล้ว  แต่ถ้าไม่มี F15 Su30 ดูยังไงเราก็เป็นรองนิดๆ

เปรียบเทียบน่ะครับกรณีขัดแย้งกับทางใต้ หากเกิดความขัดแย้งกระทันหัน  ที่ความพร้อมรบน้อยกว่า 60%

ไทย                                                  คู่กรณี

F15 หรือ Su30   4-6 ลำ    เทียบกับ     Su30   8   ลำ      

Jas39C/D  8                                    F18C/D   8

F16MLU  8                                      Mig29     6-8

F5 Upgrade                                     ไม่มี

TA50T    8                                      Hawk100/200   8

Awac     2                                       ไม่มี

    จะเห็นว่าหากทั้งสองฝ่ายไม่มี บ. ขนาดใหญ่    ไทยเหนือกว่า   แต่ถ้าไทยไม่มี บ. ขนาดใหญ่ และไม่มี Awac  ไทยเสียเปรียบ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 30/01/2018 08:19:33


ความคิดเห็นที่ 86


สมมุตินะครับว่า ถ้าเราต้องจัดหาเครื่องบินแบบครองอากาศสองเครื่องยนต์ โอกาสที่เป็นไปได้คือ F-15E กับ F/A-18E/F ซึ่งส่วนตัวนั้นมองว่าโอกาสของ F-15E มีมากกว่าเพราะคงไม่จำเป็นต้องเพิ่มเครื่องบินที่ติดจรวดนำวิถีโจมตีเรือในฝูงอื่นอีก ถ้าจะเพิ่มจุดนี้ไปเพิ่ม JAS-39 ในฝูง701ให้ได้ 16 ลำจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องสต็อกอาวุธนำวิถีโจมตีเรือมากแบบ ส่วนถ้าจัดหา F-15E นั้น ส่วนตัวผมว่าคงต้องมาลงที่ฝูง 403 เนื่องจากภารกิจของฝูงนี้เน้นโจมตีภาคพื้นตามคุณลักษณะของเครื่องบิน F-15E แล้วย้าย F-16eMLU ไปอยู่ฝูง 102 เป็นไปได้ไหมครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 30/01/2018 08:53:53


ความคิดเห็นที่ 87


ความคิดเห็นผม SU30จำนวน6ลำกับJF-17จำนวน16ลำ จะมีอัตราพร้อมรบแค่ไหนกัน ถ้าเอาอัตราสภาพพร้อมรบที่70% ผมคิดว่าในกำลังของเราในเวลานี้ยังสามารถรับมือไหวครับ

ค่าตัวของSU30ไม่แพง แต่F-15นี่ไม่ไหวนะ ยิ่งค่าoperating costสูงมากทั้งคู่ เราจ่ายไม่ไหวหรอกครับ แล้วถ้าเอาแผนการจัดหาทดแทนUH-1กับC130 และจัดหาT50ให้ครบ บวกกับจัดGripenฝูง701ให้ครบก็ไม่เหลืองบแล้ว

กรณีพม่าซื้อSU30 ทำให้เราต้องเตรียมการรับมือ น่าจะทำให้การจัดหาทดแทนในฝูง102เป็นไปได้เร็วขึ้นไม่ต้องปล่อยว่างเว้น ซึ่งดีที่สุดที่เราสามารถจัดหาได้ในเวลา5ปีนี้คงไม่เกินGripen C/D มีAEWพ่วงมาด้วย ไม่ต้องคาดหวังE/Fเลยครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 30/01/2018 09:19:44


ความคิดเห็นที่ 88


ถ้าว่าเราเสริมโหดนี่ เพื่อนบ้านทางใต้แต่ละประเทศเสริมโหดกว่าเราอีกมั้งครับ อย่างมาเลเซีย สั่งต่อเรือฟรีเกต 6 ลำตอนนี้ลำที่ 3 น่าจะกำลังตัดชิ้นส่วน ในขณะที่เราได้ฟรีเกตมาแค่ลำเดียวลำที่สองยังเงียบอยู่เลย เรือดำน้ำเขาก็มีกันอยู่แล้ว 

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 30/01/2018 11:26:34


ความคิดเห็นที่ 89



http://aagth1.blogspot.com/2016/06/mi-35p-4.html

ที่จริงกองทัพอากาศพม่าก็มีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูงใช้งานอยู่เหมือนกันครับ

โดยตามที่มีรายงานว่ากองทัพอากาศพม่าจัดหาอากาศยานรบไร้คนขับ CH-3A UCAV จีนมาใช้ในการโจมจีกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ทางตอนเหนือของประเทศ

ซึ่ง CH-3A สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AR-1 หัวรบหนัก 10kg ระยะยิง 10km ได้ ๒นัด

แต่อย่างไรก็ตาม CH-3A นั้นเป็น UCAV ที่ติดอาวุธได้น้อยและอาวุธที่ใช้ก็มีหัวรบน้ำหนักเบา กองทัพอากาศพม่าจึงได้มองหาเครื่องบินรบที่ติดอาวุธได้จำนวนมากๆและติดอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงมาตลอดครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 30/01/2018 14:42:28


ความคิดเห็นที่ 90


MiG-29SE ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพอากาศพม่าในปัจจุบันติดตั้ง Radar แบบ N019M

ซึ่งมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-27R ต่อเป้าหมายได้ ๒นัดพร้อมกัน

เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่กองทัพอากาศพม่าจะได้รับมอบในอนาคตอันใกล้ที่ติดตั้ง Radar แบบ KLJ-7

ซึ่ง KLJ-7 สามารถติดเป้าหมายทางอากาศใน mode Track While Scan ได้พร้อมกัน ๑๐เป้าหมาย และใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง SD-10A ต่อเป้าหมายได้ ๒นัดพร้อมกัน

สอดคล้องกับที่ MiG-29B/SE กองทัพอากาศพม่าที่พบติด R-27 ๒นัด และ JF-17 กองทัพอากาศปากีสถานที่พบติด SD-10A ๒นัดครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 31/01/2018 14:28:08


ความคิดเห็นที่ 91


     เห็นด้วยกับท่านกบที่ว่าการจัดหา  FA-50 TH  คราวนี้มันเกินหน้าที่เครื่องฝึกไป  น่าจะมีอะไรแอบแฝงเรด้าร์และระบบอิเลคทรอนิคก็แบบที่คล้ายกับ ื F-5T  ที่ทำการปรับปรุงใหม่ทั้งหมด     ผมเชื่อนะว่ามีฝูงที่ 2      อาจจะทำหน้าที่แทนทั้ง  A-jet  และ F-5   ซึี่งทำให้ ทอ.มีเครื่องสกัดกั้น  โจมตี  พอใช้งาน   ทั้ง  FA-50  2 ฝูงและ Jas-39  (เมื่อ F-5  หยุดบินหมด

    คราวนี้ก็จะเป็นเรื่องของเครื่องที่ทำภาระกิจบุกเขาบ้างล่ะครับ    F-16  มีแค่ฝูงเดียว   

F-15  ก้ดีนะครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 01/02/2018 14:28:50


ความคิดเห็นที่ 92


แฝงหรือเปล่าก็ไม่รู้แต่ถึงขั้นนักบินเอฟ16 ถึง 4 คนจาก 6 คนไปฝึกบินก็แสดงว่าไม่ธรรมดาแน่นอน
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 01/02/2018 14:59:57


ความคิดเห็นที่ 93


เขานั้นบอกว่า อธิบายเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆเหมือนเด็กอนุบาลคุยกัน นั่นแหล่ะที่สุดของสุดยอด................. ตลอดเวลาที่ผมคิดหรืออธิบายอะไร จึงไม่พยายามให้มันซับซ้อน..................

นจึงมีคำถามหนึ่งคำถามย (ซึ่งอันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ) ?????

 

คำถามคือ  ศิษย์การบิน "ลูกแก้ว" ได้รับปีกสองข้างมี ชม.บิน สองร้อยกว่าๆ ซึ่งสำเร็จการฝึกเครื่อง พีซี-9 แล้วเลือกไปบินเครื่องหัวแหลมนั้น................. พวกเขาเหล่านั้น  ไปฝึกบินต่อกับเครื่องอะไรครับ...?????? ฝึกกับย ที-50 หรือเปล่า ?????? ถ้าใช่ ก็แสดงว่า ที-50  เป็นเครื่องบินฝึกเปลี่ยนแบบ สำหรับฝึกนักบินขับไล่ไอพ่น เช่นเดียวกับ ที-33  และ แอว-39 ...........

 

แถมด้วยอีก 1 คำถาม.............. ล้อแตะพื้นก็นานหลายเพลาแล้ว  ตกลง จะเรียกน้องสุดท้องนี้ว่าไงครับ บข.21 หรือ บจ.8  หรือ บข.ฝ.2 ?????? หรือเป็น บข.ฝ.จ.ธ.1  หรือมันยากมากย ตั้งแบบ ทบ.เลย ให้ชื่อ เครื่องบินแบบ 61........... คือแบบว่าประจำการในปี 2561

 

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 01/02/2018 20:32:50


ความคิดเห็นที่ 94


ข่าวล่ามาแรงจากงานสิงคโปร์แอร์โชว์ ซูของพม่าเป็นรุ่นsme นะครับ เหอเหอ รอตอนล้อแตะพื้นละกัน ส่วน ทอ.ไทยเตรียมรับมือโดยเจรจากับซ๊าปเรื่องอัพพุนพินเป็น ms20 คร้าบบบบ เหอเหอ เตรียมลุ้นฝนดาวตกกันเลยยย
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 06/02/2018 18:28:03


ความคิดเห็นที่ 95


ตามข้อมูลของท่าน AAG_1th

ก็เท่ากับ SU-30 ชุดนี้ของ พม่า....ก็เป็นฝึกฝึมือ ความคุ้นเคย กันไปก่อน...ถ้าให้ประเมิน SU-30 จำนวน 6 ลำ อายุใช้งาน น่าจะอยู่ระหว่าง 12-15 ปี ไม่น่าจะเกินกว่านั้น...

ส่วน T-50TH ในคุณลักษณะของ บ. คือ Lead In fighter Trainer...ตามที่ผมโพสรูปเปรียบเทียบในกระทู้บน ครับ...

ว่า Cockpit ของ T-50 คล้ายกับ F-16 eMLU เกือบจะ 100%...ซึ่งก็ประเมินได้ว่า T-50TH มีไว้เพื่อฝึกสำหรับฝูง 403...

โดยวัตถุประสงค์หลักของ Lead In Fighte Trainer คือ การใช้เครื่องบินฝึกที่มีสภาพแวดล้อมของ อากาศยาน เหมือนกับ บ.ชับไล่หลัก...

นั่น น่าจะหมายถึง ตามที่ผมให้ความเห็นส่วนตัวไว้ว่า...ฝูง 403 อายุใช้งานโครงสร้าง เหลือไม่อีกกี่ปี...แต่ระบบอวิโอนิค เพื่งจะเปลี่ยนการติดตั้งใหม่ พร้อมๆ กับการจัดหา T-50TH...รวมถึง หน้าจอ Cockpit และระบบเรดาร์ตรวจจับ ที่เป็นแบบเดียวกัน...ดังนั้น T-50TH จึงมีน่าจะมีไว้เพื่อให้นักบิน 403 ได้ฝึกบิน ทั้งในแง่ การยุทธวิธัี ของนักบินเก่า เพื่อลดการใช้งานฝึกของ F-16eMLU และการฝึกเปลี่ยนแบบ สำหรับ นักบินใหม่ ของ F-16eMLU...

ระบบคันบังคับเครื่อง เป็นแบบข้างลำตัว เหมือน F-16...ดังนั้น ผมก็วิเคราะห์ว่า คงไม่นำมาฝึกเพื่อเปลี่ยนแบบสำหรับ Jas-39 หรือ F-5T...ซึ่ง คันบังคับหรือสภาพแวดล้อมภายใน แตกต่างจาก F-16 อย่างชัดเจน....

แต่นักบินจาก ฝุง 401 หรือ 403 อาจจะไปเป็นนักบิน 211 หรือ 701 ได้...แต่ก็ต้องไปบินฝึกบินเปลี่ยนแบบอีกครั้งหนึ่งกับ Jas-39D หรือ F-5F เพื่อสร้างความคุ้นเคยอีกครั้ง...

จึงเป็นในความเห็นของผมที่ว่า ถ้า ฝูง 102 หรือ 103 ในอนาคต ยังเป็น บ.ตระกุล F-16 หรือเป็น F-35...อนาคตของ T-50TH ก็น่าจะยังมีโอกาส การเพิ่มเติมอีกจำนวนสูง เพราะสภาพแวดล้อมภายในของ บ. ก็จะเหมือนกับ F-16 หรือ F-35 ซึ่งบ.ทั้ง 2 แบบ ก็เป็น บ. ประจำการหลักของ เกาหลีใต้ อยู่แล้ว...

แต่ถ้า ฝูง 102 หรือ 103 เปลี่ยนไปเป็น บ.ตระกูล F-15 หรือ Jas-39...ผมว่า บ.T-50 อาจจะหยุดอยู่เพียงเท่านี้...แล้ว๋โอกาสของ M-346 ก็จะเข้ามาแทนที่...

และสำหรับ T-50TH ที่ติดตั้ง เรดาร์แบบสำหรับนอกระยะสายตา ได้นั้น...แล้วประเมินว่า T-50TH ก็จะยิง BVR ได้นั้น...ผมมองว่า...T-50TH ก็ยังยิง BVR ไม่ได้...แต่เป็นการติดตั้ง เพื่อฝึกการใช้งาน เรดาร์ เท่านั้น และใช้ยิงกับอุปกรณ์ชุดฝึก...แต่ยังไม่มี Fire control สำหรับ BVR ซึ่งน่าจะต้องเป็น ซอฟท์แวร์ อีกต่างหาก...เพียงแต่ T-50TH จะสามารถยิง AIM-9 ได้ คือ ใช้ได้สำหรับอาวุธนำวิถีตรวจจับความร้อน แต่ยังใช้ไม่ได้ สำหรับ อาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์...

ก็จะเข้าความหมายข้อมูลของ ทอ. คือ ภาระกิจรอง คือ โจมตีเบา....

ภาระกิจหลัก คือ เพื่อฝึก นักบิน F-16....(403)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/02/2018 08:22:10


ความคิดเห็นที่ 96



มีรายงานล่าสุดมาจากทางกลุ่มชุมชนทางทหาร Online ของพม่าครับว่า

ดูเหมือนเครื่องบินขับไล่ Su-30 ๖เครื่องที่กองทัพอากาศพม่าสั่งจัดหานั้น น่าจะเป็นรุ่น Su-30K ที่เดิมกองทัพอากาศอินเดียจัดหาไป ๑๘เครื่องคั่นระยะชั่วคราวก่อนรับมอบ Su-30MKI

ซึ่งต่อมาเมื่ออินเดียได้รับมอบ Su-30MKI แล้วก็ส่ง Su-30K ๑๘เครื่องกลับคืนให้ทางรัสเซียในปี 2007

ที่ผ่านมารัสเซียก็มีหลายประเทศที่สนใจซื้อ Su-30K มือสองชุดนี้ต่อเช่นแองโกลาซึ่งจะจัดหา ๑๒เครื่อง โดยได้รับมอบ ๒เครื่องแรกไปเมื่อปลายปี 2017

ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลในเบื้องต้นว่าทำไมกองทัพอากาศพม่าจึงจัดหา Su-30 เพียง ๖เครื่อง และมีวงเงินเพียง $400 Million ที่เป็นเงินช่วยที่กู้จากรัสเซีย และส่งมอบเร็วคือในปี 2019 ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/02/2018 22:56:34


ความคิดเห็นที่ 97


ขอถามหน่อยครับ อายุโครงสร้างของF-16ADFฝูง102กี่ปีแล้วครับ ถ้าจำเป็นต้องยืดอายุปลดประจำการออกไปอีก5ปี จากปลดปี2565เป็นปี2570นี่จะเป็นไปได้มั้ย หรือว่าอันตรายเกินกว่าจะใช้งาน

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 02/02/2018 10:42:34


ความคิดเห็นที่ 98


F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เข้าประจำการในปี ๒๕๔๕ นั้นได้รับการปรับปรุง FALCON STAR มาแล้วทำให้เครื่องมีอายุการใช้งานเพิ่มจาก ๔,๐๐๐ชั่วโมงเป็น ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน หรือราว ๒๐ปี

อายุการใช้งานเครื่องที่แท้จริงจะขึ้นกับว่าแต่ละเครื่องทำการบินจริงๆมาแล้วกี่ชั่วโมงครับ แต่เนื่องจาก F-16A/B ADF ชุดนี้เป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อนแล้ว

ดังนั้นโครงสร้างเครื่องน่าจะหมดอายุในราวปี ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ซึ่งเข้าใจว่าคงจะยืดอายุต่อไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้วครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 02/02/2018 11:32:36


ความคิดเห็นที่ 99


ผมว่า เอางบที่จะปรับปรุงไปซื้อใหม่ดีกว่าครับ ทยอยซื้อทีละ 4 หรือ 6 ในระยะห่างกัน2-3 ปีต่อล็อตก็คงไม่เป็นไร เหมือนเพื่อนบ้าน ซื้อทีละ 2 ทีละ 4 ก็ได้จำนวนไม่น้อย ทุกวันนี้อย่างน้อยก็มีกับเขา ใครจะกล้าไปบุก ล้อมประเทศเราทุกทิศทางแล้ว เรายังคิดแต่จะซื้อแบบตั้งรับกันอยู่เลยครับ
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 02/02/2018 18:11:59


ความคิดเห็นที่ 100


วิเคราะห์ว่า ทอ.พม่า น่าจะตั้งเป้าหมายจัดหา SU-30 มาตั้งแต่ต้น...จึงจัดหา Yak-130 มาฝึกก่อน...แล้ว SU-30 จึงจัดหาตามมาติด ๆ....

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 03/02/2018 08:18:29


ความคิดเห็นที่ 101


ลืม มาเลเซีย...ส่วน สิงคโปร์ คงไม่ต้องวิเคราะห์มากแล้ว...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 03/02/2018 08:35:08


ความคิดเห็นที่ 102


พี่สิงค์ตอนนี้เอฟสามสิบห้ายังไม่มาครับแต่พี่แกจัดอินทรีย์ฝูงสามแบบเงียบๆไปเรียบร้อย ส่วนพี่หม่องด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณคงได้ตามที่เป็นข่าวครับ แถมมาแล้วความพร้อมรบจะมากน้อยแค่ไหนเนี่ยประเด็นหลักเลย ส่วนทีห้าสิบถ้าเห็นระบบเครื่องฝึกจำลอง รวมถึงอุปกรณ์ที่ติดมาด้วยรับรองร้อง ว้าววว ครับ มีระบบเบบี้ดาต้าลิงค์ไว้ฝึกด้วย และมีอีกหลายรายการที่ ทอ. ไม่ได้เปิดเผยให้สาธารณชนรับทราบครับ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 03/02/2018 16:17:01


ความคิดเห็นที่ 103



เครื่องฝึกบินจำลองสำหรับ T-50 TH นักบินจะต้องฝึกกับซิมฯนี้ประมาณ 40 ชม. และทำการบินจริงกับบ. T-50 TH อีก 50 ชม.บิน ก็จะจบหลักสูตร ไปบินกับ บ. F-5,F-16, Gripen ได้


เครื่องฝึกบินจำลองสำหรับ T-50 TH นักบินจะต้องฝึกกับซิมฯนี้ประมาณ 40 ชม.
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1150058331763943

ระบบการฝึกแบบบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการจัดหา T-50TH ครับ

ซึ่งสำหรับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีแล้วรอวรับการฝึกนักบินพร้อมรบที่จะเป็นเปลี่ยนแบบเครื่องเป็น KF-16 และ F-15K ต่อไป

รวมถึงรุ่น T-50A ที่เสนอแข่งขันในโครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯก็รองรับการฝึกเพื่อเตรียมเปลี่ยนแบบเป็น F-16C/D, F-15C/D/E, F-22A และ F-35A ต่อไปด้วย

นับว่ากองทัพอากาศไทยเลือกระบบที่เป็นมาตฐานที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 03/02/2018 21:17:28


ความคิดเห็นที่ 104


อ่อ   ถ้ารุ่น  เอสเอ็มอี   นี่ไม่ต้องกลัวเลยครับ.......................  เจ๊งกันหมดแร้ว................. ติดต่อซ้าบ ไว้ได้เรย ตัวที่จะสั่งต่อไปขอเป็นรุ่นอื่นนะครับ ถ้าเป็น เอ็กซ์ซิม....... นี่ก็ร่อแร่แล้ว เหมือนกัน......................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 06/02/2018 20:57:14


ความคิดเห็นที่ 105



https://www.flightglobal.com/news/articles/singapore-saabs-gripen-fighter-in-maiden-show-appe-445512/
http://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html

การปรับปรุง MS20 Software สำหรับ Gripen C/D กองทัพอากาศไทยจะแบ่งเป็นสองส่วนที่ต้องจับตาครับ

คือหนึ่งคือการเจรจาข้อตกลงการปรับปรุง Software ระหว่างกองทัพอากาศไทยกับ SAAB จะบรรลุผลหรือไม่ กับจะกองทัพอากาศไทยมีการจัดหา Meteor กับ SDB มาหรือไม่ด้วยครับ

โดยขีดความสามารถของ Radar แบบ PS-05/A ที่ติดตั้งกับ Gripen C/D นั้นจะทำการยิงเป้าหมายทางอากาศได้ต่อเนื่องพร้อมกัน ๔เป้าหมาย ซึ่งก็เท่ากับจำนวน Meteor ที่ติดตั้งได้สูงสุด ๔นัดครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 07/02/2018 14:54:55


ความคิดเห็นที่ 106


อัพแล้วก็อยากให้ซื้ออะไรที่ใส่ได้มาใช้ด้วยนะครับ อัพแล้วแต่ไม่มีอะไรมาใส่ก็เท่านั้นครับ ซื้อมาใช้ไม่ต้องห่วงว่าใครจะว่าครับ เรามัวแต่เกรงใจคนอื่นจนตอนนี้เขาจนจะแซงเราไปแล้วครับ เราควรจะนำไปหนึ่งก้าวเสมอน่าจะดีครับ ผมว่านะครับ
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 07/02/2018 18:21:10


ความคิดเห็นที่ 107


up เป็น ms20 แล้วมาดูกันว่าจะทำอะไรได้บ้าง


โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 07/02/2018 19:13:19


ความคิดเห็นที่ 108


"We are Gripen pilots, we fly" เพราะ Gripen ใช้แค่ราว 4,700 USD ต่อ ชม. นักบินจึงบินฝึกฝนสร้างความชำนาญได้มากกว่าครับ

ค่าใช้จ่ายการบินต่อ ชม


โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 16/02/2018 21:03:59