เป็นT-50 ภาพล่าสุดที่เผยแพร่จากเพจของกองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ครับ
https://www.facebook.com/RTAFpage/photos/a.315389118490685.92791.213878568641741/1889354164427498/?type=3&theater
ส่วนตามข่าวที่จะมาถึงเมืองไทยวันไหน ขอการยืนยันอีกทีก่อนนะครับ
เสียดายมีให้ชมภาพเดียว ดูจากสีที่ทาออกขาวเลยไม่แน่ใจว่าภารกิจหลักจะเป็นโจมตีหรือสกัดกั้นทางอากาศครับ เพราะถ้าเป็น L39 เดิมจะทาสีลายพรางซึ่งเหมาะกับการพรางตัวเวลาบินต่ำๆเพื่อโจมตีภาคพื้นดิน
ภาพ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยที่เผยแพร่ออกมาล่าสุดนี้ เห็นชัดเจนครับมีแบบแผนจาก FA-50 ที่ประจำการในกองทัพอากาศเกาหลีใต้
โดยมีปืนใหญ่อากาศ 20mm ติดกับตัวเครื่อง และรางติดอาวุธที่ปลายปีกและใต้ปีก
ระบบอาวุธส่วนใหญ่ที่ใช้กับ บ.ขฝ.๑ L-39 สามารถใช้กับ T-50TH ได้ครับ
ทั้ง AIM-9, จรวด Hydra 70 และ ระเบิด Mk80s รวมถึงอาวุธของ F-16A/B บางแบบ เช่น AGM-65 และระเบิด CBU ครับ
ใช้อาวุธเหล่านี้ได้ไหมครับ
1.จรวดนำวิถิอากาศสู่อากาศพิล้ยใกล้แบบไฟธอน4หรือ5
2.จรวดนำวิถัอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Aim-120
ประเด็นความเป็นไปได้ที่ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยจะใช้อาวุธปล่อยนำวิถี BVR เช่น AIM-120 ได้หรือไม่นั้น
ส่วนตัวมีข้อสังเกตว่า FA-50 ที่ประจำการในกองทัพอากาศเกาหลีใต้เองตอนนี้ยังไม่มีการทดสอบติดตั้งและทำการยิง AIM-120 เลยครับ
ฉะนั้น T-50TH ของไทยคงยังไม่น่าจะรองรับการใช้ AIM-120 ในขณะนี้ ซึ่งนั่นก็รวมถึง Python-4 และ Python-5 ด้วยเช่นกันครับ
ภาพจาก https://www.facebook.com/khhairport/posts/1508157359298498
ขอถามเป็นความรู้สักนิดนึงครับ
เครื่องบินรบสักเครื่องนึง จะมี BVR Capability ได้ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติใดบ้าง
อย่าง FA-50PH ยังไม่สามารถใช้อาวุธนอกระยะสายตาได้ ส่วน T-50TH ของ ทอ. เรา คาดว่าได้เตรียมความสามารถนี้ไว้แล้ว และ F-5 Super Tigris มีความสามารถนี้หรือยังครับ
ช่วยตอบเรื่อง BVR ให้นะครับ
จรวดนำวิถีระยะไกลใช้เรดาร์ในการค้นหาเป้าหมาย รุ่นเก่าหน่อยก็ใช้เรดาร์เครื่องบินคุมตลอดเส้นทางเหมือนจรวด ESSM ของทร.นี่แหละ แต่ถ้าใหม่หน่อยก็มีเรดาร์อยู่ในตัวจรวดด้วยเลยอย่างอัมราม ส่วนใหญ่ก็คงประมาณนี้น่ะครับ
เครื่องบินจะยิงจรวดได้ก็ต้องมีเรดาร์ควบคุมการยิงที่รองรับการใช้งานจรวดรุ่นนั้น ๆ และควรตรวจได้มากกว่าระยะยิงของจรวดนิดนึงก็เอา ที่คอนโซลต้องมีอุปกรณ์รองรับด้วยไม่อย่างนั้นจะเล็งยิงยังไงเนอะ จรวดบางรุ่นรับส่งข้อมูลผ่าน datalink ได้เครื่องบินก็ต้องมีอุปกรณ์ที่ว่า และจะให้ดีก็ควรจะมีระบบพิสูจน์เป้าหมายหรือ IFF เพราะไกลขนาดนั้นไม่รู้ใครเป็นใครหรอก หมดแล้วมั้ง นึกออกเท่านี้
ที่ฝูงบิน 103 ยิงสแปร์โรว์ไม่ได้เพราะทอ.ไม่ต้องการหรือเปล่าครับ ภัยคุกคามหลัก ยุทธศาสตร์ และงบประมาณในตอนนั้นต่างกันกับตอนนี้
ผมจำสเป็กเรดาร์ไม่ได้นะครับ แต่ถ้าระบบเรดาร์ไม่ได้ติด CW illumination ก็นำวิถีจรวดสแปร์โรว์ไม่ได้หรอก เหมือนเรดาร์ควบคุมการยิง CEROS 200 บนเรือหลวงนเรศวรเรานั่นแหละ ถ้าไม่มี CW illumination เพิ่มเติมเข้าไปก็ยิงจรวด ESSM ไม่ได้เช่นกัน ส่วนจรวดรุ่นใหม่คงไม่ต้องใช้แล้วมั้ง
ปัจจุบันจะยิงจรวด BVR คงไม่ยากแล้ว เพราะอิสราเอลมีสินค้ามานานนมจนเครื่องบินปลดประจำการไปแล้วก็เยอะ ฟิลิปปินส์อาจเลือกเส้นทางนี้ก็เป็นได้ เหมือนเครื่องบินของเรานี่แหละ แต่จะยิงไปโดนอะไรบ้างก็อีกเรื่องนะ
เคสฟิลิปปินส์ผมว่าน่าสงสาร...เขามีเครื่องบินใหม่อยู่แค่ 12 ลำ ต้องทำหน้าที่ ฝึกนักบิน ลาดตระเวน ตรวจการณ์ โจมตีทิ้งระเบิด สนับสนุนภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด ครองอากาศ เปิดงานโรงเรียน ขอสาวแต่งงาน รวมทั้งขับไล่สกัดกั้นเครื่องบินฝ่ายตรงข้าม จึงต้องปรับปรุงเครื่องบิน 4 ลำให้ยิงจรวดระยะไกลได้ คือถ้าเลือกได้เขาคงเอา F-22 + แอแวคมากกว่านะครับ แต่นี่จนแต้มจริงๆ
ส่วนทอ.ไทยมีฝูงบินยืงจรวดระยะไกลได้จำนวน 3 ฝูง และกำลังจะมีฝูงที่ 4 ในปีนี้แหละก็คือ F-5T แต่คงต้องซื้อจรวดระยะไกลอิสราเอลเพิ่มเติมด้วย เพราะใช้จรวดเมกันร่วมกับอีก 3 ฝูงไม่ได้ แล้วจรวดพวกนี้ราคาแพงอย่างกับอะไรดี เงินทั้งนั้น.....
ฝูงบิน 103 และเครื่องบิน T-50 ก็ไม่ได้จำเป็นจะต้องรีบยิง BVR ให้ได้ในวันพรุ่งนี้ ้เพราะมีของเก่าอยู่แล้ว 4 ฝูงบินประมาณ 60 เครื่องเห็นจะได้ ว่าแต่เรามีจรวด ฺฺBVR เท่าไหร่กันนะ ???
ทดสอบบินกันแถวๆรามอินทรา ใกล้ๆ แฟชั่น ไอแลนด์ นี่เอง......
ยกมือถาม
อาจารย์ครับ ที่เรียกว่า BVR นี้ มันต้องมีระยะยิงสักเท่าไหร่หรือครับ ถึงจะถือได้ว่า บียอนด์ แหล่ว และถ้าเข้ามาในระยะใกล้ คือ แบบว่า อยู่ใน VR ไม่บียอนด์แล้ว จรวดพวกนี้ ยังคงยิงได้อยู่มั๊ยครับ
ท่าน Naris ครับ ต่อไปอย่าเรียกอาจารย์ให้เรียกพี่กังฟู เอ๊ยยย !!!
อันที่จริงเรื่อง BVR ผมค่อนข้างปวดตับ เรียกจรวดนำวิถีอินฟาเรดกับจรวดนำวิถีเรดาร์ไปเลยไม่ง่ายกว่าเหรอ สมัยก่อนเราจะต้องเอาเครื่องบินไล่จี้ตูดแล้วยิงปืนกลใส่ฝ่ายตรงข้าม ต่อมาได้พัฒนาจรวดนำวิถีอินฟาเรดขึ้นมาสำเร็จ ใช้วิธีเดิมนั่นแหละแต่เปลี่ยนมาล๊อคเป้าด้วยจรวดทดแทน พอมีเสียงร้องเตือนว่าเจี๊ยบ..!!! ก็กดปุ่มยิงแล้วนั่งลุ้นผล ระยะยิงมันก็ไม่ไกลพอมองเห็นกันได้ เพราะระบบนำวิถีมันไม่ได้ดีเด่นอะไรมากมายนัก
ต่อมาได้พัฒนาจรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีเรดาร์ขึ้นมา ทีนี้ไม่ต้องบินตบตูดเพื่อล๊อคเป้าหมายจากความร้อนท่อไอพ่นแล้ว ใช้เรดาร์นี่แหละล๊อคเป้า-ยิงจรวด-คุมจรวด-แล้วก็ปิงโก จรวดจะดีไม่ดีอยู่ที่เรดาร์ควบคุมการยิง อยากให้สังเกตุที่ความเร็วของตัวจรวด ยิงเร็วเท่าไหร่หมายถึงเรดาร์ควบคุมการยิงยิ่งดีเท่านั้น จรวดฟีนิกส์ของ F-14 ทอมแคทซึ่งมีระยะยิง 190 กม.ความเร็ว 5 มัค อานิสงค์มาจากเรดาร์เครื่องบินนั่นแหละครับ
ท่าน Naris ถามว่าไกลแค่ไหนถึงจะเรียก BVR แล้วถ้าหลุดระยะเข้ามาจะยังยิงได้ไหม ความเห็นส่วนตัวอย่าไปสนใจระยะทางเลย ล๊อคเป้าหมายได้ก็กดปุ่มยิงเท่านั้นเอง จะเป็นจรวดนำวิถีอินฟาเรดหรือเรดาร์ก็ยิงไปเถอะ แต่โดนทั่วไปจรวดตัวหลังจะยิงได้แม่นกว่า นักบินต้องเลือกเอาเองว่าควรใช้จรวดชนิดไหน
ยกตัวอย่างกลางปีที่แล้ว F/A-18 ยิง SU-22 ด้วยไซด์ไวน์เดอร์แต่อีกฝ่ายปล่อยเป้าลวงออกมาสกัดได้ นักบินจึงเปลี่ยนมายิงด้วยอัมรามและประสบความสำเร็จ ทั้งที่ห่างกันแค่เพียง 1.5 ไมล์เท่านั้นเอง
วันนี้(๑๐ ม.ค.) T-50TH ๒เครื่องแรกของกองทัพอากาศไทยเดินทางมาถึงฐานทัพอากาศ Kuantan มาเลเซียแล้วครับ
อย่างไรก็ตามกำหนดที่เดินทางมาถึง กองบิน๔ ตาคลี ในวันที่ ๑๑ มกราคม เพื่อทำพิธีต้อนรับเครื่องนั้น
มี่ข้อมูลล่าสุดว่าอาจจะต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ ๑๒ มกราคม เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยครับ
F-18 ของใครยิง Su-22 ของใครครับ คุณsuperboy
แล้วยิงกันจริงๆ หรือ ยิงในระหว่างซ้อมรบ อยากทราบรายละเอียดลึกๆครับ
ปล. ตอนแรกไม่กล้าถามเพราะกลัวกระทู้กลายพันธุ์ ...เนื่องจากเนื้อหาในเม้นต์หลังๆจะไม่ตรงหัวข้อกระทู้
แต่อยากทราบจริงๆครับ....เดี๋ยวนี้นานๆครั้งถึงจะมีข่าวเครื่องบินรบสอยกันจริงๆซักทีนึง
สวยงามมาก ทอ.จัดซัก 3-4 ฝูง ให้ อีริอาย ชี้เป้า แล้วให้ T50 ขน BVR ขึ้นไปยิง
T-50TH เลื่อนมาไทย ยังไม่มีกำหนด
ตามที่เมื่อวานนี้ (10 ม.ค.61) กองทัพอากาศ ได้แจ้งเลื่อนกำหนดการพิธีต้อนรับ T-50TH เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ
ในวันนี้ (11 ม.ค.61) กองทัพอากาศได้รับแจ้งจากบริษัท KAI เพิ่มเติมว่า เครื่องบินได้บินเข้าสภาพอากาศที่รุนแรงอย่างสุดวิสัย โดยหลังนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบิน Kuantan ตามกำหนดการ นักบินและเจ้าหน้าที่่ช่าง บริษัท KAI ได้ทำการตรวจสอบหลังทำการบิน (Post-Flight) ด้วยสายตา
เบื้องต้นพบสิ่งผิดปกติบางประการ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมโดยละเอียด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด จึงตัดสินใจชะลอการบินนำส่งเพื่อตรวจสอบให้เกิดความรอบคอบ ก่อนส่งมอบเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ
ทั้งนี้ กองทัพอากาศ จึงขอแจ้งเลื่อนพิธีต้อนรับเครื่องบิน T-50TH โดยจะแจ้งกำหนดการให้ทราบต่อไป และขออภัยมา ณ โอกาสนี้
https://www.facebook.com/Battlefield-Defense-124568701627441/
F/A-18 เมกายิง Su-22 ซีเรียครับ ข่าวออกจะดังไปทั่วโลก
https://www.dailynews.co.th/politics/620864
ทอ.รอเก้อ'T-50 TH'ยังมาไม่ถึง ชี้เหตุเครื่องยนต์ขัดข้อง
โฆษก ทอ.เผย เครื่องบินขับไล่ T-50 TH เลื่อนมาถึงไทย เนื่องจากสภาพเครื่องยนต์เสีย เจ้าหน้าที่เร่งเปลี่ยนเครื่องยนต์ คาดใช้เวลา 2 สัปดาห์ส่งถึงกองบิน 4
เมื่อวันที่ 11 ม.ค. พล.อ.ต.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า จากกรณีที่กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นต้น T-50TH จำนวน 8 ลำ มูลค่า 8,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจัดหาแบบต่อเนื่อง โดยทอ.ได้ลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50 TH เป็นโครงการผูกพันต่อเนื่องตั้งแต่ 17 ก.ย. 2558 เบื้องต้นเครื่องบิน T-50 TH จะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 12 ม.ค.61 และจะทยอยบินนำส่งจำนวน 2 เครื่อง เพื่อบรรจุเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน 401 กองบิน 4 จ.นครสวรรค์ นั้น
ล่าสุดบริษัท KAI ได้แจ้งเลื่อนกำหนดการบินนำส่งเครื่องบิน แบบ T-50 TH โดยระบุว่า ระหว่างการบินนำส่งใน Route 5 เส้นทางจากสนามบิน ลาบวน ไปยังสนามบิน กวนตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งก่อนนำเครื่องบินวิ่งขึ้นจากสนามบิน ลาบวน นักบินและเจ้าหน้าที่ช่างบริษัท KAI ตรวจสอบก่อนทำการบิน (Pre-Flight) เครื่องบินทั้ง 2 เครื่องมีสภาพปกติ ระหว่างเส้นทางบินเครื่องบินเข้าสภาพอากาศที่รุนแรงประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมานักบินได้นำเครื่องบินลงจอดที่สนามบิน กวนตัน ตามกำหนดการ
ต่อมานักบินและเจ้าหน้าที่ช่าง บริษัท KAI ตรวจสอบหลังบิน (Post-Flight) พบว่าเครื่องยนต์ของเครื่องบินทั้ง 2 เครื่องมีความเสียหาย จำเป็นต้องมีการซ่อม เปลี่ยน Blade Stage ที่ 1 หรืออาจต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งต้องนำเครื่องยนต์และเครื่องมือจากประเทศเกาหลี มาใช้ในการดำเนินการดังกล่าว จึงคาดว่าน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ถึงจะสามารถบินนำส่งมาถึงประเทศไทยได้
การบินผ่านพายุฝนนานๆ ด้วยความเร็วสูง ไม่แน่ใจว่าใบ blade จะทนได้ไหม. แต่ถ้าใบ blade stage 1 พัง. ผมคิดว่าใน stage อื่นๆควรเปลี่ยนน่ะครับ เพราะใบ blade อาจเป็นหลุมเล็กๆ (ตามด) เต็มไปหมด. ถ้าไม่มีเครื่องมือ ก็รองฟังตอน start เครื่อง. เสียงจะผิดไป ค่า vibrations เปลี่ยน. ใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อให้ได้รอบเครื่องยนต์เท่าเดิม. ที่แนะนำให้เปลี่ยนเพราะยังไม่ได้รับมอบเครื่องบินจาก KAI และที่บินเลยไทยไปมาเลเซียนี่ก็ไม่ใช่เรื่องของเราเลยครับ
ดูดีทีเดียว