http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc.html
วิดีทัศน์ที่ลงใน Youtube นี้แสดงข้อมูลล่าสุดของ โครงการวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ สำหรับนาวิกโยธินไทยครับ
โดย DTI ร่วมกับ บริษัท ช ทวี ได้มีการสร้างยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) ออกมาแล้ว
เข้าใจว่าน่าจะเตรียมเปิดตัวในงาน Defense and Security 2017 ที่ Impact เมืองทองธานี วันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนนี้ครับ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนั้นคงจะได้มีโอกาสได้เก็บภาพรถต้นแบบและสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของ DTI ในงาน D&S 2017 ครับ
(ลงทะเบียนเข้าชมงานไปแล้วครับ แต่อาจจะต้องดูอีกทีว่าจะมีข้อติดขัดอะไรหรือไม่)
ซึ่งส่วนตัวเองก็จะนำเสนอเน้นในส่วนการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยเป็นหลักครับ(เพราะสื่อต่างประเทศจะไม่ค่อยเสนอเรื่องของไทยนัก)
อยากให้นาวิกโยธินจัดหาไปซักชุดเพื่อประเมิณสมรรถนะว่าเหมาะสมหรือตรงไหนควรจะแก้ไขตามความต้องการของนาวิกโยธินครับ ผมว่าน่าจัดหากว่ารถถังเบาสะทินน้ำสะเทินบกที่คิดจะจัดหาจากจีนเสียอีก เพราะไม่รู้ว่าหลักนิยมของนาวิกโยธินไทยนี่จำเป้นต้องมีรถถังสะเทินน้ำสะเทินบกหรือไม่
ผมอยากให้ นย. นำยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกของ DTI มาประจำการ โดย ยกรถ BTR3E ให้ ทบ. ไปเลย จะได้มียอดจำนวนความต้องการรถ DTI มากขึ้น อาจจะ 20-30 คัน ส่วนรถถังสะเทินน้ำสะเทินบกจากจีน หากรถเกราะ DTI สามารถติดปืนใหญ่ได้ ของจีนก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าไม่ได้ก็ต้องของจีนมาซัก 15 คัน ส่วนรถถังหลักก็คงเป็น VT4 ซัก 15 คัน (หรือแลกเอา OPLOT 15 คันจาก ทบ. แทน BTR3E) แค่นี้ก็ทำยากแล้วครับ
สรุป ทบ. ก็เอา BTR3E กับ รถถัง VT4 ไป ส่วน นย. ก็ รถถัง OPLOT กับ รถเกราะ DTI
CEO ของ ช ทวี ก็กล่าวใน Clip ข้างต้นครับว่าบริษัทมีความพร้อมที่จะเปิดสายการผลิตได้ถึง ๑๕-๒๐คันต่อเดือนถ้ามีการสั่งมา
ซึ่งก็เป็นข้อสงสัยมาตั้งแต่โครงการยานเกราะล้อยาง Black Widow Spider ครับว่าถ้ากองทัพบกเลือกจัดหาแล้วจะผลิตที่โรงงานเอกชนได้หรือไม่
ในส่วนของยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC นี่ก็ต้องมีการทดสอบประเมินค่าโดยนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ก่อน
จากนั้นถ้ามีสมรรถนะตรงความต้องการก็ควรที่จะมีการสั่งเปิดสายการผลิตเข้าประจำการได้จริงกันต่อไปครับ
นาวิกโยธินไทยมีความต้องการรถถังเบามาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน แล้วครับ
แต่เนื่องจากโครงการจัดหารถถังเบา LT105 ASCOD สเปนถูกยกเลิกไปช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997)
พัน.ถ.นย.ก็มีเพียงรถถังหลัก Type 69-II ๕คัน ๑หมวดที่ยืมมาจากกองทัพบกมาตลอด
รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบกมีความอ่อนตัวในการวางกำลังร่วมในปฏิบัติการยกพลขึ้นบกครับ
คือสามารถออกจากอู่ลอยของเรือ LPD ไปพร้อมกับรถสะเทินน้ำสะเทินบกอย่าง AAV7A1 ได้
ซึ่งยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก ก็เป็นความต้องการในรูปแบบเดียวกับนาวิกโยธินหลายประเทศ
เช่น นาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่มีโครงการ ACV(Amphibious Combat Vehicle) แข่งขันจัดหายานเกราะล้อยางลำเลียงพล 8x8 แบบใหม่อยู่
โดยแบบรถที่จะแข่งขันในโครงการ ACV ตอนนี้มี BAE Systems/Iveco SuperAV กับ ST Kinetic/SAIC Terrex 2
ทั้งนี้ยานเกราะล้อยาง AAPC มีความคล้ายคลึงกับ Terrex สิงคโปร์ ที่เป็นที่ปรึกษา DTI มาตั้งแต่โครงการ Black Widow Spider ครับ
อีกอย่างที่อยากเสนอคือ ผมเห็นจุดอ่อนตรงช่องว่างระหว่าง ล้อกับตัวถัง ที่ถ้าโดนจรวด RPG หรือปืนกลหนักเจาะตรงนันคงแย่ น่าจะเสริมลูกกรงเหล็กต่อลงมาจากตัวถังซัก 15-20 เซนติเมตร มารับลูกจรวด RPG หรือกระสุนปืนกลหนักน่าจะพอช่วยได้ระดับนึง แต่ต้องออกแบบไม่ให้กีดขวางการทำงานของล้อทั้ง 8 ล้อน่ะครับ
ในแถบภูมิภาค ASEAN นี่ยังไม่ค่อยเห็นประเทศใดมีเสริมเกราะซี่ตะแกรง(Slat Armor) กับยานเกราะของตนมากนัก(เคยภาพ Leopard 2 สิงคโปร์ติดอยู่บ้าง)
ส่วนใหญ่ที่เห็นทั้งของกองทัพไทยในอดีต หรือล่าสุดที่ฟิลิปปินส์ จะเห็นการใช้ 'เกราะชีวภาพ'(Biological armor)ทำจากไม้กันอยู่มากครับ
โดยปกติยานเกราะล้อยางจะไม่นิยมติดแผ่นเกราะด้านข้างครับ เนื่องจากเวลาเลี้ยวล้อคู่หน้า ถ้าเป็นแบบ 8 ล้อ ก็ต้อง 2 ชุด ต้องบิดเพื่อเลี้ยว กับอีกข้อ คิอ เวลาโดนระเบิดยางเส้นหนึ่งเส้นใดชำรุด ยังสามารถวิ่งได้ แต่ถ้าเป็นแบบสายพาน ถ้าสายพานโดนระเบิดหรือจรวด สายพานชำรุดจะเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งจุดอ่อนก็คือ ด้านบน จึงนิยมสร้างแผ่นปิดด้านข้างเพื่อป้องกัน แต่ก็เคยเห็นบางแบบที่สร้างแผ่นป้องกันที่ล้อชุดหลังที่ไม่ได้ช่วยเลี้ยวเหมือนกันครับ
รูปแบบเกราะซี่ตะแกรงโลหะ(Slat Armor) ที่ใช้จริงกับยานเกราะล้อยาง 8x8 อย่าง Stryker กองทับบกสหรัฐฯที่ปฏิบัติการในอัฟกานิสถานก็จะเห็นได้ตามภาพครับ
คือเกราะตะแกรงจะยื่นออกมาล้อมตัวถังรถด้านข้างให้มีพื้นที่ในการให้ล้อสามารถหักเลี้ยวได้ครับ(ในภาพเป็นรุ่น M1128 Mobile Gun System)
https://www.facebook.com/thaiarmedforce/posts/10155944666169612
https://www.facebook.com/thaiarmedforce/posts/10155944868884612
Page TAF ซึ่ง Official Media ของงานแสดง Defense and Security 2017 ลงชุดภาพการจัดเตรียมการจัดแสดงยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ AAPC ของ DTI ครับ
จะเห็นได้จากภาพล่าสุดว่ารถต้นแบบมีการติดตั้งส่วนเสริมโครงสร้างที่ข้างตัวรถ และบนหลังคารถติดป้อมปืน(เข้าใจว่าจะเป็นส่วนเสริมแบบ Mock-Up)
ข้อมูลรายละเอียดของรถต้นแบบนี้น่าจะมีการเปิดเผยในงานครับ
ผมชอบ GUN moblie system มากนะ นย.ก็ลองให้ DTI พัฒนาแบบเดียวกันออกมาเลยก็ได้ครับ แล้วนำไปใช้แทน ascod ที่ยังจัดหาไม่ได้ เพราะปืน 105 mm เหมือนกัน เกราะก็ไม่ได้หนาต่างกันนัก เพียงแต่เป็นล้อยางเท่านั้น น่าจะอุดช่องว่างได้ระดับหนึ่ง และเพิ่มยอดผลิตให้ BWS ได้ และน่าจะเพิ่มศักยภาพทางการตลาดด้วยครับ
ส่วนเสริมด้านข้างตัวรถคือ floating kit ครับ
Clip: มาชมยานเกราะ AAPC กันครับ
https://www.facebook.com/dtithailand/videos/869469659879702/
Floating Kit ที่ข้างตัวรถนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลอยตัวของรถขณะเคลื่อนที่ในน้ำครับ
เนื่องจากน้ำหนักตัวรถประมาณการที่ 21-30tons แล้ว ถ้าติดตั้งป้อมปืน Remote ขนาด 30mm น้ำหนักจะเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 2tons
ซึ่งถ้าไม่ติด Floating Kit ประสิทธิภาพการลอยตัวในน้ำจะลดลงครับ (นย.ต้องการให้รถทำความเร็วในน้ำได้ถึง 15km/h)
อย่างไรก็ตามจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ DTI ตอนนี้ทางนาวิกโยธินไทยยังไม่ได้ระบุครับว่าจะเลือกใช้ป้อมปืนแบบใด
โดยแบบป้อมปืน Mock-Up ที่ติดแสดงกับยานเกราะล้อยาง AAPC ต้นแบบ จำลองมาจาก Elbit Systems UT30MK2 อิสราเอล
ที่ ST Kinetics สิงคโปร์แนะนำให้ใช้กับ Black Widow Spider 8x8 (อาวุธหลักปืนใหญ่กล 30mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm)
แต่ถ้า นย.ไทยจะเลือกใช้ป้อมปืน Remote แบบอื่น DTI AAPC ก็รองรับซึ่งต้องคุยกันอีกทีครับ
ทำต้นแบบเจ๋งๆ ออกมาสัก 5 คัน แล้ววิ่งทุกวัน ทดสอบหันเลี้ยว ทดสอบว่ายน้ำ ทดสอบยิงปืน คันแรกปืน .50 อีกคันปืน 30 โชว์ให้เห็นล้อหลุด เครื่องเจ๊ง ตัวถังร้าว แล้วแก้ไข ถ่ายรูปออกสื่อโชว์ ทุกเดือน ให้ครบ 1 ปี ที เถอะ............. ถ่ายโชว์แต่ละที ส่วนใหญ่ จอดโชว์อยู่กับที่.................. ราฟาล ไต้ฝุ่น กริเป้น สไตเก้อร์ เอ็ม-1 ที-80 กว่าจะเข้าสายการผลิต เขาบินวน ขับวน ทดสอบไปทดสอบมากัน เป็นห้าปีสิบปี...................... แม้แต่ เฟิสวิน ของมาดามแท้งค์ แกก็ต้องวิ่งทดสอบเป็นปี โตโยต้า ฟอร์ด มิตซู กว่าจะออกตัวใหม่ เขาก็วิ่งทดสอบอยู่อย่างนั้น ทั้งที่พื้นฐาน อุปกรณ์บางตัวก็ใช้ของรุ่นก่อนๆ นั่นก็ยังมิวายทำออกมาขายบางรุ่นบางยี่ห้อยังต้องเรียกคืนไปซ่อม ................ เอาเหอะ ถ้าจะเอาจริง ทบ.ซื้อมาสักกองร้อย ( 16 คัน ) เข้าประจำการ ใช้งานจริงไปเลย เด๋วก็รู้ อะไรบ้างต้องแก้ไข .................................