รัฐบาลไทยขอซื้อจรวดต่อสู้เรือรบ RGM-84L Harpoon Block II จำนวน 5 นัด และจรวดสำหรับฝึกซ้อม RTM-84L Harpoon Block II อีกจำนวน 1 นัด เพื่อนำมาติดตั้งบนเรือหลวงท่าจีนหรือเรือฟริเกตชั้น DW3000F จากเกาหลีใต้ มูลค่ารวมอะไหล่ การฝีกอบรม รวมทั้งการสนับสนุนต่างอยู่ที่ 24.9 ล้านเหรียญ เรื่องถูกชงเข้าสู่สภาคองเกรสเป็นที่เรียบร้อย ถ้าฟ้าไม่ถล่มดินไม่ทลายเสี่ยสองไทยมาแน่นวล ;)
มา 5 ลูกพอเดาได้ว่า....อาจจะมีการยิงทดสอบ 1 นัดหรือเปล่า (ระหว่างการฝีกซ้อม RIMPAC 2019 ซึ่งไทยส่งเรือรบเข้าร่วมเป็นครั้งแรก แล้วเจอยานเอเลี่ยนกางม่านบาเรียพอดี เลยต้องยิงโดยใช้ทุ่นซินามิบอกพิกัด ฮา...)
แต่ก็นะ ขนาดC-802 มาไทยจนต้องสั่งอะไหล่มาซ่อม ยังไม่ได้ยิงซักดอกเล๊ย..!!!
กองทัพเรือฝึกริมแพ็คฝึกปราบเอเลี่ยนด้วยการยิง ฮาร์พูน ถ้ากองทัพบกได้ VT-4 มาเมื่อไหร่แนะนำให้ไปฝึกกับญี่ปุ่นสู้กับก็อตซิล่า
เรือS26Tของเราออกแบบมาเพื่อภารกิจปราบปรามไคจูนะครับ
จะว่าไปไม่เห็นเรือหลวงท่าจีนนานแล้ว เงียบไปเลย ตอนนี้น่าจะใกล้เสร็จยังครับ? และลำที่สองก็ยังไม่ได้เซ็นใช่ป่าวครับ?
จำไม่ค่อยได้แล้ว สรุปเราติด amb เป็นเรดาร์อเนกประสงค์ตัวหลักแล้วใช้ 4a เป็นตรวจการณ์ระยะไกล?
เป็นไปได้มั้ยครับว่าเราจะสามารถแกะจรวดตัวนี้ออกดูเพื่อศึกษาแล้ว นำไปต่อยอดโครงการจรวด dti ของเราได้หรือป่าวครับ
พอดีเห็นในไทยก็มีจรวดหลายแบบ หลายชนิด ซื้อมาอย่างละนิดอย่างละหน่อย ก็เลยสงสัยว่าเราจะสามารถแกะออกดูเพื่อศึกษาได้บ้างหรือป่าวครับ
ถามแบบไม่รู้นะครับ....ไม่ทราบว่า BlockII จะมี Spec อะไรเพิ่มเติมจากของเก่าที่เรามีอยู่บ้างครับ
สมมุติถ้าเป็นเรื่องระยะยิงที่ไกลขึ้น...ทางเราต้องมาควักกระปุก Up Spec เรดาร์ตรวจจับเป้าหมายของเรา
ให้มีระยะตรวจจับในระดับที่เหมาะสมกับระยะยิงของจรวดด้วยรึเปล่า หรือ เรดาร์รุ่นเดิมๆที่เรามียังเอามาถูไถใช้ได้อยู่ ?
เพราะผมเอามานึกเปรียบเทียบกับกรณีที่สมมุติว่าเรา Upgrade บ.รบให้ติดตั้งอาวุธนำวิถี Air To Air พิสัยกลาง
หรือ พิสัยไกลได้ แต่ถ้าเรดาร์ประจำ บ. มีระยะการตรวจจับสั้นกว่าระยะยิงของอาวุธนำวิถี เราก็จะไม่สามารถใช้อาวุธ
ได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ดี...ผมเข้าใจถูกต้องรึเปล่า
เรื่องแกะจรวดคงไม่มีวันเป็นไปได้ ไม่อย่างนั้นเราคงทำตั้งแต่จรวด กาเบียล เอ็กโซเซต์ กันไปแล้ว คิดดูขนาดรถหุ้มเกราะง่าย ๆ พัฒนามาไม่รู้กี่สิบปีไม่รู้กี่โมเดล ก็ยังลอยวนไปวนหาจุดเหมาะสมไม่เจอ
เรดาร์ AMB ของเราตรวจจับได้ 180 กม เรดาร์ 4A ได้ 350 กม และเรดาร์ LW08 ของเรือหลวงนเรศวรก็ได้ที่ 350 กม ถ้าว่ากันตามตัวเลขเพรียว ๆ ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงอะไร ขนาดจรวด C-802 ฐานยิงบนฝั่งของอิหร่าน ยังใช้เรดาร์เดินเรือธรรมดานี่แหละ ตรวจจับเป้าหมายเลย ยังไงเสียจรวดก็นำวิถีด้วยตัวเองได้ ส่วนแม่นไม่แม่นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ
ที่น่าหนักใจคือเรือหลวงตรังมากกว่า จะติดเสี่ยสองแต่ใช้เรดาร์ตัวไหนหนอ....?????
ตอบคุณ toeytei ประมาณนั้นครับ คือ 4A นี่มีคุณสมบัติตรวจจับเป้าหมายบนอากาศได้ดีมาก แต่การตรวจจับเป้าหมายพื้นน้ำไม่ค่อยดีนัก ขณะที่ AMB ทำได้ดีทั้งบนอากาศและพื้นน้ำ แต่ประสิทธิภาพเป็นรองตามขนาดและราคา
ลองดูภาพเรือคอร์เวต The next generation Corvette ของ SAAB นะครับ เสากระโดงหลักใส่ 4A ไว้แล้วก็จริง แต่ยังมี 1A ตัวเล็กไว้ด้านบนสุดเพื่อช่วยตรวจจับเป้าหมายผิวน้ำด้วย ของเราก็คงประมาณนี้ เพียงแต่ AMB มีคุณสมบัติดีกว่า 1A อักโข
โดยส่วนตัวคิดว่าเรือหลวงท่าจีนตรวจจับจรวด C-802 หรือฮาร์พูนที่ยิงใส่ได้อย่างแน่นอน (ส่วนสกัดได้หรือไม่อีกเรื่องนะ) โดยมีข้อแม้ว่า 4A และ AMB ต้องเปิดใช้งาน และคนของเราต้องมีประสิทธิสุงมากพอและชำนาญในการใช้งานแล้ว
ช่วงนี้เป็นยุคเปลี่ยนถ่ายจากระบบอนาล๊อคเป็นดิจิตอล จากที่ใช้คันโยกมาเป็นกดปุ่มอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะมากมาย ต้องใช้เวลาซักพักคนของเราถึงจะเก่งมากขึ้น ก็อย่าเพิ่งไประดับซูเปอร์ดิจิตอลอะไรกันเลยนะคุณ ไอ้ประเภทยิงได้ไกล 400 กม ความเร็ว 3 มัค ล๊อคเป้าด้วยเรดาร์สอดแนมเทือกนี้ เห็นใจผู้ต้องปฎิบัติงานด้วย มันจะตามไม่ทันน่อ
เมื่อต้นปีกองทัพเรือสหรัฐพึ่งทดสอบ Harpoon ER ไป ปล่อยจาก F/A-18F
Harpoon ER นั้นใช้หัวรบแบบใหม่ ลดขนาดและน้ำหนักลง (โดยไม่ลดอานุภาพ พี่แกว่างั้น) เพิ่มปริมาณเชื้อเพลิง เปลี่ยนเครื่อง Turbojet ใหม่
โดยเคลมว่าสามารถทำให้ระยะเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 260 - 310 กิโลเมตร จาก 124 กิโลเมตร
ส่วน Harpoon block2 ของเราก็แน่นอน ระยะยิง 124 กิโลเมตร block2 มันปรับปรุงระบบนำร่อง ดาต้าลิ้ง การป้องกันการแจม
ผมคิดว่าระยะยิงที่ 124 km กะบความเร็วแค่ 0.7 มัค ดูจะน้อยเกินไปน่ะครับ อย่างน้อยซัก 180 km ความเร็วก็ขอซัก 0.9 มัค (ส่วนตัวอยากได้ RBS15 ของสวีเดน)
อีกประเด็น จากจำนวนที่ซื้อเพียง 5 ลูก ดูเหมือนว่าเรือหลวงท่าจีนในยามปกติจะติดตั้ง harpoon เพียง 4 ลูก น่ะครับ จากที่ติดได้ 8 ลูก