หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินแบบ T-50 TH จากเกาหลีใต้ 8 ลำ

โดยคุณ : nok เมื่อวันที่ : 29/07/2017 19:56:47

กองทัพอากาศ เล็งซื้อเครื่องบินรบจากประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 8 ลำ วงเงิน 8,997 ล้านบาท เพื่อใช้แทนเครื่องบินฝึก L-39 ที่ใช้มา 23 ปี คาดเสนอให้ ครม.พิจารณา วันพรุ่งนี้

เครื่องบินที่จะซื้อใหม่ คือ รุ่น T-50 TH ของบริษัท โคเรีย แอโร่สเปซ อินดัสตรี เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเล็ก ที่มีสมรรถนะสูง และหน้าตาคล้ายๆ กับ F-16 ของสหรัฐฯ นอกจากจะมีระบบช่วยฝึกในอากาศที่เหมาะสำหรับนักบินขับไล่ขั้นต้นแล้ว ยังสามารถติดอาวุธเพื่อปฏิบัติการทางอากาศได้หลากหลายภารกิจด้วย โดยจะนำมาแทนเครื่องบินฝึกรุ่น L-39 ที่ใช้มา 23 ปี เก่ามากจนใกล้หมดสภาพ และค่าซ่อมบำรุงแพง

พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ ยืนยันว่าการจัดซื้อครั้งนี้เป็นไปตามมติ ครม.ที่อนุมัติให้ซื้อทั้งหมด 1 ฝูง 16 ลำ ก่อนหน้านี้ซื้อไปแล้ว 4 ลำ ครั้งนี้ซื้อเพิ่มอีก 8 ลำ ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงกลาโหม คาดว่าจะเสนอเข้า ครม.พรุ่งนี้ เพื่อเซ็นสัญญาภายในสิ้นเดือนนี้ โดยจะครอบคลุมเรื่องการฝึกนักบินไทย และถ่ายทอดความรู้ให้ทีมช่างซ่อมบำรุงของไทยด้วย 

ซึ่งทาง BBC ไทย รายงานว่าตั้งแต่ คสช.เข้ามา ทั้ง 3 เหล่าทัพได้จัดซื้อยุทโธปกรณ์จากประเทศอื่นที่ไม่ใช่มหาอำนาจตะวันตกไปแล้วทั้งหมด 3 ประเทศ คือ รถถัง และเรือดำน้ำจากจีน เฮลิคอปเตอร์จากรัสเซีย และเรือฟริเกตที่จ้างเกาหลีใต้ต่อให้

สำหรับ เครื่องบินขับไล่ T-50 TH นี้ ปัจจุบันมีใช้งานอยู่ใน 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย 

 

http://www.krobkruakao.com/politics/47681





ความคิดเห็นที่ 1


ถ้าเป็นตามที่ท่านโฆษกกองทัพอากาศไทยกล่าว อัตราฝูงบินขับไล่/โจมตีของ ทอ.ตอนนี้จะตั้งไว้ที่ ๑๖เครื่องต่อฝูง

นั่นหมายความว่าถ้า ครม.อนุมัติการจัดหา T-50TH ระยะที่๒ ๘เครื่องรวมกับระยะที่๑ ๔เครื่อง เป็น ๑๒เครื่อง

ก็น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีการจัดหา T-50TH ระยะที่๓ อีก ๔เครื่องในอนาคต

อย่างไรก็ตามรายงานข่าวในข้างต้นก็มีข้อมูลผิดพลาดอยู่ครับ

คือผู้ใช้งาน KAI T-50 นอกจากสี่ประเทศในข้างต้นยังมีกองทัพอากาศอิรักอีกประเทศ ซึ่งเพิ่งจะได้รับมอบ T-50IQ เมื่อเร็วๆนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/07/2017 17:24:36


ความคิดเห็นที่ 2


ตอนแรกเชียรืของอิตาลี เมื่อกองทัพอากาศเลือกตัวนี้แล้วเครื่องรุ่นที่ผลิตส่งให้กองทัพอากาศนี่เป็นเครื่องบินฝึกที่เขี้ยวลากดินจริงๆ ผมเชียร์ยาวเลยแบบนี้

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 11/07/2017 08:48:47


ความคิดเห็นที่ 3


บ้านเราก็มี บ. รบ หลากหลายแบบ เลย อยากให้มีเพียง 2-3 แบบ ^^

โดยคุณ TheBighit เมื่อวันที่ 11/07/2017 11:09:01


ความคิดเห็นที่ 4


ผมก็อยากให้สิงค์โปร์ อินโด ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและพม่ามีเรือรบแค่ไม่เกิน 3 แบบ.... อนุญาตให้ลาวมีมากกว่า 3 แบบได้เพื่อใช้ในลำน้ำโขงครับ

โดยคุณ jaidee เมื่อวันที่ 11/07/2017 13:58:52


ความคิดเห็นที่ 5


T-50 มีชื่อเล่นว่า "F-16 น้อย" เพราะระบบต่างๆของมันคล้ายคลึงกับ F-16 เป็นอย่างมาก ดังนั้น ผมว่า นี่ก็สอดคล้องกับแนวคิด มี บ. ไม่กี่แบบ อยู่นะครับ (กรีพเพ่น F-16 และ F-16 น้อย) อิอิ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 11/07/2017 15:07:52


ความคิดเห็นที่ 6


TA50 นี่ตามความต้องการ 2 ฝูง ผมอยากให้เจรจาขอมาประกอบในประเทศไทย เพราะหลังปรับปรุง F16MLU จบแล้ว ก็ไม่เห็นมีงานป้อนให้ TAI เสียดายความชำนาญในการสร้างเครื่องบินที่จะหายไปครับ น่าจะทยอยสร้าง TA50 ในไทยปีล่ะ 3-4 ลำ ไปเรื่อยๆ
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 12/07/2017 08:19:39


ความคิดเห็นที่ 7


ผมไม่แน่ใจว่าความต้องการของ ทอ. คือ 2 ฝูงหรือเปล่า จำได้คร่าวๆ ว่า จะไม่ได้จัดหามาทดแทน 1: 1 ครับ

ใจผมอยากให้ ทอ. จัดหา ที-50 ทีเอช มาแทนอัลบาทราส ซีร์เอ แบบ 1 : 1 เลย แต่เงิน 1.6 หมื่นล้านบาทต่อฝูง 16 ลำ ไม่รู้ ทอ. จะไหวปล่าวครับ

อีกอย่าง ยังมีโครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ เช่น เอช-225 เอ็ม ยังขาดอยู่อีก 4-8 ลำ, การปรับปรุงโครงสร้างฝูง ซี-130 ฯลฯ

จริงๆ อยากให้มองไปที่ อัลฟ่าเจ๊ต ด้วยครับ ถึก อีด ทด ประหยัด คล่องแคล่วว่องไว ติดอาวุธได้เหมาะสมกับภารกิจ CAS (แต่ไม่ได้ซื้อหมัดเด็ดอย่างปืน 27 มม. เมาเซอร์ ติดท้องมาด้วย) แต่ระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ น่าจะตกยุคไปแล้ว มีอะไหล่ให้ซื้อหรือเปล่ายังไม่รู้เลย ถ้าเอาเข้าโครงการม๊อดซะน่าจะได้เครื่องบินดีๆ ไว้ใช้ได้อีก 10-15 ปีทีเดียว รักเหมือน เอฟ-5 เลยนะ น่าเสียดายนะครับถ้าใช้ให้หมดสภาพโดยไม่ผ่านการปรับปรุงยืดอายุนะครับ 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 13/07/2017 17:44:38


ความคิดเห็นที่ 8


โดยส่วนตัวชอบตัวนี้ครับ M346FT/FA 


โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 13/07/2017 18:15:32


ความคิดเห็นที่ 9


1


โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 13/07/2017 18:18:26


ความคิดเห็นที่ 10


A-jet ตอนนี้อยู่ในสภาวะใเงินเหลือเมื่อไหร่ถึงทำครับ ซึ่งดูแล้วคงตามแอลสามสิบเก้าไปในอีกไม่นานครับ แถมสภาวะการเงินและสภาวะเครื่องบินรอปลดของ ทอ.แล้ว ลุ้นกันฝูงต่อฝูงเนี่ยก็หืดจับแล้วครับ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 13/07/2017 20:37:26


ความคิดเห็นที่ 11


การปรับปรุงเพิ่มอีกคงจะยากเมื่อเทียบกับโครงการที่จะต้องจัดซื้ออะไรมาเพิ่มเติมภายใต้งบปรมาณที่จำกัด มาลุ้นกันที่เครื่องที่จะมาแทน F-16. ของบน.1 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าดีกว่าครับ. ยังไงก็ต้องมีมาแทนแน่นอนครับ
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 13/07/2017 21:39:48


ความคิดเห็นที่ 12


ดูจากทรงแล้วผมว่าที่จะมาแทน f-16 ของเราก็เจ้านี่แหละของเกาหลี แต่ออาจะมีการอัดระบบต่างๆเต็มแมกฯ อนาคตเราก็จะเหลือฝูงบินขับไล่อเนกประสงค์แท้ๆแค่สองฝูงคือ j-39 กับ f-16 mlu ถือว่าเกาหลีฉลาดมองขาดในการพัฒนาเครื่องบินรบนี้ขึ้นมา เพราะอนาคตตลาดจะใหญ่มากเพราะเครื่องบินรบใหม่ๆแพงจนชาติที่ผลิตเองยังไม่ค่อยกล้าซื้อ ประเทศเบี้ยน้อยหอยน้อยเลยหันมาหาเครื่องอย่าง fa-50 ไม่งั้นก็ต้องไปสายปากีฯเลยทีเดียว ซึ่งพวกที่ใช้อาวุธนาโต้หรือมีพันธมิตรกับนาโต้ก็ไม่น่าจะเลือก
โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 13/07/2017 22:33:47


ความคิดเห็นที่ 13


ถึงอย่างไรผมก้ยังลุ้น กริพเพ่น อี เอฟมาทดแทนฝูง 102 อะนะสักฝูงก็ยังดีนะครับ แต่เครื่องบิน t-50th มันก็ถือว่า  เป็นเครื่องบินที่ ใช้รบในอากาศ รบได้ดียิ่งรบภาคพื้นแล้วจะดีมาก  แต่ถึงอย่างไรก็อยากได้กริพเพ่นเพราะอยากได้ความสามารถ ในการใช้จรวดต้านเรือรบ rbs-15 อะนะ

โดยคุณ bok01 เมื่อวันที่ 14/07/2017 16:24:40


ความคิดเห็นที่ 14


มองว่าในช่วงหลังปี พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นต้นไปกองทัพอากาศไทยจะยังมีโครงการจัดหาอากาศยานเพื่อทดแทนเครื่องเก่าต่อเนื่องอีกหลายแบบ

ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่สอดคล้องกับราคาเครื่องและองค์ประกอบต่างๆที่มีราคาแพงเพิ่มขึ้นมาก

นอกจากเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ที่จะต้องจัดหาให้ครบฝูง ๑๖เครื่องเพื่อทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART แล้ว

ยังมีเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและกู้ภัย ฮ.๑๑ EC725 ที่จะต้องทยอยจัดหาให้ครบฝูงบิน๒๐๓

อาจจะร่วมถึงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H ๑๒เครื่องของฝูงบิน๖๐๑ ที่ประจำการมาครบ๔๐ในปีดังกล่าวด้วย

ฉะนั้นเป็นไปได้ที่โครงการที่ต้องใช้งบประมาณสูงมีความจำเป็นเร่งด่วนรองลงมาก็จะต้องถูกพักไว้ก่อน

ทั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ทดแทนเครื่องที่สูญเสียไปและเพิ่มเติมอีกระยะในฝูงบิน๗๐๑

ซึ่งสายการผลิตของ Gripen C/D ขึ้นอยู่ว่า Saab จะประสบความสำเร็จในการขายให้ประเทศกลุ่ม NATO ในยุโรปตะวันออกอย่าง บัลแกเรีย กับ โครเอเทีย หรือไม่

เพราะถ้าประเทศเหล่านี้ไม่ได้เลือกจัดหา Gripen C/D สร้างใหม่จากโรงงานจริง ก็ไม่คุ้มที่ Saab จะกลับมาเปิดสายการผลิต

ซึ่งถ้าไม่มีการเปิดสายการผลิต Gripen C/D ใหม่ กองทัพอากาศไทยก็ต้องเลือก Gripen A/B/C/D ที่สวีเดนสำรองไว้มาปรับปรุงใหม่ ซึ่งจะถูกต่อต้านอย่างมากว่าเป็นเครื่องมือสองที่ไม่มีความคุ้มค่าครับ

ส่วนโครงการเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ มองว่าเป็นไปได้ที่ว่าฝูงบิน๑๐๒ อาจจะต้องเป็นฝูงบินว่างที่ปราศจากอากาศยานประจำการ

เพราะการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในสถานการณ์ปัจจุบันจะต้องใช้งบประมาณที่สูงมากๆ หรือการจัดหาเครื่องมือสองก็จะมีปัญหาด้านอายุการใช้งานในระยะยาว

ซึ่งด้วยเหตุผลในข้างต้นถ้าดูจากกระแสคัดค้านการจัดหา T-50TH ระยะที่๒ ๘เครื่องในตอนนี้ การจัดหา บ.ขับไล่ใหม่แทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ จะถูกต่อต้านอย่างหนักมากๆ

 

ซึ่งในช่วงปีดังกล่าวนั้นอย่าว่าแต่เครื่องบินขับไล่ เครื่องบินฝึก หรือเครื่องบินลำเลียง-เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยเลย

แม้แต่การจัดหาปืนพก-ปืนกลมือ-ปืนเล็กยาวทดแทนปืนเก่าของสารวัตรทหารอากาศหรืออากาศโยธินแค่ไม่เกิน ๕๐กระบอกอาจจะโดนคัดค้านจนไม่สามารถจะอนุมัติการจัดซื้อก็ได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/07/2017 17:54:03


ความคิดเห็นที่ 15


ผมมองต่างน่ะครับ ด้วยงบที่จำกัด และความสำเร็จของโครงการเครื่องบินรบมืองสองอย่าง F16ADF และ Alpha jet ผมว่า F16S น่าจะมีทางเป็นไปได้สูง และจะประจำการต่อไปได้อีกประมาณ 20 ปี ก็ถือว่านานพอสมควร อีกอย่าง F16S น่าจะมีขีดความสามารถในการรบมากกว่า FA50 น่ะครับ ในราคาที่ไม่ต่างกัน
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 14/07/2017 20:45:13


ความคิดเห็นที่ 16


จะไปกังวลไรครับ  เรือดํานํ้าฝ่ามาได้เครื่องบินรบ ยังไงก็ผ่านได้แน่นอนอีกอย่างปีนี้ลงทุนรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้ามากขึ้นแล้วทั้ง สายสีส้มสายสีชมพู สายสีเหลือง รถไฟทางคู่หลายเส้นทางแม้แต่รถไฟความเร้วสูง ที่ตอนนี้อนุมัติแล้วอนาคตคงจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

โดยคุณ bok01 เมื่อวันที่ 14/07/2017 22:13:50


ความคิดเห็นที่ 17


จำได้หรือไม่ครับว่าสมัยการจัดหาเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๔๓ นั้น

ก็ถูกสื่อมวลชนตอนนั้นโจมตีอย่างมากว่า กองทัพอากาศซื้อขยะเศษเหล็กมือสองเยอรมัน แทนที่จะนำเงินไปฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตเศรษฐกิจ

แรงกดดันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แผนจัดหาเดิม ๒ฝูงประมาณ ๕๐เครื่อง เหลือเพียง ๒๕เครื่อง สำหรับฝูงบิน๒๓๑ เท่านั้นครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 15/07/2017 08:25:31


ความคิดเห็นที่ 18


ถูกต่อต้านอล้วยังไงก็ซื้อครับ มันมีเหตุผลในตัวมันเองอยู่แล้ว กริฟเปนก็โดนต้าน รถถังก็โดนต้าน เรือ ส ก็โดนต้าน ท่าจีนก็โดนต้าน(แต่ไม่เยอะ) มันอยู่ที่กองทัพครับว่าจะยืนหยัดแค่ไหนมากกว่าครับ ปล.ไม่นับไอ้ที่ถูกเกมส์การเมืองเตะตัดขานะ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 15/07/2017 11:25:47


ความคิดเห็นที่ 19


โครงการนี้ไม่น่ามีปัญหาอะไร 16 ลำก็ 16 ลำสิ ส่วนฝูงที่ 2 ยังไม่ตั้งโครงการ ง่าย ๆ แค่นี้แหละ โครงการอื่นที่ยังไม่เริ่มไม่รู้ ไอ้ที่เริ่มแล้วก็จัดหามาเรื่อยๆ สงสัยก็แค่เครื่องเราได้อะไรมาเลยบ้าง อย่าง link16 คงยังไม่มา fitted for but not with


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/07/2017 15:29:31


ความคิดเห็นที่ 20


เรื่องคนคัดค้านไม่คัดค้านไม่สำคัญครับ รัฐบาลผเด็จการทำอะไรก็ได้ ม.44 ก็มี 

ประเด็นคือเงินครับ แต่ก่อนที่ประเทศเราอาวุธเยอะแยะ หลายๆอย่างอเมริกาช่วยเหลือ พอหมดอายุการใช้งาน ไอ้การจะจัดหามาทดแทนทั้งหมดก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว อย่างเรือดำน้ำซื้อทีโครงการอื่นๆชะลอหมด เพราะมันกระทบกัน  ถ้าไล่ดูรายชื่อเรือรบเราเตรียมเข้าคิวเกษียณกันพรึ่บ จะทดแทนได้แค่ไหน ยิ่งซื้อมาต้องคำนวนค่าบำรุงรักษาต่างๆคงความพร้อมรบไม่ใช่แค่ซื้อทีจบ

หรืออย่างทอ. ถ้ามีตังจริงป่านนี้จัดหากริปเปน 16-18 ลำไปตั้งแต่แรกแล้ว นี่จัดไป 12 ลำ 3.9 หมื่นล้านสมัยนั้น คิดดูการจัดหาแทนฝูง 102 จะราคาเท่าไหร่ 

ในความคิดผม ฝูงบินสมรรถนะสูง (เท่าที่ทอ.เราจะสูงได้) สองฝูง ฝูงละ 18 ก็ถือว่าพอเพียงแล้ว ขอแค่มีความพร้อมรบประสิทธิภาพเต็ม เพราะสมัยนี้การรบยืดเยื้อเต็มรูปแบบเป็นไปได้ยาก (ในที่นี้หมายถึงระหว่างประเทศสองประเทศ)การปะทะกันจะแค่พอมองเห็นความต่างว่าใครได้เปรียบใครเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองเจรจา จึงต้องเน้นความเฉียบขาดรุนแรงในช่วงต้น

มาเลย์ก็ล้มโครงการจัดหาบ.ทดแทน Mig 29 แล้วเพราะตังหมด คงปล่อยหมดอายุแล้วปลดไป

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/07/2017 03:47:50


ความคิดเห็นที่ 21


มองว่าเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๖๓ น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนรัฐบาลและกองทัพ ซึ่งน่าจะส่งผลโครงการจัดหาอาวุธครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/07/2017 14:18:42


ความคิดเห็นที่ 22



https://www.facebook.com/groups/914739328547147/permalink/1546177152070025/

ภาพนี้แสดงถึงสภาพอัตราความพร้อมรบของอากาศยานรบที่ประจำการในกองทัพอากาศมาเลเซียในปี 2017 ครับ

โดยปัญหาสำคัญในส่วนกำลังฝูงบินขับไล่ของกองทัพอากาศมาเลเซียตอนนี้คือ

เครื่องบินขับไล่ F-5E และเครื่องบินขับไล่ลาดตระเวน RF-5E ปลดประจำการไปหลายปีแล้ว

เครื่องบินขับไล่ MiG-29N ที่จัดหาจากรัสเซียมาตั้งแต่ปี 1995 ๑๘เครื่อง ซึ่งมีปัญหาการใช้งานมาก โดยสูญเสียไปแล้วอย่างน้อย ๒-๓เครื่อง ที่เหลือมากกว่าครึ่งอยู่ในสภาพงดบิน และจะมีการปลดประจำการลงทั้งหมดในอนาคต

เครื่องขับไล่ F/A-18D ๘เครื่องจากสหรัฐฯในปี 1997 เป็นกำลังหลักที่มีความพร้อมสูงสุดของกองทัพอากาศมาเลเซีย โดยมีการปรับปรุงเพื่อให้ใช้ระบบอาวุธและอุปกรณ์ใหม่ และจะยืดอายุให้ปรนะจำการต่อไปถึงปี 2030

เครื่องบินขับไล่ Su-30MKM  ๑๘เครื่องจากรัสเซียในปี 2007 เป็นเครื่องรัสเซียอีกแบบที่มีปัญหาการบูรณาการระบบมาตรฐานตะวันตกทำให้มีความล่าช้า ความพร้อมรบมีเพียง 65%-70%


https://malaysiamilitarypower.blogspot.com/2017/06/malaysian-su-30mkm-super-flankers.html
http://aagth1.blogspot.com/2017/06/su-30mkm-laser-gbu-12.html

โดย Su-30MKM จะมีการเพิ่มระดับความพร้อมรบให้มากขึ้น และปรับปรุงให้ใช้ระบบอาวุธมาตรฐาน NATO ได้ ซึ่งจะประจำการไปไม่ต่ำกว่าปี 2030

นั่นดูจะแสดงให้เห็นว่าเครื่องบินขับไล่รัสเซียทั้ง MiG-29N และ Su-30MKM นั้นมีอายุการใช้งานสั้นกว่าถ้าเทียบกับเครื่องบินขับไล่ตะวันตก

เครื่องบินโจมตีเบา Hawk 208 อังกฤษ ๑๓เครื่อง ไปจนถึงปี 2035 ส่วนเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา Hawk 108 ๕เครื่องอยู่ในสภาพงดบิน

เครื่องบินฝึกไอพ่น MB-339 ที่ปฏิบัติการได้มี ๗เครื่อง ซึ่งคงจะไม่พอในอนาคตต้องจัดหาเครื่องใหม่มาแทน

อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมาเลเซียตัดสินใจที่จะระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MRCA จำนวน ๑๘เครื่องเพื่อทดแทน MiG-29N เป็นการชั่วคราว

โดยจะให้ความสำคัญกับโครงการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลภายในปี 2020 เพื่อรับมือกับกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่ขยายตัวในภูมิภาค ASEAN มากขึ้น

ตัวเลือกที่กองทัพอากาศมาเลเซียมองเพื่อทดแทน MiG-29N มีเครื่องบินขับไล่สองแบบคือ Rafale ฝรั่งเศส กับ Typhoon อังกฤษ

แต่ตอนนี้สภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ความมั่นคงปัจจุบันทำให้มาเลเซียต้องเปลี่ยนแผนการจัดหาอาวุธเป็นในตามข้างต้น ซึ่งไทยเราเองก็ดูจะมีส่วนที่คล้ายคลึงกันที่น่าจะพิจารณาครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/07/2017 19:15:57


ความคิดเห็นที่ 23


ส่วนตัวเชื่อว่า T-50TH (ซึ่งสเปคที่ ทอ. เลือกมันคือ FA-50) จะเป็นม้าใช้ต่อไปของ ทอ. โครงการแรก 16 เครื่องเกิดแล้ว โครงการต่อๆ ไปคงจะมีในอนาคต ฝูง 2 หรือ 3 คงตามกำลังงบประมาณ แทนทั้ง L-39 และ A-Jet ถ้าไม่ม๊อด

ส่วนฝูงขับไล่หลักจริงคงเหลือแค่ 701 กริเป้น, 403 F-16 eMLU และ 103 F-16 ฝูงใหม่ครับ (แทนทั้ง 102, 103)

ฝูง 211 F-5 ไทกริส ม๊อดรอบ 2 แล้ว ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้อีกกี่ปี เครื่องเทอร์โบเจ็ต J-85 มันจะยังมีอะไหล่ให้ซื้อใช้ได้อีกกี่ปีนะครับ ? 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 17/07/2017 00:54:41


ความคิดเห็นที่ 24


ว่าแต่ 8 เครื่องหลังแอบแพงขึ้นนะ สำคัญไม่รู้มีอะไรบ้างก็บ่นได้ไม่เต็มปาก

 

ถ้าจะมาทดแทน F-5 ยังไงต้องยิงลูกยาวได้บ้าง ของพี่อิสก็ดี ของพี่กันก็ดี ของพี่เยอร(มัน)คงไกลตัวเกินไป

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/07/2017 09:09:02


ความคิดเห็นที่ 25


ที่เคยเล่าให้ฟังว่า คุยกับน้องนักบินยศจ่า ได้ความว่าตั้งแต่ ผบ.ทอ. คนก่อนจนถึงปัจจุบัน ท่านเน้นให้ซื้อหาของดีถึงดีที่สุดครับ ปรับปรุง eMLU ก็เอาชุดเต็ม ไทกริสม๊อดสอง ก็จัดเต็ม มาถึง T-50TH ก็ใช้แนวทางเดียวกันครับ ใช้ฝึกก็ได้ ใช้รบก็ได้ (เหมือน แอล-39) ติดเรดาร์ควบคุมการยิง อีแอล/เอ็ม 2032 ยิง แอมแรมได้ แต่ทำไมยิงของยิวไม่ได้ก็ไม่รู้ สเปคมันคือ FA-50 แต่ ทอ. เรียก T-50TH เฉยเลย

T-50i ของอินโดฯ ไม่มีเรดาร์ควบคุมการยิง เอาไว้ฝึกอย่างเดียว ถ้าจะใช้รบไม่รู้ได้ไหม แบบว่าติดแค่ไซไวน์เดอร์ เหมือน แอล-39 ของเรา หรือ ฮอร์ค 108/109 ของมาเลย์/อินโด ก็น่าจะได้นะครับ ถ้าเราเอารุ่นฝึกล้วนๆ มาเนี่ยเซ็งเลย

ปัญหาที่เจอตอนเข้าประจำการใหม่ๆ คือทรัสต์มันเยอะเกิน บฝ. หรือไงเนี่ยครับ ของ ทอ. เกาหลีก็ตก ของ ทอ. อินโดฯ ตอนบินโชว์ก็ตก ยังไงน้องๆ นบ. ของเราก็ต้องระมัดระวังเรื่องนี้ให้มากนะครับ ไม่รู้มีการดัดแปลงแก้ไขหรือกำหนดท่าบินไว้ในคู่มือ ฯลฯ แล้วหรือยัง

ปล. เจอข่าว ฮอร์ค 108 ของ มาเลย์ฯ ตกใกล้ฐานบินกวนตัน เมื่อเดือนที่แล้ว นบ. เสียชีวิตทั้งสองคน ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 17/07/2017 11:37:22


ความคิดเห็นที่ 26


เอ ทำไมถึงมีข่าว ฮอร์ค 108 ของมาเลย์ฯ ตกเมื่อเดือนที่แล้ว ตามตารางข้างบนของคุณเอเอจีฯ ฮอร์ค 108 กราวด์หมดแล้วนิครับ

หรือว่าบางตัวยังบินได้ แต่ก็ยังดันมาตกเสียอีก

ทำไมต้องกราวน์หมดฝูง 108 ครับ เครื่องฮอร์คของอังกฤษก็มีปัญหาในการบำรุงรักษามากเหมือนเครื่องมิกเครืองซูหรือครับ ?

คิดแล้วก็เกิดคำถามเลย เครื่องบินจีนอย่าง เจ-10 บี/ซี หรือ เอฟเจ-17 บล๊อค 3 มันจะมีปัญหาในการซ่อมบำรุงมากเหมือนเครื่อง มิก/ซู ของมาเลย์ฯ ไหมเนี่ย คือกำลังจะใจอ่อนกับเครื่องบินจีนอยู่แล้วเชียว แต่พอนึกถึงความทนทานของเครื่อเมกัน เราใช้ได้ 30-40 ปี คิดหนักเลยครับ

อย่างน้อยก็เข้าใจ ทอ. ครับ มั่นคงในแนวการพัฒนาการจัดหาเครื่องบิน ไม่วอกแวกไปกับการเมืองหรือของราคาถูกโปรไฟกระพริบ ครั้งนี้ก็ทำพรีเซ็นเทชั่นซะไม่ต้องไปถามอะไรกันอีก เยี่ยมครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 17/07/2017 12:18:06


ความคิดเห็นที่ 27


เข้าใจว่าในกรณี Hawk 108 กองทัพอากาศมาเลเซียนั้นน่าจะถูกงดบินชั่วคราวเพื่อรอผลการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุตกเมื่อเดือนมิถุนายนก่อน

(จะเห็นได้ว่าเครื่อง Hawk 108 เป็นสีเทา ขณะที่ F-5 ที่ปลดไปแล้ว กับ MiG-29N ที่เตรียมปลดเป็นสีแดง)

เดิมกองทัพอากาศมาเลเซียจัดหา Hawk 108 จำนวน ๑๐เครื่องในปี 1994-1995 แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียง ๕เครื่องครับ

ส่วน Hawk 208 นั้นเดิมกองทัพอากาศมาเลเซียจัดหามา ๑๘เครื่อง แต่ตอนนี้เหลือ ๑๓เครื่องครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 17/07/2017 13:45:06


ความคิดเห็นที่ 28


http://www.israeldefense.co.il/en/node/30326

 

เพิ่มเติมกับการจัดหาเรดาร์จากอิสราเอลมากับ T-50 ล็อตนี้ครับ  ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวของอิสราเอลเองครับ  ผมตามข่าวจากอิสราเอลหลายเพจครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 17/07/2017 20:39:33


ความคิดเห็นที่ 29


นี่ผมก็ยังงง ๆ อยู่นะ เรื่องเรดาร์กับเรื่องสเป็กเครื่องบิน 

 

FA-50 ของปินส์เห็นเขาว่าติดเรดาร์ EL/M-2032 และยิงจรวดพี่อิสได้ ผมเคยเห็นแต่ติดจรวดอากาศ-สู่-พื้นมาเวอริค และผลงานล่าสุดก็คือทิ้งระเบิดพลาดเป้าหมายเป็นข่าวใหญ่โตในประเทศ ก็เข้าใจแหละเพราะของใหม่เพิ่งเข้าประจำการได้ไม่นาน แต่ก็นะ

 

ส่วนของไทยเขาว่าสเป๊กเหนือกว่าของปินส์ ซึ่งเป็นรุ่นขับไล่แท้ ๆ ขณะที่ของเราเป็นรุ่นฝึก เรื่องนี้ผมงงจริง ๆ นะ แต่ขี้เกียจตามข่าวเอาไว้ก่อน โดนสั่งห้ามใช้คอม 3 วันเพราะปวดตา ต้องแอบมาเล่นกันเลยทีเดียว

 

พูดถึงเครื่องบินลำนี้แล้วคิดถึงท่านนีโอ แฟนพันธ์แท้ที่ต้องการจัดหา 36-48 ลำ ฮ่า ฮ่า เพราะว่ารวมโครงการจัดหาเครื่องบินให้กับกองทัพเรือด้วย ซึ่งเครื่องบินน่าจะติดฮาร์พูนได้ใช้โจมตีแทนเรือ FAC ได้ แต่ทว่า 6 ลำ 6 พันล้านบาทไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ  เอาไปซื้อเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลนะจะเข้าที

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/07/2017 20:52:54


ความคิดเห็นที่ 30


PH completes inspection of Raytheon for FA-50’s air-to-air missiles

July 18, 2017

The Philippine has completed post qualification inspections for Raytheon Missile Systems Co. last week in United States for Fighter/Surface Attack/Lead-in Fighter Trainer (F/SA/LIFT) Aircraft Munitions Acquisition Project Lot 1.

According to MaxDefense Philippines, Raytheon is in the running to supply AIM-9L/I-1 Sidewinder air-to-air missiles for the Philippine Air Force’s FA-50 Fighting Eagle aircraft.

“If the results are positive, it won’t be long before a Notice of Award will be provided,” MaxDefense said.

MaxDefense added that air-to-air missiles being acquired are also for “future aircraft capable of carrying and firing the missiles.”

However, MaxDefense noted the decrease in Approved Budget for Contract (ABC) for the F/SA/LIFT Aircraft Munitions Acquisition Project Lot 1.

It noted that ABC was decreased to PHP 1.016 billion for unspecified number of AIM-9L/I-1 missiles including associated accessories and support, from PHP 2.636 billion for 312 missiles.

“Budget decrease was also made as the PAF opted to increase the budget to acquire AGM-65G Maverick missiles (Lot 2) instead, diverting almost half the original ABC for F/SAA/LIFT Munitioms Lot 1 to Lot 2,” MaxDefense said.

AGM-65 Maverick is an air-to-ground tactical missile (AGM) designed for close air support.

F/SA/LIFT Aircraft Munitions Acquisition Project is divided into several Lots. Lots 3 and 4 are for Countermeasures and 20mm Ammunition, respectively.

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์โ€‹ กำลังดำเนินการจัดหาจรวดอากาศสู่อากาศ AIM-9L / I-1 Sidewinder และ AGM-65 Maverick สำหรับเครื่องบินรบFA-50 Eagle

ที่มา

https://www.update.ph/2017/07/ph-completes-inspection-of-raytheon-for-fa-50s-air-to-air-missiles/19137

โดยคุณ ThaiPc53 เมื่อวันที่ 20/07/2017 17:57:05


ความคิดเห็นที่ 31


ขอบคุณท่าน superboy  มากครับที่อุตสาห์คิดถึง    

พอรู้ข่าวว่าจัดหา  แถมราคาที่จัดหามันน่าจะเป็นรุ่น FA-50   ผมเป็นปลื้มนับเดือนแล้ว     ที่เชียร์รุ่นนี้  เพราะรู้ดีว่า ทอ.จะประสพปัญหาด้านการเงินเพื่อจัดหาเครื่องทดแทนครับ   และเกาหลีก็ทำการบ้านมาดีว่า  พวกเราไม่น่าจะมีเงินถุงเงินถังจัดหาเครื่องหรูๆมาใช้   

ฝูง 102  เมื่อปลดแล้วยุบฝูง   แต่ถ้า ทอ. จัดหา  FA-50  สเปกจัดเต็มแบบนี้อีก 16 เครื่อง   มาลงแทน  L-39  ของกองบิน 1     มันก็มีค่าเท่ากับจัดหา       " เครื่องรบ"    มาทดแทนฝูง  102  อยู่แล้วนี่ครับ  สเปกก็ดีกว่า  F-16 ADF อยู่     เท่ากับว่า  กองบิน 4  กองบิน 1   มีเครื่องแบบเดียวกันเป๊ะประจำการ  คือ F-16 และ FA-50   

ส่วน alpha-jet  ผมก็รอว่า  ฝูง +1 ( FA-50   จำนวน 2 ฝูง+1 ที่ท่านเสือใหญ่เคยกล่าวไว้ครับ)  จะได้มาแทนที่นี่หรือเปล่า    หวังว่า ทอ. จะจัดหา งบประมาณมาได้นะครับ   จะได้มี FA-50 48  เครื่องตามที่หวัง

 ขอบตุณท่านเสือใหญ่อีกครั้งนะครับที่ว่า  ฝูง 103  จะเป็น F-16  ฝูงใหม่  Block 50/52 + หรือเปล่า  หรือ block ใหม่กว่า 60     ถึงเลานั้น TFC  TAF คงมีเรื่องให้ลุ้นกันสนุกอีกรอบแน่ๆครับ           แต่ผมว่าไหนๆใช้ jas-39 แล้วก็น่าจะ  jas-39 ไปทั้งหมดสำหรับฝูงขับไล่แท้ๆ   รวมทั้งฝูง 211  ที่เมื่อไทกริชปลดประจำการครับ   

ผมค่อนข้างมั่นใจว่าถ้าจบดีลจัดหา FA-50  ฝูงแรกนี้แล้ว  ทอ.คงจะจัดหา  Jas-39  ฝูง 701  .ให้ครบ 16 เครื่องสักทีนะครับ   ไม่งั้นกลัวสายการผลิตปิดตัวลงแล้วจะยุ่ง    เครื่อง  AWAC  อีก 1 เครื่องด้วย      แล้วหลังจากนั้นผมเดาว่าน่าจะถึงตา  FA-50 ฝูงที่ 2  เพื่อ ทดแทน  F-16 ADF ฝูง 102 ครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/07/2017 12:08:30


ความคิดเห็นที่ 32


 ส่วนของกองทัพเรือนั้น   ที่เชียร์ก็เพราะเห็นว่า งบประมาณรัดตัวมากเช่นกัน   F-18  ตรงสเปกกว่ามาก    แต่ราคาก็หงายเหมือนกันครับ   ถ้าชอบเครื่องใหม่  ก็คงต้อง  FA-50   หรือไม่ก็ไปจัดหา  F-18 E/F มือสองที่เมื่อสหรัฐปลดหระจำการหมดแล้ว    คงมีเครื่องที่สภาพดีๆให้เลือกเยอะอยู่   

L-39  เมื่อปลดลงแล้ว   ผมเฃียร์  L-39 NG หรือไม่ก็ YAK-130  ครับ   ราคา yak-130 ไม่แรง   ไม่รู้ว่า L-39 NG  ราคาจะแรงหรือเปล่า    กองเชียร์  M-346  ก็จะได้ใจชื้นลุ้นพี่น้องต่างพ่อกันได้บ้างครับ   และเอามาใช้ฝึก LIFT  น่าจะประหยัดกว่า  FA-50 มาก

  หวังว่ากองบินที่เชียงใหม่จะไม่กลายเป็นฝูงว่างไปนะครับ    

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/07/2017 12:30:02


ความคิดเห็นที่ 33


สวัสดีท่าน neosiamese2 ครับ ไม่ได้แวะเวียนมาตอบกระทู้นานแล้วนะครับ คิดถึงครับ

จากที่ได้พูดคุยกับหลายๆ ท่านมา พอจะประเมินได้ครับว่า กริเป้น เราคงมีได้แค่ 1 ฝูง 701 นี่เแหละครับ แต่มีลุ้นครับ รุ่น ซี 5 ตัว เอาให้เต็มฝูง 16 ลำ ดูแลมันทั้ง 2 ฝั่งอันดามันและอ่าวไทยด้วย อาร์บีเอฟ-15 เหตุที่ว่าน่าจะมีแค่ฝูงเดียวก็ได้แค่เดาเอาครับว่า ทอ. คงพอใจแค่นี้ (ค่าบำรุงรักษา ???)

ที-50ทีเอช ด้วยสเปกจัดเต็ม ราคาไม่เกิน @30 ล้านเหรียญเมกัน ทอ. ย่อมพอใจ ถ้าเข้าประจำการจริงแล้วค่าบำรุงรักษาไม่โหดร้าย ดูแลง่ายไม่งอแงเรื่องมาก อนาคตฝูง 2 สำหรับลง 101 คงไม่ไกลเกินเอื้อมนะครับ สุดท้าย 2-3 ฝูง เป็นไปได้ครับ ผมนึกถึงม้าใช้หลักต่อไปในอนาคตของ ทอ. เลยครับ

ถ้าไทกริชหมดอายุใช้งานในอีก 10 ปี ฐานบินคงว่างตามกองบิน 41 และ 23 ครับ

ก็เหลือแต่ฝูง 102 ที่จะหมดอายุลงในไม่ช้า และ 103 ที่ใหม่กว่าแต่ก็ไม่ได้รับการม๊อด ไม่เกินปี 2570 คงต้องปลดและทดแทนด้วย บข. ฝูงใหม่ครับ

โครงการ บข. ใหม่ 1 ฝูง น่าจะเริ่มโครงการได้ประมาณปี 2567 ส่วนจะเป็นแบบใด เดาไม่ออกจริงๆ ถ้า เอฟ-16 บล๊อคใหม่ล่าสุดยังเปิดสายการผลิตอยู่ เอฟ-16 ก็จะมีภาษีดีกว่าใครๆ แต่ถ้าปิดสายการผลิตไปแล้ว คงต้องถาม ทอ. อีกทีว่าพร้อมจะเข้าสู่ บข. ยุคที่ 5 ไหม ? หรือว่ายังจะอยากใช้ บ. ยุค 4.5 คั่นอีกสัก 1 รุ่นก่อนดี

ท่านใดพอบอกได้ไหมครับว่า เอฟ-35 เอ สำหรับ ทอ. เรา นอกจากตัวเครื่องและระบบอาวุธแล้ว เราจะต้องเสียเงินเป็นค่าอะไรอีกไหม เพื่อจะใช้งาน เอฟ-35 ได้เต็มประสิทธิภาพอีกหรือไม่ แล้วมันจะคือค่าอะไรบ้างครับ ช่วยบอกที 

 

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 27/07/2017 15:17:21


ความคิดเห็นที่ 34


    ขอบคุณครับท่านเสือใหญ่   แต่สะอีกครับที่กองบิน 41  จะว่าง   แถมเมื่อ ไทกริส ปลด กองบิน 21 ก็จะว่างอีกเช่นกัน.......ใจหายมากๆ   ว่าง 3 กองบิน   โห....ลดกำลังทางอากาศลงไปมากทีเดียว   ผิดกับเกาหลีที่ยังสามารถรักษากองบินต่างๆเอาไว้ได้  เพราะผลิตเอง   T/F/A-50  นี่เกาหลีเอามาอุดปัญหาเรื่องการรักษาจำนวนฝูงบินของเขาเอาไว้ได้ดีทีเดียว      เราน่าจะทำตามนะครับ  

   อีก 7 ปี ถึงจะขึ้นโครงการทดแทนฝูง 103  ลุ้นหวาดเสียวนะครับว่า  F-16  จะปืดสายการผลิตหรือเปล่า   เพราะผมไม่ชอบ  F-35  เอาเลย    ทั้งราคาที่มหาโหด  ค่าใช้จ่ายที่ว่ากันว่าโหด   ต่อคิวนาน   และไม่ค่อยมั่นใจว่าจะเจ๋งจริง     แต่ตกใจครับ  ไม่นึกว่า  jas-39 จะงอแง    FA-50  พัฒนามาจาก F-16  ไม่น่าจะงอแงและไว้ใจได้เหมือน F-16 นะครับ

   หวังว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเมื่อปลด  ไทกริส แล้ว   อยากให้ ทอ. กลับมามีงบประมาณสะดวกมากขึ้น  หรือมีผู้มีอำนาจคนใหม่ๆที่เห็นความสำคัญของกองบินรบนะครับ  จะได้จัดหาเครื่องมาทดแทนฝูง 211  เพราะฝูงนี้ต้องปะฉะดะ  ด่านแรก ถ้าเวียตนามล้ำเข้ามา   และหวังว่าถึงตรงนั้น   FA-50   จะมีการพัฒนาไปมากและหวังว่าจะชนะในโครงการ  TX ด้วย     อยากเห็น  FA-50  รุ่นที่ใช้เรด้าร์ AESA และรุ่นที่ใช้งานบนเรือบรรทุกบ.แทนเครื่อง Hawk ของ ทร.อเมริกัน    เพราะคิดว่า T/F/A-50  น่าจะมีอนาคตอีกไกลในซีกฝั่งตะวันตก  

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/07/2017 23:44:17


ความคิดเห็นที่ 35


ตอบท่านเสือใหญ่นะครับ

จากที่ผมเคยอ่านๆข่าวมา เครื่องบินรบ f-35 มันต้องใช้เป็นระบบบูรณาการ ไม่ใช่แค่เครื่องบินติดอาวุธไปสู้แบบสมัยก่อน

คือ f-35 เป็นเครื่องที่ไฮเทคมากยังกับระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์บินได้จนอาจจะมากไปสร้างปัญหามากกว่าประโยชน์ถ้าไม่มีความพร้อมพอ ซอฟท์แวร์ของเครื่องบินอย่างเดียวก็มีโค้ดปาเข้าไปมากกว่า 2 ล้านบรรทัดแล้วครับ แถมอัพเป็นแพทช์ด้วยนะครับ ปัจจุบันน่าจะอยู่แพทช์ 2-3 ต้องครบ 4 แพทช์ถึงจะทำได้ทุกอย่าง (ไม่รู้ปัจจุบันยิงปืนได้หรือยัง) ยังกะอัพเกม

สองสามปีมาแล้วเคยมีเหมือนผู้ตรวจสอบโครงการจัดหาอาวุธของออสเตรเลียมั้งครับ (อันนี้จากความจำล้วนๆ) ออกมาบอกว่าที่ออสเตรเลียซื้อไปไม่ได้เรื่องเลย เพราะไม่ได้ซื้อครบทั้งระบบ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงมาก ระบบที่ว่าก็พวกเรดาร์ระบบเชื่อมโยงข้อมูลฯลฯ

ขนาดแค่เรื่องการซ่อมบำรุงกับอะไหล่ยังไฮเทคมาก โดยจะมีระบบฐานข้อมูลของอะไหล่ทุกชิ้นเชื่อมกับศูนย์กลาง ถ้าระบบไม่อนุมัติ(เช่นวิเคราะห์ว่าเครื่องบินไม่พร้อมขึ้นบิน)เครื่องไม่สามารถขึ้นบินได้เลย (จำไม่ได้ว่าไอ้ระบบนี่สามารถเลือกปิดได้หรือเปล่า) สักลำ ตอนนั้นเลยมีการออกมาแสดงความกังวลว่าถ้าศัตรูแฮ็คระบบได้ขึ้นมาก็กลายเป็นเศษเหล็กทั้งกองทัพโดยที่อีกฝ่ายยังไม่ต้องยิงปืนซักนัด แล้วตอนทดสอบความพร้อมทางทอ.ก็ไม่ยอมให้ทดสอบการเจาะระบบอีก

ข้อมูลรายละเอียดอาจผิดพลาดบ้างเพราะจำล้วนๆ

ผมยังยืนยันจุดเดิมว่า f-35 ไม่ได้เกิดกับทอ.แน่ๆ เอามาลำสองลำไม่มีประโยชน์ ครั้นจะซื้อยกฝูงทอ.ได้ล้มละลายพอดี ปัจจุบันนอกจากอเมริกาประเทศอื่นๆนับเครื่องได้เลยส่วนใหญ่นับไม่ครบนิ้วสองมือด้วยซ้ำ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 28/07/2017 02:24:55


ความคิดเห็นที่ 36


สมัยช่วงที่มีกองทัพอากาศไทยพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16 ก็มีการวิจารณ์ว่าเครื่องมีราคาแพงและสหรัฐฯไม่น่าจะขายให้ไทย

ซึ่งสื่อบางรายก็สนับสนุนให้ไทยจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-20 แทนเพราะมีพื้นฐานเดียว F-5 ที่ประจำการอยู่แล้วและมีราคาถูกกว่า

แต่จากความพยายามของกองทัพอากาศไทยในอดีต ก็อย่างที่เห็นในปัจจุบันครับว่า F-16 เป็นกำลังของกองทัพอากาศไทย และจะประจำการต่อไปอีกนาน

F-35A ก็เช่นกันครับ ในอนาคตถ้ามีงบประมาณและปัจจัยสนับสนุนเพียงพอ กองทัพอากาศไทยก็น่าจะจัดหามาได้

ซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้นประเทศหลักในโครงการ JSF และพันธมิตรสหรัฐฯที่ส่งออกให้ ก็น่าจะประจำการ F-35 ไปได้หลายปี รวมถึงแก้ปัญหาต่างไประดับหนึ่งแล้วครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/07/2017 15:19:00


ความคิดเห็นที่ 37


ต้องขอกล่าวสวัสดีท่านนีโอ ครับ สำหรับ L39NG เดิมผมก็สนับสนุนน่ะครับ แต่มีข้อแม้ว่าต้องมาผลิตในไทยเพราะ L39NG รูปแบบค่อนข้างล้าสมัยแล้วเมื่อทียบกับรุ่นอื่นๆ มีข้อดีเราใช้อยู่แล้ว ราคาน่าจะถูก และใช้กับภาระกิจฝึกบินและโจมตี แต่ถ้าใช้รบทางอากาศดูไม่เหมาะ FA50 น่าจะเหมาะกว่า
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 28/07/2017 16:27:01


ความคิดเห็นที่ 38


F-16 จะยังผลิตขายต่อหรือไม่อยู่ที่อินเดียแล้วล่ะครับ ล็อกฮีด มาร์ติน เข้าร่วมแข่งขันโครงการเครื่องบินรบอเนกประสงค์ขนาดเล็กของอินเดีย ซึ่งมีคู่แข่งก็คือกริเพน NG ของสวีเดน จึงเสนอไม้ตายย้ายโรงานผลิต F-16 ไปที่อินเดียทั้งหมดเลย สามารถขายประเทศอื่นได้ ซ่อมบำรุง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาให้ดีกว่าเดิมได้หมด อีนี่จำได้ประมาณนี้นะนายจ๋าาาา....

 

ถ้าอินเดียเอาด้วยเราจะได้เห็น F-16IN vs F-16PK ถึงอินเดียจะได้ครองโครงสายการผลิต F-16 ไปแล้วก็ตามแต่คงไม่มีลูกค้าชื่อปากีสถานแน่นวล เพราะเขาใช้บริการของตุรกีมาโดยตลอดนั่นเอง ที่เพิ่ง MLU ไปนั่นก็ใช่ อ่านข่าวนี้รอบแล้วอดขำไม่ได้

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 28/07/2017 19:34:13


ความคิดเห็นที่ 39


ไทยตอนจัดหา f-16 ครั้งแรกกับไทยตอนนี้ต่างกันครับ

แต่ก่อนเรารวยอเมริกาที่ไม่ขายเพราะเรื่องเทคโนโลยีและสมดุลย์ในภูมิภาคแต่เราป๋าซื้อไหว เศรษฐกิจเข้มแแข็งระดับต้นๆเอเชีย เป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นกับอเมริกา ยังอยู่ในยุคสงครามเย็น

มาวันนี้เราก็อย่างที่เห็น เศรษฐกิจเราลงมาเป็นพวกรองๆ (เขาขายให้ก็ไม่รู้จะมีตังซื้อหรือเปล่า) การช่วยเหลือทางทหารจากอมริกาก็ไม่ค่อยมีแล้ว พันธมิตรก็ไม่ค่อยแน่นแฟ้นเหมือนแต่ก่อน รัฐบาลเราเริ่มทำตัวเป็นกลางแบบน้ำในหูไม่เท่ากันไปทางจีน (แล้วรัฐบาลนี้หรือตัวแทนฝั่งนี้อยู่เป็น 10 ปีแน่นอน การเลือกตั้งไม่เห็นวี่แวว ปี 49 พลาดไปทีแล้วไม่พลาดซ้ำสองหรอกครับ) 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 28/07/2017 20:16:07


ความคิดเห็นที่ 40


ขอบคุณครับคุณ toeytei คือที่อธิบายมาคือสิ่งที่ผมเป็นห่วงครับ คือมันไม่ใช่แค่ตัวเครื่องและอาวุธแล้วเราจะใช้งานมันได้แล้ว สำหรับ เอฟ-35 คือมันมีองค์ประกอบอื่นอีกมากมายในการจะใช้มันให้ได้เต็มประสิทธิภาพ คือมันเหมือนระบบๆ หนึ่ง ไม่ใช่แค่เครื่องบินเดี่ยวๆ ว้า.. จะพูดยังไงดี เอาเป็นว่าประมาณนั้นนะครับ

การใช้งานก็น่าจะต้องออกแบบยุทธวิธีในการใช้ใหม่ คงต้องดูเมกันหรือยิวละครับว่าจะใช้งานมันยังไง เช่น ตอนไหนต้องใช้โหมดสเตล อันไหนไม่ต้อง มันจะยังต้องฝึกด๊อกไฟต์อีกหรือเปล่า ฯลฯ ๆๆๆๆๆ

ยอมซื้อใช้ 4.5 คั่นไปก่อนดีไหม รอจนพันธมิตรใช้ 5.0 ไปจนเข้าที่เข้าทาง จนเห็นว่ามันเวิร์คจริงแล้วค่อยจัดหา บข. 5.0 มาใช้ก็คงไม่สายใช่ไหมครับ เพราะเพื่อนบ้านเราก็ยังใช้ไม่เกิน 3.5 - 4.0 อยู่เลย (ยกเว้นสิงค์โปร์) 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 28/07/2017 23:27:48


ความคิดเห็นที่ 41


การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 OCU ของกองทัพอากาศไทย มีเหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งจากการประเมินภัยคุกคามในสมัยนั้นครับ

โดยตอนนั้นหน่วยข่าวกรองทางทหารไทยประเมินว่ากองทัพอากาศประชาชนเวียดนามอาจจะมีเครื่องบินขับไล่ MiG-23

ซึ่ง MiG-21 ที่เป็นกำลังทางอากาศหลักของเวียดนามในยุคนั้นเครื่องบินขับไล่ F-5E ยังสู้ได้แม้จะเสียเปรียบเรื่องจำนวนที่เวียดนามมีเป็น ๑๐๐เครื่องก็ตาม

แต่ MiG-23 มีสมรรถนะสูงกว่าและมีอาวุธอากาศสู่อากาศดีกว่าซึ่ง F-5E ของไทยสู้ไม่ได้

แม้ว่า F-5E/F ทั้งสองฝูงบินในสมัยนั้นคือ ฝูงบิน๑๐๒ และฝูงบิน๔๐๓ จะได้รับการติดตั้งจอภาพตรงหน้า HUD/WAC ช่วยการเล็งยิงอาวุธ

และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-3 สำหรับฝูง๔๐๓ ซึ่งมีพิสัยยิงไกลและสมรรถสูงมากกว่า AIM-9 รุ่นเก่าในสมัยนั้น

ดังนั้นกองทัพอากาศไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งมั่นอย่างมากที่จะต้องจัดหา F-16 ให้ได้

แม้ว่าจะต้องต่อรองกับสหรัฐฯอยู่นานในหลายประเด็น เช่น ระบบเครื่องยนต์

โดยกองทัพอากาศไทยนำ F-16 เข้าประจำการที่ฝูงบิน๑๐๓ ในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988)

แต่อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศประชาชนเวียดนามดูเหมือนจะไม่เคยมี MiG-23 ประจำการจริงๆครับ

ซึ่งกว่าที่เวียดนามจะจัดหา Su-27SK ที่สมรรถนะสูงกว่า MiG-23 มากก็อีกหลายปีหลังจากนั้นคือปี 1995-1996

สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16A/B ADF ฝูง๑๐๒ นั้น

มองว่าด้วยงบประมาณที่จำกัดของไทย ระดับภัยคุกคามในปัจจุบัน และความเหมาะสมในหลายๆด้าน

กองทัพอากาศไทยน่าจะไม่มีการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่มาทดแทน F-16 ADF แล้ว

ไม่ว่าจะ Gripen C/D ระยะที่๓ สำหรับฝูง๗๐๑ ซึ่งจำนวน บ.ข.๒๐ ของไทยคงอยู่ที่ ๑๑เครื่องต่อไป

(SAAB ปิดสายการผลิต Gripen C/D ไปแล้ว และจะไม่เปิดใหม่ถ้าไม่มีลูกค้าจริงๆมากพอ ซึ่งการที่ไทยจะสั่งเพียง ๕-๖เครื่องคงจะเปิดสายการผลิตให้ไม่ได้เพราะไม่คุ้ม)

หรือเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ หรือ ๔.๗๕ แบบอื่น เช่น Typhoon, Rafale, F/A-18F ที่ราคาแพงมาก

MiG-35 Su-35 รัสเซียที่เครื่องยนต์อายุการใช้งานต่ำ ระบบเข้าพื้นฐานที่ไทยใช้อยู่เดิมไม่ได้เลย ดูได้จากตัวอย่างของประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาความพร้อมรบข้างต้น

รวมถึง J-10 และเครื่องบินขับไล่จีนแบบอื่นๆที่มีปัญหารูปแบบเดียวหรือมากกว่าเครื่องบินขับไล่รัสเซีย

ส่วนตัวมองว่ากว่าที่กองทัพอากาศไทยจะเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ได้จริง

ก็คงต้องรอให้มีประเทศเพื่อนบ้านสักประเทศประกาศจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ก่อน

ซึ่งตอนนั้นอาจจะเป็นช่วงที่จะต้องปลดประจำการ F-16A/B ฝูง๑๐๓ แล้วก็ได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 29/07/2017 19:56:47