https://www.facebook.com/Cincds/posts/1370631953057666
https://www.facebook.com/Cincds/posts/1368465796607615
https://www.facebook.com/Cincds/posts/1369549076499287
https://www.facebook.com/Cincds/posts/1369552666498928
การเยี่ยมชมเรือดำน้ำชั้น Kilo กองเรือทะเลดำ กองทัพเรือรัสเซียของ พลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าและคณะ เป็นเพียงหนึ่งในตารางการเยือนรัสเซียครับ
ซึ่งก็ที่เห็นในภาพประชาสัมพันธ์ของกองทัพพม่าว่านายพลอาวุโส Min Aung Hlaing ไปชมหลายหน่วยของกองทัพรัสเซีย ทั้ง BTR-82A Su-30SM Su-25 Su-34 เรือลาดตระเวน Moskva ฯลฯ
ประเด็นเรื่องการเยี่ยมชมเรือดำน้ำชั้น Kilo ก็น่าจะเป็นเพียงการศึกษาดูงานตามปกติ
โดยที่มีรายงานข่าวมาโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือพม่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านงบประมาณเป็นหลักครับ
เมื่อเกือบ ๑๕ปีก่อนช่วงที่กองทัพอากาศตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-5 ฝูง๗๐๑ นั้น รัสเซียก็เสนอ Su-30MK ของตนในโครงการ
ซึ่งได้มีการเสนอถึงการจัดซื้อแบบการค้าต่างตอบแทนโดยแลกเปลี่ยนกับสินค้าทางการเกษตร รูปเดียวกับกับที่มาเลเซียจัดหา Su-30MKM ในช่วงเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ตาม Su-30 หรือ Su-35 มีคุณสมบัติเครื่องที่ไม่เหมาะสมกับหลักนิยมการปฏิบัติงานของกองทัพอากาศไทยครับ
เนื่องจากเป็นเครื่องบินขับไล่หนักสองเครื่องยนต์ที่มีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง เครื่องยนต์ไอพ่นตระกูล Saturn AL-31 มีอายุการใช้งานต่ำถ้าเทียบกับ ย.ตะวันตก
อีกทั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ของรัสเซียที่ต้องจัดหามาใหม่ทั้งหมด ใช้งานร่วมกับระบบที่กองทัพอากาศไทยมีอยู่เดิมไม่ได้เลย
โดยการดัดแปลงติดตั้งระบบตะวันตกถึงจะทำได้ก็จริงแต่ก็ยุ่งยากในทางปฏิบัติ ดูได้จากตัวอย่างจาก MiG-29N และ Su-30MKM ของมาเลเซียทีมีปัญหาจุกจิกต่างๆ
ทำให้เครื่องบินขับไล่รัสเซียไม่เหมาะที่จะมาประจำการในกองทัพอากาศไทยซึ่งมีงบประมาณจำกัดเกินไปสำหรับการมีอากาศยานรบใช้งานสองค่ายพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลต่อความพร้อมรบในภาพรวม
ทั้งนี้เข้าใจว่าหลังการปลดประจำการ F-16A/B ADF ฝูง๑๐๒แล้ว ฝูงนี้จะว่างลงโดยยังไม่มีเครื่องใหม่มาแทนสักระยะเนื่องจากข้อติดขัดด้านงบประมาณเช่นกันครับ
เรือดำน้ำรัสเซียที่ พลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าและคณะเยี่ยมชมที่กองเรือทะเลดำที่ Sevastopol
คือเรือดำน้ำชั้น Project 636.3 Varshavyanka (Improved Kilo) ชื่อ B-237 Rostov na Donu ซึ่งเข้าประจำการเมื่อ 30 ธันวาคม 2014
ก็เห็นได้จากชุดภาพข้างต้นครับว่าเรือดำน้ำชั้น Kilo รัสเซียที่เพิ่งเข้าประจำได้ไม่ถึง ๓ปีนั้นมีสภาพภายในล้าสมัยกว่าเรือดำน้ำตะวันตกระดับหนึ่ง
ถึงระบบอำนวยการรบภายในเรือจะใช้จอแสดงผลสี แต่กล้องตาเรือยังดูเป็นระบบพื้นฐานมากเห็นได้จากการเดินสายไฟที่ยังเห็นเป็นเส้นๆ ระบบควบคุมก็ยังเป็นแบบระบบกลไกอยู่
ขณะที่เรือดำน้ำตะวันตกกล้องตาเรือเช่นของ Rheinmetall เยอรมนีเป็นระบบไฟฟ้า Electronic เต็มรูปแบบแล้ว aagth1.blogspot.com/2017/04/rheinmetall.html
ซึ่งกล้องตาเรือของเรือดำน้ำ Type 039A จีนก็เป็นรูปแบบเดียวกับเรือดำน้ำ Kilo รัสเซีย china-defense.blogspot.com/2017/04/photos-of-day-glimpse-inside-plan.html
ดังนั้นการที่จะกล่าวว่าถ้ากองทัพเรือพม่าจะเลือกเรือดำน้ำ Kilo รัสเซียเป็นความคิดที่ดีกว่าที่กองทัพเรือไทยเลือกจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนที่มีพื้นฐานจาก Type 039B จีน คงจะไม่ถูกเสียทีเดียวนัก
เพราะว่ากันตรงๆโดยความเห็นส่วนตัวคือเรือดำน้ำรัสเซียกับเรือดำน้ำจีนก็ดูพอๆกัน ถ้าเทียบกับเรือดำน้ำตะวันตกที่มีความก้าวหน้ามากกว่าครับ
ทำไมผมรู้สึกว่าจีนออกแบบ Periscop ให้ติดตั้ง DSLR เพื่อเก็บภาพและแสดงผลเลยครับ
กล้อง DSLR ที่ติดกับช่องมองของกล้องตาเรือดำน้ำ Type 039A ในภาพข้างต้นน่าเป็น Canon EOS xxxD series เช่น EOS 700D ครับ
ซึ่งที่เคยเห็นภาพการทำงานของระบบอาวุธรัสเซีย-จีนมาหลายระบบจะไม่มีระบบบันทึกภาพในตัวเอง ต้องใช้กล้องภายนอกมาทำการบันทึกภาพ
https://www.youtube.com/watch?v=wZEqC6gax3M
อย่างในสารคดีพาไปชมการทำงานของกองทัพรัสเซียที่ฐานทัพอากาศ Hemeymim ในซีเรียนี้
15:25-17:16 จะเห็นว่าสถานีควบคุม UAV ของรัสเซียมีการตั้งกล้อง DSLR ไว้บันทึกภาพการปฏิบัติภารกิจของ UAV ที่จับภาพขณะทำการบินอยู่
ซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นว่าระบบ UAV ของรัสเซียอาจจะไม่ระบบบันทึกข้อมูลในตัวเองครับ
ผมมองว่ากล้องในสถานี UAV เป็นของสำนักข่าวครับ เพราะเขาไม่สามารถให้ไฟล์ของระบบ UAV ได้เลยต้องถ่ายภาพจาก console โดยตรง ถ้าเป็นในอดีตที่เป็นอุปกรณ์อนาล็อคการใช้กล้องถ่ายคงไม่แปลกอะไรเพราะจำได้ว่าการ play back radar และ voice recorder ก็ใช้กล้องถ่ายภาพเหมือนกันครับ
ทร. ขอเปลี่ยนกล้องเปอริสโคปครับ ทันสมัยกว่ารุ่นที่ ทร.จีนใช้
ไปสืบค้นข้อมูลเรื่องการใช้กล้องถ่ายรูปกับกล้องตาเรือของเรือดำน้ำมา พบว่ากล้องตาเรือของเรือดำน้ำตะวันตกก็ออกแบบให้สามารถติดกล้องถ่ายรูปได้ครับ
ในภาพข้างต้นเป็นกล้องตาเรือของเรือดำน้ำ HMCS Windsor ชั้น Victoria กองทัพเรือแคนาดา
ซึ่งก็เห็นภาพเรือดำน้ำ U212A กองทัพเรือเยอรมนี ที่ใช้กล้องตาเรือ ของ Airbus DS Optronics(Carl Zeiss Optronics) ติดกล้อง DSLR เช่นกัน
ตรงนี้เข้าใจว่านอกจากการถ่ายรูปเพื่อการทำข่าวแล้ว ยังถูกออกแบบเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของเรือเองด้วย เช่น การฝึกโจมตีเรือผิวน้ำ หรือติดตามเรือที่กระทำผิดกฏหมาย
ปัจจุบันเรือดำน้ำตะวันตกยุคใหม่จะใช้กล้องสายชัก Optronics ซึ่งเป็นระบบ Electro-Optic ไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้ Lens แก้วกระจกให้แสงส่องผ่านโดยตรง และต้องเจาะท่อยาวจากหอเรือลงมาห้องควบคุมโดยตรงแล้ว
ซึ่งกล้อง Optronics mast จะมีความสะดวกในการใช้งานกว่ากล้อง Periscope mast มาก เพราะเรือสามารถดำที่ระดับกล้องตาเรือชักสายและหมุนกล้องเก็บข้อมูลที่ผิวน้ำได้อย่างรวดเร็วโดยข้อมูลภาพจะส่งเข้าสู่ระบบเก็บไปวิเคราะห์ได้แทบจะทันที
เรือดำน้ำยุคใหม่ของตะวันตกหลายชั้นจะมีกล้อง Optronics ใช้แทนหรือควบคู่ไปกับกล้อง Periscope แบบดั้งเดิมครับ
แต่ก็ไม่ทราบว่าว่าเรือดำน้ำ S26T ที่กองทัพเรือไทยจะจัดหาจากจีนจะติดกล้องตาเรือที่ทันสมัยกว่าที่จีนใช้เองแบบใดครับ
กล้อง DSLR รุ่นสูงๆประสิทธิภาพมันก็เกรดการทหารนั่นแหละ อย่าได้ดูถูกเชียว