ถ้าไม่รวม AIP
ไม่ทราบว่า S26T มีอะไร ที่เหนือกว่า หรือใกล้เคียงกับ Kilo class ของเวียดนามบ้างครับ
ขอ สัก 10 ข้อที่เหนือกว่า พอมีถึง 10 ข้อใหมครับ
เหตุผลที่สอง
ปฏิบัติการในเขต shallow นํ้าตื้นได้ดีกว่าเรือ uss los angeles ขนาด 6 พันตัน
3.มีอาวุธปล่อยที่สามารถยิงจากใต้นํ้าได้ โดยเรือแบบอื่นที่นำเสนอทำไม่ได้หรือไม่มีให้
4.แถมทุนระเบิด โดยเรือประเทศอื่นไม่มีให้และไม่ขายให้ คาดว่าเวียดนามก็จะไม่มีไอเทมเทพแบบนี้
5.ถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งทุกประเทศไม่มีให้แบบนี้(เห็นในเฟส ไทยอาร์มว่านะ)
6.ดำนํ้าโดยใช้ AIP นานสุด 21 วันซึ่งเวียดนามสู้ไม่ได้แน่นอน
7.สร้างโรงจอดเรือให้ฟรี
8.เป็นเรือรุ่นใหม่กว่าและเป็นความลับที่จีนยอมให้แบบไม่เต็มใจเพราะมีเทคโนโลยีสุดลำ้ซึ่งเรือเวียดนามเก่าและไม่สามารถทัดเทียมในส่วนนี้ได้
9.สามารถป้องปรามได้ตั้งแต่ยังไม่ได้ต่อเรือ เพราะเรือมีอาวุธที่สุดยอด หากเรือเวียดนามได้ยินเสียงจริงๆจะกลัวอย่างมาก
10.สามารถฝ่าเข้าดงทุนระเบิดได้ดีกว่าเพราะเห็นบอกว่าจะใช้ในภาระกิจวางทุนระเบิด ทำให้ตัวเรือแข็งแกร่งแบบเยี่ยม และในอนาคตอาจสามารถกวาดล้างและทำลายทุนระเบิดได้ดีกว่าเรือกวาดทุนระเบิดขนานแท้ ซึ่งในส่วนนี้ kilo class ของเวียดนามทำไม่ได้
เหตุผลแรกแพงกว่า
ดีลของเวียดนาม 330 ล้านดอลต่อลำ (2 พันล้านดอลต่อ 6 ลำ)
ดีลของเรา 390 ล้านดอล (นี้ยังไม่รวมค่าโน้นค่าในอนาคตอีกนะ)
ได้ของดีขนาดนี้ ปรบมือสิครับ รออะไร
เห็นพูดกันว่าจีนจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เรา เทคโนโลยีที่ว่านั่นคือเทคโนโลยีอะไรหรอครับ สอนสร้างตอปิโดหรือป่าว หรือสอนต่อเรือ พอมีใครทราบข้อมูลบ้างไหมครับ
อย่าถามเลยครับว่าจะถ่ายทอดอะไร คนพูดเขาก็ยังไม่แน่ใจเลยมั้ง พูดๆ ไปก่อนให้ดูเหมือนมันดี เดี๋ยวอะไรๆ มันก็เปลียนแปลงไปได้ ตอนแรกพูดอย่าง ตอนหลังกลายเป็นอีกอย่าง ปวดหัว สเป็กแล้วแต่สะดวกครับ พูดๆ มาได้เลย เดี๋ยวจีนเนรมิตให้ได้ครับ
หมายถึง major maintenance แบบเดียวกับที่มาเลทำได้เองกับเรือดำน้ำ Scorpene ซึ่งจะใช้อู่ต่อเรือ BHIC จัดการทั้งหมด โดย DCNS คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ แบบนี้ใช่หรือเปล่าครับ มันก็เป็น offer ธรรมดาทั่วไปนะ รู้สึกทางมาเลเขาได้สัมปทานเขตอาเซี่ยนทั้งหมดด้วย ส่วนทางเรา ???
แหม่...นี่ผมลงทุนใช้อากู๋เพื่อใส่ข้อมูลให้ถูกต้องเชียวนะ จำไม่ได้หรอกอู่เขาอะไรกันแน่ ไม่เหมือนของพี่สิงโด่งดังมาเนิ่นนาน
แต่ก่อนไม่เคยสนใจว่าประเทศเพื่อนบ้านได้อะไรจากการซื้ออาวุธบ้าง นับตั้งแต่ดีลเรือดำน้ำจีน ผมต้องรีบศึกษาเพิ่มเติมในบัดดล ประมาณว่ากลัวโดนต้มหมู
พูดถึงเรือดำน้ำมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกแล้ว ประเทศแอฟริกาใต้วางแผนซื้อ Type-209/1400 จากเยอรมันจำนวน 4 ลำ สุดท้ายเงินไม่พอเลยลดเหลือ 3 ลำตามลำดับไหล่
SAS Manthatisi (S101) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำแรกเข้าประจำการในปี 2005 ต่อมาเพียง 2 ปีก็ถูกให้ออกจากราชการชั่วคราว เพราะกองทัพเรือต้องการใช้งานเรือเพียง 2 ลำ เนื่องด้วยกระเป๋าฉีกหรืออย่างไรคงเดากันออก เรือดำน้ำขนาด 1,450 ตันลำนี้นอนกินฝุ่นอยู่ 7 ปีเต็ม ก้อนเข้ารับราชการอีกครั้งในปี 2014
ค่าน้ำมันและค่าซ่อมบำรุงเรือดำน้ำขนาด 1,450 ตันจะแพงอะไรนักหนา สู้ป๋าไตแลนโอนลี่ก็ไม่ได้ ลำใหญ่กว่าตั้งเกือบ 2 เท่าเชียวนะนั่น
ที่ว่าเขาจะถ่ายทอดการซ่อมสร้างระดับโรงงานให้ กับเขาอนุญาตให้ลอกแบบเทคโนโลยีตามสบาย และให้เข้าถึงทุกซอกทุกมุม(source code) มีหลักฐานยืนยันไหมครับ
ขนาดตอนเอกสารหลุดออกมายังบอกเลยว่าถ้าต้องการเทคโนโลยีทรานส์เฟอยังต้องเสียเงินเพิ่มเลย
ถ้าไม่มีหลักฐานก็ออกแนวมโน เตะเข้าโกลด์ตัวเองอีกครั้ง
อยากรู้ครับว่าทำไมของอินโดโดนต้มครับ
เป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีหลักฐานนะฮะ
เปรูก็ปรับปรุงเรือดำน้ำที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 198x ภายในประเทศตัวเอง โดย ThyssenKrupp จะเข้ามาช่วยเหลือให้คำแนะนำตามสัญญา
เหมือนโครงการ F-16 MLU นั่นแหละครับ ที่เราทำเองภายในประเทศ ส่วนคนของล๊อคฮีคมานั่งจิบกาแฟดูหนังออนไลน์ อันไหนติดขัดค่อยลงมาช่วย
http://navaltoday.com/2016/06/07/tkms-to-modernize-four-peruvian-navy-submarines/
Peruvian naval shipyard SIMA has contracted German thyssenkrupp Marine Systems to modernize the Peruvian Navy HDW 209/1200 class submarines.
Spanning a period of seven years, the contract is worth around €40 million (approx. $45.44M), the company said.
The four submarines – named Angamos, Antofagasta, Pisagua and Chipana – were built in the early 1980s at the thyssenkrupp Marine Systems shipyard (at that time HDW – Howaldtswerke-Deutsche Werft GmbH) in Kiel and have been used by the Peruvian navy ever since, forming the backbone of the Peruvian submarine fleet.
A key component of the order is the provision of consulting during the planning and realization of the modernization work. Among other things thyssenkrupp Marine Systems will perform engineering and technical services such as cutting and welding on the submarines and will make specialists available to provide local support.
Andreas Burmester, CEO of thyssenkrupp Marine Systems: “We are pleased to be continuing our cooperation with the Peruvian navy. We have consistently expanded our service business over the years to be a reliable partner to our customers over the entire life cycle of naval vessels and submarines. This order shows we are on the right track.”
อู่ต่อเรือ SIMA ของเปรูอยู่ในระดับใกล้เคียงประเทศไทย ต่อเรือตรวจการณ์ออกมาเยอะพอสมควร แต่ยังไม่ถึงระดับเรือฟริเกตถ้าจำไม่ผิด ใช้วิธ๊ซื้อแบบเรือมาต่อเองเหมือนเรานี่แหละ โครงการปรับปรุงเรือดำน้ำน่าจะใหญ่โตที่สุดแล้ว รอดูผลงานของเขาแล้วค่อยรอดูผลงานของเราบ้าง เดี๋ยวนี้ประเทศที่ต้องส่งเรือดำน้ำกลับไปปรับปรุงที่แหล่งผลิตมีน้อยเต็มทีแล้ว
อาวุธสมัยใหม่ไม่ได้ปรับปรุงยากเย็นอะไรนัก ไม่สิ...ควรใช้คำว่าต้องไม่ปรับปรุงยากเย็นอะไรนักถึงจะถูก
ความเห็นผมน่ะครับ ไม่ว่าจะเลือกเรือดำน้ำจากที่ไหน ด้วยจำนวนที่ซื้อเพียง 1 ลำ แล้วหากเค้าให้เราสามารถซ่อมบำรุงระดับ overhual ใหญ่ได้ ปรับปรุงเองได้ ก็น่าพอใจ ซึ่งก้าวต่อไปลำที่ 2 , 3 ก็ขอให้เป็นระดับนำชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศได้ก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก ส่วนการสร้างในประเทศผมคิดว่าคงยากเพราะด้วยจำนวนเรือและงบประมาณคงทำไม่ได้แน่
เอาแค่การได้ซ่อมบำรุงระดับโรงงานได้นี่ก็ถือว่าดีแล้วครับสำหรับก้าวแรกของเรือดำน้ำหลังจากที่ห่างไปเกือบๆห้าสิบปี ส่วนการประกอบภายในประเทศนั้นขอเป็นเรือผิวน้ำจะดีกว่าครับ น้อยครั้งนะครับที่ผู้ผลิตจะยอมให้ซ่อมบำรุงในระดับ D- Level ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าจะยอมก็จะเป็นในระดับ L -Level เสียมากกว่า โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก ยกตัวอย่างง่ายๆก็ฮาร์พูนของเรานี่แหละเวลาถึงรอบ PM หรือ เปลี่ยนอุปกรณ์บางอย่าง เราแตะไม่ได้เลย ต้องส่งกลับให้ทางโน้นเค้าทำให้อย่างเดียว พอทำเสร็จก็ค่อยส่งใบเสร็จมาเก็บเงินว่าทำอะไรเปลี่ยนอะไรไปบ้าง บรรเทิงดีไหมครับ ส่วนจะให้เอาหลักฐานมายืนยันคงไม่มีครับแรงมโนล้วนๆ 555555 บางทีก็ฝันเอาครับว่าได้อย่างโน้นได้อย่างนี้ บางทีก็เดินไปสะดุดถุงใส่ปลาหมึกปิ้งมั่ง ประมาณนี้ อิอิ
หลักฐานไม่มี ก็น่าจะทำ ปีกกาไว้น่ะครับ คนอ่านจะได้เข้าใจ คือ เวปมันน่าเชื่อถือ คนเอาไปอ้างอิงเยอะครับ
#มโนล้วนๆ #ความเห็นส่วนตัว #ถ้าจะอ้างอิงก็ข้ามไปเถอะ
ไทป์218 ผมยังเชื่อว่าไม่ดีกว่า กิโล เกิน 10 ข้อเลยครับ ด้วยราคาเท่านี้ การจะหาข้อดีของ เอส26ที เกิน 10 ข้อ ผมว่า "มันเกินไป" ครับ
ผมว่าในห้วงชีวิตของทุกท่านในเวปนี้ ก็ไม่มีใคร เคยเห็น เรือดำน้ำรบกันจริง ๆ มากสุดก็ได้ยินได้ศึกษาเรือดำน้ำเกาหลีเหนือที่ยิงเรือคอเวตต์เกาหลีใต้ด้วยตอร์ปิโด ธรรมดา ๆ ขาดกลาง ตายยกลำแค่นั้น
เรือดำน้ำ สำหรับประเทศไทย...หลักสำคัญ คงไม่ใช่ เรือดำน้ำแบบไหน ดีกว่า แบบไหน...
แต่ม้ันอยู่ที่ ความเหมาะสม และมีความสามารถที่ดี ใน สภาพภูมิประเทศของประเทศไทย...
S-26T มันก็เปรียบเหมือนกับ เอา ร.ล.กระบี่ ไปตรวจการณ์ ในลำน้ำโขง นั่นแหล่ะครับ...
มันไม่ได้มีเหมาะสม กับ สภาพภูมิประเทศ ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบอะไรเลย...
ซึ่ง สภาพอ่าวไทย มันไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ ระดับความลึก เท่านั้น...แต่โดยสภาพของน้ำขึ้น น้ำลง ของทะเล...
สภาพกระแสการไหลของทะเล...สภาพของอ่าวไทย ที่ไม่มีเกาะแก่ง ให้อำพรางตัว...ก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดคุณลักษณะเรือดำน้ำที่มีความเหมาะสม...ซึ่งมันก็ปรากฎอยู่ในเหตุผล การคัดเลือกเรือดำน้ำของไทย มาเกือบจะ 100 ปี แล้ว....
แม้ในอ่าวไทย จะปรากฎ การมีเรือดำน้ำมาวางทุ่นระเบิด แต่มันก็มีเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น...นอกนั้น สัมพันธมิตร จะใช้เครื่องบิน มาหย่อนทุ่นระเบิด ทั้งนั้น...ซึ่งจะแตกต่างจาก ฝั่งทะเลอันดามัน ที่ปรากฎการณ์ใช้เรือดำน้ำมาวางทุ่นระเบิดในน่านน้ำไทย หลายครั้ง...ตามแผ่นภาพ ที่ผมเคยได้จัดทำขึ้น...ซึ่งมันก็เป็นข้อมูลได้ในระดับหนึ่งว่า...ในสภาพอ่าวไทย...ไม่มีใครอยากจะใช้ เรือดำน้ำ มาปฏิบัติการกันเท่าไหร่...
ซึ่ง คนที่เห็นด้วยกับการมีเรือดำน้ำ แต่คัดค้านการจัดหา S-26T ก็เพราะ คุณสมบัติ มันไม่เหมาะสม...และไม่ใช่แค่นั้น...ข้อเท็จจริง ที่ปรากฎในอดีต แม้แต่ รัสเซีย เคยเสนอให้ ทร.ไทย ทดลองใช้ หรือ ทดลองให้เช่า เรือดำน้ำ Kilo ในอดีต...กองทัพเรือ ก็ปฏิเสธ และไม่ได้มีความสนใจใน คุณลักษณะของ เรือดำน้ำ ชั้น Kilo เลย...
ข้อเท็จจริง ที่ปรากฎในอดีต กองทัพเรือไทย ก็ล้วนแต่จัดหาเรือดำน้ำ ที่มีระวางขับน้ำ แม้แต่ในขณะดำ ก็ไม่เกิน 1,500 - 1,600 ตัน เลย...ตามแผนภาพที่ผมเคยรวบรวมข้อมูล
และยิ่ง ทร. จะบอกว่า เพื่อให้ สมดุลย์ กับ ประเทศเพื่อนบ้าน...ข้อเท็จจริง ก็ปรากฎว่า...ประเทศเพื่อนบ้าน กลับมีเรือดำน้ำ ที่สามารถปฏิบัติในบริเวณทะเลเปิดที่มีระดับความลึกเหมาะกับการปฏิบัติการด้วยเรือดำน้ำแล้ว...เรือดำน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน ยังมีคุณลักษณะ เหมาะสมกับ การปฏิบัติการในอ่าวไทย ได้ดีกว่า S-26T เสียอีก...
ในความเห็นผม...ตอนนี้...ถ้าจัดหา เรือดำน้ำ ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงความต้องการแล้ว...ก็อย่ามี เลยจะดีกว่า...อย่า สักแต่ว่า มี...
และยิ่ง ข้อมูลว่า...จีน มีการแก้แบบเรือ ให้ตรงกับความต้องการของ ไทย...ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น นั้น...ผมว่า มันแค่ การมโน ตามข้อมูลทางเทคนิคในกระดาษ เท่านั้น แหล่ะครับ...
ขนาด สเปน สร้าง S-80 และ อินเดีย สร้าง สกอร์ปิเน่ ตามแบบ...ยัง ไม่ใช่จะสำเร็จแบบง่าย ๆ...
หรือแม้แต่ จีน เอง ที่ทำการปรับแบบ ทรงเรือดำน้ำ Type-039C ยังต้องใช้ระยะเวลาทดสอบ หลายปี ซึ่งเพิ่งจะนำเข้าประจำการเมื่อปีที่ผ่านมาเท่านั้น...และเป็นลำต้นแบบ....
ดังนั้น การที่คิดว่า แก้แบบใน กระดาษ แล้วจะทำให้มันดีขึ้น...ผมไม่เชื่อถือในข้อมูล เลยสักนิดครับ...มันต้อง สร้างเสร็จแล้วทดสอบ แหล่ะครับ...มันถึงจะมีข้อมูลที่เชื่อถือได้...
ซึ่ง มันก็ นำไปสู่ประเด็น ที่ว่า.... ทร. รวยงบประมาณ ขนาดซื้อเรือดำน้ำ ที่แก้แบบในกระดาษและเชื่อในทางเทคนิคว่า มันด่ี...มาประจำการเหรอครับ ?
ซึ่งมันก็คงเหมือนกับที่ กรมขุนสงขลานครินทร์ ที่เป็นผู้จัดทำรายงาน เรื่อง เรือ ส. ว่า...ถ้า จัดหาเรือดำน้ำแล้วไม่ได้ดี ก็อย่ามี มันเปลืองเงิน...นั่นแหล่ะครับ...
ระบบภายในเรือดำน้ำเยอรมนีย่อมจะมีความเหนือกว่าระบบภายในเรือดำน้ำจีนอยู่แล้ว
แต่ถ้าจะบอกว่าเรือดำน้ำจีนมีสภาพย่ำแย่จนใช้งานไม่ได้ก็อาจจะเป็นการกล่าวที่เกินไปหน่อย
จะเห็นได้จาก Clip ข้างต้นว่า เนื้องานเหล็กภายในตัวเรือดำน้ำจีนยังค่อนข้างหยาบถ้าเทียบกับเรือตะวันตก
แต่การเดินสายท่อค่อนข้างจะดูเรียบร้อยดี การจัดเครื่องวัด อุปกรณ์ และสภาพภายในตัวเรือโดยรวมดูเรียบร้อยสะอาด
ทั้งนี้ในภาพรวมเรือดำน้ำรัสเซียอย่างชั้น Kilo หรือ Type 039A ของจีนจะเหมือนกันตรงที่ยังมีความก้าวหน้าทางวิทยาการตามหลังเรือดำน้ำตะวันตกอยู่หนึ่งGeneration ครับ