เพิ่งอ่านข่าวจากเพจท่าน AAG_TH ว่าแอลจีเรียเพิ่งรับเรือ Meko A-200 ระบบต่างๆก็ใช้ของ SAAB ยกแผงคล้ายๆเรือหลวงท่าจีนของเรา แต่มาสะดุดตรงเขาเลือกใช้ RBS-15 mk3 ตั้ง 16 นัดแทนที่จะเป็น Harphoon แบบเรา
สิ่งที่สงสัยคือ
1. จรวดชนิดใดมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากัน
2. จรวดชนิดใดราคาถูกกว่ากัน
3. ระหว่างติดฮาร์พูน 8 นัด กับติด RBS-15 16 นัดแบบแอลจีเรีย อันไหนจะดีกว่า
ไม่แน่ใจเรื่องราคาลูกจรวดว่ามันถูกกว่าหรือเปล่า แบบว่าแอลจีเรียใช้เรือแพง เลยลดเกรดอาวุธประจำเรือลงอะไรแบบนี้หรือเปล่า
แอลจีเรียเป็นประเทศที่มีเงินครับ มีเงินเยอะด้วย แต่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของคนในการทำงานใหญ่ จะซื้ออะไรซักอย่างเลยรวมเป็นก้อนเดียวให้คนขายจัดหามาให้
การจัดหาเรือฟริเกตจากเยอรมันยังได้รวมกับจัดหาจรวด RBS-15 และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเข้าไปด้วย (น่าจะ Super Lynx) ซึ่งถ้า SAAB เป็นเจ้าภาพการขายจรวดมันก็ง่ายเข้าไปอีก
ลองมาดูเรือ LPD ซึ่งเป็นเรือธงของเขาสิครับ ราคา 500 ล้านยูโร ติดตั้งระบบเรดาร์ทันสมัยจากอิตาลีและจรวดต่อสู้อากาศยาน ASTER ด้วย
ปัญหาของอัลจีเรียก็คือ ใช้เรือรบจากประเทศรัสเซีย เยอรมัน จีน และอิตาลี รวมทั้งใช้อาวุธจากรัสเซีย จีน เยอรมัน อิตาลี สวีเดน อังกฤษ แอฟริกาใต้ และอื่น ๆ อีกมากมาย คือแต่ละลำก็แยกกันไปเลย ไม่ต้องมาพูดเรื่อง datalink เพราะมันไม่มีแน่นอน นั่นแหละครับท่านผู้ชม
RBS-15 โก็มีคนใช้พอสมควรนี่ครับ สวีเดน โปแลนด์ เยอรมัน ฟินแลนด์ ราคาก็คงไม่ต่างจากฮาร์พูนเท่าไหร่ ระยะยิงน่าจะไกลกว่าที่ 200 กม.ในรุ่น MK3
ทั้งหมดตอบจากความจำนะครับ อาจมีผิดพลาดไปบ้างช่างมันเถอะ ถ้าพึ่งพาวิกิกับอากู๋มากเกินไป ผมรู้ว่าตัวเองไร้ค่ายังไงก็ไม่รู้ เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่เลยตอบแบบพิมพ์เลย อันไหนสงสัยค่อยไปหาข้อมูลอีกที
ขอบคุณครับท่าน superboy แหม่ ถ้าท่านรู้สึกว่าเปิดอากู๋หรือวิกิแล้วไร้ค่านี่ ผมที่มีอากู๋กับวิกิเป็นเพื่อนตายก็ไม่รู้จะอยู่บนโลกได้อย่างไรแล้วล่ะ 555
ส่วนตัวชอบ RBS-15 มากกว่าฮาร์พูนนิดนึงตรงที่นอกจากจะยิงไกลกว่าแล้วยังมีความสามารถในการโจมตีฝั่งด้วยซึ่งตรงนี้เห็นว่าฮาร์พูนก็จะทำให้มีความสามารถนี้เช่นกันแต่ยังไม่มีใครกล่าวถึง นึกถึงคล้ายๆกรณีเรือซาอุที่โดนเยเมนยิงด้วยฐานปล่อยจรวดจากริมฝั่ง ถ้าเรือมีอาวุธที่จะตอบโต้ได้ก็ถือว่าดีกว่า อุ่นใจกว่ายิ่งถ้ายิงจากระยะ 200 กม. ด้วยยิ่งอุ่นใจจัดเลย
อย่าถือสาผมเลยครับท่าน GT500 โชีวิตมันวุ่นวายไม่รู้อะไรต่อมิอะไรประดังเข้ามา อารณ์และความรู้สึกก็เลยแปรปรวนราวกับเด็กสาวอายุ 16 นี่ผมไม่ได้เป็น men นะเออ 555
มันเคยมีดีลของอินเดียและอเมริกาอยู่ตอนปี 2009 ว่า
170 ล้านดอล กับ ฮาร์ปูน 24 ลูก ตกลูกละ 7.08 ล้านดอล
ตอนปี 2006 ดีลของโปแลนด์กับสวีเดน ว่า
140 ล้านดอล กับ RBS-15mk.3 36 ลูก ตกลูกละ 3.88 ล้านดอล
แต่ว่าดีลของอินเดียมันจะมีพวกระบบพ่วงท้ายอะไรๆด้วย คิดว่าของโปรแลนด์ก็คงจะคล้ายๆกัน
ถ้าจำไม่ผิดฮาร์ปูนถ้าจะเอาเฉพาะจรวดน่าจะตกลูกละ 7-8 แสนดอล ส่วน RBS-15 mk.3 ลูกเท่าไหร่อันนี้ยังไม่รู้
ส่วนที่ว่าทำไมแอลจีเรียเลือก RBS-15 mk.3 ทำไมไม่เลือก harpoon คือต้องเข้าใจก่อนว่าในเรือของเยอรมันเคยใช้ทั้ง
exocet mm38 , RBS-15 ,harpoon ทั้งนั้นครับ ทั้งคอร์เวตและฟริเกต คือเรือ A-200 ของแอลจีเรียมันมาจากรุ่นก่อนน่านี้ที่แอฟริกาใต้ซื้อไปใช้ และคิดว่าแอฟริกาใต้ก็ใช้ กริฟเฟนด้วยคงอยากให้มี datalink พวกนี้มั้งในตอนนั้นเลยเลือกของสวีเดนมาใส่เรือ
พอเรือ A-200 ของแอฟริกาพัฒนามาเป็นเรือแอลจีเรียเลยยังคงคอนเซ็ปไว้ก็ได้มั้งนะคิดว่า
ผมก็ยังรู้สึกว่า harpoon มันตกยุคและไม่มีการพัฒนาอะไรใหม่ๆ เพียงแต่มันใช้กันมานานเป็นมาตรฐาน
ถ้าให้เลือกผมเอา rbs mk3 ระยะยิงไกลกว่า แล้วก็โจมตีฝั่งได้ ถ้าจำไม่ผิดตั้ง waypoint ได้ด้วย ส่วนฮาร์พูนไม่น่าจะมีโหมดนี้
งั้นฟรืเกตลำที่สองถ้าได้ต่อในอนาคต ไม่เอา mk141 แฝดสี่ แต่เปลี่ยนเป็น vls 16 เซลแล้วยัด rbs-15 mk3 8 ลูกแทนดีไหม
เรือฟริเกตชั้น Valour กองทัพเรือแอฟริกาใต้นั้นเป็นแบบเรือ MEKO A-200SAN อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำประจำเรือเป็นแบบ Exocet MM40 Block 2 ครับ
ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon รุ่นที่ใช้งานกับเรือรบผิวน้ำส่วนใหญ่ของกองทัพเรือไทยคือ RGM-84D Harpoon Block 1C นั้นสามารถตั้งค่าจุดเลี้ยวได้สามจุด(3 Waypoint) ซึ่งเป็น อวป.แบบแรกๆที่ทำได้ครับ
ของอินเดียน่าจะเป็นรุ่นใช้ยิงจากเรือดำน้ำเยอรมันนะครับ ซึ่งก็ต้องมีท่อยิงอะไรพวกนี้ด้วย
อันที่จริงเรื่องเรือออกแบบให้ติดจรวดได้กี่นัด รวมทั้งจรวดทันสมัยมากน้อยแค่ไหนไม่ใช่เรื่องใหญ่สุด ปัญหาใหญ่สุดที่มีมาแต่เนิ่นนานและเป็นกันทุกชาติก็คือ "จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อจรวดมาใส่บนเรือ" ทำให้เรือส่วนใหญ่ออกแบบรองรับจรวดเพียง 8 นัด นอกจากจะใช้ระบบแท่นยิงแนวดิ่ง VLS ซึ่งมีราคาแพงยิ่งกว่าแท่นธรรมดาเข้าไปอีก งบบานปลายหัวแตกมากขึ้นไปอีก
ปัญหาพวกนี้มีกันทุกชาติแหละครับ (ยกเว้นจีน อเมริกา รัสเซีย) ขนาดอังกฤษเงินถุงเงินถังยังไม่มีปัญญาซื้อฮาร์พูนมาใส่บนเรือผิวน้ำเลย (แต่มีเงินซื้อโทว์มาฮอกใส่เรือดำน้ำ) ทีนี้มาดูอินโดกันบ้างนะครับ พวกเขาซื้อเรือคอร์เวตมือ 2 จากอังกฤษ 3 ลำ (รุ่นที่บรูไนสั่งซื้อแต่ไม่เอานั่นแหละครับ) ซึ่งตามสเป็กติดเอ็กโซเซ่ต์ได้ 8 นัด แต่ตอนใช้งานจริงติดแค่ 2 นัดเท่านั้น เพราะในท้องพระโรงไม่มีอัญเพียงพอ
โดยส่วนตัวมองว่าจรวดบนเรือฟริเกตใช้แค่ป้องกันตัว ประเภทไปจอดเป็นขบวนแล้วระดมยิงใส่ชายใั่งมันต้อง อเมริกา รัสเซีย และจีนเท่านั้น ต่างจากเรือเร็วโจมตีซึ่งเอาไว้โจมตีตามชื่อนั่นแหละ แต่ปัจจุบันเรือ FAC ถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินเจ็ตไปเสียเยอะแล้ว อย่างนอร์เวย์ที่มีโคตรเรือ FAC ที่วิ่งได้เร็ว 60 นีอต(ลืมชือ) ก็ตัดสินใจไม่ปรับปรุงเรือใหม่และปลดประจำการเร็วขึ้น ยกหน้าที่ให้กับ F-35 กองทัพอากาศรับไป
ส่วนที่ว่าทำไมแอลจีเรียติด RBS-15 ถึง 16 นัด ผมเองก็ใบ้รับประทาน เพราะคุณพี่ลงทุนจัดหาจรวดต่อสู้เรือรบเสียเยอะ แต่ใช้จรวดต่อสู้อากาศยาน Umkhonto MK I ของแอฟริกาใต้ที่มีระยะยิง 10 กม.เท่านั้น (รุ่นใหม่ MK II ทันสมัยขึ้นระยะยิงเพิ่มเป็น 15 กม.แต่ยังไม่ขายต่างชาติเพราะใหม่เกิ๊น) ระบบเป้าลวงธรรมดาเกินไป ไม่มีระบบ CIWS แต่ใช้ปืน DSM-30MR เหมือนของเราซึ่งมีอัตรายิง 200 นัด/นาทีเท่านั้น เรือเยอรมันเลยดูเสียของยังไงพิกล เพราะถ้าขน RBS-15 ไประดมยิงใส่.....แอฟริกาใต้ก็ได้ แล้วโดนสวนกลับมาแค่ 2 นัดผมว่ามีเฮกันบ้าง แถมใส่ปืน 5 นิ้วรุ่นใหม่ต่างหาก ทำอย่างกับว่าอีกฝ่ายไม่มีเขี้ยวเล็บหรือไงกัน
เรื่องป้องกันตนเองจากจรวดฝ่ายตรงข้าม เป็นจุดอ่อนใหญ่มากของเรืออัลจีเรียลำนี้ เพราะ Umkhonto MK ประสิทธิภาพด้อยกว่า VL MICA ด้วยซ้ำ ไม่มี CIWS ปืนหลักใช้ยิงต่อสู้อากาศยานไม่ได้ ปืนรองก็หนองเหน่งหนองแกละ ระบบเป้าลวงไม่มาเต็ม ระบบสงครามอิเลคทรอนิคน่าจะไม่มีอะไรเลยนะ จำได้ประมาณนี้ครับ
ผมไม่รู้นะว่า rbs ยิงจาก vls ได้ด้วย
เท่าที่เห็นยิงจากกล่องเฉพาะหน้าตาประหลาดๆ
เรือฟริเกตแอฟริกาใต้ไม่มีดาต้าลิงค์กับกริเพนนะครับ การจัดซื้อเรือและเครื่องบินทำพร้อมกันด้วยงบประมาณเดียวกัน รวมทั้งเรือดำน้ำ เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินฝึก อ้อ ปรับปรุงรถถังหลักด้วย
งบประมาณสุงมาก....และบานปลายอย่างไม่ต้องคาดเดา สุดท้ายมีการลดจำนวนลง อย่างเรือดำน้ำก็ลดจาก 4 ลงมาเหลือ 3 ลำ เรือฟริเกตใช้ระบบอำนวยการรบอะไรซักอย่างแต่ไม่ใช่ SAAB แน่ คือทั้งลำมี SAAB แค่ระบบสงครามอิเลคทรอนิค อันนี้จำได้เพราะผมเขียนบทความถึงทั้งโครงการเรือฟริเกตและเรือดำน้ำ เขาต้องการประหยัดที่สุด และใช้ผลิตภัณท์ที่สร้างเองในชาติบนเรือให้มากที่สุด ต่างจากไทยที่ต้องการให้เขัากับระบบมาตราฐานคือ SAAB ต่างจากอัลจีเรียที่ไม่เข้าระบบอะไรเลย แต่ตรูมีเงินและจะเอาแบบนี้มีอะไรมั้ย
RBS-15 ไม่มีรุ่น VLS นะครับ บนเรือวิสบี้ของสวีเดนจะมีช่องด้านข้างตัวเรือส่วนที่เรียกว่า HULL สำหรับให้จรวดวิ่งออกซ้าย-ขวา แต่ไม่รู้ตรงไหนเหมือนกันเพราะสวีเดนหวงภาพถ่ายมาก ผมเคยนั่งหาอยู่นานจนถอดใจช่างแม่ม
มีอีกเรื่องเพิ่งนึกออก เยอรมันคือชาติที่มีระเบียบวินัยสุง ขยันและตั้งใจทำงาน มีความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ ความกดดันและอะไรมากมายไม่ส่งผลกับเขาเลย นี่คือเยอรมันที่ทุกคนรู้จักดี ผมเองเคยทำงานร่วมกับเยอรมันในไทยอยู่ 3 ปี แบบนี้แหละ (ยกเว้นเพิ่มติดหญิงขึ้นมาอีกเรื่อง)
พวกเขาใช้จรวดต่อสู้เรือรบเริ่มจากเอ็กโซเซ่ต์ ฮาร์พูน RBS-15 MK3 และมีแผนว่าจะไปรุ่น MK4 ซึ่งมีระยะยิงไกลมาก (ใกล้เสร็จแล้ว) แต่ในช่วงต้นปีนอร์เวย์ซื้อเรือดำน้ำ Type 212 จำนวน 4 ลำจากเยอรมัน สิ่งที่ตามมาก็คือเยอรมันจะสั่งซื้อจรวด NMS มาติดตั้งบนเรือรบตัวเอง MK4 ก็กลายเป็นหมันไป
ประสิทธิภาพ ความทันสมัย ขนาดของจรวดและหัวรบ อยู่ตรงไหนในการพิจารณาการซื้อจรวดครั้งนี้ ?? ไม่มีเลยครับเรื่องการค้าล้วน ๆ รองมาก็คือการค้าในอนาคต นั่นคือจรวดแต่ละแบบไม่ได้แตกต่างกันจนเยอรมันรับไม่ได้ ฉะนั้น ผมเห็นตามว่าอยากใช้รุ่นไหนก็ใช้ไปเถอะ สุดท้ายก็ใช้ซ้อมยิงกับเป้าเช่นเคย
อีกเรื่องก็คือ เทรนด์จรวดต่อสู้เรือรบยิงใส่เป้าหมายบนบก รวมทั้งจรวดร่อนโจมตีชายฝั่งขนาดไม่ใหญ่เท่าไหร่นี่มันเกิดขึ้นประมาณ 10 ปีแล้ว ซึ่งในตอนนี้ชาตินาโต้ที่เคยอยากได้ถอยห่างกันไปเกือบหมด เพราะผลการรบแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ที่รัสเซีย อเมริกา ระดมโชว์ให้โลกประจักษ์มันก็ไอ้เท่านั้น คือไม่ได้ดีเด่นเวอ่อวังแบบที่เคยวาดฝันเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ตอนนี้ชาตินาโต้เกือบทั้งหมด กำลังไล่อัพเกรดเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ ให้รับมือกับขีปนาวุธข้ามทวีปที่หล่นลงมาจากอวกาศได้ในระดับหนึ่ง นี่อาจจะเป็นเทรนด์ใหม่หรือเป็นเฟส 2 ที่เพิ่งพัฒนาเสร็จ ภัยคุกครามเปลี่ยนไปไวมาก ความน่ากลัวของเรือรบลดน้อยลงมากกว่าเดิม ความน่ากลัวของเรือดำน้ำมีมากขึ้นเพราะมันทันสมัยมากขึ้น
เอ่อ....จะยกเว้นก็เพียงบางประเทศ ที่ซื้อเรือดำน้ำเพราะท่านพี่ปลื้มมาก ลำนี้ผมยังไม่แน่ใจแฮะว่ามันจะทำอะไรได้บ้าง
สมมุติว่าเกิดสงครามเต็มรูปแบบ ในสมัยปัจจุบันนี้ มีโอกาสที่จะเกิดยุทธนาวี เรือรบต่อเรือรบ ได้อีกไหมครับ
วกเข้าเรือดำน้ำสงสัยมิสไซล์เทพ C802 รุ่นยิงจากเรือดำน้ำอยากแจมกระทู้นี้ด้วย อิอิ
ผมมองว่าจรวดยิงจากเรือสู่เป้าหมายบนฝั่งยังมีประโยชน์มากน่ะครับ แต่ระยะยิงต้องไกลพอสมควรอย่างน้อยก็ 200 กิโลเมตรขึ้นไป โดยจะใช้กับเป้าหมายสำคัญๆที่ไม่เคลื่อนที่ เช่น คลังอาวุธ สนามบิน ฐานทัพ ฐานเรดาร์ เป็นต้น ซึ่งจะใช้เป็นการโจมตีระลอกแรกๆ แทนการใช้คนขับเครื่องบินเข้าไปที่เสี่ยงต่อการถูกยิงตก ผลของการยิงจะสามารถกดดันให้อีกฝ่ายยอมแพ้ได้หรือยอมเจรจา หากเป็นการขัดแย้งในพื้นที่จำกัด เช่น เกาะเล็กๆ พื้นที่ทับซ้อนเล็กๆ แต่หากเป็นสงครามขนาดใหญ่ก็คงไม่คุ้มเท่าไหร่เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงมากเกินไป
สำหรับแบบของอาวุธ ผมว่าหากมีไว้ไม่เกิน 3 แบบที่มาจากแหล่งผลิตที่แตกต่างกัน ก็ถือว่าไม่เยอะ เช่น มีทั้งฮาพูน RBS15 C802 สำหรับโจมตีเรือและชายฝั่ง โดย C802 ราคาน่าจะถูกกว่า 2 ตัวแรก สามารถตอบสนองในแง่ปริมาณ ส่วน ฮาพูน กับ RBS15 น่าจะตอบสนองเรื่องความแม่นยำและโอกาสรอดจากการถูกสกัดกั้นที่ดีกว่า นอกจากนี้ความที่ระบบมาจากต่างค่ายมีข้อดีที่หากระบบใดล่มไปด้วยเหตุใดก็ตามก็มีอีกระบบของอีกค่ายที่ใช้ได้
ระบบจรวดไม่มีทางล่มหรอกครับ ทีนี้เรามาพูดเรื่องที่ไม่ค่อยได้คุยกันบ้าง นั่นคือจรวดฮาร์พูนยิงเรืออเมริกาไม่ได้แน่นอน รับรองว่าโดนแจมตกน้ำทุกลูกย้ำว่าทุกลูก เช่นเดียวกับจรวด C-802 ยิงเรือจีนไม่ได้เช่นกัน เผลอ ๆ จรวดอาจวิ่งย้อนศรกลับไปหาเรือเราเองก็ได้
เรื่องนี้ไม่มีหลักฐานมาแสดงนะครับ การจัดหาจรวดจึงต้องคำนึงด้วยว่า คุณจะมีโอกาสยิงใส่ประเทศผู้ผลิตมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้ามีก็จะเป็นอย่างที่อิหร่านเคยทำ ไม่อยากให้พิจารณาแค่เรื่องสเป็ก (ดูโบร์ชัวร์เอาก็ได้) มีเรื่องสนุกมากกว่านั้นเยอะมาก
คำถามคุณ Naris ปัจจุบันก็ยังมียุทธนาวีระหว่างเรือต่อเรือนะครับ นั่นคือเรือตรวจการณ์ของจีนกับเวียตนามวิ่งไล่ชนกัน รวมทั้งเอาปืนฉีดน้ำไล่ฉีดกันแถวเกาะเตี๊ยวหยุน ประเภทใช้ปืนยิงใส่กันก็มีที่เกาหลีใต้ ครั้งล่าสุดน่าจะปี 2002 ระหว่่างเรือตรวจการณ์ของสองประเทศ
แต่ถ้าประเภทเอาเรือฟริเกตใส่ยิงจรวดใส่กันกลางมหาสมุทร ผมเคยคิดว่าอาจเกิดระหว่างจีนกับเวียตนามหรือไต้หวันอะไรพวกนี้ แต่วันนี้จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว ฉะนั้น คงใช้เครื่องบินยิงจรวดใส่มากกว่า
ส่วนกรณีอเมริกา vs รัสเซีย ไม่น่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะรัสเซียถนัดยิงถล่มด้วยจรวดระยะไกลหรือใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดต่าง ๆ มากกว่า อเมริกา vs จีน ก็ไม่น่าใช่แล้วเพราะจีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว
ความน่าจะเป็นจึงย้ายไปอยู่ฝั่งแอฟริกา อาจจะมีบางประเทศขัดแย้งกัน หรือมีฝ่ายกบฎยืดเรือได้แล้วแล่นเข้าไปโจมตีฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ตะวันออกกลางไม่มีหรอก อย่างดีก็เรือยางติดระเบิดวิ่งใส่เรือฟริเกตซาอุ ซึ่งมันได้ผลทางจิตวิทยาแต่เรือเสียหายนิดเดียว
การที่อาวุธประเภทเดียวจะต้องมีประมือกัน เช่น รดน vs รดน, บ ขับไล่ vs บ ขับไล่ ฯลฯ ยังจะมีต่อไปตราบนานเท่านานครับ ซึ่งมันก็เริ่มมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยกตัวอย่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เครื่องบินเขาเอามาลาดตระเวณหรือทำแผนที่ อีกฝ่ายเลยต้องหาเครื่องมายิงให้ร่วง ก็กลายเป็นเครื่องบินไฝว้กัน ทีนี้เลยกลายเป็นหน้าที่หลักว่า คอยบินหาอีกฝ่ายแล้วสอยซะ เหมือนทุกวันนี้เครื่องบินขับไล่ก็ยังจะต้องทำหน้าที่คุ้มกันเครื่องใหญ่ ไม่ว่าจะทิ้งระเบิด แท้งเกอร์เติมน้ำมัน หรือ สงครามข้อมูล ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องหาเครื่องบินขับไล่มาสอยเครื่องคุ้มกันของข้าศึกห้ได้ เพื่อที่จะสอยเครื่องหลักเป้าหมายได้
เหมือน รดน ถ้ามีฝ่ายเดียว จะเอาไปจมเรือสินค้าเหมือสงครามโลก ก่อวินาศกรรมทำลายท่อน้ำมันใต้น้ำ ตัดเคเบิลสื่อสารใต้น้ำ ฯลฯ อีกฝ่ายก็ต้องหาเรือดำน้ำมาไล่ปราบ เพราะความสามารถในแง่นี้สูงสุดแล้ว
หรืออย่างรถถัง บางประเทศเคยคิดว่าเออ ไม่ต้องมีแล้วก็ได้ ก็เปลี่ยนเป็นรถล้อยางแปดล้อ ติดปืน105mm เกราะบางๆ สุดท้ายก็ต้องมานั่งไล่ซื้อรถถังกันอีกรอบ ดังนั้นตราบใดก็ตามที่ตัวอาวุธนั้นยังมีคุณค่ายุทธศาสตร์ ตราบนั้นก็จะต้องมีการดวลกันจนได้