เมื่อวันที่ 24 เมษายน มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ว่า โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำหยวนคลาส เอส 26 ที ( Yuan Class S26T) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 ลำ วงเงิน 13,500 ล้านบาท ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา
โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุเป็นการนำโครงการดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยตัวเอง ภายหลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ ทั้งนี่้ หลังจาก คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว พลเอกประวิตร ได้นำโครงการดังกล่าวตีกลับไปยังกองทัพเรือ เพื่อให้พิจารณาระเบียบวาระในการเซ็นต์สัญญาการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน
โดยมี พลเรือ ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย จะเดินทางไปเยือนจีนเพื่อเซ็นต์สัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในเร็ว ๆ นี้ โดยก่อนที่ พลเอก ประวิตร จะนำโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ทางสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ติดต่อสอบถามถึงความคืบหน้าการดำเนินการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย ว่ามีความคืบหน้าอย่างไร เนื่องจากทางจีนเองเตรียมจะต่อเรือดำน้ำชนิดเดียวกันที่ขายให้ไทยไว้ใช้เอง และ อยู่ระหว่างการตีเส้นเรือ และจะถือโอกาสนี้ต่อเรือไปพร้อม ๆ กัน
\\\\\\\\\
หลังจากนี้อยากให้เปิดรายละเอียดสัญญานะฮ่ะ ที่ว่าให้ผ่านผู้ใหญ่ก่อนค่อยเปิดเผยอ่ะ
ผ่านครม.แล้วแบบเงียบเชียบ สำหรับเรือดำน้ำลำแรกมูลค่า 13,500 ล้านบาท จากทั้งหมด 3 ลำที่จะจัดซื้อจากจีน
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยอมรับกับ "NOW26" ว่า โครงการจัดหาเรือดำน้ำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ชั้นหยวน รุ่น S-26T ลำแรก วงเงิน 13,500 ล้านบาท ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560
โครงการจัดหาเรือดำน้ำจากจีน เป็นโครงการของกองทัพเรือที่มีการตั้งงบประมาณในปี 2560 เอาไว้แล้ว และได้นำเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติผูกพันงบประมาณข้ามปีสำหรับการจัดซื้อลำแรก ตามแผนว่าจะจัดซื้อ 3 ลำ ในราคารวม 36,000 ล้านบาท
เรือดำน้ำจีนถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายในเรื่องคุณภาพ ความคุ้มค่า และความเหมาะสมกับยุทธบริเวณที่จะใช้ปฏิบัติภารกิจ เนื่องจากเป็นเรือขนาดใหญ่ ขณะที่อ่าวไทยและท่าสำหรับจอดเรือดำน้ำถูกกำหนดให้สร้างที่ชายฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
http://www.now26.tv/view/103221
17:33น. 24 เม.ย. 2560
โฆษกกระทรวงกลาโหม เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา อนุมัติให้กองทัพเรือ จัดซื้อเรือดำน้ำ 1 ลำ วงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท จากประเทศจีนแล้ว
พลตรีคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติให้กองทัพเรือ จัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26T (หยวน คลาส เอส 26 ที) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 ลำ วงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย เตรียมบินไปลงนามสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี กับทางการจีน เร็ว ๆ นี้
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่างบประมาณที่อนุมัติให้กองทัพเรือจัดซื้อเรือดำน้ำ เป็นการตั้งงบประมาณผูกพัน 4 ปี และเป็นงบประมาณของกองทัพเรือทั้งหมด ซึ่งการขออนุมัติครั้งนี้ เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ และความมั่นคงทางทะเล พร้อมยืนยันการอนุมัติเป็นไปตามขั้นตอนการพิจารณาของ ครม. ตามปกติ ไม่ได้ปิดเป็นความลับแต่อย่างใด
https://www.dailynews.co.th/politics/570020
เป็นอันว่าผ่านฉลุยนะครับ สำหรับท่านที่กลัวอาถรรพ์น้ำมันมวยว่าจะมีคนผลักให้ตก คงต้องบอกว่าของเขาแรงจริง ๆ กระดูกมันคนล่ะเบอร์กันไอ้น้องเอ๊ย..!!
http://www.komchadluek.net/news/politic/273253
ทร. อ้างยังไม่รู้เรื่อง ครม. อนุมัติซื้อเรือดำน้ำ แจงไม่ก้าวล่วงมติครม.
ทร.เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 24 เม.ย. ที่กระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.จุมพล ลุมพิกานนท์ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาผ่านความเห็นชอบโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26Tจากประเทศจีนจำนวน 1 ลำ จำนวน 13,500 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า ในส่วนของกองทัพเรือยังไม่ทราบเรื่องว่าที่ประชุมครม.ได้มีความเห็นชอบเรื่องดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร ซึ่งกองทัพเรือยังไม่ได้รับรายงานในเรื่องนี้ ส่วนข่าวออกมาได้อย่างไรนั้นต้องไปถามต้นตอของข่าวว่ามาจากไหน ทั้งนี้กองทัพเรือจะไม่ก้าวล่วงมติของครม. เพราะกองทัพเรือถือเป็นหน่วยปฏิบัติ
เมื่อถามว่าหากโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26Tจากประเทศจีนจำนวน 1 ลำ จำนวน 13,500 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาของครม.แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร พล.ร.อ.จุมพล กล่าวว่า ทางครม.จะส่งเรื่องให้กระทรวงกลาโหมก่อน จากนั้นกระทรวงกลาโหมในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดจะส่งเรื่องมาให้กองทัพเรือเพื่อดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่าหากโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26Tจากประเทศจีนจำนวน 1 ลำ จำนวน 13,500 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาของครม.แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร พล.ร.อ.จุมพล กล่าวว่า ทางครม.จะส่งเรื่องให้กระทรวงกลาโหมก่อน จากนั้นกระทรวงกลาโหมในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดจะส่งเรื่องมาให้กองทัพเรือเพื่อดำเนินการต่อไป
----------------------------------------------------------------------------
ขอเป็นท่าจีนลำที่สองก่อนเถอะพ่อ.... ว่าแต่เรือหลวงตรังท่านเสือใหญ่คงมีเอี่ยวเยอะ อิอิ ;)
อันที่จริงมันก็ผ่านอยู่แล้วล่ะครับ ขึ้นอยู่กับว่าตอนไหนเท่านั้นเอง เพราะอะไรคงทราบกันดี จบภารกิจแล้ว กองแช่งอย่างผมจะได้ไปสงครามโลกครั้งที่สองเสียที
เท่าที่ทราบ เหล็กสำหรับต่อเรือตรัง เอาเข้ามาเกือบสองปีแล้วครับท่าน superboy
หลังเรือตรัง ถ้ามีงบสำหรับเรือใหม่ได้แค่ลำเดียว ผมขอเรือท่าจีนลำที่สองครับ
ท่าน ausangi มาบอกใบ้อีกแล้ว ทร. จะได้ ฮ. ใหม่อีกหรือครับ แบล็คฮอร์คอีกละซิ อิอิ..
มีท่านใดยังจำได้หรือไม่ครับว่าเกิดอะไรขึ้นกับโครงการเรือดำน้ำ A19 สวีเดนเมื่อ ๒๐ปีก่อน
ที่จำได้ตอนนั้นกองทัพเรือเลือกแบบเรือดำน้ำ A19 ๒ลำ วงเงิน ๑๗,๐๐๐ล้านบาทในปี พ.ศ.๒๕๓๗ เริ่มโครงการในปี พ.ศ.๒๕๓๙
แต่ไม่แน่ใจว่าตอนนั้นโครงการ A19 นี้ผ่านการอนุมัติโดย ครม.ในตอนนั้นแล้วหรือไม่ครับ
เรือ เอ-๑๙ ก๊อตแลนด์ ของค๊อกคูม นำเข้าโดยรัฐบาลบรรหาร ถูกจมโดยพรรคประชาธิปัตย์ในสภาผู้แทนครับ
น่าเสียดาย...
ไม่ใช่แค่เรือดำน้ำนะครับที่จมในสภา ท่านเติ้งเสี่ยวหารเองก็โดนซะเละเชียว ผมยังจำกรณีวุฒิการศึกษาได้ไม่ลืม ติดตาตรึงใจตราบนานเท่านาน
ส่วนเรือดำน้ำจีน คงต้องถามกลับสั้น ๆ ว่า รัฐบาลนี้มีพรรคฝ่ายค้านที่เก่งที่สุดในสามโลกมั้ย
เข้ามาแก้ไข เรื่องสัญชาติสิครับหนักหน่วงกว่า มะรุมมะตุ้มรุมรักท่านเติ้งมาก
ท่าน AAGth1 คงไม่ต้องกังวลครับ...งวดนี้ มาครบ 3 ลำ แน่ ๆ...ไม่มีคำว่า ทดลองใช้...(โครงการ รถไฟ ความเร็วสูง ไทย จีน จะเริ่มก่อสร้างในเดือน ส.ค. 60 นี้ (เซ็นต์สัญญากันรึยังล่ะ...น่าจะยังนะ...เพราะ เรือดำน้ำ ยังไม่จบ...ดังนั้น เรือดำน้ำ มันต้องจบ...โดย พี่ใหญ่ รับผิดชอบเอง)
ผบ.ทร. เดินทางไป ลงนามซื้อถึงประเทศจีน...
ซึ่งที่ผ่านมา มีแต่เชิญเขามาลงนามซื้อที่ ประเทศไทย...
โดยโครงการ เรือดำน้ำจีน สุดท้าย รวมทั้ง 3 ลำ จะจบโครงการที่ 40,000 ล้านบาท (ยังไม่รวม องค์ประกอบกองเรือดำน้ำ)
ส่วนเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ี 2 หรือ เรือ OPV...
คงต้องคุยหลังปีงบประมาณ 2562 แหล่ะครับ...
เพราะ งบประมาณปี 2561 ทร.จะมี งบประมาณ เฉพาะจัดซื้ออาวุธ ที่เป็นงบผูกพันรวมเรือดำน้ำ 1 ลำ ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ครับ...
ดังนั้น เรือดำน้ำ ลำที่ 2 น่าจะออกมาใน งบประมาณปี 2562...
ส่วนสาย กรุงเทพ-ระยอง...เดาว่า จีน ได้...แต่จีน จะได้ประโยชน์จาก กฎหมายต่างชาติ ทำสัญญาเช่า 99 ปี ไปแล้ว...คงจะไม่เอามาผูกกับการจัดซื้ออาวุธอีก...
ซึ่ง อาจจะต้องลุ้น โครงการรถไฟ ความเร็วสูง ในสาย นครราชสีมา กับ หนองคาย...ว่าจะยังเป็น จีน อยู่หรือไม่ ?
ถ้ายังเป็น จีน....เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 2...จาก เกาหลีใต้...คงไม่เกิดขึ้น อีกต่อไป...
อนาคต โครงการของ กองทัพเรือ ที่จะมี เรือรบจาก ประเทศจีน ตามมาติด ๆ ดังนี้
1. เรือ LPD จากประเทศจีน จำนวน 1 ลำ (ประมาณ 5,000 ล้านบาท)
2. เรือ OPV จากประเทศจีน จำนวน 3 ลำ (เรือชุด กระบี่ หยุดที่ ลำที่ 2) (ประมาณ 15,000 ล้านบาท)
3. เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จากประเทศจีน จำนวน 2 ลำ (เรือชุด ท่าจีน หยุดที่ 1 ลำ) (ประมาณ 20,000 ล้านบาท)
รวมทั้งสิ้น ประมาณ 40,000 ล้านบาท
และ เดา ว่า...สิ่งเหล่านี้ จะไปผูกปม อยู่ใน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เรียบร้อย...
ส่วน เฮลิคอปเตอร์ของ ทร. ที่กำลังจะมา ขอ เดา ว่า...คือ MH-60S
เนื่องจาก ทร. ขอซื้อกับ สหรัฐ ไปจำนวน ทั้งสิ้น 6 ลำ มุลค่าประมาณ 246 ล้านเหรียญสหรัฐ...โดย ซื้อ Lot-1 ไปแล้ว จำนวน 2 ลำ...
โดยทั้งหมด ทั้งนี้ นั้น...
ซึ่งผมก็เคย เดา ไว้ในหลายกระทู้ ก่อนหน้า...กองเรือ เป็ดง่อย...ของ กองท้ัพเรือไทย กำลังจะเริ่มต้น...
เซฟ ความเห็น ผมไว้ด้วยนะครับ...จะได้เอามาย้ำ ความหน้าแตก ของผม...
เป็ดง่อย...ก็คือ ง่อย...แหล่ะครับ...มันจะเป็น ปีศาจ ได้ยังล่ะครับ...กลัวเขาจะมองเป็น เวทนา น่ะซิครับ...
https://www.isranews.org/isranews-article/55699-submarine-55699.html
เขียนวันที่ วันจันทร์ ที่ 24 เมษายน 2560 เวลา 16:59 น. เขียนโดย มนัส
หมวดหมู่ เวทีทัศน์ Tags เรือดำน้ำจีน 7.3k Shares
ในขณะที่ทางรัฐบาลทั้งนายกรัฐมนตรีและ “ลูกพี่ใหญ่” ซึ่งก็คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ออกมายืนยันชัดเจนว่าโครงการเรือดำน้ำจีน เป็นโครงการที่จำเป็น คุ้มค่า โดยเน้นย้ำว่าการพิจารณาเลือกเรือดำน้ำจากจีนเป็นการพิจารณาโดยกองทัพเรือเอง ในขณะเดียวกับที่กองทัพเรือได้ออกมาเดินสายชี้แจงทางสื่อต่างๆ อย่างไรก็ตามจนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการชี้แจงจากทางกองทัพเรืออย่างเป็นทางการในรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นแต่อย่างไร
จนกระทั่งในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาทาง Facebook 'ThaiArmedForce.com' ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีทางการทหารที่มีชื่อเสียงและค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือได้นำข้อมูลที่ดูเหมือนเป็นบทสัมภาษณ์จาก “แหล่งข่าว inside ทัพเรือ” ภายใต้ชื่อ 'S26T คือทางเลือกทางยุทธศาสตร์' ที่ออกมาระบุข้อมูลรายละเอียด และเหตุผลเบื้องลึกว่ากองทัพเรือเดินทางมาถึงจุดที่เลือกเรือดำน้ำจีนได้อย่างไร
http://thaiarmedforce.com/83-taf-editorial/editorial/855-tafeditorial15
แหล่งข่าวรับ “ทัพเรือตั้งโต๊ะประมูลบังหน้าทั้งที่เป็นใบสั่ง”
“กองทัพเรือรู้ว่าเมื่อมีสัญญาณมาแบบนี้ ก็ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไร เพราะถ้าดึงดันเหมือนเดิม สุดท้ายก็คงชวดอีก จึงคิดว่าอะไรที่พอรับได้ก็รับ อะไรที่รับไม่ได้ก็ต้องพยายามเจรจาให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง”
การเปิดเผยจากแหล่งข่าวระดับ Inside ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการยืนยันข้อมูลว่ามีใบสั่งจากภายนอกมายังกองทัพเรือให้พิจารณาเรือดำน้ำจีน “เป็นพิเศษ” เพราะตั้งแต่ข่าวการจัดหาเรือดำน้ำเริ่มเป็นที่สนใจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการจัดหาจากประเทศจีนทั้งที่ผ่านมามีปัญหาด้านประสิทธิภาพของยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพไทยมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นรถถัง เรือรบ หรือแม้แต่อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ KS-1C ที่กองทัพอากาศเพิ่งจัดหาเข้าประจำการ ทาง รมว.กห. ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ยืนยันหลายครั้งว่า "ไม่ใช่เป็นผู้กดดันให้กองทัพเรือเลือกซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน"
นอกจากนั้นแหล่งข่าวก็ยังยอมรับว่า “หลายๆ อย่างที่กองทัพเรือได้มาในโครงการนี้นั้น ไม่ได้มีมาตั้งแต่แรก เพราะสิ่งที่จีนเสนอมาในครั้งแรกก็ไม่ได้มีอะไรมากและไม่ได้ตามที่ควรจะเป็นทั้งหมด” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าเกณฑ์การคัดเลือกของคณะกรรมการที่กองทัพเรือตั้งขึ้นเพื่อเลือกแบบเรือดำน้ำในตอนแรกใช้อะไรในการพิจารณาเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นจนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเรือดำน้ำจีน
เมื่อตรรกะการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกองทัพกลายเป็น “ปริมาณคือคุณภาพ”
แหล่งข่าวได้ระบุอีกว่าเหตุผลที่กองทัพเรือเลือกเรือดำน้ำจีน (หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือเหตุผลที่กองทัพเรือและรัฐบาลใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับเรือดำน้ำจีน) คือจำนวนที่ทางบริษัทจีนเสนอมาเป็นจำนวน 3 ลำ ในขณะที่เอกสารเชิญชวนที่กองทัพเรือส่งไปยังบริษัทต่างๆ หรือที่เรียกว่า Request for Offer ได้ระบุความต้องการในการจัดหาเรือดำน้ำในครั้งนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องการจัดหาเพียง 2 ลำ ในวงเงิน 36,000 ล้านบาท และบริษัทอื่นก็ทำตามกติกาคือเสนอมา 2 ลำ
แหล่งข่าวกล่าวว่า “เพราะทางจีนเองก็ทราบดีว่า ถ้าเทียบตัวต่อตัวนั้น เรือดำน้ำจีนไม่สามารถสู้กับเรืออื่นได้ โดยเฉพาะเรือจากทางยุโรป การจะให้ได้เปรียบต้องสู้ด้วยจำนวนที่มากกว่า คือ สู้ด้วยคุณภาพไม่ได้ ต้องสู้ด้วยปริมาณ” ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้วก็จะพบว่าอาจไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องนัก เนื่องจากแม้ว่าการมีเรือดำน้ำ 3 ลำ จะดูเหมือนว่าจะมีเรือพร้อมใช้งานมากกว่า แต่หาก “คุณภาพ” ของเรือนั้นด้อยกว่าในที่สุดเราก็อาจได้พบกับภาพที่เรือส่วนใหญ่จากจำนวน 3 ลำ ต้องจอดซ่อม หรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนมีความพร้อมน้อยกว่าเรือจำนวนเพียง 2 ลำ ที่มี “คุณภาพ” ที่ดีกว่า
สุดยอดเทคนิคการขายกับลูกค้าที่เต็มใจให้หลอก
จากเรือดำน้ำที่เข้าร่วมประมูลร่วมกับเรือดำน้ำจีนในช่วงเดือนมิถุนายน 2558 ซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่อเรือดำน้ำจากเกาหลีใต้ เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย สวีเดน และเกาหลีใต้ รวมบริษัทที่ประมูลในครั้งนั้นทั้งสิ้น 6 บริษัท แหล่งข่าวได้หยิบยกข้อด้อยบางประเด็นของเรือดำน้ำฝรั่งเศส รัสเซีย สวีเดน และเกาหลีใต้ ดังนี้
เรือดำน้ำฝรั่งเศส – เรือดำน้ำขนาดเล็ก ไม่เคยต่อมาก่อน ทร. ไม่มั่นใจเรื่องอะไหล่
เรือดำน้ำรัสเซีย – มีโซนาร์เพียงแบบเดียว ความเป็นอยู่ไม่ดี
เรือดำน้ำสวีเดน – พื้นฐานหลักจาก A19 ผสมกับ A26
เรือดำน้ำเกาหลีใต้ – ไม่แน่ใจว่าสหรัฐจะยอมขายอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ให้หรือไม่
แม้ยอม “คิดบวก” มองข้ามประเด็นด้านความโปร่งใสในการจัดหาในแง่ของการเสนอจำนวนที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงและ “สัญญาณจากนอกกองทัพ” และพยายามมองประโยชน์ที่ ทร. จะได้รับในท้ายสุดนั้น ก็จะพบว่าแม้เรือดำน้ำจีนจะ “มี” เกือบทุกอย่าง แต่หลายอย่างก็ “ดีไม่เท่าและได้ไม่ครบถ้วนเท่าคนอื่น” รวมทั้งคุณสมบัติบางอย่างของเรือดำน้ำจีนที่ “ของแถมมากแค่ไหนก็ไม่สามารถชดเชยได้”
เพราะจากการนำเสนอของแหล่งข่าวจะเห็นว่าได้นำข้อด้อยเรือดำน้ำจากประเทศอื่นมีหรือบางส่วนก็เป็นเพียงความไม่ชัดเจนบางประการ แต่ไม่มีการกล่าวถึงคุณลักษณะในภาพรวมว่าเป็นอย่างไร ต่างจากเรือดำน้ำจีนที่พยายามเน้นว่ามี “ออฟชั่น” ที่มากกว่า แต่ไม่ได้พิจารณาว่าจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่ และหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญพื้นฐานที่ด้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเรือดำน้ำอื่นๆ อย่างชัดเจน ที่เมื่อได้ทำการตรวจสอบกับข้อเสนอจากบริษัทอื่น (ดูตัวอย่างเอกสาร) ก็ได้ผลการเปรียบเทียบที่น่ากังวล ดังนี้
- ขนาดที่ใหญ่เกินไป โดยจะเห็นได้ว่าขนาดตัวเรือที่ใหญ่ทำให้ความลึกปลอดภัย (Safe Depth) มากกว่าเรือดำน้ำแบบอื่น ซึ่งความลึกดังกล่าวหมายถึงความลึกที่เรือดำน้ำต้องทำการดำเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติการได้อย่างอิสระ ซึ่งยิ่งมีค่ามากเท่าใดก็หมายความว่าพื้นที่ที่จะทำการดำต้องมีความลึกเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งเรือดำน้ำจีนมีค่าความลึกปลอดภัยที่มากที่สุดจึงจะมีข้อจำกัดในการดำมากที่สุด
- ความเร็วและระยะปฏิบัติการ เรือดำน้ำจีนสามารถทำความเร็วสูงสุด 18 นอต ได้เพียง 10 นาที ในขณะที่เรือแบบอื่นสามารถใช้ความเร็วสูงสุดมากกว่า 20 นอต ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง รวมทั้งมีระยะปฏิบัติการเพียง 8,000 ไมล์ ในขณะที่เรือแบบอื่นมีระยะปฏิบัติการมากกว่า 10,000 ไมล์
- ความเงียบ เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นของเรือดำน้ำ เรือดำน้ำจีนมีความเร็วเงียบที่ต่ำกว่าแบบอื่น ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าการมีตัวเรือ 2 ชั้น ที่เป็นแนวทางการออกแบบที่ล้าสมัยแต่มักถูกกล่าวอ้างโดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าช่วยให้เรือมีความเงียบมากขึ้นนั้น ในความเป็นจริงไม่ได้แสดงผลให้เห็นแต่อย่างใด
- ระบบอำนวยการรบ ที่มีประสิทธิภาพในการคำนวณค่าเป้าด้อยกว่าเรือแบบอื่นอย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าจำนวนเป้าที่สามารถติดตามและคำนวณได้มีจำนวนน้อยกว่าหลายเท่า ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติการอย่างมีนัยยะสำคัญ
- จำนวนตอร์ปิโด มีความพยายามที่จะปิดเบือนว่าเรือดำน้ำแบบอื่นได้แต่ตัวเรือเปล่า มีแต่เรือดำน้ำจีนเท่านั้นที่มีลูกอาวุธมาให้ ซึ่งจริงๆ แล้วตรงกันข้าม เรือดำน้ำจีนให้ลูกตอร์ปิโดมาด้วยก็จริง แต่ก็เป็นจำนวนน้อยมากคือลูกจริง 4 ลูก ลูกซ้อม 2 ลูก สำหรับเรือ 2 ลำ หรือลูกจริงเพียงลำละ 2 ลูก เท่านั้น และในการเสนอเบื้องต้นก็ไม่มีลูกอาวุธปล่อยนำวิถีมาให้ ซึ่งแม้ว่าภายหลังจากการเจรจาเพิ่มเติมจะมีการ “แถม” อาวุธปล่อยนำวิถีมาให้ แต่ก็ไม่เต็มจำนวนท่อ ได้มาเพียงลำละ 2 ลูก ต่างจากเรือดำน้ำแบบอื่นๆ บางแบบที่ให้ลูกตอร์ปิโดมา “ครบทุกท่อยิง” พร้อมลูกฝึกเพิ่มมาให้อีกด้วย ทั้งนี้เหตุผลที่เรือดำน้ำแบบอื่นไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาวุธปล่อยนำวิถีเนื่องจากการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีจากเรือดำน้ำมีข้อเสียในด้านการเปิดเผยที่อยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อเรือดำน้ำเอง
- การหนีออกจากเรือดำน้ำในกรณีฉุกเฉินมีความปลอดภัยต่ำกว่าแบบอื่น ความลึกสามารถทำการหนีได้สูงสุดคือ 120 ม. ในขณะที่เรือดำน้ำแบบอื่นสามารถทำได้มากกว่า 180 ม.
- อายุการใช้งานสั้นกว่าแบบอื่น อายุการใช้งานของเรือดำน้ำจีนอยู่ที่ 25 ปี ในขณะที่เรือดำน้ำแบบอื่นบางแบบมีอายุการใช้งานถึง 40 ปี ขึ้นไป
- อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ต่ำมาก สามารถทำการชาร์จได้เพียง 200 ครั้ง ในขณะที่เรือดำน้ำแบบอื่นสามารถทำได้ถึง 1,250 ครั้ง
ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะของเรือดำน้ำจีนกับบริษัทอื่นๆ ที่ร่วมยื่นประมูล
ตัวอย่างเอกสารของเรือดำน้ำแบบ A
ตัวอย่างเอกสารของเรือดำน้ำแบบ B
ตัวอย่างเอกสารของเรือดำน้ำแบบ C
ตัวอย่างเอกสารของเรือดำน้ำจีน
เบื้องหลังการเจรจาต่อรอง...สุดท้ายแล้ว “คุ้มกว่า” จริงหรือ?
“หลายๆ อย่างที่กองทัพเรือได้มาในโครงการนี้นั้น ไม่ได้มีมาตั้งแต่แรก เพราะสิ่งที่จีนเสนอมาในครั้งแรกก็ไม่ได้มีอะไรมากและไม่ได้ตามที่ควรจะเป็นทั้งหมด”
การเจรจาต่อรองภายหลังจากที่กองทัพเรือยอมเลือกเรือดำน้ำจีนตาม “สัญญาณ” ก็เริ่มขึ้นภายใต้พยายามที่จะต่อรองทำให้เรือดำน้ำจีนลำนี้สมบูรณ์ขึ้น อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งที่ได้เพิ่มขึ้นมาตามที่แหล่งข่าวระบุไม่ว่าจะเป็นกล้องตาเรือแบบ Optronic ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย (INS) เพิ่มเติมอีก 1 ชุด ระบบแจ้งเตือนภัยเรดาร์ (RWR) การสนับสนุนอะไหล่ หรือแม้แต่ Multifunction Console นั้น แม้ว่ากองทัพเรือจะประสบความสำเร็จในการเจรจาให้ทางจีนเพิ่มเติมให้มากกว่าที่เสนอมาในตอนแรก แต่หากดูรายละเอียดให้ดีๆ ก็จะพบว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่เรือดำน้ำแบบอื่นมีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้นสิ่งที่กองทัพเรือได้จากการเจรจาครั้งนี้คือการลดข้อด้อยส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่การเพิ่มประสิทธิภาพของเรือดำน้ำจีนให้มากกว่าหรือแม้แต่เทียบเท่าประสิทธิภาพของเรือดำน้ำแบบอื่นแต่อย่างใด
ตรรกะวิบัติของคำว่า “ป้องปราม” กับ “มีไว้ให้เกรงใจ”
“แหล่งข่าวได้กล่าวสรุปกับ TAF ว่าเข้าใจดีว่าใคร ๆ ก็อยากได้ของที่ดีที่สุด กองทัพเรือก็เช่นกัน แต่ในกรณีนี้ก็พบว่าจีนก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด เรือและอาวุธถ้าทำได้ตามคุณลักษณะที่เจรจาตกลงกันไว้ ก็ถือว่าไม่ด้อยกว่าเรือจากตะวันตกเท่าไหร่ ที่สำคัญระบบอาวุธที่ทางจีนเสนอมานั้นมาครบทั้ง 3 ชนิด อาวุธจะแม่นหรือไม่แม่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ประเทศที่เป็นภัยคุกคามเป็นฝ่ายตรงข้าม เวลาประเมินฝ่ายเรา เขาจะต้องประเมินกรณีที่เลวร้ายที่สุดเอาไว้ก่อน เช่น ระยะยิงอาวุธฝ่ายเรา เขาก็ต้องคิดว่ามันยิงได้ไกลสุดเท่านี้ แม้ว่าที่จริงอาจจะยิงได้ไม่ไกลเท่านั้นก็ตาม ดังนั้นมันก็จะทำให้เกิดความยับยั้งชั่งใจและนำไปสู่การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง”
เป็นที่น่าตกใจที่แหล่งข่าว Inside กองทัพเรือได้ยอมรับแบบกลายๆ เองว่าอาวุธจีนที่จะมีใช้นั้นมีประสิทธิภาพด้อยกว่าอาวุธจากเจ้าอื่น ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ของกองทัพเรือและเหล่าทัพอื่น แต่แหล่งข่าวระบุว่ากองทัพเรือใช้แนวคิดว่าขอให้มีเพื่อให้ฝ่ายตรงข้าม “หลงเชื่อ” ว่าเป็นอาวุธมีประสิทธิภาพสูง
หากมองแบบเผินๆ หรือกล่าวอีกอย่างคือมองแบบเข้าข้างตัวเองก็อาจฟังดูสมเหตุสมผล แต่หากคิดดูให้ดีฝ่ายตรงข้ามของเราน่าจะประเมินขีดความสามารถที่แท้จริงของเรือดำน้ำลำนี้ได้ไม่ยากนัก และถ้ามองในแง่ของการพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติการของกำลังพลประจำเรือนั้น เราก็จะมีกำลังพลที่มี “ขีดความสามารถจอมปลอม” แต่หากมีความจำเป็นต้องปฏิบัติการจริงๆ แล้ว จะเกิดอะไรขึ้น?
มียุทโธปกรณ์รายการไหนอีกบ้างที่กองทัพมีประจำการอยู่ในปัจจุบันและใช้ตรรกะนี้ในการจัดหา?
S26T คือทางเลือกทางยุทธศาสตร์ (ของใคร?)
“รัฐบาลจีนต้องการได้ไทยเป็นพันธมิตรให้ได้ โดยเฉพาะการที่ไทยเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐมานาน ถ้าได้ไทยมาเป็นพันธมิตรหลักก็จะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้กับหลายประเทศในภูมิภาคว่าจีนพร้อมจะเป็นเพื่อน หรือหมายถึงการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) และเรือดำน้ำก็ถือเป็นอาวุธเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อใจกัน”
ตามที่แหล่งข่าวได้กล่าวในตอนต้นว่ารัฐบาลจีนต้องการใช้เรือดำน้ำเป็นการ “ซื้อใจ” ประเทศไทย ซึ่งดูเผินๆ ก็เหมือนกับการได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย คือจีนได้พันธมิตร ส่วนไทยก็ได้เรือดำน้ำ
แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าฝ่ายที่ได้ประโยชน์จริงๆ นั้นคือฝ่ายจีน ทั้งการที่ได้ไทยเป็นพันธมิตรในเชิงสมัครใจแล้ว การที่กองทัพเรือไทยใช้เรือดำน้ำจากจีนนั้นก็เป็นเหมือนเครื่องรับประกันว่าหากต้องการที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาในการขาดการสนับสนุนด้านอะไหล่ซึ่งเรือดำน้ำจีนจะต้องใช้อะไหล่จากจีนเท่านั้น (ต่างจากเรือดำน้ำแบบอื่นที่ใช้อะไหล่มาตรฐานสากล ที่กองทัพเรือจะสามารถมีตัวเลือกในการเปลี่ยนอะไหล่ตามความต้องการภายหลังได้เนื่องจากใช้มาตรฐานเดียวกัน) กองทัพเรือหรือประเทศไทยก็จะต้องไม่ทำให้จีน “ขัดใจ” จนไม่ส่งอะไหล่ให้จนเรือดำน้ำที่เป็น “อาวุธยุทธศาสตร์ราคาแพง” ไม่สามารถปฏิบัติการได้
สุดท้ายแล้วใครกันแน่ที่ได้กำไร?
เรือส.จีน ผ่านสภา ขัดใจกองแช่งอย่างผมจัง
ส่วนกรณีเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จากประเทศจีน (น่าจะเป็น TYPE-052C)
ผมไม่คิดว่าทร. จะเลือกทางแบบนั้น
ยังไงก้ยังมองว่า เรือชุดท่าจีน โอกาสยังคงเป็น KDXII ต่อในบ้านเรามากกว่าครับ
LPD
Frigate
OPV
LPD ต่อที่ จีน
Frigate ต่อที่ จีน จำนวน 1 ลำ และนำมาประกอบที่ไทย อีก 1 ลำ
OPV ต่อที่ จีน จำนวน 2 ลำ และนำมาประกอบที่ไทย อีก 1 ลำ
ภายใต้นโยบาย การสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศ...ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี....
มัน คือ เดา และ มโน ล้วน ๆ ไม่มีข้อมูลอะไรให้อ้างอิง หรือ เจือปน...ภายใต้ในเงื่อนไข โครงการ รถไฟ ความเร็วสูง ไทย-จีน สายสีแดง อยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศจีน ทั้งหมด...
โครงการ รถไฟ ความเร็วสูง เปลี่ยนจากสัญญา องค์การรถไฟจีน กับ รัฐบาลไทย เป็น สภาพัฒน์จีน กับ รัฐบาลไทย...
เรือหลวงตรัง ที่ไทยต่อเองยังใช้แบบอังกฤษจะไปกลัวไร
ผมว่าเรือ LPD จากจีนผมรับได้นะเพราะเป็นเรือลําเลียงไม่ใช่เรือรบ แต่ถ้าเป็นไปได้อยากได้เรือ LPD จากสิงคโปร์เหมือนเดิม
OPV ลำต่อ ๆ ไปคงเกิดในไทยทั้งหมด ไม่มีเหตุของการซื้อจากข้างนอก
Frigate (High Performance) ลำสองน่าจะมาจากแหล่งเดิม และคงมีความพยายามจะต่อเองในประเทศในลำต่อไป ซึ่งคงไม่ใช่แผนแบบจากเกาหลี ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าคงมาจากจีน
LPD อันนี้เป็นไปได้ว่ามาได้จาก 2 ที่ แต่คิดว่าคงมาจากจีน
เรือดำน้ำ อันนี้มาจากจีนแน่นอน ตึงโป๊ะ.....
5 5 5 5 5 .... ขำครับ...ถ้าได้ตาม สเปค แล้ว S-26T จะน่ากลัวกว่า แมงป่อง...
ขนาดปัจจุบัน จีน ยังขอซื้อ เรือดำน้ำ ชั้น Lada จาก รัสเซีย...อยู่เลย...
ไปเอาความเชื่อมั่น มาจากไหน น่ะครับ...ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ก็เป็นเทคนิคที่อยู่ในกระดาษ ทั้งนั้น...
สิ่งที่ ทร. เติม เข้าไป...เพื่อให้มันดูดีขึ้น...ก็คือ การคำนวณค่าทางเทคนิค แล้วเอาไปใส่ว่ามันจะดีขึ้น...แต่ก็ยัง ไม่รู้ ว่ามันจะดีจริง...
ตามค่าเทคนิค นั้นหรือเปล่า...เพราะมันยังมีใคร มีเรือดำน้ำรุ่นนี้ใช้กัน...
มันก็มา แบบเดียวกับ เรือชุด นเรศวร แหล่ะครับ...ไม่มี ผิดเพี้ยน แม้แต่น้อย...
ตอนนั้น ก็ ปลื้มกันมาก...เรือจีน อุปกรณ์ ตะวันตก...ราคาย่อมเยาว์...ตั้งเป้าไว้ 6 ลำ...แถมจะขาย ออสเตรเลีย อีก 8 ลำ...
สุดท้าย...ก็ยังคงเป็น เรือยอดผลิต 2 ลำ ของโลก ต่อไป....
ถ้าจีน เขาสามารถทำเรือ สเปคดี ๆ ได้เหนือกว่า แมงป่อง...คงไม่ต้องรอ สเปค ทร.ไทย เอาไปใส่ เรือดำน้ำจีน หรอกครับ...
เขาคงทำขายไป หรือใช้เอง ไปนานแล้ว...ไม่ต้องไปง้อ ขอซื้อ Lada จาก รัสเซีย...ให้เสียฟอร์ม...
ส่วน เรือฟริเกต หรือ เรือ OPV...จะขอรอชม ครับ...ว่าจะไม่ใช่ จีน...
ยังไง ๆ งบประมาณจะอยู่ในปี 2562 ขึ้นไป แน่นอน...ไม่มีทางจะเกิดในปี 2561...เพราะงบประมาณปี 61 จะมีงบประมาณ ผูกพัน อยู่ประมาณ 20 โครงการ วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท...
แล้วถ้าในปี 2561 รัฐบาลไม่สามารถจัด งบประมาณให้กับ ทร. ได้ตามแผนฯ...ปี 60 ทร.ได้รับงบประมาณ 41,155 ล้านบาท...
โดยในปี 61 ทร.จะต้องได้รับงบประมาณ ไม่ต่ำกว่า 43,505 ล้านบาท...เพราะมีงบประมาณผูกพันของ โครงการจัดหาเก่า กับ ที่จัดหาใหม่ในปี 60 ประมาณ 10,300 ล้านบาท...
ดังนั้น ถ้าในงบประมาณ ปี 61...รััฐบาล ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้กับ ทร. ได้...คราวนี้ ทร. ก็จะเริ่ม ต้องคิดแล้วครับ...ว่าจะไปดึงงบประมาณจากไหน มาจ่าย งบผูกพัน 10,000 ล้านบาท นี้...และถ้า ต้องยืดการจ่ายออกไป...มันก็ต้องไปกระทบกับในปี งบประมาณ 62 อีก และต่อเนื่องกันต่อไป...
ปี 60 เศรษฐกิจก็ว่า แย่ แล้ว
ปี 61 ยังไม่รู้จะมีเลือกตั้งหรือไม่...หรือถ้ามี เลือกตั้ง กว่ารัฐบาลจะเริ่มบริหารได้ ก็คงไปถึงต้นปี 62
ปี 62 ถึงจะเป็นปี ที่จะเริ่มสัญญาณว่า เศรษฐกิจ จะกลับมาฟื้นตัวหรือไม่...
แต่ถ้าปี 61 ยังไม่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง...
เศรษฐกิจในปี 61 กับ 62 ก็คงไม่แตกต่างจาก ปี 60...มันไม่มี เพิ่ม มันมีแต่จะทรงตัว กับลดลง เท่านั้น...
และผมมองภาพว่า...รัฐบาลชุดนี้...มองภาพ โครงการ รถไฟ ความเร็วสูง จะเป็นตัวชูโรงในฟื้นเศรษฐกิจ ขึ้นมา...ซึ่งมันก็หมายถึง ในขณะนี้ คือ จีน กับ ญี่ปุ่น เท่านั้น...
ในเมื่อ ยังมองไม่เห็นภาพว่า จะมีแหลงเงินทุนใหม่ จากซีกโลกอื่น เข้ามาลงทุนในไทย...มันก็คงไม่แคล้ว ต้องไป ซบแหล่งทุนจีน นั่นแหล่ะ...และประเทศจีน ไม่มีคำว่า ขาดทุน หรือเส่ียดุล กับไทย แน่...แล้ว ทร. หรือ รัฐบาล จะไปเอาเงินจากแหล่งไหน ไปซื้อจาก ซีกโลก อื่น...แล้วเงินกุ้ที่ไปกุ้มา...จากการขาดดุลงบประมาณตลอด 2-3 ปี มานี้...จะไม่ชำระคืน กันเลย หรือไง...จากการประมวลผล...คงไม่แคล้วครับ...อะไรหลาย ๆ อย่างของงบประมาณจัดซื้ออาวุธ จะมีสัญชาติจีน เป็นหลัก...เพื่อคืนเงินลงทุนให้กับจีน กลับไป....
เออ ผมสงสัยมานานแล้ว สกอปืเน่ไม่ใช่ปลาเหรอครับ ถ้าแมงป่องฝรั่งเศสใช้คำว่า le scorpion นี่นา ถ้าแมงป่องทะเลก็ le scorpion talea เฮ่ยยย.....
เห็น สเปค ในกระดาษ ใช้ไม๊ล๊าาาาาา....
5 5 5 5 5 5...เอา ดำให้เสียงเงียบ ๆ ก่อนดีกว่าไหมครับ...แล้วค่อย ล่องหน...กลัว โดนเก็บ ก่อนได้ล่องหน ซะก่อนน่ะครับ...
scorpene น่าจะเป็นปลาแหล่ะครับ ท่าน superboy...
เวลามีข่าวเหล่าทัพซื้ออาวุธ ผมมักจะดีใจเสมอๆจนออกนอกหน้า คนรุ้จักผมส่วนใหญ่บอกว่าบ้าอาวุธสงคราม แต่ข่าวซื้อเรือดำน้ำจีนทำไมมันทำผมเศร้าๆ พิกล ฮ่าๆๆ(ทำใจนะเพื่อนเดี๋ยวมันก็ผ่านไป ฮ่าๆ)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แอดมินจำได้ว่าเคยเตือนคุณ SeriesVll มาแล้วเรื่องการแสดงความคิดเห็นถึงแม้จะนานมาแล้ว แต่ยังมีการแสดงความคิดเห็นที่แสดงให้ถึงการไม่เคารพในกติกามารยาท จึงแจ้งว่า ขอแบน 7 วันครับ ต่นเดือนหน้าหลังวันแรงงานค่อยมาแสดงความคิดเห็นอีกครั้งครับ /ADMIN
เฮ่อะๆ S26T ถ้าในความหมายของผ้าคลุมล่องหนคือมีแผ่นดูดกลืนคลื่นโซน่านั้นหน่า อย่าไปฝันเรือดำน้ำที่ประจำการอยู่ในประเทศจีนมีครบทุกลำรึยังหรอก แค่อุปกรณ์มาตรฐานที่คุยกันเอาไว้ ให้มันมาครบ เถอะ สรุปสเปกส์เรือดำน้าจีนที่รอคอยกันมาอย่างยาวนานนั้น ไม่ได้เป็นที่น่าเกรงขามใดๆเลยเมื่อเปรียบเทียบเรือดำน้ำกับประเทศเพื่อนบ้านในแทบอาเซียนทั้งหมด คือมีไว้แค่ขู่ชาวบ้าน ในราคาลำละ 13,500 ล้านบาท ( เพิ่มเงินอีก 2000 ล้าน ซื้อเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงเพิ่มซะยังจะดีดูน่าเกรงขามกว่า )
ผ้าคลุมล่องหน น่าจะหมายถึงผ้าคลุมพรางสำหรับ VT4 ไม่ใช่หรือครับ
แหนมเนือง = VT4 ?
ขออนุญาตเลี้ยวไปการเมืองนิดนึง คือผมคาดว่าจะไม่ได้เห็นการเลือกตั้งในปี 61 แน่ๆ หรือถึงเลือกมาได้ก็คงทำอะไรไม่ได้ก็เพราะโดนตีกรอบไว้ซะขยับตัวยังลำบากคงไม่พ้นตกอยู่ใต้อำนาจพิเศษอีกเช่นเคย เพราะฉะนั้นผมมองว่าอนาคตเราหันหาจีนแบบเต็มๆแน่นอน เตรียมบอกลาอาวุธอเมริกา หรือค่ายนาโต้ได้เลยไม่จีน ก็รัสเซีย วนๆไป ขอให้เดาผิดทีเถอะ
ต่อไปการเดินเกมส์ความสัมพันธ์กับชาติในอาเซียนที่มีปัญหากับจีนจะเป็นอย่างไรถ้าเราแสดงการพึ่งพาจีนที่ชัดเจนแบบนี้ เช่น จุดยืนเรื่องปัญหาหมู่เกาะต่างๆ
ท่านเสือใหญ่ แหนมเนืองนี่คือ รถถังจีนหรือครับ ? ผมอาจจะตกฟิลล์ไป เพราะไม่ได้เข้ามาในเวปซะนาน (ใครตั้งฉายาหว่า???)
ผมมัวแต่สนใจข่าวกับเกาหลีเหนือเพื่อวิเคราะห์ว่า ทรัมป์กำลังเดินเกมส์อะไรอยู่กับจีนช่วง หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
เพราะมีข่าวที่ไม่ได้กรองมาว่าสหรัฐว่าจะให้จีนบุกเกาหลีเหนือ เพื่อโค่นอำนาจ คิมฯแล้วให้จีนผนวกดินแดนฝั่งเกาหลีเหนือเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน เพื่อยุติปัญหานิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ เพื่อแลกกับการที่สหรัฐจะถอน ระบบต้านขีปนาวุธICBM แบบ THAAD ออกจากเกาหลีใต้
"เน้นย้ำฟังหูไว้หูนะครับ ผมก็ฟังเค้ามาอีกที " เพราะ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเกี่ยวกับจีนรวมเกาหลีอะไรเทือกๆนั้นตั้งแต่หลังจากนัดคุยกับ ผู้นำจีน สีเจินเผิงก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน
ขอแซวนิดนึง "ระวังเปิดผ้าคลุมล่องหน แล้วจะเจอแหนมตุ้มจิ๋วแทนนะครัช"
ตาวิเศษที่ว่านี่ใช่ BL-904A Counter-battery radar รึเปล่าครับ ถ้าใช่แล้วมันทำงานได้ไม่ปกตินี่สิครับแปลก เพราะเพิ่งรับมอบแค่ปีเดียว ส่วนของแยงกี้นั่นเขาใช้มาตั้งแต่สมัยไหนแล้วถ้ามันทำงานปกติก็แปลกละครับ ไม่รู้เอามาเทียบกันได้ยังไง ถ้าผมเดาผิดก็ขออภัย ผมถอดรหัสท่านผิดๆถูกๆเพราะมันอินดี้เหลือเกิน
ใช่ครับท่าน ObeOne ตอนแรกผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็ถามเพื่อนๆ ในบอร์ดนี้แหละครับถึงกระจ่าง
มันเป็นเรื่องเกินคาดหมายมั้งครับ ระหว่างตาวิเศษจีนกับเมกัน เจ้าหนึ่งคาดว่าน่าจะพัง (ได้แล้ว) แต่ยังใช้งานได้ดี อีกเจ้าว่าน่าจะทนทานเพราะเพิ่งเอากลับมาใช้หลังเอาไปซ่อมทำอัพเกรดแต่กลับงอแง รอดูกันยาวๆ ดีกว่าครับ อะไรดีไม่ดีก็จะได้เห็น ตอนนี้ยอมรับว่ายังไม่ค่อยเชื่อถือของประเทศนี้ครับ (แต่เปิดใจกว้างรับได้นะครับถ้าของมันดีจริง)
ส่วน ฮ. เล็กฝูงใหม่ของ ทร. เครื่องมันเล็กแรงน้อยไป หรือไม่ประทับใจบริการหลังการขายของผู้ขายครับ ถึงจะไม่ค่อยแฮปปี้ ?
ปล. อยากให้ ทร. หางบมาปรับปรุงฝูงดอร์เนีย 7 ตัวครับ อ่านจาก TAF บอกใช้งบ @USD 6.0 ล้าน (ลำละ 200 ล้านบาท) ปรับปรุงเอวิโอนิคส์และอุปกรณ์เรดาร์และกล้องลาดตระเวณ เป็นฝูงม้างานที่แท้จริงในปัจจุบันในการตรวจการณ์ทางทะเล สมควรได้ไปต่อแต่ต้องปรับปรุงครับ
ผมคิดว่าตอนนี้นโยบายจัดซื้ออาวุธคงไม่ได้เจาะจงว่าของประเทศใดประเทศเดียวหรอกครับ ที่เห็นก็มีทั้ง สวีเดน เยอรมัน อเมริกา จีน ยูเครน รัสเซีย เกาหลี แต่สัดส่วนมากน้อยขึ้นกับผลประโยชน์ที่ได้รับ กับความจุกจิกของผู้ขายมากกว่าครับ
สถานการณ์ความขัดแย้งในโลกตอนนี้มันเป็นความตั้งใจของมหาอำนาจทั้งหลาย
พลังงานน้ำมันก็หาทางปั่นราคาขึ้นยาก เพราะซัพพลายมันท่วม โดยเพราะประเทศที่ต้นทุนผลิตมันต่ำ USD 10-30 ต่อบาร์เรล พวกที่ขุดเจาะบนบกนั้นแหละครับ เจอแหล่งน้ำมันดิบใหม่ๆ ไหนจะหินน้ำมันอีก ตอนนี้ถ้าบอกว่าประเทศไทยเรามีทรัพยากรล้ำค่าฝังอยู่ใต้ดินรอการค้นพบ ผมของเป็น ทอง กับ ยูเรเนี่ยม นะครับ ส่วนถ้าเป็นน้ำมันก็ไม่รู้ว่าจะทำให้ประเทศเรารวยหรือไม่
อังกฤษ เดนมาร์ค นอร์เวย์ ฯลฯ พวกที่แหล่งขุดอยุ๋กลางทะเล ต้นทุนประมาณ USD 50-60 ต่อบาร์เรล จะขายน้ำมันยังไงครับ
น้ำมันขายปลีกบ้านเรา ครึ่งหนึ่งเป็นภาษี เงินไหลเข้ารัฐวันละ 1,500 ล้านบาท เดือนละ 45,000 ล้านบาท ปีละ 540,000 ล้านบาท ไม่ใช่ราคาน้ำมันเพียวๆ
ซีเรียบ้านเมืองพัง ผู้คนบาดเจ็บล่มตาย เศรษฐกิจล่มสลาย ทั้งระเบิดทั้งลูกปืน มาจากมหาอำนาจทั้งเมกาและรัสเซีย บวกด้วยพรรคพวกของตนทั้งนาโต้ ไอซีส ฮิบบอเลาะห์ ฯลฯ ทำไมละครับ ถึงต้องให้มันวุ่นวายเดือดร้อน
แต่ก่อนจีนเป็นพี่ใหญ่ที่คอยอุ้มชูเกาหลีเหนือ ปัจจุบันน้องคิมเหนือกลายเป็นเด็กว่านอนสอนยาก คุมไม่ค่อยได้ พี่จีนจึงอาจจัะไปร่วมมือกับศัตรูเมื่อ 65 ปี สมัยสงครามเกาหลี จัดการเกาหลีเหนือก็เป็นได้
ที่แน่ๆ ผมเชื่อว่ามหาอำนาจมันต้องกวนโลกไปเรื่อยๆ ให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด สงบสุขนักจะขายอาวุธให้ใครละครับ ของมีเต็มคลังเอาออกไปใช้ซะบ้างจะได้ออเดอร์ใหม่
เท่าที่ผ่านตานะครับท่านเสือใหญ่ ทร.มีโครงการจ้างซ่อมคืนสภาพเครื่องบินลาดตระเวนแบบที่ ๑ (DO-228) หมายเลข 1113 ในวงเงิน 250 ล้านบาท แต่ต้องยกเลิกไปแล้ว 2 รอบ (ในปีงบ 59) เพราะราคาที่เสนอมาสุงเกินงบประมาณ ส่วนปี 60 ยังไม่เห็นนะ ฉะนั้น ผมว่าเอาเรื่องซ่อมบำรุงให้ดีก่อนอัพเกรดเถอะ
ว่ากันตามที่เห็น อากาศยานทั้งปีกหมุนและปีกแข็งมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสุงกว่าเรือผิวน้ำพอสมควร ยิ่งรุ่นที่มีขายน้อย ๆ ยิ่งราคาแพง อาทิเช่น
- จ้างซ่อมคืนสภาพ เครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้า แบบที่ ๑ (T-337) หมายเลข ๑๓๑๔ บริษัท วิช-วี จำกัด ได้ไปในราคา 22,000,000.00 บาท
- จ้างซ่อมเครื่องยนต์ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ แบบที่ ๑ (Super lynx-300) บริษัท Agusta Westland ได้ไปในราคา 44,206,269.24 บาท
- จ้างซ่อมเครื่องยนต์หลังถอดตรวจ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบที่ ๔ (S-76B) Engine Model PT6B-36B บริษัท โรยัลสกาย จำกัด ได้ไปในราคา 39,980,000.00 บาท
- จ้างซ่อมบำรุงและสนับสนุนการดำรงสภาพความพร้อมบิน (Maintenance Program)ของบ.ลล.๒(EMB-135)วงรอบ96เดือน บริษัท Enhance Aero Technic ได้ไปในราคา 49,692,489.00 บาท (MA บ่อยมาก เหมือนจะบินเยอะ)
ฉะนั้น....ถึงจะซื้อเครื่องที่มันแพงเสียหน่อย แต่ตอนซ่อมบำรุงไม่โหดเลือดสาดและหาอะไหล่ได้ลำบาก ผมว่าน่าจะเหมาะสมและมาถูกทางแล้ว ราคาเทียบกันโดยรวมของเมกาถูกกว่ายุโรป
44,206,269.24 บาท |
ตกหล่นซะงั้น
จ้างซ่อมคืนสภาพเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบที่ 1 (S-70B) หมายเลข 3205 บ.Helicopter S. ได้ไปในราคา 197,509,200.00 บาท ไม่รู้รายละเอียดนะครับว่าทำอะไรบ้าง แต่ช่วง 3 ปีหลังที่ซ่อมเยอะหน่อยก็คือ S-76B (เครื่องยนต์) กับ Super lynx-300 (เกือบจะทั้งลำ)
พูดเรืองนี้แล้วนึกถึง SAAB ขึ้นมาซะงั้น ระบบเรดาร์และอุปกรณ์ติดตั้งบนเรือรบผมว่าค่าซ่อมบำรุงคงไม่แพง (เพราะมีใช้งานเยอะมาก) แต่เครื่องบินเนี่ยสิ....ชักไม่แน่ใจขึ้นมาแล้วว่าในระยะยาวจะถูกกว่่า F-16 หรือไม่ เครื่องที่ตกก็ไม่ซื้อเพิ่ม...เหลือ 11 ลำเท่านักฟุตบอลเลยวุ้ย
ที่จำได้อุปกรณ์แยงกี้ที่เห็น ทบ.อยากแก้ไขระบบไฟให้เป็น 1 เฟส เพราะตอนเอาไปใช้งานในพืนที่ 3เฟสมันไม่คล่องตัวนิครับส่วนการทำงานตอนนั้นก็ตามสภาพ ตอนแรกเห็นอาหมวยมาแล้วยังคิดในใจว่าจะปลดเลยหรือเปล่า ส่วนตัวผมมองว่ายุทโธปกรณ์สมัยใหม่นอกจากประเทศผู้ผลิตแล้ว การดูแลของหน่วยงานนี่ก็สำคัญจะโทษผู้ผลิตไม่น่าเชื่อถือทั้งหมดก็ไม่ได้ ตัวอย่างระบบที่เป็นโมบายบ้านเราเมืองร้อนเอาไปใช้เปิดแอร์ในเชลเตอร์เกิดหยดน้ำทำบอร์ดอุปกรณ์ช๊อตมาแล้ว ว่าแต่ค่าซ่อมบำรุงของ SAAB มันแพงที่ไทยหรือที่สวีเดนกันแน่ครับ ผมก็สงสัยเหมือนกัน
ซ้าบซ่อมแพงในช่วงต้นครับเพราะช่างเรายังไม่ได้ซ่อมบำรุงเองทั้งหมด ยังใช้ช่างฝรั่งอยู่ ชิ้นส่วนก็ต้องส่งไปซ่อมทำที่สวีเดนด้วย ไม่เหมือน เอฟ-16 หรือ เอฟ-5 ที่ช่างเราทำเอง ขนาดม๊อดยังทำเองเลย (ไม่รวมชิ้นส่วนที่เอามาม๊อดนะครับ) อนาคตน่าจะถูกลงเมื่อช่างเราซ่อมบำรุงได้เองทั้งหมดครับ
ขอบคุณข้อมูลจากท่านเสือใหญ่ครับ หากเป็นเพราะความชำนาญของเจ้าหน้าที่ก็คงต้องใช้เวลาและงบประมาณในการเรียนรู้ ปัจจุบันกองทัพเปลี่ยนจากระบบ อนาล็อก สวิตชิง มาเป็น ดิจิทัล ไอพี ความซับซ้อนก็สูงขึ้นไม่รู้ว่าเรือดำน้ำไม่เอาเทคโนโลยีสูงมากเพราะไม่ต้องการความซับซ้อนหรือเปล่า (ปมมองแง่ดีนะครับ เรื่องอื่นไม่อยากคิดเดี๋ยวพาออกทะเลอีก)