ขึ้นชื่อว่าเรือดำน้ำ แบบไหนก็น่ากลัวทั้งนั้นครับ ทั้งเชิงรุกโดยลอบเข้าไปสอดแนม ทำลายเรือและเป้าหมายบนฝั่งด้วยตอร์ปิโดและจรวดนำวิถี วางทุ่นระเบิดเพื่อปิดกั้นการเดินเรือ และที่สำคัญคือ ตรวจค้นและทำลายเรือดำน้ำด้วยกันเอง ซึ่งอันนี้ว่ากันตามจริง เรือผิวน้ำล่าทำลายและ ฮ.ปราบ ด. มีปัญญาค้นหาและทำลาย ด. ได้สักเท่าไหร่ ทร. น่าจะรู้ดีที่สุด
ถ้า เอส-๒๖ที มันใหญ่ ทำให้ใช้ในอ่าวไทยได้ไม่ดีกว่าเรือคู่เปรียบที่เล็กกว่า อย่าง อู-๒๐๙/๒๑๐ อู-๒๑๔ เรือสกอร์ปิเน่ หรือกระทั่งเรือเก่ามือสองอย่าง อู-๒๐๖เอ ฯลฯ และโจทย์มันยิ่งยากยิ่งขึ้นตรงที่มันต้องเป็นเรือจีนเท่านั้น ทร. ลองเปลี่ยนเป็น เอส-๒๐ แทนดีไหมครับ ไม่ต้องมี เอไอพี ขนาดเรือเล็กลง การใช้งานในน้ำตื้นน่าจะทำได้ดีกว่าเรือ เอส-๒๖ที ราคาต่อลำก็น่าจะต้องลดลงด้วย และซื้อแค่ ๒ ลำพอ มันน่าจะโอเคกว่าสำหรับ ทร. ไหมครับ ไม่ทราบพี่ใหญ่จะว่าไง รวมถึงทางรัฐบาลจีนด้วย ต้องคุยต้องดีลใหม่หมด
อีกอย่าง ทร. เราจะได้มีเพื่อนที่ใช้เรือตระกูลเดียวกันด้วย เอส-๒๐ แปดลำของปากีสถาน จะทำให้ ทร. พูดได้เต็มปากว่า เราเลือกเรือที่มีผู้ใช้งาน ไม่ได้โดดเดียวเหมือนระบบอาวุธหลายอย่างของเหล่าทัพไทย ถึงแม้ว่าทั้งไทยและปากีสถานต่างก็มีความต้องการเรือ ส. สเปคไม่เหมือนกันก็ตาม จีนต้องม๊อดอุปกรณ์บางอย่างรวมถึงปรับแบบเรือหยวนมาตรฐานตามความต้องการ ของไทยและปากีสถาน (ฟลีตเรือ เอส-๒๐ รวมกันจะมีรวม ๑๐ ลำ)
แค่คิดเล่นๆ นะครับ เรื่องจริงแน่ๆ คือ เอส-๒๖ที ใหม่หนึ่งลำมาแน่ ส่วนลำต่อๆ ไป คงยากที่จะคาดเดาครับ เพราะถ้า ทร. ไม่ลงนามในสัญญาทีเดียวสามลำรวด ก็ต้องดูกันต่อไปว่าท่านผู้มีอำนาจในปีงบประมาณ ๖๑-๖๒ จะลงนามสั่งสร้างปีละลำจนกว่าจะครบอย่างที่เป็นข่าวหรือเปล่าเอ่ย..
ความจริงอีกอย่างคือ เรือ เอส-๒๖ที คือเรือชั้นหยวนม๊อด มีต้นแบบจากเรือ ด. จีน ที่มีประจำการอยู่แล้ว เป็นเรือดีเซล-ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ลำตัวสองชั้น ระวางขับน้ำ ๒,๖๐๐ ตัน (๓,๒๐๐ ตัน ขณะดำ) แต่เรือ เอส-๒๐ ที่ปากีสถานจะซื้อเนี่ย เข้าใจเลยว่าจะเป็นการม๊อดเรือหยวนให้เล็กลง และไม่มีระบบ AIP ที่เป็นระบบติดตั้งมาตรฐานของเรือหยวนของจีน ดูได้จากโมเดลที่จีนใช้โปรโมทเรือ เอส-๒๐ ก็ใช้โมเดลเรือชั้นหยวนในการประชาสัมพันธ์เช่นเดียวกับเรือ เอส-๒๖ที แปลว่าจะเป็นเรือชั้นใหม่่ ยังไม่มีใครมีใช้ กระทั่งจีนก็ไม่มี ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการดัดแปลงตามที่ปากีสถานต้องการ โมเดลจริงของ เอส-๒๐ จึงยังไม่มีให้เห็น
มีหลายข่าวว่าปากีสถานเองก็ยังไม่ได้ตกลงปลงใจกับเรือ เอส-๒๐ ยังมีเรือ อู-214 ที่ปากีสถานก็ยังให้ความสนใจอยู่ แต่เยอรมันจะขายให้ปากีสถานเหรอ..
อันที่จริงจะเทียบแบบนี้ก็ไม่น่าจะถูกนักเพราะเรือผิวน้ำไม่เหมือนกับเรือดำน้ำ
ถ้าย้อนกลับไปช่วงการจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา กับเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร
เรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา นั้น เรือสองลำแรกคือ ร.ล.เจ้าพระยา กับ ร.ล.บางปะกง เป็นรุ่น Type 053Tมีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น Type 053H2 (Jianghu-III) ที่จีนมีประจำการช่วงนั้นโดยตรง
ส่วนเรือสองลำหลังคือ ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี นั้นเป็นรุ่น Type 053HT ที่ดัดแปลงท้ายเรือให้เป็นลาดจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นรุ่นเฉพาะของไทยที่จีนไม่มีใช้
จริงๆแล้วเคยทราบมาว่าจีนจะขายเรือชั้น Jianghu ให้ไทย อีก ๔ลำรวม ๘ลำด้วยซ้ำ(น่าจะเป็นสาเหตุที่หมายเลขชุดเรือนี้เริ่มที่ 455 แต่ 451-454 หายไป) แต่เราไม่เอา ๔ลำแรกมาประจำการจริง
เรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร นั้นเป็นแบบเรือ Type 025T ซึ่งเรือฟริเกตสำหรับส่งออกโดยตรงของจีนสำหรับไทยเฉพาะ ที่มีการการออกแบบตัวเรือและนำระบบตะวันตกหลายๆอย่างมาติดตั้ง
ถ้าเทียบกันระหว่างเรือฟริเกต ชุด ร.ล.เจ้าพระยา กับชุด ร.ล.นเรศวร หลายท่านก็น่าจะพอทราบว่าว่าเรือชุดใดมีปัญหาในการใช้งานมากกว่ากัน
แต่ก็ไม่ทราบว่าระหว่าง S26T ซึ่งมีพื้นฐานจาก Type 039B ที่จีนมีใช้งานและกำลังสร้างเพิ่มอยู่แล้ว
กับ S20 ที่เป็นแบบเรือที่ยังไม่มีการสร้างจริง ถึงมิติขนาดและระวางขับน้ำจะน้อยกว่า S26T แต่สมรรถนะบางด้านก็ด้อยกว่า
เช่นความเร็วใต้น้ำสูงสุด(S26T: 18knots / S20: 16knots) ระยะเวลาทำการ(S26T: ๖๕วัน / S20: ๖๐วัน)
ตรงนี้ก็ไม่ทราบเช่นกันครับว่าจะเทียบกันในกรณีนี้ได้หรือไม่
ถ้าเปลี่ยนได้จริง ผมจะเอา A26 ครับ พี่เสือใหญ่ ฮ่าๆๆ หนูจะเอาลำนั้นซื้อให้หน่อยครับ
S20 ก็น่าสนครับ ซึ่งมีขนาดกำลังดี แถมเคยอ่านว่า ออกแบบเผื่อสำหรับเพิ่ม AIP ได้ภายหลังด้วยย�
แต่ S26T น่าจะเดินมาไกลแล้วครับ ไม่เปลี่ยนจากจีนแน่ๆ ย�เดี๋ยวหารไม่ลง 36000 ล้านอีก หรือว่าเค้าจะยอมขาย S20 แบบ 1 แถม 1 ซื้อ 2 ลำ แถมอีก 2 ลำ อาวุธครบ 555
ติดตามข่าวด้านนี้มานาน ก้เพิ่งเคยเห็นเนี่ยแหล่ะครับ
ท้ายสุดแล้วต้องปรับยุทธศาสตร์ของกองทัพให้เข้ากับ Hardware เรือ ส. จีน
ไม่รู้จะดีใจ หรือเสียใจดี
เอส-๒๐ ก็คือเรือจีนที่ยังไม่มีการสร้างขึ้นมาใช้งานแม้แต่ลำเดียว เป็นแบบและขนาดที่เสนอปากีสถาน ข้อมูลที่ผมทราบก็แค่ระวางขับน้ำมันเล็กกว่าเรือ เอส-๒๖ที ที่จีนเสนอไทย กับไม่มีระบบ เอไอพี ติดตั้งอยู่ ก็แค่นั้นครับ
โมเดลเรือ เอส-๒๐ ที่เห็นในรูปงานแสดงอาวุธต่างๆ เหมือนหรือละม้ายคล้ายกับแบบเรือ เอส-๒๖ที หรือ เรือชั้นหยวนของจีน อันนี้เข้าใจได้ครับ อย่างที่บอกว่า เรือ เอส-๒๐ น่าจะเป็นการลดขนาดเรือหยวนลงมา ระวางขับน้ำน้อยกว่าเรือ เอส-๒๖ที และมีการออกแบบดัดแปลงเรือบางส่วนตามที่ปากีสถานต้องการ ที่จีนน่าจะยอมทำให้ก็เพราะเรือชั้นนี้ยังไม่เคยมีการสร้างขึ้นมาก่อน เป็นเรือใหม่ไม่ใช้เรือม๊อด (โมดิฟาย-ดัดแปลง) และปากีสถานต้องการถึง ๘ ลำ ซึ่งถ้าต้องการจะเปรียบเทียบจริงๆ จังๆ กับเรือ เอส-๒๖ที คงต้องรอให้มีข้อมูลอย่างเป็นทางการจากจีนหรือปากีสถานออกมาก่อนละครับ
แต่แค่ข้อมูลคร่าวๆที่มีอยู่ คือเป็นเรือ ด. จีน เหมือนกัน อันหนึ่งปรับปรุงดัดแปลงอุปกรณ์บางอย่างมาจากเรือหยวนรวมถึงแก้ไขแบบห้องภายในเรือบางส่วน อีกอันออกแบบดัดแปลงใหม่จากเรือหยวน ระวางขับน้ำน้อยลง อันหนึ่งมีระบบ เอไอพี อีกอันไม่มี คร่าวๆ แค่นี้น่าจะพอเปรียบเทียบกันได้บ้างแล้วนะครับท่าน
สำหรับผม ถ้าโจทย์ว่าต้องเป็นเฉพาะเรือจีน ผมให้คะแนน เอส-๒๐ มากกว่า ด้วยเชื่อว่ามันจะกินน้ำลึกน้อยกว่า ใช้งานในอ่าวไทยได้ดีกว่า ลำเล็กกว่า ซ่อนพรางได้ดีกว่า ประหยัดกว่าทั้งตอนซื้อและตอนใช้งาน เมื่อเทียบกับ เอส-๒๖ที รวมถึงความไม่จำเป็นของระบบ เอไอพี ครับ
เอ-๑๙, เอ-๒๖, สกอร์ปิเน่, สารพัดเรือ อู ฯลฯ ไม่อยู่ในข่ายครับ คือจารย์ใหญ่แกให้โจทย์มาว่าต้องเป็น ด. จีนเท่านั้นครับท่าน แล้วก็ต้องไปขอให้ถูกคนด้วยนะครับ มาขอกับผมอย่างมากก็ได้แต่เรือโมเดลละครับ ฮ่ะๆๆๆ...
เท่าที่อ่านจากอีกเว็บนึง ผมดูๆ ไปแล้ว s26T ก็เหมาะเล้วครับ
s26t ชอบตรงที่ ได้ จรวด CM-708UNB วางกล้ามได้สบายๆ ถึงแม้มันอาจจะใช้งานไม่ได้เหมือนในสเป็ค แต่ผมว่า DTI คงได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี ตัวนี้แน่นอน สอดคล้องกับ แผนพัฒนาจรวด
ผมขอคุยเรื่องจรวด 300 กม.นิดนึงนะครับ เพราะตอนนี้คนไทยจำนวนมาก (รวมทั้ง officer จำนวนมหาศาล) กำลังคุยโม้ไปทั่วโลก และเอามาเป็นประเด็นสำคัญว่ามันคืดสุดยอดเจ้าโลก ที่ทำให้ทุกคนไม่กล้าบุกไทยแน่นอนล้านเปอร์เซนต์
ปี 1998 มาเลเซียเข้าประจำการจรวดต่อสู้เรือรบ Ootmat MK II จากอิตาลี จรวดมีระยะยิง 180 กม.พร้อมระบบ datalink ของจริงที่สามารถยิงได้จริงตามการันตี ประเทศที่อยู่ติดกันต้องกลัวคลี่หดตดหายสิครับ เพราะทั้งไทยและสิงคดปร์มีแค่จรวดฮาร์พูนระยะยิง 120 กิโลเมตรเท่านั้น (ห่างกันอยู่ 8 เสาไฟ) แล้วมาดูที่ 2 ประเทศนี้ตั้งรับกับจรวดระยะยิง 180 กม.จำนวน 48 ลูก กันดูนะครับ
สิงคโปร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย เรือฟริเกตที่ต่อใหม่ทั้ง 6 ลำก็ยังใช้ฮาร์พูนเหมือนเดิม ทั้งยังไม่ติดตั้งระบบ CIWS ต่างหาก เอาเงินไปลงระบบ datalink รวมทั้งระบบเป้าลวงทันสมัยดีกว่า ชาตินี้ติดจรวดต่อสู้อากาศยานบนเรือรบและเรือช่วยทุกลำครับ แต่ก็ติดไปตามขนาดเรือจึงมีทั้ง Aster-15 VL-Mica Barak-1 และ Misitral การจัดหาเรือดำน้ำกฌทำไปตามแผน นั่นคือเอาเรือมือสองจากสวีเดนอีกแล้วครับท่าน
หันมาดูประเทศไทยบ้าง เราตั้งรับด้วยการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจากประเทศจีน 2 ลำ ริเริ่มโครงการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.991 รวมทั้งจัดการปัญหาหลังบ้านที่หมักหมมมานานให้เข้าที่เข้าทาง ทั้งเรื่ออาวุธติดเรือ ระบบสื่อสาร ระบบอำนวยการรบ ระบบซ่อมบำรุง กระทั่งปัจจุบันกองทัพเรือจึงมีระบบมาตราฐานเหมือนกันชาวโลกเขาเสียที กระทั่ง(อีกครั้ง) ต้องมารื้อใหม่หมดเพราะเรือดำน้ำจีนนี่แหละ เพราะเราอยากได้จรวด 300 กม.จำนวนไม่กี่นัดเสียเหลือเกิน
เห็นไหมครับว่าไม่มีใครให้ความสำคัญกับจรวด 180 กม.จำนวน 48 นัดของมาเลเลย และจะไม่มีใครให้ความสำคัญกับจรวด 300 กม.จำนวนไม่กี่นัดของเราเช่นกัน คนทั่วโลกกำลังหัวเราะจนฟันร่วงหมดปากแล้ว ที่เราเสียเงิน 36,000 ล้านเพราะมีความคิดแค่เพียงเท่านี้ ตลกมาก....ที่ไทยยอมรับข้อเสนอแย่ ๆ แต่ที่ตลกยิ่งกว่าคือคนไทยจำนวนมากกำลังเอาเรื่องแย่ ๆ ไปคุยโม้ทั่วโลก
ได้ความรู้เพิ่มขอบคุณครับ
ความเห็นท่าน superboy โดนใจจริง ๆ...
หลายครั้งที่จะพูดกันว่า...มันมีดีอะไร ?...แต่ไม่คอ่ยจะพูดกันว่า...เราใช้อะไรได้ดี...
สำหรับ S-20 นั้น...ท่านเสือใหญ่ อย่าลืมว่า...เรือดำน้ำจีน เป็นเรือดำน้ำแบบ ลำตัว 2 ชั้น น่ะครับ...
นั่นหมายถึง ถึงจะระวาง 2,000 ตันก็จริง แต่พื้นที่ภายใน ผมว่ามันคงจะประมาณ เรือดำน้ำลำตัวเดียว ประมาณ 1,000 ตัน...หรือ น้อยกว่า...
ถ้าให้เทียบความสามารถ ผมว่าคงประมาณ เรือชุด ชาแลนเจอร์ ของ ทร.สิงคโปร์...
แล้วเราจะต้อง ทน กล้ำกลืน เพื่ออะไร ?
เมื่อสัก 100 ปี ผ่านมาแล้ว
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นไว้ในรายงานเรื่อง เรือ ส.
"..ในที่สุดนี้ จะขอกล่าวอีกทีหนึ่งว่า เราควรจะวินิจฉัยเสียให้เด็จขาด ว่าควรจะมีเรือ ส หรือไม่ เพราะว่าถ้าจะมีแล้วเข้าใจว่า กองเรือ ส จะเปนส่วนสำคัญของกองทัพเรือไทยอย่างหนึ่ง เพราะฉนั้น ถ้าเราจะมีแล้วควรจะมีให้ใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่มีสำหรับประดับพระเกียรติยศ หรือเมื่อเห็นว่าควรจะมีไว้บ้าง อย่ามีเสียเลยดีกว่าไม่เสียเงิน "
ผมว่าเป็น หลักคิด ที่ไม่เคย เก่า...เนื่องเพราะ ข้อจำกัด ของสภาพอ่าวไทย เองที่สำคัญ...รวมถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำรงให้ เรือดำน้ำ พร้อมรบ ตามหลักยุทธวิธี ที่มีจำนวนที่สูง ไม่ว่าจะยุคไหน สมัยไหน ก็ตาม...จึง ควรจะคิดให้ดี คิดให้รอบคอม...ไม่ใช่ สักแต่ว่า มี ไปก่อน...ค่อย แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันทีหลัง...
ท่านจูลดาส ผมคิดตามโจทย์ที่ว่า เฉพาะเรือดีเซล-ไฟฟ้า จีนครับ เอส-20 ก็น่าจะเสียหายน้อยกว่า เอส-26ที ครับ ถ้าคิดแบบบัญญัติไตรยางค์ ก็ประมาณระวางขับน้ำปรกติ 2,000 ตัน ถ้าดำก็จะเพิ่มเป็น 2,450 ตัน ไม่รู้ถูกผิดหรือเปล่านะครับ (เทียบกับ 2,600/3,200 ของ เอส-26ที นะครับ)
คือถ้าคิดนอกกรอบได้ คือเลือกเรืออะไรก็ได้ตามงบประมาณที่มี ผมเลือก อู-209/1400 เกาหลีต่อแล้วครับ
แล้วก็ กำลังเห็นภาพว่า โครงการปรับปรุง อรม. โดยการสร้างโรงและลานต่อและซ่อมบำรุงเรือ รวมถึงชิปลิฟท์ด้วย น่าจะเป็นโครงการแยกต่างหาก เป็นโครงการของ อรม. เอง ใครอย่าได้เอาไปรวมกับโครงการซื้อเรือดำน้ำเชียว มันเอาเปรียบกันเกินไป ภาพโครงการเรือ ด. มันก็จะดีเกินคุ้มเกิน
ส่วนข้อความของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ที่ท่านยกขึ้นมา ผมเคยอ่านมาหลายครั้งแล้ว และเห็นด้วยสุดหัวใจเหมือนหลายๆ ท่านครับ เป็นสัจธรรม จริงแท้แน่นอน ชัดเจน ไม่ต้องแปลความหมายใดๆ อีก
ผมอ่านข้อความ ของ TAF ผมไม่แน่ใจว่าทางจีนเสนอ S20 มาแต่แรกหรือป่าว ครับ แต่ทางเราเองที่มาเปลี่ยนสเปค ก็เลยกลายมาเป็น S26T
เท่าที่เคยอ่าน ไม่เคยพบว่าจีนเสนอ เอส-20 ให้ ทร. ครับ ตอนมาพรีเซ้นต์ก็มาเสนอ เอส-26 ครับ
เท่าที่รู้ ทร. ก็ไม่เคยให้ข่าวว่าสนใจ เอส-20 ครับ
กระทู้นี้แค่อยากให้ลองเปรียบเทียบ เอส-26ที กับ เอส-20 ครับ แบบไหนน่าจะเหมาะสมกับ ทร. มากกว่ากันครับ