ด้วยในวันพุธที่ 5 เม.ย. นี้ ทร.จะแถลงเกี่ยวกับ โครงการจัดหา เรือดำน้ำจีน ซึ่ง บรรดา สมาชิกเว๊ป TFC คงไม่มีโอกาสได้เข้าไปสอบถามโดยตรง ผมเลยเสนอกระทู้นี้ เผื่อจะเป็น ข้อมูล ให้กับ บรรดาผู้สื่อข่าว ที่อาจจะแวะผ่านมาอ่านในเว็ปแห่งนี้บ้าง และอาจจะสนใจในบางประเด็น ซักถามกับ ทร. ในวันพรุ่งนี้ หรือ อาจจะไม่ได้เป็นที่สนใจเลยก็ได้ แต่อย่างน้อย สมาชิก ก็จะได้รู้ประเด็นในความสงสัยของตนเองมากขึ้น และจะไม่ใช่ แค่ความรู้สึกส่วนตัว เท่านั้น
ในวันพรุ่งนี้ ผมก็ขอ เดา ว่า...ทร. คงแถลงเกี่ยวกับความจำเป็น ที่ต้องมีเรือดำน้ำ...และข้อเสนอของ ประเทศจีน สำหรับโครงการนี้...โดย คงไม่มีการ เปรียบเทียบ กับ บริษัทฯ อื่น ที่นำเสนอ...เพื่อสนับสนุน ผลลัพภ์ ที่ออกมาเป็น เรือดำน้ำจีน...เท่านั้น
ข้อซัก – ถาม นี้ ผมจะ สมมติ ว่า ถ้าเป็นผม ผมจะถามอะไรบ้าง
เรื่องที่ 1 ความเหมาะสม
1.1 เรือดำน้ำ รุ่น S-26T ระวางขับน้ำ บนผิวน้ำ สูงสุด 2,660 ตัน แล้ว ระวางขับน้ำ ขณะดำน้ำ กี่ตัน ? เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เรือดำน้ำ รุ่น S-26T มีระวางขับน้ำ มากเป็นอันดับที่เท่าไหร่ของประเทศเพื่อนบ้าน
1.2 เรือดำน้ำ รุ่น S-26T เป็น เรือดำน้ำ ที่ ขนาดใหญ่ ที่สุด ใน อาเซียน ใช่หรือไม่ ?
1.3 ความลึกเฉลี่ยของ อ่าวไทย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทร. เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทย มีความลึกเฉลี่ย น้อยสุด ในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่มี เรือดำน้ำ รุ่น S-26T ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดใน อาเซียน ...โดยผลลัพภ์ที่ออกมานี้ ทร. มีความเห็นแล้วว่า เรือ S-26T มีขนาดเรือ ที่เหมาะสมที่สุด เมื่อนำมาใช้ ความลึกเฉลี่ยของอ่าวไทย เมื่อเทียบกับเรือดำน้ำแบบอื่นที่ร่วมเสนอ แล้ว ใช่หรือไม่ ?
1.4 เรือดำน้ำ รุ่น S-26T มีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะดำน้ำ ที่ความลึกกี่เมตร ? ดังนั้น เมื่อเทียบกับ เรือดำน้ำแบบอื่นที่นำเสนอ ผลของเรือดำน้ำ รุ่น S-26T ที่ประสิทธิภาพสูงสุดในขณะดำน้ำ ที่ความลึก น้อยกว่า แบบเรือดำน้ำอื่น ใช่หรือไม่ ?
1.5 ด้วย ความลึกเฉลี่ยของ อ่าวไทย ที่มีความตื้น ถ้า เรือดำน้ำ มีประสิทธิภาพสูงสุด ในระดับความลึกน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความได้เปรียบ ใช่หรือไม่ ?
1.6 เรือดำน้ำ รุ่น S-26T ทร.ประเมินแล้ว มีความสามารถในการปฏิบัติการในเขตน้ำตื้น มากกว่า เรือดำน้ำทุกแบบที่เสนอ ใช่หรือไม่ ?
เรื่องที่ 2 ประสิทธิภาพ
2.1 เรือดำน้ำ รุ่น S-26T เป็น เรือดำน้ำ ที่มีเทคโนโลยี่ แบบ นวัตกรรมปิด ใช่หรือไม่ ? คือ ไม่สามารถจะใช้ระบบอาวุธ หรือระบบอำนวยการรบ จากแหล่งอื่นได้ นอกจาก ประเทศจีน ใช่หรือไม่ ?
2.2 เรือดำน้ำแบบอื่นที่ร่วมเสนอกับ ทร. เป็น เรือดำน้ำ มีเทคโนโลยี่ แบบ นวัตกรรมเปิด ใช่หรือไม่ ? คือ สามารถจะใช้ระบบอาวุธ หรือระบบอำนวยการรบ จากหลายแหล่งได้ นอกเหนือจากประเทศที่สร้างเรือดำน้ำ
2.3 เมื่อเทียบ แบบเรือดำน้ำ ที่มี เทคโนโลยี่แบบ นวัตกรรมปิด กับ นวัตกรรมเปิด ทร. เห็นความเหมาะสมว่า เรือดำน้ำแบบ S-26T เป็นเรือดำน้ำ ที่มี นวัตกรรม สูงกว่า เมื่อเทียบกับ เรือดำน้ำแบบอื่น ใช่หรือไม่ ?
2.4 กองทัพเรือ กำหนดอายุใช้งาน เรือดำน้ำ 30 ปี เรือดำน้ำ S-26T เมื่อถึง ครึ่ง อายุใช้งาน จะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ ใช่หรือไม่ ?
2.5 ดังนั้น ทร. มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจว่า ในอีก 15 ปี ข้างหน้า ผู้ผลิต เรือดำน้ำ S-26T จะมีการพัฒนาเทคโนโลยี่ระบบต่าง ๆ เช่น โซนาร์ ระบบอำนวยการรบ ในเรือดำน้ำ ที่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าในปัจจุบัน ใช่หรือไม่ ? เพราะ ทร. ไม่สามารถจะไปหา เทคโนโลยี่ จากแหล่งอื่น มาใช้กับ S-26T ได้
2.6 อาวุธเรือดำน้ำ ทร. ให้ความสำคัญของประสิทธิภาพ ระหว่าง ตอร์ปิโด หรือ อาวุธนำวิถีใต้น้ำสู่พื้น อาวุธชนิดใดที่ ทร. ให้ความสำคัญเป็น อันดับหนึ่ง ?
2.7 ถ้าให้ความหมายอาวุธที่อันตรายที่สุดของ เรือดำน้ำ คือ ตอร์ปิโด แล้ว ตอร์ปิโดที่ มาพร้อมกับ เรือดำน้ำ S-26T เป็น มาตรฐานการใช้งานในกองทัพเรือจีน หรือ เป็นมาตรฐานการ ส่งออก ? หมายถึง กองทัพเรือจีน กับ S-26T ใช้ ตอร์ปิโด รุ่นเดียวกัน แบบเดียวกัน
2.8 ดังนั้น ตอร์ปิโด ที่ ทร. จะจัดหามาพร้อมกับ S-26T จะมีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับ ตอร์ปิโด Black Shark หรือตอร์ปิโดจากรัสเซีย ที่ประเทศเพื่อนบ้าน มีประจำการ หรือไม่ ? แล้วจัดลำดับ ตอร์ปิโดจีน เมื่อเทียบกับ ตอร์ปิโด ที่มีการขายโดยทั่วไป เทียบได้ระดับใด
2.9 ทร. จะต้องใช้ ตอร์ปิโด และอาวุธนำวิถีจากใต้น้ำสู่พื้น จาก ประเทศจีน ได้ประเทศเดียว เท่านั้น ใช่หรือไม่ ? หมายถึง ทร. จะต้องพึ่ง การพัฒนาและการผลิตของประเทศจีน ประเทศเดียว ไม่สามารถจะไปจัดหาแบบอื่น จากแหล่งอื่น มาปรับใช้กับระบบภายในเรือดำน้ำของ S-26T ได้
เรื่องที่ 3 ค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งาน
3.1 เรือดำน้ำ S-26T เป็นเรือดำน้ำแบบ ลำตัว 2 ชั้น สำหรับ เรือดำน้ำ แบบอื่นที่เสนอ เป็นแบบ ลำตัว ชั้นเดียว ใช่หรือไม่ ?
3.2 ระวางขับน้ำ ที่ผิวน้ำ กับ ใต้น้ำ ของ เรือดำน้ำแบบ ลำตัว 2 ชั้น จะแตกต่างกันมาก ระหว่าง 900 – 1000 ตัน เช่น เรือแล่นผิวน้ำ มีระวางขับน้ำ 2,600 ตัน แต่เมื่อ ดำใต้น้ำ จะมีระวางขับน้ำ 3,600 ตัน แต่ เรือดำน้ำแบบ ลำตัว ชั้นเดียว จะมีระวางขับน้ำ ผิวน้ำ กับ ใต้น้ำ แตกต่างกันน้อย อยู่ ระหว่าง 100 – 200 ตัน ดังนั้น เมื่อเทียบ ค่าใช้จ่ายในการดำน้ำของ เรือดำน้ำ แบบ S-26T ต่อครั้ง จะมีค่าใช้จ่าย สูงกว่า เรือดำน้ำแบบอื่น ใช่หรือไม่ ?
3.3 ค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งาน ของ เรือดำน้ำ แบบ S-26T จำนวน 3 ลำ เปรียบเทียบกับ เรือดำน้ำแบบอื่น จำนวน 2 ลำ จะมีค่าใช้จ่าย สูงกว่า หรือ ต่ำกว่า กี่เปอร์เซ็นต์ ? กองทัพเรือ มีคำนวณไว้แล้วหรือไม่ ?
3.4 อายุใช้งานของ แบตเตอรี่ เรือดำน้ำ แบบ S-26T อายุใช้งานกี่ปี เมื่อเทียบกับ เรือดำน้ำแบบอื่นที่เสนอมา วงรอบการเปลี่ยนแบตเตอรี่ แบบ S-26T สูงกว่า หรือ ต่ำกว่า ? และ สามารถจัดหา แบตเตอรี่ จากแหล่งอื่น ได้หรือไม่ ?
3.5 เรือดำน้ำแบบ S-26T ใช้กำลังพล สูงกว่า แบบเรือดำน้ำแบบอื่นที่เสนอ ใช่หรือไม่ ? ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังพล ตลอดอายุใช้งาน ก็จะสูงกว่า เรือดำน้ำแบบอื่นที่เสนอ ใช่หรือไม่ ?
3.6 กองทัพเรือ ได้มีการคำนวณค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งาน ของเรือดำน้ำแบบ S-26T จำนวน 3 ลำ ว่าเป็นอัตราร้อยละกี่เปอร์เซ็นต์ ของงบประมาณรวมในอนาคตของกองทัพเรือ แล้วหรือไม่ ? ว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับ ค่าใช้จ่ายปฏิบัติงานความพร้อมรบของส่วนงานอื่น และจะไม่ประสบปัญหาการไม่มีงบประมาณจนเรือดำน้ำ แบบ S-26T ไม่มีความพร้อมรบ หรือ ลดจำนวนเรือสำหรับการใช้งาน ในอนาคต ซึ่งมีหลายประเทศ เมื่อจัดหา เรือดำน้ำมา แล้วก็ประสบปัญหา ไม่มีงบประมาณให้สามารถใช้งานได้ทุกลำ
เรื่องที่ 4 ความหมาย ความคุ้มค่า ของ กองทัพเรือ ของเรือแบบ S-26T เมื่อเทียบกับแบบเรือดำน้ำแบบอื่นที่เสนอ คือ อะไร ? และสามารถคำนวณเป็นตัวเลขที่พิสูจน์ ได้หรือไม่ ?
ความจริง เนื้อหาของคำถาม มันไม่ได้ยาวหรอกครับ...แต่ผมก็เขียน อธิบายในคำถามไว้ด้วย เผื่อบางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจในความหมายบางอย่าง
ขอผมมีแค่นี้แหล่ะครับ ส่วนท่านอื่น ๆ มีคำถามอะไร ก็ลองมาตั้งกันดูครับ เผื่อจะมีใครผ่านมาแถวนี้ แล้วเอาคำถามของท่าน ไปถามแทนท่านบ้างก็ได้...
ไม่อยากถามครับ .. แต่อยากให้กำลังใจกองทัพเรือมากกว่า.. และอยากบอกท่านว่า เดินหน้าเต็มกำลัง ไม่ต้องสนปากหอยปากปู เพื่อชาติไทยเรา..
สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เพื่อเรือดำน้ำของชาติเรา
1 เรือฟริเกตแดวูลำที่สอง จะเซ็นสัญญาเมื่อไหร่
2 เรือตรวจการณ์ปืน M58 ลำที่สอง จะเซ็นสัญญาเมื่อไหร่
3 เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำประจำเรือฟริเกต จะจัดหาเมื่อไหร่
4 จรวดต่อสู้อากาศยานหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จะจัดหาเมื่อไหร่
อ่าวววว.... ไม่เกี่ยวกับเรือดำน้ำเลยนี่นา เผ่นเถอะเรา แว่บบบบบ !!!
ใหญ่ลึกผมว่าน่าจะไม่แค่ใช้ในอ่าวไทยเรานะครับ เพราะหากเกิดปัญหาอะไรเราก็ยังออกไปตั้งรับได้ตั้งแต่ไกลบ้านเลย ไม่ใช่เอามาแต่มาตั้งรับหน้าบ้าน หรืออาจออกไปรุกก่อนรับเลยดีกว่า ส่วนทัพเราอาจจัดที่เล็กกว่ามารับงานในบ้านแทนครับ แบบหากผ่านตัวหน้าบ้านมาได้อีกชั้น
แต่ไงผมก็สนับสนุนทัพเรือให้มีก่อนครับ ผ่อนเอาไม่ได้ซื้อสด
จาก คนเสียภาษีคนหนึ่ง
โอ้ยยย...คำถามของ ท่าน superboy...ผมตอบให้ ก็ได้ครับ...ไม่ต้องรบกวน ทร. หร๊อกกก...
1 เรือฟริเกตแดวูลำที่สอง จะเซ็นสัญญาเมื่อไหร่
คงไม่มี...เพราะ หลังจากจัดหา เรือดำน้ำจีน แล้ว...ทร. มีงบประมาณอย่างจำกัด...เลย ต้องไปจัดหา เรือฟริเกต จากประเทศจีน แทน...ในราคา ซื้อ 1 แถม 1...คือ จ่าย 15,000 ล้านบาท สำหรับเรือเกาหลี 1 ลำ ก็ไปซื้อเรือฟริเกตจีน ได้ ถึง 2 ลำ...ครับ...ใช้ แพคเกจ เดียวกับ เรือดำน้ำจีน...
2 เรือตรวจการณ์ปืน M58 ลำที่สอง จะเซ็นสัญญาเมื่อไหร่
คงหลังจาก ทร. จัดหา เรือ OPV ลำที่ 3 และ 4 จาก แบบเรือ Type-056 จาก ประเทศจีน เรียบร้อยแล้ว ครับ...เนื่องจาก ทร. มีความจำเป็น มากกว่า เนื่องจ่าก จะมีเรือฟริเกตเก่า ปลดประจำการ จำนวนมาก...
3 เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำประจำเรือฟริเกต จะจัดหาเมื่อไหร่
คงหลังจาก ทร. ลงนาม จัดหา เรือฟริเกต จากประเทศจีน เรียบร้อยแล้วครับ...เพราะ ตอนนี้ ยังไม่มีความแน่นอนว่า เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะมาจาก เกาหลีใต้ ทั้งหมดหรือไม่....กลัว จัดหา ฮ.ประจำเรือฟริเกต จากประเทศจีน มา...แล้ว ระบบ จะเข้ากันไม่ได้ครับ...
4 จรวดต่อสู้อากาศยานหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จะจัดหาเมื่อไหร่
คงเร็ว ๆ นี้ ครับ...หลังจาก ทอ. จัดหาจาก ประเทศจีน เข้าประจำการแล้ว...ทร. คงจัดหา แบบเดียวกับ ทอ. เพื่อ เป็นระบบเดียวกัน ใช้ร่วมกันได้ครับ...เพราะ ทอ. กับ ทร. มีระบบการรบ ร่วม แล้วครับ...
อนาคต กองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือจีน..อาจจะแยกกัน ไม่ค่อยออก ครับ...ต้องให้ สังเกตุ ที่ ธงเรือ อย่างเดียว อ่ะครับ...
จาก ผู้เสียภาษีคนหนึ่ง เหมือนก้ัน...ก็คิดว่า กว่า เรือดำน้ำจีนของ ทร.ไทย หรือ พี่อ้าย (ย่อมาจาก อุ้ยอ้าย)...จะไปถึงทะเลลึก ที่จะไปกบดาน นั้น...
พี เปอร์ (ย่อมาจาก สไนเปอร์) ก็คง แอบซุ่ม อยู่แถว หน้าบ้าน แล้วครับ...รอดู พี่อ้าย ว่าไปเดินเล่น แถวไหนบ้าง...แล้วก็ ส่องดู ไปเรื่อย ๆ น่ะครับ...
จากทะเลอ่าวไทย พี่อ้าย ก็แล่น เฉิดฉาย กว่าจมใต้น้ำได้...ก็คงให้ พี่ ซุ่ม (ชื่อย่อ หน่วยข่าว) จากประเทศเพื่อนบ้าน เห็น ตั้งแต่ บนฟ้าเกือบเข้าชั้นอวกาศ ส่องลงมา...หรือ 007 ที่ปลอมตัวเป็น ชาวประมง จับปลา กระชิบให้ พี่ เปอร์ ทราบ เรียบร้อยแล้วล่ะครับ...ว่า ขณะนี้ พี่อ้าย กำลังออกมาเดินเล่น แล้วน๊าาาาาา....
มีคำถามว่าเมื่อไหร่เรือ S-26T จะมาครับ
* กำลังใจให้ ทร. ในวันที่ผู้ผลิตมาหลากหลาย แต่เงินทุนมีจำกัด
ไม่ได้ถามครับ....
แค่อยากให้ ทร.ทำป้ายทองเหลือง สลักชื่อ กรรมการทั้ง 17+1 ท่าน (รวม Big Boss)
เป็นเกียรติประวัติ ไว้ที่กองเรือดำน้ำ และในเรือดำน้ำทั้ง 3 ลำ..สืบชั่วลูก-ชั่วหลาน
(อย่างน้อยก็ 30 ปี) ได้เห็นเป็น คุณูปการ....
ท่าน นายพลเรือท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า เรือดำน้ำจีนลำนี้ไม่เหมาะ ปัจจุบันท่านเกษียณ ไปพักผ่อนตีกอล์ฟแล้ว น่านับถือมากสำหรับผม
ปล.แล้วที่ซื้อราคานี้ไม่ได้ถูกอย่างทีคิด เงินไปไหนบ้างผมก็เสียภาษีใครก็เสียภาษีแค่ มันควรคุ้มค่าตรวจสอบได้จริงๆครับ
ถามไม่ออกครับ
วันนี้ 4/4/60 ดูช่อง สปริงนิวส์ ประมาณ ทุ่มห้าสิบ ทร.ตอบเรื่องเรือดำน้ำ ฟังดูแล้วเหตุผล ไม่ผ่านครับ ผู้สื่อข่าวถามเรื่องเรือจีน เหมาะสมหรือไม่ ตอบไปอย่างอื่น เข้าใจว่าจำเป็น แต่ที่อยากรู้คือ ทำไมต้องเรือจีน ....... มีต่ออีกตอน พรุ่งนี้
นักข่าวอาชีพที่ทำงานในสื่อกระแสหลักมักจะตั้งธงไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วว่าจะเขียนข่าวออกมาแบบไหนก่อนจะตั้งคำถามกับแหล่งข่าวแล้วครับ
Copy มาจาก เพจ ท่าน กัปตันนีโม ครับ...
1 ชม. ·
คมชัดลึก เปิดสเปคเรือดำน้ำจีน กับ 7 คำถามเรื่องคุณภาพและความคุ้มค่า
ท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบรัฐต่อรัฐจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ล่าสุดออกโรงตำหนิอดีตทหารระดับสูงที่ออกมาให้ข้อมูลเชิงลบทางสื่อสังคมออนไลน์ สะท้อนว่างานนี้กองทัพเรือมีได้เรือดำน้ำเข้าประจำการสมใจอยากแน่
เพราะนายกฯ ถือเป็นปราการด่านสุดท้ายที่จะสั่งระงับโครงการตามที่หลายฝ่ายออกมาเรียกร้อง ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หนุนสุดตัวมาตั้งแต่ต้น
รายงานของคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ หรือ กจด.ของกองทัพเรือ ได้สรุปคุณสมบัติของเรือดำน้ำจีนว่า มีความเหมาะสมทุกด้าน ทั้งในแง่ยุทธศาสตร์ คือการคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล และถ่วงดุลอำนาจการรบกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในแง่ยุทธวิธี เรือดำน้ำรุ่นนี้ก็มีความสามารถในการซ่อนพราง เพราะมีระบบ AIP หรือระบบขับเคลื่อนโดยปราศจากอากาศ ดำน้ำได้นานถึง 21 วัน ขณะที่ระบบอาวุธก็คุ้มค่า สมราคา
โดยกองทัพเรือนัดแถลงชี้แจงอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 เมษายนนี้ หลังจาก พล.ร.ท.พัชระ พุ่มพิเชฏฐ์ รองเสนาธิการทหารเรือ นำคณะเดินทางไปตรวจความพร้อม และเอกสารสัญญาต่างๆ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม
ซึ่งหลายฝ่ายยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเหมาะสม, ความคุ้มค่า และความโปร่งใสของกระบวนการจัดซื้อ
ล่าสุดมีการเผยแพร่เอกสารสเปคของเรือดำน้ำ S26T และเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเอกสารจริงที่บริษัทผู้ผลิตของจีน เสนอโครงการให้กับกองทัพเรือเมื่อปี 2558 ซึ่งนำไปสู่คำถาม 7 ข้อว่าสเปคเรือดำน้ำของจีน ด้อยกว่าเรือดำน้ำแบบอื่นๆ ใช่หรือไม่ กล่าวคือ
1.ขนาดของตัวเรือ ตามสเปคระบุชัดว่าเป็นเรือขนาดใหญ่ มีความลึกปลอดภัยขณะดำ อยู่ที่ 60 เมตร ซึ่งระดับความลึกนี้มากกว่าความลึกเฉลี่ยของอ่าวไทยที่ 50 เมตร ขณะที่เรือดำน้ำรุ่นอื่นที่มีการเสนอราคาเข้ามา สามารถปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัยที่ความลึก 40 เมตร
ที่สำคัญแม้จะกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการในพื้นที่นอกอ่าวไทย หรือทะเลอันดามันก็ตาม แต่หากเรือดำน้ำไม่สามารถดำในอ่าวไทยเพื่อเดินทางเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการได้ ก็จะส่งผลต่อการรักษาความลับ หรือศัพท์ทางยุทธวิธีก็คือ "การซ่อนพราง" ย่อมส่งผลให้ภารกิจหลักเสียหายในที่สุด
2.ความเร็วและระยะปฏิบัติการ ตามสเปคระบุคว่า เรือสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 18 นอต ได้เพียง 10 นาที สั้นกว่าเรือดำน้ำแบบอื่นที่ทำความเร็วได้มากกว่า 20 นอต เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะที่ระยะปฏิบัติการของเรือ สเปคระบุไว้เพียง 8,000 ไมล์ แต่เรือดำน้ำแบบอื่นมีระยะปฏิบัติการมากกว่า 10,000 ไมล์ ทั้งที่เป็นเรือดำน้ำขนาดเล็กกว่า
3.ระบบ AIP หรือระบบขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้อากาศจากภายนอก ซึ่งเรือดำน้ำจีนโฆษณาว่าดำน้ำได้ต่อเนื่องถึง 21 วันโดยไม่ต้องโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ แต่ในสเปคระบุรายละเอียดว่า ระบบ AIP สามารถใช้งานลาดตระเวนได้เพียง 10 วันเท่านั้น ขณะที่เรือดำน้ำทั่วไปที่มีระบบ AIP ใช้งานได้มากกว่า 2 สัปดาห์ [เรือดำน้ำชั้น 212A ของเยอรมัน ทำสถิติเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยระบบ AIP รุ่นใหม่แบบ Fuel Cell เป็นเวลาต่อเนื่อง 18 วันโดยไม่ต้องชาร์จแบตเตอรี่ เมื่อปี ค.ศ.2013 - แอดมิน]
4.อายุการใช้งาน ตามสเปคเรือดำน้ำจีนระบุว่ามีอายุการใช้งาน 25 ปี แต่เรือดำน้ำแบบอื่นมีอายุการใช้งาน 35 ปีขึ้นไป [ซึ่งถ้าหารราคาเรือ 1 ลำ 13,500 ล้านบาทต่อปีแล้วจะอยู่ที่ปีละ 540 ล้านบาท แพงกว่าเรือดำน้ำแบบอื่นราคาลำละ 18,000 ล้านบาท แต่หารอายุการใช้งาน 35-40 ปี อยู่ที่ปีละ 514.3-450 ล้านบาท - แอดมิน]
5.อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ตามสเปคระบุว่ามีอายุการใช้งานเพียง 200 รอบการชาร์จ ขณะที่แบตเตอรี่ของเรือดำน้ำแบบอื่น มีอายุการใช้งานมากกว่า 1,200 รอบการชาร์จ และการเปลี่ยนแบตเตอรี่แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
6.การหนีจากเรือดำน้ำ ด้วยชุดหนีภัยเรือดำน้ำ เพื่อให้กำลังพลประจำเรือหนีออกจากเรือได้หากเกิดอุบัติเหตุใต้น้ำ ตามสเปคของเรือดำน้ำจีนระบุว่า สามารถทำการหนีได้ในระดับความลึกเพียง 100-120 เมตร แต่เรือดำน้ำแบบอื่นสามารถทำการหนีได้ในระดับความลึกมากกว่า 180 เมตร
7.ระบบอาวุธ มีตอร์ปิโดลูกจริงเพียง 4 ลูกสำหรับเรือดำน้ำ 3 ลำ และสเปคระบบอาวุธประจำเรือยังตรวจจับเป้าหมายได้แค่ 64 เป้าหมาย กับคำนวณการเคลื่อนที่ของเป้าหมายเหล่านั้นได้เพียง 4-6 เป้าหมาย รวมทั้งสามารถยิงอาวุธได้ไม่เกิน 2 ลูกพร้อมกัน ขณะที่เรือดำน้ำแบบอื่นสามารถตรวจจับและคำนวณการเคลื่อนที่ของเป้าหมายได้มากกว่า 100 เป้าหมาย และสามารถยิงอาวุธได้ 4 ลูกพร้อมกัน
ทั้ง 7 ข้อคือคำถามเรื่องคุณภาพและความคุ้มค่าที่กองทัพเรือในฐานะผู้จัดซื้อ และเตรียมผูกพันงบประมาณซึ่งมาจากภาษีประชาชนนานถึง 11 ปี ต้องตอบให้เคลียร์!
ถ้าจะบอกว่า spec. ที่สื่อมีอยู่ในมือคือ spec. ของการมานำเสนอครั้งแรกๆบางส่วนถูกบางส่วนผิด จะเชื่อกันหรือไม่ และ spec. ใหม่มีคนเห็นแล้วแต่เอาออกมานำเสนอออกสื่อไม่ได้เพราะถึงขั้นผิดวินัยร้ายแรง มีแต่พูดกันปากต่อปากในกลุ่มมิตรสหาย จะเชื่อหรือไม่ แปลกนะครับ ของที่มีอยู่ในมือสื่อคือของเดิมๆที่ทางอิศราเอาออกมาเปิดเผยแถมข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้องอีกแต่ก็ยังมีคนเอามาเล่นเป็นสงครามด้านการข่าวไปได้ หุหุ ไม่ได้สนับสนุน ส ชุดนี้ครับเพราะเกิดจากการถูกแทรกแซงทางการเมืองแต่ก็ไม่ได้อคติและน่ามืดตามัวค้านซะจนไม่เห็นเดือนเห็นตะวันครับ
ก้ในเมื่อการจัดหาครั้งนี้มันไม่โปร่งใสตั้งแต่แรกๆ มีข้อกังขามากมาย
ผมคิดว่าคงไม่จำเปนต้องพูดเรื่องประสิทธิภาพแล้วล่ะครับ
ส่วน ทร. จะชี้แจงแบบไหนนั้น เราๆในนี้ต่างก็น่าจะรู้กันอยู่แล้ว
เช่น เรือ ส. จีน เทียบความคุ้มค่าแล้วเหมาะสมกับทร.ที่สุด บลาๆๆ โดยไม่เปรียบเทียบกับแบบเรืออื่น
หรือจะแถลุยโต้งๆ เรือแบบอื่นไม่ตรงความต้องการ ห่วย แพง งบประมาณเราจำกัด (ที่สำคัญมีคนเชื่อด้วย)
เรือจีนเทพสุดใน 3 โลก บลาๆๆ
เชื่อสิ ทำไมซื้อหวยไม่แม่นอย่างนี้บ้างฟระ 55555+
อยากรู้แค่ว่า เรือดำน้ำ s26t ในทางยุทธวิธี จะปฏิบัติการกับกองเรือผิวน้ำอย่างไร ติดต่อสื่อสาร แจ้งเตือน ชี้เป้า ให้กองเรือผิวน้ำอย่างไร สถานที่ปฏิบัติการอยู่บริเวณไหนครอบคลุมพื้นที่หรือไม่ จรวดโจมตีเรือใช้อะไรชี้เป้าระบุเป้าหมาย และความต้องการเดิมของทัพเรือคือเรือดำน้ำขนาดไม่เกิน 1,500 ตัน เพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติการในอ่าวไทยแต่ทำไมถึงเลือกเรือที่ขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก ถ้าจะเอาเรือจีนก็ให้มันใกล้เคียงหลักการเดิม แต่นี่จัดหาแบบแนวไหนก็ไม่รู้สงสัยไอเท็มลับคงจะเยอะล่ะมั๊ง และหวังว่าคงไม่เป็นตัวถ่วงให้กองเรือผิวน้ำเขานะหรือว่าต้องจัดหาเรือฟริเกตจีนเพิ่มอีกเพื่อจะได้ปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยากรู้แค่นี้
ถ้าเป็นผม ผมจะชี้แจงว่า เพื่อให้การผลิตนักดำเรือดำน้ำของกองทัพเรือ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด และเพื่อเป็นการวางรากฐานของกองเรือดำน้ำไทยในอนาคต กองทัพเรือจึงได้เลือกซื้อเรือดำน้ำที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งต้องการลูกเรือจำนวนมาก มาเป็นจำนวนถึง 3 ลำ ซึ่งกองทัพเรือตระหนักดีอยู่แล้วว่า ศักยภาพในการทำการรบของเรือรุ่นนี้ อาจจะไม่ทัดเทียบกับเรือ ส. ของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ไม่ถึงกับห่างชั้น แต่ต้องเข้าใจว่า เขาเริ่มมาก่อนเรา การที่เราจะไล่ให้ทันเขาก็ต้องเร่งฝึกคน ถ้าเราเลือกเรือลำเล็ก จำนวนเพียงสองลำ เราก็ฝึกคนได้ครั้งละน้อยๆ สู้เลือกลำใหญ่สามลำไม่ได้ ในอนาคตเมื่อเรามีนักดำเรือดำน้ำที่มีความเชี่ยวชาญเป็นจำนวนมากแล้ว กองทัพเรือก็จะเสนอของบประมาณในการจัดซื้อเรือที่มีสมรรถณะสูงขึ้นต่อไป
1.ถ้าจะบอกว่า ข่าวจากสำนักอิศราเป็นเท็จ อันนี้มันหลุดออกมาเป็นหน้าเอกสารฮะ เขาไม่ได้พูดเอง
ส่วนนี้ก็อย่ามาแถ
2.ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อเสนอในครั้งแรก ข้อนี้ก็ไม่เป็นธรรมกับผู้เสนอรายอื่น
ไม่ว่าหนึ่งหรือสอง ก็เข้าข่ายทุจริตนะฮะ อยากร้องเรียนนายกว่าไอ้อ้วนพูดไม่ชัดมันถ่วงภาพลักษณ์ คสช. อย่างยิ่ง
เงินงบประมาณไม่ใช่น้อยๆ ถ้าได้มาแล้วใช้การไม่ได้จะด้วย ได้มาไม่เต็มสเปคต้องเพิ่มเงินอีก หรือสมรรถนะไม่ได้ ผมขอออกตัวเลยว่าจะคัดค้านการขอเงินเพื่อสภาพพร้อมรบอีก เพราะรอบนี้ก็ได้ไปเยอะๆมากๆๆ แล้วถ้าไม่สามารถคงสภาพพร้อมรบได้อีก ไปๆมาๆ กองทัพเรือไทยแทนทีจะเป็นผู้ปกป้องประเทศจะกลายเป็นตัวถ่วงประเทศนะครับ ไอ้การจัดหาช่วงไม่ปกติแบบคนต้านก็เยอะอยู่แล้ว ยิ่งกองเชียร์ยิ่งไม่สนับสนุนอีก พอผ่านช่วงนี้ไปกลัวกองทัพเรือจะโดนเล่นก่อนเพื่อนสิฮ่ะ พวกคนเชียร์ก็หัดถ่างตาดูความผิดปกติด้วยนะฮ่ะ อย่าให้คนอื่นเขาคิดว่าเพราะตาเป็นแบบเดียวกันกับคนขาย เลยให้ท้ายกันไม่ดูอะไรเลย
เสนอแนวคิดน่ะครับ สมมุติ เรือดำน้ำเป็นคนว่ายน้ำในสระน้ำ คนสูง 190 ที่อ้วน กับ คนสูง 160 ที่ผอม ว่ายในสระลึก 2 เมตร เวลาว่ายน้ำท่านอนราบส่วนสูงกับความอ้วนจะแทบไม่มีผลในการว่าย ยกเว้นตอนกลับตัวที่คนสูงที่อ้วนอาจช้ากว่า คราวนี้มาที่เรือ S26T สมมุติว่าเดิมความสูงถึง Sail รวมได้ 16เมตร ถ้าลดความสูงของส่วน sail ลงมา กับลดขนาด หางเสือท้ายเรือไม่ให้ลึกเกินตัวเรือด้านล่าง โดยให้ขนาดตัวเรือเท่าเดิมประมาณ 9 เมตร จนได้ความสูงรวมไม่เกิน 12-13 เมตร พอๆกับเรือดำน้ำจากประเทศอื่น ไม่แน่ใจว่าจะในทางปฏิบัติสามารถสร้างได้หรือไม่ครับ (นี่พยายามหาทางที่พอไปได้ดีที่สุด ให้สามารถใช้งานในเขตน้ำตื้นได้มากขึ้น หากต้องเป็นเรือจีนจริงๆ โดยคิดว่าอุปกรณ์ต่างๆที่ติดมากับเรือสามารถยอมรับได้)
รายการ เผชิญหน้า FaceTime วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 19.25 น. ดำเนินรายการโดย ดนัย เอกมหาสวัสดิ์
ร่วมพูดคุยกับแขกรับเชิญพิเศษ
พล.ร.อ.จุมพล ลุมพิกานนท์
หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ
สนทนาในประเด็น ถอดรหัส 2 แถม 1 เรือดำน้ำ
บางข้อก็ตอบไม่ตรงคำถาม เปิดช่องแล้วพูดไปเรื่อยๆตามสคริปต์ที่เตรียมไว้ ลับ กับ รับ
ท่าน rayong 'ฟังแล้วตกลงมาเปลือกจีน ไส้ในสวีเดน ผมฟังถูกไหมครับ'
คงหมายถึง Stirling AIP ต้นแบบมาจาก Kockums ของสวีเดน ผลิตในจีนครับ
จากคลิปด้านบน
15.11 เรือต้อง 2 ชั้นถึงจะทน(หมายถึง 300 m)
16.30 ไฮไลต์เลยว่า ใช้จะแค่ส่วนหนึ่งของสมรรถนะเรือเท่านั้น (พูดง่ายๆซื้อของ 100 ใช้คุ้มแค่แค่บาทดียว แล้วทำไมไม่ซื้อแค่มันพอดีล่ะฮ่ะ)
17.40 ปกป้องจุดอ่อนของประเทศใต้นํ้า
18.15 มีเตรียมคนสำหรับภาระกิจนี้ไว้แล้ว(แต่ซื้อเรือจีนนะฮ่ะ ตรรกะอะไรเนี้ย)
18.30 รัฐบาลที่ผ่านมาไม่สนับสนุนให้กองทัพเรือมีเรือดำนํ้า
18.55 พิธีถามว่าถ้าเข้ามาในอ่าวไทยแล้วซ่อนพรางไม่ได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไร
19.20 จะใช้เรือคุ้มครองผลประโยชน์ชาติไปจนถึงช่องแคบมะละกานะคับ (พูดง่ายๆปฏิบัติการนอกประเทศเป็นหลักนะครับ)
21.55 yaun ดำในอ่าวไทยได้แค่บางส่วนเท่านั้นนะฮ่ะ(ยืนยันชัดจน)
21.55 จากพวกที่บอกว่า แค่เรืออ้วนไม่มีผล เลิกแถได้แล้วนะ
ทร.ชี้แจงเหตุผลสนับสนุนการซื้อเรือดำน้ำดีลนี้ไปแล้วไปแล้ว ทีนี้ทางผมอยากชี้แจงเหตุผลที่ไม่สนับสนุนการซื้อเรือดำน้ำดีลนี้บ้าง อันที่จริงดูแค่ภาพก็เข้าใจชัดเจน แต่ถ้าสมาชิกใหม่ท่านไหนยังไม่เคยเห็นรายละเอียด (เพราะลงมา 2 ปีแล้ว) ตามลิงค์ด้านล่างได้เลย
Project Wills : โครงการจัดหาเรือดำน้ำกองทัพเรือแอฟริกาใต้
แอฟริกาใต้มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำในระยะแรกสุด แต่ทว่าประสบปัญหาการเงินจึงลดลงเหลือ 3 ลำ ซึ่งราคาที่ลดลงไม่ได้หารสี่คูณสามนะครับ แต่เป็น 77 เปอร์เซนต์ของราคาเรือ 4 ลำ ซึ่งทางเขาก็ยอมรับและเข้าใจว่ามันมีค่าโน่นนั่นนี่
จะเห็นได้ว่าโครงการนี้มีขั้นตอนการจัดหา การให้คะแนน รวมทั้งวิธีประมวลผลอย่างชัดเจน โดยเอาจำนวนเรือเป็นตัวตั้ง โดยที่ประสิทธิภาพและออปชั่นถือเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้คะแนน
@คุณ rayong
ถ้าจะตัดให้เรือเตี้ย ซื้อยีห้ออื่นเถอะครับ การแก้แบบเรือดำน้ำมันยากมาก ทำทีไรปัญหาบานเบอะ ไปหมด ถ้าปักใจว่าจะเอาเรือที่สามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้แล้ว ทร. ไม่ควรจะยึดติดกับเรือจีนครับ
ตอนนี้เหมือนตั้งธงว่าจะเอาเรือจีน ไม่ได้จะปกป้องผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพราะถ้าต้อการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักก็มีเรืออื่นให้เลือกเยอะแยะที่ตรงกับความต้องการและเอกสาร TOR หรือ RFI ของเราครับ มีจีนเนี่ยแหละ ไม่ตรงอยู่คนเดียวแต่ดันได้ งงมาก
ตอบโจทย์ : เรือดำน้ำ "จีน"...? "แสนยานุภาพ" กองทัพเรือไทย (5 เม.ย. 60)
ดำเนินรายการโดย : คุณวราวิทย์ ฉิมมณี
ผู้ร่วมรายการ : พล.ร.อ.จุมพล ลุมพิกานนท์ โฆษกกองทัพเรือ
ตอบโจทย์ ร่วมพูดคุยประเด็น...ข้อสงสัยเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำ
ติดตามชมรายการตอบโจทย์ วันพุธที่ 5 เมษายน 2560 เวลา 22.40 - 23.00 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง http://www.thaipbs.or.th/Live
https://www.youtube.com/watch?v=qOJoBZaKkRs
ผมได้ยินเหมือนกันครับว่าดำได้ในพื้นที่บางส่วนของอ่าวไทยที่มีความลึกเหมาะสม เเล้วเอาเรือใหญ่มาทำอะไรครับ ถ้าไม่สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพของมัน คำถามหลายๆข้อที่ท่านพลเรือเอกจุมพล ตอบมาคงช่วยยืนยันความเหมาะสมของการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศได้เป็นอย่างดี
ฟังแล้วรู้สึกเครียด เสียดายงบประมาณ จะมีทั้งที น่าจะเลือกได้ดีกว่านี้ ที่ไม่ใช่จีน
ถ้าของจีนมันดีจริงต้องยิ่งเปิดสเปกรายละเอียด โชวเลย
ทำอย่างไรจะยับยั้งการซื้อครั้งนี้ได้ แบบการออกกฎห้ามนั่งท้ายกะบะ
ผมว่าถ้า การต่อต้านทำกระแสให้แรงๆได้ นายกน่าจะยอมถอย
สำหรับผม อยากได้เรือดำน้ำมาก แต่ถ้าได้ของจีนมันปวดใจ
ถอดจากคลิปเพิ่ม
8.12 ตรงไหนไม่โปร่งใสสอบถามได้
12.18 จะอินทิเกรตระบบอำนวยการรบของสวีเดนนะฮะ
14.00 มี อวป.จากใต้นำ้สู่พื้นและฝั่ง (เป็นไงโหดพอไหม แต่ไม่สอดคล้องกับเอกสารในโลกแห่งความจริงนะฮะ)
ต้องเข้าใจนะฮะ กองทัพเรือยุคนี้ซื้ออาวุธในจินตนการได้สมอ นั้นคือฟามจริง อยู่ใกล้ๆกับฟามศัทธาที่กำลังจะเจ๊งนะฮะ
โฆษกท่านเป็นพลเรือเอก พูดจาฉะฉานน่าฟังน่าเชื่อถือ
แต่ถ้าเป็นสาระสำคัญท่านจะตอบไม่ได้ (ไม่ตอบ) บอกว่าต้องรอให้เซ็นสัญญากับจีนก่อน
คำถาม เราควรมีเรือดำน้ำไหม ท่านก็เพียรพยายามตอบสื่อ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าสื่อต้องการจะได้คำตอบเรื่องอะไรมากกว่ากัน ระหว่างความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ กับ เหตุผลที่ต้องเลือกเรือจีน
เรื่องความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ ดูเหมือนว่าจะเป็นสาระสำคัญทุกครั้งที่ต้องตอบสาธารณะ แต่สำหรับสมาชิกที่นี่ เชื่อว่าหลายท่านรวมถึงตัวผมเองอยากทราบว่าทำไมต้องไปเลือกเรือจีนมากกว่า ทำไมไม่เลือกเยอรมัน เกาหลีใต้ ฯลฯ ที่สมรรถนะสูงกว่า เหมาะสมกว่า อายุการใช้งานยาวกว่า ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานถูกกว่า ฯลฯ
ท่านบอกว่าจะใช้ดูแลเส้นทางเดินเรือของไทย ยกตัวอย่างชุดปฏิบัติการโซมาเลีย จริงหรือครับที่จะต้องใช้เรือ ส. เราไปดูแลถึงโซมาเลีย
แล้วถ้าจำเป็นต้องใช้งานแบบนั้นจริงๆ เรือพันกว่าตันตัวเรือชั้นเดียวมันทำหน้าที่นั้นได้ไหม อย่างสกอร์ปิเน่ อู-209/210 ม๊อด ฯลฯ
คือจริงๆ แล้ว บอกตรงเลยครับว่าเรือจีนมันใหญ่เกิน แต่ ทร. ต้องเอาไว้ เพราะถ้าไม่เอาจะอด อย่างนั้นหรือ ?
ลองไปดูโครงสร้างกำลังรบที่เสด็จเตี่ยฯ ท่านวางแผนเอาไว้ ในส่วนของเรือ ส. มีทั้งเรือ ส. ชายฝั่ง สำหรับใช้ในเขตอ่าวไทย โดยเฉพาะอ่าวไทยชั้นใน ส่วนอ่าวไทยชั้นนอกและไกลออกไป ท่านระบุเป็นเรือ ส. ขนาดที่ใหญ่กว่า ตอนนั้นยังไม่ได้พูดถึงอันดามัน รู้สึกว่าเรือลาดตระเวณเบา นเรศวร / ตากสิน ก็อยู่ในโครงสร้างนี้
เรือ ส. ชุดแรกของเราจึงได้จาก บ. มิตซูฯ เป็นเรือ ส. ชายฝั่ง ขนาด 400 กว่าตัน ชนะประมูลฝรั่งอังกฤษ เพราะราคาต่อลำถูกกว่า ได้เยอะกว่า (เหมือนเหตุการณ์ปัจจุบันเลย 55555....) ถ้าเราซื้อ อู-206 ได้ เหตุการณ์ก็จะคล้ายๆ กันเลย
ยังไม่มีคำตอบว่า ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานจะเป็นเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับคู่เปรียบทั้งหมด ไม่เชื่อว่า ทร. จะไม่ทำข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจไว้ แต่เก็บไว้ดูกันเองมากกว่า เพราะเหตุที่ต้องเลือกเรือ ส. จีน เป็นเพราะเหตุผลอื่นมากกว่า ท่านโฆษกก็บอกแล้วว่า ท่านและ ทร. ไม่เกี่ยวกับเรื่องนโยบายต่างประเทศ ก็ถูกของท่านนะครับ
มีคนจัดการเรื่องต่างประเทศไว้แล้ว ตัวเลือกเรือจึงเหลือแค่จีน ทร. ก็พิจารณาคัดเลือกจากตัวเลือกที่ดีที่สุด (ตัวเลือกมีจีนประเทศเดียว) จึงได้เรือหยวนมา (หรือจะเอาเรือโรมิโอหมิง !!!) สุดท้ายก็อย่างที่ท่านสมาชิกว่าไว้ ทร. พยายามดีที่สุดแล้ว ต่อรองจนได้สเป็คที่สูงขึ้นแล้ว ในเมื่อมันเลือกเรือประเทศอื่นไม่ได้ก็ต้องเอาเรือดำน้ำจีน ดีเซลไฟฟ้า ที่ดีที่สุดทีมีัตอนนี้ก็เรือหยวนม๊อด เอส-26 ที นี่แหละ
ผมว่าภาพมันชัดเจนมากแล้ว จะอย่างไรก็ว่ากันไปเถอะครับ ผมคงไม่มีอะไรวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเรือ ส. อีกแล้ว เอวัง..
ทิ้งท้าย ทิ้งทวนกระทู้หัวข้อนี้ เรือ เอส-26 ที ถึงตอนนี้แล้วผมเชื่อว่าลำแรกมันมาแน่ครับ ส่วนลำที่ 2-3 ต้องดูกันต่อไปว่ามันจะท้องหรือจะแท้ง
โฆษก ทร. ท่านว่า ลำแรกเซ็นในปี 60 นี้ โดยจะทยอยเซ็นปีต่อปี ปีละลำ ถ้าพี่ใหญ่อยู่ถึงปี 62 คาดว่าคงจะเรียบร้อยโรงเรียนจีนทั้งสามลำแหละครับ
เรือที่ ทร. อยากได้จริงๆ เอาไว้โครงการต่อไป เรือ ส. ฟลีตที่สอง อีก 15-20 ปี ข้างหน้าละกันครับ
ถึงตอนนั้นผมคงหมดห่วงแล้วครับ ไม่ต้องรับรู้รับทราบอะไร นอนคุยกับรากมะม่วงสบายใจไปแล้ว ฮ่ะๆๆๆ
เหมือนกันครับ พี่เสือใหญ่ผมเลิกพูดถึงเรือดำน้ำมาพักใหญ่ละ ยังไงเขาก็จะเอาเรือจีนครับพูดอะไร ต่อให้เอาหลักฐานสเป็คว่าด้อยกว่าเรือประเทศอื่นก็จะเอาเรือจีนครับ ภาระตกอยู่ที่กองทัพเรือรับไปครับ
สนุกๆ ครับ ท่านเด็กทะเล เราก็ลองดน๊ตแปะฝาบ้านไว้เลย อะไรที่เราคิดว่าจะเจอจากการเอา เอส-26 ที เข้าประจำการ เรียงลำดับจากเหตุใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กน้อย อีก 6-7 ปี เอามาดูกัน จดไว้แต่ตอนนี้เลยว่าใครมีส่วนต้องรับผิดชอบ !!!
แฟร์ๆ กันด้วยครับ ถ้าเรือมันกลับใช้งานได้ดี ไม่มีปัญหาอะไรอย่างที่วิตกกังวัลกัน ก็ต้องอวยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้หน้าได้ตาได้ชื่อเสียงไปด้วย
แต่ไม่รู้เป็นไง ใจมันคิดแต่เพียง มี เอส-26 ที เพียงลำเดียวในโลกนะซิครับ ฮ่าๆๆๆ
ในความเห็นของผมกองทัพเรือควรจะให้ความสนใจกับเรือดำน้ำพวก midget submarine ก่อนดีกว่านะราคาการจัดหาดูไม่สูงด้วย ขนาดมิติของพวก midget เข้าซ่อมบำรุงในอู่เรือที่เรามีอยู่แล้วไม่น่าจะยาก และเทคโนโลยีต่างๆของพวก midget นี่เราน่าจะศึกษาเรียนรู้ได้ไม่ยาก ยกเว้นพวกระบบอาวุธและระบบตรวจจับอันนี้คงต้องสั่งซื้อ ตัวอย่างก็ midget submarine crocodile class 250 ที่ท่าน juldas เคยนำมาให้ดูผมชอบแบบนี้นะและน่าจะต่อเองในประเทศได้มากกว่าเรือขนาดใหญ่แบบอื่นๆและน่าจะพัฒนาต่อยอดเองได้ไม่ยาก อยากให้ทัพเรืออย่ากลัวที่จะไม่มีเรือดำน้ำมากเกินไปจนยอมเอาเรือที่ไม่ตรงกับสภาพทะเลอ่าวไทยของเรา มันเสี่ยงมากนะกับงบประมาณขนาดนี้และภาระที่จะเพิ่มขึ้น
ผมสงสัยจังทำไมคนชอบบอกอ่าวไทยไม่ลึกพอ อ่อแต่อันดามันนิลึกจนดำไม่ถึงเลยทีเดียว
แต่Type 209 1400เหมาะกับไทยมากกว่า
เป็นไปได้มั้ยครับว่าที่เอาเรือลำใหญ่ๆมาก็เพื่อต้องการจะมีบทบาทในข้อพิพาททะเลจีนใต้
เรื่องพิพาทในทะเลจีนใต้อย่าไปยุ่งกับเขาเลยครับ ประสบการณ์ของเรากับเรือดำน้ำมันห่างหายไปนานหรือว่าง่ายๆมีน้อยมากเพื่อนบ้านเขาไปไกลแล้ว เดี๋ยวโดนเข้าใจผิดถูกยิงจมหายไปเลยมันจะยุ่ง จะเอาแต่ไปปฏิบัติการนอกอ่าวแทนที่จะเน้นภายในอ่าวไทยเป็นหลักก่อน ส่วนนอกอ่าวไทยเอาให้คล่องก่อนแล้วค่อยว่ากัน พลาดมาเพื่อนๆเขาจะเข้าใจผิดยิงก่อนขอโทษทีหลังมันจะยุ่ง เพื่อนบ้านเราเขาหมั่นไส้เรามันก็มีอยู่นะระวังไว้หน่อยก็ดีนะครับ
ในทะเลจีนใต้เรื่องที่เขาแย่งชิงเกาะนํ้ามันเราไม่ยุ่งหรอกหน้าที่เรือดํานํ้ามีแค่ป้องกันประเทศ ไม่ให้ข้าศึกใช้ทะเลจีนใต้สุมกําลังปิดอ่าวไทยแค่นั้นแหละครับ หรือไปทั่วทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทําลายเรือเสบียงเรือข้าศึกแบบที่เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทํา การปฏิบัติการไม่ใช่แค่ทะเลจีนใต้เราไปลาดตระเวนในฟิลิปปินส์อินโด ส่วนฝั่งอันดามันเรือดํานํ้าป้องกันพม่าและป้องกันชาติมหาอํานาจบางประเทศใช้ฝั่งอันดามันรุกรานแค่นั้น
คือถ้าอยากจะได้ s-26t จริงต้องใช้ตอร์ปิโดรัสเซียได้ด้วยนะครับ บอกจีนด้วย ไม่ใช่ใช้ได้แต่ตอร์ปิโดจีนแค่นั้น
ประเด็นสำคัญที่โฆษกกองทัพเรือท่านให้สัมภาษณ์สื่อคือ "เรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงลับและเชิงรุก-รับ" (ล.ลับ กับ ร.รับ และ ร.รุก)
แต่สิ่งที่ที่กองทัพเรือไม่สามารถจะพูดออกสื่อตรงได้คือ รูปแบบการใช้งานปฏิบัติเรือดำน้ำที่มันเป็นจริงๆ
อย่างที่ครูท่านบอกเรือดำน้ำจะใช้ปฏิบัติการได้ในบางส่วนของอ่าวไทย
ซึ่งความหมายที่แท้จริงคือกองทัพเรือจะไม่ได้เรือดำน้ำในเขตอ่าวไทยส่วน อ่าวรูปตัว ก. จนถึงอ่าวไทยชั้นใน
แต่เรือดำน้ำไทยเราจะดำลงใต้น้ำตั้งแต่ช่วงร่องน้ำลึก 60mลงไป ในแนวเส้นขีดจากเกาะกูด จ.ตราด ไป เกาะสมุย
คำถามที่ตามคือเลยจากนี่จะเป็นนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยเข้าน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านแล้วไม่ใช่หรือ?
ก็ใช่ไงครับ! นอกจากภารกิจฝึกร่วมกับกองเรือผิวน้ำที่มีของกองทัพเรือไทยแล้ว ส่วนตัวค่อนข้างเชื่อว่า ภารกิจหนึ่งในการที่จะทดสอบสมรรถนะเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยคือ
การออกเดินเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบ อ่าวไทย ไปฐานทัพเรือพังงา ทะเลอันดามัน โดยส่วนของเส้นทางเรือจะดำอยู่ใต้น้ำเดินทางผ่านน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านโดยที่ไม่ถูกตรวจจับได้
คำถามคือนั่นเป็นการล้ำน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ใช่หรือ?
ใช่! เพราะเรือดำน้ำเป็นเรือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อภารกิจแบบนั้น
ถ้าติดตามข่าวเรือดำน้ำทั่วโลก ไม่ว่าจะเรือดำน้ำรัสเซียที่ล้ำน่านน้ำฟินแลนด์-น่านน้ำสวีเดน, เรือดำน้ำจีนที่ล้ำน่านน้ำญี่ปุ่น-น่านน้ำเกาหลีใต้
หรือแม้แต่ในกลุ่ม ASEAN เองก็เคยมีข่าวอินโดนีเซียไม่พอใจที่พบว่าเรือดำน้ำมาเลเซียล้ำน่านน้ำตน เช่นเดียวกับที่มาเลเซียก็ไม่พอใจที่พบเรือดำน้ำอินโดนีเซียล้ำน่านน้ำตนเช่นกัน
กล่าวคือกองทัพเรือไทยจะพูดตรงๆไม่ได้หรอกว่าเราจะใช้เรือดำน้ำทำแบบนั้น เพราะมันเป็นการส่งสัญญาณว่าเราจะคุกคามประเทศเพื่อนบ้าน
เลยต้องพูดเป็นเรื่องการปกป้องทรัพยากรในทะเลไทยอะไรก็ว่าไป
แต่ก็ต้องกล่าวย้ำอีกครั้งคือเรือดำน้ำเป็นเรือที่ใช้ในทางลับ-รุก-รับ ภารกิจส่วนใหญ่ของเรือดำน้ำเราก็คงจะใช้แบบเดียวกับประเทศอื่นๆที่มีเรือดำน้ำนั่นละ
ถ้าไม่นับประเด็นความโปร่งใสของการจัดหา จนถึงข้อกังขาถึงสมรรถนะของตัวเรือแล้ว
ถ้ากองทัพเรือไทยมีเรือดำน้ำเราก็จะใช้ในเขตอ่าวไทยชั้นนอกจนถึงอันดามัน โดยอาจจะต้องลอบเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศอื่นโดยไม่ให้ถูกตรวจจับได้
แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้เรือดำน้ำมาจริงหรือไม่ เพราะถ้ามีก็ได้ใช้ได้ลองจริงๆให้รู้แน่ว่าจะทำอย่างได้อย่างที่ว่ามาหรือเปล่าครับ
ระดับความลึก อ่าวไทย กับ เรือดำน้ำ
มันจะยัด อะไรได้ล่ะครับ...แทบไม่ต้องลุ้นเลยครับ...
ยิ่งเลวร้ายใหญ่ครับ...ถ้าระบบอำนวยการของ เรือดำน้ำจีน จะมาใช้กับ ระบบอาวุธตะวันตก...
ซึ่ง ไม่มีการรับรอง จากหน่วยงานไหนในโลก...ขนาด เรือดำน้ำ อินโดนีเซีย ยังใช้ ระบบอำนวยการ ที่ได้รับมาตรฐาน นาโต้...
รวมถึง สิงคโปร์ และมาเลเซีย ก็ใช้มาตรฐานการรับรอง ทางพาณิชย์ ที่จำหน่ายโดยทั่วโลก...แม้แต่ เวียดนาม ก็ยังใช้ระบบมาตรฐาน รัสเซีย ที่ใช้งานโดยทั่วไป...
หรือ แม้แต่ อิยิปต์ ที่มีการอัพเกรด เรือดำน้ำที่ซื้อจาก จีน...ก็ รื้อ ระบบจีน ทิ้งทั้งหมด และใส่ระบบตะวันตกไปทั้งยวง เพื่อยิง ฮาร์พูนได้...คือ เหลือแต่ ลำเรือ ที่เป็นจีน...
และก็ยิ่ง เลวร้าย หนักกว่าอีก...ที่ ถ้า ทร. จะมาบอกว่า ตัวเรือจีน และใช้ระบบการรบ ตะวันตก ทั้งหมด...ก็ ทำไม ไม่ซื้อ เรือดำน้ำฝั่งตะวันตกไปเลย...ไม่ต้องมาแบก ความสิ้นเปลืองของเรือดำน้ำ ที่ดำน้ำในระวางขับ กว่า 3000 ตัน...
และถ้า ทร. มานั่ง ภูมิใจ เรื่อง จะมี ระบบ ครุยส์มิสไซด์ มาด้วย...คำถามว่า ทร. จะนำมาใช้ในการยิง ภายในอาณาเขตประเทศไทย หรือครับ ? เพราะ ยังไม่เห็น ความสามารถของ ทร. ที่จะนำไปใช้ในอาณาเขตประเทศอื่นได้..
เพราะ ระบบ ครุยส์ มิสไซด์ ที่ใช้ยิงจากเรือดำน้ำ ก็ต้องใช้การนำเป้า ด้วย GPS ที่นำส่งจาก ดาวเทียม...ทร. มีดาวเทียม ที่จะไปนำส่ง GPS ในแผ่นดินประเทศอื่น หรือครับ?
หรือ ทร. จะต้องไป อาศัย การส่งข้อมูล GPS จาก ดาวเทียมทางการทหารจาก ประเทศจีน ?
ความน่าลุ้น ของ เรือดำน้ำ คือ เรือดำน้ำ มีความสามารถใน ทางลับ รุก และ รับ ตามที่ท่าน AAGth1 ให้ความเห็นไว้แค่ไหน มากกว่าครับ...
ความน่าลุ้น ของ เรือดำน้ำ คือ เรือดำน้ำ จะสามารถอยู่กับ ทร. ไปได้ 35-40 ปี และสามารถจะอัพเกรดช่วงครึ่งอายุใช้งาน เพื่อทันเหตุการณ์กับเทคโนโลยี่เรือดำน้ำ ที่จะเปลี่่ยนแปลงไปในอีก 15 ปี ข้างหน้า ได้หรือไม่ มากกว่า ครับ...
การใช้ ครุยส์ มิสไซด์...
เรือดํานํ้าจีนนอกจากจีนจะดูแลแล้วผมว่ารัสเซียอาจช่วยได้เพราะเรือดํานํ้าจีน มันลอกระบบมาจากรัสเซีย รัสเซียอาจช่วยดัดแปลงหลายอย่างก้ได้นะครับ หรือรัสเซียอาจช่วยซ่อมเรือดํานํ้าจีนก็ได้
ยินดีต้อนรับ เรือดำน้ำ........ ขอให้ได้จรวดพื้นสู่พื้นล็อตแรกถ้าได้มาเกิน 10 ลูกด้วยยิ่งดีนะ.....
เรือดำน้ำจีนถ้านับเฉพาะชั้น Type 039A ที่เป็นพื้นฐานสำหรับรุ่นส่งออกคือ S26T ของไทย และ S20P ของปากีสถานนั้น
ก็ไม่ถูกเสียทีเดียวถ้าจะกล่าวว่า Type 039A ลอกแบบมาจากเรือดำน้ำชั้น Kilo รัสเซียทั้ง Project 877 และ Project 636 ที่รัสเซียขายให้จีนทั้งสองรุ่น
เพราะรูปทรงตัวเรือในบางส่วนที่เห็นเช่น ภายในตัวเรือทั้งระบบเครื่องยนต์ Battery ระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจจับ Sonar Radar และระบบอาวุธก็เป็นของจีนเองล้วนๆ
ที่สำคัญคือระบบ AIP ซึ่งรัสเซียเองยังพัฒนาไปใช้กับเรือดำน้ำชั้น Project 677 Lada ของตนเองไม่เสร็จเลย แต่จีนมีใช้และพร้อมจะส่งออกให้ไทยแล้ว
ตรงนี้ก็จึงไม่ทราบว่ารัสเซียจะสามารถทำอะไรได้กับเรือดำน้ำ S26T ที่ไทยอาจจะจัดมาได้หรือไม่
อีกทั้งถ้าได้อ่านเอกสารนำเสนอข้อมูลเรือดำน้ำ S26T ที่หลุดออกมาในส่วนสถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่ Target Motion Analysis
ที่ระบุว่า TMA ของ S26T สามารถคำนวนติดตามเป้าหมายได้พร้อมกัน ๖๔เป้าหมาย ขณะที่ระบบของตะวันตกคำนวณได้เป็น ๑๐๐เป้า
แต่ก็ยังมากกว่าเรือดำน้ำชั้น Kilo ที่ TMA สามารถคำนวนได้เพียง ๑๔เป้าหมายเท่านั้น(น่าจะเป็น Kilo รุ่นเก่า)
สมรรถนะอื่นๆระหว่างเรือดำน้ำรัสเซียกับเรือดำน้ำจีน โดยรวมเรือดำน้ำจีนจะเหนือกว่าเรือดำน้ำรัสเซียจุดเดียวคือมี AIP ทำให้มีพิสัยทำการไกลกว่า
แต่นอกนั้นก็คล้ายกันมากซึ่งต่างก็มีจุดเด่น-จุดด้อยแตกต่างกันไปในแต่ละจุดครับ (ถ้าเอาเรือดำน้ำ Kilo รัสเซียมาแทนก็คงจะโดนว่าไปซื้อ "เรือดำน้ำแบบขายชั่งกิโลฯ" อยู่ดี)
AIP ของจีนกับ AIP ของรัสเซียใช้ คนละแบบกันครับ
ของจีนแค่เพิ่มความยาวแล้ววาง AIP ครับ
เรือดำน้ำชั้น Amur 1650 ที่รัสเซียเสนอส่งออกต่างประเทศนั้นมีการเสนอทางเลือกในการติดตั้งระบบ AIP แบบ Kristall-27E
ซึ่ง AIP ของเรือดำน้ำชั้น Amur ถ้าจำไม่ผิดเป็นแบบ Fuel Cell(oxygen-hydrogen) ขณะที่ AIP ของ S26T เป็นแบบ Stirling
อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ยังไม่มีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้นใดของรัสเซียที่ได้รับการติดตั้งระบบ AIP
ผู้บัญชาการทหารเรือรัสเซีย พลเรือเอก Vladimir Korolyov เคยกล่าวกับสื่อว่า กองทัพเรือรัสเซียยังไม่ได้ติดสินใจที่จะให้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของตนติดตั้งระบบ AIP
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าคาดว่าระบบ AIP สำหรับเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ารัสเซียนั้นจะพร้อมในปี 2021-2022 โดยสามารถติดกับเรือดำน้ำชั้น Lada ได้ง่าย
แต่ถึงตอนนี้เรือดำน้ำชั้น Lada เองก็ยังอยู่ในระหว่างการสร้างเพิ่มอีก ๒ลำ จากลำแรกที่มีปัญหาต้องแก้แบบเรือใหม่ โดยรัสเซียกำลังพัฒนาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าใหม่แบบ Kalina
และตอนนี้รัสเซียก็ยังคงต่อเรือดำน้ำชั้น Kilo ใช้เองและส่งออกซึ่งไม่มี AIP อีกทั้งเรือชั้น Amur ก็ยังไม่มีลูกค้าเลยครับ