ดูทรงนายกแล้ว เหมือนนายกไม่รู้อะไรเลย แสดงว่าข้อมูลต้องไปไม่ถึงมือนายกแน่ๆ
เพราะขนาดนายกยังคิดว่า
1.มีการซ่อมให้ในโครงการ
2.ของจีนถูกสุด
3.ของยี่ห้ออื่นแพง
4.สร้างโรงเก็บเรือให้
แต่ที่นายกเข้าใจตรงกับความจริงคือ
1.ความจำเป็นในการมีเรือดำนํ้า
2.สามารถให้ สตง. ตรวจสอบได้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
https://www.isranews.org/isranews-article/item/48703-s26t.html
อันนี้จากข่าวเก่า
เอกสารหมายเลข 1: ส่วนของข้อเสนอเรือดำน้ำ S26T ที่ระบุรายการที่จะส่งมอบภายในงบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
"
ส่งมอบให้กองทัพเรือ” (Scope of supply) ภายใต้กรอบวงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท (รวมภาษี) ประกอบด้วย
- เรือดำน้ำ 3 ลำ
- การฝึก
- การสนับสนุน ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ท่าเรือ เครื่องมือพิเศษ (ไม่รวมถึงการปรับปรุงอู่ซ่อม)
- ลูกตอร์ปิโดลูกจริง 4 ลูก ลูกฝึก 2 ลูก
- การสนับสนุนหลังการขาย เช่น การแลกเปลี่ยนการฝึก การฝึกร่วม การสนับสนุนการช่วยเหลือกู้ภัย การสนับสนุนการซ่อมบำรุงและการใช้งาน เป็นต้น
"
ส่วนเอกสารหมายเลข 2
"
เป็นส่วนของเอกสาร RFO ที่ระบุ “Option เสริม” ในข้อเสนอที่หากกองทัพเรือต้องการจะต้องจ่ายเพิ่มเติม (ไม่รวมอยู่ในวงเงิน 3 หมื่น 6 พันล้านบาท) ได้แก่
- ระบบส่งกำลังบำรุงรวม (Integrated Logistic System)
- อะไหล่ 2 ปี
- เครื่องฝึก Simulator
- ลูกอาวุธเพิ่มเติม (ตอร์ปิโด เป้าลวง ทุ่นระเบิด)
- อาวุธปล่อยนำวิถี
"
เอกสารส่วนที่ 1
ว่าแล้วก็อยากร้องเรียนถึงนายกจริงๆ ว่าที่จะให้ สตง.ตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส อยากให้ใครบางซึ่งอยากให้คนๆนั้นให้ความร่วมมือด้วย
ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ ไม่ทุจริตอย่ากลัว สตง. ตรวจสอบ
นายกพูดถูกแล้วที่ว่าให้ สตง. มีส่วนตรวจสอบได้
มีเวลาเหลือให้วัดกันครั้งสุดท้ายคือประชุม ครม.ครั้งสุดท้ายของเดือนมีนาคมนี้ในวันอังคารที่ ๒๘ มี.ค.
ซึ่งถ้าเรื่องเรือดำน้ำจีนยังไม่เข้า ครม.อีก ก็คงจะไปจบในรูปแบบเดียวกับสมัย U206A ครับ คือไม่ทันการใช้ในกรอบงบประมาณปี ๒๕๖๐นี้ ต้องไปรอ งป.๖๑ ใหม่ แล้วเข้าขบวนการยกเลิกโครงการตามขั้นตอนต่อไป
ฝ่ายที่ต่อต้านการมีเรือดำน้ำทุกรูปแบบของกองทัพเรือจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้แน่ใจว่า การเสนอโครงการเรือดำน้ำของกองทัพเรือจะต้องไม่ผ่านและถูกล้มให้ได้
และฝ่ายต่อต้านก็ไม่ได้เลือกวิธีการที่ใช้ด้วยครับ อย่างล่าสุดนี้ก็ยก 'ไม้ตาย' มาโจมตีอีกรอบซึ่งเป็นการไม่บังควรอย่างมาก
ขอให้เปิดระบบการตรวจสอบไว้ คนทั่วไปเขาก็วางใจไปครึ่งแล้ว แต่ถ้ามึดดำไม่มีการตรวจสอบ จากโครงการดีๆ ก็กลายพันธ์กันได้เลย
เดี๋ยวๆๆ ตอนประมูลเรือฟริเกต สรรถนะสูง จีนเขาขายให้ไทยถึง 3 ลําเหมือนกันนิ แต่ทําไมกองทัพเรือเลือกเรือฟริเกตเกาหลีใต้ 2ลําละ
ชั่วโมงนี้ผมไม่สนหรอกครับว่าจะของจีน หรือของใคร...
มันควรมีได้แล้ว และจริงๆ ควรมีมาต้ังนาน แล้ว แต่เพราะมีกลุ่มคนบางกลุ่ม ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นในประเทศไทย
ถ้ารอบนี้ ล่ม... ผมขอเสนอแนะ ให้กองทัพเรือ จัดหาเรือดำน้ำแบบสัญญาเช่า มันจะได้จบๆ กันไป
จัดหาหาแล้ว ก็ต้องรอ อีก หลายปี ได้มา ก็ต้อง ใช้เวลาอีกนานกว่าจะชำนาญ กว่าจะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องใช้เวลาอีกเป็นสิบปี
แล้วจะรอ... ทำซาก อะไรอีก รีบๆ ทำกัน ซิโว้ย... ไอ้คนคัดต้าน ก็ เบิกตา ดูมังดิ
ใครๆก็รู้ว่ามันจำเป็นต้องมี แต่เงินไม่ใช่จำนวนน้อยๆจะมางุบงิบทำไม่ได้ ความมั่นคงของชาตินั้นสำคัญ แต่ผลประโยชน์และความเสียหายของชาติก็สำคัญเช่นกัน ไม่งั้นใครๆก็อ้างความจำเป็นเปิดโครงการใหญ่โตแล้วก็ยักย้ายถ่ายเทเล่นแร่แปรธาตุโครงการอย่างไรก็ได้งั้นหรือ ถ้ามันโปร่งใสมันถูกต้องตามขั้นตอนจริง ให้องค์อิสระทั้งประเทศมาตรวจมันก็คือโปร่งใส แต่ถ้ามันดูไม่ชอบมาพากล ตาสีตาสาทั่วไปก็ดูออก ไม่ได้เกี่ยวกับว่าใครอยากจะล้มหรือไม่ล้มโครงการหรอก มันอยู่ที่ว่าตอบข้อกังขาสังคมไม่ได้ก็เท่านั้นแหละผมเองก็ไม่มีปัญหากับเรือจีน แต่ผมมีปัญหากับกระบวนการคัดเลือกมากกว่า ซึ่งเรื่องนี้เถียงกันเป็นปีๆ แต่กองทัพไม่เคยชี้แจงได้ชัดเจนซักที ถ้าโดนวิ่งเต้นให้ล้ม ผมก็ไม่แปลกใจ
นายกพูดถูกแล้วที่ว่าให้ สตง. มีส่วนตรวจสอบได้ เห็นด้วยครับ...
จะได้มีสักที...อย่างน้อย เพื่อนบ้านก็กลัวหยวนบ้างซิ......555 แถมจรวดพื้นสู่พื้นระยะเกือบ 290 KM....สุดยอด
ยืนยันเห็นด้วยที่ให้ สตง. ตรวจสอบโครงการเรือ ด. จีนครับ
ถ้าผ่าน ก็เหมือน สตง. ฟอกตัวให้เรือหยวนม๊อด แต่ไม่แน่ใจว่าเค้าจะตรวจสอบเรื่องราคาหรือเรื่องเงินทอนอย่างเดียว หรือว่ารวมถึงเรื่องสมรรถนะ ความคุ้มค่า ความเหมาะในการใช้งาน และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต ด้วยหรือไม่
ถ้าไม่ผ่าน หรือมีข้อติติงจาก สตง. ก็ดีครับ จะได้เป็นช่องให้ยกเลิกเรือจีนกันไป ให้ ทร. ไปหาทางใหม่ จะตั้งโครงการใหม่พร้อมเสนอเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่ต้องรีบ หรือจะไปหาเช่ามาใช้ก่อนก็ได้ แต่ไม่รู้นะครับว่าในตลาดโลกชั่วโมงนี้จะมีเรือที่เหมาะสมกับเราเหลือให้เช่าไหม นี่ถ้าได้ อู-206 มาทั้งฟลีตก็จบไปนานแล้ว เฮ้อ..
แล้วก็เรื่องโครงการอู่ซ่อมพร้อมชิปลิฟท์ จะมีหรือไม่มีโครงการ ด. มันก็ใช้ซ่อมทำหรือต่อเรือผิวน้ำใหม่ได้อยู่แล้ว เป็นประโยชน์กับ ทร. โดยตรง เพียงแต่เพื่อความน่าเชื่อถือให้กับโครงการโดยการอ้างอิงเรือ ด. เท่านั้น
เท่าที่รับฟังข้อมูลจากหลายด้านหลายสื่อ ทร. มีแนวคิดกระทั่งจะสร้างอู่ซ่อมบำรุงที่ฝั่งอันดามันสำหรับเรือ ด. ด้วย แบบว่ากะจะเอา ด. ไว้ฝั่งอันดามัน 1 อ่าวไทย 1 หมุนเวียนซ่อมบำรุงอีก 1 ก็ไม่รู้ว่าเรือหยวนม๊อดมันต้องการการซ่อมบำรุงสูงกว่าเรืออื่น หรือว่า ด. ลำที่สามเป็นตัวหนุนตัวสแปร์
การตรวจสอบ นี่ว่านี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนครับ คือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการใช้จ่ายเงินของรัฐ และเป็นหน่วยงานภาคพลเรือน ดังนั้น เขาจะไม่สามารถตรวจสอบประเด็นการทหาร เช่น เรือดำน้ำลำนี้ มีประสิทธิภาพในการทำการรบคุ้มราคาหรือไม่ หรือจะเหมาะกับอ่าวไทยหรือไม่ สู้เรือสิงคโปร์ได้หรือไม่ AIP ของเรือจีนเสียงดังจริงหรือเปล่า อะไรทำนองนี้นะครับ
หาก สตง. จะเข้าตรวจ เขาก็จะตรวจสอบขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างว่า มีความโปร่งใส ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบพัสดุ เปิดโอกาสให้ผู้เสนอราคาทุกฝ่ายมีสิทธิเท่าเทียมกัน ผู้เสนอราคาไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เสนอราคารายอื่นๆ คณะกรรมการประกวดราคาและคณะกรรมการตรวจรับปฏิบัติตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างครับ
หาก ทร. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยโปร่งใส ก็เป็นประโยชน์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า เรือดำน้ำลำนี้ จะดี เหมาะสมกับความต้องการของประเทศแต่อย่างใดครับ
เออคุณ jaidee ครับ ในเอกสารส่วนที่ 2 บอกว่าถ้าอยากได้ อาวุธปล่อยนำวิถีต้องเสียเงินเพิ่ม ไม่รวมอยู่ใน package นะครับ
~~นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า สตง.กำลังดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ เนื่องจากเป็นโครงการที่สังคมจับตา โดยขณะนี้ สตง.ได้ขอเอกสารและรายละเอียดในการจัดซื้อไปทางกองทัพเรือแล้ว ทั้งในเรื่องของวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อ สเปคหรือคุณสมบัติของเรือดำน้ำที่กองทัพเรือกำหนด ขั้นตอนและกระบวนการจัดซื้อ ตลอดจนความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการ
“เราต้องดูวัตถุประสงค์โครงการ ซื้ออะไร เหมาะสมหรือไม่ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงวิธีจัดซื้อจัดหาซึ่งบางฝ่ายมองว่าจีนอาจจะมีการเพิ่มเติมข้อเสนอภายหลังจากการยื่นเอกสารอย่างเป็นทางการไปแล้ว ซึ่งขัดต่อกระบวนการคัดเลือกและไม่เป็นธรรมต่อผู้เสนอขายรายอื่นๆนั้น ทาง สตง.ก็ต้องดูก่อนว่าระเบียบและวิธีการจัดซื้อโครงการนี้เป็นอย่างไร คือถ้าเป็นการจัดซื้อแบบปกติทำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการจัดซื้อวิธีพิเศษก็ทำได้หมด และไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อแบบจีทูจีหรือวิธีใด หากทำด้วยความละเอียดรอบคอบ อยู่บนพื้นฐานของธรรมาภิบาล ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มีธรรมาภิบาลอะไรก็เกิดขึ้นได้ ดูอย่างโครงการจำนำข้าวที่รัฐบาลสมัยนั้นบอกว่ามีการซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับประเทศจีน ก็ยังเป็นจีทูจีปลอมเลย ส่วนเมื่อได้เอกสารจากกองทัพเรือแล้ว สตง.จะใช้เวลาตรวจสอบนานเท่าไรนั้นก็ขึ้นกับจำนวนเอกสารรายละเอียดการจัดซื้อว่ามีมากน้อยเพียงใด ” ผู้ว่า สตง. ระบุ
กล่าวได้การจัดซื้อเรือดำน้ำในครั้งนี้นอกจากจะทางกองทัพเรือจะขับเคลื่อนผลักดันมากว่า 2 ปีแล้ว ยังเป็นโครงการที่ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้การสนับสนุนอย่างสุดตัวอีกด้วย โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ได้เตรียมพื้นที่ 40.78 ไร่ เพื่อสร้างโรงซ่อมเรือดำน้ำ ขนาด 50 คูณ 100 คูณ 25 เมตร รองรับเรือดำน้ำรุ่น Yuan Class S 26 T จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่บริเวณอ่าวสัตหีบใกล้กับจุกเสม็ดเรียบร้อยไว้แล้ว
ไม่มีใครปฏิเสธเหตุผลของกองทัพในเรื่องความจำเป็นในการจัดซื้อเรือดำน้ำเพื่อดูแลผลประโยชน์ทางทะเลของชาติที่มีมูลค่ากว่า 24 ล้านล้านบาท และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านยุทโธปกรณ์ในการปกป้องน่านน้ำของกองทัพเรือไทยที่ปัจจุบันยังไม่ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างไรก็ดี ประเด็นที่สังคมยังคงเคลือบแคลงก็คือเหตุใดกองทัพเรือจึงไม่เลือกซื้อเรือดำน้ำจากเยอรมนี สวีเดน ฝรั่งเศส ซึ่งมีชื่อเสียงในการสร้างเรือดำน้ำ หรือแม้กระทั่งรัสเซียซึ่งเป็นต้นแบบที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือดำน้ำให้แก่จีน แต่ กลับเลือกซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนทั้งที่จีนไม่มีประสบการณ์ในการสร้างเรือดำน้ำและไม่มีกองทัพเรือประเทศใดเคยใช้เรือดำน้ำจากจีนมาก่อน และที่สำคัญก่อนหน้านี้เรือรบหลายลำที่ต่อจากประเทศจีนได้เคยสร้างปัญหาให้กองทัพเรือไทยมาแล้ว
ขณะที่ประเทศอื่นได้เสนอราคาภายใต้เงื่อนไขที่กองทัพเรือประกาศ โดยนำเสนอเรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ พร้อมอาวุธและระบบสนับสนุนต่างๆ ในวงเงิน 36,000ล้านบาท อีกทั้งบางประเทศได้เสนอการฝึก ระบบ ILS พร้อมอะไหล่ 2 ปี การปรับปรุงท่าเรือและอู่ซ่อม เครื่องฝึก ลูกตอร์ปิโด 16 ลูก (เฉลี่ยลำละ 8 ลูก) และการผ่อนชำระเป็นเวลา 8 ปี นอกจากนี้ยังเสนอว่าจะถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะทางแบบ Indirect Offset ในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากเรือดำน้ำ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมพลังงาน อีกด้วย
แต่เรือดำน้ำ S26T ที่จีนเสนอมาในวงเงิน 36,000ล้านบาทนั้น มีจุดเด่นเพียงอย่างเดียวคือจำนวนเรือดำน้ำ ที่เสนอให้ 3 ลำ แต่ยังขาดความครบถ้วนในหัวข้อสำคัญหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ระบบการส่งกำลังบำรุงรวม (ILS) อะไหล่ซ่อมบำรุง การปรับปรุงอู่ซ่อมเรือดำน้ำ อีกทั้งจำนวนลูกตอปิโดที่เสนอให้ก็มีเพียง 4 ลูกสำหรับเรือดำน้ำ 3 ลำ (เฉลี่ยลำละไม่ถึง 2 ลูก) ซึ่งหากต้องการออฟชั่นที่ครบถ้วนก็ต้องจ่ายเพิ่ม
ดังนั้นการตัดสินใจเลือกเรือดำน้ำจากจีนจึงสร้างความกังขาให้หลายฝ่ายไม่น้อย บ้างกังวลว่าทัพเรือไทยจะกลายเป็นหนูทดลองให้เรือดำน้ำจีนหรือไม่ เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่รัฐบาลและกองทัพต้องตอบคำถามเพื่อสร้างความกระจ่างให้แก่สังคม~~สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เร่งตรวจสอบการจัดซื้อเรือดำน้ำสัญชาติจีนของกองทัพเรือ เหตุกังขาเรื่องความโปร่งใส ข้อมูลชี้ออฟชั่นจากจีนด้อยกว่าประเทศอื่นที่เสนอแข่ง อีกทั้งขาดประสบการณ์ หวั่นไทยเป็นหนูทดลอง
นับเป็นโครงการระดับมหากาพย์เลยทีเดียวสำหรับการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26T จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ของกองทัพเรือ เนื่องจากเป็นโครงการซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมมาตั้งแต่ปี 2558กระทั่งกระทรวงกลาโหมต้องสั่งชะลอโครงการในขณะนั้นเอาไว้ก่อนเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับภาคประชาชนให้ชัดเจน ล่าสุดโครงการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณการจัดซื้อจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แล้ว และกำลังรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าน่าจะไม่เกินเดือนมีนาคมนี้ โดยจะมีการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26T จากจีน จำนวน 3 ลำ ในวงเงิน 36,000 ล้านบาท และเป็นการจัดซื้อแบบจีทูจีหรือรัฐต่อรัฐ ซึ่งในปี 2560จะจัดซื้อจำนวน 1 ลำ ในวงเงินงบประมาณ 13,500 ล้านบาท ส่วนอีก 2 ลำที่เหลือจะใช้วิธีก่อหนี้ผูกพันข้ามปี
และเมื่อเป็นโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่สังคมมีความเคลือบแคลงสงสัย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐจึงเข้ามาตรวจสอบว่าโครงการนี้มีความโปร่งใสหรือไม่ อย่างไร
ก๊อปปี้บทสัมภาษณ์ สตง. คุณพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส มาให้อ่านกันครับ เวลาอ่านก็พิจารณาด้วยนะครับว่าอันไหน สตง. พูด อันไหนเป็นความเห็นส่วนตัวของนักข่าวที่เขียนปนมาในบทความนี้ด้วยครับ
จับประเด็นได้ความว่า สตง. จะดูก่อนว่า ถ้าเป็นการจัดซื้อปรกติ ก็จะมีหลายเรื่องให็ สตง. พิจารณา บลาๆๆๆ ตามรายละเอียดความเห็นข้างบน
แต่ถ้า.. เป็นการจัดซื้อแบบพิเศษ อันนี้จะอะไรก็ได้ เพราะเป็นการจัดซื้อแบบพิเศษไง
แล้วโครงการเรือ ส. ล่าสุดเนี่ย ที่ ทร. เสนอจะซื้อเรือหยวนม๊อด S-26T 3 ลำ มันเป็นการจัดซื้อแบบพิเศษหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ก็แล้วไป แต่ถ้าไม่ใช่ กองเชียร์มีเซ็งอีกรอบแน่ครับ
ขอถามเพื่อเป็นความรู้น่ะครับ เรือดำน้ำชั้นหยวน สูง 9.4 เมตร แต่ถ้าวัดถึง Sail จะสูงกี่เมตรครับ และถ้าเทียบกับเรือดำน้ำประเทศอื่นๆ เค้าสูงกี่เมตร เพราะมันมีผลต่อความลึกที่จะดำน้ำได้ ส่วนตัวคิดว่า ถึงตัวจะใหญ่แต่ถ้าความสูงถึง sail ไม่ต่างกันก็กล้อมแกล้มไปได้ครับ
อีกอย่าง ถ้าเปลี่ยนจากซื้อเรือชั้นหยวน 3 ลำ เป็นซื้อหรือชั้น song mod (มือสอง) 2 ลำ ที่มีขนาดเล็กกว่ามาใช้ก่อน ราคาน่าจะถูกลง (สมมุติว่าราคา 2 ลำ ประมาณ 15000 ล้านบาท) และจะได้ทดลองใช้จนมั่นใจว่าเรือดำน้ำจีนใช้งานได้ดีหรือไม่ ค่อยมาว่ากันถึงเรื่องซื้อเรือ S26T มือหนึ่ง ผมเอากรณีศึกษาของบังคลาเทศเป็นตัวอย่าง
จำได้ว่าท่าน juldas เคยทำเป็นภาพเปรียบเทียบขนาดความสูงของเรือ ด. ทุกแบบที่ส่งเข้าประกวด รวมถึงความลึกของทะเลตั้งแต่ปากน้ำสมุทราการไปจรดทะเลจีนใต้ คงต้องขอท่าน juldas ให้กรุณาลงให้ดูอีกทีนะครับ
เรือ ด. ขนาด 2,600 ตัน อย่างหยวนม๊อด S-26T ผมไม่แน่ใจว่า 2,600 ตันเนี่ยเป็นระวางขับน้ำตอนแล่นบนผิวน้ำหรือตอนดำ ถ้าเป็นระวางขับน้ำตอนอยู่บนผิวน้ำ แล้วตอนอยู่ใต้น้ำระวางมิปาไปสามสี่พันตันหรือ ? ใหญ่กว่าเรือหลวงท่าจีนสเตลธ์ซะอีก
ผมว่าประเทศที่น่าใช้เรือใหญ่ขนาดนี้ก็น่าจะเป็นเวียดนาม (แต่สอยกิโลไปแล้วตั้ง 6) มาเลย์ (มีสคอร์เปียน 2 ลำ), อินโดฯ (มี อู-209 กับ ชังโบโก 5 ลำ, ฟิลิปปินส์ มีทะเลเปิดรอบด้าน (เป็นเกาะนิ ไม่มีเรือ ด. สักลำ) เขมร มีทะเลเปิดน้ำลึก (เหมาะมากจะมีเรือ ส .แต่ก็ไม่มี) เมียนม่าร์ (ไม่มี แต่น่าจะกำลังจะมี) ทั้งหมดเนี่ย เหมาะกับเรือใหญ่ยักษ์ (สำหรับ ด. ดีเซล ถือว่าใหญ่แล้วครับ) อย่างเรือหยวนม๊อดลำนี้ แต่ไม่น่าจะใช่กับไทยแลนด์แดนสยามแน่นอน
ขอเอารูปมาโพส ซ้ำ นะครับ
คุณลักษณะ เรือดำน้ำ ประเทศเพื่อนบ้าน...
ของดี ราคาไม่สูง (ถูกกว่า S-26T แน่) คุณภาพคับลำ...ต้อง ของ อินโดนีเซีย...ท่อยิง 8 ท่อ มากกว่า S-26T ลำเบ้อเริ่ม มีแค่ 6 ท่อ...(น่ากลัวตรงไหน ?) ส่วน AIP สามารถติดตั้งเพิ่มได้ใน อนาคต เป็นแบบ Fuel cell...(ถ้าจำไม่ผิด)...สามารถยิงอาวุธนำวิถีจากใต้น้ำสู้พื้น ได้เช่นเดียวกันกับ S-26T คือ Subharpoon ซึ่งอาวุธนำวิถี Harpoon เป็นอาวุธนำวิถีหลักของ ทร.ไทย อยู่แล้ว....โดยปัจจุบัน อินโดนีเซีย ยังไม่มีจัดหาใช้...ระบบภายในเรือดำน้ำ...สามารถหาสิ่งทดแทนได้ใน อนาคต เพื่อถึงครึ่งอายุใช้งาน หรือเมื่อต้องมีการ อัพเกรด...เพราะ แบบเรือดำน้ำ มีผู้ใช้งานอยู่จำนวนมากในหลายประเทศ....จึงมีการพัฒนาอยู่เสมอ...ข้อดี และข้อเด่น ของการซื้อเรือดำน้ำ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ....
ของประเทศมาเลเซีย...เป็นของแพง...คุณภาพคับลำ...แต่อาจจะแพงกว่า S-26T ไม่ได้มากมาย...มีการใช้งานในหลายประเทศ...โดยมาเลเซีย มีการจัดหา Subexocet มาพร้อมกับเรือดำน้ำ...ระวางขับน้ำ ก็น้อยกว่า S-26T...ถ้าดำใต้น้ำ มาขว้านหากันใต้น้ำ...ลองคิดว่า...ระหว่าง S-26T ระวางขับใต้น้ำ 3,600 ตัน กับ สคอร์ปิเน่ ระวางขับใต้น้ำ 1,700 ตัน ใครจะหาใครเจอก่อนกัน ใครจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายมากกว่ากัน...(S-26T มันน่ากลัวตรงไหน ?)...โดยขณะนี้ ยังไม่มีระบบ AIP...เพราะ บริเวณ ความมั่นคงของ มาเลเซีย ก็ขนาบด้วยแผ่นดิน ของ ประเทศมาเลเซีย ทั้ง 2 ด้าน...
เป็นเรือดำน้ำ ราคาไม่แพง เพราะเป็นเรือดำน้ำมือสอง ซึ่งคงถูกกว่า S-26T แน่นอน...คุณภาพสมราคา หรืออาจจะจัดได้ว่าใกล้เคียงกับคำว่าสุดยอดในกลุ่มประเทศอาเซียนก็ได้ คือ ของ ประเทศสิงคโปร์...ระวางขับน้ำเพียง 1,500 ตัน แต่มีท่อยิงตอร์ปิโด ถึง 9 ท่อยิง มีการติดตั้งระบบ AIP เนื่องจาก สิงคโปร์ เป็นประเทศเกาะเล็ก ๆ หลักการยุทธวิธี จึงต้องทำสงครามนอกอาณาเขตเป็นปัจจัยหลัก...รูปแบบ หางเสือแบบ X-rudder ซึ่งเหมาะกับการปฏิบัติในเขตน้ำตื้น (S-26T น่ากลัวตรงไหน ?)...จึงมองได้ว่า สิงคโปร์ วางรูปแบบ เรือดำน้ำ เป็น สไนเปอร์...พวก ลอบสังหาร...จึงไม่กำหนดความต้องการ อาวุธนำวิถี ใต้น้ำสู่พื้น สำหรับเรือชุดนี้...โดยคงมอบให้เป็นหน้าที่ของ เรือดำน้ำชุดใหม่ type-218SG แทน ที่มีระวางขับน้ำเพียง 2,000 ตัน ซึ่ง Type-218SG ในอนาคต คงจะจัดเป็นเรือดำน้ำสุดยอดในภูมิภาคนี้ โดยราคาคงจะแพงกว่า S-26T ประมาณ 1 เท่าตัว (S-26T น่ากลัวตรงไหน ?)
และเมื่อ เอา ระวางขับน้ำสูงสุด ของเรือดำน้ำ แต่ละประเทศ มาเปรียบเทียบกัน...ก็จะพบว่า...เรือดำน้ำไทย S-26T เป็นเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดใน อาเซียน...แต่มีเขตปฏิบัติการในน้ำลึก น้อยที่สุด ในอาเซียน...ในขณะที่ เรือดำน้ำ อินโดนีเซีย มีเรือดำน้ำระวางขับน้ำ เกือบน้อยที่สุดในอาเซียน แต่มีเขตปฏิบัติการในน้ำลึก มากที่สุด ในอาเซียน...S-26T มันน่ากลัวตรงไหน ?....ที่แน่ ๆ มันมีสิ่งหนึ่งที่น่ากลัว ที่สุดในบรรดาเรือดำน้ำกลุ่มประเทศอาเซ่ียน ก็คือ ความสิ้นเปลือง และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติ คงจะมากที่สุด ในอาเซียน...เพราะทั้งค่าเชื้อเพลิง ค่าแบตเตอรี่ สำหรับแล่นเรือดำน้ำขนาด 3,600 ตัน...แถม ค่าเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ AIP จำนวน 3 เครื่อง ต่อลำ...คงเป็นความภาคภูมิใจสำหรับเรือดำน้ำ S-26T..ที่ผมคงมอบให้กับเรือดำน้ำรุ่นนี้...
เกือบลืม...สำหรับ สเปคของ S-26T...ผมเคยประเมิน และ คาด เดา ไว้แต่ก่อน ดังนี้...( S-26T ม้ันน่ากลัวตรงไหน ?)
คุณลักษณะ Song Class...แต่อยู่ในร่าง Yuan Class...เลย เหมา ๆ ไป ว่า Yuan Class....
หุหุ ทร.สู้สุดตัวแล้วครับ ต้านไม่อยู่จริงๆแต่ก็ยังดีครับที่ไม่ได้ของในลักษณะแบดีลแรกซึ่งสุดตรีนครับรับไม่ได้อย่างแรง สุดท้าย ทร .ก็สู้จนมีการปรับแบบบางอย่างรวมถึงได้อุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้นมาครับ ไม่ได้ดีเด่แต่ก็พอรับได้นะครับ ขอบคุณ ทร. ครับ ท่านสู้มาจนถึงที่สุดแล้วสมกับเป็น สุภาพบุรุษทหารเรือ ขอโทษด้วยที่เคยกล่าวหาท่านว่าไม่สู้ ครับ
ท่าน ausangi ช่วยแย้มให้ฟังหน่อยซิครับ อะไรที่เราได้เพิ่มเติมจากดีลแรกที่รับไม่ได้ครับ
อยากรู้จริงๆ ครับ
กลายร่างเป็นตัวCน้อยๆ ปลับเปลี่ยนระบบภายในรูปแบบคอนโซลควบคุมเรือบางอย่างให้เหมาะสมกับทางเรา ต่อรองเรื่องระบบอาวุธ(อันนี้เด็ด) ปรับระบบปลีกย่อยๆให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะอำนวยแต่ไม่ถึงกลับเปลี่ยนทั้งหมดเพราะหลักนิยมการใช้งานต่างกันครับ ทำได้เท่าที่จะสามารถเปลี่ยนได้ครับ ส่วน CMS และระบบโซนาร์นั้นไม่ทราบจริงๆครับ ปิดสนิทมากกกกกก
C น้อยๆนี่คือจากเทียบเท่า 039A หยวนคลาส ไปเกือบเท่า 039C ตัวล่าสุดของเขาเหรอครับ
รุ่น C จีน ยังไม่เข้าประจำการเลยครับ...เพิ่งเสร็จสิ้นการทดสอบไป ปีที่แล้ว...
ที่ว่า C น้อย ๆ...คงเป็นการ ปรับเปลี่ยน ทรงสะพานเดินเรือ ตรงนั้นล่ะมั้งครับ...คือ ทำมัน มน ๆ หน่อย ไม่ตรงทื่อ ๆ...
ส่วนอย่างอื่น ๆ...ผมว่า ก็คงเหมือนเดิม ๆ แหล่ะ ครับ...แล้วก็ปรับการจัดภายในเรือใหม่...ตามข่าว ที่ออกมาแบบนั้น...
ผมฟันธง ว่า...อย่าไปฝันมาก...ว่า จะเป็น เรือดำน้ำ ที่เกรงขามอะไร....ตามข่าวลือของ TAF ที่ถูกตัดข้อความไปแล้วนั่นแหล่ะครับ...
อะไหล่เพื่อซ่อมบำรุงจะสั่งบ่อยเหมือนอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำไหมครับ เห็นมีประจำการจาก 3ประเทศแต่มีจากประเทศหนึ่งสั่งอะไหล่บ่อยกว่าอีก 2 ที่ ตอนต่อเรือหวังว่าภายในจะไม่เอาไม้มาทำผนังนะครับ
"The ship will share similar design with the Yuan class. Despite some change, over design will be as much the same as Yuan class currently operated by PLAN" CSOC official told TAF.
"เรือจะใช้แบบที่คล้ายกับ YUAN class ถึงแม้จะมีบางอย่างที่เปลี่ยนไป แต่ก็อยู่บนพื้นฐานของ YUAN class แบบที่ประจำการอยู่ใน กองทัพเรือจีนเป็นส่วนใหญ่ " เจ้าหน้าที่ของ china shipbuilding & off shore co. ให้สัมภาษกับ TAF
RTN is under the process of submitting the proposal to buy the first of three ships to the cabinet for consideration. Data provided by CSOC indicated that the ship's overall length will be 79.5 m, breadth 8.6 m, moduled depth will be 9.2 m, with the displacement of 2660 tons. The ship maximum speed is 18 knot with the maximum diving depth of 300 m and endurance of 8000 nm at 4 knot.
ทร. อยู่ระหว่างขั้นตอนการยื่นข้อตกลง เสนอที่จะซื้อ ลำแรก จาก 3 ลำ ต่อ ครม.ให้พิจารณา โดยทางchina shipbuilding & off shore co. ให้ข้อมูลเรือ คือ ยาว 79.5 เมตร กว้าง 8.6 เมตร ลึก(หมายถึงสูง) 9.2 เมตร มีกำลังเรือเรือ 2660 ตัน ทำความเร็วสูงสุดได้ 18 น็อต ทนความลึกได้ที่ 300 เมตร ระยะปฏิบัติการรวม 8 พันไมล์ทะเล(ที่ความเร็ว 4 น็อต)
http://defense-studies.blogspot.com/2017/03/csoc-provided-more-detail-about-thai.html
"In the case of Pakistan that they procured 8 ships. The company needs 2 - 3 years of design and construction will take 5 years" CSOC told TAF after she was asked about the time needed before the ship enter the commission.
"ในส่วนของปากีสถานนั้น พวกเขาได้จัดหา เรือ 8 ลำ โดยทางบริษัทต้องการเวลา 2-3 ปีสำหรับการออกแบบเรือ และลงมือสร้างจริงจะใช้เวลา 5 ปี " เจ้าหน้าที่ของ china ship building&off shore co., กล่าวกับ TAF ภายหลังที่เธอสนใจว่าหลังจากที่ทำสัญญาแล้วต้องใช้เวลานานเท่าใด
Furthermore - despite the company did not confirm the type of weapon RTN will be received - weapon packages for RTN will be comprehensive and high performance.
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าทางบริษัทจะไม่สามารถบอกว่า ทร. จะได้รับอาวุธชนิดใดในรายการการจัดหา สำหรับ ทร. นั้นคงจะได้รับอาวุธที่เต็มเปี่ยมด้วยสมรรถภาพและมีความครบเครื่องอย่างแน่นอน
จากการวิเคราะห์ของผม จากเนื้อข่าวอีกที
.......over design will be as much the same as Yuan class currently operated by PLAN"........
เป็นเรือที่มีประจำการและใช้งานในกองทัพเรือจีนอยู่ก่อนแล้ว
ดังนั้น s26t จึงเป็นเรือที่ใช้แบบของเรือชั้น yuan ธรรมดา ไม่มี C ตามหลังแน่นอน
S26T
length 79.5 m breadth 8.6 m, depth will be 9.2 m displacement of 2660 tons maximum speed is 18 knot diving depth of 300 m
YUAN
Length: 77.6 m Beam: 8.4 m Displacement: 3,600 t peed: 20 knot diving depth 400 m
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
...............to buy the first of three ships to the.................
จะซื้อ 3 ลำแน่นอนไม่มีซื้อมาลองขับก่อน 1 ลำ
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
...................RTN will be comprehensive and high performance................
ข้อนี้ก็น่าสงสัยเพราะ จากการหลุดของเอกสาร ให้ลูกตอร์ปิโดลูกจริง 4 ลูก ลูกฝึก 2 ลูก
4 ลูกจริงอาจจะพบเดาได้ว่า เป็นอาวุธแบบ high performance จริงๆ
แต่ถ้าจะบอกว่า comprehensive (ครบเครื่อง,ครอบคลุม) นี้ไม่น่าใช่ 4 ลูกต่อ 3 ลำมันครบเครื่องตกไหนก็ไม่รู้
ไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่บริษัทโกหกหรือเปล่าเนี้ย
moduled depth will be 9.2 m = ความสูงใน โมดูล ในตัวเรือ คงไม่ใช่ความสูง จนถึงสะพานเดินเรือ เมื่อรวมกับ ความสูงของสะพานเรือ อาจจะร่วม ๆ 16-17 เมตร และด้วยหางเสือเรือ เป็นทรง + ไม่ใช่ x จะมีส่วนเกินจากท้องเรือของหางเสืออีก (ทรงหางเสือ X จะความยาวไม่เกินท้องเรือ)
เอาตัวเลข ง่าย ๆ ระยะความปลอดภัยระดับความลึกระหว่างตัวเรือกับท้องพื้นทะเล ประมาณ 10 เมตร + ความสูงถึงสะพา...นเรือ 16 เมตร + ส่วนเกินหางเรือกับตัวเรือ 1 เมตร รวมประมาณความลึกขั้นต่ำในการดำ โดยดาดฟ้าสะพานเรือเท่ากับผิวน้ำ = 27 เมตร
จากฐานทัพเรือสัตหีบ คงต้องแล่นโดดเด่น มองเห็นเป็น สง่า น่าเกรงขาม ไปหลายสิบกิโล จากฐาน กว่าจะดำได้...(จะออกดึกๆ แค่ไหน ก็มีคนเห็นแหล่ะ)
ประเทศเพื่อนบ้าน เขาถึงไม่ใช้ เรือดำน้ำขนาดใหญ่ไง....ยกเว้น เวียดนาม แหล่ะ ด้วยเหตุข้อจำกัดของเขาเอง ที่ รัสเซีย ปล่อยเงินกู้ให้ ระดับความลึกและมองยุทธบริเวณสงคราม คือ ทะเลจีนใต้ ไม่ใช่ อ่าวไทย...เขาจัดหา เรือชั้น กิโล มันก็ดูไม่แปลก...แถม กิโล ยังเล็กกว่า S-26T อีก...
และด้วยตัวเรือ เป็นแบบ ดับเบิ้ล Hull ระวางขับน้ำ บนผิวน้ำ กับ ใต้นำ จึงจะแตกต่างกันเป็น 1,000 ตัน...ในขณะที่ ประเทศเพื่อนบ้าน ตัวเรือเป็น ซิงเกิ้ล Hull ระวางขับน้ำ บนผิวน้ำ กับ ใต้น้ำ จึงแตกต่างกัน เพียง 100 - 200 ตัน เท่านั้น...แค่นี้ ก็เห็นถึงความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดแล้ว....แค่นี้ ก็เห็นถึงความคล่องตัว ใต้น้ำ ระหว่าง ดำ 3,600 ตัน กับ 1,700 ตัน ว่า ใครจะคล่องตัวกว่า อย่างเห็นได้ชัดอยู่แล้ว....
แถม ตอร์ปิโด จีน...ที่กองเชียร์ เรือดำน้ำจีน คง คาดหวังว่า จีน จะขาย YU-6 ให้ ถึงจะเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มี Black Shark ตอร์ปิโด...ซึ่งถ้า ตอร์ปิโดจีน ไม่ใช่ YU-6 ก็คงด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านแน่ ๆ...และผมก็ ประเมินได้่ว่า ไม่มีทางที่ จีน จะปล่อย YU-6 ให้ไทย ในสภาพเหมือนกับที่ จีน ใช้หรอกครับ...เพราะ ไทย ก็ยังเป็น พันธมิตรสหรัฐ อยู่....และผมก็ไม่คิดว่า จีน จะปล่อย YU-6 ให้ไทย...ก็คงเป็น ตอร์ปิโด มาตรฐานการส่งออก โดยทั่วไป นั่นแหล่ะ...
ที่ คัดค้าน เรือดำน้ำจีน นี้...เพราะไม่อยากให้ ทร. ยอมเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อผลประโยชน์ ของกลุ่มคนใด กลุ่มหนึ่ง...แล้วสุดท้ายมันจะกลายเป็นภาระที่จะย้อนกลับ ส่งผลถึง สมรรถะภาพโดยรวมของ กองทัพเรือ ในอนาคต....ดีล...เรือดำน้ำจีน...ผมยังไม่เห็น สุภาพบุรุษกองทัพเรือ ที่จะต่อสู้เพื่อความจริงเลยนะ...เห็นพวก ยอม ๆ กันไป...แล้วไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอาในอนาคต...แค่นั้น...
ผมถึงยังคง...มองแนวทางว่า...ทร. ควรจะรอการจัดหา หลังผ่านการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งมาแล้ว และมีฝ่า่ยค้านในการตรวจสอบการจัดหาได้....
จากประวัติศาสตร์ ทร. มีโอกาสได้เรือดำน้ำสูงสุด จาก รัฐบาลพลเรือน ่( Gotland จาก รัฐบาลบรรหาร, U-206A จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ) แต่ที่ ทร. หวืด มาตลอด...ก็ล้วนมาจาก คนของกลาโหม เอง นั่นแหล่ะ....
ตามแผนพัฒนาเศษฐกิจทีจะเกิดขึ้นในอนาคต...ถ้าเศรษฐกิจในประเทศ มีความเจริญเติบโตจริง....เศรษฐกิจ ทางทะเล ก็ย่อมเติบโตควบคู่กันไปอยู่แล้ว...ความมั่นคงในทะเล ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว...ผมถึงบอกว่า เรือดำน้ำ มันได้แน่...แต่คงไม่ใช่ตอนนี้ เท่านั้น...
เรือดำน้ำ Type 039A ที่ NATO กำหนดรหัสว่าชั้น Yuan เป็นที่เชื่อในกลุ่มนักวิเคราะห์ทางทหารว่ามีพื้นฐานการพัฒนามาจากการที่จีนศึกษาแบบเรือดำน้ำชั้น Project 877EKM Kilo และ Project 636M Improved Kilo ที่รัสเซียส่งออกให้จีน
ซึ่งปัจจุบันเรือดำน้ำชั้น Kilo นี้ยังคงเป็นกำลังหลักของกองเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบของกองทัพเรือรัสเซีย ที่ยังมีการสร้างเพื่อเข้าประจำการในรัสเซียและมีการส่งออกไปได้หลายประเทศทั่วโลก
ขณะที่เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบใหม่ที่ทันสมัยกว่าของรัสเซีย Project 677 Lada ที่เป็นเรือดำน้ำแบบตัวเรือชั้นเดียวแบบแรกที่รัสเซียนั้น มีความล่าช้าจากปัญหาในการพัฒนาจำนวนมาก ซึ่งแบบเรือรุ่นส่งออกคือ Amur นั้นตอนนี้ก็ยังไม่มีลูกค้า
ถ้าเทียบกับเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบตะวันตกในยุคปัจจุบันแล้ว เรือดำน้ำชั้น Kilo รัสเซียเป็นแบบเรือที่ค่อนข้างจะล้าสมัยไปแล้ว
เนื่องจากเรือดำน้ำรัสเซียยังใช้ตัวเรือแบบสองชั้นทำให้มีขนาดตัวเรือที่ใหญ่และระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำที่หนักมากขณะมีพื้นที่ภายในตัวเรือน้อย
ท่อยิง Torpedo แม้จะยิง Torpedo และอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบก็จริง แต่ก็มีเพียง ๖ท่อยิง
ระบบอำนวยการรบและระบบตรวจจับต่างๆก็นับว่าล้าสมัยกว่าระบบของตะวันตก เช่นสถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่ Target Motion Analysis ที่วิเคราะห์แต่ติดตามเป้าหมายได้แค่หลักสิบ ขณะที่ระบบตะวันตกได้เป็นร้อยเป้า
ซึ่งเรือดำน้ำ Type 039A Type 039B และ Type 039C ที่มีแนวคิดการออกแบบเช่นเดียวกับเรือชั้น Kilo ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
ทั้งการใช้ตัวเรือแบบสองชั้น ท่อ Torpedo ๖ท่อ และระบบอำนวยการรบและระบบตรวจจับที่ด้อยกว่าระบบตะวันตก
ดังนั้นมองว่าการจะเปลี่ยนการเลือกแบบเรือดำน้ำจาก S26T จีนเป็น Project 636M Improved Kilo ดูไม่ได้มีความแตกต่างกันมากในแง่ประสิทธิภาพสมรรถนะของเรือครับ(คือไม่เหมาะกับไทยทั้งคู่)
ข้อดีของตัวเรือแบบสองชั้นก็มีนะครับ ทนทานต่อหัวรบตอร์ปิโดได้ดีกว่าตัวเรือแบบชั้นเดียว ข้อกำหนดสำคัญในการพัฒนาตอร์ปิโดสตริงเรย์ของอังกฤษ คือใส่หัวรบขนาดใหญ่ที่สุดเข้าไปในตอร์ เพื่อทะลุทะลวงตัวเรือแบบสองชั้นของเรือดำน้ำโซเวียตให้จงได้
ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำส่วนใหญ่ ต้องชนเป้าหมายแรงระดับหนึ่งถึงจะจุดชนวนให้หัวรบระเบิด ประการหนึ่งเป็นการเช็ดว่าวิ่งชนเป้าหมายแล้ว (ส่วนจะเป็นอะไรก็อีกเรื่อง) ประการต่อมาเพราะหัวรบมันมีขนาดไม่ใหญ่ตามขนาดตอร์ปิโด จะใช้ชนวนแตกระเบิดก็คงทำได้แค่รอยขีดข่วน บางครั้งตอร์ปิโดวิ่งเบียดตัวถังเรือไปหน้าตาเฉย เพราะแรงกระทบไม่พอชนวนจึงยังไม่ถูกจุด บางครั้งแรงอัดจากระเบิดลึกทำให้ตัวเรือชั้นแรกแตก แต่ตัวเรือชั้นสองยังมีอยู่ก็เลยไม่ส่งผลกระทบเท่าไหร่
เห็นไหม...นี่ผมเข้าข้างเรือดำน้ำจีนเหมือนนะ (เออ) มีเหตุผลประกอบด้วย เดี๋ยวติ่งจีนจะหาว่าผมอคติ เหตุผมของผมหนักแน่นกว่าพวกขุ่นพี่ตั้งเยอะแยะตาแป๊ะไก่ ฮ่า ฮ่า .... ประเภทท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองว่าซื้อ 2 แถม 1 พร้อมอาวุธทันสมัยและอะไหล่ 8 ปีนี่ ผมเบื่อมากเลยยยยย.....
อื่มมม s26t จะเป็นแบบ F/A-18 นี่คือเราจะไม่ได้เรือดำน้ำแต่ได้สิ่งอื่นมาแทนหรอครับ เรือผิวน้ำ????
กองทัพอากาศสั่งซื้อ F/A-18 จำนวน 8 ลำและจ่ายเงินบางส่วนไปแล้ว เครื่องบินก็ได้รับการสร้างไปตามท้องร่อง แต่ต่อมาเรากระเป๋าฉีกไม่มีเงินจ่ายค่างวดถัดไป
ตามกฎระเบียบที่ทำกันไว้ เขายึดเงินเราไปได้เลยเพราะเราผิดสัญญาเอง แต่ต้องใช้คำว่าอเมริกาใจดี (และอาจหวังผลในภายภาคหน้าหรืออย่างไรนี่แหละ) จึงได้ซื้อเครื่องบินที่เราสั่งแต่ไม่มีเงินจ่ายไว้เอง แล้วแลกเปลี่ยนเงินงวดแรกกับเครื่องบิน F-16 ใช้แล้วจำนวน 1 ฝูง พร้อมกับขายจรวดอัมรามให้อีกต่างหาก ประหนึ่งสามล้อถูกหวยก็ไม่ปาน
ทีนี้มาที่เรือดำน้ำบ้าง..... S26T คือเรือดำน้ำส่งออก โมดิฟิเคชั่นระบบต่าง ๆ เพื่อกองทัพเรือไทยโดยเฉพาะ อยู่มาวันหนึ่งเราไม่มีเงินจ่ายค่างวด แต่เรือดำน้ำต่อไปแล้ว 80 เปอร์เซนต์ จีนจะใจดีเหมือนอเมริกาด้วยการซื้อเรือลำนี้ไว้ใช้งานเอง แล้วแลกเงินที่เราจ่ายไปก่อนด้วยเรือฟริเกต Type 054A ใช้แล้วจำนวน 2 ลำ พร้อมขายจรวดต่อสู้อากาศยาน HQ-6 (ใช่มั้ย) ให้ต่างหาก
ช้าก่อนนนนนน.......
2 บรรทัดสุดท้ายนั่นเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง เรือดำน้ำโมดิฟิเคชั่น RTN จีนจะเอาไปทำอะไรได้ เอาไปก็ต้องปรับปรุงด้วยเงินมหาศาลเพื่อให้เข้ากับโมดิฟิเคชั่นจีน ส่วนเรื่องจะเอาเรือฟริเกตมือสองมาแลกกับเงินที่จ่ายไปแล้วนั้น ไม่ต้องเดาก็น่าจะรู้คำตอบได้ดี นี่จีนนะครับคุณ.....คนจีนที่มีหัวการค้าดีที่สุดในโลก
ท้ายสุดถ้าเราไม่มีเงินจ่ายตามสัญญา เงินที่จ่ายไปก่อนโดนยึดตามระเบียบพัก เรือที่ต่อยังไม่เสร็จจีนก็เอาไปเร่ขายประเทศอื่น เข้าใจตรงกันนะเออ
ส่วนตัวมองว่า S26 เพียงแค่ไม่เหมาะกับประเทศไทยน่ะครับ หากมองอีกมุมเป็นพม่าจัดหามาใช้ผมว่าที่ตั้งทางทหารภาคใต้ก็คงอันตรายไม่น้อย ตอนนี้ถ้าเรือยังไม่เทียบท่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ สังเกตจำนำข้าวสมัยก่อนตรวจไม่เจอมาตอนนี้เจอเรื่องผิดปรกติเพียบ
เห็นด้วยกับท่าน superboy ครับ...และมีมุมมองแบบเดียวกันเป๊ะ...แต่จะต่างตรงที่ว่า...จีน คงไม่ไปขางยประเทศอื่น...แต่จะบีบ บังคับ ให้ ไทย ชำระให้ครบถ้วน...โดยอาจจะแลกเปลียนกับการหาประโยชน์ในประเทศไทย...เพิ่มขึ้น...เช่น การได้รับสัมปทานต่าง ๆ....เพราะ ประเทศไทย ยังคงพอมีประสิทธิภาพทางงบประมาณในการ ซ่อมบำรุง ในอนาคต...และจะได้ หาผลประโยชน์จาก ประเทศไทย ไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังไม่มีงบประมาณจ่ายคืน...
ส่วนด้านประเทศพม่า....ประเทศไทย เอง ไม่ได้มองภัยคุกคามทางทะเลกับ พม่า เท่ากับ มาเลเซีย...มอง พม่า่ เป็นภัยคุกคามน้อยกว่า มาเลเซีย ด้วยซ้ำไป...เพียงใช้ ข้ออ้าง พม่า ในการจัดซื้ออาวุธ แ่ค่นั้น...
ปัจจุบัน ทร. ประจำการเรือรบระดับ ฟริเกต หรือ คอร์เวต ฝั่ง อันดามัน อยู่ ผมว่าไม่เกิน 2 ลำ นอกนั้นเป็นเรือตรวจการณ์ปืนธรรมดา...และพม่่า มองแค่ ประเทศบังคลาเทศ เป็นประเทศที่จะคุกคามทางทะเลเขามากกว่าครับ...เพราะมีพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ทับซ้อนกันอยู่...
และ ผมกล้า ฟันธง....พม่า ไ่ม่มีวันซื้อเรือรบในอนาคต ชนิดใด ๆ จากประเทศจีน...พม่า มีความฉลาดซื้ออาวุธ กว่า ไทย เยอะครับ...สังเกตุได้ครับ...แม้พม่าจะมีความสัมพันธ์ทางทหารอันดีกับ จีน...แม้จะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ...แต่ พม่า ไม่เคยสั่งซื้อเรือรบใหม่จากจีนเลย...ซึ่ง่ล่าสุดที่มีการซื้อ ก็คือ เรือรบมือสอง ซึ่งเป็นเรือรบที่ จีน ใช้งานเอง...เพื่อมา ถ่วงดุลย์ ด้านปริมาณ กับ บังคลาเทศ ที่ซื้อเรือรบมือสองจากประเทศจีน เช่นเดียวกัน...และ จีนเอง ก็เคยจะขอใช้พื้นที่ วางกองเรือจีน กับ พม่า...พม่า ก็ไม่ยินยอม...
ซึ่ง ผมให้น้ำหนัก เรือดำน้ำ ของ พม่า ว่า....จะเป็นของ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส หรือ รัสเซีย แค่นั้น...เพราะ ในอนาคต แม้ว่า บังคลาเทศ จะมีความต้องการ เรือดำน้ำจากรัสเซีย เป็นอันดับหนึ่ง...แต่ด้วยฐานะทางด้านเศษฐกิจของบังคลาเทศเอง รัสเซีย คงไม่ปล่อยเงินกู้ให้กับ บังคลาเทศ เพื่อจัดหาเรือดำน้ำจากรัสเซีย...ซึ่ง บังคลาเทศ เอง ก็ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และทางยุทธศาสตร์กับ รัสเซีย มากนัก...รัสเซีย คงขายอาวุธให้ บังคลาเทศ เฉพาะในส่วนที่คาดว่า จะมีความสามารถทางงบประมาณจ่ายได้
และ คาดว่า เรือดำน้ำ ชั้น กิโล ของรัสเซีย เอง ก็คงมี ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง ซึ่ง บังคลาเทศ เอง อาจจะไม่มีความสามารถในงบประมาณ ที่จะดำรงความพร้อมรบได้...ดี ไม่ ดี...ของเดิม อาจจะไม่ทันจ่ายครบ...ก็ไม่มีปัญญาซ่อมแล้ว...(สังเกตุ อิหร่าน มีเรือดำน้ำ ชั้น กิโล ประจำการ...แต่ปัจจุบัน ก็ไม่เห็นบทบาทจะเป็นภัยคุกคามแต่อย่างใด...กับจะเป็น เรือดำน้ำชายฝั่ง ที่อิหร่า่นสร้างเอง แสดงภาพ ความคุกคาม มากกว่า เสียอีก)
สุดท้าย บังคลาเทศ ก็คงต้องกลับไปหา เรือดำน้ำจีน...ซึ่ง คง เป็น เรือดำน้ำ มือสอง เช่นเดิม...หรือ S-20 รุ่นส่งออก...ถ้า จีน ใจป้ำ พอ....
ดังนั้น พม่า คงไม่มีวันจัดหา เรือดำน้ำ จาก ประเทศจีน แน่...นอกเหนือไปจาก ความเชื่อถือ ถึงมาตรฐานการต่อเรือเพื่อขายของจีน...ที่พม่า คงมองออกมานานแล้วว่า...สร้างเอง ดีกว่า...
ผมเลย วิเคราะห์ ว่า เรือดำน้ำของ พม่า แนวโน้ม จะมาจาก เกาหลีใต้ หรือ ฝรั่งเศส (ข่าวการนำทหารพม่าไปฝึกเรือดำน้ำ ชั้น อกุสต้า ที่ปากีสถาน) ที่เป็น เรือดำน้ำขนาดประมาณ 500 ตัน...เป็นอันดับต้น...รองจากนั้น จะเป็นจาก รัสเซีย...
ยังจำข่าวได้ไหมครับ...ว่า เกาหลีใต้ มีการต่อเรือดำน้ำขนาด 500 ตัน ขายให้กับลูกค้า ที่ไม่ขอเปิดเผยประเทศที่ซื้อ...
และอย่าเพิ่งไปคิดว่า ประเทศฝั่งตะวันตก จะไม่ขายอาวุธให้กับ พม่า...เพราะ ปัจจุบัน พม่า เข้าสู่ระบบประชาธิปไตย แล้ว...แม้จะดูเหมือน กองทัพ จะยังมีการควบคุมรัฐบาลพลเรือนอยู่...แต่ก็พอจะ วิเคราะห์ ถึง เหตุ ผล ที่ พม่า ยอมให้มีการเลือกตั้ง และยอมให้มีรัฐบาลพลเรือน ได้...ก็คงน่าจะเป็น การแผ่อิทธิพล ของประเทศจีน...เอง...ที่ จะเป็นภัยต่อ พม่า ในอนาคต...รัฐบาลทหารพม่า จึงคงต้องยอมบางอย่าง เพื่อปลดแอก ความมีอิทธิพลของประเทศจีน ออกไป...ถ้าไม่ยอม เปิดประเทศ...
ซึ่ง ประเทศฝั่งตะวันตก ก็คงภาพนี้ออก...และก็คงพยายามจะแทรกตัว เข้ามา แทนที่ ประเทศจีน...การจะขายอาวุธให้ พม่า ในอนาคต...จึงไม่ใช่เรื่องที่ยากเหมือนเมื่อก่อนแต่อย่างใด...เช่นเดียวกับ ปืน OTO 76 ม.ม. ที่ติดตั้งกับเรือฟริเกตชุดใหม่ นั่นแหล่ะ...
ประเทศลาว ประเทศพม่า...ที่ เคยพึ่ง บทบาท ของ จีน...ปัจจุบัน กำลังจะปลดแอก บทบาท อิทธิพลของประเทศจีน ออก...แต่ ประเทศไทย กลับ พยายาม วิ่งเข้าไปหา...สะท้อน ถึง ความคิด ความสามารถ และวิสัยทัศน์ ของรัฐบาลทหาร ของแต่ละประเทศจริง ๆ....
ถามหน่อย ผมไม่ได้คาดหวังให้ ใช้เรือดํานํ้าในอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยตื้นถึงจะใช้ได้แค่คงไม่เต็มที่นักถ้าซื้อแล้ว อยากให้ซื้อเรือ hds-500rtn จากเกาหลีใต้ มาเพราะนั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นให้ไทยต่อเรือดํานํ้าเองได้ เข้าเรื่องถ้าเราใช้เรือดํานํ้านอกอ่าวไทยแล้วเรือดํานํ้าถ้าเดินทางใกลสุดจากนอกอ่าวไทย จะเดินทางไปถึงไหนลองเทียบทั้ง type 209 และ s-26t ว่าจะเดินทางใกลสุดทางประมาณไหน เพราะเยอรมันเคยใช้เรือดํานํ้าเดินทางใกลไปจมเรือสินค้าเรือรบถึง ชายฝั่งสหรัฐมาแล้ว
พม่าน่าจะพยายามหาความสมดุลย์ของอำนาจไม่พึ่งพาใครมากไป เพราะน่าจะมีประสบการณ์จากที่ผ่านมาว่าการอยู่ตรงกลางๆน่าจะดีที่สุด แต่ ณ ชั่วโมงนี้ คสช คงทำแบบนั้นไม่ได้ แต่ผมเห็นด้วยนะครับว่าตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาสำหรับการจัดหาการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีกว่าน่าจะตรวจสอบได้ดีกว่าและน่าจะพิจารณาปรับเปลี่ยนการถ่วงดุลย์ การตรวจสอบของรัฐบาลกับการจัดซื้อจัดหาอาวุธด้วยครับ
ผมว่าจริงๆแล้วตั้งแต่แรก ควรปล่อยให้ทุกอย่างควรปรับตัวด้วยตนเอง ให้ประชาชนเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะรุนแรงขนาดไหน แล้วทุกอย่างจะปรับตัวเข้าหาจุดสมดุลย์เอง ประชาชนจะสำนึกในหน้าที่และสิทธิของตนเอง คนแบบเฮีย การกระทำแบบเฮียก็จะน้อยลง เพราะถูกตรวจสอบจากหลายฝ่ายไม่เหมือน ณ บัติ now
ที่เห็นชาวพม่าในชุมชนทางทหารคุยกัน บอกกันว่าในปี 2017 นี่เฉพาะกองทัพเรือพม่าจะได้รับมอบเรือรบหลายแบบ เช่น
เรือระบายพลและเรือยกพลขึ้นบกใหม่ ซึ่งนอกจากที่พม่าต่อเองในประเทศกองทัพเรือพม่ามีความต้องการเรือ LPD
ซึ่งเห็นอินโดนีเซียเสนอเรือชั้น Makassar ให้พม่าแบบเดียวกับที่ส่งออกเรือ SSV ชั้น Tarlac ให้กองทัพเรือฟิลิปปินส์
กับเรือเร็วตรวจการณ์แบบ Super Dvora Mk.3 จากอิสราเอล ๖ลำ
แต่ที่เด็ดสุดคือเรือดำน้ำ Type 035 (NATO กำหนดรหัส Ming) มือสองจากจีน ๒ลำ
ที่เมื่อปีที่แล้วนายพลอาวุโส Min Aung Hlaing กับคณะที่ไปเยือนจีนไปดูเรือมาแล้ว
การส่งมอบอาจจะรวดเร็วกว่าของกองทัพเรือบังคลาเทศหรือไม่ก็ไม่ทราบ
แต่กองทัพเรือพม่าคงจะต้องรีบจัดหามาเพื่อการฝึกให้ชำนาญและคานอำนาจกับบังคลาเทศที่เพิ่งนำเรือดำน้ำ Ming ๒ลำเข้าประจำการไปครับ
https://defence.pk/pdf/threads/myanmar-defence-forum.347379/page-62
ในอนาคตไม่แน่ใจว่ากลุ่มชาติตะวันตกจะขายยุทโธปกรณ์หลักที่มีความสำคัญสูงอย่างเรือดำน้ำให้พม่าหรือไม่
แต่ปัจจุบันนี้ทางประเทศตะวันตกยังคงจำกัดการขายระบบที่ไม่สามารถไปติดอาวุธโจมตีได้โดยตรงให้กับพม่าอยู่
อย่างเช่นพวกเครื่องบินฝึกใบพัด Grop 120TP เครื่องบินโดยสาร Beechcraft 1900 หรือ เฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters สำหรับลำเลียงและกู้ภัย อย่าง AS365 Dauphin กับ EC120B
ดังนั้นในช่วงนี้แหล่งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการทำสงครามโดยตรง นอกจากที่พม่าผลิตได้เองในประเทศ หลักๆก็คงยังมาจากรัสเซียและจีนอยู่ครับ
ส่วนเรือดำน้ำขนาดเล็ก Hyundai HDS-400 ที่มีรายงานว่ามีลูกค้าที่เป็นที่เปิดเผยสั่งจัดหานั้น
นักวิเคราะห์ทางทหารในเกาหลีใต้เองบางส่วนเชื่อว่าลูกค้าจริงๆของเรือดำน้ำขนาดเล็กนี้คือหน่วยรบพิเศษกองทัพเรือเกาหลีใต้เอง เพื่อนำมาทดแทนเรือดำน้ำขนาดเล็กรุ่นเก่าที่ปลดไปแล้ว
แต่ที่ทางบริษัทบอกว่าเป็นลูกค้าที่ไม่ที่เปิดเผยนั้นก็เพื่อเป็นการพรางรักษาความลับครับ
ลองไปอ่านใน ลิงค์ ที่ท่าน AAGth1 ให้มานั้น...เรื่อง เรือดำน้ำจีน...ดูจะเป็นความเห็นของ Aung Zaya คนเดียวเลยนะครับ...ว่า จัดหา มา...และแถมบอกว่า ฐานเรือดำน้ำ ก็พร้อมแล้ว...แต่อยากได้ Kilo ของรัสเซีย มากกว่า...แต่ก็ไม่ยืนยันว่า...จะใช่เรือดำน้ำชั้น Ming ซึ่งบางคนก็บอกว่า วิเคราะห์ จากการที่ มีนายทหารไปตรวจเยี่ยม เรือดำน้ำชั้น Ming เลยคิดว่า พม่า ซื้อ เรือดำน้ำชั้น Ming...เพราะ เวลา พม่าไปถ่ายรูปเยี่ยมกับอะไร ก็มักจะซื้ออาวุธนั้นกลับมา...เลยมีการโชว์ภาพ ที่มีไปนั่งใน บ.ไต้ฝุ่น...เลยว่า จะได้ ไต้ฝุ่น หรือ Mig-35 มารึเปล่า (คงลักษณะ ทีเล่น ทีจริง)...ซึ่งบางคน ก็ยังสงสัย อยู่...ว่า จะซื้อ เรือดำน้ำจีนมือสอง มาจริงเหรอ ? ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับ...ว่า ประสบการณ์เรือดำน้ำ ของ นักเรือดำน้ำ ของพม่า...จะสามารถรับเรือดำน้ำ โดยไม่ไป ฝึก กับ เรือดำน้ำจีน เลย ได้หรือเปล่า...
ที่แน่ ๆ ผมว่า ไม่มีทางที่ ถ้า พม่า จัดหา เรือดำน้ำจีน แล้ว จะไม่มีทำการ Refit เรือดำน้ำใหม่...แล้ว พม่า จะได้ เรือดำน้ำ มาเร็ว...
ทั้ง ๆ ที่ ก่อนหน้านั้น พม่า ก็เคยจะจัดหา เรือดำน้ำ ชั้น Foxtrot จาก รัสเซีย หรือ อินเดีย ยังต้องขอให้ทำการ อัพเกรดให้...แต่ก็ไม่สามารถจัดหามาได้...และข่าว การจัดหาจาก จีน ควรจะต้องมีมากกว่า นี้...แม้แต่ การจัดหา เรือดำน้ำ Sang-O ที่สมัยก่อนข่าวสารยังไม่ทันสมัย รวดเร็ว เท่าทุกวันนี้...ก็ยังมีข่าวให้เห็นกันได้อยู่ครับ...
คงต้องติดตามกันต่อไป ครับ...
ส่วน HDS-400 ก็มีบางเว๊ปว่า เป็นของ ซาอุดิ อาระเบีย จัดหา 4 ลำ ต่อจาก เกาหลี 1 ลำ ต่อที่ ซาอุฯ 3 ลำ...แต่คิดว่า เป็นเรื่องเล่น ๆ กันมากกว่า....แต่คิดว่า อีกไม่นาน ก็คงจะรู้ว่า เป็นของ ประเทศไหน ครับ...
http://mmmilitary.blogspot.com/
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/
ปืนใหญ่เรือ 76mm ที่ติดตั้งในเรือรบหลายชั้นของกองทัพเรือพม่านั้น ดูเหมือนเริ่มพบเห็นช่วงแรกคือเรือคอร์เวตชั้น Anawrahta
โดยเรือคอร์เวตที่พม่าสร้างเองในประเทศชั้นนี้เริ่มสร้างในช่วงปลายปี 1990s และเข้าประจำการในช่วงต้นปี 2000s
ซึ่งตอนนั้นชาติตะวันตกยังคว่ำบาตพม่าอยู่ จึงค่อนข้างแน่ใจว่าแหล่งที่มาของปืนเรือ 76mm นี่ไม่น่าจะมาจาก OTO Melera 76/62 อิตาลีแท้ตรงๆ
โดยทางแหล่งข้อมูลในพม่าเองก็ระบุว่าปืนเรือแบบนี้พม่าสร้างเองในประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าแบบปืนจะมีจุดต่างจากปืนเรือ OTO Melera 76/62 อิตาลีที่ส่งออกหลายประเทศหลายจุด ตั้งแต่รุ่นมาตรฐานจนถึงรุ่นตรวจจับได้ยากตามภาพ
ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าพม่าได้ต้นแบบในการศึกษาทางวิศกรรมจากประเทศใด แต่ถ้าดูจากการจัดหาและพัฒนาการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของพม่าในยุคปี 1990s-2000s
จะมีหนึ่งถึงสองประเทศที่มีสิทธิบัตรการผลิตปืนเรือ OTO Melera ในประเทศและมีนโยบายขายอาวุธให้ทุกประเทศถ้าไม่ใช่ศัตรูของตน
ซึ่งพม่าน่าจะได้วิทยาการแบบปืนเรือมาในลักษณะดังกล่าว มากกว่าที่จะซื้อจากกลุ่มประเทศตะวันตกโดยตรงครับ
เมื่อกล่าวถึงสภาพการเมืองภายในพม่าเอง ถึงแม้พรรค NLD จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนแล้ว
แต่ด้วยข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญของพม่าปัจจุบันที่ยังกำหนดตำแหน่งที่นั่งของทหารในกองทัพพม่าในสภาต่างๆที่ร้อยละ๒๕
กระทรวงสำคัญสามกระทรวงคือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกิจการชายแดน ที่ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต้องเป็นนายทหารกองทัพพม่าเท่านั้น
อีกทั้งยังกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องไม่มีคู่สมรสหรือบุตรเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการกันไม่ให้นาง Aung San Suu Kyi ขึ้นเป็นประธานาธิบดีพม่าได้ด้วย
จึงต้องตั้งนาย Htin Kyaw ประธานาธิบดีพม่า แทน และนาง Suu Kyi ก็ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ, รัฐมนตรีสำนักประธานาธิบดี และรัฐมนตรีต่างประเทศ
หรือกล่าวได้โดยสรุปคือทหารพม่ายังคงคุมนโยบายด้านความมั่นคงและการจัดหาและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของพม่าอย่างเบ็ดเสร็จอยู่ดี โดยที่รัฐบาลพลเรือนยุ่งอะไรไม่ได้มาก
และก็อย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน หลังเลือกตั้งใหญ่ปี 2015 เจรจาหยุดยิงกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ปัญหาความขัดแย้งในประเทศพม่ามีอะไรดีขึ้นหรือไม่?
คำตอบคือไม่ ถึงจะไม่เป็นข่าวมากนักแต่กองทัพพม่าก็ยังรบกันกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆอยู่เหมือนเดิม
แถมปัญหาบางอย่างจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น อย่างเช่นประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรงฮิงญาที่จะดึงฝ่ายต่างๆเข้ามายุ่งกับพม่ามากขึ้น
ด้วยสภาพเช่นนี้คิดว่าประเทศตะวันตกคงน่าจะต้องคิดให้รอบคอบถ้าจะขายอาวุธที่ใช้ในการรบโดยตรงอย่างเปิดเผยกับกองทัพพม่า
เพราะการที่พม่ามีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงชัดเจนมากอยู่
ซึ่งจะเป็นการสร้างประเด็นทางการเมืองสำหรับชาติตะวันตกเรื่องความเหมาะสมในการขายอาวุธ และนั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องดูกันในระยะยาวต่อไปครับ
ปืน OtO 76 ม.ม. น่าจะจัดหาจาก อินเดีย ครับ....เพราะ อินเดีย ได้ ไลเซ่นต์ การผลิต OtO ครับ...ซึ่ง ผมไม่คิดว่า พม่า จะผลิตปืน ชนิดนี้เองได้...เพราะ มันคงไม่ใช่แค่ปืน...แต่อย่าลืม ถึง กระสุนปืน และระบบเชื่อมต่อกับเรดาร์ควบคุมการยิง ด้วยครับ...ซึ่ง อินเดีย คงเป็นทางผ่านการขายให้กับ พม่า...
และ อิตาลี่ ถ้าไม่ยินยอม ก็ไม่มีใครจะสามารถขายได้ครับ...แบบเดียวกับ เรือชุดรัตนโกสินทร ของไทย ที่มีคว่ามต้องการจัดหา Sea Sparrow ซึ่งมีเทคโนโลยี่ของ อิตาลี่ อยู่...โดย อิตาลี่ ก็ทักท้วง ไม่ให้ สหรัฐ ขายให้...จน ไทย ต้องจัดหา เอสปิเด้ จาก อิตาลี่ โดยตรงแทน...
ผมว่า พม่่า ในการจัดหาอาวุธ เขามีหลักการที่มั่นคงดี...อะไรที่ ไม่ใช่ ก็ไม่เอา จริง ๆ...เช่น ระบบโซนาร์ และระบบเรดาร์ ก็จัดหาจาก อินเดีย ไม่คิดแค่ว่า แค่มี ก็พอ...ทั้ง ๆ ที่ จีน ก็มี ระบบพวกนี้...แต่ใน อดีต พม่า ก็ไม่เคยคิดจะติดตั้ง...เพราะ จริง ๆ แล้ว ในขณะนั้น สำหรับ พม่า ก็ยังไม่มี ภัยคุกคามใต้น้ำ จาก เรือดำน้ำ...จะมี ก็คงมีเพียง สหรัฐ ซึ่ง พม่า ก็จัดเรือ เรือเร็วตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำจาก จีน แทน...และคง รู้ซึ้ง ตั้งแต่ตอนนั้น เป็นแน่แท้...เพราะเห็นปล่อยทิ้งจนสนิมขึ้นอยู่หลายลำ....
จนเมื่อ บังคลาเทศ มีแผนจัดหาเรือดำน้ำ และแสดงถึงการตั้งใจจริง...พม่า จึงจัดหา โซนาร์ มาติดตั้งกับเรือรบใหม่ของ ตัวเอง...และแทนที่ พม่า จะจัดหา โซนาร์ มาจาก จีน...เพราะมีความสัมพันธ์อันดี...กลับไปจัดหา จาก ประเทศอินเดีย แทน...รวมถึง เรดาร์ ตรวจการณ์พื้นน้ำและอากาศ ซึ่งคงสะท้้อน ถึง ความน่าเชื่อถือของระบบโซนาร์ และ เรดาร์ตรวจการณ์ของ จีน ในสายตา ประเทศพม่า เป็นอย่างดี...ในขณะที่ บังคลาเทศ จัดหามาจากจีน ทั้งยวง...
ตอนนี้ ผมก็กำลังตามข่าว ถึงความประทับใจ ของ ทร.บังคลาเทศ กับ ทร.ไนจีเรีย...ว่ามี ความประทับใจ กับเรือชุด Type-056 Mod เพียงไร...เพราะ สัญชาตญาณมันสะกิด...ว่า มันอาจจะเกิดกับ ทร.ไทย...
สองภาพบนเป็นปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 ทรง Stealth ที่ติดกับเรือฟริเกตชั้น Shivalik คือ F47 INS Shivalik ที่เข้าประจำการในปี 2010
สองภาพล่างเป็นปืนใหญ่เรือ 76mm ทรง Stealth ของกองทัพเรือพม่าที่พบในเรือรบที่สร้างใหม่และปรับปรุงใหม่
ดูเผินๆจะคล้ายกันก็จริง แต่ปืนทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันหลายในจุดในส่วนรูปทรงและรายละเอียดบนตัวปืนต่างๆ
ภาพสุดท้ายเป็นโรงงานซ่อมบำรุงและผลิตปืนใหญ่เรือของกองทัพพม่า ถ้าขยายภาพจะเห็นว่าที่หลังสุดของโรงงานมีป้อมปืนเรือ 76mm กำลังประกอบทดสอบอยู่
ที่มีการอ้างอิงภาพที่ปรากฎโดยการให้ข้อมูลของชาวพม่า กองทัพพม่ามีความสามารถในการผลิตปืนใหญ่เรือหลายแบบด้วยตนเอง ตั้งแต่ปืนใหญ่กล จนถึงปืนเรือลำกล้องขนาดกลางครับ
ภาพบนปืนใหญ่เรือ Bofors 40mm/L70 Mk3 ซึ่งมีใช้ในกองทัพเรือสวีเดนและหลายประเทศ
ภาพกลางเป็นเรือเร็วโจมตีปืนชั้น 5 ที่พม่าสร้างเองในประเทศ หมายเลข 567 และ 568 ที่ได้รับการติดตั้งปืนใหญ่เรือ 40mm ใหม่
ภาพล่างเป็นป้อมปืนใหญ่เรือ 40mm ของกองทัพเรือพม่า ซึ่งมีการระบุว่าเริ่มถูกนำมาปรับปรุงติดกับเรือเร็วโจมตีหลายลำที่เดิมติดปืนเรือหลักเป็นปืนใหญ่กล 30mm
จะเห็นได้ชัดว่าปืนเรือ 40mm ของกองทัพเรือพม่ามีจุดที่แตกต่างจากปืนเรือ Bofors สวีเดนดั้งเดิมในหลายจุด
ปืนเรือ OTO Melara 76/62 กับ Bofors 40/70 พวกนี้เป็นปืนที่พัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี 1970s และมีใช้งานในหลายประเทศทั่วโลกมานานหลายสิบปีแล้ว
นั่นหมายความว่าพม่าน่าจะมีความสามารถในการหาต้นแบบปืนเรือพวกนี้มาศึกษาเพื่อการสร้างเองในประเทศได้ โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศผู้ผลิตปืนดั้งเดิมทั้งอิตาลีและสวีเดน
อาจจะจากอินเดีย อิสราเอล แอฟริกาใต้ หรือแหล่งอื่นๆก็ยังไม่ชัดเจน แต่ทางชาวพม่าเองจะยืนยันว่าปืนเรือเหล่านี้พม่าผลิตได้เองในประเทศครับ
เรือดำน้ำไทยหายไปไหนแล้วเนี่ย อยู่ดี ๆ มาโผล่พม่าเฉยเลย
Type 056 การตอบรับออกมาในเชิงบวกจาก ทร. ทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะเจ้าที่เอาไปติด smart S ได้ข่าวว่าจะสั่งเพิ่มครับ เอา 056 มาแทนตาปี คีรีรัตน์ก็โอเคนะครับคุณภาพใช้ได้ราคาเหมาะสม ไหนๆจะมาทางนี้แระ จัดมาเต็มๆเลย เอิ๊กกกก ส่วนเรือ ส เรา รอดูสัปดาห์นี้ครับท่านผู้ชมผู้ฟังงงงงงงงง
Chilean Navy Sa'ar 4-class fast-attack craft Angamos and Casma
เรือเร็วโจมตีชั้น Sa'ar 4 ของกองทัพเรือชิลีซึ่งจัดหาจากอิสราเอล ซึ่งกองทัพเรือชิลีมีเรือเร็วโจมตีชั้น Sa'ar 4 ๔ลำคือ
LM-31 Casma(1979), LM-32 Chipana(1981), LM-34 Angamos(1997) และ LM-35 Papudo(1997) ทั้งหมดเป็นเรือมือสองที่เคยประจำการในกองทัพเรืออิสราเอล
กองทัพเรืออิสราเอลยังได้ขายเรือเร็วโจมตีชั้น Sa'ar 4 มือสอง ๒ลำให้กองทัพเรือศรีลังกาในปี 2000 คือ SLNS Suranimala และ SLNS Nandimitra
P1569 SAS Makhanda
P1565 SAS Isaac Dyobha
ก่อนหน้านี้อิสราเอลได้สร้างเรือเร็วโจมตีชั้น Warrior ๙ลำซึ่งมีพื้นฐานจากเรือชั้น Sa'ar ให้กองทัพเรือแอฟริกาใต้
โดยเป็นความร่วมมือระหว่างอู่ Israel Shipyards ที่ Haifa อิสราเอลสร้างเรือ ๓ลำแรก และอู่ Sandock-Austral แอฟริกาใต้สร้างเองในประเทศ ๖ลำ โดยระบบอาวุธเกือบทั้งหมดเป็นของอิสราเอลซึ่งมีส่วนหนึ่งผลิตในแอฟริกาใต้
เรือชั้นนี้ถูกสร้างในช่วงปี 1970s-1980s ซึ่งรัฐบาลแอฟริกาใต้ยังปกครองด้วยผู้มีเชื้อสายชาวยุโรปและถูกคว่ำบาตจากการละเมิดสิทธิชาวพื้นเมืองแอฟริกันอยู่
OTO Melara 76mm Super Rapid gun mounted on the Victory-class corvette RSS Valour
76mm OTO Melara cannon on the Irish Naval Service patrol vessel LE Niamh
จะเห็นได้ว่าแบบปืนเรือ 76mm ที่ติดกับเรือชั้น Sa'ar 4 นี้มีจุดแตกต่างจากปืนเรือ OTO Melara 76/62 อิตาลีดั้งเดิมที่ส่งออกไปในหลายประเทศ
Myanmar Navy UMS Bayinnaung Corvette
ซึ่งปืนเรือ 76mm ที่ติดบนเรือพม่าหลายชั้นก็ดูจะคล้ายกับของอิสราเอลครับ
ไหน ๆ ก็ออกทะเลแล้วเอาเสียหน่อย ความเห็นส่วนตัวอิตาลีมีการขายลิคสิทธิ์ปืน Oto 76/62 Compact กับบางประเทศ แต่รุ่น Super Rapic คิดว่าไม่ขายให้ใครเลย มีกรณีของเกาหลีใต้ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกัน ส่วนป้อมปืนรูปทรง stealth นี่มีเยอะพอสมควรดูตามภาพแล้วกัน
- สี่เหลี่ยมสีแดงคือป้อมปืนอิตาลี ทั้งรุ่น stealth และรุ่น dart มีช่องใส่กระสุนด้านหลังเท่านั้น มีใช้งานหลายสิบชาติ
- สี่เหลี่ยมสีม่วงคือป้อมปืนเกาหลีใต้ มีช่องใส่กระสุนด้านหลังเท่านั้น ที่ใช้งานมีเกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งมาเลเซียกับฟิลิปปินส์ในอนาคต
- สี่เหลี่ยมสีเหลืองคือป้อมปืนใส่เรือของโปแลนด์ มีช่องใส่กระสุนด้านหลังเท่านั้น ประเทศนี้พัฒนาปืนด้วยตนเองมานานแล้ว รู้สึกกำลังทำปืนต่อสู้อากาศยาน 35 มม.อยู่ด้วย
- สี่เหลี่ยมสีเขียวอ่อนคือป้อมปืนใส่เรือของพม่า รูปทรงเหมือนของโปแลนด์เป๊ะ ๆ แต่มีช้องใส่กระสุนด้านข้าง 2 ช่อง รวมทั้งด้านหลังอีก 1 ช่อง และปืนโปแลนด์ไม่มีกระเดื่องใต้กระบอกปืนเหมือนพม่า
จะบอกว่าพม่าเอาปืนเก่ามาใส่ป้อมใหม่ก็ไม่น่าใช่ เพราะป้อมใหม่มีกระเดื่องใต้กระบอกปืนด้วย ขระที่รุ่นเก่าซึ่งเป็นป้อมปืนทรงกรมสวมหมวกไม่มีกระเดื่องเหมือนของโปแลนด์
ทางด้านอิสราเอลและอินเดียนั้น ไม่มีศักยภาพในการผลิตป้อมปืนรูปทรง stealth ขึ้นมาเอง โดยอินเดียต้องซื้อกับอิตาลีเท่านั้น ซึ่งตอนนี้มีปัญหาว่าโครงการเฮลิคอปเตอร์โครงการหนึ่งมีทุจริต อินเดียเลยแบนบริษัทอิตาลี ซึ่งบังเอิญบริษัทแม่ขายทั้งตอร์ปิโด blackshark และปืน oto 76/62 ด้วย กองทัพเรือเลยซวยซื้อตอร์ปิโดมาติดเรือดำน้ำสกอร์ปิเน่ไม่ได้ รวมทั้งซื้อปืน 76/62 stealth มาติดเรือใหม่ไม่ได้อีก ก็ไม่รู้ลงเอยอย่างไรเหมือนกัน
ส่วนอิสราเอลเพิ่งสั่งซื้อปืน 76/62 stealth จากอิตาลีไปได้ไม่นาน โดยสั่งล๊อตใหญ่ผ่านอเมริกาวงเงิน 100 ล้านเหรียญ ฉะนั้น...ปืนพม่าคงไม่ได้มาจาก 2 ประเทศนี้แน่ ตัดอิหร่านทิ้งไปได้เลยเพราะเขาไม่มีป้อมปืน stealth และใช้ช่องบรรจุกระสุนด้านหลังเหมือนต้นฉบับ
บางทีอาจมาจากเกาหลีเหนือก็ได้มั้งครับ โดยเกาหลีเหนือเอามาจากโปแลนด์อีกที ว่าเข้าไปนั่น.
กำลังจะนอนแล้วเพิ่งนึกออก อเมริกาเคยซื้อลิคสิทธิ์ oto 76/62 compact ไปผลิตเองในชื่อรุ่น MK 75 มีความแตกต่างกันด้านท้ายนิดหน่อยนะครับ ของแท้จะโล่ง ๆ ไม่มีอะไร
ส่วนของอเมริกาจะนูนกว่ากันนิดหน่อย และมีตุ่มตาปลาเหนือช่องใส่กระสุนอีกที แบบนี้เลย
ฉะนั้น.... ถ้าปืนมือสองที่เราซื้อต่อมาจากอิตาลีแล้วมีตุ่มตาปลาด้วย ใช่เลย...ของอเมริกาแน่นอน ซึ่งน่าจะเป็นของเก่าอายุ 20-30 ปีขึ้นไป เพราะช่วงหลังอเมริกาเลิกผลิตเองและหันมาซื้อจากอิตาลีเช่นกัน
ว่าแต่ปืนของเรือหลวงแหลมสิงห์มีตุ่มตาปลามั้ยเออ *___*
http://manager.co.th/SpecialScoop/ViewNews.aspx?NewsID=9600000031257
“พลเรือเอกบรรณวิทย์” ค้านซื้อเรือดำน้ำตามเพื่อนบ้าน เหตุไทยไร้ภัยคุกคาม เรือดำน้ำต่างชาติเข้ามาสอดแนมไม่ได้เนื่องจากอ่าวไทยตื้น หากจะซื้อควรเลือกเรือจากเยอรมันเพราะมีผลงานการันตี และสามารถเช็กราคาที่แท้จริงได้ ด้าน ACT ระบุ จีทูจีก็คอร์รัปชันได้
.............
“เป็นตรรกะที่มั่วมาก เพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำแล้วเราต้องมี ในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นั้นหลักการทางทหารจะพิจารณาเรื่องภัยคุกคามเป็นอันดับแรก คือดูว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้เพื่อนบ้านมารุกรานเรา ณ ตอนนี้ตอบได้เลยว่าไม่มี และต่อให้ประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำสัก 100 ลำ ก็ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะหลักการของเรือดำน้ำคือการปฏิบัติการใต้ผิวน้ำ แต่อ่าวไทยมันตื้น จะส่งเรือดำน้ำเข้ามาสอดแนมหรือโจมตีไทยมันทำไม่ได้ แสนยานุภาพในการรบไม่ได้หมายความว่าเพื่อนบ้านมีอาวุธอะไรแล้วเราต้องมีเหมือนเขา จะเห็นได้ว่าไทยมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งช่วยขยายพื้นที่ลาดตระเวนและยืดระยะในการปฏิบัติการทางทะเลให้ แต่มาเลเซียกับสิงคโปร์ก็ไม่เห็นจะซื้อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ตามไทยเลย คืออำนาจต่อรองระหว่างประเทศมันไม่ใช่แค่เรามีอาวุธอะไร” อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุ
....................
“ทำไมจึงซื้อจากจีนทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ ผมว่าเรือดำน้ำจากเยอรมันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในการผลิตเรือดำน้ำ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือดำน้ำของเยอรมันที่เราเรียกว่าเรืออู สามารถจมเรือรบของประเทศต่างๆ ได้เยอะมาก อีกทั้งยังมีเรือดำน้ำหลายขนาดให้เลือก ซึ่งอ่าวไทยมีปัญหาในเรื่องความตื้นของทะเลจึงจำเป็นต้องเลือกเรือดำน้ำที่มีขนาดเล็กเพื่อให้สามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้” พลเรือเอกบรรณวิทย์ ย้ำว่าการตรวจสอบคอร์รัปชันในการจัดซื้ออาวุธเป็นเรื่องยากเพราะเราไม่มีทางรู้ต้นทุนที่แท้จริง
...............
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) หรือ ACT ชี้ว่า
“ต้องเข้าใจว่าการจัดซื้อแบบจีทูจีนั้น รัฐบาลของประเทศที่ขายสินค้าไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าเอง แต่ผู้ผลิตคือเอกชนซึ่งเขาจะมีนายหน้าเป็นคนวิ่งเต้นเจรจา ซึ่งเอกชนผู้ผลิตสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายให้นายหน้า ส่วนนายหน้าจะไปจ่ายเท่าไหร่ หรือโดยวิธีไหนก็สุดแล้วแต่ ดังนั้นก็ต้องติดตามดูกันต่อไป” ดร.มานะ กล่าว
เรือรบสีดำก็ดูเท่ดีไปอีกแบบนะครับ ว่าเเต่ทำไมเขาทาสีดำหรอครับ มันไม่พรางตัวลำบากหรอ
ตกลง แล้วไงต่อ วันที่ 28 มีนาคม ไม่มีเรือดํานํ้าเข้า ครม ตงลงในปีนี้ซื้อเรือดํานํ้าไม่ได้แล้วใช่ไหมครับ
https://media.thaigov.go.th/uploads/document/74/2017/03/docx/28.03.60.docx
สรุปประชุม ครม.วันนี้(๒๘ มีนาคม)เมื่อเวลา ๑๔๐๐ ประเด็นที่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหมมีเรื่องการขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
แต่ดูเหมือนจะไม่มีเรื่องการอนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำ
ซึ่งก็ตรงกับที่รัฐมนตรีกลาโหมกล่าวกับสื่อว่า ใครบอกว่าโครงการเรือดำน้ำจะเข้า ครม. ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ใน กห.
http://www.matichon.co.th/news/511066
ก็ต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมกันอีกทีครับ
ปล่อยข่าวเรือดำน้ำเบนความสนใจ สับขาหลอกโยกซ้าย ขวา แล้วสั่ง vn1 อีกล็อต555
^^^^^^^^
คิดได้ไงเนี้ย 555
ว่ากันตามตรงๆคือคำถามที่ว่า "เมื่อไรกองทัพเรือไทยจะมีเรือดำน้ำเข้าประจำการ"
เป็นคำถามที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ "เมื่อไรฟุตบอลทีมชาติไทยจะได้ไปแข่งฟุตบอลโลก"
วันนี้(๒๘ มี.ค.)ทำนายถูกติดกันสองเรื่องด้วยคือ
โครงการเรือดำน้ำยังไม่เข้า ครม. กับ ไทย-ญี่ปุ่น 0-4 ตกรอบเรียบร้อย(ผลประตูแม่นยำ)
http://www.oag.go.th/sites/default/files/files/about-us/oag-2542.pdf
ใน พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 (7) ว่าไว้ การตรวจสอบ ....... การตรวจบัญชี การตรวจรับ การใช้จ่าย ......
เงิรงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกู้ เงินอุดหนุน เงินบริจาค และเงินช่วยเหลือจากในและต่างประเทศ .....
คือการซื้อขายแบบ จี ทู จี อาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องชี้แจงการทำสัญญาต่อสาธารณะมั้งครับ แต่ พรบ.ว่าด้วยแผ่นดินก็ยังสามารถตรวจสอบได้
.........
อันนี้ผมคิดเองนะ เพราะถ้า เราจะผ่อนจ่ายเรือดำนํ้าโดยจีนอนุมัติเงินกู้ให้ ก็ถือว่าเป็นเงินกู้จากแหล่งในต่างประเทศ คือว่า เข้า พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจสอบเงินแผ่นดิน
ถ้าทำสัญญา ยี-ทู-ยี ปีนี้ กว่าจะได้เรือลำแรกก็ปี 66 ถึงตอนนั้น คนที่เกี่ยวข้อง ทั้งผลักทั้งดันจะเอาเรือจีนให้ได้คงไปนอนคุยกับรากมะม่วงกันแล้ว หรือไม่ก็เฒ่าชแลแก่ชรา บอกจำอะไรไม่ได้ เป็นอัลไซเมอร์กันหมด ส่วน ทร. ก็จะเข้าทำนองคนซื้อไม่ได้ใช้ ส่วนคนใช้ (เสี่ยงชีวิตตัวเองด้วย) ก็ไม่ได้เป็นคนซื้อ
ขอให้อย่าเป็นดิวที่สร้างความเสียหายให้กับ ทร. และประเทศชาติเลย เงินมันเยอะ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศด้วย ขอให้ได้ ด. มา (รั้งไม่อยู่แล้วนิ) ขอให้มันใช้งานได้ดี (เพี้ยง) อย่าให้เป็นโครงการที่ล้างผลาญงบประมาณของ ทร. จนต้องชลอโครงการสำคัญๆ อื่นๆ ออกไปอีกหลายปีนะครับ
ปล. ฟริเกตแดวูลำที่สอง จะมาได้ก็ต่อเมื่อเรือหยวนลำแรกต้องเลื่อนออกไปก่อนไหม ?
เค้าบอกว่า โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำหยวนม๊อด เอส-26 ที ผ่านการตรวจสอบจาก สตง. แล้ว
~~รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โยนสำนักปลัดฯ พิจารณาสัญญาจัดซื้อเรือดำน้ำตามที่ทัพเรือเสนอ ยันไม่ต้องเร่งรัด แต่ต้องไม่เกินงบปี 60 ไม่แคร์กระแสต้าน ย้ำเป็นเรื่องความมั่นคง อธิบายนานกว่า 10 ปี ทำตามความต้องการกองทัพ โบ้ยเลขาฯ ครม.ดูบรรจุเข้าวาระเมื่อไหร่ ด้านปลัด กห.ขอเช็กร่างฯ ก่อนชงคณะรัฐมนตรี
วันนี้ (29 มี.ค.) ที่ท่าอากาศยาน 2 กองบิน 6 ดอนเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดซื้อเรือดำน้ำหลังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ผ่านการตรวจสอบโครงการดังกล่าวแล้วว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังไม่ถึงตน แต่อยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่จะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องรายละเอียดทั้งสัญญารวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่กองทัพดำเนินการมาว่าถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่ และยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเร่งรัด เนื่องจากทำวันนี้เรือดำน้ำก็ไม่ได้พรุ่งนี้ ส่วนปัญหาเรื่องงบประมาณนั้นสามารถยืดเวลาออกไปได้ แต่ไม่ให้เกินปีงบประมาณ2560
พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวยืนยันอีกว่า ไม่รู้สึกต่อกระแสการต่อต้านการจัดซื้อเรือดำน้ำ เนื่องจากตนทำตามทุกอย่างเป็นเรื่องของความมั่นคงและเคยชี้แจงไปหมดแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีการอธิบายมานานแล้วกว่า 10 ปี และยืนยันว่า ทำตามความต้องการของเหล่าทัพ ตามแผนพัฒนาของเหล่าทัพและเป็นการใช้งบประมาณของเหล่าทัพเองในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์
เมื่อถามว่า หากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมส่งเรื่องมาให้ท่านจะส่งเข้า ครม.หรือไม่นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ เลขา ครม.ว่าจะบรรจุวาระดังกล่าวเข้าที่ที่ประชุม ครม.เมื่อไหร่ ส่วนจะเป็นวาระจรหรือวาระปกตินั้นตนไม่ทราบ แต่ก็ทุกอย่างก็ต้องยึดตามกฎหมายขั้นตอน
เมื่อถามว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำถือว่าเป็นความสำเร็จในยุคนี้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า คงไม่เกี่ยวกับความสำเร็จ ยืนยันทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการของเหล่าทัพ
ด้าน พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า เรื่องเรือดำน้ำถึงมือแล้ว ส่วนจะสามารถส่งเข้า ครม.ได้ทันสัปดาห์หน้าหรือไม่นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างดูร่างสัญญาให้เรียบร้อย ก่อนจะส่งเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติต่อไป
ทำไมตรวสอบเร็วจัง ผ่านง่ายๆ ซะงั้น เนื้อตัวสะอาดสะอ้านแล้วพร้อมสำหรับด่านต่อไป ครม. !!!
1.43 ซื้อสามลำนะฮะไม่ใช่ 1 ลำ
3.17 เป็นการซื้อแบบ G2G
4.30 เป็น พรบ. งบประมาณนะฮะ
5.00 ทร.เป็นคนลงนามนะฮะไม่ใช่รัฐบาล
5.57 ครม. อนุมัติงบปีนี้ให้แล้วนะครับ 700 ล้านบาท
6.07 ยืนยันฮะว่าซื้อภายในปีนี้แน่นอน
7.00 ลำแรก 1,330-1,340 ล้านบาท = 390 ล้าน$
รวมครบหมดทุกอย่างในสัญญา
7.30 ที่ว่ารวมทุกอย่างยังไม่ได้เขียนลงในสัญญานะฮ่ะ
7.50 จีนให้ข้อเสนอดีกว่าทุกประเทศ
""""""""""""""""""""""""""
ไม่รู้ว่าใครโกหกนะฮ่ะเนี้ยหรือเราเข้าใจคาดเคลื่อนเองหว้า
(เดาๆ)... ดึงๆกันอยู่ตอนนี้ น่าจะตกลง บาง item กันไม่ได้
ไอฝั่งนู้น ก็ไม่อยากปล่อยของดี เทียบเท่า C เดาเฉยๆน่ะ 5 5 5