ด้วยปริมาณและราคา 5555 ได้ข่าวว่ามาทดสอบ
ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นรุ่น IFV ติดปืน 30 หรือรุ่น APC นะครับ
ส่วนตัว กระทะล้อน่าเกลียดมาก ยังกับสิบล้อ ไม่รู้มีระบบปรับแรงดันลมยางในตัวหรือเปล่า
ช่วงนี้นิยมแนววินเทจครับ
ติดปืน 30 มม. ครับ....ส่วนราคานี่ไม่แน่ใจว่าเราเลือกเพราะเหตุผลนี้นะครับ เพราะราคาใช่ว่าถูกนะครับแพงกว่า BTR-3 เยอะอยู่ ถ้ามาจริงขอภายในดีๆเหน่อยกับเกียร์ออโต้เถอะ เพราะเคยได้ยินว่ารุ่นนี้ใช้เกียร์ธรรมดา...
อืมม์... ถึงตอนที่ BWS ของ DTI พัฒนทดสอบจนถึงขั้นพร้อมผลิตแล้ว จะมีกองพันไหนเหลือที่ไว้สำหรับรถแม่ม้ายดำบ้างครับ
ตอนนี้เหล่าม้าบรรทุกยานเกราะก็อุดมไปด้วย BTR3E1 ร้อยกว่าคัน และ ทบ. คงไม่เอารถยูเครนอีกแล้ว ส่วนที่ยังมีแต่อัตรา ไม่มีรถรบ ต่อไปก็จะได้รับ VN1 ไปใช้งาน และสุดท้ายหากโชคดี BWS ได้ทำคลอด (ฝันของผม) ทบ. ก็จะเอา BWS มาเติมให้เต็ม (เหรอ ?)
นึกภาพครับ ทบ. เราขยันดูแลรถทั้งสามแบบให้มันใช้งานได้ อยู่กันนาน สภาพพร้อมรบสูง ทบ. คงจะวุ่นวายพิลึกนะครับ
แล้วก็ไม่รู้ว่าอนาคตอาจจะมีแบบที่ 4 ไหม เผื่อว่าไม่มีอะไหล่ให้ซื้อแล้ว (BTR3E) หรือกระทั่งอายุการใช้งานสั้น เจ๊งเร็วไปนิด (ปรามาส VN1) หรือคิดว่ายังไงสุดท้ายก็ต้องใช้ BWS อยู่แล้ว BTR กับ VN1 เป็นแค่ตัวช่วยชั่วคราว ระหว่างที่ BWS ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาทดสอบจนกว่าจะถึงวันที่ผลิต (คิดเอาเอง มันจะมีโอกาสเป็นแบบนั้นไหม?)
ผมว่าแม่หม้ายดำ BWS ไม่สมควรผลิตครับ ถ้าหากว่ากองทัพยังมีเงื่อนไขว่า "ต้องมีประจำการในประเทศผู้ผลิต" แต่วิจัยพัฒนาให้มีประสิทธภาพตามมาตรฐานให้ได้ มีองค์ความรู้พร้อม หลังจากนั้นไปขอซื้อสิทธิบัตรไอ้ VN1 นี่แหละมาประกอบแต่ใช้องค์ความรู้จาก BWS นี่แหละมาเป็นมาตรฐาน ทีนี้เงื่อนไขที่ว่า ต้องมีประจำการในประเทศผู้ผลิตก็หมดไป เอ๊ะ ! VT4 ไม่มีประจำการในจีนนี่หว่า แต่สั่งซื้อแล้ว ตกงเงื่อนไขนี้เปลี่ยนไปแล้วใช่เปล่า ?
ฮ่ะๆๆๆๆ ท่านเด็กทะเลครับ VT-4 เป็นการจัดซื้อแบบพิเศษครับ ไม่ใช่แบบธรรมดา เงื่อนไขการประกวดราคาบางอย่างจึงถูกถอดออกไป
จริงๆ แล้ว เงื่อนไขจะจัดซื้ออาวุธได้ ต้องมีข้อกำหนดว่าประเทศผู้ผลิตต้องมีใช้งานอยู่ อันนี้ผู้ร่างกฎน่าจะหมายถึงต่างประเทศ หรือประเทศอื่นๆ ที่เราไปซื้ออาวุธเค้ามาใช้นะครับ ไม่น่าจะหมายรวมถึงประเทศเราเอง
เอกชนไทย / DTI วิจัยพัฒนาทดสอบจนออกมาเป็นอาวุธต้นแบบ ก้าวต่อไปคือการผลิตออกมาจำหน่ายให้กองทัพไทยและกองทัพประเทศต่าๆ ได้ซื้อหาเอาไปใช้ในกิจของกองทัพ ถ้ายังจะมีข้อกำหนดว่า อาวุธนั้นต้องมีใช้งานในประเทศผู้ผลิต กองทัพไทยจึงจะสามารถเลือกซื้อมาใช้งานได้ อย่างนี้อาวุธไทยก็ไม่มีทางได้เกิดเลยซิครับ กองทัพไทยอยากใช้ First Win หรือ BWS ก็ซื้อไม่ได้เพราะมันใหม่ ไม่เคยมีใช้ในกองทัพไทย
เข้าใจว่าคงมีข้อยกเว้นเรื่องนี้แล้วครับ เพราเห็นว่าอย่างน้อยมี ทบ. กับ DSI ก็สั่ง First Win ไปใช้แล้ว ถึงแม้จำนวนจะไม่มากก็ตาม
คือถ้าอยากได้ ใช้การจัดซื้อแบบพิเศษ ก็ได้หมด เพราะสดชื่นครับ ผมว่านะ
ปล. ท่านเด็กทะเลประชดซะกองทัพสียเลยครับ อิอิ...
ช่วงนี้มาสายจีน เป็นเพราะไปคุยอะไรกับเค้าไว้รึเปล่าครับ ผลประโยชน์ต่างตอบแทนหรือเปล่า หรือเขาให้งบช่วยเหลือแบบอเมริกาเมื่อก่อนแต่เป็นความลับไรงี้รึเปล่า แบบว่าขอมโนนิดนึง จีนมาถี่เหลือเกิน
ผมเชื่อคล้ายๆ ท่าน GT500 เชื่อมานานแล้วด้วย
BTR อยู่ราบอยู่แล้วไม่ใช่หรือ หรือผมเข้าใจผิด
BWS ของ DTI พัฒนาทดสอบจนถึงขั้นพร้อมผลิตแล้ว....พร้อมจะเป็น ม่าย แล้วครับ 5555 ....มึน..ครับท่าน
ผมว่าจีนไม่มีงบมาช่วยแน่นอน เพราะถ้ามีแบบเมกาแต่ก่อน การทำะไรไม่ต้องลับๆ ล่อๆ ปิดบังอะไรอย่างนั้น โชว์ๆ กันมาเลยว่าของห่วยกว่าจริงแต่ได้ราคาถูกยังกับขี้
แต่นี่เปล่าเลย ของห่วยแต่ดันแพ๊งแพง จะเป็นลม
ถ้าบอกว่าน่าจะจ่ายลับๆ ให้คนที่คุณก็รู้ว่าคือใคร อันนั้นผมเชื่อมากกว่า ฮา
อีกสาเหตุที่ผมไม่เชื่อ คือจีนไม่เคยลงทุนให้ใครเพื่อแลกผลประโยชน์ในทางอ้อมเลยครับ ไม่เหมือนสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฯลฯ ของจีนตัวเองต้องได้ประโยชน์ทางตรงเลยครับ ทอดตาทั่วแผ่นดิน ประเทศไดที่จีนให้เงินช่วยเหลือ ไปศึกษาดู กลายเป็นติดหนี้บานตะไท เพราะโครงการสนองแต่ประโยชน์ของประเทศจีนเป็นหลัก ทำให้ผลของการลงทุนไม่สามารถช่วยให้เจ้าของประเทศหาเงินไม่ใช้หนี้จีนได้ครับ ส่วนจีนได้ทั้งลูกหนี้ ได้ทั้งผลประโยชน์ ฯลฯ และที่สำคัญ ประเทศนั้นจะจมปลักไปเลยกู้ตัวเองออกมาไม่ได้
ละเหี่ยใจ ดูเหมือนประเทศเราจะจมปลักนี้เข้าไปทุกวัน ประมาณว่ากระโดดลงไปเอง ไม่ได้มีใครถีบลงไป
สำหรับ DTI Black Widow Spider 8x8 คงจะพออุ่นใจได้สักหน่อยบ้างว่า
ยังมีโครงการพัฒนายานเกราะล้อยางสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของนาวิกโยธินของกองทัพเรืออยู่
ซึ่ง กองพันรถถังนาวิกโยธิน ยังมีความต้องการรถเกราะล้อยางอยู่สำหรับแทน V-150 หรือเพิ่มเติมกำลังในอนาคต
โดยในส่วนยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ที่จัดหามา ๑๒คันนั้น จากการใช้งานจริงในภารกิจสะเทินน้ำสะเทินบก
เช่น จากอู่ลอย เรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ร.ล.อ่างทอง นั้นประสิทธิภาพและการซ่อมบำรุงของรถไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไร
(BTR-3 ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้งานทางทะเลโดยตรง เมื่อใช้ในทะเลนานจะมีปัญหาระบบบางส่วนเสื่อมสภาพต้องทำการซ่อมบำรุง
ซึ่ง BTR-4M ๕คันที่นาวิกโยธินอินโดนีเซียทดสอบไปก็มีปัญหาคล้ายๆแบบนี้หลายๆอย่างด้วย)
แต่ก็ต้องใช้เวลาในพัฒนาสร้างต้นแบบและทดสอบก่อนจะนำเข้าประจำการจริงอยู่ดีครับ
ผมเห็นควรให้รัฐบาลพิจารณาจัดหารถภายในประเทศก่อนนะครับ
สาเหตุ นอกจากจะเรื่องซ่อมบำรุง ณ ตอนนี้ประชาชนหลายภาคส่วนและส่วนใหญ่มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องเรือดำน้ำ ปัญหาของประเทศ เรายังไม่อยู่ในสถานะที่จะนำเงินออกนอกประเทศ ประกอบกับ สิ่งที่ประชาชนส่วนหนึ่งราวๆ 27 % มีความเห็นต่อไปว่า หากกองทัพเลือกพัฒนาอาวุธและผลิตด้วยตนเองน่าจะดีกว่าการไปซื้อ เพราะอย่างน้อยเงินยังคงไหลเวียนไปในประเทศ ยังกระจายไปสู่ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างที่ติดตั้งบนยานพาหนะเราอาจจะซื้อมาประกอบเหมือนดั่งที่เราต่อเรือในประเทศ
"สถานการณ์ในตอนนี้เรายังไม่มีความสามารถพอที่จะใช้งบขนาดใหญ่เสริมกองทัพในขั้นต่อไป ที่เกินกว่าขั้นจำเป็นอย่างจริงจัง เราควรจัดหาอะไรที่จำเป็น เรือดำน้ำก็เช่นกัน เราควรเลือกใช้แบบที่พอประมาณ เพียงพอ เนื่องจากการจัดหาครัา้งนี้จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายในการจัดหาเรือดำน้ำ ยังไงอนาคตอันใกล้ก็จะมีการจัดหาอีกอย่างแน่นอน"
รูปแบบที่ชัดเจนในการจัดหา ผมมองไปที่หน่วยงานอุตสาหกรรมทหาร DTI และ บริษัท ชัยเสรี ร่วมกันจัดสร้างและบรรจุ เข้าประจำการ
เคยเห็นแต่ DTI จ้างอู่ปรีชาถาวร ที่สมุทรสาครในการประกอบรถครับ เดิมอู่ปรีชาเป็นอู่ซ่อมและดัดแปลงรถ ภายหลังเห็นมีการผลิตรถให้กองทัพด้วย แต่ไม่เคยเห็น DTI จ้างบริษัทชัยเสรีผลิตรถให้ น่าจะเหตุผลว่า ชัยเสรีมีทีมงานวิจัยพัฒนาผลิตรถเองอยู่แล้วขณะ DTI เองก็มีหน้าที่วิจัยดูจะซ้ำซ้อนกันจากที่ชัยเสรีก็วิจัยผลิตออกขายเองอยู่ หรืออาจจะเหตุผลเรื่องราคา
อันนี้ของ Venezuelan Marines Corps เครดิตภาพ venemil.net
ผมว่าปากว่าสนับสนุนของที่ผลิตได้เองนี่เป็นการพูดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี หรือเปล่าไม่รู้ 5556
ผมว่าเอา BTR-82A1 ยังดีซะกว่า ความเชื่อถือหายห่วง เผลอๆ ใช้อะไหล่ร่วมกับ BTR-3E1 ได้ด้วย
เอาจริงๆผมว่าทรงมันก็สวย ทันสมัย แล้วเนื้องานก็ดูดีมากๆเลยนะ BTR ภายในแคบมาก ยังกะปลากระป๋อง เจ้านี่ดูแล้วน่าจะสบายกว่านะ ไม่อึดอัด
BTR-3 นั้นเป็นรถที่ออกแบบโดยขยายขนาด BTR-80 ให้ใหญ่รองรับอาวุธได้หนักขึ้น
ขณะที่ BTR-82A เป็นรถที่ปรับปรุงจาก BTR-80 ดั้งเดิมตรงๆ ซึ่งนั้นทำให้ BTR-82A มีมิติขนาดเล็กกว่า BTR-3
นอกจากกระสุน 30x165mm กับ 7.62x54mm แล้ว แทบไม่มีอะไรที่ BTR-82A ใช้ร่วมกับ BTR-3 ได้นัก
ทั้งในส่วนระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง และป้อมปืนกับระบบควบคุมการยิงก็ไม่เหมือนกันแล้ว
การจัดที่นั่งภายในรถเกราะตระกูล BTR-80 เดิมที่ก็ถูกออกแบบมาสำหรับหมู่ทหารราบเพียง ๖-๗นาย
อย่าง BTR-82A กำลังพลประจำรถมาตรฐานกองทัพรัสเซียคือ 3+7 ก็อย่างที่เห็นในภาพว่าตำแหน่งภายในรถ BTR-3 กับ BTR-82A เป็นแบบนี้
ถ้าเทียบกับ รสพ.๓๐ Type 85 ที่ประจำการมาแล้ว ๓๐ปี ซึ่งมีประตูท้ายคล้ายๆกับ VN1 ดูกำลังพลจะขึ้นลงสะดวกมากกว่า BTR-82A และ BTR-3
ซึ่งราคาของ VN1 ที่ระบุข้างต้นว่าคันละ $1.7 million ก็ไม่ได้แพงกว่า BTR-82A นัก
เพราะราคาเฉลี่ยที่รัสเซียส่งออก BTR-82A ให้ประเทศอื่นจะประมาณ $1.2-1.4 million ต่อคัน
และ VN1 ก็ถูกว่ารถเกราะตะวันตกอย่าง Patria AMV, LAV III, Boxer, Stryker ที่ราคาแพงตั้งแต่ $3-5 million มากครับ
แปลว่ารถจีน VN1 ประสิทธิภาพเชื่อถือได้ใช่ไหมครับ
ไม่ได้แปลกใจที่ เจ้านี้มาวิ่งไหนบ้านเรา ตามคาดที่เคย คิดว่ามาแน่นอน
สเป็ก ก่อโอเค ไม่น่าเกลียดอะไร ใช้งานได้
ม่ายดำ รอต่อไป เฮ้อ สี่ล้อหุ้มเกาะด้วยสาวหมวย มาเทส ชายแดนใต้ด้วย
ลุ้นของหมีขาวอยู่ตอนนี้ สองฝูงได้เปล่า ครับ เอาเรดาร์ ล่าสุดเด้อ
สนับสนุ่น ชูสองมือเลย ติดของใต้น้ำอย่างเดียว ที่ไม่ค่อยจะโอนะครับ
นอกนั้น ดีงามทุกประการครับผม ยาวไป โคราชบ้านเรา เอาให้ สำเร็จก่อนมีรัฐบาลใหม่เด้อ
ก่อหมวยนี้คะ ขออภัยที่ต้องหมวย