China Shipbuilding and Offshore International Corporation (CSOC) ได้ใช้งาน IDEX 2017 ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยข้อมูลเรือดำน้ำชั้น S-26 เป็นครั้งแรกสุดเพื่อทำตลาด เรือดำน้ำรุ่นส่งออกลำนี้ได้ติดตั้งระบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงกับระบบ AIP (Air Independent Propulsion) ตามภาพที่แสดงปรากฎถังออกซิเจนเหลวขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุน AIP ในวงกลมสีแดงนั่นแหละครับ แต่เจ้าหน้าที่ CSOC ไม่ได้ระบุว่าเรือจะสามารถดำน้ำได้นานที่สุดกี่วันแต่อย่างใด ภาพตัดขวางของจริงที่แท้จริงอยู่ข้างล่างเลยครับ
S-26 Conventional Submarine ระวางขับน้ำ 2,660ตัน ยาว 79.5 เมตร กว้าง 8.6 เมตร ความเร็วสุงสุด18 น๊อต ระะยะปฎิบัติการณ์ไกลสุด 8,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 4 น๊อต ดำน้ำได้ลึกสุดประมาณ 300 เมตร และเป็นแบบเรือเดียวกับที่กองทัพเรือไทยต้องการสั่งซื้อเข้าประจำการจำนวน 1 ลำภายในปีงบประมาณ 2560 ผมจำมูลค่าไม่ได้แล้ว น่าจะประมาณ 13,000 ล้านบาทนะครับ เชิญชมภาพและวิแคระกันตามอัฒญาศัย ;)
พอแก้ไขปั๊บ..!! ย.ยักษ์มาเยือนเต็มหน้ากระดานเลยวุ้ย ฮ่า ฮ่า
เขามาแน่ 1 ลำก่อน
ได้เห็นรูปร่างสักที 5555 มารออ่านเลยครับ
ในเมื่อมันแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วก็ต้องยอมรับกันไป ใจจริงผมก็แอบตื่นเต้นนะหวังจริงๆว่าให้เราได้ของดีราคาถูกขอให้มันดีจริงตามสเป็คแค่นี้ก็พอใจแล้ว รูปทรงเทคโนโลยีก็ดูทันสมัยอยู่หรอก
ผมขอลงข้อมูลเปรียบเทียบจากเฟสบุค TFC นี่แหละครับ
U 209 PN ของโปรตุเกส ( U-214)เป็นเรือดำน้ำชั้น Tridente
ระวางขับน้ำ 1,700 ตัน มีระบบ AIP แบบ Fuel Cell รัศมีทำการ 12,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 8 นอต ความเร็วสูงสุดขณะดำ 20 นอต ปฏิบัติการได้ต่อเนื่องนาน 60 วัน มีท่อตอร์ปิโดขนาด 533 มม. 8 ท่อ ใช้ยิง Sub-Harpoon ได้ 4 ท่อ มีระบบบรรจุตอร์ปิโดแบบ Black Shark ได้ 12 ลูก ราคาประมาณ 17,000 ล้าน (ทร.โปรตุเกสสั่งต่อ 2 ลำ ซึ่งส่งมอบไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2553)
ปล. ผมไม่อยากบ่นอะไรเกี่ยวกับประเทศไทยเท่าไหร่เลย แต่ข้อมูลเรือดำน้ำโปรตุเกสเปิดเผยกับคนทั่วโลกได้อย่างโปร่งใสและชัดเจน อยากให้มีแบบนี้ในบ้านเราบ้างครับ
ระวางขับน้ำ เยอะกว่า Kilo Class ความยาวเรือ ยาวกว่า Kilo Class....ความเร็วสูงสุดขณะดำ น้อยกว่า Kilo Class...
เมื่อหลายสิบปีก่อน รัสเซีย เคยจะให้ ไทย เช่า หรือให้ใช้ฟรี เพื่อทดสอบการใช้งาน...แต่ ทร. ปฏฺิเสธ...(ทำไม ?)
ดูจากข้อมูลเรือดำน้ำ S26 ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนหน้านี้...ผมเลยไม่แปลกใจ ทำไมไม่ยอมเปิดเผย...เพราะ คุณสมบัติ เมื่อเทียบกับ เรือดำน้ำแบบอื่น ที่เข้าแข่งขัน แล้ว...คุณสมบัติ ด้อยที่สุด สำหรับคุณสมบัติเรือดำน้ำ ที่เน้นการปฏิบัติการหลัก ตามลักษณะภูมิศาสตร์ ของอ่าวไทย...
ดูแล้ว โครงการเรือดำน้ำจีน ของ ทร.ไทย...เหมือนกับการ ล็อคสเปค มากกว่า..
กองทัพเรือไทย...จะมีเรือดำน้ำที่ม่ีขนาด ใหญ่ ที่สุด ในกลุ่มประเทศอาเซียน...ปฏิบัติการหลักใน ทะเลที่ระดับความลึกที่ น้อย ที่สุด ในกลุ่มประเทศอาเซียน...
เป็น เรือดำน้ำ ที่จะแสดงการเปิดเผยตัว มากที่สุด เมื่อเทียบกับ เรือดำน้ำในกลุ่มประเทศอาเซียน...
ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ของ เรือดำน้ำ ที่จะมากที่สุด ในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยขนาดระวางเรือ ที่มากกว่า ในขณะที่ปฏิบัติการในระดับความลึกที่น้อยกว่า...และคงต้องใช้การวิ่งบนผิวน้ำ ที่ระยะทางไกลกว่า จนกว่าจะถึงระดับความลึก ดำ ที่เหมาะสม...
ระดับการซ่อมทำ หรือ ปรับปรุง ขนาดใหญ่...คงต้องส่งกลับไป ดำเนินการที่ประเทศจีน...เช่นเดียวกับ ประเทศอินเดีย ที่แม้จะมีศักยภาพในการสร้างเรือดำน้ำ ก็ยังต้องส่งเรือดำน้ำชั้น Kilo กลับไปซ่อมบำรุงใหญ่ เพื่อยืดอายุใช้งาน ที่ประเทศรัสเซีย...เพราะไม่คุ้มค่า...
มาตรฐานการใช้งานเรือดำน้ำ ของ กองทัพเรือจีน อยู่ที่ประมาณ 20 ปี...ถ้า กองทัพเรือ จะใช้งานเรือดำน้ำจีน ที่อายุ 30 ปี...คงต้องมีโครงการยืดอายุใช้งาน อีก 10 ปี โดยมีมูลค่าโครงการ ไม่น่าจะต่ำกว่า 50% ของ โครงการจัดหา...เช่นเดียวกับ ทร.อินเดีย...
มูลค่าเรือดำน้ำจีน ลำนี้ ถ้า ทร. จะใช้งานให้ครบอายุ 30 ปี...ต้นทุน เฉพาะมูลค่าเรือดำน้ำ น่าจะไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท....
ก็ให้เลือก ระหว่าง 17,000 ล้านบาท ในคราวแรก แล้วอายุใช้งาน 30 ปี กับ 20,000 ล้านบาท ที่แบ่งจ่ายเป็น 2 ช่วง แล้วอายุใช้งาน 30 ปี...
แถม คุณลักษณะ เรือดำน้ำจีน ก็ดูจะไม่ได้มีความได้เปรียบ เมื่อเทียบกับ เรือดำน้ำในกลุ่มประเทศอาเซียน เลย....
นี่ยังไม่ได้ คุย ถึง ระบบโซนาร์ ของ เรือดำน้ำจีน...ว่าจะเป็น มาตรฐานส่งออก เช่นเดียวกับ เรือชุดเจ้าพระยา หรือเปล่า ?...
จากการเป็น แฟนคลับ กองทัพเรือไทย มา...โครงการ เรือดำน้ำจีน...เป็นการ โครงการจัดหาอาวุธ ที่เลวร้ายที่สุด ที่ผมได้ติดตามมา...
ยกตัวอย่าง ตัวเลขความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ระหว่าง S26T ของไทย ที่ระวางขับน้ำ 2,600 ตัน กับ type-209/1400 ที่ระหว่างขับน้ำ ของ อินโดนีเซีย ที่ 1,400 ตัน...
209/1400 สมมติ อัตราสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง ต่อ ชั่วโมงที่ 100 บาท สำหรับ เรือดำน้ำ 1 ลำ
S-26T ควรจะมี อัตราสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง ต่อ ชั่วโมงที่ 150 บาท สำหรับ เรือดำน้ำ 1 ลำ
ถ้า 209/1400 มีจำนวน 3 ลำ ค่าสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง ต่อ ชั่วโมง จะเท่ากับ 300 บาท
S-26T มีจำนวน 3 ลำ ค่าสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง ต่อ ชั่วโมง จะเท่ากับ 450 บาท จะมากกว่าอยู่ 150 บาท หรือ มองได้ว่า ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง เชื้อเพลิงของ S-26T จำนวน 2 ชั่วโมง จะสามารถใช้งาน 209/1400 ได้ 3 ชั่วโมง....
นี่ คือ ยกตัวอย่าง เท่านั้น นะครับ....ตัวเลข ไม่สามารถสามารถใช้อ้างอิงได้...แต่เพื่อจะให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น...
ราคา 13,500 ล้านบาทครับท่าน จากงบประจำปีปรกติของ ทร. ด้วย ผ่อนกันรากงอกเป็น 10 ปี
ในเมื่อคนนอกดูว่ายังไงก็ไม่เหมาะด้วยเหตุผลในเรื่องสมรรถนะและความเหมาะสมในการใช้งานนานับประการ กลาโหมและ ทร. ก็ยกเหตุผลในการเลือกเรือจีนที่ไม่ชัดเจน เห็นแบบนี้แล้วก็ได้แต่คิดว่า คงเป็นด้วยเหตุผลอื่นที่ทำให้ต้องเลือกเรือจีน
1 ลำแรก คิดว่าเป็นเรือฝึกละกันครับ (แพ้งแพง) ฝึกใช้ ฝึกซ่อม ฝึกเป็นเป้าให้เรือฟริเกตคอร์เวตของเราลองค้นหาดู ใช้ไปแล้วถ้าสรุปว่ามันไม่เวิร์คก็ไม่ต้องไปซื้อลำที่ 2 หรือไม่ก็โยกไปไว้อันดามันเลย ฝั่งอ่าวไทยก็ไปตั้งโครงการใหม่หาเรือเยอรมันหรือเกาหลีไม่เกิน 1,000 ตัน มาใช้แทน ราคาน่าจะพอๆ กันหรือถูกว่าหยวนนะครับ
ข้อมูลทางอคติค่อนข้างเยอะนะกับเรือลำนี้ ..?
ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ยังบอกว่าอยู่ในกระดาษ..ข้อมูลเชิงลึกก็ยังไม่มีใครรู้..
น่าเห็นใจ ทร. ที่กำข้อมูลเชิงลึกอยู่ (เพื่อไม่ให้รั่วใหล)
พี่ๆเขาก็วิเคราะห์ตามข้อมูลที่มีอยู่ในข้างต้น จะสงสารทัพเรือทำไมหรือท่าน
ความลับคงจะมีแค่ระบบภายใน ระบบสื่อสาร ระบบโซนาร์ นอกนั้นก็ไม่เห็นอะไรจะลับเลยหนา
หลายท่านน่าจะคาดการณ์ไปในทางนี้แล้วว่า อนาคตของเรือดำน้ำ S26T ที่กองทัพเรือไทยอาจจะจัดหามานั้น
น่าจะมีบทสรุปที่ใกล้เคียงกับเรือดำน้ำ Delfinul ชั้น Project 877E Kilo ของกองทัพเรือโรมาเนีย
ที่มีเพียงลำเดียวตั้งแต่ปี 1985 โดยไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุงหลายประการ (หลักๆคือการซ่อมบำรุง Battery)
ซึ่งหลังจากที่โรมาเนียเข้ากลุ่ม NATO ก็ลดระดับความสัมพันธ์ทางทหารกับรัสเซียก็ลดระดับลงไปมาก
และปัจจุบันโรมาเนียก็ยังไม่มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ทดแทนเนื่องจากไม่มีงบประมาณครับ
0000
เลือกยุโรบ หรือเกาหลี คงจบไปแล้ว
ตามแก้งานกันอีกบาน โชคดีนะ
เพิ่งเห็นว่าในงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้าครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 3-4 มีนาคม 2559 ที่ IMPACT Exibition Hall 2 เมืองทองธานี จีนได้นำแบบเรือดำน้ำจำลองมาตั้งโชว์ โดยเขียนว่า Conventional Submarine เปรียบเทียบภาพกันดูนะครับ
http://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html
เห็นเงาเรือเหาะ ลางๆ