ผมเห็นว่ามันน่าใช้ดี ผ่านการปรับปรุงเครื่องใหม่เกือบหมด และยังพัฒนามาจาก Mig-29 ซึ่งใช้งานมานาน
ป่านนี้ทางผู้ผลิตคงจะรู้ข้อดีข้อเสียกันหมดละ
ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าถ้าไทยเราเอามาวางไว้แถวภาคตะวันออก เอาไว้เสริมน้อง Jas-39 น่าจะดี
ค็อคพิท ต่างจาก มิก-29 ยูบี 2 ที่นั่ง ตรงที่ มิก-29 ยูบี ที่นั่งยื่นไปข้างหน้า(เหมือนเอฟ-5 เอ/เอฟ) มิก-35 ที่นั่งยื่นไปด้านหลัง เลยดูแปลกๆ ขัดตาพิกลๆ .............
เครื่องสองที่นั่งแบบยื่นหลัง ส่วนใหญ่ขีดความสามารถทาง เอวิโอนิคส์ จะยังเหมือนรุ่นที่นั่งเดียว เนื่องจากปริมาตรโดมจมูกยังอยู่ครบ ต่างจากยื่นไปด้านหน้า ปริมาตรลดลงส่งผลต่ออุปกรณ์เรดาร์ หรือไม่ก็ อดติดปืนใหญ่ หรือลดจำนวนปืนใหญ่ลง จาก 2 เหลือ1 เหมือนเอฟ-5 เอ/เอฟ เป็นต้น..................
ขออภัยแก้ไข......... เอฟ-5 บี/เอฟ ไม่ใช่ยื่นหน้า แต่เป็นแบบขยายไปหน้า
เครื่อง 2 ที่นั่ง มี2 แบบ
แบบที่1 แบบแอร์เฟรม เหมือน 1ที่นั่ง แต่
1.1ที่นั่งเพิ่ม ต่อไปด้านหน้า (มิก-29 ยูบี)
1.2 ที่นั่งเพิ่ม ต่อไปด้านหลัง (เอฟ-16บี)
แบบที่2 แอร์เฟรมขยาย ที่นั่งขยาย (ส่วนใหญ่จะไปข้างหน้า) เช่น เอฟ-5 บี/เอฟ
ตามความเห็นของพี่กบ แปลว่าเครื่องบินรุ่นนี้ก็มีดีอยู่ใช่ไหมครับ
โดยความคิดของผม มิก-35 เป็นเครื่องบินยุค 4.5 ครับ มิกโคยันตั้งใจทำออกมาเพื่อหาส่วนแบ่งตลาดจาก เครื่องทางยุโรป และอเมริกา ...............โดยภาพรวมสมรถถนะ คงเป็นไปในลักษณะเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่ คือ ต้องเป็นเครื่องพหุบทบาท มีระบบเอวิโอนิคส์ และลิ้งค์ที่ทันสมัย ............. พอพูดเรื่องการรบทางอากาศระยะไกล ผมว่า ในอนาคต ต่างคนต่างเอกอุ เขี้ยวเล็บแหลมคมแพรวพราว เห็นไกลยิงไกล อยู่ที่ว่าใครจะได้สับไกก่อน........................ซึ่ตรงนี้ มิก-35 ก็น่าจะตอบโจทย์ได้ทุกประเด็น........
จากที่เห็นๆกัน ต้องยอมรับว่าอาวุธรัสเซีย ขึ้นชื่อเรื่องอึดถึกทน ................ แต่ก็ยังติดใจอยู่ที่เรื่องเครื่องยนต์ครับ โดยปกติ เครื่องของอเมริกาอายุยืนยาวหลายพัน ชม. แต่เครื่อง อาร์ดี -33 ของมิก-29 แค่ไม่กี่ร้อย ชม. ซึ่งตลอดอายุแอร์เฟรม คงต้องเปลี่ยนเครื่องกันหลายครั้งเหมือนกัน ก็ไม่ทราบว่า เจ้า มิก-35 ตัวนี้ ยังใช้ต้นกำลังในสไตล์เดิมๆหรือเปล่า ถ้าใช่ การสำรองอะไหล่ ก็ต้องวางแผนกันดีๆหน่อย ครับ...........
อ่อ อีกอย่าง การจัดหา กริเป้น ของกองทัพอากาศ จะเป็นตามยุธศาสตร์การรบแบบโครงข่าย การจัดหาจึงมีลักษณะครบวงจรเบ็ดเสร็จ กล่าวคือนอกจากเครื่องบินรบกริเป้นแล้ว ยังจัดหาระบบเตือนภัยล่วงหน้า อีรีอายส์ มีการติดตั้งระบบลิ้งค์เชื่อมโยงกับระบบตรวจจับภาคพื้นดิน และในเรือรบ เห็นชัดว่ามันเป็นโครงข่าย............. การรบเป็นเครื่อข่าย มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน จุดแข็งคือ ทุกคนเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งเดียวชัด (ประหนึ่ง เหมือน ยืนกับเพื่อน 4 คน บนชั้น 6 ดูวัยรุ่น 18 คนตีกันที่ลานจอดรถ ทุกคนเห็นเหมือนกัน เห็นแบบเดียวกัน มิติเดียวกัน (กว้าง ยาว สูง ลึก เวลา)) ..................... แต่ทีนี้ ถ้าจัด มิก -35 มา ก็มี 2 ทางเลือก คือจะมาจอยท์กับ ลิ้งเก่า (แบบเอ็มแอลยู) หรือ จะตั้งระบบลิ้งค์ใหม่อีกลิ้งค์ เป็น 2ค่าย 2 เครือข่าย ให้ปวดตรับซะเล่นๆ..............
อ่อ ลืมจุดอ่อน................. จุดอ่อน มันจะปริทะลักออกมา ก็ต่อเมื่อตอนไปเจอของแข็ง............
การรบแบบเครื่อข่าย ถ้าเจอของอ่อน จะเป็นพระเอก
แต่ถ้าเจอของแข็ง มันจะกลายเป็นสาวน้อยโดนไอ้หื่นปู้ยี่ปู้ยำ (สมมติวันนึง เกิดรบกับไอ้กัน) .................... การรบวันนั้นจะเหมือน เล่นเนตในวันฝนตกพายุเข้า 100% ของพื้นที่ คือนอกจากลอสของลีค ทำให้อืดแล้ว บางบร้านช์ โดนเสริจ แบบไดเร็คสไตรค์ ก็หลุด ไป รวมๆคือ บอด ............ บรรลัยจักก็เกิดขึ้นในทันที.......
mig35 มาช้าไปเป็น10ปีเลย สงสัยโครงการโดนดอง เมื่อก่อนอ่านเจอในหลังเสือสมรภูมิเห็นว่าจะมาแทน mig29 จนแล้วจนรอด ผ่านมา10กว่าปี mig29ก็ยังอยู่mig35ก็ยังไม่เข้าประจำการในรัสเซีย
โครงสร้างลำตัวอากาศยานของ MiG-35 เห็นว่าถูกออกแบบมาโดยใช้ประสบการณ์จากพื้นฐานการพัฒนา MiG-29KR/KUBR
คือส่วนหัวเครื่องถูกออกแบบให้เป็นแบบสองที่นั่งเรียงกันแต่แรก
ถ้าจะสร้างเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว ก็ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์การบินและเก้าอี้ดีดตัวในที่นั่งหลัง
แต่ติดอุปกรณ์กับถังเชื้อเพลิงเพิ่มแทน ซึ่งจะทำให้เครื่องมีพิสัยการบินไกลขึ้นด้วย
ทั้งนี้ตามคำให้สัมภาษณ์สื่อในงานเปิดตัว MiG-35 ต่อนานาประเทศนั้นของผู้บัญชาการทหารอากาศรัสเซียนั้น
ในอนาคตกองทัพอากาศรัสเซียจะนำ MiG-35 ประจำการในกรมบินขับไล่เบาทั้งหมด
โดย MiG-35 จะเป็นเครื่องบินขับไล่เบาแบบเดียวของรัสเซีย
รวมถึงจะแทนที่ MiG-29 ในฝูงบินผาดแผลง Swift ด้วยครับ
อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ตระกูล MiG-29 รวมถึง MiG-35 ไม่น่าจะเหมาะกับหลักนิยมของกองทัพอากาศไทย
เหตุผลคืออายุการใช้งานเครื่องยนต์และโครงสร้างเครื่องนั้นสั้นกว่าเครื่องบินขับไล่ตะวันตกมาก
ถ้าดูจากประเทศเพื่อนบ้าน ASEAN อย่าง MiG-29N กองทัพอากาศมาเลเซีย ซึ่งจัดหามาหลัง F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๔๐๓ ของไทยไม่กี่ปี
ตอนนี้ MiG-29N มาเลเซียงดบินกำลังรอตั้งโครงการจัดหา บ.ขับไล่ใหม่แล้ว แต่ F-16A/B ทุกฝูงของไทยยังคงปฏิบัติการได้อยู่
ไม่นับรวมกับระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ต้องจัดหาจากรัสเซียมาใหม่หมด ใช้งานร่วมกับเครื่องบินขับไล่ที่กองทัพอากาศไทยมีไม่ได้ด้วย
ซึ่งถ้าดูตัวอย่างจาก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่จัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ที่ปรับปรุงให้ใช้อาวุธมาตรฐาน NATO ได้ แต่เครื่องยนต์กับโครงสร้างก็หมดอายุ ถูกจำหน่ายไปหลายเครื่องแล้ว
เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงอายุการใช้งานของอากาศยานตะวันออกที่สั้น ถึงแม้จะมีการผลิตเป็นจำนวนมากและมีประจำการหลายประเทศทั่วโลก
ทำให้ MiG-35 ดูจะเป็นเครื่องที่ไม่เหมาะกับกองทัพอากาศไทยซึ่งมีงบประมาณจำกัดในการจัดหาอากาศยานที่จัดหามาแล้วต้องใช้งานให้ได้นานๆที่สุดครับ
MiG-29K Mi-29KUB Fuel Tank
พูดถึงเรื่องอายุของแอร์เฟรมเครื่องบินรบ...............
ถ้าเป็นมาตรฐานไอ้กัน จะอยู่ที่ 6,000 ชม.บิน สำหรับ เอฟ-16 ซึ่งผ่านโปรแกรม ยกเหยี่ยว / ดาวเหยี่ยวแล้ว จะกลายเป็น 8,000 ชม.บิน
ทอ.ไทย ใช้งานไอพ่นเฉลี่ย เครื่องละ 200 ชม.บิน/ปี ดังนั้นอายุ ของ เอฟ-5 ที่ไม่ได้ยกแอร์เฟรม ก็จะอยู่ที่ 30 ปี ส่วนเอฟ-16 นั้นอยู่ที่ 40 ปี เรารับ 103 เครื่องแรกเมื่อปี 2530 ดังนั้น เครื่องแรกจะหมดอายุที่ปี 2570 ส่วน 403 เครื่องสุท้ายรับราวๆปี 2536 ลำสุดท้ายจะถูกปลดราวๆปี 2576 ( อีก 16 ปี )................
ส่วนมิก-29 อายุน่าจะเป็นครึ่งหนึ่ง คือราว 3,000 ชม. ขณะที่่ มิก-35 น่าจะยืดออกไปเป็น 4,500 ชม. เอาง่ายๆ ถ้าบินแบบไทยๆ มิก-35 จะมีอายุใช้งาน 20 ปี
อ่านเจอข่าวกองบินเห็นคนหน้าตาคุ้นๆ สงสัยเครื่องที่จะมาแทน ADF จะไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นการปรับปรุง เรดาร์ และดาต้าลิงค์เครื่อง F5 ให้ยิง BVR ได้แต่รอ ทอ. มีข่าวออกมาอีกทีดีกว่า ส่วนเรื่อง บข.21 ทั้งนอกทั้งในก็คุยกันชักหนาหูว่ามีโอกาสเกิดขึ้นเหมือนกันครับ ว่าแต่เรดาร์รัสเซียใช้ format อะไรในการส่งข้อมูลครับเพราะทางทหารคงไม่มีมาตรฐานสากลเหมือนอินเตอร์เนต แต่ถ้ารัสเซียผลิตเรดาร์ออกมามี format ของฝั่ง NATO ให้เลือกเช่น CD หรือ ASTERIX formats ทางหลักการน่าจะเชื่อมต่อกันได้
โอ่..........6,000 ชม. เลยเชียว
เป็น 6,000 ชมที่มีค่าใช้จ่ายในการขึ้นบินและอะไหล่ซ่อมบำรุงตามวงรอบมากเป็น 2 เท่าของ JF-17 ประทศพม่า เพราะใช้เครื่องยนต์ตระกูลเดียวกันแต่คูณสองซูเปอร์แก๊งค์ นอกจากนี้ยังมีระบบกระดกท่อไอพ่นให้เสียค่าซ่อมบำรุงเพิ่มเติม
เชื่อผมเถอะ...อะไรก็ตามที่มันสามารถขยับได้เนี่ย ตอนซ่อมอ๊วกแตกทุกทีสิน่า ผมเลยเปลี่ยนมาขับรถช่วงล่างหลังแบบคานแข็ง (หรือว่าคานบิดเนี่ยแหละ เพราะมันบิดตัวได้นิดหน่อย) เพราะขี้เกียจเปลี่ยนลูกหมากเหล็กกันโคลงที่ขยันพังกันจริงแล้ว ไม่ซ่อมก็ดังตลอดเวลา นักศึกษาสาวเดินผ่านมันยังร้องคิดดู ป๊าด......
ล่าสุดอียิปต์จัดหามิก 35 จำนวน 24 ลำ วงเงิน 2 พันล้านยูโรหรือไงเนี่ยแหละ ถ้าเราจัดหาบ้างราคาไม่ต่ำกว่านี้แน่นอน ที่สำคัญต้องจัดหาจรวดแอมรามสกี้ ระเบิดมาเวอริคสกี้ อะไรพวกนี้มาใช้งานด้วย เพราะพี่มิกยิงไพธ่อนไม่ได้ด้วยซ้ำ
ถ้ามีข่าวลือว่าจะมี บข.21 แสดงว่าคงไม่ใช่ Jas-39 เพราะถ้าเป็น Jas เหมือนเดิมคงไม่เปลี่ยนชื่อเรียก ถ้าจะมี บข.21 จริงผมล่ะกลัวหวยจะออกตระกูล J
ข้อมูลแต่ละท่านแน่นมาก สมแล้วที่เป็นแฟนพันธ์แท้ด้านอาวุธ ข้าน้อยขอคาราวะ
แต่ขออนุญาติลุ้นให้เป็น Mig-35 จะได้ไหม (ชอบเป็นการส่วนตัว) อย่างน้อยๆก็ดีกว่าเครื่องจีนใช่ไหมครับพี่ๆ
อีกอย่างนึง เมื่อไหร่เครื่อง Mig gen 5 จะโผล่เป็นรูปเป็นร่างซะที รอจนเหนียงยานไปหมดละครับ
ผมเข้าใจผิดไปนึกว่า บข 21 คือกริพเพน กรินเพนมัน บข 20 55555 ถ้า บข 21 เริ่มหน้าหูนี่น่าลุ้นแล้วว่าจะอะไร