หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เมื่อพม่าอยากจะสร้างเครื่องบินรบเอง

โดยคุณ : ALPHA001 เมื่อวันที่ : 11/02/2017 16:19:35

กองทัพอากาศพม่าได้ลงนามจัดเครื่องบิน JF-17 จากปากีสถาน16ลำเมื่อ2ปีที่แล้ว

หลังจากได้ลงนามจัดหาแล้วพม่ายังเจรจาของสิทธิบัติการประกอบเครื่องเองในประเทศ

แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเขาที่ต้องการก้าวกระโดดในเรื่องเทคโนโลยีการบิน

พอหันมามองที่พี่ไทย....พอพูดเรื่องนี้ทีไรจะได้รับคำตอบว่า เราไม่มีความรู้ด้ายโลหะวิทยาบ้าง รัฐไม่ส่งเสริมบ้าง

บลาๆๆๆๆๆ.....สมาชิกท่านอื่นคืดว่าอย่างไร





ความคิดเห็นที่ 1


ผมว่าถ้าจำนวนสร้างมันมากพอ คุ้มที่จะลงทุนผลิตประกอบเอง เทคโนโลยี่ไม่ซับซ้อนมาก ก็น่าสนใจนะครับ

ที่เราซื้อเค้าใช้ประจำเลย เพราะงบน้อยครับ ถ้าซื้อเค้าแล้วถูกว่าเราทำเองเยอะๆ จะไปผลิตสร้างเองทำไม

ผมว่าพม่าคงมีโครงการจัดหา เจเอฟ-17 เพิ่มอีกหลายฝูงแน่เลย ถึงได้คิดจะผลิตเอง เอาเข้าจริงน่าจะหนักไปทางประกอบเครื่องโดยนำเข้าชิ้นส่วนจากปากีสถานและจีนนะครับ 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 03/02/2017 12:27:34


ความคิดเห็นที่ 2


     เขามีวิสัยทัศน์ครับ ทำสำเร็จไม่วำเร็จยังไงอย่างน้อยก็ได้ประสบการณ์ อย่างที่ผมเคยพูดไว้ครับอนาคตถ้าทำใช้เองไม่ได้รับรองของเก่าปลดไม่มีปัญญาจัดหามาทดแทนแน่นอนครับ เพราะราคาอาวุธจะต้องแพงระยับจับต้องไม่ได้แบบแน่นวลที่สุด   เรียกว่ากล้าเสี่ยงก่อน ลงทุนก่อน ต้นทุนมันก็ถูกกว่าคนที่รู้ตัวทีหลังลงทุนทีหลังแหละครับ 70 ปีก่อนซื้อเรือดำน้ำลำละสี่แสน ปัจจุบันลำละหมื่นล้าน อนาคตไม่ต้องจำนำประเทศไปซื้ออาวุธเลยเหรอ ซื้อเอาก็ได้ครับ ถูกกว่า....อิอิ จริงๆนะ 

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 03/02/2017 13:04:13


ความคิดเห็นที่ 3


อินโดนีเซียผลิตเครื่องบินขนส่งขนาดกลางขายทั่วโลก ยังไม่กล้าลงทุนผลิตเครื่องบินรบเองเลย สิงคโปร์เงินหนาซื้อเยอะก็ไม่มีทีท่าสนใจ

 

เรื่องพม่าคงต้องดูกันไปยาว ๆ ครับ ตอนนี้อาจมองว่าเขาเป็นพระเอก ไว้รอดูเครื่องบินจริงประจำการก่อนดีกว่า

 

เรามักจะบอกว่าไม่เอาเครื่องบินจีนนะ ๆๆๆ นี่เครื่องบินจีนผลิตในพม่า ประเทศที่ไม่เคยสร้างเครื่องบินอะไรเลยเลยมาก่อน ใครจะยังไงก็ตาม ผมไปเอา F16 มือสองกลางทะเลทรายหรือคฟีร์จากอิสราเอลสบายใจกว่า อย่างน้อยอะไหล่ก็พอหาได้ล่ะวุ้ย

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 03/02/2017 13:26:28


ความคิดเห็นที่ 4


พอดีผมไปอ่านเจอในบล็อกของคุณ เอก นะครับ ข่าวก็มาจากทาง เจน(janes) อีกที

อย่างน้อยเราไม่ต้องเริ่มที่เครื่องบินรบก็ได้ครับ เครื่องบินฝึกแบบใบพัดเทอร์โบพร็อพก็ได้

อย่างกรณี ทอ.6 นี่ยังลุ้นเยี่ยวเหนียวเลยไม่รู้จะเป็นอย่างไร แต่มันเป็นของหน่วยงานราชการ

อยากให้มีเอกชนเป็นผู้ประการบ้าง(กฏหมาย/เงินนี่ล่ะปัญหา) รอต่อไป...

http://www.janes.com/article/67387/myanmar-in-advanced-negotiations-to-licence-build-jf-17-fighter

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 03/02/2017 14:09:28


ความคิดเห็นที่ 5


อิสราเอลครับ เขามีเทคโนโลยี่ ผลิตยุทโธปกรณ์ส่งออกไปขายทั่วโลก เขาก็ยังไม่ผลิตเครื่องบินเองเลยครับ มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่จะทำได้ ของเราก็คงเป็นจำนวนที่น้อย และชิ้นส่วนที่จะประกอบไม่มีภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ นำเข้ามาบวกต้นทุนค่าขนส่ง ค่าสร้างโรงประกอบ ค่าแรง ใช้งบเยอะกว่าซื้อหลายเท่าครับ

โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 03/02/2017 15:07:11


ความคิดเห็นที่ 6


         ส่วนตัวผมว่าจะผลิต รถถัง เครื่องบิน เรือรบ อะไรทำนองนี้ เราน่าจะตกรถไปแล้วครับ ไม่ทันเทรนด์ตลาดโลกแล้ว แค่พอให่พึ่งพาตนเองได้ไม่เดือดร้อนในอนาคตพอ  ผมว่าที่ควรเร่งพัฒนาและผลิตให้ใช้งานได้จริงๆ คือพวก Smart weapon ทั้งหลายแหล่ เช่นจรวด ระเบิด ระบบป้องกันแบบต่างๆ  โดรน หรืออาวุธเลเซอร์ ถ้าทำพวกนี้ได้ประสิทธิภาพที่ดี น่าจะเป็นตัวช่วยอัพเกรดกองทัพได้มากทีเดียว สุดท้ายพวกบริษัทที่เคยทำพวกรถถัง เครื่องบิน เรือรบ เห็นว่าเรามีของดีของเด็ดก็จะมาขอดีลกับเราเองแหละว่าถ้ายูสอนไอทำไอ้นั่น ไอจะสอนยูทำไอ้นี่นะ... จบฟิน วินวินทุกฝ่าย 

       

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 03/02/2017 15:46:51


ความคิดเห็นที่ 7


ไม่ต้องถึงขั้นผลิตอากาศยานรบหรอกครับ เอาแค่พื้น พื้น ผลิตอาวุธปืนประจำกายให้ได้ก่อนเถอะ เป็นอาวุธที่ใช้เทคโนโลยี่น้อยสุดล่ะ ทำให้ได้ ทำให้ดี ผลิตลำกล้องให้ได้คุณภาพ ผลิตลูกกระสุนให้ได้คุณภาพ ผลิตดินขับ/ดินระเบิดของลูกกระสุนให้ได้คุณภาพ แค่นี้แหละเพราะต้องใช้มากกว่าอย่างอื่นอีก อย่างอื่นเลิกฝัน 

โดยคุณ apc เมื่อวันที่ 03/02/2017 17:26:04


ความคิดเห็นที่ 8


การจะผลิตเครื่องบินเอง ต้องถามก่อนว่าเมื่อสร้างโรงงานขึ้น ยอด ออเด่อร์คุ้มค่ากับการลงทุนรึเปล่าในระยะยาว ไม่ใช้ศักแต่ว่าอยากแต่แค่ผลิตเองได้ เพราะอะไร เพราะมันหมายถึงโครงสร้างของบริษัทและองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดูแลโรงงานผลิตเครื่องบินและอะไหล่ทั้งระบบ ทั้งจ้างวิศวกร การจ้างแรงงาน ถ้าสร้างขึ้นมาแล้ว ผลิตเครื่องบินเองไม่ถึง ร้อยลำขึ้นไป บอกได้เลยว่า รัฐบาลพม่าเตรียมแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มากมายมหาศาลยิ่งกว่าไปซื้อเค้ามาใช้เอง แค่ฝันนะพอได้ แต่ถ้าคิดจะทำเองคงจะเป็นไปได้ยากสำหรับประเทศ พม่า ศักยภาพทางเศรษฐกิจแค่ไหน กันเชียวสำหรับประเทศที่พึ่งจะเปิดประเทศไม่กี่ปี แค่เงินจะซื้อเครื่องมาใช้เองยังไม่มี แล้วจะลงทุนสร้างเครื่องบิน คงจะได้ฝันไปอีกไกล ปล. ไม่ได้ดูถูกพม่าหรอกนะแต่ศึกษาจากบทเรียนของบรรดาประเทศที่มีบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรบที่เจ๊งบ้งไปหลายบริษัทที่ไม่สามารถพยุงตัวเองให้อยู่รอดไปตลอดเองได้
โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 05/02/2017 09:14:56


ความคิดเห็นที่ 9


ที่มีการพูดคุยใน Forum ต่างประเทศ พม่าจะอ้างว่าพม่ามีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงและประกอบอากาศยานหลายๆแบบด้วยตนเองระดับหนึ่งแล้ว

ตัวอย่างเช่นเครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 ที่กองทัพพม่าจัดหามาตั้งช่วงปี 1998-1999 ประมาณ ๑๒เครื่องนั้น ก็มีรายงานว่าพม่าสั่งจัดหาเพิ่มอีก ๕๐เครื่อง

ซึ่งเครื่องบินฝึก K-8 จำนวนมากขนาดนี้มีการอ้างว่ามีการประกอบสร้างในพม่าตามภาพที่อ้างนี้

โดยตามข้อมูลที่อ้างมา ตอนนี้พม่ามี บ.ฝึกไอพ่น K-8 ประจำการแล้วราว ๓๒เครื่องและจะจัดหาอีกไม่ต่ำกว่า ๓๐เครื่องครับ

 

ดังนั้นสำหรับเครื่องบินรบใหม่ที่จะมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7M ๓๖เครื่อง และเครื่องบินโจมตี A-5C ๒๔เครื่อง

ที่กองทัพอากาศพม่าจัดหามาจากจีนตั้งแต่ต้นปี 1990s ซึ่งเครื่องเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็หมดอายุการใช้งาน ไปตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กองทัพพม่าแล้วนั้น

ถ้าจะทดแทนในจำนวน ๑:๑ คือรวมทั้งหมด ๖๐เครื่อง โดยมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ JF-17 ฝูงแรก ๑๖เครื่องนั้น

การเปิดสายการผลิตประกอบ JF-17 ในพม่าทางพม่าก็ตคงจะคิดแล้วว่ามีประโยชน์คุ้มค่ากับตนมากอยู่ครับ

K-8 Myanmar Factory


โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 05/02/2017 14:44:51


ความคิดเห็นที่ 10


ภาพนี้อ้างว่าเป็นการประกอบเครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 ในโรงงานที่พม่า


โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 05/02/2017 14:46:50


ความคิดเห็นที่ 11


ในความคิดของผมเครื่อง JF-17 มันเป็นเครื่องขับไล่สมรรถนะระดับล่าง ยังไม่ใช่คู่ต่อกรกับ F-16 ของเราได้  ด้วยการเปรียบเทียบโดยรวมทั้งระบบเรด้าห์และอาวุธ แต่ถ้าระยะประชิด ก็มีลุ้นได้แลกหมัดกัน เหมือนกัน

คือถ้าพม่าสามารถประกอบเครื่องบินรบได้และทำอย่างนั้นได้ ซึ่งก็สามารถทำ revese engineering ของจีนได้ด้วยเช่นกัน พูดได้เต็มปากเต็มคำได้เลยว่าน่ากลัวทีเดียวสำหรับ กองทัพอากาศเมียนม่าในอนาคตอันใกล้ เค้าสามารถ copy ของจีนและเปลี่ยนชื่อเป็นเมียนม่าก็ย่อมจะทำได้แบบเดียวกันที่จีน copy กับอาวุธจากรัสเซียแล้วมาดัดแปลงเป็นของตัวเอง ฉันใดก็ฉันนั้น  ในอนาคตเมียนม่าจะมีเครื่องรบที่พวกเค้าสามารถสร้างขึ้นได้เอง 

ส่วนไทยถ้ายังมัวมาภาคภูมิใจกับอาวุธที่ซื้อมาราคาแพงแล้วใช้งานไม่คุ้มค่าเพื่อแลกกันค่าส่วนต่างให้กับ บรรดา ...... ทั้งหลายแหล่  และยังไม่สามารถทำอะไรได้เอง ก็เตรียมตัวล้าหลังเมียนม่าได้เลยในอนาคต ตอนนี้ล้าหลังเมียนม่าทั้งเรือรบ และเครื่องบินรบเป็นรายต่อไปไม่แน่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเมียนม่าคงจะผลิตรถถังไว้ใช้เองอีกต่างหาก

ตอนนี้รู้สึกอิจฉาเมียนม่าอย่างแรง

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 05/02/2017 20:08:54


ความคิดเห็นที่ 12


ในความเห็นผมว่า...ก็คงน่าจะเป็นการ เปิดไลน์ การประกอบ มากกว่า...องค์ประกอบหลักของโครงสร้าง และเครื่องยนต์ คงมาจากปากีสถาน และประเทศจีน ตามเดิม...แต่อาจจะมีชิ้นส่วนบางอย่าง ที่ พม่า อาจจะผลิตเอง...ซึ่งน่าจะเป็นเพียงโครงสร้างแผ่นลำตัว บางส่วน...

ก็ตามที่ท่าน AAG_th1 ให้ความเห็นไว้ว่า...พม่า มีความสามารถประกอบเครื่องบินไอพ่น ได้เอง เช่น K-8W ซึ่งออกข่าวเมื่อปี 2015 ที่เป็นการประกอบจากไลน์การผลิตของพม่า โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ จำนวน 6 ลำ รวมปัจจุบัน พม่า มี K-8W รวม 18 ลำ...

Myanmar Air Force aircraft get six new Chinese K-8 trainer aircraft

Read news from Defence Blog at  Flipboard.com | Subscribe to the  newsletter from Defence Blog

Mar 1, 2015

Myanmar Air Force has commissioned K-8W training planes and ATR-42 and BEECH-1900 De transport planes into service at Ground Training Base of Meiktila Wednesday. Ceremony on introduction of these airplanes was attended by Command-in- Chief of Defence Services Senior General Min Aung Hlaing and his wife, Union Minister for Border Affairs Lieutenant General Thet Naing Win, Commander- in-Chief(Navy) Admiral Thura Thet Swe, Commander- in-Chief(Air) General Khin Aung Myint and senior military officials.

At the ceremony, Senior General Min Aung Hlaing said installation of modern military wares plays crucial role for building up capacity of defence services and the new airplanes will strengthen the power of air force.

K-8W training aircrafts were assembled in Myanmar in cooperation with China National Aero-Technology Import and Export Corporation (CATIC) and the Air Force now has a total of 18 K-8 W airplanes. BEECH 1900 D and ATR 42 airplanes can be used for transport purposes and rescues. He quoted General Aung San at Yangon City Hall on July 13, 1947, as saying that, “[We] have just started to set up air force.Normally, air force of our country will need at least 500 airplanes for the first line planes.

The Hongdu JL-8 (Nanchang JL-8), also known as the Karakorum-8, is a two-seat intermediate jet trainer and light attack aircraft designed in the People’s Republic of China by China Nanchang Aircraft Manufacturing Corporation. The primary contractor is the Hongdu Aviation Industry Corporation. One of its export variants, K-8P Karakorum is co-produced by the Pakistan Aeronautical Complex.

The JL-8 / K-8 has a multi-role capability for training and, with little modification, can also be used for airfield defense. The aircraft is supposed to be as cost-effective as possible, with a short turn-around time and low maintenance requirements. The JL-8 for the domestic Chinese market and its export variants, K-8E and K-8P, have different powerplants and avionics.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/02/2017 09:59:59


ความคิดเห็นที่ 13


ผมว่า การตั้งไลน์ประกอบ เจเอฟ-17   ของพม่า บ่งบอกทิศทางการประจำการฝูงบินในอนาคตได้เลย...............

 

เจเอฟ-17    ภารกิจ สกัดกั้น/โจมตีขัดขวาง     ทดแทน เอ-5 และ เอฟ-7      เป็นม้างานหลัก ประจำการ 2 ฝูง 30 ลำ   อาวุธหลักพวกสมาร์ทบอม และ กระเปาะนำร่อง มีขีดความสามารถรบทางอากาศ ด้วยจรวดพิสัยใกล้ เปรียบมวย เทียบเท่า โอซียู 103

มิก-29    มีทั้งรุ่นเก่า และรุ่นใหม่    ภารกิจ ป้องกันภัยทางอากาศ  บางลำ มีขีดความสามารถต่อตีทางอากาศระยะไกล ด้วยจรวด อำรามสกี้

เจ-10  ภารกิจ ป้องกันภัยทางอากาศ / โจมตี  เป็นหัวหอก  ประจำการ 1 ฝูง มีขีดความสามารถรบทางอากาศพิสัยไกลด้วย บีวีอาร์  อย่างน้อยสมรรถนะเรดาร์ และเอวิโอนิคส์ ต้องเทียบเท่า กริเป้น  และสูงกว่า เอ็มแอลยู............

 

ที่สำคัญคือ  เค้ามีตังค์

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 06/02/2017 12:27:39


ความคิดเห็นที่ 14


เห็นคุณกบสรุปในย่อหน้าสุดท้ายว่าเค้ามีตังค์เนี่ย

ตกลงเรากับพม่าใครรวยกว่ากันครับ...อันนี้ผมถามเพราะไม่รู้ข้อมูลลึกๆเลยจริงๆ

สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน..เพราะเห็นเค้าสร้างอาวุธออกมาเองเป็นล่ำเป็นสันยิ่งกว่าเราซะอีก

ของเราส่วนใหญ่ไปจบอยู่ตรงที่คำว่า ศึกษา หรือ วิจัย ทุกที

 

โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 06/02/2017 13:11:15


ความคิดเห็นที่ 15


ถ้าเขาผลิตไทยจริง DTI กระจอกไปเลย
โดยคุณ f18-superhornet เมื่อวันที่ 06/02/2017 14:46:34


ความคิดเห็นที่ 16


เขามีตังค์ ฟังแล้วเจ็บจี๊ดกันเลยทีเดียว

เพราะเราก็มีตังค์เหมือนเขา แต่ต่างกันที่ เขาเลือกลงทุนเพื่อซัพพอร์ตกองทัพของตัวเอง ถึงแม้ไม่ได้เอาไว้ขายใตร

ส่วนเราลงทุนเพียงแค่คำว่า องค์ความรู้ เท่านั้น ส่วนที่เหลือไปซื้อเอา

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 06/02/2017 16:01:28


ความคิดเห็นที่ 17


ตามที่หลายท่านกล่าวไว้ล่ะครับ พม่าเปิดประเทศกำลังเนื้อหอม ส่วนเราก็ชอบเล่นกีฬาสี

เรื่องการผลิตเองหรือประกอบจากชิ้นส่วน แน่นอนมันต้องได้อะไรติดไม้ติดมือมาบ้าง

ประเทศก็ประกอบรถยนต์(ผลิต)แต่ก็จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีรถยนต์ยี่ห้อไทย เพราะคำว่า

...ไม่คุ้มทุนและรัฐไม่สนับสนุนให้ทำ... อาวุธก็เช่นกันวิจัยเสร็จเก็บขึ้นหิ้งได้องค์ความรู้

แทนที่จะแก้กฏหมายให้เอกชนสามารถจัดตั้งบริษัทหรือหาหุ้นส่วนมาจัดตั้งบริษัทผลิต

แล้วกองทัพก็ต้องสนับสนุนโดยการซื้อใช้ ตัวอย่างก็มีให้เห็น...รถ 4x4 ของบริษัทหนึ่ง

ทำเสร็จส่งให้ทดสอบ ทดสอบเสร็จสั่งซื้อไม่กี่คัน แต่เพื่อนบ้านของซื้อโดยการซื้อลิขสิทธิ์

ไปประกอบเองเป็นร้อยคัน 

รอดูว่า ทอ.6 จะเป็นอย่างไร

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 06/02/2017 16:37:27


ความคิดเห็นที่ 18


แต่ผมคิดว่า ถ้าเมื่อไหร่ เงื่อนไข การแซงซั่น ของ พม่า หมดสิ้น ทั้งจาก สหรัฐ และกลุ่มประเทศในยุโรป แล้ว...(ตอนนี้ สหรัฐ ก็ถอด Blacklist ไปแล้ว)

ในระยะอีก 10 - 15 ปี ข้างหน้า...ภายหลังจากที่ พม่า มีประสบการณ์ ไลน์การประกอบ JF-17 แล้ว...และ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เป็นไปในลักษณะการเติบโต ภาคอุตสาหกรรม อย่างเป็นหลัก เป็นฐาน แล้ว...

ผมกลับมองในมุมที่ว่า...อุตสาหกรรมอาวุธ ของ พม่า อาจจะเป็นในฝั่ง ยุโรป มากกว่าที่จะเป็นการพัฒนาร่วมกับ ปากีสถาน หรือ กับ จีน....

ปัจจุบันนี้ ผมมองว่า พม่า ไม่มีทางเลือก เพราะถูก Blacklist จากทุกประเทศ...การพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธ จึงมีเพียง จีน ยูเครน และรัสเซีย หรือ เกาหลีเหนือ เท่านั้น...แต่เมื่อ เงื่อนไข เหล่านี้ หมดไป...บวก กับประสบการณ์ที่ สั่งสม มา....คงน่าจะเป็น ที่จับตา ของกลุ่มประเทศทางฝั่งตะวันตก มากขึ้น...เช่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน หรือแม้แต่ ประเทศญี่ปุ่น...ในด้านการลงทุนอุตสาหกรรมอาวุธ...

ไม่แน่ ในอีก 15-20 ปี ข้างหน้า อาจจะได้เห็น Gripen E/F สัญชาติ พม่า ก็เป็นไปได้...เพราะ สวีเดน หลุดลุ้น กับ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ไปแล้ว ในการที่จะสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ และเปิดไลน์การผลิตในกลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิก...ไม่แน่...พม่า อาจจะเป็น ตัวเลือก เข้ามาแทน...

ส่วน ประเทศไทย คงต้องรอ ไดโนเสาร์ ตายหมดก่อน...แล้วค่อยกลับมาคิดต่อ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/02/2017 18:12:54


ความคิดเห็นที่ 19


    แวะเข้ามาถูกใจไดโนเสาร์ตายก่อน ของท่าน Juldas  บางทีก็ต้องคิดหลายๆตลบนะครับ ซื้อเอาถูกกว่าในวันนี้เพื่อจะรอไปซื้อแพงมหาแพงอีกทีในวันหน้า ว่าอะไรมันจะถูกว่าจริงๆกันแน่ ผมว่าเปรียบเทียบดีลรถถังเราน่าจะได้คำตอบแล้วนะ จากเคยใช้มาตรฐาน Nato จนเคยตัวมาหลายสิบปี พอถึงห้วงเวลาที่ต้องทดแทนอยากจะได้รถถังรุ่นใหม่ มาตรฐาน Nato ใช้ก็ไม่มีปัญญาซะละ ตัวเลือกก็ถดถอยลงมาเรื่อยๆจนจบอย่างที่ทราบกัน อนาคตเราอาจได้ซื้อเครื่องบินพม่าใช้ก็จะเป็นไรไป ไม่น่าอายหรอกก็เราไม่มีเงินนี่นะ แต่ก็ต้องรอตามกันต่อไปว่าพม่าจะทำได้รึเปล่า ตื่นตูมไปก็เท่านั้นเพียงแต่ที่ชื่นชมเขาก็คือเขา "กล้าคิดที่จะทำ"

   

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 06/02/2017 23:12:18


ความคิดเห็นที่ 20


พม่าก็ประกอบรถ BTR-3U ในประเทศแล้ว ต่อเรือฟริเกตเองแล้ว ประกอบเครื่องบินฝึก k-8 แล้ว JF-17 ก็มีความเป้นไปได้สูงที่จะประกอบเองในพม่า อีกหน่อยสงสัยจะต่อเรือดำน้ำเอง ครบสี่มิติ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 07/02/2017 11:38:48


ความคิดเห็นที่ 21


ไทยเราก็มีส่วนทำให้พม่ามีฐานะดีขึ้นครับ การไฟฟ้าฯ ซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่าปีๆ ไม่รู้กี่พันกี่หมื่นล้าน เอามาป้อนโรงไฟฟ้าราชบุรี

สินค้าส่งออกของพม่าก็ไม่ค่อยมี มีแต่นำเข้าทั้งถูกและผิดกฏหมาย แต่ก่อนมีส่งออกไม้ซุงเยอะ คนซื้อต้องไปประมูลเป็นกองๆ คละกันทั้งไม่ดีไม่ดี ปัจจุบันซาๆ ไปแล้ว แต่ตอนนี้พม่าพยายามบูมส่งออกข้าวครับ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละปีจะเสียหายจากภัยธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน เหลือบริโภคก็ส่งออกครับ

หินหยก (หินอ่อนสีเขียว) หรือกระทั่งหยกแท้ เป็นที่นิยมของไทยและจีน อันนี้พม่าก็ได้ตัง สำหรับไทยอนุญาตให้เฉพาะที่แปรรูปแล้ว เช่นพระพุทธรูปปางต่างๆ หินดิบห้ามนำเข้ายกเว้นรัฐมนตรีอนุญาต

ประมง ถ้าจับปลาได้เอามาขึ้นขายที่ท่าเราก็ดีครับ

ปิโตรเลี่ยมในอ่าวเบงกอล เข้าใจว่าน่าจะให้สัปทานต่างชาติเป็นแปลงๆ เหมือนเรา แต่ประมาณใช้น้อยเหลือส่งออกให้เราเยอะๆ ครับ

คงต้องดูด้วยว่าพม่าใช้งบประมาณการทหารปีละเท่่าไหร่ เทียบกับ GDP แล้วกี่เปอร์เซนต์ แต่ละอย่างทำเหมือนเกินตัวทั้งนั้น

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 07/02/2017 12:21:45


ความคิดเห็นที่ 22


Myanmar

Thailand

 

MyanmarGDPMilitary



โดยคุณ absulation เมื่อวันที่ 08/02/2017 13:47:54


ความคิดเห็นที่ 23


ถ้าอยากให้เราทำมั่ง ขอเป็น j10c/d ไปเลยนะครับ

พอดีอยากรู้ว่าจะใช้งานร่วมกับ f16 ได้รึป่าว 

จะได้รู้ไปเลยว่าj10 มีพี่ยิวมีเอี่ยวด้วยจริงป่าว อุอุ

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 08/02/2017 17:18:49


ความคิดเห็นที่ 24


อินโดก็มีโปรแกรม KF-x นิครับร่วมกับเกาหลีใต้

โดยคุณ premsk127 เมื่อวันที่ 11/02/2017 16:19:35