หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


KS-1 CM RTAF

โดยคุณ : เสือใหญ่ เมื่อวันที่ : 30/01/2017 10:37:28

จากที่เคยเล่าให้ฟังถึง ระบบอาวุธแซมระยะปานกลาง ที่ ทอ. จัดหาจากมิตรประเทศทางเหนือ บัดนี้ได้มาถึงและเเข้าประจำการที่กองบิน 7 สุราษฎร์ฯ จำนวน 1 ระบบ เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วยรถเรดาร์ควบคุมการยิง 1 คัน และรถแท่นยิงจรวด 4 คัน บรรจุลูกจรวดคันละ 2 ลูก (เป็นแบบเปิด เหมือนของเมียนมาร์ ไม่ได้บรรจุในกล่องคอนเทนเนอร์) ระยะยิงประมาณ 70 กม. จริงๆ น่าจะเป็นไฮไลท์ของ ทอ. ต้นปี 60 นี้ เผอิญที่เรื่องเศร้าเสียใจของกริเป้นซะก่อน

ถึงแม้จะมีแค่ 1 ระบบ (ไม่รู้ว่า ทอ. นับเป็น 1 กองร้อย หรือ 1 กองพัน) แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของ ทอ. กับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ ระยะกลาง-ไกล จากที่มีแค่แซมระยะสั้นอย่างแมนแพดยี่ห้อต่างๆ และที่มีฐานยิงอย่าง เอแดท ซึ่งระยะยิงไม่เกิน 10 กม. +/- ผมรู้สึกดีที่ ทอ. มีโลห์ป้องกันภัยทางอากาศเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการสกัดกั้นด้วย บข. อย่างเดียว และแมนแพดหรือ ปตอ. หวังว่าคงจะมีชุดต่อๆ ไปให้ครบทุกกองบินหลักเลยนะครับ

รูปก๊อปมาจากโพสของคุณเอก TAF ขออนุญาตเอามาแชร์ใน TFC ครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ตอนสั่งซื้อ เป็นรุ่น C มี container แต่ตอนรับมอบเป็นรุ่น A หรือไม่ครับ ๐Ÿ˜‚ เขาส่งมาก็รับๆไปหรือเปล่า ถ้าเสียก็ซื้อใหม่ได้ อาวุธประเภทนี้ ประจำการณ์สั้น ไม่กี่ปีก็เสื่อมสภาพ หรือจะทราบว่สมันใช้ได้ตามโฆษณา ก็ตอนใช้งานจริงๆ ซึ่งโอกาสแทบเป็นศูนย์ แม้ฝึกยิงก็ยิงไม่เต็มระยะ ด้วยข้อจำกัดจสกพื้นที่ และเป้าซ้อมยิงก็ไม่ได้มีความสามารถเท่าเครื่องบินจริงๆ ..... คือ ......๐Ÿ˜‚๐Ÿ˜‚๐Ÿ˜‚๐Ÿ˜‚๐Ÿ˜‚
โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 24/01/2017 19:17:51


ความคิดเห็นที่ 2


ฟังดูแล้วก็ค่อนข้างสับสนครับ คือเหมือนว่าตอนสรุปกับตอนจัดซื้อจริงมันคนละรุ่นกัน อยู่ในงบที่ได้ทั้งคู่ ยิ่งทราบว่า KS-1 พัฒนามาจาก SA-2 ไกด์ไลน์ "เจ้าเสาโทรเลข" สมัยสงครามเวียดนาม ยิ่งขี้เหร่หนักเข้าไปใหญ่ สังเกตุจากรูป เหมือนแค่เอาบูสเตอร์ที่เป็นท่อนท้ายของ SA-2 ออก กับดัดแปลงครีบทรงตัวอีกเล็กน้อยก็กลายเป็น KS-1 แล้ว ดูทรงรวมๆ ของทั้งรถยิง แทนยิงแล้ว ขอแค่เป็นการเปิดศักราช กราวด์-ทู-แอร์ ระยะยิงปานกลางของ ทอ. ละกันครับ ส่วนอนาคตจะมีการจัดหาไว้ป้องกันกองบินอีกขอเป็นรุ่นที่มันทันสมัยหน่อยอย่างเช่น LY-80 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ HQ-16 จะดีกว่านะครับ

เรื่องจรวดจีนผมว่าน่าคบกว่าเรือ ด. หรือ บ. จีนเป็นไหนๆ ครับ


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 25/01/2017 10:12:46


ความคิดเห็นที่ 3


HQ-16 พัฒนาจาก BUK SA-6/17 ของรัสเซีย ใหม่และทันสมัยกว่า น่าสนใจกว่าเยอะครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 25/01/2017 10:22:01


ความคิดเห็นที่ 4


คงจะประมาณให้อยู่ในงบประมาณครับ ถ้าเป็นรุ่น HQ-16  น่าจะแพงกว่ากันเยอะ

โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 25/01/2017 13:59:33


ความคิดเห็นที่ 5


ตังค์น้อย งบไม่มากได้เท่านี้แหละครับ เป็นตัวks1c ครับ ส่วนตัวมีกล่องเป็นรุ่นใหม่กว่าครับ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 25/01/2017 20:47:00


ความคิดเห็นที่ 6


คือคิดว่าถ้ายิ่งเป็น SAMระยะทำการไกล เป็นวงนอกสุดของโล่ห์กันภัยทางอากาศ โอกาสที่ใครจะเอาระเบิดมาทอยใส่เราก็ยากยิ่งขึ้นครับ ต้องไปทำไกลๆ ประเภทระเบิดร่อนหรือจรวด stand-off ครับ ถัดมาเป็น SAM ระยะปานกลาง เจ๊ตไฟเตอร์ แล้วก็ SAM ระยะสั้นและ ปตอ. มันจะสมบูรณ์แบบมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันครับ

ส่วนเรื่องงบ ถ้าเห็นด้วยก็ไปตั้งโครงการมา ทำให้มันจริงจัง ครบๆ ไม่ใช่ทำเหมือนงบเหลือแล้วจึงไปซื้อจรวดยุคเก่าแล้วได้มาแค่ระบบเดียว สู้เอางบไปทำอย่างอื่นดีกว่าครับ  

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 26/01/2017 12:12:45


ความคิดเห็นที่ 7


เห็นด้วยกับท่านเสือใหญ่ จริงๆแล้วผมเองอยากเห็นแผนที่ชัดเจนจากทาง ทอ.เหมือนกันว่าจะเอาอย่างไรกับ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ

ไม่อยากเห็นทำไปตามมีตามเกิด เพราะสงครามสมัยใหม่มันวัดกันด้วยกำลังทางอากาศ ถ้าเราสูญเสียสนามบิน เราก็สูญเสียกำลังทางอากาศ จบเห่กันแน่ๆ ยิ่งเห็นว่ากำลังจะมีการปรับปรุงระบบเรดาห์ใหม่ด้วย จึงอยากให้มีการจัดการไปพร้อมๆกัน อย่างน้อยๆ ให้มีแผนงานรองรับ ผมกังวลมากๆ เพราะต่อให้เรามีเครื่องเทพๆๆๆ จำนวนมากเ่ทไรก็ตาม แต่ไม่มีสนามบิน..... ไม่อยากนึกภาพครับ

โดยคุณ bobbyprawich เมื่อวันที่ 26/01/2017 13:27:08


ความคิดเห็นที่ 8


ประมาณนั้นครับที่อยากให้ความเห็น มีอะไรขึ้นมาสนามบินโดนตุ้ยก่อนเพื่อน

เดี๋ยวนี้ไม่มีใครสร้างเชลเตอร์ไว้ป้องกันเครื่องบินที่จอดอยู่ในสนามบินแล้วครับ เพราะต่างก็รู้ว่าป้องกันอะไรไม่ได้ จรวดระเบิดสมัยใหม่มันแม่น อำนาจการทำลายเยอะ สิ้นเปลืองงบในการสร้างเชลเตอร์เปล่าๆ ตอนนี้ บ. ก็จอดกันอยู่ในลานจอดมีหลังคาคลุมหรือจอดในโรงเก็บกันครับ และถ้าใครหวังจะเล่นสนามบินเรา เราก็ควรต้องบีบให้ไปเริ่มไกลๆ ไกลจากสนามบินเราให้มากที่สุด ด้วยโล่ห์ชั้นนอกอย่าง SAM ระยะไกลครับ

เครื่องบินมันดีครับ มันอ่อนตัวกว่าในการใช้งานเมื่อเทียบกับ SAM แต่ถ้าเลือกได้ขอทั้งสองเลยจะดีกว่า ถ้ามีอย่าง เอส-300/400 หรือ แอลวาย-80 ซู/มิก ที่จะเข้ามาทอยสนามบินเราก็ต้องใช้แต่ลูกยิงไกลเท่านั้นซึ่งในรอบบ้านเรามีอาวุธประเภทสแตนด์-ออฟ นี้ใช้งานกันบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 26/01/2017 14:09:32


ความคิดเห็นที่ 9


KS จะว่ายุคเก่าก็ไม่เชิงครับ ก็ถือว่ารุ่นใหม่อยู่ ถ้าเทียบกับการพัฒนามาใช้งาน คงไม่ต่างกับของตะวันตกที่หลาย ๆ ท่านอาจเคยเชียร์ไว้ แต่ในทางเทคนิคแล้ว คงจะสู้ตัว KS นี้ไม่ได้ อย่างน้อยก็มีแล้วหนึ่งอย่างคือ ระยะยิงที่ไกลกว่า เท่าที่ผมค้นข้อมูลจาก Wikipedia นะครับ ถ้าเทียบกับรุ่นระยะปานกลางนะครับ ถ้าระยะไกล ๆ ผมก็เชียร์ S-400 ของรัสเซียที่อยากให้กองทัพเรามีกับเขาบ้างเหมือนกัน

โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 26/01/2017 22:13:18


ความคิดเห็นที่ 10


เรื่องแบบนี้คงคุยกันยาวแน่ ท่านเสือใหญ่คงพอทราบว่าไม่นานมานี้ทางญี่ปุ่น เข้ามานำเสนอเรื่องเรดาห์ ทอ.เองก็เห็นว่ากำลัง set up 

ระบบ Net work system ซึ่งมันก็น่าจะสัมพันธ์กันทั้งหมด เช่น การมองเห็น การสั่งการ การตอบโต้ การป้องกัน เหล่านี้ล้วนแต่

ต้องใช้ สิ่งต่างๆที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ดูเหมือนเราขาดด้วยซ้ำ หากมองกันลึกๆแล้ว กทม.ที่เป็นศูนย์กลางกลับไม่มีระบบ

ป้องกันที่ควรจะมี(SAM) การคาดหวังการตอบโต้โดยใช้เรือฟรีเกต ที่มีอยู่คงยาก เพราะ พื้นที่ทางทะเล กับจำนวนเรือก็เห็นๆกันอยู่ ไม่ต้องพูดถึงการเตรียมพร้อมตลอดเวลา อีกทั้งวงรอบการซ่อมบำรุง แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว อยากเห็นการจัดทำแผนป้องกันที่สมบูรณ์ เพื่อวางกรอบงบประมาณ เพราะดูแล้วกองทัพบ้านเราเหมือน...เป็ด...ทำได้หมดแต่ไม่เชี่ยวชาญ ขอถอนหายใจดังๆ เฮ่ออออออ...อ

โดยคุณ bobbyprawich เมื่อวันที่ 27/01/2017 12:53:06


ความคิดเห็นที่ 11


เหมือนเรื่องนี้จะเริ่มต้นที่ว่า RTADS จะครบเฟสแล้ว แต่กว่าจะครบ เฟสแรกก็เริ่มล้าสมัย หมดอายุใช้งาน ประมาณนั้นนะครับเท่าที่ผมได้อ่านและเข้าใจตามข่าวเรื่องญี่ปุ่นเสนอระบบเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศให้เรา

คือเรื่อง SAM ระยะปานกลาง-ไกล ไม่ได้อยู่ในหลักนิยมในการป้องกันภัยทางอากาศของ ทอ. คือเราเน้นไปที่การเข้าสกัดกั้น บ. โดยใช้เอฟไฟเตอร์ ตั้งแต่ระยะไกล - ปานกลาง ส่วนวงในสุดให้เป็นหน้าที่ของ SAM ระยะสั้นและ ป.ต.อ. ตามที่พวกเราทราบกันดีอยู่แล้ว

แปลว่า ระบบตรวจจับครบ ทำหน้าที่เฝ้าตรวจและรายงานการพบ บ. ที่จะเป็นภัยคุกคาม สั่งการให้เข้าสกัดกั้นและพิสูจน์ฝ่ายด้วยสายตา บังคับเชื้อเชิญให้ บ. ที่ล้ำน่านฟ้าออกไป หรือบังคับให้ลง หรือทำลาย ด้วยเอฟไฟเตอร์ล้วนๆ

พอมี SAM ระยะปานกลางเข้ามาก็ครบขา ถึงแม้ว่าจะเป็นการป้องกันเป็นจุด ด้วยระยะทำการที่ไกลกว่า SAM ระยะสั้นหรือ ป.ต.อ. แต่ไม่อ่อนตัวและไม่ครอบคลุมทั้งประเทศเหมือนเครื่องบิน แต่ก็ทำให้การป้องกันพื้นที่เป็นจุดแน่นหนาขึ้น

เรื่องจุดยุทธศาสตร์ของชาติอย่างเมืองหลวง เป็นหน้าที่ของ ทบ. ครับ เหมือน บริเวณอีสเทิร์นซีบอร์ดและฐานทัพเรือ ก็เป็นหน้าที่ของ ทร. ผมไม่ทราบว่า ทบ. และ ทร. รับข้อมูลจาก RTADS ของ ทอ. หรือเปล่า สมมุติว่าถ้ารับแล้วนำข้อมูลไปใช้อย่่างไร เพราะดูเหมือนว่า แต่ละเหล่าทัพจะนิยมมีระบบของตัวเอง ตั้งแต่ตรวจจับจนไปถึงจัดการกับเป้าหมาย เหมือนมันไม่ได้บูรณาการข้อมูลและการสั่งการบังคับบัญชาระหว่างเหล่า คือเหมือนไม่มีศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศแห่งชาติ อะไรทำนองนั้นนะครับ

ผิดถูกอย่างไรรอท่านผู้รู้กรุณามาอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ   

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 27/01/2017 14:03:12


ความคิดเห็นที่ 12


จริงๆ RTADS จะเป็นระบบวิทยุพื้นดินอากาศ การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีมากกว่าครับ  ส่วนระบบเรดาร์จะอยู่กับ ACCS ซึ่งมีการแชร์ข้อมูลไปให้หน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ทบ.และ ทร. โดย GBAD ครับ  เรื่องเรดาร์ญี่ปุ่นคงเกิดยากครับเพราะเคยเห็นข่าวว่า ทอ. สั่งเรดาร์จากอเมริกาแล้ว  

โดยคุณ vulcan เมื่อวันที่ 27/01/2017 17:27:47


ความคิดเห็นที่ 13


ขอบคุณท่าน vulcan มากครับ พอจะเข้าใจแล้วครับ แล้ว GLAB คืออะไรครับ เพิ่งคุยกับท่าน Destiny ก็พูดให้ฟังถึง GLAB เหมือนกันแต่ยังไม่ค่อยจะเข้าใจชัดๆ ว่าคืออะไร

ตอนนี้รู้แล้วครับว่า แต่ละเหล่าก็รับผิดชอบพื้นที่ของตน ทบ. และ ทร. ก็มีพื้นที่รับผิดชอบของตน ทอ. ก็สนามบินและฐานบินต่างๆ อย่าง KS-1C ก็เฉพาะกองบิน 7 เป็นระบบสแตนด์อโลน

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 27/01/2017 20:39:54


ความคิดเห็นที่ 14


stand alone นี่แหละครับท่านเสือใหญ่ที่น่าห่วง แถมระบบของเรายังเป็นการป้องกันเฉพาะจุดด้วย

อีกทั้งเท่าที่ทราบๆมา ของ ทบ.ที่รับผิดชอบพื้นที่สำคัญๆ กลับไม่เคยเห็นว่ามี SAM ระยะกลางขึ้นไปเลยนะครับ

อีกทั้งหน่วยนี้กลับเหมือนถูกละเลย ไม่เหมือน ม้า ราบ ปืน ซะด้วย(สังเกตุจากความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของ

นายทหารของหน่วย) หรือเรามีไอเท็มลับ(ผมตกข่าวรึปล่า)  หือเราจะรอ SAM จาก DTI อย่างไรหากท่านใดทราบ

ก็กระซิบกันในบอร์ดนี้ เพื่อเป็นวิทยาทานด้วยเถอะครับ

 

โดยคุณ bobbyprawich เมื่อวันที่ 28/01/2017 02:11:27


ความคิดเห็นที่ 15


ผมว่าด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณแต่ละเหล่าจึงจัดซื้อตามภารกิจของเหล่าเป็นหลัก สังเกตได้จะซื้อของที่งบประมาณสูงๆจะเป็นงบประมาณผูกผันเป็นส่วนใหญ่ ของทร.กับ ทบ. จึงยังไม่มี SAM ระยะกลาง-ไกล ให้ทอ. ดูแลน่านฟ้าไป
โดยคุณ Mint เมื่อวันที่ 28/01/2017 07:35:36


ความคิดเห็นที่ 16


หลักนิยมการปภอ.ของไทยจะใช้ บ.ขับไล่ของ ทอ.เป็นหลักในการ ปภอ. ส่วน หน่วย ปตอ.ของ ทบ. จะจัดกำลังป้องกันให้กับพื้นที่สำคัญทั้งในเขตหน้าและเขตหลัง รวมถึงหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่ยุทธบริเวณ  หน่วย ปตอ. ทร.จะรับภารกิจ ปภอ. พื้นที่ของตนเช่น ฐานทัพเรือ รวมถึงพื้นที่ที่ได้รับมอบจาก บก.ทท.  หน่วย ปตอ.ของทอ.เน้นการป้องกันฐานบิน  การจัดหา ks1c ก็เพื่อการป้องกันฐานบินครับ การ ปภอ. ในปัจจุบันเป็นการป้องกันเฉพาะจุด เนื่องจากเรามีหน่วย ปตอ.น้อย ส่วนความต้องการ อาวุธ ปภอ.ระยะกลางนั้นอยู่ในแผนแม่บทครับแต่ด้วยราคาที่แพงมากประกอบกับเรากำลังปรับปรุงและจัดหา ปตอ.ลำกล้องใหม่ทดแทนของเก่าที่ใช้มาเกิน50 ปี จึงต้องทะยอยทำครับ

โดยคุณ regiment เมื่อวันที่ 28/01/2017 12:34:25


ความคิดเห็นที่ 17


ท่านเสือใหญ่ครับผมก็พึ่งเคยได้ยิน GLAB ครั้งนี้เหมือนกันครับ  เท่าที่ลองสอบถามคนรู้จักก็ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดหากมีข้อมูลจะมาแจ้งอีกทีครับ  ส่วนเรื่องป้องกันภัยทางอากาศผมเคยอ่านเจอว่ามีการแบ่งความรับผิดชอบตามความสูงด้วยประมาณว่าความสูงไม่มาก ทบ. รับผิดชอบ  สูงเกินกว่านั้น (จำไม่ได้ว่ากี่ฟุต) เป็นความรับผิดชอบของ ทอ. ซึ่งเป็นเอกสารที่เก่าพอสมควร  ปัจจุบันอาจจะมีการปรับหลักนิยมตามภัยคุกคามรอบประเทศบ้างแล้วหรือเปล่า

โดยคุณ vulcan เมื่อวันที่ 28/01/2017 16:57:12


ความคิดเห็นที่ 18


ยังไงเราก็คงต้องใช้การป้องกันภัยทางอากาศเป็นจุดแหละครับ กรณี SAM กับ ปืน ปตอ. นะครับ เพราะถ้าจะให้วางเป็นเครือข่ายป้องกันทั้งประเทศ ต้องใช้งบประมาณมหาศาลเกินความจำเป็นของภัยคุกคามปัจจุบันและอนาคตใกล้ๆ

นี่คือคำตอบว่าทำไม บข. จึงดีและเหมาะสมที่สุดครับสำหรับการนี้ครับ

ปัจจุบันทุกประเทศรอบๆ บ้านเราก็เป็นแบบนี้เหมือนกันครับ ใช้ SAM กับ ปตอ. ป้องกันจุดสำคัญๆ ที่เหลือเป็นหน้าที่ บข. ยกเว้นว่าเค้าไม่มี บข. อย่าง ลาว เขมร ถ้าเจออาวุธ สแตนด์-ออฟ ระยะยิงประมาณ 50 กม. ขึ้นไปอย่างจรวดป๊อปอาย หรือระเบิดอย่าง สไปค ก็ไม่รู้จะป้องกันยังไงแล้ว พังลูกเดียว 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 30/01/2017 10:37:28