เรือหลวงธนบุรี
ตามความเห็นผม การรบทางทะเลปัจจุบันปืนเรือใหญ่ๆ เกราะหนาๆ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ........นอกจากนี้เรือใหญ่นี่จรวดนำวิถีเข้าเป้าง่ายจัง....เอางบประมาณเรือใหญ่มาเป็นเรือเล็กลงมาได้สัก 3 ลำโอเคกว่ามั๊ง
ผมขอเสนอให้ท่าน ถอดปืนใหญ่แฝด 3 นั้นออก แล้วติดตั้งท่อยิง โตมาฮอว์ค และดูจากอากาศยานที่ท่านส่งบินปร๋อ ขอให้เปลี่ยนแบบเรือ เป็นเรืออู่ มีถังอับเฉา ด้านท้ายมีบานเปิด หย่อนตูดปล่อย เอๆวี หรือ ฮ๊อฟเว่อร์คร้าฟ ออกไปได้ สแตนดาร์ดข้างหน้าถอดออก ใส่แค่ แอสปิเด้ก็พอ สรุปคือ เปลี่ยนเป็นเรือสะเทิ้นน้ำ-บก น่าจะรุ่งกว่า................
อ่อ อาร์พูน กับ เรดาร์ ท็อพเพลท เอาออกด้วย ส่วน 2มิติระยะไกล จะเอาไว้ก็ไม่มีปัญหา อีเอสเอ็ม ถอด อีซีเอ็ม เอาไว้ก็ได้.............
อ่อ อีเอสเอ็มไม่ต้องถอด
แนวคิดเดียวกับเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่น ยุค WW2 สินะครับ
เรือหลวงธนบุรี (CAV-03)
คคย.CRBFD เก่ามาก (ตั้งแต่ช่วงปี1945-1950s) เอามาใช้ยุค80ไม่ไหวหรอกครับ เรดาร์Type 983 ก็เป็นของยุค1950s ส่วนType 293 นั่นตั้งแต่ยุคสงครามโลกด้วยซ้ำ
ที่วางปืนกระบอกโตๆนั่นเอาไปใช้ทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ได้มากกว่าเยอะ หรือถ้าอาวุธเท่านี้แล้วไม่ติดป้อมนั้น ระวางขับน้ำ ค่าใช้จ่ายของเรือ ลดลงไปได้มาก
แถมจะยิงจรวดStandardยังไงถ้าไม่มีเรดาร์คคย.ครับ จะเป็น SPG-51 SPG-60 SPG-62 เลือกสักตัว
ถ้าจะทำจริงผมว่าเอาแบบนี้ดีกว่า
ปืนน่ะช่างมันเถอะ ยิงสนับสนุนการยกพลขึ้นบกไม่ต้องใหญ่ขนาดนั้นเพราะระบบควบคุมการยิงพัฒนาไปมาก ปืน5นิ้วก็ใหญ่มากแล้ว ถ้าอยากได้จริงๆเอา8นิ้วMk71ของสหรัฐมาใส่ดีกว่าเยอะ
เข้าใจว่า Fiction อาจจะไม่ต้องลงรายละเอียดเรื่องอาวุธมากก็ได้มังครับ เพราะในโลกที่ฝ่ายอักษะไม่ได้แพ้สงคราม ระบบอาวุธ หลักนิยมการรบ พื้นฐานแนวคิดทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่เป็นอยู่ในโลกนั้นอาจจะแตกต่างไปจากโลกจริงของเรามากอย่างเทียบกันไม่ได้เลยก็ได้ครับ
ระบบอาวุธในกองทัพไทย อาจจะอิงญี่ปุ่น แทนที่จะอิงตะวันตก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ (ความเห็นผมนะ) ถ้าให้รายละเอียดมากเกินไป อาจทำให้ เดินเรื่อง Fic ลำบากได้ครับ
สำหรับประเทศไทย ถ้าญี่ปุ่นไม่แพ้ รัฐบาลหลวงพิบูลก็คงไม่ถูกโค่น ประเทศไทยจะเป็นแบบไหน อืม.......
แหม่ ด้วยความคิดเห็นสุดท้ายของท่าน คงอยู่ร่วมกันไม่ได้ จอดเรือที่ไหน จะได้เอาระเบิดเจาะท้องเรือให้นอนใต้น้ำ หมดเรื่องหมดราวไปครับ
ผมไม่มีคำแนะนำอะไรเลย นอกจากจะมามั่วด้วยคน
ปี 1965 กองทัพเรือไทยต่อเรือรบลำแรกขึ้นเองในประเทศ โดยใช้แบบเรือ PF-103 ของอเมริกา ติดปืนใหญ่ 5"/38 Mark 12 แท่นเดียวจำนวน 2 กระบอก โดยการนำปืนเก่ามาปรับปรุงคืนสภาพใหม่อีกครั้ง ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofor 40/60 แท่นคู่จำนวน 1 กระบอก แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mark 32 แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง และรางละเบิดลึกอีก 2 รางท้ายเรือ
ระบบเรดาร์ตรวจการณ์ และเรดาร์ควบคุมการยิงใช้ของอังกฤษทั้งหมด ระบบโซนาร์ของอเมริกา ติดจรวดต่อสู้อากาศยานซีแคทแท่นยิงแฝดสามจำนวน 1 แท่นยิง จำนวนเรือที่ต่อรวมทั้งหมด 8 ลำ ยาวนานจนถึงปี 1973
ต่อมาในปี 1973 ทร.ต่อเรือฟริเกตอาวุธนำวิถีลำแรกออกมาสำเร็จ ใช้แบบเรือจากอังกฤษ ติดแท่นยิง Mk 22 GMLS ด้านหน้าเรือสำหรับจรวดต่อสู้อากาศยาน Tartar จำนวน 16 นัด ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofor 40/60 แท่นคู่จำนวน 1 กระบอก แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mark 32 แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง และรางละเบิดลึกอีก 2 รางท้ายเรือ มีลานเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือแต่ไม่มีโรงเก็บ ประจำการเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Westland Wasp จำนวน 1 ลำ
ะบบเรดาร์ตรวจการณ์ของเยอรมัน เรดาร์ควบคุมการยิงใช้ของอเมริกา ระบบโซนาร์ของอเมริกา ไม่กี่ปีต่อต่อมาปรับปรุงด้วยการติดตั้งโซนาร์ลากท้าย VDS ระบบป้องกันระยะประชิด DRADO และเรดาร์ควบคุมการยิงจากอิตาลี สุดท้ายปรับปรุงให้แท่นยิง Mk 22 GMLS รองรับจรวดต่อสู้เรือรบฮาร์พูนได้ ในแมกกาซีน 16 นัดก็แบ่ง ๆ กันไปแล้วกัน จำนวนเรือที่ต่อรวมทั้งสิ้น 6 ลำ
ถ้ารายนั้นลงสนามด้วย ก็รับประกันความสนุกหละครับ (ฮ่า)
ต่อกันอีกซักหน่อย...เดี๋ยวพรุ่งนี้ไม่ว่างแล้ว วาดรูปเป็นงานอดิเรกที่ผมรักมากที่สุด แต่ต้องใช้เวลาเยอะมากซึ่งผมไม่มีให้ ก็เลยไม่มีผลงานใหม่ออกมาเป็นปี ๆ แล้ว
กองทัพเรือไทยมีแผนจะต่อเรือฟริเกตขนาด 3,000 ตันในปี 1978 แต่ทว่าเกิดวิกฤตการณ์การเงินผัดขี้เมาหมูสับขึ้นมาเสียก่อน ทำให้พวกเขาต้องหยุดทุกอย่างไว้ถึง 2 ปีเต็ม โดยจำเป็นต้องปลดเรือรบจากยุคสงครามโลกจำนวนมาก จึงได้ริเริ่มแผน 2 ในเวลาต่อมา
โดยในปี 1980 กองทัพเรือได้ต่อเรือฟริเกตเบาอเนกประสงค์ขึ้นมาทดแทน ใช้แบบเรือจากอังกฤษแต่ใช้อาวุธจากจีนทั้งหมด (เพื่อความประหยัด) ต่อออกมาในเฟสแรกสุดจำนวน 4 ลำก่อน โดยเฟสต่อไปจะปรับปรุงให้รองรับอากาศยานปีกหมุนรุ่นใหม่ หรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำนั่นแหละครับ
เรือฟริเกตชั้นเรือหลวงบางปะกง ติดปืนใหญ่ขนาด 100 มม.แท่นคู่จำนวน 2 กระบอก ปืนกลต่อสู้อากาศยาน 37 มม.แท่นคู่จำนวน 4 กระบอก จรวดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200 จำนวน 2 แท่นยิง จรวดต่อสู้เรือรบ C-801 จำนวน 8 นัด ระบบเรดาร์ ระบบโซนาร์ รับบบเป้าลวง ระบบสงครามอิเลคทรอนิค ระบบอำนวยการรบจากจีนทั้งหมด ยกเว้นก็เพียงเครื่องยนต์ดีเซลของเยอรมัน จึงมีราคาไม่แพงเหมาะสมกับเงินในกระเป๋า
ต้นปี 1981 กองทัพเรือพม่าเข้าประจำการเรือดำน้ำ Type-206 จำนวน 6 ลำ จึงเกิดปัญหาเร่งด่วนขึ้นมาทันควัน เพราะไทยมีอาวุธปรายเรือดำน้ำไม่เพียงพอ เรือฟริเกตชั้นบางปะกงเฟส 2 จึงต้องเร่งเดินเครื่อง เนื่องจากการเงินยังคงมีปัญหาอย่างหนักต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เรือฟริเกตชั้นเรือหลวงประแสร์ จึงต้องติดระบบอาวุธเก่าและใหม่จาก อเมริกา ยุโรป และจีนผสมกันไป และต่อลำแรกแล้วเสร็จเข้าประจำการในปี 1983
โดยใช้ระบบเรดาร์ ระบบอำนวยการรบ ระบบเป้าลวง ระบบสงครามอิเลคทรอนิค จรวดต่อสู้เรือรบ C-801 จำนวน 4 นัด กระบอก ปืนกลต่อสู้อากาศยาน 37 มม.แท่นคู่จำนวน 2 กระบอก และจรวดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200 จำนวน 2 แท่นยิงจากจีน ระบบโซนาร์และแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mark 32 แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง จากอเมริกา ใช้ปืนใหญ่ 5"/38 Mark 12 แท่นเดียวสมัยพระเจ้าเหาจำนวน 1 กระบอก ควบคุมการยิงด้วยเรดาร์มือสองจากอังกฤษ
ด้านท้ายเรือรองรับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำใหม่เอี่ยม ซึ่งก็คือรุ่น SH-2 Seasprite จากอเมริกา นอกจากนี้ยังติดตั้งโซนาร์ลากท้าย VDS ด้วย กองทัพเรือไทยต่อเรือฟริเกตเบาปราบเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ เพื่อคานอำนาจทางทะเลกับกองทัพเรือพม่าไว้ก่อน อาวุธจึงมีแต่ของเก่าโบราณเต็มเรือไปหมด ทว่าระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมแกะกล่อง ถือเป็นเรือลำแรกสุดที่ใช้ระบบอำนวยการรบจากจีนควบคุมอาวุธอเมริกาได้ เรือหลวงประแสร์ยาวมากกว่าเรือหลวงบางปะกงเพียงเล็กน้อย ด้วยการขยายด้านท้ายเรือให้แบะออกมากกว่าเดิม
ในอนาคตประมาณ 10-12 ปีข้างหน้า เมื่อต่อเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำขนาดใหญ่ได้แล้ว อาวุธจากจีนทั้งหมดจะถูกโยกไปลงเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถี อาวุธเก่าทั้งหมดจะถูกโละขายเป็นเศษเหล็ก โซนาร์ลากท้าย VDS จะย้ายไปอยู่เรือฟริเกตลำใหญ่ เรือชั้นเรือหลวงประแสร์จะปรับปรุงใหญ่ทั้งลำ โดยการใช้อาวุธและระบบเรดาร์จากตะวันตก รวมทั้งติดตั้งแท่นยิงจรวดต่อสู้อากาศยานซีสแปร์โรว์ท้ายเรือ หรือไม่ก็ระบบป้องกันตนเองระยะประชิดฟาลังซ์
ส่วนเรือชั้นเรือหลวงบางปะกงที่ต่อออกมาก่อน คงไม่คุ้มที่จะปรับปรุงใหญ่เหมือนเรือหลวงประแสร์ จะถอดอาวุธจากจีนทั้งหมดก่อนปี 2000 แล้วโอนเรือทั้ง 4 ลำให้กับหน่วยยามฝั่งต่อไป ซึ่งจะมีการติดตั้งอาวุธปืนจำนวนหนึ่งเพื่อป้องกันตัว แต่ไม่มีจรวดนำวิถีปราบเรือรบ รวมทั้งอาจปรับปรุงบริเวณด้านท้ายเรือ เพื่อรองรับอากาศยานปีกหมุนขนาดเล็ก
เรื่องราวยังมาไม่ถึงปี 1985 เลย ใครอยากต่อหรือเสริมก็ว่ากันมานะครับ ฮ่า ฮ่า
แต่ความจริงถ้าท่าน Tachibana จะทำงานในรูปแบบมังงะ ก็ไม่จำเป็นต้องวาดเรือในรูปแบบ shipbucket ก็ได้ ฉีกแนวไปเลยดีกว่า อาวุธก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับของจริง ยกตัวอย่างอะไรทำนองนี้ ดูมีสีสันน่าสนใจมากกว่านะครับ มังงะภาพต้องสวยไว้ก่อน
เรือหลวงเชียงตุง (สหรัฐไทยเดิม) ปล.ทำแบบติดธงไทยหายเลยเอาอันนี้แทน
สนุกอยู่คนเดียวนี่แหละ 555
เรื่องทางด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์สมมุติ หรือคุณลักษณะระบบอาวุธ ก็มีท่านอื่นแนะนำกันไปแล้ว
แต่เห็นว่าเรือรบในเรื่องนี้จะใช้ในการแต่งการ์ตูนหรือนิยาย เลยมีขออนุญาตแนะนำสักเล็กน้อยครับ
โดยทั่วไปงานเขียนเชิงวิชาการนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องที่พิสูจน์ได้ตามหลักวิชาการ
แต่สำหรับเรื่องแต่งอย่างการ์ตูนนี้ส่วนใหญ่อาจจะไม่จำเป็นต้องอ้างอิงในเชิงวิชาการจริงจังมากขนาดนั้นก็ได้
เพียงแต่ผู้แต่งจะต้องคำนึงถึง 'ความสมเหตุสมผล' ในแง่การ์ตูน/นิยายด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ตัวละคร หรือพลังความสามารถ หรืออาวุธในเรื่อง
จะต้องมีอุปนิสัย วิธีคิด การพูดการกระทำ ความเป็นมาเป็นไป ระบบการทำงาน ข้อได้เปรียบ จุดอ่อน ฯลฯ
ชัดเจนพอที่จะให้ผู้อ่านเชื่อว่ามันเป็นไปได้จริงๆในโลกสมมุติตามท้องเรื่องนั้น
อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะแนะนำเกี่ยวกับการเขียนเนื้อเรื่องในการ์ตูนสงคราม หรือนิยายสงครามคือ
สงครามเป็นเรื่องของมนุษย์ อาวุธยุทโธปกรณ์เป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ในการทำสงครามเท่านั้น
ปืนใหญ่ เรือรบ หรือเครื่องบิน ถึงจะมีสมรรถนะแค่ไหน ก็ต้องมีตัวละครที่เป็นมนุษย์ควบคุม และขับเคลื่อนเรื่องราว มีประวัติศาสตร์ในโลกที่สมเหตุสมผล
ฉะนั้นถ้าจะเขียนการ์ตูนหรือนิยาย แนะนำว่าควรใช้เวลาและให้ความสำคัญในการออกแบบตัวละครต่างๆที่จะปรากฎในเรื่องให้มาก
เพราะจากตัวอย่างที่เคยได้อ่านนิยายสงครามสมัยใหม่ ในหมวดนิยายสงครามของ Web นิยายชื่อดังที่หนึ่งมาบ้าง
หลายเรื่องข้อมูลอาวุธยุทโธปกรณ์ละเอียดยิบ แต่ตัวละครที่ปรากฎในเรื่องนั้นมีมิติที่ราบเรียบ หรือไม่มีความสมเหตุสมผลแบบคนจริงๆครับ
(การ์ตูนหรือนิยายที่ว่านี้ลงมือวาดหรือเขียนไปหรือยังครับ
ถ้าเขียนไปแล้วลงแพร่เผยแพร่ที่ไหน หรือมีแผนจะเสนอที่ใดหรือไม่ครับ)