พอดีได้ไปอ่านในบล็อกของคุณเอกพล เรื่อง
http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html
ก็ให้สงสัยว่า เราจำเป็นต้องปลดประจำการเรือชุดนี้เลยอย่างนั้นหรือ สะตุ้งสตังค์เดี๋ยวนี้ก็หายาก จะต่อเรือลำใหม่ก็ใช้ตังค์
หลายอัฐอยู่
เคยอ่านเจอจากสมรภูมิว่าปัจจุบันเรือชุดปราบปรปักษ์ หลังจากถอดเกเบรียลออก ก็ลดสถานะเป็นเรือเร็วโจมตีปืน
และ ตอนนี้คงกำลังจะถึงตาของเรือชุดราชฤทธิ์
จริงอยู่หากเรือทั้ง 2 ชุด ลดสถานะเป็นเรือเร็วโจมตีปืน ก็จะถูกมองว่าเป็นเรือที่กำลังล้าสมัย เพราะเริ่มหมดยุดของเรือเร็วโจมตีแล้ว
แต่ถ้าเรามองถึงขนาดของเรือ และ อาวุธของเรือที่ยังเหลืออยู่หลังปลดอาวุธนำวิถีออกแล้ว ผมว่าเรือทั้ง 2 ชุดนี้
มีคุณสมบัติไม่ต่างจากเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงหัวหิน หรือ ชุดเรือหลวงคลองใหญ่เลย แถมยังมีอำนาจการยิงสูงกว่า
เรือตรวจการณ์ในชุดเรือ ต. ทั้งหลายด้วย ยิ่งถ้าเพิ่มแท่นปืน 20 ม.ม. เข้าไปแทนที่อาวุธนำวิถีตรงกลางลำเรือซัก 2 กระบอก
ก็น่าจะมีคุณสมบัติไม่ต่างจากเรือตรวจการณ์ปืนที่เรามีอยู่
ทำให้คิดว่าแทนที่จะปลดประจำการเรือเหล่านี้่ เรายังสามารถประจำการเรือทั้ง 2 ชุดนี้เข้าประจำการต่อในฐานะเรือตรวจการณ์ปืน
เทียบเท่ากับเรือในชุด รล.คลองใหญ่ หรือ รล.กันตัง จะเป็นการคุ้มค่ากว่ามั้ยครับ จำนวนเรือตรวจการณ์ที่เพิ่มขึ้นอาจช่วยเพิ่ม
ขีดความสามารถในการดูแลพี่น้องชาวประมงของเราให้ดีขึ้นไปอีกก็ได้
เรือเก่ามากซ่อมไม่ไหวก็คงต้องปลดประจำการ ทุกวันนี้เรือถูกใช้ในภารกิจตรวจการณ์ระยะไม่ไกลจากฝั่งมากนัก เรือที่จะมาแทนในอนาคตก็คงประมาณเรือหลวงแหลมสิงห์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการออกปฎิบัติการต่ำกว่า ระยะทำการไกลกว่า บรรทุกยุทธปัจจัยดีกว่า ทนทะเลดีกว่า
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เรือหลวงแหลมสิงห์ใช้แบบเรือรุ่นใหม่ มีห้องหับสำหรับพักผ่อนและหน่วยซีล หรือจะเป็นพื้นที่เอนกประสงค์สำหรับจับกุมผู้กระทำความผิดกลางทะเล รวมทั้งติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์อเนกประสงค์เพิ่มเติมได้ เหมาะสมกับภารกิจในยุคปัจจุบันมาก ทั้งยังรับมือกับภัยคุกคามได้ดี เพราะมีทั้ง 76/62 มม.และ 30 มม.ควบคุมด้วยรีโมทและมี E/O ควบคุมการยิงได้ดีในระดับหนึ่ง
ส่วนเรือทั้ง 2 ชั้นที่จะปลดนั้น ถูกออกแบบให้ทำการรบในยุคสงครามเย็น เน้นการติดอาวุธมากที่สุด วิ่งด้วยความเร็วสุงสุด ยิงเสร็จแล้วไปไหนก็ไป เอามาลาดตระเวนก็พอได้แต่กินน้ำมันมาก ห้องพักมีน้อย ออกทะเลลึกได้ไม่ดี ออกทะเลนาน ๆ ก็ไม่ดี หน่วยซีลไม่รู้จะไปนั่งตรงไหน บลา บลา บลา
คือให้สาธยายสิ่งที่เรือไม่เหมาะกับภารกิจปัจจุบัน คงต้องว่ากันหลายชั่วโมงเลยครับ เอาเป็นว่าผมขอย้อนอดีตนะครับ
กาลครั้งหนึ่ง เราเอาเรือตอร์ปิโดใหญ่ไปทำหน้าที่ตั้งรับกองเรือฝรั่งเศสขนาดใหญ่ ซึ่งขัดกับความเหมาะสมของเรือที่ออกแบบให้โจมตีและฉีกหนีไปไหนก็ไป ผลก็คือ XXXXX แบบสู้กันไม่ได้เลย ประสบการณ์ในอดีตก็มีอยู่แล้วอย่าดันทุรังเลยครับ ปืนมันเก่าแล้ววันหนึ่งมันก็ต้องเสียอย่าไปยึดติด
Skjold class คือเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีที่ทันสมัยมากของนอร์เวย์ สามารถวิ่งได้เร็วสุดถึง 60 น๊อตในสภาพทะเลเรียบ สามารถติดจรวดสุดยอดถวิลหามาสิแจ๊ะอย่าง NSM ได้ถึง 8 นัด อายุอานานก็แค่ 15-18 ปีเท่านั้นเอง
นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีฐานะดีมาก เพราะมีน้ำมันมากจึงมีรายได้สุงตามไปด้วย ปลายปี 2016 รัฐบาลนอร์เวย์ตัดสินใจไม่ปรับปรุงกลางอายุเรือชั้น Skjold class ทุกลำ และมีโครงการปลดประจำการประมาณปี 2025-2030 จนหมดทุกลำ โดยผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนเรือชั้นนี้ก็คือ F-35 จากกองทัพอากาศนอร์เวย์ครับ (สั่งซื้อไป 52 ลำ)
เรือดำน้ำที่จัดหาใหม่ก็ลดลงมาเหลือ 4 ลำจาก 6 ลำ เรือกวาดทุ่นระเบิดจะโดนปลดประจำการทั้งหมด และเปลี่ยนมาใช้ Robot mine vessel ขนาดไม่ใหญ่มากทำหน้าที่แทน เรือช่วยรบจุกจิกทั้งหลายโดนปลดเรียบ ใช้เรือสนับสนุนขนาดใหญ่ต่อจากเรือ DSME 1 ลำทดแทน เรือหน่วยยามฝั่งลดจำนวนลงแต่ขนาดใหญ่กว่าเดิม เรือที่มีระวางขับน้ำ 4,000 ตัน ติดปืน 57 มม. ของเดิมนำไปซ่อมคืนสภาพ
ทุกอย่างบนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ ผมถึงบอกว่าอย่าไปยึดติดกับอดีต เนเธอร์แลนด์เคยมีเรือฟริเกตชั้น m จำนวน 8 ลำ พดหมดสงครามเย็นขายออกไป 6 ลำ แล้วต่อเรือ OPV จำนวน 4 ลำมาทดแทน เพราะพวกเขามองภารกิจตรงหน้าเป็นเรื่องสำคัญกว่าการคงไว้ซึ่งอำนาจการยิง
ขออีกนิดนะครับ ทำไมกองทัพเรือต้องการเรือตรวจการณ์ขนาด 50 เมตรจำนวนมาก ทั้งที่มีเรือชั้นเรือหลวงคลองใหญ่ตั้งหลายลำอยู่แล้ว เพราะเรือหลวงคลองใหญ่ใช้แบบเรือจากยุค 70 รองรับการทำสงครามเต็มรูปแบบอย่างชัดเจนและแน่นอน เอาไปช่วยชาวประมงนี่ค่อนข้างมีปัญหา เพราะบนเรือมีแต่ ปืน ปืน ปืน แล้วก็ปืน จะทำไอ้โน่นไอ้นั่นไอ้นี่ลำบากมาก
เรือชั้นนี้มีพี่น้องอยู่ที่ไต้หวัน และอินโดนีเซียครับ เป็นเรือตรวจการณ์อาวุธนำวิถีทั้งหมด ส่วนเกาหลีใต้น่าจะเคยมีและดูเหมือนจะปลดประจำการไปแล้ว เพราะแบบเรือมันเก่าโคตะระ เอาไปรบจริงกับเกาหลีเหนือค่อนข้างมีเรื่องจุกจิก เลยปลดปลดประจำการไปเลยหรือบริจาคนี่แหละ
ปลดไปแล้วไม่พอใช้งาน ทร.ก็ต้องจัดหาเพิ่มเติมแหละครับ เรือขนาด 50 เมตรเราต่อเองได้สบายมาก อู่ต่อเรือเอกชนก็มีตั้งหลายเจ้า ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลใจเลย
กระทู้นี้ผมคุยยาวหน่อยแล้วกัน กองทัพเรือประเทศอื่น ๆ ส่วนมากจะมีเรือตรวจการณ์ยาว 50 เมตรเป็นเรือขนาดเล็กสุด ส่วนเล็กกว่านั้นยกให้เป็นหน้าที่ของหน่วยยามฝั่ง หรือกรมท่าเรือ หรืออะไรก็ว่าไปให้เขาจัดการดูแล เพราะถ้าเล็กกว่านี้ก็ไม่เหมาะกับการทำภารกิจของกองทัพเรือ (ยกเว้นเรือหน่วยปฎิบัติการณ์พิเศษนะ) กำหนดไว้ที่ความยาว 50 เมตรโดยประมาณ ก็ใกล้เคียงกับเรือหลวงแหลมสิงห์นั่นแล
แต่บังเอิญว่าทร.เราเหมากินรวบในทุกขนาดเรือ มันก็เลยมองภาพแบบที่ผมพูดมาไม่ออก แต่ทร.เราก็ไม่ได้มั่วนะครับ ในอนาคตคงจะต่อเรือตรวจการณ์ 50 เมตรออกมาพอสมควร ส่วนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งก็จะเป็นก็เรือชั้นเรือต.221 (ใช่มั้ย) ที่สั่งไปแล้ว 20 กว่าลำ และอาจมีเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือชั้น ต.111 ต่อเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง
ส่วนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเหมือนเรือชั้น ต.991 ต.994 ที่มีระวางขับน้ำประมาณ 200 ตันคงไม่ได้เกิดแล้วกระมัง คือถ้าได้ไปต่อคงเกิดไปแล้วและไม่มีเรือหลวงแหลมสิงห์แน่ ผมเคยมโนไว้นานแล้วเรือโครงการเรือ ต.997 เนี่ย อ่านดูพอขำ ๆ นะครับ
http://thaimilitary.blogspot.com/2015/09/pgm-997-997.html
จะเอาไปทำภารกิจอื่นก็ต้องดัดแปลงกันพอสมควรครับ เพราะเรือออกแบบมาใช้ความเร็วสูง ปฏิบัติการระยะเวลาไม่นาน
แต่ผมขอยืมคำท่านนึงมาใช้ละกัน "ถ้าตัวเรือไหว ทร. ดัดแปลงอยู่แล้วครับ"
เรือปืนเราไม่น่ามีปัญหามากนัก แทนที่จะเอาของเดิมไปดัดแปลง สู้ต่อเรือM58ออกมาอีกเยอะๆมากกว่า แต่ปัญหาคือกตอ.จะมีเรือติดอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้นไม่พอ ซึ่งมีหลายท่านเสนอว่าน่าจะต่อเรือแนวๆLMVของสิงคโปร์หรืออย่างเรือSigma 7310ครับ โดยไม่ต้องมีระบบปราบเรือดำน้ำ (หน้าที่กตอ.คือการรบผิวน้ำ ส่วนเรือปราบเรือดำน้ำเอามาลงกฟก.1 ก็อาจจะเป็นคอร์เวต-ฟริเกตแท้ๆขนาดสัก2000ตัน)
ทร. ที่ปลดเรือ รจอ. เกือบทั้งหมดมี เจ็ท ติด อวป นำวิถี.................. ของมันไปทางเดียวกัน แถม อย่างหลังรวดเร็วและเด็ดขาดกว่า ก็ถึงกาลปวสารของ รจอ. ยกเว้นบางชาติที่ไม่มีเจ็ทติดอาวุธปล่อย หรือบางชาติที่มีน่านน้ำกว้างมากอย่างอินโด ก็ต้องใช้สองอย่างขับตาทับคู่กันไป....................... ของไทย กริเป้น ชุดเดียว ดับรัศมี รจอ.ที่มีอยู่ มอดสนิด...............
จะโมไปใช้เป็นเรือตรวจการณ์ ก็มีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ เนื่องจาก เอ็มทียู ติดหอยตัวเบ้อเร่อ ไม่เหมาะที่จะเดินรอบต่ำ ............... ระบบอิเลครอนิคส์ เรดาร์ อีซีเอ็ม ก็ใช้ภารกิจสงครามเต็มรูปแบบ ค่าซ่อมค่ารักษาก็คงแพงโข ครั้นจะไม่เปิดไม่ใช้เพื่อถนอม ก็กลายเป็นเรือบอดเรือใบ้ไปสะฉิบ .....................
อันนี้ก็เสียดายนะ แต่มันก็คงจะถึงคราวต้องพิจารณาแล้วจริงๆ
คิดว่า ภาระกิจ รจอ.แบบ เรือชุด ราชฤทธิ์ กับ ปราบปรปักษ์...
คงถูกทดแทนด้วย เรือชุด ต.994 และ เรือตรวจการณ์ปืน ชุด แหลมสิงห์ ที่มีความสามารถติดอาวุธนำวิถีได้...ซึ่งก็คงไม่แตกต่างจากปัจจุบันมากนัก เพราะ เรือชุด ปราบปรปักษ์ ก็ไม่มีความสามารถติดอาวุธนำวิถีแล้ว และ เรือชุด ราชฤทธิ์ ตัวอาวุธนำวิถีเอง ก็คงน่าจะหมดอายุเกือบหมดแล้ว...และเมื่อคำนวณอายุใช้งานเรือ ในปี 2026 แล้ว อายุเครื่องยนต์เรือ ก็คงร่วม ๆ 40 ปี...ในแง่ ภาระกิจ อาจจะจอดอยู่ในท่า มากกว่า ปฏิบัติภาระกิจจริง...คือ การมีอัตรากำลังสำรองไว้แค่นั้น มากกว่า ในความเห็นผมนะครับ....
ก็คงต้องติดตาม โครงการอัพเกรดของเรือชุด ต.994 และ เรือชุด แหลมสิงห์ ในอนาคต ซึ่งคงมีการติดตั้งอาวุธนำวิถีระยะใกล้ ถึงระยะปานกลาง แน่...
ช่วงหลัง ทร. เริ่มเอา OPV มาติด อวป แถม OPV ที่เราจะต่อก็มีอะไรที่เกินกว่า opv แท้ๆ ไปเยอะ หรือว่า ทร. จะเอาตรงจุดนี้มาทดแทนอำนาจการยิงด้าน อวป พื้นสู่พื้นครับ ตอนนี้เดา ทร. ยากมากในการทดแทนเรือเก่าที่จะต้องปลด ยิ่งเจอโครงการเรือ ส เข้ามาดูดงบอีก หวยจะออกไปหน้าไหนน้อ
คิดว่า ทร. คงเน้นภาระกิจ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง มากขึ้น...ลองสังเกตุ บ.แบบ DO-228 ที่ เดี๋ยวนี้ ผมเห็นถอนเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำใต้ลำตัวออกหลายลำแล้ว....ไม่แน่ใจว่า ปัจจุบัน เอาออกหมดทุกลำหรือเปล่า?
ก็เลยเกิดข้อสงสัยว่า ปัจจุบัน ทร. ไม่ใช่ อากาศยานลาดตระเวณทางทะเลแล้ว...เพราะนอกจาก DO-228 แล้ว ผมก็ไม่เห็น บ.แบบอื่น ๆ ที่ติดตั้ง นอกจาก F-27 ซึ่งก็คงใช้ในทางยุทธวิธี ไม่น่าจะใช้ในภาระกิจปกติ เพราะความสิ้นเปลืองคงจะมากกว่า DO-228 โดยคงไปเน้นใช้ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แทน ที่จะมีเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ และอากาศ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น....แบบนั้น หรือเปล่า ?
เรือดำน้ำมีแต่โซนาร์นะครับ ใช้วิธีการปิงไปหาเป้าหมายเพื่อตรวจจับ การตรวจเป้าหมายบนอากาศทำไม่ได้เลย การตรวจจับเป้าหมายใต้ทะเลทำได้ดีก็จริง แต่การตรวจจับเป้าหมายผิวน้ำค่อนข้างมีปัญหา เพราะคุณจะไม่รู้ว่าเป้าหมายที่ตรวจพบเป็นเรือข้าศึกหรือเรือขนส่งสินค้า ยิงสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปก็เอวังบันรัยจัก แล้วไอ้ระบบโซนาร์ปรกติที่ใช้โดยทั่วไป มันไม่ได้บอกอะไรมากมายนักถ้าอยู่ไกลเกินไป หรือถ้าคิดจะเปิด Active sonar ซึ่งเป็นโซนาร์ที่มีประสิทธิภาพสุงขึ้น เท่ากับเป็นการเปิดเผยตำแหน่งของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เรือดำน้ำทุกลำไม่อยากทำแน่นอน
ถ้าเรือดำน้ำต้องการความชัดเจนมากกว่านั้น ต้องลอยลำขึ้นมาแล้วใช้เรดาร์เดินเรือตรวจสอบรวมทั้งใช้สายตาตรวจสอบ แน่นอนครับว่าเรดาร์พวกนี้มันมีประสิทธิภาพไม่สุ ถ้าบังเอิญมาจ๊ะเอ๋กับเรือฟริเกตุที่มีเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติสุดทันสมัย รวมทั้งมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเป็นตัวช่วย เรือส.ที่ท่าน Mr. Bean ภาคภูมิใจมากคงได้ดำน้ำตลอดกาล
ฉะนั้น ถึงไทยได้เรือดำน้ำมา 3 ลำ ทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม เรือฟริเกตทุกลำจะอยู่ในกองเรือเดิมและทำหน้าที่เดิมของตนเองต่อไป ส่วนเรือดำน้ำทำหน้าที่เป็นไอเท็มลับ อยู่ตรงไหนซักแห่งบนโลกนี้เพราะเราดำน้ำได้นาน 21 วัน ทำได้แค่นี้แหละ เชื่อผม !!!
การพิสูจน์ทราบเป้าหมายเรือผิวน้ำของเรือดำน้ำสมัยใหม่ด้วย Sonar เชิงรับนั้น ทำได้ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบเสียงของเครื่องยนต์และใบจักร
ซึ่งถ้า Sonar ที่ติดตั้งมีประสิทธิภาพสูงก็จะจับเสียงได้ในระยะที่ไกล
โดยรูปแบบเสียงที่แพร่ออกมาจากเรือสินค้าและเรือรบนั้นมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว โดยการเทียบจากรูปแบบเสียงที่มีบันทึกในฐานข้อมูล หรือจากการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี Sonar
ทั้งนี้การระบุประเภทชั้นของเรืออาจจะเป็นต้องใช้ระบบตรวจจับอื่นๆประกอบ เช่น ESM ในการตรวจจับสัญญาณการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งเรือรบจะมีการเปิด Radar ตรวจจับชนิดต่างๆซึ่งมีรูปแบบสัญญาณเฉพาะตามชนิดของระบบที่ติดตั้ง
หรือการระบุเรือเป้าหมายในระยะสายตาด้วยกล้องตาเรือจากใต้น้ำ
ข้อมูลทั้งหมดที่ระบบตรวจจับต่างๆของเรือดำน้ำรวบรวมได้จะถูกป้อนเข้าสู่สถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่เป้าหมาย (TMA: Target Motion Analysis)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนวยการรบในการวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบของแต่ละเป้าหมายที่ตรวจจับได้ต่อไป
ตัวอย่างหนึ่งคือในกองเรือนานาชาติภารกิจปราบปรามโจรสลัดโซมาเลียในอ่าว Aden นั้น
เรือดำน้ำหลายชาติที่เข้าร่วมปฏิบัติการจะดำลงใต้น้ำและใช้ Sonar ตรวจจับเรือต่างๆที่เดินทางออกมาจากชายฝั่งโซมาเลีย
ซึ่งสามารถวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของเรือพลเรือนที่ตรวจจับได้ว่า เรือลำไหนเป็นเรือแม่ที่ปล่อยเรือเล็กของโจรสลัดที่จะเข้าโจมตีเรือพาณิชย์ได้ครับ
โอ้..ท่านเจ้าของบล็อกมาตอบเองเลย
อยากจะบอกคุณเอกพลว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเข้าไปอ่านข่าวสารในบล็อกของคุณเอกพลมาก
ต้องขอขอบคุณคุณเอกพล ไว้ ณ ที่นี้เลยครับ ที่นำข่าวสารมาให้ผมได้ติดตามอ่านกันทุกวัน
ผมเป็นแฟนตัวยงของบล็อกคุณครับ
ผมว่าการเอาเรือดำน้ำมาลาดตระเวนแทนเรือผิวน้ำมันก็มีข้อจำกัดเยอะอยู่นะครับ ความเร็วก็ต่ำ จำนวนก็น้อย ในยามสงบยังไงก็คงต้องพิสูจน์ทราบด้วยสายตาอยู่ดีล่ะมั้ง แถมเรือดีเซลก็ใช้เวลาส่วนมากบนผิวน้ำอยู่แล้วด้วย
กว่าจะปลดประจำการก็อีก 10 ปี สภาพเรือคงไม่ไหว หรือปรับปรุงแล้วคงไม่คุ้มค่า ผมเห็นด้วยกับการลดจำนวนเรือรบขนาดเล็กที่ต่ำกว่า 500 ตันลงมา แล้วไปเน้นขนาดที่ใหญ่ขึ้น ติดอาวุธมากขึ้น ทนทะเลมากขึ้น เช่น ปลดไป 6 สร้างทดแทน 3-4 ลำ ส่วนเรือเล็กให้เป้นหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมทรัพฯ กรมประมง ฯลฯ