หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กลาโหมเล็งใช้พื้นที่ทหาร ตั้งโรงงานผลิตอาวุธปี 60

โดยคุณ : Nakarin เมื่อวันที่ : 22/12/2016 12:38:06

กลาโหมเล็งใช้พื้นที่ทหาร ตั้งโรงงานผลิตอาวุธปี60

21 ธ.ค. 59 ห้องแซฟโฟร์ 119 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรัช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมนาเชิงปฏิบัติการ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เป็นรูปธรรมในปี 2560 โดยมี พล.อ.ชาญชัย ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเหล่าทัพ ร่วมถึงนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

โดย พล.อ.อุดมเดช กล่าวเปิดสัมนาในตอนหนึ่งว่า การสัมนาเชิงปฏิบัติการ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เป็นรูปธรรมในปี 2560 เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสนองตอบนโยบายผู้บังคับบัญชาชั้นสูงที่ต้องการผลักดันการดำเนินอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เกิดขึ้นรูปธรรมชัดเจน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เกี่ยวข้องจะได้นำข้อมูลจากการสัมนาในครั้งนี้ไปศึกษา และกลับมาระดมความคิดที่เป็นประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์และการมุ่งหวังในการสัมนา

พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า งานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงได้มีนโยบาย สั่งการ เน้นย้ำให้เกิดรูปธรรมปี 2560 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้สามารถวิจัยพัฒนา มุ่งไปสู่การผลิตในการใช้ในราชการและขายในเขิงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนงานด้านความมั่นคงและลดภาระงบประมาณในการนำเข้าจากต่างประเทศ

พล.อ.อุดมเดช กล่าวอีกว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในปี 2560 นี้ มี 3 ประเด็นหลักคือ 1.การบูรณาการการผลิตและการรวมการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ผลิตในกระทรวงกลาโหม และกำหนดรายการยุทโธปกรณ์ที่จะให้ภาคเอกชนภายในประเทศเป็นผู้ผลิต 2.การเสนอรายการยุทโธปกรณ์ที่กองทัพได้รับต้นแบบไปวิจัยและทดลองใช้งานและสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเป็นรายการที่จะจัดหาจากในประเทศ ในโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพหรือในแผนพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ 3.การร่วมกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรกลางที่เป็นผู้กำหนดและรับรองมาตราฐานยุทโธปกรณ์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ

"นอกจากนี้มีอีกเรื่องสำคัญ การสัมนาเพื่อแสวงหาแนวทางครั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต้องการได้ข้อเสนอแนะแนวทางดำเนินการต่อการตั้งโรงงานประกอบหรือผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญร่วมกับมิตรประเทศที่เรามีแผนจัดซื้อยุทโธปกรณ์นั้นมาประจำการในกองทัพของเรา โดยอาจศึกษาจากวิธีการที่คู่มิตรประเทศได้ทำมาแล้วเป็นต้น" พล.อ.อุดมเดช กล่าว

พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ผลการสัมนาในครั้งนี้และครั้งต่อไปในวันที่ 25 ม.ค.2560 ต้องเห็นผลรูปธรรมชัดเจนเพื่อให้ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารนำผลการสัมนาเรียน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เพื่อขออนุมัติให้ทุกหน่วยของกระทรวงกลาโหมได้ปฏิบัติตามเคร่งครัด เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศประสบความสำเร็จตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม

หลังจากนั้น พล.อ.อุดมเดช ให้สัมภาษณ์ว่า ถือเป็นนโยบายรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ต้องการให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีความก้าวหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในหลายๆเรื่องเข้าสู่การผลิจยุทโธปกรณ์ใช้เองในกองทัพสำเร็จ เช่น ยูเอวี อุปกรณ์ด้านการสื่อสาร เครื่องตัดสัญญาณ การทำให้ปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตร สามารถเคลื่อนที่อัตรจรเป็นต้น แต่ยังขาดความชัดเจนเรื่องอื่นๆต้องปรับปรุงสอดคล้องกับการพัฒนามีความก้าวหน้ามากขึ้น เช่น ระบบต่างๆต้องเชื่อมต่อเพื่อผลิตใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ หรือเป็นประโยชน์ส่งออกจาย นำงบประมาณเข้าประเทศของเรา

เมื่อถามถึง การตั้งโรงงานประกอบชั้นส่วนยุทโธปกรณ์ในไทย พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า มีแนวโน้มจะจัดตั้งโรงงาน เนื่องจากเรามีการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆหลายอย่าง และจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วน หากเราสามารถร่วมกับมิตรประเทศและผลิตเองได้ ค่าใช้จ่ายลดลงและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และหากผลิตได้มากก็ส่งออกจำหน่ายเพื่อได้งบประมาณกลับมา และยังส่งเสริมการวิจัยพัฒนาในส่วนของกองทัพเองรวมถึงเอกชน

เมื่อถามว่า ปัจจุบันยุทโธปกรณ์ของประเทศจีนที่ใช้ในกองทัพมีจำนวนเท่าไหร่และมีแนวโน้มจัดซื้อเพิ่มอีกหรือไม่ ถึงต้องตั้งโรงงานงานผลิตชิ้นส่วน พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า มีทั้งที่เราซื้อมาแล้ว แต่การจัดซื้อเพิ่มเติมนั้นเป็นเรื่องแผนพัฒนาของแต่ละเหล่าทัพ ว่าต้องการอะไร ต้องพิจารณาดูความเหมาะสม ส่วนจะซื้อจากประเทศไหนนั้น ต้องมาดูประเทศไหนที่ผลิตมาแล้วมีขีดความสามารถสูง คุ้มค่างบประมาณที่ต้องเสีย และมีการคัดเลือก จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นประเทศไหน เพราะเหล่าทัพพิจารณาเอง ในส่วนกระทรวงกลาโหมก็จะดูความเหมาะสม

"มีความเป็นไปได้ว่ายุทโธปกร์ของประเทศใดที่เราซื้อมาเป็นจำนวนมาก และจำเป็นต้องมีชั้นส่วนอะไหล่เอง ก็ควรจะทำได้เอง และการดำเนินการต้องร่วมมิตรประเทศที่เรานำยุทโธปกรณ์เข้ามา ว่าจะสนับสนุนเกื้อกูลอย่างไรที่ทำให้เราสามารถผลิตได้เอง ส่วนพื้นที่ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนนั้น อยู่ในรายละเอียดการสัมนาครั้งนี้ ต้องหารือกัน เนื่องจากกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพมีความพร้อม มีพื้นที่ทั้งในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศตั้งโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น นครศวรรค์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี  ต้องดูความชัดเจนอีกครั้ง" พล.อ.อุดมเดช กล่าว

พล.อ.อุดมเดช กล่าวอีกว่า ต้องพิจารณาพื้นที่อื่นๆด้วยกรณีต้องร่วมกับภาคเอกชน ต้องดูความเหมาะสมว่าเป็นพื้นที่ใด ต้องพูดคุยกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป และในปี 2560 นี้ต้องการให้ผลิตบางอย่างใช้เองอย่างชัดเจน ที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว แต่อยู่ระหว่างการตอบรับจากเหล่าทัพถึงประสิทธิภาพการใช้งาน จะได้เข้าสู่การผลิตเต็มรูปแบบต่อไป

http://www.naewna.com/politic/249637


พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร


ภาพประกอบกระทู้



ภาพประกอบกระทู้




ความคิดเห็นที่ 1


เห็นด้วยครับ เมื่อโอกาสเปิด ควรจะเร่งทำให้เป็นรูปธรรม และเติบโตแบบยั่งยืนให้ได้

เมื่อประเทศที่มีอุตสาหกรรมอาวุธที่แข็งแรง มุ่งเน้นไปที่ระบบอาวุธไฮเทคที่ต้องใช้โนวฮาวและเงินในการวิจัยทดสอบสูงมากๆ การจะไปแข่งขันกับประเทศเหล่านั้นตรงๆ คงไม่ฉลาดนัก ให้ดีก็มุ่งไปที่ระบบอาวุธพื้นๆ ไม่ต้องไฮเทคมาก อย่างรถช่วยรบต่างๆ ปืนพก ปืนเล็กยาว ฯลฯ และต้องสามารถดัดแปลงเป็นเวอร์ชั่นใช้งานแบบพลเรือนขายเชิงพานิชย์ได้ด้วย เช่น รถฮัมวี ก็มีเวอร์ชั่นฮัมเมอร์ ปืนพก ปืนเล็กยาว ก็จำกัดขนาดลำกล้อง และยิงกลไม่ได้ สำหรับขายให้พลเรือน เป็นต้น อะไรทำนองนี้ละครับ เอาพื้นๆ ให้แข็งแกร่ง อย่างนี้โอกาสเกิดเป็นไปได้ครับ

ปล. คิดเผื่อไว้ด้วยนะครับ เมื่อเวลาทหารไปแล้ว พลเรือนมาแทน โครงการแบบนี้มันจะได้รับการอุ้มชูสนับสนุนให้ไปต่อได้หรือเปล่า ไม่งั้นเสียของเสียเงินเปล่าๆ ครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 21/12/2016 19:12:44


ความคิดเห็นที่ 2


อ่านบลอกของคุณเอกพล นาคพุ่ม  มีข่าวว่า Canada ระงับการขายระบบที่เกี่ยวกับความมั่นคงให้กับไทย. ไม่ทราบว่าตัวอุปกรณ์ที่ว่าคืออะไร.   แต่เกี่ยวกับการยืนด้วยขาตัวเองในเรื่องอาวุธนี่สมควรอย่างยิ่ง  มหาอำนาจเนี่ยตัวดีพอไม่ใด้ดังใจก็หาทางบีบต่างๆนานา  ถ้าวันนึงขัดแย้งรุนแรงขึ้นมาเกิดพวกบีบให้ทุก บ. ที่ขายอาวุธให้ไทยหยุดส่งมอบ/เลิกสัญญาก็จบเกมส์ 

ผมเดาว่าโครงการแรกที่น่าจะสู่สายการผลิตอย่างจริงจังน่าจะเป็นจรวดทั้งหลายทั้งปวง.  การมีจรวดนำวิถีที่มีระยะยิงเกิน 60 กม  เป็นกำลังป้องปรามที่มีประสิทธิภาพสูงในภูมิภาคนี้. ยิ่งถ้าไปถึงจุดที่สามารถพัฒนาให้ยิงเป้าหมายบนบก และในนำ้ก็จะแจ่มมาก

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 21/12/2016 23:11:27


ความคิดเห็นที่ 3


น้ำมัน      อำนาจมหา     กับน้ำมัน             

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 22/12/2016 10:53:34


ความคิดเห็นที่ 4


คุณเสือใหญ่  ไม่ต้องห่วงเรื่อง ของรัฐบาลพลเรือนหรอกครับ เพราะรัฐบาลพลเรือนนี่แหละครับที่เค้าสนับสนุนให้พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อจะได้ลดการขาดดุลการค้าและประหยัดรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อเอางบไปพัฒนาโครงการปัจจัยพื้นฐานอื่นๆในประเทศต่อไป

 

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 22/12/2016 12:24:49


ความคิดเห็นที่ 5


ก็ขอให้เป็นเช่นนั้นครับ

อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน โดยเฉพาะกับประเทศนี้ครับ

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 22/12/2016 12:38:06