หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อู่ต่อเรือฮุนไดเปิดเผยรายละเอียดโครงการเรือฟริเกตฟิลิปปินส์

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 27/10/2016 21:56:23

http://www.janes.com/article/64864/hyundai-discloses-further-details-of-philippine-navy-s-new-frigates

 

Hyundai Heavy Industries ได้เปิดเผยภาพ CG และรายละเอียดแบบเรือ HDF-3000 MOD ที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตกองทัพเรือฟิลิปินส์ ซึ่งมีการจัดหาจำนวน 2 ลำ ในวงเงิน 311 ล้านเหรียญ เฉลี่ยต่อลำอยู่ที่ 155.5 ล้านเหรียญ หรือเท่ากับ 5,439.39 ล้านบาท เทียบกับค่าเงินณ.วันนี้นะครับ

 

แบบเรือมีขนาดเล็กกว่าเรือฟริเกตชั้นอิลชอนเล็กน้อย ระวางขับน้ำ 2,600 ตัน ความยาว 107 เมตร มีความทนทะเลได้ระดับ 5 เครื่องยนต์ดีเซลล้วนหรือ  combined diesel and diesel (CODAD) ความเร็วสุงสุด 25 น๊อต (ถือว่าเร็วนะเมื่อเทียบกับขนาด) ระยะปฎิบัติการ 4,500 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 15 น๊อต ส่วนระบบอุปกรณ์อิเลคทรอนิคและระบบอาวุธ ทางฮุนไดยังไม่ได้มีการเปิดเผยอย่างชัดเจน บอกแต่ว่ามีทั้งจรวด ตอร์ปิโด ปืนเรือ และระบบเรดาร์ สามารถทำการรบได้ครบ 3 มิติ รวมทั้งสงครามอิเลคทรอนิคด้วย

 

Key Points

South Korean shipbuilder Hyundai Heavy Industries (HHI) has given further details of the two frigates that it will be constructing for the Philippine Navy (PN).

The details were given in a media release on 24 October announcing that the contract to build the ships has been formally signed with Philippine defence secretary Delfin Lorenzana. HHI received a notice of the PHP15,744,571,584 (USD311 million) award earlier in 2016.

The company was previously reported to have won the contract with a design based on the company's HDF-3000 multipurpose frigate design, which features an overall length of 114.3 m, and has been used as the basis for the Republic of Korea Navy's (RoKN's) Incheon (FFX-I)-class guided-missile frigates.

HHI has since disclosed in its media release that the platform will instead feature overall length of 107 m, a standard displacement of about 2,600 tonnes, and an operational survivability up to Sea State 5. The frigate has however been described by HHI as one that inherits main design features of the Incheon class, albeit with a lighter displacement.

The ship will feature a combined diesel and diesel (CODAD) propulsion system, and feature a maximum speed of 25 kt, with a standard range of 4,500 n miles at 15 kt.

HHI did not disclose in writing specific details of the platform's weapon systems, saying only that the frigates will be "heavily armed with missiles, torpedo, guns and sensors", and that they will be capable of anti-air, anti-surface, anti-submarine and electronic warfare.

However a computer generated image of the platform accompanying the media release shows an eight-cell vertical launching system (VLS) installed at the forward section, just behind the platform's primary weapon that will most likely be a 76 mm naval gun.





ความคิดเห็นที่ 1


ระบบเรดาร์และอาวุธบนเรือฟริเกตฟิลิปปินส์ ผมขอเดามั่วจากภาพที่เห็นตามนี้ครับ

 

ปืนใหญ่ 76/62 ผลิตในเกาหลีใต้ จำนวน 1 ระบบ

 

 

ปืนกลอัตโนมัติ Mk 38 Mod 2 25mm Machine Gun System (MGS) จำนวน 1 ระบบ

 

จรวดต่อสู้เรือรบ SSM-700K Hae Seong จำนวน 4-8 ท่อยิง

 

ตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Blue Shark จำนวน 6 ท่อยิง

จรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ Simbad RC จำนวน 2 ระบบ

 

ส่วนระบบเรดาร์ ถ้ายึดตามภาพ CG น่าจะประมาณนี้นะครับ

LIG Nex1 SPS-540K 3D surveillance radar จำนวน 1 ระบบ

Navigation Radar จำนวน 2 ระบบ

Saab CEROS 200 Fire Control Radar จำนวน 1 ระบบ (ผลิตในเกาหลีใต้)

ระบบอำนวยการรบ ก็คงไม่แคล้วมากจาก Samsung Thales


 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบเรดาร์ตรวจการณ์อาจจะเป็น Thales Varient เหมือนเรือหลวงกระบี่ของเราก็ได้ น่าจะราคาถูกกว่านะ

 

รวมทั้งอาจได้จรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกล้ Chiron มาแทนก็ได้ครับ ว่าไป ฮ่า ฮ่า ฮ่า

 

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่รองรับระบบท่อยิงแนวดิ่งบริเวณหลังปืนใหญ่ 76/62 ด้วย รวมทั้งพื้นที่ติดตั้ง CIWS คาดว่าจะเป็นบนหลังคาโรงเก็บฮ. โดยแทนที่ปืนกล Mk 38 Mod 2 นั่นเอง

 

ระบบสงครามอิเลคทรอนิค น่าจะยกมาจากเรือเร็วโจมตีชั้น Gumdoksuri ซึ่งตามวิกิบอกว่า LIG Next Sonata SLQ-200(V)K ECM/ECCM suite แต่อาจไม่มาก็ได้เพราะไม่เห็นในภาพ กลายเป็นแค่ระบบ ESM อย่างเดียวเหมือนเราฟริเกตเรานี่แหละ ในภาพมีระบบเป้าลวงจำนวน 2 ระบบนะครับ ซึ่งก็คือ KDAGAIE Mark 2 chaff/flare dispenser ผลิตในเกาหลีใต้เช่นเคย

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/10/2016 15:16:49


ความคิดเห็นที่ 2


เรือของ "ปิน" ไม่ใช่เรือตามรูปภาพประกอบ ใช่ไม่ครับ ผมอ่านแล้วเข้าใจอย่างนั้น (อ่านมานานแล้ว)

เพราะเรือตามรูปภาพมีขนาดเกือบ 4,000 ตัน (คือ 3,000 ตัน ปลายๆ)

เพียงแต่มีรูปทรงเป็นแนวใกล้เคียงเรือลำนี้เท่านั้น (แบบจริงกำลังออกแบบอยู่)

ผมเข้าใจถูกไหม ครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 25/10/2016 17:12:27


ความคิดเห็นที่ 3


ออครับ ขออภัยมีข้อความอยู่ตามบรรทัดที่ 2 แล้ว (ขออภัยครับ แก่เลี้ยว)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 25/10/2016 17:16:09


ความคิดเห็นที่ 4


ดูไปดูมา หน้าตาของเรือปินเหมือนเรือไทยตอนอายุ 16 ปียังไงยังงั้นเลย จะดีใจดีมั้ยเนี่ย วุ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/10/2016 20:24:46


ความคิดเห็นที่ 5


This is the infomatic about the future frigate of the Philippine Navy.

(From Pitz Defense Analysis)

 

frigate of the Philippine Navy.


โดยคุณ ThaiPc53 เมื่อวันที่ 25/10/2016 21:49:00


ความคิดเห็นที่ 6


ถามแบบไม่มีความรู้เลยครับ ว่า  CMS 9LV กับ Thales TACTICOS นี่สมรรถนะมันต่างกันหรือเปล่าครับ?  แล้วพวกเรดาห์ต่างๆของเรือลำนี้นี่เทพมั้ย?

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 26/10/2016 00:19:43


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าสเปกส์เรือHDF-3000 MOD ของฟิลิปปินส์ 2 ลำราคารวม 11,000 ล้านบาท  ตามที่ท่าน ThaiPc53 นำมาโชว์

เมื่อหันควับมามองเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง 2 ลำของเราที่ ราคารวม 30,000 ล้านบาท รู้สึกปวดตับชะมัด

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 26/10/2016 11:14:11


ความคิดเห็นที่ 8


HHI ต่อเรือได้ราคาถูกกว่า DSME หรือเปล่า ? (ก็ไม่น่าจะใช่)

เนื้อข่าวน่าจะมีต้นข่าวจากสื่อ "ปิน" เอง ซึ่งเอาเข้าจริงมักจะเวอร์เกินลิมิตเสมอ (เท่าที่ติดตามชม)

ที่ระบุระวาง 2,600 ตัน พี่ "ปิน" ชอบเอาระวางสูงสุด (ซึ่งระวางสูงสุดของเรือรบมันไม่มีโอกาสใช้)

ให้เดาระวางเรือน่าจะอยู่แค่ประมาณ 2,000 ตัน กับความยาวเรือที่ยาวประมาณ 105-107 เมตร (เรือรบทั่วโลกก็ประมาณนี้)

มาตราฐานมันประมาณ 105 เมตรก็ประมาณ 2,000 ตันนี่แหละ  ครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/10/2016 00:25:46


ความคิดเห็นที่ 9


เรือฟรีเกตไทย DSME ระวางขับน้ำปกติที่ 3,600 เมตรติกตัน

เรือฟรีเกต "ปิน" HHI ระวางขับน้ำปกติที่ 2,000 เมตรติกตัน

เรือมันใหญ่กว่ากันมากนะครับ

แล้วพวก "ปิน" ชอบมีลูกเล่นเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าปวดหัวกระโหลก อีก เช่น ชอบแปลง "ลองตัน" เป็น "ชอตตัน" อีก

อ่านข่าว "ปิน" ต้องทันเกมม์ "ปิน" ด้วยครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/10/2016 00:34:37


ความคิดเห็นที่ 10


เรือ Damen Sigma 105 ความยาว 105 เมตร มีระวางขับน้ำ (dwl) Tonnage 2,360 Tons

DWL = Deadweight Longtonnage

Deadweight = Fullload    

ถ้าให้เดาระวางขับน้ำปกติก็เดาได้ประมาณ 2,000 Tonnages (หรือไม่เกิน 2,000 ตัน)

ระวางขับน้ำปกติ คือเรือพร้อมออกทะเล พร้อมรบ (ตัวเรือ อุปกรณ์ คน อาวุธ เชื้อเพลิง น้ำจืด อาหาร ฯลฯ)

ถ้าใช้ Fullload ความเร็วเรือจะลดลงจากที่ระบุความเร็วไว้  ความเร็วมักจะอิงที่ระวางขับน้ำปกติ

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/10/2016 01:46:05


ความคิดเห็นที่ 11


ที่แปลกใจของผมมีอยู่เรื่องเดียวคือ ที่ปล่อยจรวดแนวตั้งนี่แหละครับ FFBW สำหรับเรือ 2,000 ตัน

ว่าเสร็จออกมามันจะเป็นยังไง เพราะถ้าทำได้จริงรวมระบบทุกอย่าง ราคาอย่างต่ำไม่น่าหนี 8,000 ล้านขึ้น ต่อลำนะครับ

(ยังไม่รวมตัวจรวดที่อยู่ข้างใน)

ผมเดาว่าจุดนี้เป็นจุดเวอร์อีกจุดหนึ่งแน่ๆ (หรือไม่ผมก็ต้องหน้าแตกไปข้างหนึ่งหากทำได้จริง)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/10/2016 02:21:52


ความคิดเห็นที่ 12


ภาพและข่าวที่ผมลง มาจากอู่ต่อเรือฮุนได ส่วนอาวุธที่ท่าน airy ลง มาจาก Pitz Defense Analysis ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก Maxdefence อีกที

 

ส่วนเรื่องระวางขับน้ำ ฮุนไดเขาว่างี้ a standard displacement of about 2,600 tonnes

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/10/2016 07:43:33


ความคิดเห็นที่ 13


เอาใหม่ ไปดูต้นฉบับที่เกาหลีใต้กันเลยดีกว่า เหมือนน้องเจนเองก็ลงไม่ตรงเป๊ะ

http://www.hhiir.com/EN/News/report_view.asp

Hyundai Heavy Industries (HHI), the world’s largest shipbuilder, announced today that it signed a contract to build two 2,600 ton frigates with the Department of National Defense, Republic of the Philippines.

The signing ceremony held in Manila, Philippines, was attended by Mr. Chung Ki-sun, executive vice president of Corporate Planning Office of HHI, Mr. Delfin Lorenzana, Philippines’ Defense Secretary and Mr. Kim Jai- shin, Korean Ambassador to Philippines and other guests.

The frigates will be designed to be a smaller light combatant and successor to the Incheon class frigate which is now in active service for ROKN tailored to the requirement of the Philippine Navy with applying optimized range of good marine standard under naval rule from Lloyd Register, classification society.

The 107 meter frigates to be propelled with CODAD (Combined Diesel and Diesel) propulsion system with maximum speed of 25knots can cover a 4,500 nautical miles range at cruising speed of 15 knots. The naval vessels will inherit the enhanced survivability, seakeeping and maneuvering capability of her mother ship operable up to Sea State 5.

The frigates heavily armed with missiles, torpedo, guns and sensors controlled by the latest combat management system are capable of conducting Anti-Air Warfare, Anti-Surface Warfare, Anti-Submarine Warfare and Electronic Warfare. The frigates are scheduled to be handed starting from 2020.

Since the delivery of the first Korean-built frigate ROKS Ulsan in 1980, HHI has played a pivotal role in the modernization of ROK Navy designing major warships. And eviden

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/10/2016 07:48:26


ความคิดเห็นที่ 14


เข้าไปดูภาพใหญ่จากต้นฉบับแล้ว ผมว่าอาวุธตรงกับที่เขาใส่มาในรูปทั้งหมดนะ ยกเว้นก็เพียงปืน 76/62 ที่หน้าตาเหมือนเวอร์ชั่นเกาหลีใต้มากกว่า

 

คอมเม้นท์นิดเดียวว่าภาพ CG ของฮุนได ดีกว่าของแดวูที่ทำภาพ CG เผยโฉมเรือเราแบบเทียบกันไม่ติด (ไหงงี้)  ไม่แปลกใจที่คนปินจะเอาเรือลำนี้ไผเทียบกับเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ FFX-3 frigate โน่น.... ฮ่า ฮ่า

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/10/2016 07:57:36


ความคิดเห็นที่ 15


ผมเข้าใจละครับ ขอบคุณมากครับ คุณบอย

 

ทีแรกผมรู้สึกว่าเนื้อข่าวเป็นของสื่อ "ปิน" นะ ที่อ้างถึง การเปิดข้อมูลของผู้บริหาร HHI ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงกว้าง

และข้อมูลการติดตั้งด้านอาวุธ (ซึ่งผมเข้าใจว่าคงไม่ได้รวมราคาอาวุธเอาไว้ทั้งหมดแล้ว)

แต่พอลงในรายละเอียดตัวเรือ พี่ "ปิน" ก็คงเลือกใช้ระวางสูงสุด (อู่เรือยุโรปก็เลือกใช้ตัวนี้ ในการประชาสัมพันธ์)

ซึ่งเราก็รู้ว่า ระวางขับน้ำสูงสุดของเรือรบ ไม่น่าจะมีโอกาสได้ใช้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างในการบรรทุกของจริง

ทั้งนี้ก็เพื่อให้การเปรียบเทียบราคาตัวเรือได้ดีขึ้น ส่วนราคาอาวุธก็แยกไปวิเคราะห์ต่างหาก

เพราะหากเราเอาระวางสูงสุดของเรือลำหนึ่ง ไปเทียบกับระวางปกติของเรืออีกลำหนึ่ง ต้นทุนการจัดซื้อจะแตกต่างกันมากเกินไป

หากผมเข้าใจอะไรคาดเคลื่อน ก็ขออภัยด้วยนะ ทุกๆ ท่านที่เสียเวลาอ่่าน ครับ

 

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/10/2016 15:06:14


ความคิดเห็นที่ 16


ผมว่าเจ้า VLS บนเรืออาจจะเป็น K-VLS ก็เป็นได้ หรือเปล่านะ แต่ผมก็ยังอึ้งกับราคาเรือของฮุนไดอยู่ดีนั้นแหละ คือราคานั้นมันถูก อย่างคาดไม่ถึง ตอนแรกไม่คิดว่าราคานั้นจะมี VLS บนเรือฮุนไดด้วยซ้ำ คือระบบต่างๆที่อัพเกรดบนเรือชั้นนเรศวร ผมว่ามันเทียบเท่ากับเรือฮุนไดHDF-3000 MOD

คือ งบที่ใช้อัพเกรตระบบต่างๆบนเรือนเรศวร ระยะที่สองนี่ 3,297,825,775 ล้านบาท ระบบเรด้าร์ของSaab, decoy และ VLS   ผมลองหักลบราคาดูแล้ว

5,439,000,000 บาทลบ 3,297,825,775  = 2,141,742,225 บาท 

นั้นเท่ากับว่าตัวเลขกลมๆสำหรับราคาตัวเรือประมาณ 2,150,000,000 บาท หาร 2,600 ton = 826,923 บาทต่อตันเท่านั้น

เพราะฉะนั้นถ้าบอกว่าราคาเรือของฮุนไดไม่น่าจะถูกกว่า แดวู ถ้างั้นก็แสดงว่า ระบบเรด้าและอื่นๆ ของ Thales TACTICOS ราคาถูกกว่า Saab  และอาจะมองไปอีกแง่คือ ฮุนไดยอมกลืนเลือดเพื่อให้ได้งานนี้จากฟิลิปปินส์มาทำ เพราะก่อนหน้าโดน แดวูแย่งงานไปเกือบหมด

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 27/10/2016 17:01:50


ความคิดเห็นที่ 17


แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจ ครับ คำว่า Standard displacement ว่ามันคืออะไรแน่ ?

ระหว่าง "ระวางปกติ" กับ "ระวางสูงสุด"

แต่ผมก็ไม่จริงจังอะไรกับเรื่องนี้นะครับ (คือไม่เข้าใจก็ละ มันไปได้ ครับ)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/10/2016 15:13:50


ความคิดเห็นที่ 18


VLS เป็นแค่เตรียมพื้นที่ไว้เฉยๆ นะครับ Fitted for But Not With

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/10/2016 21:43:29


ความคิดเห็นที่ 19


ผมต้องขอฉายหนังวนอีกรอบนึง ปัจจุบันกองทัพเรือฟิลิปปินส์มีแต่อาวุธปืนประจำการเท่านั้น ไม่มีอาวุธนำวิถีหรือตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำใช้งานเลย ระบบเรดาร์ทันสมัยนั่นก็ด้วย คือมีแค่เรดาร์เดินเรือหนองเหน่งหนองแกละไปตามท้องน้ำ การก้าวกระโดดไปที่ระบบ VLS สุดทันสมัยมันมากเกินไป เท่ากับเป็นการฆ่าตัวตายแบบสองตลบด้วยซ้ำ นาทีนี้พวกเขาต้องการจรวดต่อสู้เรือรบ ตอร์ปิเบาปราบเรือดำน้ำ โดยคาดว่าจะติดตั้งบนเรือคอร์เวตที่เกาหลีใต้บริจาคให้ในปีหน้านี่แหละ

 

ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ก็จะได้เห็นจรวดต่อสู้เรือรบ SSM-700K Hae Seong และ ตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Blue Shark อย่างแน่นอน โดยมีเกาหลีใต้อบรมการใช้งานอาวุธรุ่นใหม่ให้แบบละเอียดหน่อย ต้องก้าวเล็ก ๆ กันไปก่อนครับ เป็นผมก็ทำแบบนี้แหละ

 

ส่วนระบบต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ Simbad RC ซึ่งใช้จรวดมิสตรัลนั้น มีราคาไม่แพง จัดเก็บง่าย ยิงก็ง่าย อบรมก็ง่าย เหมาะสมแล้วที่จะจัดหามาใช้งานในช่วงเวลานี้ แต่ทว่าเรือของเขารองรับระบบ VLS ได้จำนวน 1 หน่วยหรือ 8 ท่อยิง เพราะฟิลิปปินส์คาดหวังว่าอีก 15-20 ข้างหน้า คนของเขาจะชำนาญการมากพอที่จะใช้จรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีเรดาร์ รวมทั้งมีงบประมาณมากพอจะจัดหาแท่นยิง VLS อาวุธจรวด และเรดาร์ควบคุมการยิงได้ ก็เลยมีความต้องการเรื่องพื้นที่ติดตั้ง VLS บนเรือด้วย เรื่องของเรื่องก็มีเท่านี้แหละครับ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/10/2016 21:56:23