ในปีงบประมาณ 2560 กองทัพเรือได้ตั้งโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เพิ่มเติมอีกจำนวน 5 ลำด้วยกัน โดยมีวงเงินอยู่ที่ 627,900,000 บาท หรือ 627.9 ล้านบาท รายละเอียดในการจัดหาของโครงการประกอบไปด้วย
1. เรือตรวจการณ์ชายฝั่งจำนวน 5 ลำ
2.ปรับปรุงปืนกล 20 มม. GAM CO-1 จำนวน 5 กระบอก
2.ปรับปรุงปืนกล 0.50 นิ้ว จำนวน 5 กระบอก
ราคาสุทธิต่อเรือ 1 ลำอยู่ที่ 125,580,000 บาท หรือ 125.58 ล้านบาท และจะทำให้มียอดรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 23 ลำ โดยแบ่งเป็น
- เฟสที่ 1 จำนวน 3 ลำ (สถานะเข้าประจำการแล้ว) เรือ ต.228 - ต.230
- เฟสที่ 2 จำนวน 6 ลำ (สถานะเข้าประจำการแล้ว) เรือ ต.232 - ต.237
- เฟสที่ 3 จำนวน 4 ลำ (สถานะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
- เฟสที่ 4 จำนวน 5 ลำ (สถานะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
- เฟสที่ 5 คือการจัดหาครั้งนี้ จำนวน 5 ลำ (สถานะอยู่ระหว่างการจัดหา)
นั่นก็คือเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้นต.228 จะมีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยจัดหาและประจำการในกองทัพเรือไทย ถือเป็นข่าวทีดีครับ
แบเรือตรวจการชายฝั่งที่จัดหาใหม่ คาดว่าจะเป็น M21 ของมาร์ซันเหมือนเดิมนั่นแหละครับ อาจจะมีการปรับปรุงเล็กน้อยบ้าง อุปกรณ์ที่ติดตั้งอาจเปลี่ยนไปบ้าง (ถ้ารุ่นเดิมไม่มีจำหน่ายแล้ว) รายละเอียดเรือประมาณนี้ครับ
http://www.marsun.th.com/product-detail.php?cid=4&id=11
M21 Calss Patrol Boat
Vessel Type: Patrol Vessel
Builder: Marsun Shipbuilding in Thailand
Structure: Aluminum
Displacement : 45 tons
Length: 21.4 m
Beam: 5.56
Draft: 1.05
Engines: 2xMAN diesel engines 1209kW@2100rpm
Propulsion: 2xFPP
Max Speed: 30+ knots
Range: 350+ nm at 15 knots
Crewt:9
Weapons:
1 x 20 mm. Machine Gun (FWD.)
1 x .50 Caliber Machine Gun with 81 mm. Grenade Launcher (Co-axial type)
แต่ที่เปลี่ยนไปแน่นอนจากเรือทั้ง 9 ลำที่เข้าประจำการแล้วก็คือ ปืนกลหลักขนาด 20 มม.นั่นเอง โดยการเอาปืนกลเก่า GAM CO-1 มาปรับปรุงคืนสภาพเพื่อใช้งานใหม่ น่าจะถอดจากเรือที่ปลดระวางไปแล้วนั่นแหละครับ ก็จะไม่มีปืน Denel GI-2 .ใหม่เอี่ยมราคา 10 ล้านบาทแบบเรือ ต.228 ในภาพนะครับ ใช้ปืนเดิมราคาก็น่าจะลดลงมาบ้าง แต่ถ้าดูจากราคาเฉลี่ยแล้วแพงกว่าเรือล๊อต 4 ลำที่กำลังต่อประมาณ 3 ล้านบาท คงเพราะเนื่องมาจากค่าแรงเพิ่มขึ้น ค่าเงินน้อยลง ค่าของแพงขึ้น อะไรประมาณนี้ ตามนั้นครับ
ย้อนกลับไปดูโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจำนวน 5 ลำในปีงบประมาณ 2559 ปรากฎว่ามีราคาเท่ากันเป๊ะเลย แต่โครงการนั้นจัดหาปืนกล 20 มม.ใหม่เอี่ยม รวมทั้งมีการซ่อมแซมปืนค.81 มม.ด้วย และการจัดหาทุกครั้งก็เป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปีเหมือนกันหมด ก็เลยมั่นใจว่าเป็นการจัดหาเรือใหม่เพิ่มอีก 5 ลำ ไม่ใช่โครงการเก่าแต่เป็นงบผูกพันแต่อย่างใด
บางทีผมก็งงเหมือนกันนะ อย่างเรือ OPV ลำที่ 2 นี่ตั้งงบประมาณ 2 ปีจนกลายเป็นวงเงิน 5 พันกว่าล้าน มืนตี๊บ...!
ผมว่างบ 5 พันล้านสำหรับเรือ OPV น่าจะเป็นวงเงินรวมทั้งโครงการโดยรวมราคากับOPV ลำแรกหรือเปล่าครับ ถ้าบอกว่าเพียงลำเดียวแล้ว 5 พันล้าน นี้ผมว่างานนี้มี someting แล้วแหละ หรือจะถ้ามองโลกในแง่ดีอาจจะมีการจัดหาระบบอาวุธดีๆมาใส่เรือเพิ่มหรือเปล่า
งบประมาณที่กองทัพเรือตั้งขึ้นเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง ในโครงการจัดหาเรือตรวจการไกลฝั่งลำที่ 2 มีดังนี้ (รายละเอียดเข้าไปดูเองนะครับ)
ปีงบประมาณ 2558
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง = 2,355,000,000 บาท
ปีงบประมาณ 2559
การจัดซื้อระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น สำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง = 360,000,000 บาท
การจัดซื้อระบบปืนรอง สำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง = 150,000,000 บาท
การจัดซื้อระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ สำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง = 1,400,000,000 บาท
การจัดซื้อระบบปืนหลัก สำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง = 370,000,000 บาท
ราคารวมทั้งโครงการ = 4,635,000,000 บาท
จำเป็นที่จะต้องยืดถือตัวเลขกลม ๆ ตามนี้ ด้วยเหตุหลัก 2 ข้อคือ
1 เป็นข้อมูลที่กองทัพเรือเปิดเผยกับสาธารณะชน จะด้วยตั้งใจหรือจำเป็นก็ตามเถอะ ถือเป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการครับ
2 ในการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละปี มีโครงการโน่นนั่นนี่มากกว่า 1 พันโครงการล่ะมั้งครับ ถ้าโครงการจัดหาเรือตรวจการไกลฝั่งตัวเลขไม่ถูกต้อง ที่เหลืออีก 999 โครงการย่อมไม่ถูกต้องตามไปด้วย แม้ว่าสิ้นสุดโครงการอาจใช้งานน้อยกว่านี้หรือมากกว่านี้ก็ตาม แต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลพวกนี้อย่างเป็นทางการ ต้องไปตามหาเอาเองจากหน่วยราชการอื่น ก็จำเป็นต้องยืดถือตัวเลขจากกองทัพเรือนี่แหละ ไม่อย่างน้นอีก 999 โครงการจะวุ่นวายไปด้วย
ส่วนเรื่องราคารวมเรือลำแรกเข้าไปด้วยหรือเปล่านั้น คนที่คิดแบบนี้จะต้องโลกสวยอย่างถึงที่สุด เพราะข้อมูลที่เผยแพร่เป็นเอกสารจัดจัดซื้อจัดจ้าง มีความชัดเจนอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เรือหลวงกระบี่เข้าประจำการ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ผ่านมา 3 ปีกว่าแล้วนะครับ
ตัวเลข 5 พันกว่าล้านของผมก็ไม่ถูกนะ เยอะเกินไปหน่อย ขออภัย
นั้นสิครับ ผมว่าราคามันนี่เกือบเท่า เรือ ฟรีเกต ที่ทร.ฟิลิปปินส์ จัดซื้อจาก Hyundai HDF-3000 MOD 2,600 ตันงบประมาณทั้งหมด 5,439.39 ล้านบาท (อ้างอิงจากกรทู้ล่าสุดของท่าน superboy) เลยนะครับ
เรือ OPV ชั้นกระบี่ 1,960 ton ลำที่สองของเรา งบประมาณรวม 4,635 ล้านบาท
ราคาค่าต่อเรือต่อตันของเรา = 2,355,000,000 / 1960 = 1,201,530 บาทต่อตัน
เรือฮุนได ดีลของ ทร.ฟิลิปปินส์ ถ้าสมมุติว่าหักราคาอาวุธ ที่ใช้แบบเดียวกันกับบนเรือ OPV ของเรือเรา 2,280 ล้านบาท (อ้างอิงจากท่าน superboy)
(5,439,390,000 - 2,280,000,000) / 2,600ton = 1,215,150 บาทต่อตัน
หมายเหตุ คืออาวุธและระบบต่างๆของเรือ HDF-3000 น่าจะดีกว่าและราคาแพงกว่าOPV เราด้วยซ้า
นั้นเท่ากับว่าต่อใช้ในประเทศเราเองแต่ราคาของเรากลับแพงกว่าเรือที่ต่อจากเกาหลีใต้ซึ่งค่าครองชีพเค้าสูงกว่าเรา อีกหรือนี่?!?
สงสัยอย่างนึงครับ คือการใช้งาน ค.81 ร่วมแกนบนเรือต.นี่มันใช้ยังไง เล็งตรงเหมือนค.40ออโต้แต่บรรจุทีละนัดอะไรแบบนั้น..?
สรุปคือเราต่อ opv ในราคาเท่ากับเรือฟรีเกต 2500 ตันเลยหรอครับ???
ราคาโครงการเรือของเราจะรวมทุกอย่างแล้ว นั่นก็คือจรวดต่อสู้เรือรบฮาร์พูนอย่างน้อยก็ 8 นัด และกระสุนปืน 76/62 มม.กับ 30 มม. จำนวนหนึ่งด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอู่ต่อเรือ ให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิมและสามารถทำงานได้สะดวกขึ้น ค่าใช้จ่ายพวกนี้น่าจะประมาณ 600-700 ล้านเข้าไปแล้ว
ส่วนเรือฟิลิปปินส์มาแต่ตัวเรือกับอาวุธครับ จำเป็นจะต้องจัดหาจรวดต่อสู้เรือรบ จรวดต่อสู้อากาศยาน ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ กระสุนปืน 76/62 มม. และ 25 มม. อะไรพวกนี้เพิ่มเติม ตีไปเลย 1000 ล้านบาทเอ้า นี่ยังดีว่าเรือเขาไม่มีจรวดต่อสู้อากาศยาน ESSM ไม่อย่างนั้นบวกเข้าไปอีก 800 ล้านล่ะมั้ง เพราะต้องซื้อทั้งจรวดและกล่องบรรจุแฝด 4 มาใส่
จะคิดให้ยุติธรรม ต้องเอา 1000 ล้านบวกเข้าไปกับเรือเขา และลบค่าใช้จ่ายเรื่องอู่ต่อเรือของเราไปซัก 300 ล้าน ถึงอย่างไรก็จะเห็นว่าเรือของเขามีราคาถูกกว่าอยู่ดี ทั้งยังมีโรงเก็บฮ.ซะด้วย รองรับ VLS ต่างหาก อันนี้โทษใครไม่ได้เลยนอกจากแบบเรือครับ ก็เราไปเอาแบบเรือของอังกฤษมาเองนี่นาทำไงได้ (นี่ก็พยายามเอาสีข้างเข้าไถ เพื่อช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้วนะ)
ส่วนปืน ค.81 ที่ติดกับปืน 12.7 มม. น่าจะมีชื่อรุ่นว่า Mk 2 Mod 0 And Mod 1 .50 BMG/81mm Mortar ท่านภูไปตามลิงค์ผมเลยครับมีการสาธิตการยิงด้วย แต่เอาคร่าว ๆ ก็คือตั้งทำมุม 60 องศาหรืออะไรก็ว่าไป บรรจุกระสุนจากด้านบน เล็งด้วยเครื่องช่วยเล็งฝั่งซ้ายมือ แล้วก็เหนี่ยวไก ตรงไหนซักแห่งเนี่ยแหละ 555 หรืออาจจะยิงเล็งตรงก็ได้ อยากเห็นภาพเคลื่อนไหวหาจากสงครามเวียตนามได้เลย เจอแล้วบอกผมด้วยนะ
http://www.n6cc.com/ptf-gunnery
http://www.eugeneleeslover.com/USNAVY/COASTAL-RIVERINE-CRAFT-ARMAMENT.html
ทำไมไม่ต่อเรือเอง ต่อเองแล้วเป็นไงครับ ในสภาวะที่หลายอย่างยังไม่พร้อมแถมต่อในจำนวนไม่มาก คำตอบคือ แพงกว่าซื้อชาวบ้านครับ พอจะซื้อก็กลับมาถามอีกว่าเมื่อไหร่จะพึ่งตนเองต่อเองดีกว่ามั้ง 55555 เอาไงดีล่ะครับ