Safran Electronics & Defense ประสบความสำร็จในการทดสอบระบบนำทางเฉื่อย Sigma 40 shipborne navigation system ซึ่งจะใช้ควบคู่กับจรวดต่อสู้เรือรบ Harpoon ที่ติดตั้งบนเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือไทย ซึ่งสร้างโดยอู่ต่อเรือเกาหลีใต้ รวมทั้งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นกระบี่ลำที่ 2 ซึ่งสร้างเองในประเทศอีกด้วย
ภายใต้สัญญาที่อู่ต่อเรือ DSME ทำกับกองทัพเรือไทย จะเหมือนการจัดหาระบบอื่น ๆ บนเรือนั่นแหละครับ นั่นคือเราจ่ายเงินอย่างเดียวจบ โดยที่ DSME จัดการทุกอย่างให้เอง การทดสอบครั้งนี้เป็นแบบ integration tests ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันจริง ๆ แล้วทดลองใช้งานจริงบนเรือ โดยเป็นการทำงานร่วมกับบริษัท Boeing ซึ่งเป็นเจ้าของจรวดต่อสู้เรือรบ Harpoon ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบสามารถใช้งานได้จริงโดยไม่มีปัญหาติดขัด
ระบบนำทางเฉื่อย Sigma 40 inertial navigation systems ใช้ระบบไจโรแบบ ring laser gyro (RLG) inertial core มีความแม่นยำในการนำทางสุง มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีขนาดกระทัดรัด ใช้งานง่าย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ปรับขนาดได้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบตรวจจับ รวมทั้งระบบป้องกันตนเองบนเรือรบ
http://www.safran-electronics-defense.com/naval-solutions/surface-vessels/navigation-systems
เป็นข่าวที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนนะครับ จึงน่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลใหม่ของเรือฟริเกตและเรือ OPV เพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้มองภาพรวมได้ชัดเจนมากกว่าเดิม Sigma 40 เป็นระบบนำทางเฉื่อยที่ได้รับความนิยมมานานพอสมควรคือ 20 ปี ติดตั้งอยู่บนเรือรบจำนวนมาก ประกอบไปด้วยเรือผิวน้ำจำนวนมากกว่า 500 ลำ และเรือดำน้ำจำนวนมากกว่า 75 ลำ อาทิเช่น เรือฟริเกตชั้น FREMM และ Horizon ของอิตาลีและฝรั่งเศส เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกชั้น Dokdo ของเกาหลีใต้ รวมทั้งเรือดำน้ำโจมตีชั้น Scorpène ของมาเลเซียและอินเดีย
ถ้าพูดว่าบริษัท Safran Electronics & Defense คงไม่รู้จักกันซักเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดว่าบริษัท Sagem น่าจะคุ้นเคยกันมากขึ้นนะครับ นอกจากระบบนำทางเฉื่อยรุ่น Sigma 40 แล้ว พวกเขายังมีผิลิตภัณท์รุ่น Sigma 95 สำหรับใช้งานบนอากาศยานอีกด้วย ไม่ทราบเหมือนกันว่ากองทัพอากาศไทยมีใช้งานบ้างหรือเปล่านะครับ
-------------------------------------------------
ลืมใส่ข่าวภาษาอังกฤษ เหอ เหอ...
Safran's Sigma 40 integration test with AGM-84 Harpoon anti-ship missile have been successful
Safran Electronics & Defense has carried out successful integration tests of the Sigma 40 shipborne navigation system with the alignment system on the AGM-84 Harpoon anti-ship missile intended for Krabi corvettes and KDX class frigates deployed by the Royal Thai Navy.
This test was carried out within the scope of a contract signed with Korean naval shipyard DSME, which builds warships. Safran also worked with Boeing, prime contractor for the Harpoon missile system.
With the success of this test, Safran’s inertial navigation systems can now be used on all of Thailand’s warships.
Safran was selected due to the reliability, quick deployment and high performance of the Sigma 40, along with its easy integration in warships. This system is also used for conventional navigation and stabilization functions on shipborne sensors and weapons.
Sigma 40 navigation systems are built around a ring laser gyro (RLG) inertial core, which guarantees sustained very-high-precision, coupled with a high degree of operational flexibility. They are compact and easy to use, with scalable hardware and software. These units also boost the performance of the ship’s sensors and its self-defense systems.
Sigma inertial navigation systems are now fitted to combat systems on over 500 warships, including the latest front-line ships such as the Charles-de-Gaulle aircraft carrier, Europe’s Fremm and Horizon frigates and helicopter carriers. In addition, Sigma units are used by Norway’s oceangoing patrol boats, as well as a wide range of attack submarines, both conventional and nuclearpowered: ULA in Norway, Collins in Australia, Scorpène and Barracuda in France.
จากเว็ป สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทางเรือ ครับ
ถ้าพิเคราะห์จากแค่ ข้อมูลในส่วนนี้...ก็น่าจะพอขยายคาาม ไปถึง โครงการ เรือดำน้ำ ได้เป็นอย่างดี...
ว่า ยุทโธปกรณ์ ที่มูลค่าการจัดหาราคาสูง...การใช้ระบบอาวุธที่มีใช้กันในหลายประเทศ ย่อมจะสร้างความได้เปรียบ...ทีจะมีสิ่งทดแทน ได้...
ไม่จำกัด ว่าต้องเป็นของ บริษัทฯ ใด บริษัทฯ หนึ่ง...และจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...
ถ้าได้ลองหลับตา นึกถึง โครงการเรือดำน้ำ จีน...ระบบสมรรถนะสำคัญ ก็จะเป็นของประเทศจีน ทั้งหมด...ไม่สามารถจะมีอุปกรณ์ทดแทน จากแหล่งอื่น ๆ ได้...ความไม่เสถียร ความไม่แม่นยำ เป็นอย่างไร...ก็คงต้องฝืนใช้กันต่อไป...
จึงไม่ค่อยแปลกใจ ว่า ทำไม การจัดหาอาวุธจากประเทศจีน จึงต้องจัดหาเป็นจำนวนมาก ๆ...คงจะเนื่องจาก ความไม่เสถียร และโอกาสเกิดความผิดพลาดสูง...
เรือรบผิวน้ำ เช่น ชุดเรือเจ้าพระยา ถ้าอยากให้คงสมรรถนะเต็มตามคุณสมบัติ คงต้องขน อาวุธนำวิถีไปเต็มจำนวนตลอดเวลา...
เพื่อสำรองชดเชยการยิง ที่เกิดข้อผิดพลาด...คือ อาจจะต้องยิงถึง 2 นัด ในคราวเดียว เพื่อความชัวส์...
เรือชุดเจ้าพระยา ก็ประสบความผิดพลาดในช่วงแรก ๆ ที่มีการยิงทดสอบ C-801...เช่นเดียวกับ ทร.อินโดนีเซีย ที่มีความผิดพลาดในการทดสอบยิง C-705
แม้แต่ปัจจุบัน เรือชุดกระบุรี ที่มีการเปลี่ยนแบบติดตั้ง C-802A รุ่นใหม่...ก็ยังต้องมีการ จัดซื้อ C-802 ดัมมี่ (จำลอง มีแต่กล่อง) เพื่อพราง...เนื่องจาก อาวุธนำวิถี ไม่คงทนต่อสภาพเดินทะเล เป็นเวลานาน...เกิดความเสื่อมเร็ว...ส่งผลต่อการใช้งานจริง...
ศึกษาดูงานมาจากองค์กรบริหารเมืองหลวงบางประเทศ
ผมมองไปที่อนาคตของ DTi แล้วสำหรับจรวดทั้งหลาย 10 ปีนี่จะเป็นรูปเป็นร่างบ้างไหมนะ ไม่ไว้ใจของจีนก็ต้องดิ้นรนทำเองให้ได้แหละ
ในความคิดของผมถ้าได้เรือดำน้ำจีนมาสามลำก็จะคงจะใส่เพิ่มเรื่อง DATA LINK ของ SaaBเพิ่มลงไปในเรือแน่ๆเพื่อสื่อสารกับข้างบน
แต่เรื่องประสิทธิภาพของอาวุธ ไม่ต้องไปคาดหวังอะไรมาก เพราะขนาดจรวดรุ่นใหม่ C705ที่อินโดฯ ซื้อมาใช้จากจีนใช้ยิงเป้านิ่งยังยิงพลาด (อ่านในบางเวป พวกติ่งจีนออกมาแก้ต่างว่าเหตุที่ยิงพลาดของทหารเรืออินโดฯ ควบคุมพิดพลาดกันเอง .....อืม เอาที่สบายใจเลย...) เพราะฉะนั้น ตอปิโดและจรวด anti ship ไม่ต้องพูดถึง คงต้องซัด เป็นคู่หรือมากกว่า เพื่อความชัวร์ เหมือนกับความเห็นของท่าน Judas นั้นแหละ ( ก็ราคามันถูกนี่เนอะ เค้าว่าอย่างนั้น ) และคงต้องใช้ความสามารถของ พลประจำเรือดำน้ำเราเองด้วย อืม...
(แต่ผมก็ยังใจชื่นหรือคาดหวังเรื่องความเงียบของเรือดำน้ำรุ่นนี้อยู่ได้บ้าง เพราะขนาดสหรัฐยังต้องส่งนายพลเรือ ลงไปดูเรือรุ่นี้ด้วยตัวเองเอ้าก็ยังพอมีดีอยู่บ้าง ถ้ามันเงียบจริงๆ )
ในสงครามจริงหลักนิยมตะวันตกก็น่าจะยิงทีละสองลูกนะครับ กันพลาด
ของจีนถ้าตามเกณฑ์นี้อาจต้องยิงสี่ ฮา
DTI 10 ปีนี่ไม่มีางครับ แค่จรวดหลายลำกล้องเรายังล่อไปเป็นสิบปี ตอนนี้ยังไม่ผลิตจริงจังเลย
ก็คิดดูว่าจีนกว่าจะก๊อปจะแกะจนมาถึงจุดนี้เขานานแค่ไหน เราคงไม่เร็วกว่าหรอกครับ
ผมว่ามันช้าเพราะระบบราชการมากกว่าครับพอมาตั้ง DTi ถึงได้เห็นรูปเห็นร่าง DTi เพิ่งจะตั้งเมื่อปี 2551 เองนะครับนี่ก็ถือว่าก้าวหน้าได้เร็วแล้ว อีกอย่างเมื่อก่อนเราเริ่มจากไม่มีอะไรเลย แต่ตอนนี้มันพอมีเค้าโครงบ้างแล้ว มันน่าจะต่อยอดได้เร็วขึ้นแน่ๆครับแต่เห็นด้วยครับว่ามันไม่ใช่ของหมูๆ
จะเป็นด้วยระบบราชการหรืออะไรก็แล้วแต่ผมพูดถึงผลลัพธ์
ยิ่งเคยอ่านจากคนที่ทำงานกับดีทีไอ เหมือนจะไม่ต่างจากเคยๆ ก็ยังเหมือนเป็นหน่วยงานในระบบ เน้นโชว์นโยบายพอพ้นสมัยพ้นตำแหน่งโปรเจ็คก็หาย
ผมก็สงสัยเหมือนกันว่าทำไมมันถึงเข้ากันไม่ได้ทั้งที่มันก็ผลิตในแหล่งเดียวกัน และก็มีคนใช้ด้วย คงจะด้วยกลัวเทคโนรั่วและมันดีเกินไปที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือว่าบล็อค2ที่เรากำลังจะมีใช้(หรือมีใช้)มันมีการถอดอะไรบางอย่างออกเพื่อให้มันเข้ากันไม่ได้ แล้วให้เราไปหาเจ้าแื่นมาเชื่อมแทน.....แค่สงสัยครับ
ผมไม่รู้ว่าที่เลือก Harpoon เพราะสาเหตุอะไร อาจเป็นเรื่องราคา ลดจำนวนแบบที่ประจำการ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะลองเปลี่ยนแบบอื่นบ้าง เช่น RBS15F ระยะยิงก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไร เยอรมัน สวีเดน ก็ซื้อใช้งาน
ถึงท่าน Rayong
Harpoon RGM84 สำหรับบนเรือผิวน้ำ ที่กองทัพเรือเราจัดซื้อมาใหม่ มันเป็น BLOCK II นะครับ ไม่ใช่ BLOCK I ตามที่ท่านเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า
อ้างอิงตามข้อมูลจากกะรทู้ท่าน superboy
http://www.thaifighterclub.org/webboard/19806/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-1%E0%B9%83%E0%B8%99-2-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.html
รุ่นติดตั้งบนเรือมาตรฐาน RGM-84D Block I =120 km.(รุ่นเก่า)
Block II มันมีหลายซีรีย์
ถ้าอย่างรุ่น RGM-84Fระยะยิงไกล = 315km
RGM-84 H/K/L ระยะยิงไกล = 278 - 280km
และในอนาคตสหรัฐมีแผนพัฒนา BLOCKIII รุ่น RGM-84M (รุ่นนี้คาดว่าระยะยิงน่าจะน้องๆ Tomahawk)
http://www.designation-systems.net/dusrm/m-84.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Harpoon_%28missile%29
คือตัว RBS15F ระยะยิงแค่ 200 km.
และ Exocet ฺBLOCKIII ที่มาเลเซียซื้อระยะยิง แค่ 180 km.
Harpoon blockII ยิงได้ไกลกว่า มัดยาวกว่า ได้เปรียบศัตรู
8นัด หรือ 9 นัด ครับ Harpoon Block II
อย่าพึ่งมโนกันไปไกลครับ AN/WSN-7 ไม่ใช่ของใหม่อะไรและเมกาเองจะเลิกใช้แล้วจะถูกINS-Rมาแทน
ตามสเป็คSIGMA 40 ก็ไม่ได้ด้อยกว่าอย่างใดนะครับ แถมติดอยู่บนตัวทอปของฝรั่งเศสทั้งหมด
Raytheon Anschutz MINS 2 มีทั้งบน ชุดร.ล.นเรศวร และเรือป้องกันภัยทางอากาศขั้นเทพอย่าง Type 45 destroyer ซึ่งทั่งสองแบบไม่ได้ติดHarpoon Block II
ส่วนHarpoonที่อยู่ในสายการผลตปัจจุบันคือBlock IIระยะยิง70 nmi (81 mi; 130 km) ตัวที่หมัดยาวคือ Block II+ ER Block II's 134 nmi (154 mi; 248 km)
ส่วนเรื่องAN/WSN-7ตามลงค์ล่างสองอันนี่เลย
"Navy shipboard navigation experts are ordering new ring laser gyros to keep the AN/WSN-7 navigation system operational for as long as possible while they develop a modern replacement for the system."
http://www.militaryaerospace.com/articles/2016/03/navigation-ring-laser-gyro.html
"INS-R"
Northrop Grumman to develop new Navy shipboard navigation system to replace ageing AN/WSN-7
http://www.militaryaerospace.com/articles/2015/12/shipboard-navigation-inertial.html
harpoon เก่าแล้วครับ โมฯไปเรื่อยๆ อเมริกาจะเลิกใช้ไปซื้อ nsm มาทำเองเป็นรุ่น jsm
ก็เหมือน aim9 นั่นแหละครับ โมจนไปรุ่น x แล้ว ส่วนคนอื่นเขาออกรุ่นใหม่หมดเลย irist-t งี้
ของฝงรั่งเศสเขาผลิต exocet เขาจะใช้ฮาร์พูนทำไมล่ะครับ ส่วนอังกฤษทำระบบรองรับ แต่ไม่มีตังติด asm
Type-45 ทยอยติดบ้องข้าวหลามได้ประมาณ 1 ปีกว่าๆแล้ว แต่ไม่ค่อยมีข่าวเท่านั้นเองว่าลำไหนบ้าง อย่างน้อยก็มีน้องดันแคนนี่แหละ (เอามาจากเรือ Type-22 ที่ปลดประจำการ ฮา...) ต่อด้วยน้องดันโปงลาง ดันกระติ๊บก็ว่าไป
ส่วน JSM ใช้ยิงจากอากาศยานไม่ใช่เหรอครับ ใช้ยิงจากเรือรบจะเป็น NSM และ VL-NSM
ถามว่าเป็นท่อยิงเปล่าๆหรือดัมมี่ไหม ?? เป็นไปได้ครับ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรทร.เราก็ทำ
ไม่เชื่อ...ไปถอดจรวดมิสตรัลบนแท่นยิงซาดรัลบนเรือหลวงจักรีออกมาดู จะเห็นได้ว่ากลางตัวจรวดคาดสีฟ้าไว้ ซึ่งจะใส่ในยามปรกติเพื่อให้ดูสวยงามน่าเกรงขาม ขณะที่จรวดจริงจะคาดสีแดง เบิกมาใส่ตอนปฎิบัติภารกิจจริงหรือไม่ก็ซ้อมยิงเท่านั้นแหละ โชดดีที่กล่องมันบังไว้เลยมองไม่เห็นว่าคาดสีไหน (ผมคงเข้าใจไม่ผิดนะ ฮ่า ฮ่า)
จริงแล้ว สำหรับ Harpoon Block II รุ่น ที่เราจะสั่งซื้อสังเกตุว่ามันไม่ได้ระบุถึงรุ่นที่เราจะซื้อ แต่เหตุที่ทางกองทัพเรือไม่ได้ระบุชัดถึงรุ่นของมัน น่าจะเป็นเหตุผลเรื่องความลับ ทางยุทธศาสตร์คือไม่เปิดเผยว่าของข้ามันยิงได้ไกลแค่ไหน อะไรประมาณนั้น
และถ้าให้ผมสัญนิฐานว่าHarpoon BlockII ที่ทร.เราจะซื้อว่าน่าจะเป็นรุ่นไหน คาดว่าจะเป็นรุ่น RGM-84G ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นส่งออก
ทั้งเกาหลี ,อียิป, UAE และไตหวัน ก็สั่งซื้อรุ่นนี้ ซึ่งระยะยิงของมันน่าจะใกล้เคียงกับรุ่น RGM-84F ที่ระยะยิงประมาณ 270-280 km
"Although the GPS-equipped Harpoon Block II was not ordered by the U.S. Navy, the missile was offered for export, and eventually ordered by several contries, including Egypt, the United Arab Emirates, Taiwan, and South Korea. These export missiles are based on the RGM-84G, and designated RGM-84L. Korea has also ordered the air-launched AGM-84L variant "
http://www.designation-systems.net/dusrm/m-84.html
ถึงท่าน dcalpha
Harpoon BlockII ระยะยิง 130 km ไม่น่าจะมีนะครับ เพราะรุ่นสุดท้ายของ Block I ชนิดที่ใช้บนเรือผิวน้ำ ก็คือ RGM-84D ที่ระยะยิง 140 km. รุ่นที่สูงกว่านั้นคือยิงได้ไกลเกิน 270 km.หมดแล้ว ( คือ Harpoon block II ที่ใช้บนเรือรบ รุ่นที่ระยะยิง 130km ช่วยระบุหน่อยครับว่าเป็นรุ่นไหน เผื่อผมไม่ทราบ )
ส่วนเรื่องที่สหรัฐฯจะเลิกใช้ Harpoon คาดว่าน่าจะอีกหลายปี ครับ เพราะลูกค้าต่างประเทศที่ใช้ Harpoon ยังมีเยอะ
แต่ถ้ามีการพัฒนาไปเป็น VL NSM จะดีมาก เพราะจะได้ใส่จรวดทุกประเภท ลงใน กล่อง VLS ซะให้หมด เรือยุคต่อๆไปจะได้ ออกแบบให้ stealth ได้ง่ายขึ้น
jsm ถูกแล้วครับ คืออะไรที่ชื่อ joint นู่น joint นี่ ของอเมริกาคือใช้ร่วมกันหลายเหล่าทัพ เช่น joint strike fighter หรือ f-35 นี่ก็ใช้ทุกทัพเรือทัพอากาศนย.
nsm มันคือของนอร์เวย์ทำใช้อยู่ อเมริกาจะซื้อมาทำมั่งก็จับคู่พาร์ทเนอร์ ใช้ชื่อ jsm ซึ่งก็เอามาใช้กับเครื่องบินด้วยแล้วก็ส่งประกวดเพื่อจะมาใช้กับเรือแทน harpoon นี่แหละ (สไตล์พี่แกจะซื้ออะไรจากต่างประเทศต้องเอามาผลิตเองตั้งชื่อตัวเองตลอด) คาดว่าจะเพิ่มระยะยิงด้วย
ภาพล่าสุดของเรือ USS Coronado LCS 4 เดินทางมาที่สิงค์โปร์
ท่านObeOne ขอพูดถึงเฉพาะ RGM-84 Harpoonที่ยิงจากเรือนะครับ
Harpoon Block II+ ER หรือ Harpoon Next Generationเป็นโครงการที่Boeingแข่งกับ Kongsberg/Raytheon ที่เสนอNaval Strike Missile
โดยทางBoeingระบุว่าระยะมากกว่า134 nautical miles(240km) มากกว่าระยะ70 nautical mile range ที่ใช้บน Block II โดยจะทำการเปลี่ยนหัวรบใหม่ให้เบากว่าเดิมและอัพเกรดเครื่องยนต์
ถ้าBlock IIระยะมันเกิน 270 km.อยู่แล้วแล้วBoeingจะมีโครงการนี้ออกมาทำไม
โดยปัจจุบันHarpoon Block I และ Block II ระบุตามเอกสารระยิงมากกว่า 67 nautical miles (124 km) แต่ไม่ได้ระบุระยะไกลสุดครับ(ที่เคยทราบคร่าวๆคือราว150-180 km)
RGM-84F ที่มีระยะยิงถึง 280 km เป็นโครงการที่นำ Block 1D มาเพิ่มขนาดความยาวเพิ่มเชื้อเพลิงในปี 1991 เพื่อให้ได้ระยะที่มากขึ้น แต่โครงการเลิกไปในปี 1993นู่นแล้วครับ
RGM-84A: Original surface vessel launched version of the Harpoon.
RGM-84C: Harpoon Block 1B upgrade introduced in 1982 that replaces the pop up flight profile with a sea skimming one.
RGM-84D: Harpoon Block 1C upgrade introduced in 1985 with increased range, selectable pop up or sea skimming mode, ECCM improvements and plottable waypoints.
RGM-84F: Harpoon Block 1D upgrade introduced in 1991 with more fuel resulting in longer body and increased range. Also as a re-attack capability. Few produced since programme was cancelled in 1993.
RGM-84G: Harpoon Block 1E conversion of Block 1C with improved ECCM capabilities and Block 1D re-attack capability.
RGM-84L: Harpoon Block 2 upgrade of Block 1E with GPS aided inertial navigation and improved hardware.
อันนี้ตามเอกสารของBoeingเลย
“Harpoon Next Generation more than doubles the range of the current Harpoon Block I and Block II missile while maintaining the same autonomous, all-weather, over-the-horizon capability to execute both land-strike and anti-ship missions”
http://www.boeing.com/resources/boeingdotcom/media/dubai2015/pdf/Backgrounders/Bkgd_Harpoon_Next_Gen_eng.pdf
อันนี้ก็James Brooks ผู้บริหารของBoeing พูดเอง
The Harpoon Next-Gen adds the prospect of improved guidance technology, a new engine and new warhead to the existing 15-foot long Navy Block II Harpoon through the use of an upgrade kit or new build effort. The technology changes the range of the weapon from 67 miles out to 134 nautical miles, said James Brooks, a Boeing director.
http://www.dodbuzz.com/2015/05/12/next-generation-harpoon-missile-offered-to-navy/
หรืออย่างทร.ออสเตรเลียก็ระบุระยะHarpoon Block II ไว้124 km
http://www.navy.gov.au/weapon/harpoon