สอบถามครับระหว่าง AN-70 / AN-178 เครื่องแบบไหน มีความใกล้เคียงในด้านภาระกิจเมื่อเทียบกับ C-130 มากกว่ากันครับ โดยส่วนตัวเห็นว่า AN-70 ใกล้เคียงมาก แต่ AN-178 จะดูทันสมัยกว่า ส่วนสมรถนะและรูปร่างก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน
AN-70
AN-178
AN-178
Il-214 ความหวังที่จะผลิตออกมาริบหรี่มากครับในอนาคตอันใกล้ เหตุอินเดียถอนตัวไปหายูเครน
ถึงแม้รัสเซียจะพยายามเดินหน้าโครงการต่อ แต่มันมีโครงการอื่นที่สำคัญกว่าน่ะครับ
ผมชอบ AN-178 มากกว่า ความแตกต่างระหว่างเครื่องเจ็ท 2 เครื่องยนต์ กับ เทอร์โบพร็อฟ 4 เครื่องยังไม่มีข้อมูล แต่ถ้าจะซื้อซื้อ AN-178 น่าจะมีเพื่อนเยอะกว่า กองทัพซาอุก็เพิ่งสั่งไป 30 ลำ เห็นว่าค่าปฏิบัติการถูกที่สุดในกลุ่มที่เข้าแข่งขัน ผมก็ไม่ทราบว่ามีบริษัทไหนหรือเครื่องแบบไหนเสนอชื่อแข่งขันบ้าง ถ้ามีเพื่อนสมาชิกจะช่วยสงเคราะห์หาข้อมูลมาแชร์ก็คงจะดี จะได้รู้ว่าซาอุเลือก AN-178 เพราะอะไรและชนะเครื่องแบบไหนบ้าง
ใบพัดน่าจะประหยัดกว่าเยอะนะครับ สำหรับประเทศเบี้ยน้อยหอยน้อยข้อนี้สำคัญ
แต่ไม่รู้ใบพัดสองชั้นแบบนี้จะทำให้ประหยัดน้อยลงไปเท่าไหร่นะ
ถ้าเป็น AN-70 ขนาดมันจะพอๆกับ Airbus A400M ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเป็นเครื่องบินที่ขนาดใหญ่มากว่าC130J-30 Super Hercules ทอ.คงเลือก A400M มากกว่าครับ
Airbus A400M เมื่อเทียบกับ C130J-30 Super Hercules
ท่าน momo นี่น่าจะ ศิษย์เก่านักเรียนช่างฝีมือทหาร (น่าจะสังกัต ทอ.) ที่มาให้ข้อมูลเองเลยครับ
ให้ข้อมูลเปรียบเทียบได้ดีมาก
เครื่องลำเลียงอรรถประโยชน์แท้ๆ ควรเป็น เทอร์โบพร็อบ อ่ะครับ ................. ส่วนประเภทเจ็ทเนี่ย พื้นฐานจริงๆคือ เค้าเอาไว้ทิ้งพลร่ม เนื่องจากเดินทางได้รวดเร็ว ถึงที่หมายว่องไวสบายผิดกัน ............ สมัยก่อนฝั่ง เมกา ก็ต้อง สตาร์ลิฟเตอร์ ซี-141 ฟาก โซเวียต ก็ อิวล์- 76 .............. สตาร์ลิฟเตอร์ ปลดแล้ว ตัวใหม่ที่มาแทนก็คือ ซี-17 นี่ไงครับ บินข้ามฟากโลกด้วยความรวดเร็ว ส่งตรงถึงที่หมายเพื่อคลี่คลายปัญหาขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นแบบส่งลงสนามบินแนวหน้า เช่นกองพลส่งทางอากาศ หรือ แบบโดดร่มลงกลางสนามรบ กองพลร่ม ที่ 82 อะไรเทือกนั้น ................... ดังนั้น ถ้าเป็นเบี้ยน้อยหอยน้อย ก็ต้อง ใบพัดนี่หล่ะครับ ประหยัดกว่า อ่อนตัวกว่า................
ย้อนไปสมัย วว-2 เครื่องลำเลียงที่ออกแบบให้มี แรมท้าย ยังไม่มีอ่ะนะ ......... การลำเลียงยุทโธปกรณ์ หนักๆ หรือพวกรถรบทางอากาศยังไม่ค่อยนิยมกัน แต่การทิ้งพลร่มเนี่ย มีมานานแล้ว เครื่องบินลำเลียงส่วนใหญ่จึงออกแบบเน้นในการทิ้งพลร่ม และธุรการ เช่น ดาโกต้า หรือ ซี -119 ................. จนหลังสงครามโลก หลักนิยมการส่งกำลังทางอากาศ (ส่งลงส่วนหน้า)เริ่มขึ้น เริ่มมีการทิ้งยุทโธปกรณ์ทางอากาศ เครื่องลำเลียงจึงเริ่มเปิดท้ายได้ ตัวดังๆ ก็ นี่เลย ซี-123 โพรไวเดอร์ .............. ในช่วงหลัง การพัฒนาไปถึงขั้น เปิดประตูทางด้านหน้าได้ อันนี้เป็นการส่งอาวุธหนักลงสนามบินส่วนหน้า ตัวเจ๋งๆก็ ซี-5 แอน 122 หรือ แอน-226 แม่สาวไซส์ยักษ์
C-47
C-123
เปรียบเทียบชัดๆ ระหว่าง แฟนเก่า กับ แฟนใหม่ ซี-141 และ ซี-17 ไซส์ บิ๊กบึ้ม ต่างกัน
แหม่....... จะว่ากันไป ซี-119 แม้ประตูท้ายเปิดออกเหมือน เรือ แอลเอสที ............แต่ภาพ พี่แกเล่นถอดประตู แต่ก็ยืนยันว่าทิ้งข้าวของหนัก ลงได้บ้างแล้ว ..........
เพิ่มเติม นี่เป็นความรู้ใหม่ แก่จนขนจะหงอกแล้ว ซี -119 พัฒนาและประจำการหลัง วว.2 แม้ ตอน นอมังดี จะมีแค่ดาโกต้า ทิ้งพลร่ม แต่เดิมคิดว่า เจ้า ซี-119 นี้ บินได้ก่อนสงครามโลกจบ .... เป็นอันว่าเข้าใจผิดมาร่วม 30ปี
เครื่อง Turboprop ที่ใช้ใบพัดมันก็เครื่องเจ็ทแบบหนึ่งเหมือนกันแหละครับ เรื่องประหยัดมากกว่าหรือน้อยกว่า Turbofan มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเอาเครื่องรุ่นไหนขนาดเท่าไหร่มาเทียบกันมันหาค่าที่แน่นอนชัดเจนยาก เครื่อง Turboprop บางรุ่นเทียบกับ Turbofan บางรุ่นก็ประหยัดกว่ามากๆ 3-5 เท่า แต่บางรุ่นก็ถ้าเอามาเทียบก็ไม่ได้ประหยัดกว่ามากนัก แต่ที่เครื่อง Turboprop แพ้แน่ๆเลยคือเรื่องความเร็ว ซึ่งก็ต้องเอามาคำนวนด้วยว่าเครื่อง Turboprop บริโภคน้ำมันชั่วโมงละ 1000 ลิตร บินจากจุด ก. ไปจุด ข. ใช่เวลา 2 ชั่วโมงเท่ากับ 2000 ลิตร แต่เครื่อง Turbofan บริโภคน้ำมัน 1500 ลิตร แต่ใช้เวลาบินจากจุด ก. ไปจุด ข. ใช้เวลา 1 ชั่วโมง กลายเป็นว่าเครื่อง Turbofan ใช้น้ำมันแค่ 1500 ลิตรถึงที่หมาย ผมยกตัวอย่างเลขกลมๆให้พอเข้าใจน่ะครับ เทียบกันจริงๆเทียบยาก แต่ที่แน่ๆคือเครื่อง Turbofan บินได้เร็วกว่าและส่วนมาก จะระยะไกลกว่าเครื่อง Turboprop ด้วยครับ ยิ่งเครื่อง Turbofan 2 เครื่อง กับ Turboprop 4 เครื่อง อย่าง KC390 เทียบกับ C-130J ยิ่งเทียบกันลำบากใหญ่ผมพยายามหาข้อมูลเปรียบเทียบให้ชัดๆแต่ยังหาไม่ได้เลย
ส่วนเรื่องที่ผมเสนอ AN-178 ผมก็ไม่ได้ว่ามันดีกว่าหรอกครับแต่ราคามันยั่วยวนราคา 40-70 ล้าน US เทียบกับ C-130 ตัวล่าสุดที่เคาะราคามาประมาณ 100-120 ล้าน US เราจะซื้อ AN-178 ได้ 3 ลำต่อ C-130 1 ลำเลยผมก็กะว่าจะเอาปริมาณมาอุดช่องว่างเรื่องสมรรถนะน่ะครับเพราะมันก็ไม่ได้ต่ำเตี้ยเรี่ยดินขนาดโหล่ยโท่ย แต่ก็เห็นด้วยเรื่อง Load มันน้อยไปหน่อย แม้แต่ Y-9 ยังอยู่ในแคนดิเดทก็พิจารนาตัวอื่นร่วมๆไปก็ดีครับเสียดาย Y-9 ยังหาราคาเคาะขายไม่ได้ถ้ารู้ราคาจะดีมากเลย
AN-178 ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำระยะบินตอนบรรทุกเต็มพิกัดมันถึงง่อยนัก แต่พยายามหาหลายๆเว็บก็ให้ข้อมูลตรงกัน เหมือนทาง Antonov ต้องการให้มันเป็นแค่เครื่องขนส่งระยะใกล้ เรื่องลำตัวเล็กกว่าไม่เถียงเลยครับมันคงแทน C-130 ไม่ได้แต่ผมคิดว่าถ้าปกติแล้ว C-130 เป็ยม้างานหลักในด้านการขนส่งของกองทัพอากาศ อย่าง C-130J นน. บรรทุกที่ 20 ตัน กับ AN-178 นน.บรรทุก 18 ตัน มันพอจะถูไถไปกันได้อยู่ เทียบกับราคาค่าตัวด้วยแล้ว ถ้าจะเอา AN-178 มาเป็นม้างานแทน C-130 ในเรื่องเบาๆ มันก็น่าจะได้อยู่ติดตรงระยะการบินที่มันง่อยไปหน่อยเนี่ยแหละถ้ามันบินได้ไกลๆนะ ผมเชียร์สุดตัวเลย
ความอ่อนตัวที่เพื่อนกล่าวมาก็ส่วนหนึ่งครับ ............... แต่ที่ชัดเจนกว่าคือการใช้งานในสถานการณ์สมบุกสมบัน โดยเฉพาะสนามบินที่ใช้ขึ้นลงครับ .............. เราจะสังเกตว่าเครื่องพร็อพมันลงได้กับสนามบินทุกแบบจริงๆ อย่างซี-123 ,ดาโกต้า เครื่องสูบดาว เนี่ย ย้อนไป 35 ปีที่แล้วสมัยเด็กๆ ผมเห็นบินลงสนามบินแม่สะเรียง สนามบินหนองคาย พื้นเป็นขี้หินแห่ (ลูกรัง) ขี้ไหง่กุ๊บ (ฝุ่นตลบ) ลูกหินปลิวกระเด็นกระดอนก็ลงได้...............ซี-130 เทอร์โบพร็อพ ก็ทำได้ พิสูจน์แล้วหลายสงครามทั้งเวียตนามและหลายๆที.................. แต่เราจะไม่ค่อยเห็นเครื่องเทอร์โบแฟนทำอย่างนี้มากนัก เคยเห็นไม่กี่ครั้งในการสาธิต ซี-17 แต่เห็นแล้วจริงๆอยากบอกว่า เป็นห่วงสุขภาพมากๆ ............. เทอร์โบเจ็ทไม่ต้องพูดถึง น้อยมากที่เห็นลงสนามลูกรัง .................ยกเว้นฉุกเฉิน
https://youtu.be/A8tqCrMWCQE
บรรยากาศเดียวกันกับเมื่อ สามสิบห้าปีก่อนเด๊ะ
มันไม่ใช่เรื่องเคลียแร้นซ์นะครับ แต่มันเป็นเรื่องของความบอบบางของใบพัด รวมถึงโอกาสที่วัตถุจะกระเด็นเข้าคอมเปรสเซ่อร์ ....กรณี ซี-130 ดู แอร์อินเทค มันสูงจากพื้นมาก รูก็นิดเดียว ............ ซี-17 นี่ตอนเร่งเครื่อง คุณพี่เล่นดูดละอองน้ำจากพื้นขึ้นเป็นเกลียวเลยทีเดียว และเคยเห็นใบพัดของเครื่องเทอร์โบแฟนมั้ยครับ ยังกะแผ่นมู่ลี่บังแดดห้องทำงาน.................
มีลำเลียงแบบเจ็ท พยายามจะลดจุดด้อยตรงนี้ โดยยกเครื่องยนต์ขึ้นไปให้สูง ปรากฎว่า ไอผาย (ไอที่พ่นออก) อยู่เหนือด้านบนของปีก ซึ่งตรงนี้มีผลมากต่ออากาศพลศาสตร์ ครับ
https://youtu.be/CI8Hl9REDqw
AN-178 ก็บอกว่าลงทางฝุ่นได้เหมือนกันครับ เหมือนเคยดูสัมภาษณ์คนออกแบบเขาบอกเขาออกแบบให้เครื่องมันยื่นมาด้านหน้าอีกเพื่อไม่ให้โดนฝุ่นหรือเศษหินที่กระเด็นหรือปลิวมาจากฐานล้อได้ง่ายๆ แล้วก็เพิ่มความทนทานของตัวเครื่องยนต์ให้ทนฝุ่นทนหินด้วยเขาว่างั้นแต่ยังไม่มีภาพทดสอบลงรันเวย์ที่เป็นทางฝุ่นเลย ไม่รู้ลงได้จริงหรือขี้โม้กันแน่ แต่เครื่องสายโซเวียตเก่ามักจะมีคุณสมบัติการลงจอดรันเวย์ที่สภาพแย่ๆเยอะกว่าฝั่งตะวันตกครับ ทั้งมิก ทั้งซู และอีกหลายๆรุ่นของโซเวียตเขาบอกลงทางฝุ่นกันมาแล้วทั้งนั้น ขอให้มันเรียบและแข็งพอเถอะ เพราะรันเวย์ประเทศในกลุ่มโซเวียตไม่ค่อยจะดีกันซักเท่าไหร่
ส่วนเรื่องระยะการบินของ AN-178 เห็นว่าถ้าโหลด 15 ตันก็บินได้ 2000 กิโลเลยซึ่งมันก็น่าจะครอบคลุมทั่วไทยได้แต่มันก็แทน C-130 ไม่ได้จริงๆนั่นแหละ แต่มันก็น่าสนใจนะผมว่า
ดาโกต้า ปรับ ทรัส รีเว้อรสเซ่อ ไม่ได้ แต่ถ้าเป็น ในภาพคือ ดีซี-6 ปรับพิช ให้เกิด รีเหวิร์ส ฝุ่นจะออกด้านหน้าตลบ และขอให้มั่นใจได้เลย มันไม่ได้มีแค่ฝุ่นหรอก เศษดินเศษหินปลิวออกไปรออยู่ด้านหน้าด้วยแล้ว และลองนึกนะครับ ว่าเป็นเครื่องเทอร์โบแฟน มันจะเสี่ยงแค่ไหน แต่ถ้าเป็นสูบดาว หายห่วง ค่อยบ่ยั่น เพราะไม่มีรู ซี-130 อาจกลัวนิดหน่อย อาศัยว่ารูเล็ก แถมมีวงใบพัดหมุนอยู่ด้านหน้า ช่วยลดโอกาสซวยได้บ้าง แต่เป็นเทอร์โบแฟน นี่เต็มๆ.............ในคลิบ จะเห็นว่า ซี-17 ไม่ปล่อย ทรัส รีเวอร์เซ่อร์ครับ ...... ทีนี้นักบินก็ต้อง เชนเกียร์ เลี้ยงครัช สิครับ............รออัลรัย และทีสำคัญ เดือดร้อนคนเตรียมสนามบินสิครับ ต้องยาวพิเศษ เพราะพี่เล่นแตะเบรค แต่ปล่อยรีเหวิส ไม่ได้ เห็นยัง ข้อนี้ใครอ่อนตัวกว่ากัน
https://youtu.be/A8tqCrMWCQE
https://youtu.be/dLtBlQbwShY
ครับๆ
จริงด้วย ของเขาดีจริงๆ
คือผมดูคลิบอื่นนะครับ ไม่ได้ดูของคุณ เพราะเปิดไม่ได้ คือไม่ได้ว่าโง้นงี้นะครับ ดูมันเหมือนจะเปิดไม่สุด ถ้าสุดๆต้องแบบนี้ เปิดปุ๊บ เบรคหัวปักเครื่องหยุดแทบจะทันที .... คลิบ รัฟรันเวย์ นักบิน ใช้เบรคที่ล้อมากกว่าทรัส รีเวอร์ส ครับ
https://youtu.be/eV7YkWIqM0w
หรือยังไงถ้าเห็นอันไหนชัดเจนก็ลองเอามาลงดูครับ
เพิ่มเติม..........
โอเค เห็นแล้ว คลิบนี้ เปิดสุดๆ ของเค้าดีจริงๆ
https://youtu.be/F22F0aQBqwY
ด้วยความใหญ่ เครื่องยนต์จึงอยู่สูง ไอผายจึงห่างจากพื้น ฝุ่นเลยไม่ฟุ้ง แล้วทีนี้ ถ้าไม่ใหญ่เหมือน ซี-17 หล่ะ จะฟุ้งมั้ย ลองหาคลิบ.....
ในแบบ พร็อพ สะใจ.................. หินเหิน กระเด้งกระดอน เดชะบุญ ไม่โดนสายเบรค
https://youtu.be/PKs3jbLdZ0o
อย่างน้อย คลิบนี้ แสดงให้เห็นว่า พร็อพ กล้าปรับพิทชของใบพัดให้เครื่องถอยหลังกลางหินและฝุ่น แต่กล้าท้าว่า ซี-17 ไม่กล้า.......
แสดงให้เห็นว่า ทรัส รีเวอร์เซอร์ ของเจ็ท จะกระจายแรงออก ไม่กระโตกกระตาก(ทิศทางการกระจาย)เหมือนการปรับพิทช ของพร็อพ ดังนั้นฝุ่นจึงไม่ฟุ้งมาก แต่อย่าลืมว่า การเร่งเครื่องหนักๆ กรณีเครื่องเจ็ท มีโอกาสดูดของแข็งจากพื้นขึ้นไปได้ ขนาด ซี-17 อินเทคอยู่ห่างพื้นมาก ยังมีเกลียวอากาศแสดงการดูดขึ้นไปได้ ส่วนพร็อพ ตัดปัญหาได้เลย เมื่อเร่งเครื่องหนักไม่ได้ ทางลง ทางขึ้น ก็คงต้องยาวขึ้น ข้อนี้สำคัญครับ
คือที่เรากำลังถกกันนี่ เป็นเรื่องของ เครื่องลำเลียงที่ใช้เครื่องยนต์เปรียบเทียบระหว่าง แฟน หรือ พร็อพ อันไหนอ่อนตัวกว่ากัน โดยใช้ตัวแสดงคือ 400 เอ็ม กับ ซี-17 อยู่ไม่ใช่หรือครับ...??? ทั้งหมดหล่ะครับ ไม่ว่า ทั้งแฟน ทั้ง พร็อพ ทำแบบนี้ เสียของหมดนั่นหล่ะครับ .......... ทีนี้ ลองมาถกเป็นข้อ
1. บอกว่า ใบพัดของพร็อพจะดูดหินเข้าคอมเปรสเซ่อร์ = แล้วของแฟนไม่ดูดหรือครับ
2. ใบพัดของพร็อพ อันเบ้อเร่อ มีรูอินเทคนิดเดียวอยู่ข้างหลัง กับของแฟน ใบพัดทั้งหมดอยู่ในทรงกระบอกปิดอันเบ้อเร่อ ว่ากันด้วยหลักแรงและความดัน รูอันไหนมีโอกาสดูดวัตถุเข้าได้มากกว่ากัน
3.ผมหล่ะว่า ใบพัดของพร็อพ มันน่าจะแข็งแรงกว่าแฟนนะครับ อีกอย่างในคอมเปรสเซอร์ ผมว่าถ้าทราย ดิน หิน เข้าไปบ่อยๆ มันก็เจ๊งทั้งนั้นแหล่ะ แต่ในทางยุทธวิธี เกิดวิกฤติที่จะต้องนำเครื่องลงบนรันเวย์บ้านๆ สั้นๆ อันไหนจะแลนด์แล้วไม่เลยลงปรักท้ายสนาม หรือดูดเอาหินเข้าไปในเครื่องจนพัง ตอนขึ้นก็อัดเต็มแม็กซ์ ไม่ใช่ยั้งมือเพราะกลัวดูดเอาหินเข้าไปจนสำลัก หัวปักไม่ทันเชิด โดน ผู้ก่อการร้ายจับเป็นเชลย
4.เกลียวลมที่พุ่งขึ้นนั้น แสดงให้เห็นทิศทางของการดูดครับ ลองคิดดูว่า เจ้าเกลียวนั้นดูดก้อนหินขนาดกำมือขึ้นไปสิครับ
5.การถอยหลังโชว์ จากท่าเดินหน้า มันต้องเร่งเครื่องให้สุด นั่นแหล่ะเป็นการวัดว่า ท่านกล้าเร่งสุดๆขณะเครื่องหยุดอยู่กับที่มั้ย กลัวการดูดมั้ย ถ้ากลัว แสดงว่าตอนเทคออฟ พี่ก็ไม่สุด ต่างจาก พร็อพ มั่นใจว่าดันคันเร่งหมดแม็กซ์
ผมหล่ะว่า ซี-17 นี่ก็ ก๋ากั่น เกินมาตรฐานเครื่องแฟนเป็นที่สุดแล้วครับ ขนาดกล้าลุยหิน ลุยฝุ่นได้ขนาดนั้น ......ซึ่ง จะว่ากันด้วยขนาด เอา 400 เอ็ม มาเปรียบกับ ซี-17 ก็ดูเหมือนจะเอาเปรียบแบบหลังอยู่สักหน่อยเสียด้วย................... แต่มีแฟนตัวไหน ที่อยู่ในคลาส 400 เอ็ม และ มั่นใจว่าทำได้ดีเท่านี้บ้างครับ
เอาหล่ะครับ มาถกต่อ ............... ผมชักรู้สึกเหมือนตัวเองเมากาว หาจับหลักไม่ได้เลย จึงขอไล่เรียงใหม่
คือว่า เรากำลังถกกันในประเด็นการเลือกเครื่องบินขนส่งขนาดปานกลาง ทดแทน ซี-130 ซึ่งกำลังมองว่า ระหว่างเครื่องพร็อพ กับ แฟน อันไหนเหมาะกว่ากัน .... อันนี้น่าจะจริง คงยังไม่เมากาวมาก............. ประเด็นต่อมาคือ ตามความต้องการของกองทัพอากาศ เครื่องที่จะมาแทนนี้ต้องมีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือดีกว่า ซึ่งหนึ่งในความต้องการนั้น คือขีดความวามารถในการลงรันเวย์สั้น และมีลักษณะไม่เอื้ออำนวย ...................... ท่านอาจค้านว่า ในไทยคงหาสนามบินอย่างนั้นยาก แต่อย่าลืมว่า ประเทศใกล้ๆเรายังมีสนามบินอย่างนี้อีกเยอะ วันดีคืนดีสถานการณ์ตึงเครียด เครื่อง ทอ. อาจต้องไปลงเพื่อส่งทหาร อาวุธ หรือ รับพลเรือนอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเหมือนตอนปัญหาบ้าบอคอแตกในเขมร ท่านนายกในตอนนั้นต้องจัด ซี-130 ไปรับเป็นการด่วน (ดีที่สนามบินที่ลงมาตรฐาน)........
เอาหล่ะ มาที่เรื่อง การขึ้นลงสั้นและขรุขระ.... มีต่อ
คุณลักษณะเครื่องบินจะลงทางวิ่งสั้นและขรุขระได้มีหลายอย่าง แต่เรามาถกในกรณีที่ค้างคาใจกันเป็นกรอบ ............... ประเด็นคือ การลงพื้นที่สั้นนั้น จะต้องอาศัยความเร็วร่อนที่ต่ำ (ปีกใหญ่แฝล่บกว้าง) มีระบบหน่วงหยุด ซึ่งในที่นี้คือระบบ เบรคและ รีเวอร์สเซอร์ .............. กรณีเทคออฟ ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีแรงขับที่สูงมาก ปีกมีแรงยกมาก ....................... ประเด็นสุดท้าย ที่กำลังถกเถียงกัน คือเรื่องความปลอดภัย จากวัตถุกระเด็นโดนเครื่อง ซึ่งตอนนี้เราจะเอาในส่วนแค่เบลด กับเครื่องยนต์.............
โอเค เอาหล่ะครับ แยกมาเป็น 3 อัน แต่จริงๆ เรื่องมันก็มีอยู่อย่างเดียวหล่ะครับ คือ เราจะเปรียบเทียบความปลอดภัยในกรรมวิธีทั้ง 3 เมื่อต้องเร่งรอบเครื่องสุดๆ ให้บรรลุการลงและขึ้นแบบสั้นๆ................. มีต่อ
แยกให้เห็นภาพดังนี้นะครับ
วัตถุที่จะสร้างอันตรายให้แก่เครื่องบิน (โดยเกิดจากการกระทำของตัวเครื่องบินเองนะครับ) เกิดได้จาก
1.การดีด กระเด้ง จากล้อยางที่แตะสัมผัส ในกรณีล้อหน้านี่ อันตรายต่อเครื่องยนต์มาก ข้อนี้ พร็อพ แฟน โอกาสเท่ากัน เสมอกัน(อาจลดลงได้โดยติดบังโคลน(บังหิน))
2.เกิดจากการดูดเข้าของแรงสู่เครื่องยนต์
3.เกิดจากการเป่า ฟุ้งกระจายของแรงลม
อ่อ เถียงกันแทบตายนี่ เรากำลังพูดถึงวัตถุแข็งที่เป็นอันตราย ฝุ่นที่เป็นผงนี่เอาไว้ก่อนนะครับ
ครับ เรามาแตกประเด็นกันในข้อ 2 และ 3
อันแรกกรณีการดูด ผมถามว่า
1.ความเสี่ยงในการดูดวัตถุ เข้ามาชน เบลด ระหว่าง พร็อพ กับ แฟน อันไหนมากกว่ากัน
2.ความเสี่ยงในการดูดวัตถุ ผ่านช่องอิเทค เข้าไปในเครื่องยนต์ เข้าไปโรเตอร์ สเตเตอร์ ระหว่าง พร็อพ กับแฟน อันใหนมากกว่ากัน.... มีต่อ
มาอันที่ 2 เรื่องของการเป่า
ตามที่เห็น เราแยกการเป่าได้เป็น 2 แบบ คือ
1.เป่าไปด้านหลัง กรณีนี้ ทั้ง พร็อพ และ แฟน เสมอ การเป่าแทบไม่มีอันตรายต่อ เบลด และเครื่องยนต์
2.เป่าไปด้านหน้า อันนี้แหล่ะ สำคัญ การเป่าไปด้านหน้าของ แฟน ยอมรับว่าเนียนมาก ฝุ่นไม่มีปลิวขึ้นมาเลย แต่ของพร็อพ ยอมรับว่าอยู่ในเกณฑ์เลอะละ ถามว่า
2.1 โอกาสการเป่าฟุ้งแล้ววัตถุชนเบลด พร็อพ กับ แฟน อย่างไหนมากกว่ากัน
2.2 โอกาสการเป่าฟุ้ง แล้ววัตถุกระเด็นผ่านเข้าไปใน สเตเตอร์ โรเตอร์ พร็อพ กับแฟน อันไหนมีโอกาสมากกว่ากัน
เอาหล่ะครับ จึงขอตั้งประเด็นนี้ขึ้นมาถก
อ่อ ฟังดูคล้ายว่า หินจะเป็นอันตรายต่อเบลดของพร็อพ อย่างมาก ถึงขนาดเสียศูนย์ เครื่องสั่นและตก แต่ผมยังไม่ได้ยินจากท่านเลยว่า หินก้อนเดียวกันนั้น ซึ่งกระเด็นไปด้วยความเร็วเท่ากัน กระทบโดนเบลดของของแฟน มันจะเสียหายร้ายแรงหรือไม่อย่างไร หรือท่านมั่นใจว่า มันจะไม่เสียหาย ข้อนี้สำคัญ และเป็นจุดตายนะครับ มวยชกดี แต่คางกระจก ที่สุดก็ไปไม่ถึงดาวนะครับ............ ที่พูด ก็ไม่ใช่ว่าอะไรหรอกครับ ไอ้เรื่องเทอร์ไบน์รอบจัดๆนี่ ก็พอจะอยู่ใกล้ๆมาบ้าง โรงไฟฟ้าที่ทำอยู่ รันด้วยเทอร์ไบน์รอบจัด ซึ่งอะไรที่มันรอบจัดๆเนี่ย เวลามันไม่บาล้านซ์แล้วน่าหวาดเสียว ที่สำคัญคือใบมันบางๆเหมือนใบแพนนี่หล่ะครับ ผมจึงรู้สึกเหมือนว่า ไอ้เจ้าแฟนมันน่าจะอ่อนไหวเหมือนหัวใจแม่สาวน้อยกำดัดเสียนี่กะไร
เอ้าเริ่มถกกันตามนี้ดีมัยครับ....
ครับ เมื่อเคลียคำถามทั้งหมด ทีนี้เราจะเห็นภาพตั้งแต่ เครื่องแตะพื้น ล้อหน้แตะ นักบินเบรค ปล่อยทรัสท รีเวอร์สเซอร์/ปรับพิทช จนถึงเครื่องหยุด ถ้าสนามบินแคบ กลับลำไม่ได้ อาจต้องมีการถอยหลัง แท็กซี่ ปล่อย/รับสัมภาระ แท็กซี่ ตั้งลำ เดินเครื่องที่ฟูลเพาเวอร์ เทคออฟ ............. ครับ แล้วเราจะเห็นภาพ ...................... เพื่อนๆ ท่านอื่น มาช่วยกันก็ได้นะครับ ทำเป็นเวอร์คฉ็อบ เลย 555555