หากย้อนกลับไปสมัย วว.2 การแยกแยะ คุณลักษณะ ชั้นและขนาดเรือรบผิวน้ำ เป็นไปดังนี้
1. เรือลาดตระเวน จัดเป็นเรือรบผิวน้ำที่ครบเครื่องที่สุด พิสัยรบไกล มีความทนทะเล ความเร็วสูง (ไม่ต่ำกว่า 30 น้อต) ติดตั้งปืนคา
ลิเบอร์ใหญ่แตกต่างกันตามระวางขับน้ำ มีตอปิโดใช้เป็นอาวุธต่อสู้เรือผิวน้ำได้อีกทาง นอกจากนี้ยังมีระเบิดลึกต่อต้านเรือดำน้ำ ปืน
ต่อสู้อากาศยาน จึงถือเป็นเรือทำการรบได้ครบ 3 มิติ
1.1 เรือ ลาดตระเวนเบา ระวางขับน้ำ 4,000 – 6,000 ตัน ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว จำนวน 6- 9 กระบอก ...........
อเมริกันประยุกต์ ติดตั้งด้วยปืน 5 นิ้ว 12 กระบอก ใช้ป้องกันอากาศยานให้กองเรือเรียกเป็น เรือ ลว.เบาป้องกันภัยทางอากาศ
ในตอนท้ายของสงคราม อเมริกันนำเรือลาดตระเวนขนาด 12,000 ตัน มาติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 12 -15 กระบอก แล้วเรียก
เป็น เรือ ลว.เบา ........... จริงๆแล้วต้องบอกว่าไม่เบาหรอกครับ ด้วยระวางขับน้ำ มันอยู่ในชั้นลาดตระเวนหนักเลยหล่ะ เพียงแต่ว่า
ปืน 6 นิ้ว ที่ติดตั้งนั้น มันเล็กกว่ามาตรฐานอาวุธของเรือลาดตระเวณหนัก แต่กระนั้นก็มีข้อดีก็คือ มันติดได้เยอะกว่าปืนขนาด 8 นิ้วรุ่น
เก่า จากที่ติดได้แค่ 8-9 กระบอก ก็กลายเป็น 15 กระบอก ถึงจะเล็กแต่จำนวนกระสุน “ชุก” ขึ้น
1.2 เรือ ลาดตระเวนหนัก ระวางขับน้ำ 8,000 – 12,000 ตัน ปืนมาตรฐานขนาด 8 นิ้ว 8-12 กระบอก บรรทุกเครื่องบินทะเลใช้
ลาดตระะเวนได้ด้วย ............. ญี่ปุ่นดัดแปลง ถอดป้อมปืนท้ายออก ทำเป็นดาดฟ้าให้เครื่องบินใช้ขึ้นลงได้ ก็เก๋ไปอีกแบบ จัดเป็น
ไมโคร แอร์แครฟ แคริเออร์ ไปเลย.................
1.3 เรือ ลาดตระเวนประจัญบาญ ระวางขับ 25,000 - 50,000 ตัน อาวุธปืน ตั้งแต่ 11 นิ้ว ไปจนถึง 16 นิ้ว ............... ข้อแตกต่างระหว่างเรือ ลว. ประจัญบาน
กับ เรือประจัญบาญ คือ ความหนาของแผ่นเกราะและความเร็ว เป็นที่แน่นอนว่า เรือประจัญบาน มีเกราะที่หนากว่า น้ำหนักมากกว่า ความเร็วก็ต้องน้อยกว่า (เน้นถึก ไม่เน้นเร็ว)
เรือ ลว.ประจัญบาญ ที่มีชื่อเสียงก็คือ เอชเอ็มเอส ฮู้ด เรือธงแหงราชนาวีอังกฤษ ติดตั้งปืน 15 นิ้ว 8 กระบอก ระวางขับ
น้ำ45,00 ตัน ความเร็ว 31 น้อต ( ภายหลังพยายามยกระดับเป็นเรือ ประจัญบาน โดยเพิ่มแผ่นเกราะป้อมปืนและด้านข้าง ความเร็วจึงลด
ลงเหลือเพียง 28 น้อต) และเป็นเธอนี่แหล่ะที่หาญกล้าท้าตบกับ นังภูติร้ายพราวเสน่ห์ บิสมาร์ค ในขณะที่ ฝ่ายหลังมีระวางขับ
42,000 ตัน ความเร็ว 30 น้อต ปืน 15 นิ้ว 8 กระบอก
เป็นคู่ตบที่สมน้ำสมเนื้อกันทุกกระบวนท่า............. หลังจากต่างฝ่ายจิกเล็บ กระชากผม แลกตบกันเป็นที่น่าหวาดเสียว
บิสมาร์คก็ปล่อยทีเด็ด ขว้างกำปั้นทิ้งจากหัวไหล่ กระทบกระโดงคาง ฮู้ด เหมาะเจาะ เสียงสนั่นดัง “พล็อก” !!! คู่ตบถึง
กับชงัก ทรุดฮวบลงขณะมือข้างหนึ่งยังคว้าอยู่ที่เรือนผม ทันใดนั้น สันหมัดซ้ายที่ลืมแบของบิสมาร์ค ก็ถูกเหวี่ยงวาด
เป็นวงโค้ง กระทบซ้ำเข้าที่โหนกแก้มด้านขวาอย่างจัง ฮู้ด กระเด็นล้มหัวฟาด สำลักเลือดแดงฉานที่พุ่งออกทั้งปาก
และจมูก ชักเกร็งตาค้าง ลาโลกไปในที่สุด..................
มีเรือ ลว. ประจัญบาญที่น่าสนใจอีกนางหนึ่ง คือ การฟสปีย์ ของเยอรมัน เธอมีรูปร่างค่อนข้างแคระ คือราว 18,000 ตัน
แต่ถูกติดตั้งด้วยปืนขนาด 11 นิ้วแท่นคู่ 2 แท่นหัวท้าย เธอมีฉายาว่า เรือประจัญบาญกระเป๋า
2. เรือประจัญบาน เป็นเรือรบที่พัฒนาต่อจากเรือ พรี เดรดน้อจ์ท ยุคสงครามโลก วว.1 จนมาถึง เดรดน้อจ์ท และกลายเป็นเรือ
ประจัญบานในที่สุด ..................จัดเป็นเรือ ทน ถึก มีเกราะป้องกันตัวที่หนาเตอะ ระวางขับน้ำ 30,000- 60,000 ตัน ความเร็วระหว่าง
24 – 28 น้อต ติดตั้งปืน ขนาด 14- 18 นิ้ว เป็นเรือที่ยากจะหาคู่ต่อสู้ที่ประมือได้
3. เรือรบขนาดเล็ก จัดเป็นชั้นเรือเล็กที่ข้ามมหาสมุทรไปกับกองเรือได้ แบ่งเป็น
3.1 เรือพิฆาต ระวางขับน้ำระหว่าง 2,500 -4,000 ตัน ความเร็ว 28- 30 น้อต แผนแบบหลักเพื่อใช้รบทางผิวน้ำ ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด
4 นิ้ว – 5 นิ้ว มี ตอปิโดต่อ ระเบิดลึกและอุปกรณ์สงครามใต้น้ำ ด้วยความเร็วสูง จึงติดตามกองเรือไปในที่ต่างๆ และยังใช้เป็นส่วน
ระวังป้องกัน หรือเรือฉาก ให้กับเรือใหญ่ด้วย
3.2 เรือพิฆาตคุ้มกัน เรือดำน้ำเป็นภัยคุกคามน่ากลัวที่สุด โดยเฉพาะต่อคอนวอยขนส่งยุทธปัจจัย เรือสินค้ามักตกเป็นเป้าของ
เหล่าฉลามใต้สมุทร ...................... เพื่อป้องกันการโจมตี เรือพิฆาตคุ้มกันจึงรับหน้าที่ เปรียบเช่น หมาเฝ้าฝูงแกะ ........................
ระวางขับน้ำ 2,000 – 2,500 ตันเพียงพอจะฝ่าคลื่นลมไปไกลเท่าที่เรือดำน้ำข้าศึกจะออกปฏิบัติการได้ ความเร็วไม่มากนัก คือ
ประมาณ 20 – 25 น้อต เพียงพอเพื่อเกาะติดไปกับเหล่าเรือสินค้า อาวุธคือระเบิดลึก และอุปกรณ์ตรวจจับใต้น้ำ ปืนเรือ 3 นิ้ว
ใช้ยิงผิวน้ำและยิงระดมฝั่ง
หมายเหตุ ............... อเมริกัน เรียกเป็น เดสทรอยเย่อร์ เอสคอร์ด หรือ เรือพิฆาตคุ้มกัน แต่ตำราอื่นโดยสากล เรียกเรือ
ฟรีเกต...................
3.3 เรือ คอร์เวต วัตถุประสงค์ใช้งานเหมือนเรือฟรีเกต แต่ระวางขับน้ำจะลดลงมา คือตั้งแต่ 500 – 1,500 ตัน ขนาดและจำนวนของปืน
เรืออาจลดลงมาตามระวางขับน้ำ
ครับ การสัปยุทธทางทะเลสมัยก่อน เรือรบใช้รบแลกหมัดกับเรือรบ ปืนเรือใช้ยิงระดมฝั่ง นอกจากนั้นเรือบางประเภท ยังใช้คุ้มกัน
กองเรือจากภัยเรือดำน้ำอีกด้วย ....................ซึ่งจะเห็นว่า การป้องกันภัยทางอากาศสำของเรือรบ สมัยก่อน นั้น เป็นเรื่องที่ยิ่ง
ใหญ่มาก ยิ่งใหญ่เกินกว่าเรือเล็กๆจะทำได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเรือใหญ่ มีระวางขับน้ำมากๆ มีพื้นที่ติดตั้ง ปตอ.ขนาดต่างๆเยอะๆ
.................
ล่วงเลยจนถึง ทศตวรรตที่ 70-80 เทคโนโลยี่เปลี่ยนโฉมเรือรบ อาวุธนำวิถีปราบรือ บรรจุหัวรบระเบิดแรงสูงขนาด 200 กก. ระยะ
ยิงไกลกว่า 30 กม. ทำให้เรือยุคใหม่ ไม่ต้องอาศัยปืนคาลิเบอร์ บิ๊กๆ...........................
เช่นเดียวกับภัยคุกคามจากอากาศยานติดอาวุธปล่อยนำวิถี สิ่งนี้กลายเป็นมารร้ายที่น่าเกรงขามที่สุดสำหรับเรือรบ..................
อากาศยานถูกพัฒนาให้มีความเร็วสูง ต่อตีเรือด้วยอาวุธปล่อยตั้งแต่ระยะไกล................... เรือรบจึงต้องหาแนวทางเพื่อดำรงค์ความ
อยู่รอด การเปลี่ยนแปลงภายใต้ภัยคุกคามจากอากาศยานยุคใหม่ เป็นไปดังนี้
1 . เรือลาดตระเวน ผลการเปลี่ยนแปลงทำให้ เรือ ลว.ยุคสงครามโลก ที่มีขนาด 12,000 ตัน ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเธอ ใช้พื้นที่ดาดฟ้า
มากกว่า 2 ใน 3 ติดตั้งป้อมปืน 8 นิ้วกระบอกเขื่อง ก็ถูกเปลี่ยน กลายเป็นเรือ ลว. ที่มี เสากระโดงหลายเสา แต่ละเสาติดตั้งจาน
สายอากาศเรดาร์น้อยใหญ่ใช้ตรวจน่านฟ้า.......... พื้นที่อีกไม่น้อยถูกติดตั้งจานสายอากาศเรดาร์ควบคุมการยิงเชื่อมต่อกับระบบอาวุธ
ต่างๆ...................
เพื่อให้เห็นภาพ จึงขอยกตัวอย่าง เรือ ลว.อาวุธนำวิถี ชั้น ลองบีช ซึ่งเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศขนาดระวางขับน้ำ 12,000 ตัน
สร้างในยุค 70-80 เป็นเรือ ลว. ติดอาวุธนำวิถีที่ทันสมัยที่สุดของอเมริกาในเวลานั้น อาวุธหลักประกอบด้วย แซมพิสัยปานกลางแบบ
ทาลอส ระยะยิง 150 กม. , แซม พิสัยปานกลาง-ใกล้ แบบ เทอริเอร์ ระยะยิง 30 กม. แน่นอนที่สุด อาวุธปล่อยต่อต้านเรือก็คือแบบ
ฮาร์พูน ...........มีขีดความสามารถต่อตีเรือดำน้ำ ด้วยจรวด แอสร็ค ติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิดแบบฟาลังซ์ .........................
อาวุธเอกอุทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเกื้อหนุนที่ดีจากระบบตรวจจับและอำนวยการรบ จึงทำให้เธอดูยุ่งเหยิงไปด้วยจานสายอากาศ
เมื่อหมดยุค สวยมหากาฬ ชั้น ลองบีช อเมริกาก็เริ่มประจำการ สวยประหาร ชั้น ติคอนเดอโรก้า ซึ่งเป็น เรือ ลว. ไฮเทค
ติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศทันสมัยมาก จานสายอากาศกวาดด้วยอิเลคทรอนิคแบบ เฟสอาร์เรย์ นัยว่า สามารถตรวจจับและติดตามเป้า
หมายขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลบินเรียดน้ำระยะไกลได้อย่างแม่นยำชัดแจ๋ว ซึ่งเธอก็ได้พิสูจน์ความเยี่ยมยอดมาแล้ว โดยสอยเอาเครื่อง
พานิชย์ตกกลางอ่าวเปอร์เซีย
ในฟากวอซอแพ็ค หรือโซเวียต ในอดีต ก็มีเรือรบขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เรือ คิรอฟ ระวางขับน้ำ 25,000 ตัน
ด้วยขนาดน้ำหนักเช่นนี้จึงจัดขึ้นไปอยู่ถึงชั้น ลว.ประจัญบาญ อาวุธมหากาฬมากมาย ติดตั้งแซมถึง 3 ระยะเรียงจากไกล ปานกลางและ
ใกล้ นอกจากนี้ยังติดขีปนาวุธซึ่งก็ลับๆล่อๆว่าติดหัวรบนิวเคลียร์ด้วยหรือไม่ ดังนั้น เธอจึงเป็นมหากาฬ ซึ่งจัดชั้นกันแล้วเป็นยิ่งกว่าเป็น
ตัวแม่ แม้วันเวลาล่วงเลย เธอหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่ก็ยังเป็นดาวจรัสฟ้า เยื้องกรายไปแห่งหลใดก็มีแต่ผู้คนครั่นคร้าม ............ และที่เฉิด
ฉายอีกหนึ่งก็คือ เรือ ลว. ชั้น ซาลาว่า ระวางขับน้ำ 12,000 ตัน ซึ่งแนวความคิดและหลักนิยมการออกแบบจะต่างจากอเมริกาอยู่
บ้าง ตรงที่เรือ อเมริกามีความเป็นเอนกประสงค์ และเน้นป้องกันภัยทางอากาศ แต่ฟากโซเวียต เน้นแรงปะทะด้านหน้าเพื่อใช้อัดกอง
เรือบรรทุกเครื่องบินของข้าศึก ดังนั้น เธอจึงติดตั้งด้วยอาวุธปล่อย พื้น – พื้น ระยะยิงไกลมาก (500 กม.) และนี่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ใช้
ยันกองเรือบรรทุกเครื่องบินอันน่าเกรงขามของอเมริกันไว้ได้
2. เรือพิฆาต แนวทางการพัฒนาแบ่งออกสำหรับ 2 ภารกิจ คือ
2.1 เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ อเมริกากำหนดชื่อเรียกเรือรบประเภทนี้เป็น “เรือพิฆาตอาวุธนำวิถี” ใช้รหัส ดีดีจี ภารกิจหลัก
คือ การป้องกันภัยทางอากาศแก่กองเรือ ที่มีชื่อเสียงคือ เรือ พิฆาตอาวุธนำวิถี ชั้น ชาร์ล เอฟ อะดำ ระวาง 3,500 ตัน ติดตั้งแซม
พิสัยกลาง แบบ สแตนดาร์ด-1 ระยะยิง 70 กม. อาวุธอื่นๆได้แก่ จรวด ฮาร์พูน และ แอสร็อค
สำหรับ ราชนาวีหลวง มหาอำนาจทางทะเลรองจากอเมริกา ซึ่งงบประมาณทางทหารมีน้อยกว่า การประจำการด้วยเรือ
ลว. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นเรือรบตัวเก่งจึงมีขนาดเล็กลงมาเป็นเรือพิฆาต โดยมีภารกิจหลักในการต่อตี
อากาศยานพิสัยปานกลาง เรือที่มีชื่อเสียงในอดีตก็คือ เรือพิฆาต ไทป์ 42 ซึ่งมีส่วนทำการรบในสงครามฟลอคแลนด์
มีระวางขับน้ำ 4,000 ตัน ติดตั้งแซมพิสัยกลาง ซีดาร์ด ระยะยิง 80 กม. อาวุธรองอื่นๆ ได้แก่ อาวุธปล่อย เอ็มๆ-38
เอ็กโซเซต์ ตอปิโดปราบเรือดำน้ำ
ฝรังเศส มหาอำนาจทางทะเลอีกชาติหนึ่ง ในยุค 90 ประจำการด้วย เรือพิฆาต อาวุธนำวิถี ชั้น แคสสาร์ด ระวางขับน้ำ
4,500 ตัน ติดตั้งแซม สแตนดาร์ด-1 อาวุธรอง จรวด เอ็กโซเซ่ต์ และ ตอปิโดปราบเรือดำน้ำ
ในปัจจุบัน เรือรบประเภทนี้ ถูกเพิ่มระวาง และมีขนาดใหญ่มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สุดยอด เรือพิฆาตอาวุธนำวิถี ติดตั้งเรดาร์เฟส
อาร์เรย์ ชั้น อาเลจ์เบิร์ก ของอเมริกา มีระวางขับน้ำ 8,000 ตัน อาวุธหลัก จรวดแซมพิสัยกลาง สแตนดาร์ด-3 เป็นแบบแอคตีฟโฮมมิ่ง
ระยะยิงกว่า 100 กม.
ของราชนาวีหลวงก็เป็น ไทป์-45 ระวางขับ 8,000 ตัน ติดแอคตีฟโฮมมิ่งเรดาร์ แซม เอสเตอร์ 30 ระยะยิง 120 กม.
ฝรั่งเศส ชั้น เฮอริซอน ระวางขับ 7,000 ตัน ตัวนี้ใช้ เอสเตอร์-30 เหมือนกัน
แม้อาวุธแซมเอกอุ แต่ก็ไม่ลืมอาวุธปล่อยปราบเรือและ ตอต่อตีเรือดำน้ำ..............
2.2 เรือ พิฆาต อเนกประสงค์ อเมริกากำหนดรหัส ดีดี ทำภารกิจรบครอบคลุม 3 มิติ แต่ในช่วงสงครามเย็นนั้น เรือพิฆาต
เอนกประสงค์ ถูกกำหนดบทบาทเป็นเครื่องจักรไล่ล่า เรือดำน้ำ ของโซเวียต ที่มีชื่อสียงได้แก่
ชั้น สปร๊วนซ์ ระวางขับ 8,000 ตัน ความเร็ว 32 น้อต อาวุธหลักคือ จรวด แอสร็ค อาวุธอื่นๆได้แก่ แซมระยะใกล้ ซีสแปร์โร่ว์
ฮาร์พูน และ ฟาลังซ์ จะเห็นว่า แม้จะเป็นเรือใหญ่ระดับ แปดพันตัน ทำการรบ 3 มิติ แต่แซมต่อสู้อากาศยานก็เป็นแบบพิสัยใกล้
15 กม. ใช้ป้องกันเป็นจุดเท่านั้น
ปัจจุบัน อเมริกา มีประจำการด้วยเรือพิฆาตอาวุธนำวิถี ชั้น อาเลจ์เบริก เพียงชั้นเดียว คือไม่จำแนกภารกิจดังแต่ก่อน ซึ่งก็คือใช้ใน
ภารกิจทั้งต่อสู้อากาศยานและปราบเรือดำน้ำ ............. สำหรับชาติอื่นๆ เปลี่ยนไปมอบภารกิจปราบเรือดำน้ำ ให้แก่เรือฟรีเกต
ซึ่งเรือฟรีเกตในปัจจุบันมีระวางขับน้ำและขีดความสามารถพัฒนาขึ้นขึ้นเป็นอย่างมาก
2.3 เรือพิฆาตคุ้มกัน เรือรบประเภทนี้ มีอดีตมาตั้งแต่สมัย วว.2 และที่ถูกต่อขึ้นในช่วงสงครามเย็น ก็คือ เรือพิฆาต ชั้น น็อกซ์ หรือ
รล.พุทธยอดฟ้าฯ และ รล.พุทธเลิศหล้าฯ ของเรานี่ยังไงครับ ระวางขับน้ำ 4,000 ตัน ทำความเร็วได้ 26 น้อต เครื่องจักรเป็นแบบ
ไอน้ำ แถมมีใบจักร .......... ในตอนแรกเรือชั้น น็อกซ์ ถูกจัดเป็น เรือพิฆาตคุ้มกัน แต่เพื่อให้สอดคล้องการจัดชั้นเรือยุคใหม่
จึงกำหนดเป็น เรือฟรีเกต และเป็นการสิ้นสุดการใช้ คำว่า เรือพิฆาตคุ้มกัน ในสารบบการจัดชั้นเรือยุคใหม่ของอเมริกา นับแต่บัดนั้น
3. เรือ ฟรีเกต ดังที่กล่าว เดิมนั้นเรือฟรีเกตเป็นเรือที่มีพื้นฐานจาก เรือพิฆาตคุ้มกัน คือใช้ในภารกิจรบใต้น้ำเป็นหลัก ความเร็วและ
อาวุธพื้นน้ำ/ต่อสู้อากาศยาน มีจำกัด ในช่วงสงครามเย็น เรือฟรีเกตถูกยกระดับให้มีความเป็นเอนกประสงค์มากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มระวาง
ขับน้ำ เป็น 2,000 – 4,000 ตัน เพิ่มความเร็ว ติดตั้งอาวุธมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะทำการรบครอบคลุมได้ 3 มิติ ในปัจจุบัน
แบ่งเรือฟริเกตได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
3.1 เรือ ฟรีเกต/ฟรีเกตเบา ปราบเรือดำน้ำ ยังคงวัตถุประสงค์แบบเดียวกับเรือพิฆาติคุ้มกัน แต่ได้ทำการเพิ่มกำลังเครื่องจักร ความเร็ว
มากขึ้น ติดตั้งอาวุธอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อหมาะสมกับภัยคุกคามสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น
เรือฟริเกตเบา ชั้น เพทยา ของโซเวียต ระวางขับน้ำ 1,000 ตัน ความเร็ว 30 น้อต ติดตั้งปืนเรือ โซนาร์ จรวดและ
ต.ปราบเรือดำน้ำ หรือ เรือฟรีเกตเบา ชั้นตาปี ของทร.ไทย(อิหร่านมีประจำการ) ระวางขับน้ำ 1,000 ตัน
ความเร็ว 22 น้อต โซนาร์ ตอปิโด และปืนเรือ อัตโนมัติ
3.2 เรือฟรีเกต อเนกประสงค์ จัดเป็นเรือพิมพ์นิยม มีการต่อประจำการมากที่สุดในยุคปัจจุบัน ระวางขับน้ำระหว่าง 2,000 – 4,500 ตัน
ขึ้นอยู่กับภารกิจความต้องการติดตั้งอาวุธมากน้อย ความเร็วมาตรฐานอยู่ในช่วง 25 – 30 น้อต แยกย่อยตามอาวุธติดตั้งดังนี้
3.2.1 เรือฟรีเกตเบาเอนกประสงค์............ ถูกออกแบบมาให้เป็นฐานอาวุธปล่อย พ-พ แบบลอยน้ำ ระวางขับน้ำ ไม่เกิน 2,500 ตัน
ทำการรบ 3 มิติ มีขีดความสามารถป้องกันภัยทางอากาศอย่างจำกัด อาวุธหลักคือจรวดนำวิถีต่อสู้เรือรบ สามารถทำสงครามปราบ
เรือดำน้ำและสงครามอิเลคทรอนิคส์ได้ ... แต่เนื่องจากระวางขับน้ำค่อนข้างน้อย จึงเหมาะทำการรบในน่านน้ำ ไม่เหมาะนำออก
ไปโต้คลื่นกับกองเรือในทะเลลึก/ทะเลหลวง ขอยกตัวอย่างเรือประจำการในภูมิภาคอาเซี่ยนได้แก่
- เรือฟรีเกต ชั้น ลีนเดอร์ ของอินโดนิเซีย ระวางขับน้ำ 2,300 ตัน ยาว 112 เมตร อาวุธปล่อยนำวิถี ซี-802 / บรามอส โซนาร์
และตอปิโดปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง
- เรือ ฟรีเกต เจียงหู ไทป์ 053 ของไทย/พม่า ระวางขับน้ำ 1,900 ตัน ยาว 105 เมตร อาวุธปล่อย ซี-802 โซนาร์และจรวด
ปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง
- เรือฟรีเกตุเบา เอฟเอส1500 ชุด คาสตุรี่ ของ มาเลย์เซีย ระวางขับ 1,900 ตัน ยาว 98 เมตร อาวุธปล่อย เอ็มๆ- 40 เอ็กโซเซ่ต์
โซนาร์และตอปิโดปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง
- เรือฟรีเกต ชุด ดิ๋ว ต่าย โห ของ เวียตนาม ระวางขับ 1,900 ตัน ความยาว 102 เมตร ออกแบบให้มีดาดฟ้า/โรงเก็บ ฮ.
และมีพื้นที่ว่างสำหรับปรับปรุงยกระดับในอนาคต....... แต่เนื่องจากแผนการต่อเรือลดค่าใช้จ่าย ระบบต่างๆจึงถูกตัดออกมากมาย รวม
ถึงระบบสงครามใต้น้ำก็ถูกตัดด้วย .......... ระบบอาวุธได้แก่ อาวุธปล่อยปราบเรือ เอสเอ-เอ็น-4 ติดตั้งระบบสงครามอิเลคทรอนิคส์
และเป้าลวง
3.2.2 เรือฟรีเกตเอนกประสงค์ เป็นการขยายตัวเรือและเพิ่มระวางขับน้ำจากเรือฟรีเกตเบาเอนกประสงค์ คือมีระวางขับน้ำไม่เกิน
3,500 พันตัน ทำการรบครอบคลุม 3 มิติ มีขีดความสามารถทำสงครามใต้น้ำและสงครามอิเลคทรอนิคส์ เต็มรูปแบบ เฮลิคอปเตอร์
บรรทุกไปด้วย ใช้ในภารกิจตรวจการณ์ และปราบเรือดำน้ำ....................... เนื่องจากมีพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงรับการติดตั้งอุปกรณ์
ตรวจจับ/ควบคุมการยิงอาวุธนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ ขอยกตัวอย่างในภูมิภาคอาเซี่ยนได้แก่
- เรือฟรีเกต ชั้น ฟอมิดาเบิ้ล ของสิงคโปร์ ระวางขับน้ำ 3,200 ตัน ยาว 115 เมตร อาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน ตอปิโดปราบเรือดำ
น้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง แซมพิสัยปานกลาง แอคตีฟเรดาร์ แอสเตอร์-30 ระยะยิง 120 กม.
- เรือ ฟรีเกต เจียงหู 25 ที ชุด รล. นเรศวร ของไทย ระวาง 3,000 ตัน ยาว 120 เมตร อาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน ตอปิโดปราบ
เรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง แซมพิสัยปานกลาง แอคตีฟเรดาร์ ซีสแปร์โร่ว์ เอฟเวอร์ลูชั่น ระยะยิง 100 กม.
- เรือฟรีเกต ชุด ลีเกียว ของ มาเลย์เซีย ระวางขับ 2,2 00 ตัน ความยาว 102 เมตร มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่เนื่องจากมีการ
ออกแบบดาดฟ้าและโรงเก็บ ฮ. พร้อมระบบยิงอาวุธปล่อยแนวตั้ง ผมจึงขอเลื่อนชั้น จากฟีเกตเบามาอยู่ในชั้นนี้ ....... ระบบอาวุธ
ได้แก่ อาวุธปล่อย เอ็มๆ 40 เอ็กโซเซ่ต์ ตอปิโดปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง............ แซมพิสัยใกล้ นำวิถีแบบ
เคลื่อนตามแนวเล็ง แบบ ซีสวูลฟ์ ระยะยิง 10 กม. และด้วยสาเหตุที่เรือค่อนข้างเล็กส่งผลถึงตำแหน่งพื้นที่วางอาวุธภายในเรือ และการ
มีระบบยิงแนวตั้งไว้ตอนหน้า ปืนใหญ่เรือจึงต้องลดขนาดลงเหลือแค่ 57 มม. การดัดแปลงเพื่อติดตั้งระบบที่ใหญ่ขึ้น จะเป็นปัญหา
อย่างมากในอนาคต
จะเห็นได้ว่า ไทยและสิงคโปร์ เป็นเพียง 2 ชาติในอาเซี่ยน ที่มีประจำการด้วยจรวด อ-อ พิสัยกลาง ติดตั้งบนเรือรบ ซึ่งเพิ่มศักยภาพ
ป้องกันภัยทางอากาศให้แก่กองเรือได้อย่างสูงยิ่ง........... เป็นที่แน่นอนว่า ขีดความสามารถเหล่านี้ต้องแลกด้วยงบประมาณเป็นจำนวน
มหาศาล.....................
3.2.3 เรือฟรีเกตเอนกประสงค์ ขนาดใหญ่ จุดประสงค์การออกแบบ เพื่อเป็นเรือสำหรับติดสอยกระบวนเรือปฏิบัติการณ์ในทะเลลึก
ของเหล่ามหาอำนาจ แน่นอนว่า จะต้องมีขนาดใหญ่ระวางขับน้ำมาก ซึ่งก็ควรจะมีระดับน้องๆเรือพิฆาตซึ่งก็ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตัน
........................... ก็คงมีเพียง มหาอำนาจทางทะเลเท่านั้นที่ใช้เรือฟรีเกตประเภทนี้ สำหรับประเทศที่มีชายฝั่งทอดยาวแบบไทย
การรักษาเขตเศษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล (เมื่อก่อนถือเป็นทะเลหลวง) เรือรบขนาด 2,000 – 3,000 ตัน ก็จัดว่าเพียงพอที่จะโต้
คลื่นลมออกไปได้ ........................
ขอยกตัวอย่าง เรือฟรีเกตขนาดใหญ่ดังนี้
- เรือฟรีเกตชั้น น็อกซ์ ต้องขอนำมากล่าวอีกครั้ง ระวางขับน้ำ 4,200 ตัน จากเดิมที่เคยจัดเป็นเรือพิฆาตคุ้มกัน จึงเปลี่ยมาเป็นเรือ
ฟริเกต ต้องกล่าวว่า เรือชั้นน็อกซ์ถูกสร้างมาเพื่อปราบเรือดำน้ำจริงๆ เห็นได้จากเครื่องจักรเป็นไอน้ำ ใบจักรเดี่ยวปรับพิชได้ ทำให้
เรือมีเสียงรบกวนน้อยเหมาะสำหรับทำสงครามใต้น้ำ (ข้อดีของใบจักรเดี่ยวอีกข้อคือ มีราคาถูก ไม่เปลืองเพลา เกียร์บ็อกซ์ แต่ก็มีข้อ
เสียคือ ใบจักรเดียวทำให้เดินเรือยากขึ้นอีกนิด เนื่องจากเรือจะหัวหัวหนีเข็มตามทอร์คของใบจักร ดังนั้น พขร. ต้องขยันตื่นมาตั้งเข็ม
บ่อยๆ.... ที่ทราบเพราะสมัยเด็กๆชอบเล่นเรือโฟม สิ่งที่สังเกตคือ แม้จะวัด ตัด ขัด ให้เรือเที่ยงตรงเพียงใด เวลาแล่นจริง หัวเรือมักหัน
ออกจากแนวที่ตั้งไว้ไปทิศทางที่ใบพัดหมุน ทางแก้คือต้องมี 2 มอเตอร์ ต่อเข้ากับ 2 ใบพัด และให้หมุนกลับทิศกันโดยการสลับขั้ว
ถ่าน.....) ระบบติดตั้งถือเป็นทีเด็ดของเรือชั้นนี้ คือ โซนาร์ลากท้าย ร่วมด้วยอาวุธยิงปราบ ด. แบบแอสร็อค พื้นที่ด้านท้าย
สำหรับเฮลิคอปเตอร์ ซีสไปร้ซ์ ติดโซนาร์ชักหย่อน และ ตอปิโด .................. ในส่วนของฮาร์พูนนั้น มีไว้เป็นน้ำจิ้มพอป้องกันตัว
เพราะโหลดได้ครั้งละแค่ 2 นัด ไม่สะดวกในกรณีรบติดพัน
- เรือฟรีเกต ชั้น โอลิเวอร์ ฮาร์ซาด เพอรี่ ระวางขับน้ำ 4,100 ตัน ความเร็ว 29 น้อต เครื่องยนต์ แก้สเทอร์ไบน์ ใบจักรเดี่ยว ปรับพิช
ได้ อาวุธ แซม เซมิแอคตีฟ โฮมมิ่ง สแตนดาร์ด-1 ระยะยิง 75 กม. จรวด ฮาร์พูน ตอปิโดมาร์ค-42 ฮ.ซีฮอว์ค หรือ ซีสไปร้ท์
ปืน 3นิ้ว ซีไอดับบลิวเอส ฟาลังซ์ ................... เราเกือบได้เป็นเจ้าของเรือชุดนี้จำนวน 2 ลำ ......................
ครั้งหนึ่งเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เรือ ชุดนี้ ชื่อ ยูเอสๆ สตร๊าค เคยพลาดท่า โดนจรวดเอ็กโซเซ่ต์ ของอิรัค กระซวกเข้าอย่างลึกขณะ
ลอยลำในอ่าวเปอร์เซีย....................... เสียหายถึงขั้นจำหน่าย แต่อย่าเข้าใจผิด ขณะนั้น อิรัค กับอเมริกายังจูบปากกันอยู่นะครับ
การยิงเกิดจากความเข้าใจผิด ...................... ผู้บังคับการเรือถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากอยู่ในวิสัยป้องกันตัวเองได้
..................ทั้งนี้เรือติดตั้งใช้งานระบบสงครามอิเลคทรอนิคส์และเป้าลง รวมถึงอาวุธป้องกันระยะประชิด แต่ที่ว่ามาทั้งหมด ไม่ได้ถูก
ใช้งานเลย ............ ง่ายๆคือ ไม่ได้ยิง หรือเปิดระบบแจมอะไรทุกอย่างสักอย่าง ก็เลยโดนกรรมการไล่ลง โทษฐานชกไม่สมศักดิ
ศรี..............
- เรือฟรีเกต ไทป์23 ของอังกฤษ นี่เป็นฟรีเกตยักษ์ของอีกหนึ่งชาติมหาอำนาจ ..........ฟรีเกตไทป์ 23 ถูกสร้างเพื่อใช้งานคู่กับ
เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ ไทป์ 45 ถือเป็นคู่จิ้นเลียนคู่หนึ่งในอดีต คือเรือฟรีเกต ไทป์ 22 คู่กับ เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ
ไทป์ 42 ......................... ไทป์ 23 มีระวางขับน้ำ 4,800 ตัน ความเร็ว 28 น้อต อาวุธปราบเรือ ฮาร์พูน แซม พิสัยใกล้ ซีวูล์ฟ ระยะยิง
10 กม. ระบบสงคราอิเลคทรอนิคส์เป้าลวง โซนาร์และต.ปราบเรือดำน้ำ ...............ฮ.ซุเปอร์ลิงซ์ สามารถติดอาวุธปล่อยปราบเรือ
ขนาดเล็กแบบ ซีสกัว ระยะยิง 25 กม. หัวรบ 30 กก. หรือ เป็นโซนาร์ชักหย่อนและต.ปราบเรือดำน้ำได้ด้วย .................... สาเหตุที่
เรือ ฟริเกต ไทป์ 23 มีระบบแซมค่อนข้างกะทัดรัด เนื่องจากต้องรอนแรมออกทะเลไปกับ เรือพิฆาต ไทป์-45 ซึ่งจะคอยซึ่งคุ้มกันภัย
ทางอากาศให้
ครับ ร่ายมายาว ก็หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ในการใช้แบ่งชั้นเรือกับเพื่อนๆนะครับ
ถ้าจัดตามรัสเซียจริงๆ คงต้องเรียก Kirov ว่าเป็นเรือลาดตระเวนหนักครับ แต่ถ้ามาตรฐานคงเป็นเรือลาดตระเวนอาวุธนำวิถีเฉยๆ ไม่ใช่เรือลาดตระเวนประจัญบานอยู่ดี (เขาเรียกเหมือนเรือชั้นSlavaแค่เติมคำว่าพลังงานนิวเคลียร์เข้าไป กลายเป็นCGN แบบพวกชั้นลองบีช เวอร์จิเนีย นั่นแหละ)
จริงๆแนวโน้มระวางขับน้ำของเรือฟริเกตดูเหมือนว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆนะครับ โดยเฉพาะทางแถบยุโรป แม้ว่าจะไม่ใช่ชาติมหาอำนาจก็ตาม
สวัสดีครับท่านกบ ร่ายซะยาวเหยียดตามสไตล์เลยครับ ได้โอกาสฟื้นความหลังไปในตัว ขอบคุณมากๆ ครับ
ว่าแต่ ผมไม่แน่ใจว่าสมัยเรือลองบีช มันจะมีฮาร์พูนกะฟาลังค์ใช้หรือยังนะครับ ขนาดชั้นถัดมาอย่างเวอร์จิเนียมันจะมีใช้หรือยังก็ยังไม่แน่ใจครับ
แต่นึกถึงภาพเรือลองบีชติดจรวดเพียบทั้งลำ แล่นคู่กับเรือเอ็นเตอร์ไพรซ์ตอนที่เสาอากาศบนสะพานเดินเรือยังเป็นทรงยอดมงกุฎอยู่ ดูน่าเกรงขามมากๆ ครับ
ผมไม่ค่อยชอบเรือลำใหญ่ ๆ เลยนะ อย่างคิรอฟที่คอยหลอกหลอนมาหลายสิบปีนี่ดูยังไงก็ไม่โดน ใหญ่สุดที่ชอบก็ติคอนเดอโรก้า ด้วยเหตุผลสั้น ๆ ว่ามีปืนใหญ่ท้ายเรือด้วยเท่านั้นเอง
Type 23 นี่ค่อนข้างชอบพอสมควร เป็นแบบเรืออังกฤษที่ดีมากและใช้ระบบขับเคลื่อนที่ดีเยี่ยม ขัดใจอยู่บ้างตรงไม่มี CIWS ซักระบบ แต่ก็พอเข้าใจว่ามี VL Seawolf ถึง 32 นัด และมีเรดาร์ควบคุมการยิง Type 911 จำนวน 2 ตัว รวมทั้งระยะยิงไกลสุดแค่ 10 กม.(พอ ๆ กับ RAM ที่ใช้เป็น CIWS) ก็น่าจะสามารถป้องกันจรวด 2 นัดได้ในเวลาพร้อมกัน (โดยยิง Seawolf 4 นัดไปยัง 2 เป้าหมาย) แต่ถ้าจะสอยจรวด 4 นัดพร้อมกันนี่ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันแฮะ
แต่ที่มันน่าสนุกกว่านั้นก็คือ ทร.ชิลีซึ่งซื้อต่อเรือ Type 23 ไป 3 ลำ มีแผนปรับปรุงใหญ่ด้วยการติดจรวด ESSM เข้าไปน่ะสิครับ หน้าตาเรือจะออกมาเป็นยังไงหนอ อีกไม่นานนักเราคงได้รู้กัน ไม่อยากเดาใด ๆ ทั้งสิ้น ฮ่า ฮ่า
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/chile-evolved-seasparrow-missiles-essms
WASHINGTON, Jul 5, 2016 - The State Department has made a determination approving a possible Foreign Military Sale to Chile for Evolved Seasparrow Missiles (ESSMs), equipment, training, and support. The estimated cost is $140.1 million. The Defense Security Cooperation Agency delivered the required certification notifying Congress of this possible sale on July 1, 2016.
The Government of Chile has requested a possible sale of:
Major Defense Equipment (MDE):
Thirty-thirty (33) Evolved Seasparrow Missiles (ESSMs)
Six (6) Evolved Seasparrow Telemetry Missiles
Three (3) MK 41 Vertical Launching Systems (VLS), tactical version, baseline VII
Non-MDE:
This request also includes the following Non-MDE: Ten (10) MK25 Quad Pack Canisters; Five (5) ESSM Shipping Containers; Five (5)MK-73 Continuous Wave Illumination Transmitters, One (1) Inertial Missile Initializer Power Supply (IMIPS); spare and repair parts, support and test equipment, publications and technical documentation, personnel training, U.S. Government and contractor engineering, technical and logistics support services, technical assistance, installation and integration oversight support, logistics, program management, packaging and transportation.
The total estimated value of MDE is $73.2 million. The total overall estimated value is $140.1 million.
This proposed sale will contribute to the foreign policy and national security of the United States by increasing Chile’s ability to contribute to regional security and promoting interoperability with the U.S. forces. The sale will provide upgraded air defense capabilities on Chile’s type 23 frigates. The proposed sale improves Chile’s capability to deter regional threats and strengthen its homeland defense. Chile will have no difficulty absorbing this equipment into its armed forces.