ปืน เอ็มเอสไอ ดีเอส-30 เกิดจากความต้องการของทัพเรือผู้ดี ต้องการอาวุธปืนใหญ่กลใช้ป้องกันตัวเองจากการโจมตีของเรือยนต์เร็วในระยะประชิด
รุ่นแรกเป็นแบบ ดีเอส -30บี ได้นำปืน 30 มม. แบบ ซีจีเอ็ม-บี01 ของเออร์ลิก้อน ประกอบเข้ากับแคร่ปืน มีระบบรักษาขีปณะ(สเตบิไหลเซ่อร์) ทำการยิงได้ทั้งแบบ โลค่อล(นั่งยิงข้างๆ) และแบบรีโหมด(ห้องควบคุม/ระบบควบคุม) ใช้ต่อสู้อากาศยานได้ด้วย ทำการยิงได้ 3 จังหวะ คือ โหมด ซิงเกิ้ล ยิงทีละนัด โหมด สโลว์ ตูม ๆ ๆ ๆ และ โหมด ราปิด ตรู่ด.ดดดด ๆๆๆๆๆ ...................... รุ่นนี้มีประจำการในเรือล่าทุ่นระเบิด ชั้นลาดหญ้า 2 ลำ ของ ทร.ด้วย
รุ่นต่อมาเป็นแบบ ดีเอส -30เอ็ม ได้มีการเปลี่ยนทดแทนด้วยปืน 30 มม. มาร์44 บุชมาสเตอร์ 2 รูปร่างดูแตกต่างไปเล็กน้อย ยังคงทำการยิงได้2แบบ คือ โลค่อล นั่งข้างๆ และในห้องควบคุม จังหวะการยิงเหมือนเดิมคือ ซิงเกิ้ล สะโลว์ และ ราปิด ............
ที่มีข้อสงสัยนิดหน่อยเมื่อดูคลิบการยิง ดีเอส-30 เอ็มอาร์ ของเรือแหลมสิงคือ นอกจากตำแหน่งยิงแบบโลค่อล เปลี่ยนจากนั่งข้างๆ มาเป็นยืนด้านหลัง จังหวะการยิงรู้สึกจะต่างกันด้วย..........
คลิบแรก เป็นการยิงของฝรั่ง ดูทรงฝาครอบสายป้อนกระสุนแล้ว น่าจะเป็นรุ่นบี โชว์การยิง 3 จังหวะ ทั้ง ซิงเกิ้ล ตูม ..... สโลว์ ตูม ๆๆๆ ...... และก็ ราปิด ตรู่ด ดดดด.... มีเสียงนายทหาร ออกคำสั่งข้างๆดังฟังชัด " สไล้ลี่ คามดาว ร้าปปปิด" พลยิงก็เหนี่ยว ตะหรุ่ด ตรุ่ด ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ...... พร้อมลากปืนต่ำลงช้าๆ
พอมาดูคลิบของ รล. แหลมสิงห์ ทดสอบการยิง ฝรั่งยืนจังก้าเตรียมเหนี่ยว จนท.ไทย หลังจากรายงานทางอินเตอร์คอม เพื่อขออนุญาตการยิง จากนั้น ถ่ายทอดคำสั่ง .... วินาที 16 ถามฝรั่ง "เหรดดี๋ ???" .... "เหย " ......" แร ปิด ฟ่าย" ........(รอ).......(นาน)........"โฮ้" ............."คว่าย" ......... ตุ่ม ๆๆๆๆๆ ..........................................
เสียงรายงานผลการยิง ..............."จากปืนกล 30 มิลลิเมตร ทำการยิง ฟังก์ชั่นที่3 เรียบร้อย" ........................
คือ สังสัยว่า แรปิด ควาย เอ้ย ไฟร์ ซึ่งน่าจะหมายถึง ฟังก์ชั่นที่3 จากการรายงาน เนี่ย ไมมันช้าจังอ่ะพี่น้อง............. มันเร็วสุดได้แค่นี้หรอ ??? ไมมันต่างจาก รุน บี กับ รุ่น เอ็ม จัง หยั่งงี้ ใช้ยิงเครื่องบินคงยากที่จะถูก คงยิงได้แค่เรือเอี้ยมจุ๊น กับเรือโจรสลัด จริงๆ
https://www.youtube.com/watch?v=6yccfIjo3FM
https://www.youtube.com/watch?v=m89X3EYSlzk
ข้อแย้งท่านกบนึดนึงนะครับ
ต้นกำเนิดปืน 30 มม.ของกองทัพเรืออังกฤษมาจากปืนรุ่น GCM-AO3-1 ซึ่งมีขนาด 30 มม.และเป็นชนิดแท่นคู่ เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนปืนรอง 40 mm Bofors Mark 7 and Mark 9 ซึ่งจริง ๆ แล้วเขาได้เลือกจรวด Seacat ทดแทนไปแล้วประมาณ 10 กว่าปี แต่มันก็ยังไม่ใช่ปืนต่อสู้อากาศยานอยู่ดี จึงได้มีการพัฒนาปืนรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทน และ GCM-AO3-1 ก็ได้ปรากฎโฉมบนเรือฟริเกต Type 22 เป็นครั้งแรก ออกทำการรบในสงครามฟอคแลนด์โดยอยู่รอดปลอดภัยทุกลำ เรือชั้นนี้ไม่มีปืนใหญ่นะครับ ใหญ่สุดก็ 30 มม.นี่แหละ
ในเวลาไล่เรียกันพวกเขาก็พัฒนาปืนกล 20 มม. รุ่นใหม่คือ GAM-BO1 ขึ้นมาทดแทนของเดิมด้วย ขายดิบขายดีไปทั่วโลกเพราะมันทันสมัยมากขึ้น
จากนั้นจึงได้พัฒนารุ่นลำกล้องเดียวขึ้นมาบ้าง จะด้วยว่ารุ่นลำกล้องแฝดใหญ่ไป แพงไป หรือขายไม่ออกก็ตามเถอะ จึงได้ถือกำเนิด DS-30B ขึ้นมาบนโลก และกลายเป็นปืนรองที่ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลาย
จนถึงวินาทีนี้ อังกฤษยังไม่เคยคิดถึงเรื่องการป้องกันตัวเองจากเรือยนต์ขนาดเล็กหรือโจรสลัดเลย ภัยคุกคามชนิดนี้เริ่มมาในภายหลังสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นที่มาของการติดตั้งระบบควบคุมด้วยรีโมทบนแท่นปืนนั่นเอง อันนี้บนเรือหลวงลาดหญ้า
แล้วต่อมาก็พัฒนามาเป็นรุ่น DS-30M และรุ่น DS-30MR ซึ่งติดระบบควบคุมด้วยรีโมทบนแท่นปืน (ผมเข้าใจถูกใช่มั้ยครับ) จึงตัดที่นั่งฝั่งขวามือออกไป อันนี้น่าจะบนเรือชั้นเรือต.991 นะ นั่นแปลว่าเราไม่มีปืนรุ่น DS-30M เลย
ส่วนอันนี้บนเรือหลวงกระบี่ยิงด้วยมือ ไม่รู้ว่าแตกต่างกับเรือหลวงแหลมสิงห์ไหม
ถ้าจะว่ากันจริง ๆ GCM-AO3-3 ก็ติดระบบรีโมทแล้ว แต่ปืนมันขายไม่ออกก็เลยหายไปจากตลาดโลก
ส่วนปืนตระกูล DS-30 เคยใช้ชื่อ LS-30B มาก่อน ต่อมาในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น DS30 Mk 1 and Mk 2 บางทีผมก็สับสนกับชื่อเรียกเหมือนกันนะ ไม่เหมือนของอเมริกาที่ใช้รหัสเข้าใจชัดเจน
โอเค................. จาการปะติดปะต่อ จิ๊กซอว์ อากู๋ เฮียวิกิ และเสี่ยยูทิอู๊บ ........................... ผมขอสรุปตามความเข้าใจดังนี้...................
1. ดีเอส-30 บี เป็นปืนลดสเป็คมาจาก 30 แท่นคู่ แต่ยังคงความเร็วในการยิงแบบ ราปิด ที่ 600 นัด/นาที เรียกได้ว่าความเร็วในการซอย ถี่ยิบพอจะสร้างความสยิวกิ้วให้แม่สาวงามที่บินโฉบบนฟ้าได้
2.ดีเอส-30 เอ็ม เป็นปืนลดคลาสลงไปอีก เปลี่ยนปืนจาก เออลิก้อน ไปเป็นบุชมาสเตอร์ อัตราเร็วยิงสูงสุด 200 นัด/นาที จุดประสงค์หลัก คือยิงเรือเอี้ยมจุ๊น
3.ดีเอส-30 เอ็มอาร์ มีประจำการแน่นอน บนเรือ แหลมสิงห์ ยืนยิงด้านหลัง
4.โดยทั้งหมดติดตั้งแคร่ปืนสเตบิไหล คคกย ได้แบบ โลคอลลี่ และ รีโหมด.........
5. อัตราเร็วยิง จังหวะราปิดรุ่นบี จัดจ้าน รุ่น เอ็มอาร์ หมาหงอย..............
อันนี้ลอกมาจาก เฮียวิกิ
From Wikipedia, the free encyclopedia
30mm DS30M Mark 2 fitted on the Type 23 frigate, HMS Northumberland(F238)
The 30mm DS30M Mark 2 is a ship-protection system made by MSI-Defence Systems consisting of a 30mm Mark 44 Bushmaster II cannon on an automated mount. It was designed to defend Royal Navy frigates from fast inshore attack craft armed with short-range missiles, rockets, rocket-propelled grenades, heavy machine guns or explosives. It replaced in this role the 30mm Oerlikon KCB gun on the DS30B, a similar powered mounting. The DS30M has also been added to patrol boats and corvettes for the Iraqi and Omani navies respectively.
ดีเอส-30 บี ปืน เออไลก้อน 30 มม. อัตราเร็วยิงสูงสุด แรปิด ไฟร์ 600 นัด/นาที ยิงได้แบบ รีโหมด และ โลค่อล ตำแหน่งนั่ยิงด้านข้าง
ดีเอส-30 เอ็ม ปืน บุชมาสเตอร์ 30 มาร์ค44 อัตราเร็วยิงสูงสุด 200 นัด/นาที จุดประสงค์ใช้ยิงเรือเอี้ยมจุ๊น ยิงได้ทั้งรีโหมด และ โลคอล ตำแหน่งนั่งยิงด้านข้าง........
ดีเอส- 30 เอ็มอาร์ ยิงได้ทั้ง โรโหมด และ โลคอล ตำแหน่งพลประจำปืน ยืนด้านหลัง อัตราเร็วการยิงเป็นข้อมูลไม่ทราบ แต่ดูจากคลิบ รล.แหลมสิงห์ ถือว่าต่ำ ไม่เหมาะใช้ต่อตีอากาศยานความเร็วสูง เหมาะ ใช้ต่อสู้เรือเอี้ยมจุ๊น................
จึงขอฟันธงแบบรู้น้อย................... ดีเอส-30 บี บนเรือทำลายทุ่นระเบิด ชุด ลาดหญ้า ท่าดินแดง เจ๋ง แจ๋ว จ๊าบ กว่า ที่อยู่ บนเรือหลวงนเรศวร รล.กระบี่ ต.991-996 และ รล.แหลมสิงห์....................ฟั่นธ่ง........
คลิบเด็ด โชว์จังหวะการซอย.............. รีบดูก่อนโดนลบ.........
ดีเอส-30บี
https://www.youtube.com/watch?v=cGudnVQsnLw
ดีเอส-30เอ็ม
https://www.youtube.com/watch?v=RG68_hzz1vg
ดีเอส-30 เอ็มอาร์
https://www.youtube.com/watch?v=m89X3EYSlzk
ช้าจริงๆครับ ตามที่ดูนะครับ หรือคริปมันสั้นไปยังไปถึงตอนที่ยิงเต็มอัตตรา
เข้าใจว่าที่เปลี่ยนปืนจากเออลิก้อนไปเป็นบุชมาสเตอร์ เพราะระบบ CIWS แท้ ๆ มันใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้ว ปืนรอง/ปืนต่อสู้อากาศยานจึงไม่ค่อยสำคัญนัก เพราะยังไงก็สอยจรวดหรือเครื่องบินรุ่นใหม่ไม่ไหวแล้ว ซึ่งก็น่าจะทำให้ราคาลดลงมาจนพอสู้กับปืนจากประเทศอื่นได้
แต่เรื่องประสิทธิภาพผมไม่รู้เลยนะ DS-30MR ถือว่าทันสมัยเหมาะกับยุคปัจจุบันเทียบเท่าปืนชนิดอื่น เพียงแต่ผมขัดใจที่มันไม่มีระบบช่วยเล็งยิงติดอยู่บนป้อมปืนตัวเอง มันก็เลยไม่เอนกประสงค์แท้จริงซักเท่าไหร่กัน อย่างเรือหลวงแหลมสิงห์ก็ต้องแย่งใช้งานมิราดอร์กับ Oto 76/62 นั่นคือยิงอัตโนมัติ 2 กระบอกใน 2 ทิศทางไม่ได้ นอกเสียจากจะเพิ่ม E/0 ของตัวเอง อันนี้ล่ะแหล่มเลย
นอกจากตัวปืนและระบบควบคุมการยิงยังมีที่น่าสนใจคือการโหลดกระสุนนะครับ เหมือนเคยมีเรือบางลำต้องการปืนที่เป็น CIWS แต่ติดไม่ได้เพราะทำ CG เปลี่ยน
อู้ย..................... ยิ่งสืบยิ่งมันส์ครับ ........................... ผมกลับไปดูภาพของ เรือหลวง ลาดหญ้า ระบบปืน 30 ของ เอ็มเอสไอ ดูๆ แล้ว ไม่น่าจะใช่ คาลิเบอร์ 30 ของ เออร์ลิก้อน ครับ .................... จริงๆแล้วดูเหมือนจะเป็น ของ บุชมาสเตอร์2 มาร์ค 44 ซะมากกว่า...................
จึงสงสัยอีกแล้วครับ มันเป็น ดีเอส-30 บี จริงๆเหรอ ??????? มันควรเป็น ดีเอส- 30เอ็ม มั้ง...................???? ซึ่งเชื่อว่าถ้าเป็นบุชมาสเตอร์2 ก็คงยิงได้ 200 นัด/นาที เหมือน รล. แหลมสิงนี่แหล่ะครับ................
ผมกำลังจะเข้ามาตอบเลย ว่าเรือหลวงลาดหญ้าไม่ใช่ปืน 30mm Oerlikon KCB แน่นอน ดูยังไงก็ไม่ใช่ นั่นแปลว่าเรามี DS-30M และ DS-30MR แต่ไม่มี DS-30B ที่มีอัตรายิง 650 นัด/นาที
เรือหลวงลาดหญ้าเข้าประจำการในปี 1999 ส่วนเรือชั้น Huon-class coastal minehunters ซึ่งใช้ DS-30B แน่นอนเข้าประจำการในปี 1994 นั่นแปลว่าในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 199X ผู้ผลิตจะมีให้เลือกว่า DS-30B ที่ใช้ปิน Oerlikon หรือ DS-30M ที่ใช้ปืน Bushmaster
อันนนี้ของออสเตรเลียครับ ส่วนของเราภาพล่าง
โอเค.....ครับ ตามนั้นเลย ..................
ผมเองไม่เคยเข้ามาดูสเป็กปืน DS-30M อย่างจริงจัง แต่พอรู้ว่า 200 นัด/นาที แล้วกุมกะบาลแพร้บ
เพราะเรือชั้นเรือหลวงนเรศวรเคยใช้ปืนกล 37 มม.แท่นคู่รุ่น Type 76A มาก่อน อัตรายิงอยู่ที่ 375 นัด/นาที/กระบอก (รวมกันก็ 750 นัด/นาที) ควบคุมการยิงด้วยเรดาร์ Type 347G (แปลงร่างมาจาก SPG-74 ของอิตาลี) ซึ่งควรจะมีประสิทธิภาพสุงกว่า EOS 500 ที่เป็นแค่ E/O (ข้อมูลตามสเป็ก Type 347G คือ 12 กม.ถ้าเป้าหมายขนาด 2 ตารางเมตร และ 6 กม.ถ้าเป้าหมายขนาด 0.1 ตารางเมตร)
สรุปว่าปืน 30 มม. ของเราใช้ยิงได้แค่เรือเล็กบนผิวน้ำเท่านั้น ไม่ต้องไปพูดถึงเป้าหมายบนอากาศ หรือเลยเถิดไปว่าเป็น CIWS น้อย ๆ อะไรทำนองนี้
อยากทราบอาวุธ พวกนี้ ทางประเทศเรา ซื้อแบบมาผลิตได้ไหม
กำลังสงสัยว่า ถ้าเราเลือกติดตั้งปืน Mauser MK30-2 ล่ะครับ..? อัตรายิง700นัด/นาที ยิงกระสุนAir Burst ได้ อัพรุ่นแท่นคู่บนเรือชุดคำรณสินธุ์เป็นมาตรฐานเดียวกันไปด้วยเลย ในอนาคตก็หาปตอ.ภาคพื้นที่เป็นMK30-2มาใช้แทนปตอ.37มม.ของทร.
ทอ.เองก็มีปืนแบบนี้อยู่แล้วแต่รุ่นเก่ากว่า ถ้าอัพก็ยิงกระสุนAir Burst ได้ น่าจะประหยัดกว่าหา35มม.แบบทบ.มาใช้เป็นปตอ.ภาคพื้นเยอะนะ
แล้วds30 ตัวที่จะเอาไปติดในเรือฟริเกตไฮเอ็นที่กำลังต่ออยู่ละครับ น่าจะเป็นตัว600นัด/นาที รึป่าว
เป็น ปืน มาตรฐาน ที่่ใช้งานของกลุ่มประเทศพันธมิตร...กระสุน 30 ม.ม. แบบอื่น ๆ ยกเลิกสายการผลิตไป...
ในขณะที่ ตัวเรือ สามารถเลือกกระสุนยิงได้ ตามภัยคุกคาม ที่มีต่อตัวเรือ...
จากภาพที่ท่าน จูลดาส นำมาลง เป็นภาพประกอบคอลัมน์ ต.994-996 ทำให้เห็นอะไรอีก 2 อย่างครับ .................
นั่นก็คือ อย่างที่ทราบ ปืนที่นำมาติดเรือชุดนี้เป็นรุ่น ดีเอส-30 เอ็มอาร์ ซึ่งทำการยิงได้ทั้งแมนน่วล และ รีโมท ซึ่งการยิงแบบแมน่วล พลยิงต้องยืนยิงด้านหลัง........... จากภาพจะเห็นว่า
1. พื้นที่ดาดฟ้าเรือตอนหน้าจำกัดมาก ท้ายปืนแทบจะชิดกับด้านหน้าของเก๋งเรือ พลยิงไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปยืนได้. และดูเหมือนว่า ในมุมยิง 12 นาฬิกานั้น ปืนเกือบจะกระดกปากกระบอกขึ้นไม่ได้ด้วยซ้ำ...........
2. โดยปกติ จะมี แผล็ทฟอร์ม เป็นทรงกลมรอบตัวปืน ไว้ให้พลยิงใช้เหยียบหมุนปืนเป็นวงกลม แต่เรือ ต. ในภาพ ไม่มี
ดังนั้น เรือ ต. ชุดนี้ จึงยิง ดีเอส-30 เอ็มอาร์ ได้เฉพาะแบบ รีโหมดครับ..............ฟั่นธ่ง..................
เอ่อ คือว่า ...ผมขอเอาธงลงครับ..............
พบเรือประหลาด โดนฉลามกัดหายครึ่งลำ
เดี๋ยวนี้...สมองผมก็เริ่มจะจำอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่แล้วครับ...คุ้น ๆ ว่า...
ด้วยความที่ เรือมีระบบตรวจจับ EO บวกกับ เรดาร์แบบ X-Band ...ทำให้เรือ ตรวจจับภัยคุกคาม ได้ตั้งแต่ นอกระยะการยิง ที่ 3,000 ม.
ถ้าจำไม่ผิด ต้องไปดูเรื่อง EO ซึ่งมันจะผสานกับ ปืนเรือ DS-30MSI...ซึ่งจะส่งผลต่อ ความแม่นยำของปืน และมีระยะเวลาเลือกกระสุนปืน ให้เหมาะสมกับภัยคุกคาม...ทำนองนั้น หรือเปล่า ไม่แน่ใจครับ...
ในความเห็นส่วนตัว คือ มองภาพ ดังนี้
1. ตรวจจับได้ก่อน (ดูที่ระบบ EO กับ X-band)
2. เล็งเป้า จับความเคลื่อนไหว ด้วย EO (จับเป้าได้ทั้งกลางวันและกลางคืน)
3. เป้าหมาย เข้าระยะยิงหวังผล...(ไม่รู้กี่เมตร แต่คงไม่ใช่ระยะยิงไกลสุด) ซึ่งคงเลือกแบบกระสุนในช่วงนี้
4. ยิงทำลายเป้าหมาย
ส่วนการใช้ ระบบ แมนนวล น่าจะเป็นการใช้ คุมเชิงระหว่างตรวจค้นเรือเป้าหมาย...
ตามขั้นต้น เมื่อมาใช้กับ เรือฟริเกต ที่มีการติดตั้ง EO...ซึ่ง ตัวเรือ เองก็มีระบบการทำลาย เป้าอากาศ ทั้ง ปืนใหญ่เรือ SAM...ดังนั้น...ปืน 30 ม.ม. จึงเป็นปราการ ด่านสุดท้าย ถ้าภัยคุกคามมันยังรอดทั้ง 2 ด่านมาได้ และจะใช้ เรดาร์ ทั้ง CEROS-200 และ EOS-500 ช่วยในกำหนดเป้าให้ DS-30MSI...
ต.994 ดัดแปลงมาจาก ต.991 ด้วยการขยับหอบังคับการณ์เรือไปข้างหน้า 2 เมตร และเพิ่มความยาวท้ายเรือออกไปอีก 3 เมตร โดยหวังว่าจะสามารถติดตั้งจรวดขนาดเล็กด้านท้ายเรือได้ เพราะฉะนั้นพื้นที่ติดปืนหน้่าค่อนข้างคับแคบมาก และอยู่ชิดหัวเรือมาก จนน่ากลัวว่าเจอคลื่นโต ๆ น่าจะทำอะไรลำบากพอตัว ผมมีภาพเปรียบเทียบครับ มีกันลื่นให้เหยียบเหมือนกันนะครับ แต่ชิดกับ Superstructure มาก ๆ
ปืนนเรือฟริเกตลำใหม่ก็คือ DS-30MR เหมือนกันแหละ สำหรับเรือลำนี้ผมไม่ห่วงเท่าไหร่เพราะมีฟาลังซ์ CIWS ติดตั้งอยู่ ฉะนั้นจะใช้ปืน 30 มม. ยิงนกตกปลาหรืออะไรก็ทำไปเถอะ ด้วยอัตรายิง 200 นัด/นาที ผมไม่ได้ความสำคัญอะไรเลยในการรบจริง ต่อให้มีเรดาร์ควบคุมการยิงโคตรเทพ ปืนก็ไม่สามารถสอยอะไรที่ลอยอยู่บนฟ้าได้หรอก ใช้ยิงเรือเล็กบนพื้นน้ำอะไรพวกนี้ไปตามท้องเรื่อง
ที่น่าห่วงคือเรือชั้นเรือหลวงนเรศวรมากกว่า เพราะการถอดปืน 37 มม.แท่นคู่ออกอำนาจการยิงมันหายไปเลยต่อหน้าต่อตา ปืนใหญ่เรือก็เป็นขนาด 5 นิ้ว พอจะพึ่งดวงในการยิงเครื่องบินอะไรไม่ได้เลย มันเป็นจุดอ่อนขนาดใหญ่มากกกกก....... เพราะ 200 นัด/นาทีนี่แหละ
ทีนี้มาถึงเรื่องอาวุธปืนมาตราฐานกองทัพเรือไทยบ้าง ผมคาดว่านับจากนี้เรือใหม่ทุกลำจะมีปืนให้เลือกติดตั้งจำนวน 4 แบบเท่านั้น และเน้นไปในภาระกิจยิงต่อสู้กับเรือผิวน้ำด้วยกันเป็นหลัก
1 Oto 76/62 มม. ส่วนจะเป็นรุ่น Compact หรือ Super Rapid ก็แล้วแต่งบประมาณ แต่จะไม่มีรุ่น Strales ที่สามารถทำหน้าที่ CIWS ได้อย่างแน่นอน เพราะถ้ามันจะมาจริง ๆ ก็คงจะมากับเรือฟริเกตลำใหม่ไปแล้ว
2 Bushmaster 30 มม.บนแท่นยิง DS-30X ของท่านกบนั่นแหละครับ ชอบไม่ชอบยังไงก็ตัวนี้แน่ ประเภท 600นัด/นาที คงสิ้นหวัง
3 Oerlikon 20 มม.บนแท่นยิง Denel GI-2 ของแอฟริกาใต้ ซึ่งแปลงร่างมาจาก modèle F2 ของฝรั่งเศสอีกที ราคาค่อนข้างถูกกว่าใครจึงน่าจะมากันพอสมควร ทั้งเรือช่วยรบและเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ไปจนถึงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นปัตตานี อัตรายิงสุงสุด 750 นัด/นาที
4 Ordnance M2HB 12.7 มม.หรือ ปืนกลในตำนานที่ยังมีชีวิตอยู่ M2 Browning นั่นเอง อัตรายิงสุงสุดขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์ของปืนกระบอกนั้น เพราะส่วนใหญ่เราใช้วิธีซ่อมคืนสภาพไปตามท้องเรื่อง
ก็คงจะมีแค่นี้แหละครับ ส่วนปืนแบบอื่น ๆ ก็คงใช้งานจนสิ้นอายุไขแล้วก็จบกัน ถือเป็นมาตราฐานที่เราเรียกร้องอยากให้กองทัพเรือทำกันมาตั้งนานแล้ว ผมเองก็ว่าดีนะเพราะจะได้ไม่หลากหลาย มาสะดุดหัวทิ่มก็วันนี้เองเพราะความสงสัยของท่านกบ เหอ เหอ เหอ
ผมต่อ 100 บาทเอาขี้หมากองเดียวเลย ว่ารบจริงปืน Mk.45 ยิงอะไรที่ลอยเข้ามาหาไม่ได้แน่นอน รวมทั้งปืน 76/62 ของเราทุกกระบอกด้วย
เพราะอัตรายิงมันต่ำมาก และไม่ได้ใช่กระสุนนำวิถีแต่อย่างใด ไม่อย่างนั้น Oto จะทุ่มเงินมหาศาลพัฒนารุ่น Strales ขึ้นมาทำไม ใช้ Super Rapid พร้อมเรดาร์ควบคุมขั้นเทพไม่ดีกว่าหรือ คำตอบคือไม่ได้ครับ ยิงจรวดไม่โดนหรอก ต้องเป็นกระสุน DART (Driven Ammunition Reduce Time of Flight) เท่านั้นถึงจะยิงโดน และไม่ใช่กระสุน Vulcano (Long Rang High Accuracy Ammunition Family) ที่เน้นยิงเป้าผิวน้ำด้วย แม่นไม่แม่นอยู่ที่กระสุนครับ
ปืน 5 นิ้วที่น่าจะยิงอะไรที่ลอยบนฟ้าได้ก็คือ Mk.42 mod.9 ตัวยุคสมัยสงครามเย็น เพราะมีอัตรายิงสุงถึง 40 นัด/นาที และออกมาเพื่อใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินด้วย จึงอาจจะมีโชดในการยิงโดนเป้าหมายบนอากาศบ้าง แต่รุ่นที่ติดอยู่บนเรือหลวงพุทธถูดลดมาเหลือ 28 นัด/นาทีแล้ว เพราะไม่ได้เน้นภาระกิจป้องภัยทางอากาศแลว
ร.ล.ลาดหญ้า(ลำที่3 หมายเลข 633) และ ร.ล.ท่าดินแดง(ลำที่3 หมาเลข 634) เป็นเรือกวาดทุ่นระเบิดที่ต่อจากอิตาลีขึ้นระวางประจำการ เมื่อราวปี ๒๕๔๓ครับ
ซึ่งปืนใหญ่กลแบบ MSI DS30B ขนาด 30mm นี้ก็มีการติดตั้งมาพร้อมกับเรือตั้งแต่แรกแล้วครับ
แต่ต่อมาเรือชุดนี้ได้เปลี่ยนปืนเปลี่ยนเป็น MSI DS30M ขนาด 30mm ใหม่ภายหลังสักช่วงปี ๒๕๕๑ ครับ
เดี๋ยวจะหาว่าผมเอาแต่บ่นกองทัพเรือ จริงครับ ที่เรือหลวงลาดหญ้าเคยติดตั้งปื่น DS-30B ที่มีอัตรายิง 600 นัด/นาทีมาก่อน และเปลี่ยนมาเป็น DS-30M ที่มีอัตรายิง 200 นัด/นาทีในภายหลัง สังเกตุความแตกต่างที่ลำกล้องปืนจะเป็น Oerlikon KCB และสายกระสุนมีกล่องเก็บเรียบร้อย
แต่ความเห็นส่วนตัว ดูเหมือนจะเป็นการปรับปรุงใหญ่มากกว่า นั่นคือเอาปืน Oerlikon KCB ออกไปแล้วใส่ปืน Bushmaster เข้ามาแทน ส่วนจะเพราะอะไรยังไงไม่ทราบเหมือนกัน ปืนเก่าอาจมีการซ่อมบำรุงค่อนข้างเยอะเพราะมันคือปืนต่อสู้อากาศยาน ขณะที่เรือหลวงลาดหญ้าเน้นใช้ปืนในการยิงทำลายทุ่นระเบิด และป้องกันตัวเองนิดหน่อย สเป็กปืนก็เลยสุงไปเลยขอเปลี่ยนกับบริษัทผู้ผลิต
ย่อหน้าที่แล้วผมมโนเอาเองล้วน ๆ นะครับ คือใช้ไปแล้ว 8 ปีแล้วเปลี่ยนใหม่นี่มันแปลกพิกล
ส่วนอัตรายิงถ้ามันไม่สำคัญ แล้วปืนต่อสู้อากาศยานทุกชนิดบนโลกจะทำมาให้เยอะไปทำไมกันล่ะครับ ยิ่งอัตรายิงสุงกระบอกปืนก็ต้องทำงานหนัก ราคาที่ผลิตก็แพงกว่ากันเห็น ๆ
เอาง่าย ๆ เลย ฟาลังซ์นี่เรดาร์ตรวจับและระบบควบคุมการยิงสุดยอดขั้นเทพ ใส่ปืน Bushmaster อัตรายิง 200 นัด/นาทีเข้าไปสิครับ จะไปใช้ 6 ลำกล้องรวบและกระสุนพิเศษเพื่ออะไรกัน ถ้าไม่ต้องการอัตรายิงสุงสุดในการทำลายเป้าหมาย
ความเห็นส่วนตัว DS-30MR ใช้ยิงนกตกปลาได้ แต่ยิงเป้าหมายที่ลอยเข้ามาไม่ไหวหรอกครับ เพราะอัตรายิงมันต่ำเกินไป จึงจะมีโชดในการยิงโดนเป้าหมายบนอากาศน้อยมากจนถึงมากที่สุด
กระสุนปืนเป็นระบบอาวุธที่ไม่นำวิถี (ยกเว้นกระสุนเทพรุ่นใหม่นะ) แม้จะมีเรดาร์ควบคุมการยิงที่ดีมากแค่ไหนก็ตาม แต่ยิงไป 200 นัดก็อาจไม่โดนเป้าหมายเลยก็ได้
ปัจจุบันนาโต้ใช้วิธียิงจรวดต่อสู้อากาศยาน 2 นัดต่อ 1 เป้าหมาย (double shot) ในการรบจริง ทั้งที่จรวดต่อสู้อากาศยานและเรดาร์ควบคุมการยิงทันสมัยมากก็ตาม
เพราะฉะนั้นไอ้เรื่องใช้ปืนใหญ่ยิงจรวด one shot , one kill มันมีแต่ในการ์ตูนล่ะครับ อย่างเรือชั้น Ticonderoga ของอเมริกาก็เคยไปทำสงครามอิรัคมาแล้ว เรือลำนี้ใช้ AN/SPQ-9 ควบคุมปืน 5"/54 caliber Mark 45 gun โดยเฉพาะไปเลย มีระยะตรวจจับไกลสุดถึง 37 กิโลเมตร แต่ก็ยังไม่เคยยิงจรวดโบราณอย่าง Silkworm ของอิรัคโดนเลยซักนัดเดียว และไอ้จรวดโบราณนี่ก็เกือบสอยเรือประจัญบาน USS Missouri มาแล้วด้วยซ้ำ ทั้งที่มีเรือฟริเกตอเมริกาและอังกฤษคุ้มกันอยู่แท้ ๆ ฟาลังซ์ก็ดันไปยิงใส่เป้าลวงแทนเสียนี่ เกือบซวยกันหมดแล้วมั้ยล่ะ
เห็นมั้ยครับว่าการยิงอะไรที่ลอยมาบนฟ้ามันเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่ใช่ว่ามีปืนมีเรดาร์ควบคุมการยิงแล้วจะทำอะไรได้ซักเท่าไหร่ เพราะกระสุนปืนมันไม่นำวิถี ต้องใช้ดวงชนิดมหาศาลในการจะยิงโดนเป้าหมายที่วิ่งมาอย่างรวดเร็ว
ลองกระสุนมันเข้าเป้าสัก 1-2 นัด มันก็ไม่จำเป็น ซัลโว ให้สิ้นเปลือง หรอกครับ...เพราะมันระเบิดไปแล้ว ตั้งแต่ นัดที่โดน ครับ...
ถ้าเราต้องใช้กระสุน ขนาด 200 - 600 นัด/นาที เพื่อการต่อต้านครั้งเดียว...คงต้องขนกระสุนกันเป็น โกดัง ต่อเรือ 1 ลำ แหล่ะครับ...ในวงรอบการเดินเรือ 1 รอบ...
แล้วเรือลำนึง จะขนกระสุนไปได้สักกี่นัดครับ...คงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ...ที่จะใช้การซัลโวเป็น 100 นัด เพื่อต่อต้านอาวุธนำวิถี ต่อ 1 ครั้ง...แต่คงเป็นเรื่อง ความเร็วบรรจุกระสุน มากกว่า ใน 1 นาที สามารถกระสุนยิงเร็วได้กี่นัด ก็คง หมายถึง ความเร็วกระสุนที่จะ ซัลโว ต่อเนื่อง ถ้ากระสุนนัดแรกพลาด...กระสุนนัดที่ 2 หรือ 3 จะเป็นตัวสังหารต่อไป โดยมีความเร็วบรรจุตามข้างต้น...เป็นตัวชี้วัด...
ลองนึกภาพว่า ปืนเรือ ที่ระยะไกลสุด 12 ก.ม. แต่ระยะหวังผล จะใกล้กว่านั้น...นั่น หมายถึง กระสุนนัดแรก ทียิงออกไป...และถ้าพลาด...ด้วย ความเร็วของ อาวุธนำวิถี คงที่มาถึงระยะ 10 - 9 - 8 - 7 - 6 - 5 - 4 - 3 - 2 - 1 ก.ม. ปะทะ จะใช้เวลากี่ วินาที ปืนเรือ คงยิงกระสุนไป ไม่ได้กี่นัดหรอกครับ...
แล้วการใช้ ปืนเรือ เพื่อต่อต้านอาวุธนำวิถี ก็คงมี หลักนิยม มานานหลายสิบ ๆ ปี แล้วล่ะครับ...ดังนั้น ความสำคัญของ ระบบตรวจจับ ที่มีความแม่นยำสูง จึงมีการพัฒนา มากกว่า ความเร็วการยิงของปืนเรือ...ยิงจับเป้าแม่น เท่าไหร่...การใช้กระสุน ยิ่งน้อยลงเท่านั้น...
ยกตัวอย่างเช่น ปีนกลประจำกาย เช่น เอ็ม-4 ถ้าติดศูนย์ยิง เลเซอร์ ชี้ไปที่เป้า...การใช้การยิงกระสุน เพียง 1 - 3 นัด ก็ทำลายเป้าหมายได้...ไม่ได้ จำเป็น ต้องใช้โหมดยิงต่อเนื่อง แต่อย่างใด ก็แค่ 1 นัด เป้าหมาย ก็สามารถตายได้แล้ว...การใช้ โหมดซัลโว ก็น่าจะหมายถึง การไม่สามารถเล็งเป้าหมายได้...ใช้การยิงสุ่ม หรือ ใช้การจับเป้าด้วยสายตา มากกว่า ครับ...ซึ่งก็น่าจะตรงกับ นิยาม ระบบตรวจจับในสมัยก่อน...ที่ยังไม่ได้มีความแม่นยำเพียงพอ จึงต้องอาศัย ปริมาณการยิงสุ่ม จำนวนมาก เพื่อหวังโชค...
ตามแผ่นภาพ หลักนิยม การใช้อาวุธเรือของ กองเรือป้องกันตนเองของญี่ปุ่น...ที่ว่า มันมีมานานแล้ว ใช้ปืนเรือ ต่อต้าน อาวุธนำวิถี...แล้วปัจจุบัน ก็คงพัฒนา จนมันสามารถทำได้...ไม่ใช่ การ์ตูน...กำลังหา กระทู้ ที่ว่า ร.ล.นเรศวร ใช้ ปืนใหญ่เรือ ฝึก ยิง ต่อต้านอาวุธนำวิถีมายืนยันให้ครับ...ว่า มัน ไม่ใช่ การ์ตูน...
เรือชุดนเรศวรเคยทดสอบยิงเป้าอากาศ (DART) ถ้าจำไม่ผิดน่าจะระยะยิง 6 กิโลเมตรซึ่งการทดสอบครั้งแรกพลาดเป้าและได้มีการปรับแก้ระบบควบคุมการยิงจนยิงเข้าเป้าได้ ส่วนตัวถ้าใช้ยิงเพื่อป้องกันอาวุธนำวิธีนี่ก็น่าห่วงเหมือนกัน หากจำผิดต้องขออภัยครับ
ผมเห็นด้วยนะเรื่องอัตรายิง คือให้กระสุนมันเข้าเป้า1-2นัดนี่ก็ยากแล้วนะครับ ถ้าเป็นจรวดลูกโตๆบินดุ่ยๆเข้ามาสูงๆนี่ยังพอว่าครับ เป้าบินนี่มันก็ยังช้ากว่าจรวดเยอะนะครับ ทิศทางบินก็แน่นอน ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสยิงถูกเลย แต่ประสิทธิภาพมันต่ำกว่าปืนที่อัตรายิงสูงๆมาก ในภาพinfographicสมัยก่อนมันเป็นแบบนั้นก็คงเพราะมีอะไรก็ต้องยิงกันไปแหละครับ ปืน40แท่นคู ยุคที่ยังไม่มีลูกแตกอากาศนี่ประสิทธิภาพก็ไม่ใช่จะสูงนะครับ แต่มันไม่มีอะไรที่ดีกว่าจะทำไงได้ ปืนอัตรายิงต่ำ ไม่มีลูกแตกอากาศ ยิงจรวดร่อนให้โดน(มันหันหน้าเข้าหาด้วยนะ)นี่ไม่ง่ายนะครับ
ถ้าอัตรายิงไม่สำคัญจะมีปตอ.อัตรายิง400+ 600+ นัด/นาทีไปทำไมCIWSที่อัตราการยิง3000+นัด/นาทีไปทำไม ถ้าใช้ลูกธรรมดาๆยิงได้ปืนอัตรายิงต่ำ(แต่ก็1000นัด/นาทีแล้ว) อย่าง35มม.จะใช้กระสุนAHEADไปทำไม(นอกจากที่เอาไปทำC-RAM) หรือOTOจะทำลูกDARTขึ้นมาใช้กับStralesทำไม จะใช้127ถ้าพวกอัตรายิงสูงๆอย่าง127/64 LW พร้อมลูก VT/CVT ยังพอว่าครับ แต่ประเด็นคือเราไม่มีใช้เลยสักแบบ ถ้ากระสุนไม่มีลูกเล่นอัตรายิงก็ต้องสูง ส่วนถ้าอัตรายิงมันต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ยังไงก็ต้องใช้กระสุนฉลาดๆครับถ้าจะให้ชัวร์
จริงๆก็มีตัวเลือกอย่างที่ผมบอกไปข้างบน คือซื้อลูก30มม.แตกอากาศจากRheinmetallมาใช้กับบุช2มันซะเลยครับ คงพอแก้ขัดได้บ้าง 76บนเรือฟริเกตถ้ามีเงินจะซื้อป้อมStralesมาเปลี่ยนก็ได้ถ้าผมจำไม่ผิดเขามีเป็นชุดkitขายเลยนะ แต่คง10ปีข้างหน้านู่น
เรือ Durand de la Penne อาจจะเป็น เรือการ์ตูน ครับ...ไม่มี CIWS สักกระบอก เพราะใช้ ปืน 76 ม.ม. ทำหน้าที่แทน
เรือ Caio Duillio อาจจะเป็น เรือการ์ตูน อีกลำครับ...ไม่มี CIWS สักกระบอก เพราะใช้ ปืน 76 ม.ม. ทำหน้าที่แทน
ตามที่ให้ความเห็นไว้ครับ...ถ้าจัด ลำดับ การใช้อาวุธ ก็น่าจะได้ประสิทธิภาพของ อาวุธ ประจำเรือได้เต็มที่...แต่สำหรับ กรณี ฟาลังซ์ ไปยิง เป้าลวง ก็เพราะ ความผิดพลาดในการจัดลำดับ หรือ ไม่เลือกทางใด ก็ทางหนึ่ง เพราะ อาวุธทั้งคู่่ ก็คือ ระบบป้องกันตัวระยะประชิด...ซึ่ง ฟาลังซ์ ถ้าอยู่ใน โหมดอัตโนมัติ มันยิงทุกอย่างที่ขวางหน้า ที่จับเป้าได้...เพราะมันไม่สามารถแยกแยะเป้าหมาย ว่าเป็นมิตร หรือ ศัตรูได้...ก็ต้องมาเปลี่ยนเป็น โหมด คนบังคับแทน...ในหนังเรื่อง The Last Ship Season 3 ตอนที่ 12 ก็จะมีเหมือนกันครับ...ใช้ คนบังคับ แทน เพราะปิดระบบ เพื่อพรางตัว...
ไอ้เรื่องยิงปืนจะยิงโดนไม่โดนมันมีหลายประเด็น
1. อัตราการยิง สำคัญมั้ย สำคัญในระดับนึง คือสามารถสาดได้หลายลูกเข้าเป้าพร้อมๆกัน (ไม่ถึงกับพร้อมกัน แต่ในเวลาไล่เลี่ยกันมากๆ) ฉะนั้นโอกาสโดนเป้าหมายย่อมมากกว่า ซึ่งก็ส่งผลต่อเนื่องไปที่อานาจทำลายต่อเป้าหมายมากกว่าเพราะโดนหลายนัดกว่า เพราะกระสุนที่ไม่ได้นำวิถียิงก็ต้องมีแรงลมมีอะไรมากระทบบ้าง ก็เป็นหลักการเดียวกับกระสุนแตกอากาศ ที่จะปล่อยสะเก็ดระบิดออกมา (พวกกระสุนอัจฉริยะใหม่ๆทั้งหลาย) ซึ่งยิงเร็วไม่ได้หมายความว่ายิงเยอะนะครับ (เพราะงั้นไม่ได้หมายความว่าต้องยิงทีหลายร้อยนัดต่อเป้า อาจจะยิงแค่สี่ห้าวิฯ 50 นัด) แต่หมายความว่าเยอะในห้วงเวลาเท่าๆกัน
2. ระบบตรวจจับ อันนี้สำคัญ เพราะเป้าเคลื่อนที่ยิ่งเร็ว ถ้าการตรวจจับอัพเดทไม่ทัน ก็ไม่สามารถคำนวนวิถีของเป้าหมายได้ทัน
3. ระบบควบคุมการยิง เกี่ยวเนื่องกับข้อ 2. อันนี้ก็โคตรสำคัญ คือต้องสามารถคำนวนได้เร็วพอและแม่นพอว่าต้องชดเชยมุมเท่าไหร่ (lead compensation) เพื่อที่วิถีกระสุนที่ยิงไปจะไปจ๊ะเอ๋กับเป้าหมายพอดี
ถ้าให้กำหนดความสำคัญผมว่าอัตราการยิงสำคัญน้อยสุด
ลองนึกภาพดูว่ามีปืนยิงได้ล้านนัดต่อนาที แต่ระบบตรวจจับจับไม่ทันก็ยิงว่าว หรือระบบตรวจจับจับทันแต่แต่ระบบควบคุมการยิงคำนวนช้า ก็อาจจะยิงกระสุนตามตูดเป็นทาง แต่ไม่โดนซักนัด
ขณะที่อัตราการยิง ถ้าไม่ช้าจนยิงนัดแรกพลาดนัดสองยิงแก้ตัวไม่ทัน จรวดเข้าเป้าก่อน โดนไม่กี่นัดก็สอยเป้ามหายได้ถ้าระบบคคย.กับระบบตรวจจับที่ดีพอ ออกแบบมาให้ใช้งานกับปืนได้ (อย่างมีประสิทธิผล) ก็ไม่ต้องเร็วขั้นเทพหรอกครับ
มาที่กรณีของเรา ผมมองว่าอาวุธเอาจริงๆแล้วไม่ได้ออกแบบมาเป็น CIWS พันธุ์แท้หรอก อาจจะใช้ยิงโดรน (ซึ่งก็รวมไปถึงพวกโดรน Harpy, Harop ของอิสราเอลที่มาบินทำด้อมๆมองๆแล้วพุ่งเข้าใส่พร้อมระเบิด) อากาศยาน หรือจรวดร่อนที่ช้าๆได้ แต่ไปเทียบกับพวกฟาลังซ์คงไม่ได้ ผมว่าปืน Bofor 40-57 ตัวใหม่ๆที่ใช้กระสุนแตกอากาศยังมีลุ้นมากกว่า
อ่านเพลิน แหะ แหะ ไม่รู้จะคอมเม้นท์อะไร
76 มม. บนเรืออิตาลีเป็นรุ่น strale ครับ.ใช้เป็น ciws ได้ อัตรายิงก็สำคัญนะครับในการจัดการจรวดที่พุ่งเข้ามา รวมถึงชนิดกระสุนและระบบควบคุมการยิงด้วยเช่นกัน 76 มม. แบบธรรมดา เอาแบบ super rapid ก้ได้ใช้เป็น ciws โอกาสในการยิงถูกน้อยนะครับ ด้วยชนิดของกระสุนและระบบควบคุมการยิงครับ ซึ่งต่างจาก 76 มมรุ่น strale ครับ และปืนใหญ่บนนเรศวรใช้เป็น ciws ไม่ได้แน่ครับด้วยชนิดกระสุนและระบบควบคุมการยิงที่มีโอกาสยิงถูกยากมากๆๆ รวมถึง ds30 ที่เรามีด้วยครับ นอกจากหากระสุนแบบที่ท่านภู มาใช้งานครับ ไม่อย่างนั้นเค้าคงไม่แยก ปืนหลัก ปืนรอง และระบบปืนที่ใช้เป็น ciws หรอกครับ
กรณี ท่านซุเปอร์บอย และ ท่านจูลดัส ................... ผมว่าแนวความคิดถูกทั้งคู่นั่นแหล่ะครับ เพียงแต่มองคนละมิติ คือ เอา
แตงโม มาเปรียบกับ สับปะรด ซึ่งจริงแล้ว ทั้งคู่คือส่วนประกอบของน้ำผลไม้อันหวานซาบซ่า....................
ประเด็นแรก ต้องแยกก่อนนะครับ ว่าเป้าหมายที่เรากำลังจะกล่าวถึงนี้คืออะไร ถ้าเป็นจรวดนำวิถีปราบเรือโคจรเรียดน้ำ ขอให้ทุกท่าน
หันหลังและแยกย้ายกันกลับบ้านด่วน เพราะอันนี้เราจะต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของ นกกระจอกทะเลวิวัฒน์ควบคุมด้วยเอจีส
หรือเป็นระบบป้องกันตัวแบบฆ่าแข็ง ทำงานผสานกัน อีซีเอ็ม/เป้าลวง ฆ่าอ่อน เป็นต้น..........................
เอาหล่ะ ทีนี้มาประเด็นของเรา ................. เป้าที่เรากล่าวถึง ควรเป็นอากาศยาน ........................................ตามตำราการรบ
ทางเรือจะแบ่งภัยคุกคามออกไปตามระยะ เช่น ประชิด ใกล้ ปานกลาง ไกล ทั้งนี้ในทางยุทธวิธี ยังต้องสังเกตท่าทีของเป้าหมายเพื่อ
ประเมินระดับภัยคุกคามด้วย เช่น เป้าหมายเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใด บินในลักษณใด เช่นวนดูเชิงรอบๆ ผ่านด้วยระยะห่าง มุดดุ่ยๆ
เข้าหาแบบมุงเอากรุแน่ เป็นต้น................
ซึ่งจากที่กล่าวด้านบน ทำให้เกิด แฟ็คเตอร์นำมาประเมินการใช้อาวุธได้แก่
เอาหล่ะครับ หลังจากประเมินภัยคุกคามว่าโดนแน่ๆ เราได้ แฟคเตอร์ 3 ตัวมากำหนดยุทธวิธีแล้ว นั่นก็คือ ระยะห่าง ความเร็ว และ เวลา
................. ซึ่งถ้ากลับไปที่ตำราพิชัยการรบ ว่าด้วยการแบ่งโซนการป้องกัน จะเห็นว่า อาวุธปืนเรือหลัก ใช้ในการรบทางอากาศ
ได้(ไฟท์บังคับ) ในระยะ 10 กม.ลงมา เนื่องจากเป็นปืนที่มีคาลิเบอร์ใหญ่ มันก็ยิงได้ไกลครับ ซึ่งในเหตุการณ์นั้น เรือเจ้ากรรมไม่มีแซม
พิสัยใกล้ เช่น แอสปิเด้ หรือ ซีดาร์ด ก็ต้องสู้ด้วยปืนนี่หล่ะครับ ...........................
โปร แอ่นด์ คอน ของการใช้ปืนคาลิเบอร์ใหญ่ในการรบทางอากาศคือ
เมื่อปืนใหญ่หลัก ไม่สามารถสอยตัวแสบลงมาได้ เป้าหมายยังมุดต่ำทะลุแนวตั้งรับเข้ามาที่ระยะ 3 กม. ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของคาลิเบอร์
รอง อันนี้ก็ต้องเอามาเปรียบเทียบข้อดี/ด้อย
ครับจากที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด เพื่อนๆ เห็นอะไรบ้างครับ...................... คือกรณี อัตราเร็วยิง ของคุณ ซุเปอร์บอย กับ ระบบ
คคกย.+ ความอัฉริยะของกระสุน ของท่าน จุลฯ มันสำคัญทั้งคู่หล่ะครับ แต่มันอยู่คนละมิติ ................. ที่ 8 กม. ปืน 5 นิ้ว ท่าน
จูล ยิงถึง แต่ปืน 30 ท่านซุป ไปได้แค่ครึ่งก็ตกน้ำ ท่านจูลจึงขอเน้น ระบบ คคกย. เป็นเรื่องที่มาถูกทางและถูกต้อง........................
ที่ 3 กม. 30 ท่าน ซุป อยู่ในระยะตกมัน เป้าหมายโถมเข้าใกล้ เวลาเหลือน้อย ท่านซุป จึงขอเน้นชุก ชอบแบบ ตะ หรับ ....ตรับๆๆๆๆๆ ไฟแล่บ
....... ซึ่งก็มาอย่างถูกทางถูกต้อง ครับ...................
เกล็ดเล็ก................. เวลาในการติดพันนี่แหล่ะครับ เขาจึงเอามาออกแบบความชุกการยิงของ ซีไอดับบลิวเอส........................ ยก
ตัวอย่างเช่น โกล คีปเปอร์ คาลิเบอร์ 30 ฉมังระยะ 3 กม. เวลามีจำกัด จึงชุก ที่ 4พัน ............. พอมาเป็น 20 มม.ฟาลังซ์
ฉมังแค่ 2 กม. ระยะเผาขนตูด มีเวลาสุดๆของความจำกัด เลยต้องซัดไปเกือบ 5พัน.................. ดังนี้เป็นต้น.................
ซึ่งแท้จริงแล้ว ......... ความรู้สึกลึกๆ ของ ผู้การเรือ รวมถึงนักยุทธวิธีทางเรือ..................... ไม่ค่อยปารถนาที่จะใช้อาวุธระยะใกล้ๆตัวเองสักเท่าใดดอกครับ อะไรที่เข้ามาจั๊กกะจี๋ใกล้ๆ มันก็ต้องเสียวเป็นธรรมดา.......................
นักออกแบบอาวุธ จึงให้ ม.รังสิต และสวนดุสิต ส่งนักศึกษาเดินทางไปอ่าวเปอร์เซีย เพื่อทำแบบสำรวจงานวิจัยอาวุธในอุดมคติ............. พบว่า 96.41 เปอร์เซนต์ของ ผบ.เรือผู้กรอกแบบสอบถาม อยากให้มีอาวุธป้องกันตัวเองในระยะที่ไกลออกไปมากๆ .............. ในขณะที่ 12.36 เปอร์เซนต์เห็นว่า การบรรจุสุภาพสตรีเป็นลูกเรือ สร้างสีสันต์ในการปฏิบัติงานทางทะเล ................
ครับ ดังนี้ จึงเกิด แซม เอเวอลูชั่น ประเภท ยิงเป้าบินเรียดน้ำให้ตกลงได้ตั้งแต่ 10 กม. ไงครับ ................. ข้อนี้ดูตัวอย่างได้ไม่ใกล้ไม่ไกล สุดยอดฟริเกต ฟอมิดาเบิ้ล ของเพื่อนเราไงครับ เอสเตอร์ 15/30 ทำงานร่วมกับเรดาร์ คคกย.แจ่มๆ เอกอุพอที่จะสอยเป้าเรียดน้ำไกลๆได้ เลยลืม ฆ่าแข็ง แบบฟาลังซ์ ไปเลย แต่ก็อุตส่าห้อย 76/62 ก้าวหน้าไว้นิด เผื่อกันเหนียว ................ และนี่เองผมจึงไม่แปลกใจ ที่ รล.นเรศวรของเรา ถอด 76เอ 37 มม. ออก เพราะคงไว้ใจ นกกระจอกทะเลวิวัฒน์ ในระดับ มากๆ เลยแหล่ะ.................. ก็ให้ลุ้นว่า ซุปเปอร์ฟรีเกต ลำใหม่ของเรา ทร. จะยังไว้ใจ นกกระจอกอย่างนี้มั้ย ถ้าใช่ หนังจะฉายซ้ำ รล. รัตนโกสินท์ เพราะเรือจะไม่มี ซีไอดับบลิวเอส...........
ว่าไปแล้วก็มีเรื่องเล่า................... มีต่อ
เรื่องเล่าขานมีว่า ครั้งหนึ่ง มะกันส่งสุดยอดเรือ ลว. ชั้น ติคอนเดอโรก้า เข้าไปอ่าวเปอร์เซีย................ เรือจัดเป็นสุดยอดระบบป้องกันภัยทางอากาศ เพราะติดตั้งเรดาร์เฟสอาร์เรย์กำลังสูง จานสายอากาศแต่ละชิ้นมีขนาดเท่าสนามเซปักตะกร้อขนาดนั้นเลย นัยว่า สามารถติดตามเป้าขนาดลูกบาสเก็ตบอลได้เป็นร้อยกิโลเมตร ...................
แต่ด้วยความไว้ใจระบบตรวจจับ เรือจึงถูกวางอาวุธแซมเป็นหมัดเด็ดไว้แค่ชนิดเดียว นั่นคือ เอสเอ็ม-1 สแตนดาร์ด จรวดต่อสู้อากาศยานในระยะปานกลาง ป้องกันเป็นพื้นที่.....................
วันแห่งมนทิลของ ผบ.เรือ ............... ติคอนเดอโรก้า ตรวจจับเป้าทางอากาศไม่ปรากฏสัญชาติในเขตห้ามบิน ซึ่งตามรายงานแจ้งว่า เป้าบินอยู่สูงที่ระยะห่างหลายสิบไมล์ โดยมีทิศทางบินเข้าหา และมีท่าทีลดระดับลงต่ำ................... เรือพยายามแจ้งเตือนเพื่อให้นักบินออกจากบริเวณดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการตอบรับ เครื่องบินยังคงมุ่งเข้าหาเรื่อยๆ ............. ผบ.ไม่มีทางเลือก เนื่องจาก หากปล่อยให้บินเข้าใกล้กว่านี้ จะเข้าสู่ระยะที่อาวุธแซมไม่สามารถยิงได้ ก็จะเหลือแต่ปืนเรือ 45 ม้อด2 ขนาด 5 นิ้ว ไว้รับมือแก้ขัด .................. ที่สำคัญคือ กรณี เรือ ยูเอสๆ สต้าค ซึ่งเป็นเรือฟรีเกต ..... มีต่อ
ชั้น โอลิเวอร์ฯ ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ก็โดนเจ้าปลาบินของอิรัคจวกเข้ากลางลำอย่างจัง มีลูกเรือบาดเจ็บล้มตายจำนวนหนึ่ง งานนั้น ผบ.เรือถูกบีบให้ลาออก เนื่องจากไม่ได้ดำเนินมาตรการต่อต้านใดๆ ..............
สแตนดาร์ด-1 ถูกปล่อยออกจากราง ในห้วงเวลาสุดท้ายก่อนจะหลุดระยะยิง(ใกล้สุด) ................ แซมเข้าเป้าตรงเป๊ะ ...!!!! ................... แม่เจ้า ภายหลังจึงทราบว่า เป็นเครื่องบินโดยสาร .............งานเข้า เพราะผู้โดยสารเสียชีวิตยกลำ...............
ก็ให้สงสัยว่า เรดาร์ที่เจ๋งเจ๋วสุดยอด ขนาด จับเป้าเท่าลูกบาสได้เป็นร้อยโล แต่ที่ระยะไม่กี่สิบ เหตุใดจึงแยกขนาดระหว่างเครื่องบินโดยสารกับเครื่องบินรบไม่ออก................... แต่ทั้งนี้ ในสถานะการสุดตรึงเครียด ความกดดันย่อมตกไปที่ ผบ เรือ ก็น่าเห็นใจ นะครับ เพราะถ้ากลายเป็นเครื่องบินแบบ ตู-95 หรือ ตู-22 หล่ะคงแย่................ และที่สำคัญ หากสุดยอดเรือ ลว. เอจีส ใหม่เอี่ยมลำนี้ โดนกระซวกเหมือน ยูเอสๆ สตั๊ค อเมริกาคงอายแทบเอาปี๊บคลุมหัว และยิ่งไปกว่านั้น ขวัญกำลังใจ รวมถึงความเชื่อมั่นของทหารที่มีต่อระบบอาวุธ คงหายไปจนหมด ....................
นี่หล่ะครับ การจัดการเป้าหมายตั้งแต่วงนอกมันก็มีข้อเสียอย่างนี้ .................. ถ้าเรือ มี ซีสแปร์โร่ว์ ไว้เป็นดาบ 2 อีกด่าน ผบ.อาจอุ่นใจ และใจเย็นลงอีกนิด พร้อมส่งสัญญาณเตือนย้ำอีกซักหน่อย................
ครับสังเกตุได้เลย หลักนิยม อาวุธป้องกันอากาศของ ทร.มะกัน ตัวกลั่นๆ จะเป็น สแตนดาร์ด ระยะปานกลาง แล้วผลุบ หายมาที่ปราการด่านสุดท้าย ฟาลังซ์ เลย ปล่อยตรงกลางจะเป็นหน้าที่ปืนหลักในภาคไฟท์บังคับ................ จะต่างจากหลักนิยมโซเวียต ที่วางแซมไว้รับมือเป็นชั้นๆ แต่มันก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่าย และที่เห็นชินตาคือ ไม่รุจานสายอากาศอะไรต่อมิอะไร รุงรังไปหมด .....................
ตอบท่านภู
Mauser MK30-2 คงสิ้นหวัง หนทางที่ง่ายที่สุดคือจัดหา Marlin WS มาใช้งานแทน DS-30MR แล้วเลือกปืน MK30-2 ขนาด 30 มม.ก็จะสมประสงค์ทันควัน ระบบสายกระสุนคู่เหมือนชาวบ้านชาวช่องเขานั่นแหละ มีระบบเล็งยิงของตัวเองติดตั้งมาเสร็จสรรพ แต่จำนวนกรสุนจะลดจาก 25 มม.จำนวน 220 นัด มาเหลือ 160 นัดเท่านั้น ไม่รู้เหมือนกันว่า DS-30MR มีกระสุนพร้อมยิงเท่าไหร่ (ข้อมูลหายากแท้)
เรือยุคใหม่ที่ไม่มี CIWS มีเยอะมากเลยนะ ครับ ฝรั่งเศสตั้งแต่ใช้งานจรวด Aster ก็ไม่เอาซาดรัลมาติดบนเรืออีกแล้ว ซึ่งผมว่าซาดรัลก็ไม่ใช่ CIWS ที่ดีนักเพราะ lock-on before launch สเปนซึ่งเคยพัฒนาระบบ CIWS ของตัวเองมาก่อน (จำชื่อไม่ได้) แต่เรือ F-100 ของเขาก็ไม่มีแล้ว กระทั่ง F-310 ของนอร์เวย์ก็ไม่มีเพราะประหยัดงบประมาณ แต่ตามสเป็กเดิมจะเป็น Bofors 40มม.ซึ่งไม่ใช่ CIWS อยู่ดี แถมปืนติดรีโมทก็มีขนาด 20 มม.บ้าง 12.7 มม.บ้าง เน้นไปที่ยิงเรือยางสถานเดียว แต่ผมสงสัยว่าเรือไม่มี CIWS แล้วมันทำไมเหรอ อันนี้งง... ????
นับจากสถิติรบจริง จรวดต่อสู้เรือรบถูกยิงตกน้อยมากกกก...... ตอนนี้ผมเริ่มสงสัยแล้วว่า กองทัพเรือซาอุโดนยิงจมไปแล้วกี่ลำกันแน่
ส่วนเรื่องกระสุนปืนที่ใช้กับ DS-30MR นั้น คราวนี้กองทัพเรือมาแปลกมาก คือมีแววว่าจะผลิตเองเสียนี่กระไร ก็คงเป็นลูกกระสุนธรรมดานี่แหละครับ ของแพงหน้าก็แดงหน้าก็แดง คงอดไป
เรือใหม่ๆมี CIWS น้อยลงจริงเพราะไปเน้นระบบเป้าลวงมากกว่า
ติดเป็นชุดๆมีต่อต้านครบ มีทั้งปล่อยม่านควันบังสายตา แฟลร์ล่อจรวด ( laser, infrared, visual, ) ชาฟ (radar,) ล่อจรวดไปถึงเป้าลวงตอร์ปิโด แต่ไม่รู้ใช้งานจริงจะได้แค่ไหน
เรื่องที่ท่านกบพูดถึงว่าทำไมเรืออเมริกาแยกเครื่องบินไม่ออก ผมว่าขนาดเครื่องมันก็พอๆกับเครื่องบินทิ้งระเบิดได้ แล้ววิธีที่จะแยกว่าเป็นเทือกเถาเหล่ากอใครได้ก็คือ IFF กะ Transponder ซึ่งไม่รู้เหตุการณ์นั้นรายละเอียดเป็นยังไง แต่วิทยุไปแล้วไม่มีการตอบสนองมันก็น่ากลัวนะครับ
สมัยก่อนอิรักเคยเอาเครื่องบินลาดตระเวณมาโมฯพิเศษโดยฝรั่งเศสแล้วติดเอ็กโซเซ่ ห้อยถังน้ำมันเพิ่ม (เพราะเครืองบินมันระยะบินไกลกว่าใช้บ.ขับไล่) บินข้ามอ่าวไปหย่อนใส่แท่นขุดน้ำมันอิหร่าน ระหว่างบินทำไง ก็ก๊อปสัญญาณ transponder ของเครื่องพลเรือนเอา ว่าเป็นสายการบินอะไรจำไม่ได้แล้ว ชั่วจริงๆ ฮา
เรื่องความแม่นยำของปืนผมขอพูดต่ออีกหน่อย เมื่อก่อนนี้ผมก็เชื่อนะว่าปืนจะแม่นไม่แม่นอยู่ที่เรดาร์ควบคุมการยิง พอดีมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เรือ OPV ลำที่ 2 กำลังเป็นข่าว แล้วก็มีคนมาอวยว่า Oto 76/62 เป็นปืนเทพที่ดีที่สุดใน 3 โลก สามารถยิงรัวอย่างกับปืนได้เลย ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะคิดว่าปืน AK176 ของรัสเซียดีกว่ารุ่น Compact เหลื่อมรุ่น Super Rapic นิดหน่อย แต่ด้อยกว่ารุ่น Strales
ผมก็เลยแย้งไปว่าปืนจะยิงแม่นไม่แม่นอยู่ที่ระบบควบคุมการยิงต่างหาก บลา บลา บลา อะไรก็ว่ากันไป.... แล้วก็มีทหารเรือเข้ามาให้ความเห็นต่อว่า แม่นไม่แม่นนอกจากระบบควบคุมการยิงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับโชดในวันนั้น ๆ อีกด้วย ปืนไม่เหมือนจรวดที่แม่นไม่แม่นอยู่ที่เรดาร์ควบคุมการยิง 90 เปอร์เซนต์ ของปืนจะลดลงมาเหลือที่ 60 เปอร์เซนต์ก็ถือว่ามากแล้ว เพราะมีอีกหลายปัจจัยกำหนดให้กระสุนไม่วิ่งไปหาเป้าหมายอย่างที่หวัง ไม่ว่าจะเป็นกระแสลมในวันนั้นพัดแรงแค่ไหนและทิศทางไหน ความสมบรูณ์ของปืนกระบอกนั้นในวันนั้น ความเสถียรของป้อมปืนในวันนั้น ความแรงและทิศทางของของกระแสน้ำซึ่งส่งผลต่อความโคลงของเรือ และมันก็ส่งผลมายังป้อมปืนต่อมาถึงความแม่นยำอย่างช่วยไม่ได้ สภาพอากาศก็ส่งผลกับความแม่นยำด้วย ในการซ้อมยิงจริงจึงต้องมีการยิงปรับระยะ วัดระยะ อะไรในชุดแรกเสมอ ซึ่งในการรบจริงมันทำแบบนี้ไม่ได้ล่ะครับ ในเมื่อคนยิงยังมั่นใจ 50-50 เท่านั้นเอง แล้วผมซึ่งเป็นมโนจริงจะมั่นใจเกินร้อยก็คงไม่ไหว ความคิดผมก็เลยเปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริง ว่าไว้ใจกระสุนปืนเต็มร้อยไม่ได้อย่างแน่นอน
ส่วนเรื่อง CIWS ผมมีตรรกะสำหรับเปรียบเทียบที่ง่ายมาก ผมไม่เคยสนใจเลยว่าเรือจะติดอาวุธอะไรบ้าง อาวุธที่ติดตั้งใช้คำโฆษณาสวยหรูมากแค่ไหน มีภาพวาดระบบการป้องกันที่อลังการงานสร้างแค่ไหน แต่จะเอาเรือลำนั้นไปวางแหมะทดแทนเรือ HMS Sheffield ของอังกฤษในสงครามฟอคแลนด์ ยกตัวอย่างเช่นเรือ Durand de la Penne ของท่านจูดาส ตรวจพบจรวด Exocet ที่กราบเรือ และมีเวลาเพียง 5 วินาทีก่อนจรวดกระทบเป้าหมาย (ก็คือเรือเรานั่นแหละ) Durand de la Penne จะป้องกันตัวเองด้วยอะไรและอย่างไร ????? ไม่เอาประเภทตรวจจับจรวดได้ก่อนหน้าเพราะเรดาร์ทันสมัยกว่า บลา บลา บลา นะครับ แบบนี้มันโกง
ส่วนตัวคิดว่า Phalanx และ Goldkeeper ที่เปิดโหมดอัตโนมัติน่าจะทำงานทัน รวมทั้ง SeaRAM ที่ทำงานอัตโนมัติก็น่าจะยิงทันนะ ส่วน RAM ที่ยังต้องให้คนยิงด้วยมือไม่ทันหรอก (แม้ว่าป้อมปืนจะหมุนได้ทันและยิงด้วยโหมดซัลโวได้ก็ตาม แต่ควรจะมีอย่างน้อย 10 วินาที) ผมก็เลยให้คะแนน CIWS แท้ ๆ ของฝั่งตะวันตกไว้แค่ 3 ระบบนี้เท่านั้น อาวุธที่เหลือเป็นแค่ปืนรอง จรวดต่อสู้อากาศยาน หรือปืนต่อสู้อากาศยานควบคุมด้วยเรดาร์อะไรก็ว่ากันไป ส่วนของรัสเซียหรือจีนไม่มีข้อมูลเพียงพอ ไม่กล้ายืนยันหรือมั่นใจอะไรเลย ผมให้คะแนนระบบ CIWS ที่ 5 วินาทีตามการรบจริงครับ
เดี๋ยวนี้อย่างที่รู้คือไม่ค่อยได้ติดกันแล้ว แต่ของเรายังไงก็ควรหามาใช้งานเพราะจรวดทันสมัย+ระบบเป้าลวงทันสมัยของเรายังมีอยู่น้อย Phalanx บนเรือหลวงพุทธเอาไปปรับปรุงเพื่อใช้งานใหม่ก็น่าจะเข้าทีนะเออ แล้วเอามาใส่บนเรือหลวงจักรีซักระบบก็ยังดีกันเหนียว ที่สำคัญน่าจะปรับปรุงระบบเป้าลวงด้วยนะ เอาให้เหมือนเรือหลวงนเรศวรก็ได้ง่ายที่สุด จากนั้นก็ซื้อจรวด Mistral 2 'fire and forget' ซัก 40 นัดมาทดแทนของเดิม (ใส่บนเรือ 36 นัดคือยิงได้ 2 รอบ ยิงทดสอบซัก 1 นัด ที่เหลือ 3 นัดสำรองไว้) ส่วนจรวด Mistral ของเดิมก็ไปหาซื้อแท่นยิงประทับบ่ามาซัก 8 ชัด จะได้โหลดใส่เรือรบลำที่ไม่มีจรวดต่อสู้อากาศยาน
เริ่มมโนไปไกลอีกแล้ว 555
ขอมั่วมั่ง
ปัญหาCIWS ทดสอบกับAK-630และKasthan คือเวลาในการจับเป้าน้อยเกินไป(เป้ามันเร็วกว่าที่คิดมากสำหรับความเร็ว0.8-0.9มัค ) รวมถึงขนาดหน้าตัดเป้าที่เล็กทำให้ระยะเวลาในการยิงทำลายพอสมควร
ถามเมื่อเป้าเรี่ยพื้นน้ำเจออุปสรรค์คลื่นเรดาห์ตัดยอดคลื่นอีก
รัสเซียเลยแก้ปัญหาเน้นปริมาณ แต่อย่างที่ท่านๆว่าไว้กระสุนมีการยิงจำกัด จึงใช้ปืนหลายแท่นหรือหลายกระบอกเพื่อลดยอดกระสุน
ระบบCIWSรุ่นใหม่จึงเพิ่มจรวดเพิ่มระยะทำลายให้ไกลขึ้น +จำนวนปืน
แต่ส่วนตัวสนใจเรือ1ลำมีทั้ง 76มม.+35มม.และC-RAM ที่มีระยะยิงทำลายไกลจากตัวเรือและโอกาสทำลายเป้าหมายของกระสุนที่ฉลาดแม้เฉียดๆ ค่อนข้างมากกว่ากระสุนธรรมดาเน้นปริมาณทั่วไป
ตอนทดสอบ AK-630 ใช้จรวด AT-2 ความเร็ว150เมตร/วินาที ความสูงจากผิวน้ำ10เมตร ใช้กระสุนไป200นัด
พอตอนหลังขยับมาใช้จรวดที่เร็วพอๆกับASM ใช้กระสุนต่อนัดไปเกือบๆ2000นัด
กระสุน 30mmที่ใช้บนDS-30MR แพงเอาเรื่องอยู่นัดละ3,800บาท ดีแล้วทีอัตรายิงไม่สูงจัดพลาญกระสุนเปล่าๆ
เห็นว่าที่ทร.จะเอามาผลิตเองไว้ใช้ซ้อมมั้งครับ
ปืนดียิงแล้วกระสุนเกาะกลุ่ม มีคคย.stabilised กับoptic ช่วยดีก็พอแล้วสำหรับต่อตีเป้าผิวน้ำ เหมาะสำหรับใช้นอกยามสงครามกับสนับสนุนภารกิจควบคุมตรวจค้นพวกนั้นแล้ว กับยิงเป้าอย่างUAVได้อยู่(Mk 46 GWSที่ใช้Mk44 Bushmaster II ของทร.สหรัฐตอนตรวจรับเรือก็มียิงเป้าUAVเหมือนกัน)
กระสุนตระกูล20 -30mmมันหวังผลกับเป้าทางอากาศได้แค่ไม่กี่กิโล จะหวังให้ไปต่อต้านอากาศยานความเร็วสูงด้วยก็คงไม่มีใครบินมาระยะใกล้ขนาดนั้นแล้ว
จะเอาไปสอยASM ต่อให้อัตรายิงหลักพัน แต่ไม่ใช่CIWSแท้ๆ ก็ทำไม่ได้อยู่ดี
ส่วนOto 76 นอกจากแบบSTRALESที่ใช้กระสุนนำวิถีDARTแล้ว ก็มี76/62 SRที่ใช้กระสุน 3AP Multifunction Programmable Fuse
ที่ออกแบบไว้ต่อต้านASM นี่แหละที่พอจะใช้สนับสนุนได้
ออสเตรเลียมีเอกสารฉบับหนึ่งน่าสนใจมากเกี่ยวกับข้อจำกัดของปืนกับอวป.ที่เปรียบทั้งผลจำนวนของกระสุนแบบต่างตั้งแต่ขนาด12.7ไปยัน76 mm
เพื่อให้ได้โอกาศยิงโดนเป้า50% จะเห็นว่าเพื่อให้ยิงโดนเป้าหมายยิ่งระยะห่างออกไปยิ่งใช้กระสุนมากมาย
"Limitations of Guns as a Defence against Manoeuvring Air Weapons "
http://dspace.dsto.defence.gov.au/dspace/bitstream/1947/3526/1/DSTO-TN-0565.pdf
ปัจจุบันจึงไม่แปลกที่CIWS เริ่มหายไปเพราะไปลงกับmissileกันมากขึ้นเพราะได้ระยะที่ไกลขึ้นและปลอดภัยขึ้นมาก สามารถยิงซ้ำได้
เพราะการสกัดASMยิ่งใกล้เรือยิ่งเสี่ยงโดนสะเก็ดเข้าอุปกรณ์สำคัญๆได้
แต่ถึงอย่างนั้นมีย่อมดีกว่าไม่มีอยู่แล้วหากมีตังค์พอครับ
ข้อดีของจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นใหม่คือ ยิงได้แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งยิงในระยะประชิดได้ใกล้กว่าเดิม
แต่จรวดต่อสู้เรือรบรุ่นใหม่ก็พัฒนาไปไกลมากกว่าเดิมเช่นกัน ไม่ใช่รุ่นโบราณที่เอามาให้ทดสอบแล้วยังแทบลากเลือด
ปัญหาสำคัญที่สุดก็คือ จะตรวจจับจรวดต่อสู้เรือรบในระยะ 10 กิโลเมตรก่อนถึงตัวเรือได้อย่างไร ถ้าหลุดจากนี้จรวดยิงไม่ทันแล้ว เพราะกว่าจะบินขึ้นฟ้าแล้วลดระยะลงมาต่ำต้องใช้เวลาพอสมควร ขณะที่อีกฝ่ายแทบจะมุดฟองคลื่นและวิ่งซิกแซกไปมาอีกต่างหาก ต้องอย่าลืมว่าจรวด 2 นัดวิ่งสวนทางกัน โดยที่ฝ่ายนั้นมาที่ความเร็ว 0.9 มัคเป็นอย่างต่ำแล้ว ส่วนทางเราเริ่มต้นที่ 0 กม./ชม.และยังต้องบินลงต่ำอีกต่างหาก หลุดเข้ามาก็แป๊บเดียวกระทบเป้าหมายแล้ว อย่างที่เคยบอกว่าในการรบจริง จรวดต่อสู้เรือรบถูกยิงตกน้อยเหลือเกิน
จะเห็นว่าจุดนี้จรวด RAM ทำหน้าที่ได้ดีกว่าจรวดต่อสู้อากาศยานจริง ๆ เพราะ Lock-on after launch จรวดวิ่งเข้าหาเป้าหมายทันทีโดยไม่ต้องบินต่ำ มีโหมดซัลโวสามารถยิงใส่หลายนัดได้เลย และแท่นยิงมีความเสถียรในทุกสภาพอากาศ เฉพาะจุดหลังแก้ไขอยู่หลายปีเชียวนะครับ ในอดีตมีระบบ CIWS หลายแบบที่ไม่ได้เกิด เพราะปัญหาเรือแท่นยิงมีความเสถียรไม่เพียงพอนี่แหละ ไม่ใช่แค่อาวุธดี เรดาร์ควบคุมการยิงดีเท่านั้น แท่นยิงหรือป้อมปืนนี่ก็สำคัญไม่แพ้ใคร
โอเค ถ้าเป็นเรือฟริเกตต่อสู้อากาศยานของยุโรป ที่มีระบบเรดาร์ตรวจการณ์สุดทันสมัย (และแพงจนผมไม่อาจฝันถึงในความฝันอีกที) ไอ้แบบนั้นอาจจะพอตรวจจับได้ชนิดเส้นยาแดงผ่าแปด แต่ Sea Giraffe AMB ของเราอาการน่าเป็นห่วง ถ้า AMB ตรวจจับไม่เจอจะหวังให้ Ceros 200 ตรวจเจอมันก็แปลก ๆ อยู่นะ LW08 ก็ค่อนข้างเก่าและใช้ตรวจสอบเป้าหมายใหญ่ ๆ จากระยะไกล เราถึงยังจำเป็นที่จะต้องมี Phalanx ติดเรือรบเอาไว้บ้างกันเหนียว