วันที่ 14 กันยายน 2559 กองทัพเรืออินโดนีเซียได้จัดการซ้อมรบในทะเล Armada Jaya 2016 โดยมีแขกพิเศษคือประธานาธิบดีวิโดโด้ เข้าร่วมชมอยู่บนเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก KRI Banjarmasin (592) ซึ่งต่อขึ้นเองในประเทศ ไฮไลท์สำคัญของงานนี้คือการทดสอบยิงจรวดต่อสู้เรือรบ C-705 ซึ่งอินโดนีเซียได้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากจีน
เมื่อถึงเวลาที่นัดหมาย เรือเร็วโจมตีชั้น KCR-40 จำนวน 2 ลำ คือ KRI Clurit (641) และ KRI Kujang (642) ได้ทำการยิงจรวดใส่เป้าหมายลำล่ะ 1 นัด ในช่วงเวลาแตกต่างกัน ทว่าจรวดทั้ง 2 นัดประสบปัญหาเล็กน้อยระหว่างนั้น ทำให้ล้มเหลวในการตีต่อเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ งานเปิดตัวจรวดก็เลยกลายเป็นงานปิดตัวไปโดยปริยาย สาเหตุโดยละเอียดอ่านได้ในข่าวต้นฉบับนะครับ
C-705 missile เป็นจรวดต่อสู้เรือรบขนาดกระทัดรัด น้ำหนักหัวรบประมาณ 130 กิโลกรัม ระยะยิงไกลสุดประมาณ 35 กิโลเมตร มียอดขายพอสมควรเหมือนกันนะ นอกจากจีนแล้วยังมี อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และอียิปต์ จัดหาไปใช้งาน กระทั่งโมเดลเรือชั้น ต.994 ยังมีภาพจรวดชนิดนี้ติดอยู่ท้ายเรือด้วย แต่เรือลำจริงยังคงไม่มียังคงเป็นพื้นที่ว่าง ๆ ไปก่อน (ความเห็นส่วนตัวไม่มีน่ะดีแล้ว)
The Indonesian Navy's (Tentara Nasional Indonesia - Angkatan Laut, or TNI-AL's) attempt to successfully launch Chinese-made C-705 anti-ship missiles from two indigenously built attack craft during a major naval exercise has failed, sources from within the service informed IHS Jane's on 15 September.
The missiles, which were deployed onboard the KCR-40-class missile attack craft KRI Clurit (641) and KRI Kujang (642), each failed at different stages of their launches on 14 September.
Clurit and Kujang each fired a single C-705 missile during Exercise 'Armada Jaya' 2016 which was conducted in the Java Sea.
Both attempts were made in full view of Indonesian President Joko Widodo who was there to witness the exercise from onboard the landing platform dock ship KRI Banjarmasin (592). Accompanying him was TNI-AL chief Admiral Ade Supandi, and Indonesian Armed Forces (TNI) chief General Gatot Nurmantyo.
According to TNI-AL sources, the first C-705 deployed on Clurit failed to launch upon command, but fired unexpectedly about five minutes later after the ship's crew failed to observe a misfire procedure.
The missile failed to hit its designated target for the exercise, the recently decommissioned Tisza-class auxiliary support ship, Karimata (960). The second C-705 missile, which was fired from Kujang , failed during mid-flight, and subsequently also failed to hit the same target.
Besides Clurit and Kujang , 'Armada Jaya' also involves the participation of about 7,000 TNI personnel and 39 naval vessels including a Cakra Type 209/1300-class diesel-electric submarine (SSK).
Other TNI-AL weapons that will be tested during the exercise, that runs until the end of September 2016, include the C-802 anti-ship missile that has also been acquired from China.
เรือเร็วโจมตีชั้น KCR-40 ต่อขึ้นเองในประเทศอินโดนีเซีย เห็นขนาดเล็กแบบนี้อย่าคิดว่าหมูตู้และถูกนะครับ เพราะติดตั้งระบบ AK630 CIWS พร้อมเรดาร์ควบคุมการยิงที่หัวเรือด้วย กลางเรือเป็นปืนกล 12.7 มม.จำนวน 2 กระบอก ท้ายเรือเป็นจรวด C-705 จำนวน 2 นัด เรดาร์ตรวจการณ์ 1 ตัว เรดาร์เดินเรือ 2 ตัว (กลม ๆ นั่นด้วย) มีพื้นที่สำหรับติดเป้าลวงและระบบ ESM แต่ดูจากภาพยังไม่เห็นนะ เรือขนาด 238 ตันทำความเร็วได้สุงถึง 30 น๊อต เข้าประจำการแล้วจำนวน 8 ลลำ จากความต้องการรวม 16 ลำ
อะแฮ่ม มีมิสไซล์ระบบสองจังหวะด้วยแฮะ อาจจะเป็นการโปรแกรมลวงข้าศึก ยิงแล้วหน่วงเวลา พวกเดียวกันเองยังงง
ยิงสองลูกสองลำ แป้กทั้งสองลำแบบนี่เสียหายนะเนี่ย
ส่วนตัวคิดว่าเรือแบบนี้เราควรมีมากๆ ค่าใช้จ่ายถูก ใช้ในน่านน้ำตื้น ใกล้ฝั่ง เหมาะมาก ลำเล็กๆวิ่งออกไปยิงแล้ววิ่งกลับ
ในอนาคต ผมอยากเห็นจรวดนำวิถี DTI ไปติดตั้งบนเรือหลวงสักลำ สองลำ จริงๆ รับรองว่า ประเทศใกล้เคียงบ้านเรา จะจัดหาไปใช้งานเช่นกัน เช่นเดียวกะ firstwin ..... ^^
แต่ก็นะเรา DTI ไม่สามารถขายยุทโธปกรณ์ ให้ใครได้นอกจากกองทัพ ช่ายป่ะ
DTI สำหรับเรือรบ คงอีกนานครับ( หรืออาจจะไม่มีวันนั้น) คือจรวดติดบนเรือมันต้องมีหัวรบหรือระบบนำวิถี ครับ ไม่ใช่จะพัฒนากันเองง่ายๆ อาจจะต้องซื้อเทคโนโลยีมาถ้าจะทำกันจริง (มีเงินรึเปล่า)
คุ้นๆ ว่าไอ้ลูกนี้เชียร์เอามาติดเรือต.กันนักหนานิ น่าจะประโยชน์เยอะดี ฮา