หลังจากที่เราเคยทราบกันมาแล้วว่า ฟิลิปปินส์เคยเลือกอู่ต่อเรือ GRSE จากอินเดียเป็นผู้ชนะโครงการนี้ แต่แล้วก็ต้องตัดสิทธิ์เพราะสถานะการเงินที่ไม่ดีเอาเสียเลย วันนี้ผลการตัดสินรอบสองออกมาแล้ว โดยแบบเรือ HDF-3000 multipurpose frigate จากอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้รับการคัดเลือก วงเงินสำหรับเรือฟริเกตจำนวน 2 ลำคือ 337 ล้านเหรียญ (ถูกมาก....)
HDF-3000 multipurpose frigate ใช้แบบเรือเดียวกับเรือชั้นอิลชอนของเกาหลีใต้นั่นเอง และเป็นแฝดผู้น้องของเรือฟริเกตเราอีกทีอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ยาว 114.3 เมตร กว้่าง 14 เมตร กินน้ำลึก 4 เมตร (น่าจะไม่รวมโดมโซนาร์) ความเร็วสุงสุด 30 น๊อต ระยะทำการไกลสุด 4,500 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 18 น๊อต ที่เหลืออ่านเองแล้วกันนะครับ ขอแสดงความยินดีกับกองทัพเรือฟิลิปปินส์และอู่ต่อเรือฮุนไดด้วยครับ ของดีราคาไม่แพงเป็นแบบนี้นะ ถ้าเรายึดมั่นตามความต้องการ สุดท้ายก็จะได้ของที่เราต้องการ กองทัพเรือไทยจงจำเอาไว้ให้ดี บราโว่.... ^___^
http://www.janes.com/article/63401/hyundai-wins-usd337-million-frigate-contract-from-philippine-navy
Hyundai wins USD337 million frigate contract from Philippine Navy
Key Points
South Korean shipbuilder Hyundai Heavy Industries (HHI) has formally received a notice of award from the Philippine government to build two new frigates for the Philippine Navy (PN).
The notice, which indicates a contract price of PHP15,744,571,584 (USD337 million), was signed by Secretary of National Defense Delfin Lorenzana and addressed to the senior general manager for HHI's special and naval shipbuilding division, Ki Yeong Sung.
The Philippine Department of National Defense (DND) first launched the two-ship frigate acquisition programme in October 2013 to meet the PN's long-range maritime surveillance, patrol, and interdiction capabilities.
HHI pitched the company's HDF-3000 multipurpose frigate design, which has been used as the basis for the Republic of Korea Navy's (RoKN's) Incheon (FFX-I)-class guided-missile frigates.
According to specifications provided by the company, the HDF-3000 design features an overall length of 114.3 m, an overall beam of 14 m and a hull draught of 4 m. The platform has a standard displacement of approximately 3,000 tonnes and can accommodate engines in combined diesel or gas (CODOG) machinery arrangements.
The HDF-3000 design has a maximum speed of 30 kt, and a standard range of 4,500 n miles at the cruising speed of 18 kt. In terms of armament, the platform can carry a 127 mm naval gun, two anti-surface missile launchers mounted diagonally amidship, two triple torpedo tubes, and associated fire control systems.
The PN's weapons wishlist for the warships is currently unknown but an updated list of requirements for the frigate acquisition programme released by the DND in early 2016 calls for no degradation of anti-air and anti-surface capabilities at Sea State 5, and no degradation of anti-submarine warfare capability at Sea State 4.
ส่วนนี่คือดราม่าของอินเดียครับ กองเชียร์อย่างผมเสียใจไม่ใช่น้อย กระซิก กระซิก กระซิก ....
จากนั้นผมก็เลยคิดถึงออปชั่นหนึ่งที่ฟิลิปปินส์ต้องการ ก็คือพื้นที่สำหรับติดตั้งท่อยิงแนวดิ่งในอนาคต เรือชั้นอิลชอนไม่มีนะแล้วเรือฟิลิปปินส์จะมีมั้ย ตามแปลนเรือวางทุ่นระเบิดชั้น MLS-II หรือชั้น Nampo ของเกาหลีใต้ มีระบบ K-VLS ติดอยู่แถว ๆ โรงเก็บฮ.ครับ ผมก็ไม่รู้นะว่ามันไปเบียดเบียนโรงเก็บหรือเปล่า แต่เรือฟิลิปปินส์ซึ่งใช้แบบเรือเดียวกับเรือวางทุ่นระเบิดนี่แหละก็น่าจะติดได้ โดยอาจติดฝั่งขวามือของเรือเพราะโรงเก็บอยู่ฝั่งซ้ายมือ ทีนี้จะตีกับเป้าลวงและ CIWS ที่อาจจะใส่ในอนาคตหรือไม่ ไว้ถึงเวลาค่อยมาดูกันอีกทีครับ
แต่ความรู้สึกผมในใจ...ผมว่าน่าจะเป็นแบบ HDF-2000H...ในราคาลำละประมาณ 169 ล้านเหรียญ...ผมว่าเรือขนาด 3,000 ตัน มันจะถูกมากเกินไป...ซึ่งเจ้าอื่น ๆ ก็เสนอขนาดประมาณ 2,000 ตัน...และ สเปค ของ ทร.ฟิลิปปินส์ ก็ระบุขนาดประมาณ 2,000 ตัน...
และยังจะต้องมีระบบอาวุธอื่น ๆ อีก ทั้ง ปืนเรือ ระบบเรดาร์ ระบบอำนวยการรบ SAM และ SSM อีก...
แต่อาจจะปรับเปลี่ยน รูปแบบปล่องควัน เป็นสไตล์ปัจจุบัน...
และพื้นที่ว่างหน้าสะพานเดินเรือ หลัง ป้อมปืน ก็อาจจะเป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้ง VLS ในอนาคต...
เดาว่า สไตล์เรืออาจจะออกมาใน สไตล์ นี้ แต่ขนาดเรือ น่าจะประมาณ 2,000 - 2,200 ตัน ความยาวเรือ อาจจะประมาณ 95 - 105 เมตร..
จะว่าไปตอนนี้อู่แดวูก็กำลังผระสบปัญหาเรื่องเงินอยู่นะครับ เห็นข่าวมาครึ่งค่อนปีแล้วไม่จบเสียที
พุดถึงอู่แดวูแล้วคิดถึงเรือฟริเกตไทย มีใครชอบแบบเรือแบบแรกเหมือนผมบ้างมั้ยเนี่ย ผมว่ามันดูโดดเด่นไม่เหมือนใครดีนะ แก้แบบแล้วเหมือนเรือฟริเกต Batch II ของเกาหลีใต้นั่นแล แต่แบบหลังดูสมส่วนมากกว่าเดิม เพราะเสากระโดงหลังมันสุงขึ้น ส่วนเรื่องการ support ระบบฟาลังซ์ และเป้าลวงที่ย้ายตำแหน่งอ่านจากที่เคยคุยกันดีกว่าครับ
กลับมาที่หัวกระทู้อีกครั้ง พอหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ประมาณนี้ครับ
http://maxdefense.blogspot.com/2016/09/the-philippine-navys-future-frigate.html
เป็นข้อมูลจากเรือ 2 ลำสุดท้ายที่เข้ารอบในการแข่งขันครั้งแรก ฟิลิปปินส์ต้องการระบบเครื่องยนต์ CODAD ซึ่งฮุนไดก็คงต้องปรับปรุงหน่อยเพราะเรือตัวเองเป็น CODOG
ปืนหลักเรือ
GRSE Offer: Oto Melara 76/62 Super Rapid gun
HHI Offer: Oto Melara 76/62 Super Rapid gun
ปืนรอง
GRSE Offer: Oto Melara Marlin 30mm RCWS
HHI Offer: MSI Defence Seahawk 30mm RCWS
จรวดต่อสู้เรือรบ
GRSE Offer: MBDA Exocet Block 3
HHI Offer: LIG Nex1 SSM-700K Haeseong C-Star
จรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้
GRSE Offer: MBDA Mistral missile, Simbad launcher
HHI Offer: MBDA Mistral missile, Simbad launcher
ส่วนตอร์ปิโดเบาไม่ได้เสนอแบบทั้งคู่ แต่ฮุนไดใช้ท่อยิงแฝดสาม J+S Ltd เหมือนของเรา ก็น่าจะรองรับตอร์ปิโดได้เกือบทุกแบบ
เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแน่นอนว่าเป็น AW-159 Wildcat ที่ได้จัดหาไปแล้ว
นอกจากนี้ก็จะมีพื้นที่รองรับระบบ CIWS และ VLS ในอนาคต ส่วนจะได้ติดตั้งหรือไม่ก็ว่ากันไป เฉกเช่นเรื่องหลวงจักรีของเรา ฮ่า ฮ่า
ราคาต่อลำเท่ากับ 168.5 ล้านเหรียญ หรือ 5,831.6 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นแบบเรือรุ่นไหนก็ตามผมว่ามันถูกจัง ยิ่งถ้าเทียบกับเรือ OPV ลำใหม่ของเราด้วยนี้ !@#$%^&*()_+
ก็เข้าใจนะว่าเราต่อเองและต้องปรับปรุงอู่ต่อเรือเยอะพอสมควร แต่ 5,831.6 ล้านบาท เอง ได้เรือรบขนาดนี้ มีอาวุธขนาดนี้ มีโรงเก็บฮ. ด้วย รองรับระบบอาวุธทันสมัยได้ด้วย แหม่........
นึกว่าชั้นปัตตานีมีปัญหาตำแห่งการติดอาวุธต่างๆนิ?
การติดตั้ง ESSM ต้องปรับปรุงเรือเยอะพอสมควร เริ่มจากระบบเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศที่ดีกว่าเดิมพอสมควร ถ้าใช้ของ SAAB ก็ Sea Giraffe AMB ถ้าใช้ของ Thales ก็ต้อง Smart-S ซึ่งตัวหลังดีกว่ากันพอประมาณ นี่ไม่ได้นับเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกลนะครับ เพราะคงไม่มีตำแหน่งให้ติดตั้ง
ต่อไปก็เป็นระบบเรดาร์ควบคุมการยิงจำนวน 2 ระบบหน้า-หลัง เพราะ MK-41 สามารถใส่ ESSM ได้ถึง 32 นัด ถ้าใช้ของ SAAB ก็ต้อง CEROS 200 + SSCWI ถ้าใช้ของ Thales ก็ต้อง STIR 1.2 EO Mk2 + SSCWI
ต่อด้วยระบบอำนวยการรบ(แพงมาก) ที่รองรับการยิงจรวดนำวิถีด้วยเรดาร์ ถ้าใช้ของ SAAB ก็ 9LV Mk 4 ถ้าใช้ของ Thales ก็ต้อง SETIS
จากนั้นเป็นของแพงยิ่งกว่าเข้าไปอีก คือระบบ Datalink ไม่อย่างนั้นจะทำการรบเป็นกองเรือไม่ได้
เรือชั้นเรือหลวงนเรศวรปรับปรุงให้ใช้งาน ESSM ได้ เสียเงินหลายพันล้านเหมือนกันนะ (จำตัวเลขกลมๆไม่ได้) แม้จะเพิ่มระบบโซนาร์และปืนรองด้วยก็ตามเถอะ เพราะฉะนั้นเรือขนาด 2,000 ตันขึ้นไปราคา 200 ล้านเหรียญแล้วยิง ESSM ได้ คงไม่มีเป็นแน่แท้
และที่สำคัญที่สุดก็คือ แบบเรือต้องรอบรับระบบ VLS มาตั้งแต่เกิด เรือชั้นเรือหลวงปัตตานีไม่ไหวหรอก ไปได้ไกลสุดก็ Type 056 นั่นยังไง คือใส่ได้แค่จรวด RAM หรือใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าเป็นจรวด HQ-7A (FM-90) ของจีน ซึ่งก็คือจรวด Crotale ของฝรั่งเศส (ซึ่งมาจากยุค 1970s) แบบแท่นยิงแฝดแปด อันนี้พอไหวครับ อันที่จริงเราเกือบได้ใช้แล้วนะ ถ้าตอนนั้นเลือกเรือฟริเกตจีน 3 ลำ แถมฮ.อีก 6 ลำ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
นอกจากโครงการนี้ ฟิลิปปินมี โครงการจัดหาเรื่อฟรีเกต อื่นๆอีกหรือเปล่าครับ พวกโครงการความช่วยเหลือจากมิตรประเทศ
ขยายแบบเรือไม่ง่ายนะครับ
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2016 ฟิลิปปินส์เพิ่งได้รับการโอนเรือชั้น Hamilton ขนาด 3,250 ตัน จากกองทัพเรืออเมริกา ถือเป็นลำที่ 3 ของเขาแล้วในเวลาไม่กีปี คาดว่ามีค่าใช่จ่ายในการซ่อมแซมเรือประมาณ 12 ล้านเหรียญต่อลำ
แต่ทว่าเรือติดตั้งเพียงปืนใหญ่ 76/62 มม. กระบอกเดียวนะครับ ใช้ชื่อว่า BRP Andrés Bonifacio (FF-17) คงจะจัดหาปืนกลอัตโนมัติ MK44 มาติดเพิ่มเติม 2 กระบอกเหมือนเพื่อน ๆ นั่นแหละครับ ส่วนอาวุธอื่น ๆ ยังเป็นแค่โครงการในอนาคตต่อไปเรื่อย ๆ
เรืออีกลำที่กำลังจะตามมาก็คือเรือคอร์เวตขนาด 1,200 ตันชั้น Pohang จากเกาหลีใต้ จำนวน 1 ลำ ซึ่งผมคาดว่าน่าจะเป็นรุ่น Filght III และมีหน้าตาประมาณดังภาพ ทางนั้นบอกว่า “The relevant assets we are transferring to the Philippines is going as planned and we will give the best of support,” จึงน่าจะมีทั้งปืนใหญ่ 76/62 ปืนกล 30 มม. รวมทั้งระบบเรดาร์และโซนาร์ของเดิมเลย ส่วนตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำและจรวดต่อสู้เรือรบ น่าจะตามมาในทีหลังด้วยคำสั่งซื้ออีกที ซึ่งก็อาจจะเป็นของเกาหลีใต้ทั้งหมดเลยแบบเรือฟริเกตนั่นแหละครับ ประมาณนี้ ;)
โครงการที่เหลือเป็นเรือตรวจการณ์ทั้งหลายแหล่ ไม่ได้ติดอาวุธหนักขนาดนี้ ก็คงไม่มีอะไรมากครับ
ต่อไปในอนาคต การจัดหาอาวุธของฟิลิปปินส์จากอเมริกาในรูปแบบมิตรภาพน่าจะยากขึ้นแล้วครับ ถ้าประธานาธิบดีฟิลลิปปินส์ไม่เปลี่ยนบทบาทที่ก้าวร้าวแบบในปัจจุบัน เพราะล่าสุดโอบาม่ายกเลิกการหารือแบบทวิภาคีกับผู้นำฟิลิปปินส์ไปเรียบร้อย เนื่องจากปากพาจน ถ้ายังไม่เปลี่ยนท่าทีการจัดซื้ออาวุธในอนาคต คงต้องพึ่งเกาหลีใต้เป็นหลักแล้วละครับไม่ก็ฝั่งยุโรปตะวันออก
แล้วถ้าประธานาธิบดีอเมริกาชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ล่ะครับ ฮ่า ฮ่า ....
อย่าทำเป็นเล่นไปนา ฟิลิปปินส์อาจได้เรือ OHP อีก 3 ลำอะไรแบบนี้ก็ได้
ล่าสุดประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ให้โฆษกแถลงแสดงความเสียใจต่อคำพูดของตัวเองแล้วครับ งานนี้ปากพาจนจริงๆ คงโดนกดดันพอสมควรเลยต้องรีบออกมาบอกว่าเสียใจ