ผมเห็นมันมีหลายแบบมาก แต่สนใจ ปตอ.ในช่วง WWII ครับ
ในสมัยนั้นมันมีกี่ประเภทหรอครับ ผมเห็นมีทั้ง 20mm. 37mm. ที่ยิงไปธรรมดาๆ
กับ ปตอ.ที่ยิงแล้วมันไประเบิดกลางอากาศ มีทั้งระเบิดเล็กและใหญ่ บางอันยิงโดนเฉียดๆระเบิดแล้วเครื่องบินดันไม่ร่วง
บางอันยิงโดนไม่ได้ใกล้เท่าไร เครื่องบินปีกขาดร่วงลงมาเลย แล้วก็มีพวกปืนใหญ่ที่ยิงเป็น ปตอ.ได้อีก ของพวกเรือประจันบาน
เลยอยากทราบว่ามันมีทั้งหมดกี่แบบครับในตอนนั้น แบ่งเป็นประเภทๆน่ะครับ
3
4
คำถามกว้างมากๆเลยนะครับ ถ้าใครจะตอบหมดคงต้องเป็นสารานุกรมแล้วแหละ ผมไม่รู้เหมือนกันว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท แต่จะช่วยตอบเท่าที่รู้
สมัยก่อนไม่มี อวป. ต่อต้านอากาศยานเลยใช้ปืนนี่แหละ เครื่องบินๆยิ่งสูง ก็ต้องใช้ปตอ.กระบอกใหญ่ๆขึ้นระยะยิงไกลขึ้นและด้วยเหตุที่ว่าปืนใหญ่ๆ อัตรายิงก็ช้า กันหันมุมทิศมุมระดับก็ช้า ยิงยังไงก็ไม่มีทางโดนจังๆจึงใช้กระสุนเป็นแบบตั้งชนวนแตกอากาศ โดยมีระยะความสูงที่กำหนดอยู่ (ซึ่งก็คือความสูงที่เครื่องบินบินกันนั่นแหละ)
ถ้าเป็นสงครามบนพื้นดิน ตัวที่โด่งดังที่ผมรู้จักคือ The German 88mm Flak
ยิงได้ทั้งเครื่องบินและรถถัง ยิงจนชนิดที่ถ้ากระสุนไม่หมดปืนไม่โดนทำลายทัพรถถังของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าตีไม่ได้(Overไปนิด)
ปล.ลงรูปผิด แต่ลบไม่เป็น ขอโทษด้วยครับ
The German 88mm Flak
ตามนี้เลยครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Category:World_War_II_anti-aircraft_guns
ส่วนปืนรุ่นไหนดีรุ่นไหนไม่ดีอันนี้ไม่รู้เลย แต่ในวิกิมีรายละเอียดอยู่บ้างเขาไปศึกษาได้เลยครับ ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว(ที่เหลือยากหมด)
ถ้าเป็นของไทย เขื่องสุดคงเป็นรุ่นนี้ กว้างปากลำกล้อง 57 ทำในจีน ลอกแบบโซเวียตมาอีกที กว้างขนาดนี้ สมัยสงครามเวียตนาม นอกจากแซม-2 แล้ว บี-52 ก็กลัวเจ้านี่เหมือนกัน แม้จะโบราณ ยิงช้าไม่แม่น แต่ถ้ายิงประสานกันสักสิบยี่สิบกระบอก แถมบินดุ่ยๆเอาสูง ก็มีสิทธิ์ร่วงปีกขาด ................ คาลิเบอร์ขนาดนี้ ทัพเรือก็มี เป็นปืนใหญ่หลักของ รจอ. ชุดปราบปรปักษ์ ของทร.เป็นปืนอัตโนมัติ คคกย. ด้วย เรดาร์ แต่ของจีนฝีดด้วยมือ ( 40มม. ฝรั่งวางตับในสล็อต แล้วไหลฝีดไปเอง 57 จีนด้องใช้มือดัน) คคกย. ด้วย ไดเร็คเตอร์ เหมือน 37 มม ............
รบทางอากาศกับอริราษฎร์ศัตรู 57 เขื่องนี้ไม่รุจะเอาไว้ยิงอะไร ................. แต่ถ้ารบภายใน น่าจะได้เรื่องอยู่ รถก่งรถเกราะ โดนเป็นแหลก..............
อันนี้ มาร์ค 28 เป็นปืนเรือ 5 นิ้วแฝด ของมะกัน มีใช้งานตั้งแต่ วว.2 จนต้นๆยุคสงครามเย็น............ ออกแบบมาเป็นปืนเรือเอนกประสงค์ ใช้ยิงได้ทั้งพื้นทั้งอากาศ .......................... คือ สมัยก่อน เรือรบ เรียงตามระวางขับและปืนจะเป็นดังนี้
1.ฆาตคุ้มกัน ปืนเรือ 3นิ้ว เน้นคุ้มกันกองเรือจาก ด. เช่นเรือ รล. ประแส รล. ปิ่นเกล้า ท้ายสุดก็กลายมาเป็นฟริเกต
2.พิฆาต ระวางตั้งแต่ 1,500 - 4,000 อาวุธปืนหลัก ติดได้ตั้งแต่ 4 นิ้ว จนถึง 5 นิ้ว
3.ลาดตเวณเบา ระวาง 6,000-10,000 ตัน ติดปืน 6 นิ้วแท่นเดี่ยว (มะกันมีเรือ ลว.เบา ระวาง 12,000 ตัน ซึ่งเทียบชั้นได้ ลว.หนัก แต่ติด ปืน 6 นิ้ว ถึง 12 กระบอก ขณะที่ ลว.หนัก ระวาง 12,000 ติด 8 นิ้ว ได้แค่ 6 - 8 กระบอก)
4.ลาดตระเวณเบา ป้องกันภัยทางอากาศ อันนี้ มะกัน ทำขึ้น ระวาง อยู่ระหว่าง พิฆาต กับ ลว.เบา คือ ราวๆ 5000 - 6000 ตัน อาวุธหลัก คือ เจ้า มาร์ค ซาวแปด ตัวนี้แหละ ........................ ภารกิจคือป้องกันกองเรือ จาก บ.ทิ้งระเบิด ที่บินถล่มกองเรือสูงลิบ 5 นิ้วถึงจะเอาอยู่ ................. มีต่อ
5. ลว. หนัก ระวางระหว่าง 8,000 - 16,000 ตัน อาวุธหลัก คือ ปืน 8 นิ้ว ............. มี ก๊าฟสปีย์ ของเยอรมัน ระวางหมื่นตันปลายๆ ดันทะลึ่งแหกคอก ติดปืน 11 นิ้วแท่นคู่ (หรือแฝดหว่า ??? แต่โดยปกติ ปืนเรืประจัญบาญ มักเป็น แท่น คู่ แท่น3 หรือแท่น 4 คือแต่ละกระบอกกระดกเป็นอิสระ มีผลถึงระยะยิงเพื่อสร้างมิติความลึก) เลยกลายเป็น ประจัญบาญกระเป๋า (ป็อคเก็ต แบตเติ้ล ชิป)
6. ประจัญบาญ ติดปืน ได้ตั้งแต่ 11 นิ้ว จนถึงใหญ่สุด 18 นิ้ว........................ และที่สำคัญ ร่ายยาวใมานานคือ ปืนรอง ใช้เป็น 5 นิ้ว ยิงได้ทั้งเป้าเรือ และ ป้องกันฟ้าจากบินทิ้งระเบิด................... ด้วยขนาดมหึมา และติดปืนหลายขนาน ยิงได้ทั้ง น้ำ ฟ้า ฝั่ง ทำให้เรือประจัญบาญ เป็นเรือที่เข้ายากจริงๆ ในสมัยนั้น...............
รูปปืน มาร์ค 28 บนเรือประจัญบาญ นิวเจอร์ซี่
จะบอกว่าแค่ปืน Bofors 40mm ก็ได้E-bookหนาๆเล่มนึงแล้วครับ...