เรือดำน้ำจีน จะเป็นปรากฎการณ์ซ้ำรอยกับ เรือดำน้ำญี่ปุ่นชั้น มัจฉาณุ ที่ กองทัพเรือ มีประวัติศาสตร์ แต่ไม่เคยจดจำ...
เรือดำน้ำจีน เป็นระบบอาวุธที่ใช้ระบบเฉพาะ เหมือน ๆ กับ เรือดำน้ำญี่ปุ่น ที่ ทร.จัดหามา ที่ไม่สามารถไปหาสิ่งทดแทนจากที่อื่นได้ เช่นเดียวกัน...
เรือดำน้ำจีน จะถูกผูกขาด โดยประเทศจีน เท่านั้น...จะขายอะไหล่ ให้ หรือ ไม่ให้ ก็ได้...
ที่สำคัญ แบตเตอรี่ และเชื้อเพลิงสำหรับระบบ AIP เรือดำน้ำ ที่คงต้องใช้จากประเทศจีน แต่เพียงผู้เดียว..
บทเรียนจาก เรือดำน้ำมัจฉาณุ ก็คือ เรือไม่ได้หมดอายุ แต่ แบตเตอรี่ หมดอายุ..เนื่องจาก ญี่ปุ่น พ่ายแพ้สงคราม ไม่สามารถขายอาวุธให้ใครได้ในขณะนั้น...ซึ่งรวมถึง แบตเตอรี่ ที่เป็นส่วนประกอบของเรือดำน้ำ...
เรือดำน้ำ มัจฉาณุ จึงถูกปลดระวาง เพราะ ไม่มีแบตเตอรี่ ให้เรือดำน้ำ และไม่สามารถหาสิ่งทดแทนจากที่อื่นได้...
ในขณะที่ เรือรบลำอื่น ที่ซื้อมาจาก ประเทศญี่ปุ่น จะไม่ประสบปัญหาในการประจำการแต่อย่างใด เช่น เรือชุดธนบุรี และร.ล.แม่กลอง ก็ไม่ได้ประสบปัญหาการใช้งานแต่อย่างใด ยังคงใช้งานจนหมดอายุประจำการไป กับ ถูกจมจากเหตุการณ์ทางการเมือง...เพราะรูปแบบของเรือรบผิวน้ำ มันแตกต่างจาก เรือดำน้ำ มันสามารถหาสิ่งที่ทดแทนจากแหล่งอื่นได้....เรือดำน้ำมันมีความเฉพาะเจาะจง เฉพาะตัว...
เรือดำน้ำจีน ในอนาคต สำหรับ กองทัพเรือไทย ก็คงจะเผชิญเหตุการณ์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับ เรือดำน้ำชุด มัจฉาณุ... เนื่องจาก ไม่มีแบตเตอร๊่ ใช้ หรือ อาจจะต้องถูกบังคับให้ต้อง อัพเกรด แบบเดียวกับ เรือชุดเจ้าพระยา ที่ซื้อมาจาก ประเทศจีน นั่นเอง...ถ้า ทร. ยังอยากจะคงความพร้อมรบไว้...
กองทัพเรือไทย ที่ถูกจำกัดด้วยวงเงินงบประมาณ ที่ยังไม่เพียงพอ...การจัดหาอาวุธวงเงินขนาดใหญ่ ที่มีเทคโนโลยี่สูง ควรจะจัดหาอาวุธที่มีผู้ใช้งานโดยทั่วไป และมีความน่าเชื่อถือสูง เพราะถ้าเกิดปัญหา ก็สามารถหาสิ่งที่ทดแทนจากแหล่งอื่นได้...
ดังนั้น จึงไม่เห็นผลใด ๆ ที่ ทร. จะคัดเลือก เรือดำน้ำจีน ที่นอกเหนือจากขนาดที่ไม่เหมาะสมกับอ่าวไทยแล้ว ก็ยังจะถูกผูกขาดโดยประเทศจีน และก็คงจะมีเพียง 3 ลำ ในโลกนี้ เท่านั้น...และถ้าเมื่อเกิดปัญหาขึ้น...ทร. ก็ไม่สามารถจะจัดหาสิ่งทดแทนจากแหล่งอื่นได้...แม้ในอนาคต จะต้องสูญเสียงบประมาณแสนแพง อย่างไร...ก็ต้องยอม ตามแต่ที่ ผู้ขาย จะกำหนด...
หรือถ้า ทร. มองว่าไม่คุ้มค่า...เรือดำน้ำจีน ก็คงประสบเหตุการณ์แบบเดียวกับ เรือชุดมัจฉาณุ ที่จะต้องปลดระวางก่อนถึงเวลาอันสมควร และไม่คุ้มค่า กับความสูญเสีย ที่ถูกลดทอนจาก การที่ต้องยอมเสียสละงบประมาณที่จัดหาอาวุธที่ยังขาดแคลน ให้กับ เรือดำน้ำจีน...
ตามที่เคยให้ความเห็นไว้ครับ...ว่า...โครงการ เรือดำน้ำ...ควรเป็น เงินนอกงบประมาณประจำปีของ กองทัพเรือ...
เห็นด้วยทุกแง่มุม อย่างไม่มีข้อสงสัย....................
ตรงจุด ชัดเจนครับท่าน
เห็นด้วยเรื่องงบครับ ควรเป็นงบที่ไม่ใช่งบของ ทร เอง แต่โรมิโอของอียิปต์อัพเกรดให้ยิงอาวุธตะวันตกได้นะครับ แปลกไหมครับ
ก็ปกตินะครับ...ไม่ได้แปลกอะไร...เรือดำน้ำ อียิปต์ อัพเกรดติดอาวุธตะวันตก...เพราะ รื้อระบบจีนทิ้งเกลี้ยง เหลือแต่โครงกับเครื่องยนต์ แล้วใส่ระบบตะวันตกเข้าไปแทน...โดย บริษัทอเมริกัน คือ Lockheed Martin...ตามที่ผมให้ความเห็นไว้ครับ...ว่าพอถึงเวลา เรือดำน้ำจีน ก็คงต้องอัพเกรด รื้อทิ้งหมด เหมือนเรือชุด เจ้าพระยา ครับ...แล้ว เราจะเอาแบบนี้ เหรอครับ...ว่ารื้อทิ้ง เพื่อ อัพเกรด เป็นระบบอาวุธตะวันตก...ทำไม ไม่จัดหาตั้งแต่แรกไปเลย...ก็จบแล้วครับ..
The Egyptian navy had ten Romeo-class submarines, of which eight were operational, four provided by the Soviet Union and four provided by China. Four of the submarines were undergoing modernization in an Egyptian shipyard under contract with an American firm –on June 25, 1996, Lockheed Martin Tactical Defense Systems in Akron, has delivered the fourth Romeo-C class diesel electric submarine to the Egyptian Navy as part of a $133 million upgrade contract of four submarines undertaken in Alexandria, Egypt.
The upgrade program took place at Ras El Tin Naval Base, Alexandria, Egypt. The program employed Egyptian Navy yard personnel and support services, as well as Lockheed Martin personnel. The Egyptian Navy program management team coordinated activities between Lockheed Martin, the prime contractor, and other branches of the Egyptian government.
Lockheed Martin installed modern fire control, sonar, navigation and communications systems, as well as electronic support measures into each submarine. The company also provided new auxiliary power, air conditioning and ventilation systems to support the new combat systems.
Lockheed Martin installed new sonar domes to accommodate sonar arrays that were supplied by STN ATLAS Elektronik GmbH, Bremen, Germany, and Tactical Defense Systems in Akron. Extensive dockside and at-sea tests were conducted to verify systems integration and overall performance.
The upgrade also included new capabilities for the submarines to fire encapsulated Harpoon surface-to-surface missiles and NT37 wire-guided torpedoes.
ที่น่าจะดูแปลก ก็น่าจะเป็น ดีล เรือดำน้ำ กองทัพเรือบังคลาเทศ...
ในปี 2556 บังคลาเทศ ได้จัดซื้อ เรือดำน้ำมือสอง Ming Class จากประเทศจีน จำนวน 2 ลำ มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ...
โดยมีแผนกำหนดส่งมอบ ปลายปี 2015...ต่อมาเมื่อเดือน เม.ย. ก็มีข่าวว่า น่าจะส่งมอบให้ในกลางปี 2016...
ในขณะเดียวกัน ในปี 2557 ทร.บังคลาเทศ ก็เจรจาของซื้อ เรือดำน้ำชั้น กิโล จาก รัสเซีย จำนวน 2 ลำ...โดยจะขอใช้วงเงินสินเชื่อที่ รัสเซีย เคยให้กับ บังคลาเทศ ในการจัดซื้ออาวุธจากรัสเซีย...
น่าสนใจว่า ทร.บังคลาเทศ จัดซื้อ เรือผิวน้ำ จาก จีน มากมาย รวมถึง เรือดำน้ำมือสอง จาก จีน เช่นกัน...
แต่โฉนยังไปจัดหา เรือดำน้ำ จากรัสเซียอีก...ทำไม ไม่จัดหา เรือดำน้ำชั้นเทพ ที่โปรจีน อวยหนักหนา แบบ S-20 ที่ จีน ทำขายเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ...
ทำไม ? น่าสงสัยหรือไม่ ?
ถ้ากองทัพเรือสามารถจัดหาเรือดำน้ำจากจีนได้จริง การจัดหาอะไหล่ อุปกรณ์ประจำเรือ รวมถึงการปรับปรุงเรือหลักๆคงต้องมาจากจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตอยู่แล้ว
แต่คงจะมีกรณีเดียวที่กองทัพเรือไม่สามารถจะคงสภาพความพร้อมรบของเรืออย่างการจัดหาอะไหล่ เช่น Battery หรือการปรับปรุงเรืออื่นๆได้ ก็คือไม่มีประเทศที่ชื่อ "สาธารณรัฐประชาชนจีน" อยู่ในโลกนี้แล้ว
แต่นั่นก็คือในกรณีที่บริษัทผู้ผลิตของจีนยังคงสายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงและปรับปรุงสมรรถนะเรือดำน้ำที่กองทัพเรือจะจัดหาอยู่
ตราบใดที่ไทยยังสร้างเรือดำน้ำเองไม่ได้ หรืออย่างน้อยยังผลิตชิ้นส่วนสำหรับซ่อมบำรุงหรือปรับปรุงเรือเองไม่ได้ เราก็ต้องพึ่งพาจีนในการซ่อมบำรุงอยู่ดี
ซึ่งนั่นก็คงไม่ค่อยต่างจากการจัดหาเรือดำน้ำจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีนมากนักครับ
อย่างเรือดำน้ำสวีเดนที่ใช้ระบบอาวุธและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของตนเอง หรือเรือดำน้ำของเยอรมนีและเรือดำน้ำฝรั่งเศสที่ลูกค้าสามารถเลือกจัดหาระบบอาวุธและอุปกรณ์ประจำเรือจากบริษัทต่างๆได้ตามความต้องการ รวมถึงเรือดำน้ำรัสเซียที่มีระบบอาวุธและอุปกรณ์ของตนเองเฉพาะชัดเจนด้วย
ซึ่งเรือแต่ละชั้นที่ต่อมาสำหรับแต่ละกองทัพเรือแต่ละประเทศมักจะมีระบบเฉพาะของเรือนั้นๆที่อาจจะต้องใช้ไปตลอดอายุการใช้งานตัวเรือ
อย่างไรก็ตามแบบเรือดำน้ำตะวันตกอาจจะมีข้อได้เปรียบในเรือชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ร่วมที่มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า อย่างเรือแบบ U209 ที่มีผู้ใช้งานหลายประเทศทั่วโลก
ทั้งนี้ก็ขึ้นกับว่าถ้ากองทัพเรือได้เรือดำน้ำจากจีนเข้าประจำการจริงว่าจะดำเนินการอย่างไรกับเรือหลังเข้าประจำการแล้วต่อไปอย่างไรครับ
(แต่ตอนนี้เรือยังไม่ได้วางกระดูกเรือ ปล่อเรือลงน้ำ เดินเรือมาถึงไทยและทำพิธีขึ้นระวางประจำการเลย ก็คงจะบอกอะไรไม่ได้มากครับ)
ผมว่าวันนี้ อย่ามาสร้างกระแสลักษณะนี้เลยครับ.... เดี๋ยวก็ อด.. ตามระเบียบ หรอก
ควรจะสร้างเอกภาพ ถึง ความจำเป็นที่เราต้องมีเรือดำน้ำมากกว่า ในอดีต เรือดำน้ำของเรา ก็สร้างเกียรติประวัติไว้มากมาย ก็น่าจะกล่าวถึงกันบ้าง
ทำเป็นเด็กเอาแต่ใจกันไปได้ อยากได้ของประเทศโน้น ประเทศนี้ วันนี้ ประเทศไหนก็เอาไว้ก่อนเถอะ ดีกว่า นั่งตา ปิบๆ ปล่อยให้เวียดนาม พม่า มาเล เอาเรือดำน้ำ มุด ไป มุด มา แต่ทำอะไรไม่ได้
ท่านจูดาสเขียนไว้ซะชัดเจน
ตอนนี้มี 2 ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคือ เรือดำน้ำจีน เอส-26ที ไม่เหมาะใช้กับอ่าวไทยด้านกลาง-ใน เพราะขนาดที่ใหญ่ของเรือ (ระวางขับน้ำสองพันหกร้อยกว่าตัน) กับความลึกเฉลี่ย 30-60 เมตร ของอ่าวไทย ซึ่งถือว่าตื้นมาก แต่ใช้ได้เฉพาะด้านอันดามันและขอบนอกอ่าวไทย-ทะเลจีนใต้ที่มีความลึกมากกว่า
เหตุนี้ ทร. จึงเคยเลือก อู-206 เอ เรือดำน้ำใช้แล้วจากเยอรมัน 4 ลำ เจ็ดพันล้านบาท ออกแบบสำหรับทะเลบอลติก ความลึกพอๆ กับอ่าวไทย แต่ก็ไม่ได้ บางคนไม่เอา ไม่รู้หรือไงว่าเหล็กของเรือชั้นนี้มันไม่เป็นสนิม ถ้าทำฮอททรานสเฟอร์ ทร. รับมาก็ใช้งานต่อได้เลย
ประเด็นที่สอง ใช้เรือดำน้ำจีน ก็ต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากจีน อันนี้ก็เป็นธรรมดาเวลาจัดซื้อสินค้าจากใครผู้ผลิตก็ต้องสนับสนุนอะไหล่และข้อมูลการซ่อมบำรุงให้ แต่ประเด็นของท่านจูดาส น่าจะหมายถึง เรือมันยังไม่เคยต่อหรือเคยมีประจำการ มันไม่ใช่เรือชั้นหยวน แต่ดัดแปลงมาจากชั้นหยวนในกระดานออกแบบ เรือต้นแบบก็ยังไม่มี แล้วเอาผลทดสอบมาจากไหนว่าดีว่าเลิศอย่างที่บางคนออกมาการันตีแทนผู้ผลิต และกว่าจะผลิตจนส่งมอบขึ้นประจำการได้จนต้องใช้เวลาอีกกี่ปี และความที่จะเป็น 3 ลำแรกในโลก....
... โอกาสผิดพลาดในการออกแบบ (แก้แบบ) มันมีครับ จะต้องมาแก้ไขดัดแปลงกันอีกกี่แบชท์จึงจะสมบูรณ์ ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพตามที่คุยโวไว้ ตรงนี้ใครเป็นผู้รับผิดชอบครับ ใช้เงินใครครับ จีน หรือ ทร. ?
มันจะตายไหมครับถ้าไม่เลือกเรือดำน้ำจีน เรื่องนี้ง่ายมาก แค่ท่านที่สั่งงานได้ เลือกเรือ ส. ให้ ทร. เป็นเรือเยอรมัน เกาหลีใต้ รัสเซีย ที่เค้ามีประจำการมีขายโดยทั่วไปอยู่แล้ว งบก็ไม่ได้แตกต่างกัน ระบบขับเคลื่อนระบบอาวุธอะไรที่ ทร. ไม่ได้กำหนดไว้แต่แรกก็ตัดไปซะ อย่ามาทำเป็นเนียนในสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ จบครับ...
ถามว่า การหาอะไหล่ หรือ แบตเตอรี่ จัดหาจากประเทศไหน ก็ต้องซื้อจากประเทศนั้น..เหมือนกับ ซื้อจาก ประเทศจีน...ผมว่า มันไม่ได้เหมือนกันหรอกครับ...
ความเป็น เอกชน ของผู้สร้างเรือดำน้ำ ฝั่งตะวันตก มันไม่ได้ถูกควบคุมจากภาครัฐ 100%...แค่ เรามี เงินที่จะซื้อ ก็จะมีตัวแทนจากหลายประเทศ ที่จะเป็นตัวกลางหรือจัดหามาให้ได้...ซึ่ง คงแตกต่างจาก อะไหล่ และแบตเตอรี่ จากประเทศจีน ที่ผู้ใช้ คือ ประเทศจีน ประเทศเดียว และเป็นสำคัญ...รัฐ จึงมีอำนาจควบคุมเต็มที่...ทั้งจะกำหนด สเปค และคุณภาพการส่งออก...เพื่อปกปิดประสิทธิภาพที่แท้จริง...
การจัดหาอะไหล่ และแบตเตอรี่ ก็ต้องผ่านจากการควบคุมของรัฐบาลจีน เท่านั้น...คงไม่สามารถไปหาตัวแทนจากประเทศอื่น ๆ ที่จะเป็นตัวกลางมาจัดหาให้ได้...
และคุณภาพแบตเตอรี่เรือดำน้ำจีน...มีใครรับรอง หรือข้อมูลอะไรที่จะยืนยันว่า...มันจะมีคุณภาพ เหมือนกับที่ จีน ใช้ ?
แต่แบบเรือ U-209 ต่าง ๆ หรือ Scorpene มันมีความเป็นจริง ๆ ที่เห็นอยู่ และพิสูจน์ ได้ครับ และอะไหล่ การซ่อมบำรุง การอัพเกรด มันมีตัวเลขพิสูจน์ได้ว่า ตลอดอายุใช้งานจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่...และสำหรับความเชื่อถือว่า เรือดำน้ำ จะได้รับการตอบสนองตลอดอายุการใช้งาน...แม้ประเทศผู้ผลิตไม่ได้มีการใช้...เพราะมันเป็นเรื่องของผู้ผลิต ที่เขาทำธุรกิจเพื่อการค้าและพัฒนาให้ธุรกิจเขาเติบโตและอยู่รอด...เขาจึงมีความสามารถตอบสนองได้ตลอดเวลา...และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แต่ถ้า เรือดำน้ำจีน มีประเทศไทย ประเทศเดียว ที่จัดหา S-26T จำนวน 3 ลำ...คำถามว่า ? ใครมันจะคิดพัฒนาให้ทัดเทียมเทคโนโลยี่ เพราะมันไม่มีคนซื้อ มีแต่ ประเทศไทย ประเทศเดียว...เช่นเดียวกับ รถถัง สติงเรย์ ที่มี ทบ.ไทย ประจำการอยู่ประเทศเดียวในโลกแหล่ะครับ...ซื้อมาเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น...ไม่มีบริษัทฯ ไหนในโลก..เขาจะพัฒนาอุปกรณ์รถถังสติงเรย์..เพราะ มันไม่มีใครใช้ ไงล่ะครับ...
ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดแบบที่ว่า "เอาไว้ก่อน ไม่งั้นเดี๋ยวอด" ง่ายๆ แบบนี้ แล้วประเทศชาติจะเป็นอย่างไร ?
การที่หลายๆ ท่าน ให้ความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับเรือจีน ต่างก็สนับสนุนความคิดของตนด้วยเหตุผลที่ชัดเจน ไม่ใช่เด็กร้องขอของเล่น
กรุณาให้เกียรติเพื่อนสมาชิกด้วยครับ ถ้าท่านไม่เห็นด้วย ก็ช่วยใช้วิธีชี้แจงด้วยเหตุและผลจะเหมาะสมกว่า และก็ไม่ควรไปสอดเสียดท่านอื่นด้วยถ้อยคำที่ดูแคลนด้วยครับ
สังคมถึงจะอยู่ร่วมกันได้
และด้วยงบประมาณ กว่า 36,000 ล้านบาท...เฉพาะ ตัวเรือดำน้ำ...ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งาน...
สำหรั้บ ประเทศไทย...คง สักแต่ว่า มี...ไม่ได้ หรอกครับ...
มันต้องคิดเยอะ...พิสูจน์ได้...และโปร่งใส เพียงพอ...
เพื่อไม่ให้ คนธรรมดา ๆ แบบสมาชิกใน TFC มาโต้แย้งได้หรอกครับ...
ก็ดูตัวอย่าง เรือฟริเกต สมรรถนะสูง ได้ครับ..จะอย่างไร มันก็มีบทพิสูจน์ มีข้อมูลที่จะพอเชื่อถือได้...
พอถึงเวลา ทุกคน ก็ยอมรับแหล่ะครับ...
หรือถ้าจะให้ผมเทียบเคียง ก็คือ...
ทำไม เราถึงไม่ เสนอสนับสนุนหรือโปรโมท ให้ กองทัพอากาศ ซื้อเครื่องบินฝึกแบบ L-15 ของประเทศจีน ล่ะ...
ในงบประมาณที่ ทอ. จัดหา T-50 จำนวน 4 ลำ สามารถจัดซื้อ L-15 ได้หลายลำ อาจะได้ 8-10 ลำ...จะได้ ครบฝูง เร็ว ๆ...และจีน อาจจะเสนอแพคเกจดี ๆ ให้...
ในใจของสมาชิกโดยส่วนใหญ่ ก็คง ออกมาคัดค้าน อีกเช่นเดียวกัน ล่ะมั้งครับ...ถ้า ทอ. จัดหามาจริง ๆ...
เพราะ
1. มันไม่มีใครใช้
2. ระบบเอวิโอนิค ไม่เข้ากับที่ ทอ. ใช้งาน
3. ความน่าเชื่อถือน้อย
4. ระบบทั้งหมดของ ทอ. เป็นของฝั่งตะวันตก คงน่าจะต้องเสียงบประมาณเพิ่มในการปรับให้เข้ากัน
เช่นเดียวกับ โครงการ เรือดำน้ำจีน นี่แหล่ะครับ...
มันก็เป็นแบบ ช้อ 1 - 4 ข้างต้น...ที่ว่า...ทำให้สมาชิก TFC หลายท่าน จึงแสดงความเห็นว่าไม่ควรสนับสนุน การจัดหาเรือดำน้ำจากประเทศจีน...และมีจุดยืนที่ชัดเจน...ว่า...สนับสนุน ให้ กองทัพเรือมีเรือดำน้ำ ที่เหมาะสม ในงบประมาณที่สมเหตุ สมผล...
เห็นด้วยกับป๋าจูครับ
จากการสัมภาษณ์ล่าสุด ดูท่า ทร. จะรับไปเต็มๆ ครับ
ทร. เป็นคนเลือกแบบเรือเอง
ทร. เป็นคนเสนอขออนุมัติเอง
ผู้ให้สัมภาษณ์บอกว่า เรือนี้ดี มีใช้อยู่หลายประเทศ ผู้ผลิตเค้ารับประกันเป็นสิบปีสิบห้าปี ฯลฯ
เหมือน.. เหมือนเป็นขบวนการ...
เป็นกระทู้ที่ก่อนตอบต้องทำการบ้าน เนื่องจากผม "ไม่เห็นด้วย" ในเรื่องอดีต เรามาเริ่มจากวิธีการสรรหาเรือดำน้ำของกองทัพในโครงการบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 กันก่อนนะครับ
http://zedth.exteen.com/page/402
http://thaimilitary.blogspot.com/2016/04/the-power-of-sea-2478.html
กองทัพเรือได้จัดตั้ง คณะกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกองทัพเรือ โดยมี นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ (ต่อมาเป็น พลเรือตรี) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการทหารเรือ ในสมัยนั้น เป็นประธาน ในการจัดหาเรือดำน้ำ เมื่อกองทัพเรือ กำหนดคุณสมบัติของเรือดำน้ำ (สมัยนั้นเรียกว่าเรือดำน้ำแล้ว) ที่ต้องการแล้ว ก็ได้เรียกประกวดราคาสร้างเรือดำน้ำในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2478 และได้มีประเทศต่าง ๆ ยื่นข้อเสนอดังนี้
ประเทศอิตาลี มีตอร์ปิโดหัวเรือ 4 ท่อ ท้าย 2 ท่อ ไม่มีปืนใหญ่ , ลูกปืน และลูกตอร์ปิโด ราคา 3 ลำรวม 3,747,420 บาท ถ้า 4 ลำเป็นเงิน 4,970,640 บาท
ประเทศญี่ปุ่น มีตอร์ปิโดหัวเรือ 2 ท่อ ท้าย 2 ท่อ มีปืนใหญ่และลูกปืน แต่ไม่มีลูกตอร์ปิโด โดยแบ่งตามขนาดของระวางขับน้ำ และจำนวนลำ ดังนี้
ขนาด 345 ตัน 3 ลำ ราคา 2,390,330 บาท 4 ลำ ราคา 3,161,290 บาท
ขนาด 370 ตัน 3 ลำ ราคา 2,479,355 บาท 4 ลำ ราคา 3,280,000 บาท
ขนาด 380 ตัน 3 ลำ ราคา 2,606,601 บาท 4 ลำ ราคา 3,447,742 บาท
ประเทศเดนมาร์ค 4 ลำ (ไม่ทราบรายละเอียด) ราคา 5,688,468 บาท
ประเทศอังกฤษ เฉพาะตัวเรือและเครื่องจักร 3 ลำ ราคา 4,023,630 บาท 4 ลำ ราคา 5,241,036 บาท
ประเทศฮอลันดา มีปืนใหญ่พร้อมลูก และต้อร์ปิโดพร้อมลูก 3 ลำ ราคา 5,012,976 บาท 4 ลำ ราคา 6,571,386 บาท ถ้าไม่มีลูกปืนและลูกตอร์ปิโด 3 ลำ ราคา 4,188,159 บาท 4 ลำ ราคา 5,471,811 บาท
ประเทศฝรั่งเศส ไม่มีลูกปืน ไม่มีลูกตอร์ปิโด ราคาลำละ 3,262,773 บาท
ซึ่งในที่สุด คณะกรรมการได้ตกลงใจเลือก เรือดำน้ำขนาด 370 ตัน ของประเทศญี่ปุ่น และก็ได้เจรจาซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมจากญี่ปุ่นอีก เช่น ถังหนีภัย และอุปกรณ์การหนีภัยจากเรือดำน้ำ ตลอดจนการฝึกกำลังพลประจำเรือดำน้ำ
และแล้ว เรือดำน้ำสัญชาติไทยคู่แรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ ก็ได้วางกระดูกงู เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมี พระมิตรกรรมรักษา อัครราชฑูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้น เป็นประธานในการปล่อยเรือลงน้ำ และเรือได้สร้างเสร็จบริบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480
จากผลการคัดเลือกจะได้ผู้ชนะ 3 อันดับตามนี้
1 ญีปุ่นจำนวน 4 ลำ ในวงเงิน 3,280,000 บาท
2 อิตาลีจำนวน 4 ลำ ในวงเงิน 4,970,640 บาท
3 อังกฤษจำนวน 4 ลำ ในวงเงิน 5,241,036 บาท
ถ้าเราไม่เลือกญี่ปุ่นก็ต้องเป็นอิตาลีตามลำดับไหล่ นั่นคือเราจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 1,690,640 บาททันที เป็นจำนวนเงินที่สามารถซื้อเรือดำน้ำญี่ปุ่นได้อีก 2 ลำ
จบสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม ด้วยเหตุผลเดียวกับญี่ปุ่นคือขายอาวุธไม่ได้ เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำจะต้องถูกปลดประจำการเวลาเดียวกัน จบครับ
ถ้าเราไม่เลือกอิตาลีก็ต้องเป็นอังกฤษตามลำดับไหล่ นั่นคือเราจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 1,961,036 บาททันที เป็นจำนวนเงินที่สามารถซื้อเรือดำน้ำญี่ปุ่นได้อีก 2 ลำ+เรือวางทุ่นระเบิดชั้นเรือหลวงบางระจันอีก 1 ลำ
จบสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษเป็นประเทศผู้ชนะสงคราม กรณีนี้ไม่น่ามีปัญหาเรือเราได้แบตเตอรี่แน่ "ถ้าอังกฤษยอมขายให้เรา" ปัญหาก็คือเขามองว่าเราเป็นผู้แพ้สงคราม และเรือดำน้ำเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญมาก การขายแบตเตอรี่เรือดำน้ำให้ไทยอาจเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรมารองรับหรือยืนยันได้เลยว่าเรือเราจะได้รับการปรับปรุง และถ้าได้รับการปรับปรุงจะเอาเงินก้อนโตจากไหน ในสภาวะที่คนทั้งประเทศกำลังขัดสนอย่างหนัก
ประเทศที่ยืนยันว่าไทยอยู่ฝ่ายชนะสงครามคืออเมริกาประเทศเดียว อังกฤษแม้จะยอมในที่สุดแต่ก็เรียนกค่าเสียหายโน่นนั่นนีเยอะแยะ เรายังมีโจทย์เก่าคือฝรั่งเศสจาก กรณีพิพาทระหว่างไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส ที่พลิกกลับมาเป็นผู้ชนะสงครามได้อีกครั้งด้วยย เขาจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้กองเรือดำน้ำไทยต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอน ต่อร้อยบาทเอาขี้หมากองเดียว
ส่วนตัวมีความเห็นว่า ที่เรือดำน้ำเราไม่ได้ไปต่อ เพราะเราเป็นประเทศผู้ไม่ชนะสงครามครับ
ท่านว่า ทร. ไม่จำเป็นต้องชี้แจงเหตุผลอะไรให้สาธารณชนทราบอีกแล้ว เพราะเคยชี้แจงไปแล้ว
ไม่อยากให้ ทร. มีเรือดำน้ำหรือ ?
ซื้อจีนสามลำ เท่ากับซื้อเรือฝรั่ง 1 ลำ
เหนื่อยแล้วครับ ประเทศชาติ...
เรื่องจินตนการต่อมาก็คือ ถ้าเราซื้อเรือดำน้ำอังกฤษและได้รับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เรือเราจะมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน ผมจะพาไปรู้จักเรือดำน้ำอังกฤษที่มีขนาดเล็กหน่อยก็คือ U-Class คือมีระวางขับน้ำปรกติ 540 ตัน ซึ่งเล็กที่สุดของเขาแต่ใหญ่กว่าเรือเราอีก โดยเรือลำแรกเข้าประจำการปีเดียวกับเรือเรานี่แหละ
อังกฤษต่อเรือชั้นนี้จำนวน 49 ลำด้วยกัน และลำที่มีอายุยืนที่สุดคือเรือชื่อ HMS Varne ซึ่งเข้าประจำการในปี 1943 สาเหตุก็เพราะได้ขายต่อให้กับนอร์เวย์ในปี 1943 หรือในปีเดียวกันนั่นเอง (หลังสงครามโลกอังกฤษขายอาวุธเหลือใช้อยู่เสมอ อย่างเรือหลวงพระร่วงจากสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือเรือหลวงเจ้าพระยาลำที่ 1 และเรือหลวงประแสร์ลำที่ 1 จากสงครามโลกครั้งที่ 2 )โดยใช้ชื่อว่า HNoMS Ula (คุ้นเนอะ) เรือปลดประจำการในปี 1965 เท่ากับ 22 ปีเต็ม แน่นอนว่าต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่แน่เพราะลากยาวไม่ไหว ส่วนเรือของเราปลดประจำการหลังจากใช้งานมา 13 ปีเต็ม ส่วนต่างอยู่ที่ 9 ปีสำหรับเรือดำน้ำอังกฤษที่ได้รับการเปลี่ยนแบตแล้ว
จะเห็นได้ว่าอายุใช้งานที่เพิ่มขึ้นไม่ได้คูณด้วยเลข 2 และไม่สามารถคุณด้วยเลข 3 ได้ สาเหตุก็เพราะเทคโนโลยีเรือดำน้ำในสมัยนั้น (โดยเฉพาะเรือดำน้ำชายฝั่งขนาดเล็ก) ยังไม่ดีเทียบเท่าเรือผิวน้ำ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะราคาเป็นตัวกำหนด เรือสลุปชั้นเรือหลวงท่าจีนลำล่ะ 942,500 บาท ส่วนเรือดำชั้นเรือหลวงมัจฉานุลำล่ะ 820,000 บาทถูกกว่าด้วยซ้ำ เรือดำน้ำที่เราซื้อในสมัยนั้นถึงจะมาจากอังกฤษ อายุการใช้งานก็คงได้เท่าที่ผมบอกนั่นแหละ ขืนกองทัพเรือลากยาวกว่านี้คงมีแม่ม่ายกันระนาว และตอนนั้นที่เราจัดซื้อเรือดำน้ำ ไม่มีใครคาดคิดว่าท้ายที่สุดจะจบแบบนี้
แล้วถ้าไม่ได้เปลี่ยนแบตเตอรี่เรืออังกฤษจะมีอายุการใช้งานเท่าไหร่ ส่วนมากจะไม่เกิน 10 ปีนะครับ ขนาดเรือที่ขายต่อเนเธอร์แลนด์ก็ 10 ปีปลดประจำการ เรือที่ให้เช่าบางส่วนถูกส่งคืนกลับและจอดตาย ก่อนใช้เป็นเป้าทดสอบยิงในภายภาคหน้าอีกที
ปล. เรือดำน้ำ HNoMS Ula ของนอร์เวย์สามารถยิงเรือดำน้ำ U-974 ของเยอรมันได้ด้วยครับ โดยการซัลโวตอร์ปิโดเข้าใส่จำนวน 4 นัด และ 1 ในนั้นโดนเข้าอย่างจังจนจมลงในที่สุด
ผมเห็นด้วยกับสมาชิกที่บอกว่า "ไม่เห็นด้วยกับการที่จะบอกว่า ให้จัดหาให้ได้ไว้ก่อน" (เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย งงมั้ย ..???) คือ ถ้ามันราคาถูกกว่ารายอย่างมีนัยสำคัญ อันนี้คงไม่ว่า .................. แต่นี่ ไม่ได้ถูกกว่า แถมมูลค่าของดีลก็มากโข มันจะมาทำเป็นเหลาะแหละ เป็นเด็กก็ใช่ที่ โตๆกันแล้วทั้งนั้น.........................
แต่เรียนตรงๆนะครับ ............ ความรู้สึกส่วนตัวผม ก้าวพ้นผ่าน ทุกอย่างไปแล้ว จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ อยู่ยั้งยืนยงต่อก็ได้ Chipหายก็ได้...................
1. อย่างที่บอก ถ้าไม่คบจีน อีก 10 ปี จ้างก็ไม่มีเรื่อดำน้ำใช้ เพราะมีคนไม่อยากให้เรามี
2. มีเป็นของจีน ราคาสามหมื่นกว่าล้าน ชิบหายไม่เป็นไร ทุกวันนี้น้ำมันก็ลิตรละ 24 ภาษีรถภาษีลา บุหรี่เหล้า ของใช้ ก็รีดกันทุกอย่าง จะมีภาษีบ้านหลังที่สองอีก ก็ดี เราจะได้เอาเงินมาสนับสนุนโครงการเรือดำน้ำ........................
ชีวิต ดี๊ ดี...................... อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายก็ ดี๊ ดี............. จะเอาอะไรกันนักหนา....................
มีคนกล่าวไว้ว่า U-206 มันเก่าแล้วเครื่องมันดังตรวจจับได้ไกลไม่เหมาะกับ ทร. ครับ
ท่าน superboy ในรายงานเรื่องความเห็นเรือ ส. ก็ระบุไว้ครับว่า...ในขณะนั้น กลุ่มประเทศตะวันตก เช่น อังกฤษ กำลังล่าเมืองขึ้น...จึงไม่ควรจะจัดหาเรือดำน้ำ กลุ่มประเทศที่คาดว่าจะเป็น ปฏิปักต์ กับประเทศไทย...นอกจากเรื่องงบประมาณแล้ว ในเหตุผลนี้ ก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อด้วยเช่นกัน ครับ...ดังนั้น ทั้งเรือรบ และเรือดำน้ำ จึงจัดหาจากมิตรประเทศ ซึ่งในขณะนั้น ญี่ปุ่น มีเป็นมหามิตรของประเทศไทย ครับ...ในช่วงระยะเวลานั้น การแผ่อิทธิพลของ ตะวันตก มีสูงมาก...เหตุการณ์หลายอย่าง...ทำให้คำตอบไปอยู่ที่ ประเทศญี่ปุ่น หมด...
และในความเห็นผม ก็ชัดเจน ครับว่า...เรือดำน้ำชุด มัจฉาณุ ไม่ใช่หมดอายุ...แต่ไม่มีอะไหล่ ไม่มีแบตเตอรี่...เพราะมันหาทดแทนไม่ได้..ก็ด้วยคุณสมบัติของเรือดำน้ำ เป็นคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง...
แต่ถ้า ในชณะนั้น ประเทศไทย สามารถจัดหาแบตเตอรี่ มาทดแทนได้...เรือดำน้ำชุด มัจฉาณุ ก็ยังประจำการอยู่ได้ ใช่ไหมครับ ? ลองมองมุมนี้ดูครับ...
ซึ่งแตกต่าง จากเรือรบ ที่จัดหามาจากประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถจัดหาอะไหล่ทดแทนได้ สามารถใช้อะไหล่หรือเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นฝั่งตะวันตกได้ จึงมีอายุใช้งานครบประจำการ...
ซึ่ง เรือดำน้ำจีน ก็จะเป็นเช่นเดียวกันที่ว่า...เราไม่สามารถจะจัดหา อะไหล่ แบตเตอรี่ ทดแทนจากแหล่งอื่นได้ นอกจากประเทศจีน...จึงจะซ้ำรอย เรือชุดมัจฉาณุ ถ้า ทร. ไม่มีงบประมาณ หรือ จีน กำหนดราคาที่สูง เพื่อชดเชยกับราคาที่ เขาบอกว่า เขาขายถูกให้...เพราะประเทศจีน เขาไม่ขายของขาดทุนหรอกครับ...คิดวา น่าจะเป็นหลักนิยม ของเขา..
เคลือบแคลงสงสัยดีครับ แต่อย่าให้อคติมันบังตาบังใจจนทำให้ข้อมูลมันผิดเพี้ยนครับ แมงป่องมาเลย์กว่าจะพร้อมรบใช้งบอีกโข เรือกรีซจากเยอรมันก็ยังมีปัญหากว่าจะเอาเข้าประจำการ เรือคอลลินก็มีปัญหาแถมแก้ไม่จบอีกต่างหาก จะ A19 ,TYPE 210 MOD ก็เรือกระดาษเหมือนกัน โอกาสเกิดปัญหามันเกิดได้จากทุกประเทศแหละครับจะฝรั่ง จะกิมจิ หรืออาหมวย สิ่งที่อยากเห็นในโครงการแบบนี้คือการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นไปได้ของทุกเจ้าที่เข้าแข่งขันออกต่อสาธารณะชนมากกว่าข้อมูลอันน้อยนิดในสมุดปกขาวครับ เอาให้เห็นครับว่า ส จีน มันคุ้มค่าจริงๆสมควรซื้อ ไม่ใช่เอะอะก็ความลับ ความมั่นคงท่าเดียว แล้วก็งุบงิบๆเซ็นต์กันไปครับ และ งบขนาดนี้ควรดึงมาจากงบอื่นดีกว่าครับแค่นี้ ทร ก็จะแย่อยู่แล้ว
4 ก.ค. - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ากระทรวงกลาโหมกดดันกองทัพเรือเลือกเรือดำน้ำของประเทศจีนว่า ยืนยันว่ากระทรวงกลาโหมไม่ได้มีการกดดันกองทัพเรือตามที่มีกระแสดังกล่าว เพราะก่อนที่จะมีการคัดเลือกเรือดำน้ำจากประเทศจีนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคัดเลือกเรือดำน้ำจากประเทศต่างๆ และมีมติเอกฉันท์เลือกเรือดำน้ำของประเทศจีน ส่วนที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ากระทรวงกลาโหมกดดันคงหมายถึงตน ซึ่งตนถามว่าจะไปกดดันใคร และจะไปกดดันได้อย่างไร
เมื่อถามว่า แต่มีการมองว่าการจัดซื้ออาวุธและยุทโธปกรณ์ของกองทัพยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)จะเลือกที่ผลิตจากประเทศจีน พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ใช่เพราะอาวุธและยุทโธปกรณ์จะซื้อที่ไหนก็ได้ แต่ตอนนี้ไทยซื้อจากสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เราต้องเลือกจากเทคโนโลยีที่เหมาะสมและราคาพอสมควรที่เราสามารถซื้อได้ ทั้งนี้เรื่องเรือดำน้ำมีการดำเนินการมานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ตนเป็นรมว.กลาโหมครั้งก่อนหน้านี้เกือบ 10 ปี ทางกองทัพเรือและกระทรวงกลาโหมก็ดำเนินการพิจารณามาอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้สังคมก็ยอมรับว่าไทยควรจะมีเรือดำน้ำ
“เรือดำน้ำที่เราซื้อจากจีนเหมาะสมกับราคาและเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาขึ้นมาดีมากขึ้น อีกทั้งมีการรับประกันระยะเวลาการใช้งานและอุปกรณ์ มีการให้อาวุธต่างๆครบ ถ้าเราไปซื้อที่อื่นเราซื้อไม่ได้แบบนี้ เพราะ 1 ลำมีราคามากกว่าของจีนถึง 3 เท่าตัว ถ้าไปซื้อของประเทศอื่นได้ 1 ลำ แต่ของจีนได้ 3 ลำ และใช้งานได้นาน แต่ถ้าเรามีเงินมากเราก็ซื้อได้หมด ผมเองก็อยากได้เรือดำน้ำของยุโรป ส่วนที่มีการมองว่าเราจะเป็นหนูทดลอง เพราะรุ่นที่ซื้อจากจีนนั้นยังไม่มีประเทศใดใช้ ผมมองว่าจีนเขามีประกัน 10-15 ปี มีการรับประกันซ่อมแซม และมีท่าเรือพร้อม ไม่ใช่อยู่ดีๆจะนำมาใช้ ถ้าเราซื้อของจากต่างประเทศเราต้องซื้อของที่ดี” พล.อ.ประวิตร กล่าว
เมื่อถามว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติเมื่อใด พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ยังไม่ใช่ตอนนี้ ในส่วนนี้เป็นเพียงกองทัพเรือเสนอเป็นแผนงาน ดังนั้นอย่าเพิ่งไปตื่นเต้น เมื่อถามย้ำว่าถ้าไม่รีบนำเข้าที่ประชุมครม.เกรงว่าจะไม่ทันงบประมาณปี 60 หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่เป็นอะไร ตนสามารถทำงานได้
เรือดำน้ำ A19 ไม่ใช่เรือสเป็กกระดาษนะครับ สวีเดนใช้งานมานานหลายปีแล้ว จนตอนนี้เขาปรับปรุงให้ทันสมัยตามยุคสมัยแล้วและยังไม่ปลดประจำการ ส่วนเรือดำน้ำคอลลินนั้นมีปัญหาจริงๆจนต้องปลด ทั้งๆที่เอาพื้นฐานมาจาก A19 แต่ออสเตรเลียอยากได้ขนาดใหญ่กว่า A19 เลยขยายแบบให้ใหญ่ขึ้น สุดท้ายปัญหาไม่จบจนต้องปลดไปในขณะที่ A19 ยังดำผุดดำว่ายอยู่เลย แล้วเรือดำน้ำ S-26T ที่ว่าเอาพื้นฐานจากเรือ ชั้นหยวน แต่ลดขนาดลง จะซ้ำรอยเหมือนคอลลินไหม
แต่ U-209/1400 ไม่ใช่ เรือกระดาษ ใช่ไหมครับ...ก็เลือกได้นี่ครับ....จำนวน 2 ลำ ราคาน้อยกว่า 36,000 บาท แน่นอน...
คราวนี้ ถ้าเทียบระหว่างเรือกระดาษ A-19mod ระวาง 1,600 (ยาว 60 ม.) กับ type-210mod ระวาง 1,150 ตัน (ยาว 58 ม.) กับ S-26T ระวาง 2,600 ตัน (ยาว 66 เมตร)...
เรือกระดาษ 3 ลำนี้ มาสู้กันที่ ระดับน้ำ 40 - 60 เมตร....คิดว่า ใครจะชนะครับ...ใครจะจับเป้าได้ก่อน....ใครมีคุณสมบัติลดการตรวจจับมากกว่า...
เรือกระดาษ 3 ลำนี้ มาสู้กันที่ ระดับน้ำ 100 เมตร...คิดว่า ใครจะชนะครับ...ใครจะจับเป้าได้ก่อน...ใครมีคุณสมบัติลดการตรวจจับมากกว่า...
เรือกระดาษ 3 ลำนี้ คิดว่า ใครจะเข้าไปหาข่าว ได้ใกล้ฝั่งกัมพูชา ดีกว่ากัน...
ผมยังไม่เห็นความได้เปรียบของ เรือกระดาษ S-26T จะดีกว่า เรือกระดาษ A-19mod และ type-210mod เลยครับ...
นอกจากคำว่า...ดำนาน กับเขาให้ตอร์ปิโดกับอาวุธนำวิถีใต้น้ำสู่พื้น มาด้วย แค่นั้นเองครับ...ที่บอกว่า ชนะ...
เรือกระดาษ
A-19mod กว้าง 6.2 ม. สูง 11.8 ม. ความเร็วสูงสุดใต้น้ำ 20 นอต
type-210mod กว้าง 5.5 ม. สูง 11 ม. ความเร็วสูงสุดใต้น้ำ 23 นอต
S-26T กว้าง 8.0 ม. สูง 16 ม. ความเร็วสูงสุดใต้น้ำ 18 นอต
ในสภาพภูมิศาสตร์ อ่าวไทย ความลึกเฉลี่ย 58 ม.
คิดว่า เรือกระดาษแบบไหน จะตรวจจับได้ยากกว่า และเรือกระดาษแบบไหน จะเอาตัวรอดได้ดีกว่า...
ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าอะไรจะตรวจจับได้ง่ายได้ยากกว่ากัน เพราะยังไม่มีใครเอามาดำและทดสอบในบ้านเราซักเจ้าครับ และมีหลายปัจจัยในการตรวจจับเรือ ส มากกว่าขนาดครับ ผมก็ไม่ได้ชอบ ส จีนเท่าไหร่
นะครับแต่สิ่งที่ไม่ชอบยิ่งกว่าคือ การแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองครับ
เรื่องความพร้อมรบของเรือส.มาเลเซียไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับกระบวนการจัดหารึเปล่า เพราะสรุปแล้วนะครับว่ามีการทุจริตกันกระจายตอนจัดหาโครงการนี้
นั่นซิครับ...ผมว่า อย่างเลวร้ายสูด คือ ทร. จัดหา type-209/1400 ไม่ว่าจากเกาหลีใต้ หรือ เยอรมัน..ผมว่า มันคงไม่กระแสแรงขนาดนี้...หรือ ทร. ก็รอไปเลย...รอการตั้งรัฐบาลใหม่ให้เสร็จสิ้น...แล้วค่อยเสนอโครงการ ก็ยังไม่สาย..และผมก็เชื่อว่า จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลใหม่ ด้วยเช่นกัน...ด้วยปัจจัยแวดล้อม...เชื่อว่า ทร. สร้างความโปร่งใส ผมเชื่อว่า รัฐบาลใหม่ จะแก้ไขปัญหาได้แน่..
การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในขณะนี้ ไม่มีประโยชน์อะไร...และแนวโน้ม จะเกิดผลเสีย ในอนาคตมากกว่า ครับ...ในแง่ นักบัญชี...ผมยังมองไม่เห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแต่อย่างไร...
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะมีแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศเข้าประเทศ ยังไม่เห็น...จะมีที่ออกข่าวทุกวัน ก็จากประเทศจีน เท่านั้น..ในขณะเดียว กองทัพไทย ก็ออกข่าว ซื้ออาวุธจีน เพื่อคืนเงินลงทุนเขาไปอีก...และ จีน ก็ยังไม่เห็นเขาจะออกข่าว่ว่า...เขาจะเอาเงินมาลงทุนแน่ ๆ...มีแต่ข่าวอยู่ระหว่างเจรจา..
แต่ประเทศไทย ออกข่าว ยืนยันไปแล้ว ว่า เงินประเทศไทย เข้าประเทศจีน แน่ ในขณะนี้ หลายพันล้าน จากการซื้ออาวุธ...และกำลังดันอีก 36,000 ล้านบาท จากการซื้อเรือดำน้ำ เข้าประเทศจีน แน่ ๆ....เท่านั้นเองครับ...
ดุลการค้า ระหว่าง ประเทศไทย กับ ประเทศจีน
ปี 2557 นำเข้า 1,251,528 ล้านบาท ส่งออก 806,438 ล้านบาท ไทยขาดดุล (445,091) ล้านบาท
ปี 2558 นำเข้า 1,403,177 ล้านบาท ส่งออก 801,235 ล้านบาท ไทยขาดดุล (601,942) ล้านบาท
ปี 2559 ม.ค. ถึง พ.ค. นำเข้า 591,960 ล้านบาท ส่งออก 311,475 ล้านบาท ไทยขาดดุล (280,486) ล้านบาท
โค-ตะ-ระ มหามิตร...
ดุลการค้า ระหว่าง ประเทศไทย กับ สหรัฐอเมริกา
ปี 2557 นำเข้า 474,102.42 ล้านบาท ส่งออก 767,856.29 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า 293,753.86
ปี 2558 นำเข้า 472,025.91 ล้านบาท ส่งออก 811,346.29 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า 339,325.37
ปี 2559 ม.ค. ถึง พ.ค. นำเข้า 175,122.26 ล้านบาท ส่งออก 339,565.87 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า 164,493.61 ล้านบาท
ดู ประเทศที่บางคน คิดว่า เขาจ้องจะเอาเปรียบประเทศไทย ซิ...
หัดฟังเพลงชาติ จีน กันบ้างก็ดีครับ...เพื่อความสัมพันธ์อันแนบแน่น...
เปรียบเทียบ ดุลการค้า ระหว่างประเทศไทย และ ประเทศจีน
ปี 2555 ไทย (เสีย) ดุลการค้า จีน = (330,601) ล้านบาท
ปี 2556 ไทย (เสีย) ดุลการค้า จีน = (330,624) ล้านบาท
ภายหลัง รัฐบาลปัจจุบัน เข้าบริหารประเทศ
ปี 2557 ไทย (เสีย) ดุลการค้า จีน = (445,091) ล้านบาท
ปี 2558 ไทย (เสีย) ดุลการค้า จีน = (601,942) ล้านบาท
ปี 2559 ม.ค. ถึง พ.ค. ไทย (เสีย) ดุลการค้า จีน = (280,486) ล้านบาท เพียง 5 เดือน ไทย เสีย ดุลการค้า ไปเกือบมูลค่าของทั้งปี 2555 - 2556
ประเทศไทย ได้ประโยชน์อะไร จากการสนับสนุนของ ประเทศจีน ครับ...คิดเหรอว่า...การเสนอแพคเกจ เรือดำน้ำจีน คือ มิตรภาพที่ จีน ให้กับ ไทย ?
การจัดหา เรือดำน้ำจีน จะสร้างการเสียดุลการค้า กับประเทศจีน ขนาดไหน ? ทั้ง ๆ คุณลักษณะของเรือดำน้ำ ก็ไม่ได้เหมาะสมกับ ภูมิศาสตร์ในอ่าวไทย อยู่แล้ว...
สงสัยมานานแล้วครับ เรือ ส ย่อมาจากอะไรครับ
โ
ส. = สับมารีน ครับเรียกทับศัพท์มากจากฝรั่ง เป็นศัพท์เก่าตั้งแต่ครั้งไทยอยากได้เรือดำน้ำครั้งแรกๆครับ ตอนนั้นยังไม่มีคำไทยเรียก พอมาหลังๆ ก็บัญญัติศัพท์ให้เป็นเรือดำน้ำ
รู้สึกตอนเลือก สมาชิกความมั่นคง จีน ก็ไม่ได้เลือกเรานิครับ ทั้งที่เราเอาใจจีนมากเป็นพิเศษด้วยช่วงนี้
ขอบคุณมาก หายสงสัยเลยครับ
โ
จีนเนี้ยนะมหามิตร บางท่านก็ควรจะแยกให้ออกบ้างนะครับว่าคุณเป็นคนไทยแล้วอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะเข้ามาในเจนเนอเรชั่นไหน แยกให้ออกบ้างนะครับ อย่าให้ความรุ้สึกมันทำให้สติ ปัญญามืดบอด คนจีนเขาไม่คิดว่าคุณเป็นคนจีนนะครับ เขาจะสนิทก็เพื่อผลประโยชน์เกิดกับเขานะครับ เดี๋ยวมาเขียนต่อ ไปหาข้าวกินก่อน ฮ่าๆๆๆ
แล้วอย่า มาม่า เรื่องเชื่อชาตินะครับ เพราะผมก็ไม่ 100 เปอร์เซน แต่ผมถือว่าผมเป็นไทย 100 เปอร์เซน บอกดักไว้ ไม่อยากกิน มาม่า ฮ่าๆๆ
ดูแล้ว. เหมือน รวมผล คนไม่ใช้ของจีน... 5555
ผมฟันธง ได้เลย. ถ้าพลาด ของจีน รอบนี้. อย่าได้หวัง. เลย. เรือ เกาหลี. เยอรมัน สวีเดน
อดสถานเดียว.
กระแสไม่เห็นด้วย แรงขนาดนี้. นั่่งมอง เวียดนาม เอาเรือ. มาว่ายเล่นอย่างเดียว..
เพราะคนไทย ไม่เข้าใจเรื่องคุณประโยชน์ ของเรือดำน้ำ. และเราก็ห่างหายจากอาวุธลักษณะนี้มานาน เมื่อมีโอกาสจะได้แล้ว. เราควรช่วยกันผลักดัน. ถ่ามั่วแต่มาวิจารณ์ลักษณะนี้. ก็เท่ากับมาสร้างกระแสไม่เห็นด้วย. เพราะที่ผ่านมาก็เป็นแบบนี้. ไปตั้งกระทู้ ัลักษณะนี้ ตาม เวปต่างๆ
ผมมองว่าจะของจีน หรืออะๆรก็มีไว้ก่อน. เพราะเมื่อมีแล้ว. จะจัดหาเพิ่มมันง่ายกว่า. ตอนนี้ ที่สังคมยังขาดความเข้าใจ และคนในกองทัพเอง ก็มีบุคครากร ด้านนี้น้อย. ขาดทุกสิ่งทุกอย่าง. รวมทั้งพวกคุณๆ ทั้งหลายด้วย.
แล้วรู้ได้อยา่งไร ว่ามันห่วยแตก.
หรือว่า. ที่บ้าน ท่าน. เคยมี. เลยรู้ว่ามันไม่ดี
ของยุโรป. ใครๆ. ็ อยาก ได้. แล้ว. ท่านว่า. ท่านซื้อได้มัย. ผมว่า. ใน เวป. นี้. ก็. น่าจะรูดี. ว่ามันราคาเท่าไร.
และข้อสำคัญ. เค้าไม่ขายให้เรา. ..... อันนี้. จบมัย.
คนในนี้เค้ารู้กันหมดละครับไอ้ว่าไม่ขายนะ เค้าพูดไปอย่างนั้นเอง ขายหมดละครับถ้ามีเงิน ทบ ทอ ทร สั่ง ฮ.ก็ซื้อมาไม่รู้กี่ลำทั้งอเมริกัน เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส จนช่างเครื่องงงไปหมด 555
ท่านว่า. รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง. จะกล้าซื้อ หรือครับ. 555
เด็กน้อยกันจริงๆ.
กระแสต้านเรือดำน้ำ มันมาก. มากจน. อดคิดไม่ได้ว่า. กลุ่มคนพวกนี้.
ใช่. คนไทย. หรือ. เปล่า. หรืแ. เป็นคน. ต่างชาติ เค้ามาสร้่างกระแส.
เพราะ ถ้าประเทศไทยมีเรือดำน้ำ. มันย่อมเป็นภัยคุกตามประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้แน่นอน
ผมเลยสงสัย. ว่า. พวกท่านทั้งหลายเป็นคนไทย. หรือเปล่า
ใช้คำพูดแนวว่า เด็ก บ้าง ดิ้นบ้างนี้ อีแอบนะครับ คนเขาก็เสนอความคิดเห็นดีๆ เห็นต่างกันจะเป็นไร ดีเสียอีกจะได้แลกเปลี่ยนกัน เอาข้อมูลคุยกัน นี้อะไร ตุ๊ดจริงครับ อีกอย่างไม่ต้องมานักเลงคีบอร์ดใส่ผมนะครับเบื่อครับ คุณพูดดีๆ พิมพ์คุยกันดีๆ จะดีกว่านะครับ
ส่วนผมมันประเภทใครว่ามา ก็ ว่ากลับ ไม่ได้ใจเย็นเหมือนหลายๆท่าน ต้องขออภัย สมาชิกท่านอื่นๆด้วยนะครับ
อีกอย่างนะ ในนี้ เขาก็สนับสนุนให้ซื้อ ให้มีเรือดำน้ำทั้งนั้น อ่านดีๆ หนังสืออ่ะ ทุกคนก็เขียนภาษาไทยให้อ่านทั้งนั้น เป็นคนไทยต้องคิดเหมือนกันซะงั้น สมองไปหมดแล้วดูท่า ฮ่าๆๆ ของกากๆ อย่าง ไม้ล้างป่าช้า ทั้งวันนี้หาใครรับผิดชอบไม่ได้ ขนาดว่าไม่ใช่ของที่ซับซ้อนอะไรยังไม่มีปัญญา แล้วนี้เรือทั้งลำจะตรวจสอบอะไรได้ เขาต้องการความโปร่งใสกัน
ผมว่าเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีของจีนก็ไม่ได้เป็นรองใครแล้วนะครับ เค้าไปอวกาศได้แล้วนะครับ
อยู่ที่ว่าเค้าจะทำของดีๆให้เราหรือป่าว เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้เค้าซื้อกันแล้วครับค่อยมาต่อยอดกัน หรือซื้อหัวกระทิมาทำงานด้วย
ส่วนเรื่องเรือดำน้ำจีน ผมว่าการทำสัญญานี้สำคัญมากๆ เพราะว่าต้องกำหนดสเปกและอายุการใช้งานที่แน่นอน และฝ่ายตรวจสอบของเราคงต้องทำงานหนัก เรารู้กันดีว่าของมือหนึ่งราคาถูกและดี มันไม่ค่อยมีที่ไหนเค้าขายกันหรอก ก็อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูเรื่องสัญญาดีๆและเช็คคุณภาพให้ละเอียดหน่อยนะครับ
อีกประเด็นคือเรื่องอาวุธประจำเรือครับ อย่างที่ทุกท่านทราบกันว่าอาวุธหลักที่สำคัญที่สุดของเรือดำน้ำคือHeavyweight torpedo
ซึ่งนโยบายทางจีนไม่ขายของที่ตัวเองใช้ให้อย่างYu-6 torpedoทวิประสงค์แบบแรกของจีนที่เข้าประจำการในช่วงปี2005 ซึ่งตามข่าวสารทั่วไปจะประเมินให้มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับMk 48 Mod. 4 ของเมกา (ซึ่งปัจจุบันพี่แกไปMod 7 CBASS ที่เน้นใช้ในพื้นที่ใกล้ฝั่ง,เขตน้ำตื้นโน่นแล้ว)หรือตัวล่าสุดอย่างYu-9ที่เปลี่ยนระบบขับเคลื่อนเป็นระบบไฟฟ้าให้แน่นอน
ของที่เราจะได้จึงน่าจะเป็นตระกูลส่งออกของYu-5อย่าง ET34,ET36หรือตัวลอกแบบของTEST-71จากโซเวียตที่จีนได้มาตอนซื้อกิโลในปี1993นู่นมาซึ่งแบบtorpedoเหล่านี้มีขีดความสามารถที่ด้อยกว่าtorpedoสมัยใหม่ในด้านระยะยิง,ความเร็ว,ความสามารถในการตรวจจับเป้าและความเงียบ
ไม่ต่างอะไรกับหากทอ.ได้เครื่องstealthเจน5มาแต่กลับใช้missile AIM-7 Sparrowตัวเก่าความสามารถที่มีก็หดหมด
และtorpedo แบบต่างๆที่ว่ามาทั้งหมดนี้รวมถึงYu-6 เองด้วยไม่ได้ออกแบบมาใช้งานสำหรับlittoral waterหรือเขตน้ำตื้น ซึ่งต่างกับtorpedoสมัยใหม่หลายๆเจ้า
อย่างDM2A4(Seahake Mod 4),torpedo 2000,Black Shark,MK 48 Mod 7 CBASS,F21
อ่าวไทยเราเองก็มีลักษณะแบบlittoral waterหรือไม่คงไม่ต้องถามกัน
อนึ่ง สิงคโปร์กับมาเลย์ เลือกที่จะลงทุนจ่ายแพงควักเงินหลายล้านยูโรต่อลูกจัดหาBlack Shark torpedoมาใช้บนเรือดำน้ำของตน ไม่ใช่เอาของฟรีตกสมัย ได้มาต้องลำบากหาของใหม่มาแทนอีก
อสอง เรือด.ค่ายตะวันตกหรือเกาเหลาที่คนเห็นด้วยกันมากกว่าเพราะนอกจากความน่าเชื่อถือแล้ว ผู้ซื้อกำหนดรายละเอียดหลายๆอย่างเองได้เช่นระบบอำนวยการรบ,ระบบตรวจจับ,ระบบอาวุธ ไม่จำเป็นต้องผูกขาดฝากทุกอย่างไว้
กับเจ้าใดเจ้าหนึ่ง
อ่านมาตั้งแต่กระทู้ก่อนๆ หลายท่านให้ข้อมูลที่มีเหตุผลและตรรกะที่น่านับถือ
แต่บางท่านเชื่อว่าของจีนยุคใหม่มันดีก็ต้องดีสินะ
แบบนี้ไม่ต้องอะไรมาก แค่บอกว่าพม่ามีเรือดำน้ำ 10 ลำ คงเชื่อไปแล้วมั้ง
ผมเห็นว่า ทุกท่านมีความเห็นตรงกันอยู่ 1 อย่าง คือ ประเทศของเราควรมีเรือ ส.
แต่ส่วนที่ยังเห็นต่างคือ ฝ่ายหนึ่งมีแนวคิดว่า เมื่อจะมีแล้ว ควรมีให้ดี มีประสิทธิภาพ ภายใต้ราคาที่เหมาะสม สำหรับเรือ ส. จีน ข้อที่กังวลมากที่สุดคือ เรือนี้ไม่ใช่เรือที่มีการใช้งานจริง แต่เป็นเรือที่ออกแบบมาขายประเทศเราโดยเฉพาะ จึงเกิดความไม่มั่นใจในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิง ความ "เฉพาะ" ของเรือรุ่นนี้ อาจทำให้ไม่มีอะไหล่สนับสนุนอย่างเพียงพอในอนาคต
ในขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่า เรือ ส. เป็นอาวุธที่ห่างหายไปจากกองทัพเรือมาเป็นเวลานาน ประชาชนยังไม่มีความเข้าใจในลักษณะของอาวุธ ประกอบกับเรือ ส. เป็นอาวุธที่มีราคาสูง จึงเกิดการต่อต้านในหมู่ประชาชนทั่วไปได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นรัฐบาลปกติที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ในขณะที่ประเทศยังมีรัฐบาลพิเศษอย่างนี้ จึงควรอาศัยจังหวะนี้ จัดหาเรือ ส. มาใช้งานสักลำหนึ่ง ให้ประชาชนเห็นก่อน เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจแล้ว การจัดซื้อเรือ ส. ที่มีคุณภาพสูงขึ้น (ซึ่งอาจทำโดยรัฐบาลจากการเลือกตั้ง) ก็น่าจะสามารถทำได้โดยง่ายขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ส่วนตัว ผมเคารพความเห็นต่างนะครับ แต่ในฐานะที่อยู่หน่วยงานด้านงบประมาณ ผมอาจจะเห็นด้วยกับความเห็นที่ 2 ได้ หาก เราเสนอซื้อเรือ "หยวน" ของจริงมาเลย หยวนแบบที่กองทัพจีนใช้อยู่นั้นเลยครับ แต่ข้อเท็จจริงในกรณีนี้ สิ่งที่เราจะซื้อ ไม่ใช่ "หยวน" ใช่ไหมหละครับ แต่เป็นเรือย่อส่วนที่มีอยู่จริงแต่ในกระดาษ ดังนั้น เมื่อเทียบกับงบประมาณที่เราจะต้องจ่ายแล้ว นี่จัดเป็นความเสี่ยงสูงมากๆ เลยครับ
ฉะนั้น สำหรับเรื่องนี้ ผมเห็นด้วยกับความเห็นที่ 1 ครับ
คุณ Naris ไม่กลัวเค้าจะพาลงไปดำเพื่อให้ดูคุ้มค่ากับงบหรือครับ เหมือนพาไปซ้อนท้าย F-16 มาแล้ว
.....อายุแบตเตอรี่่ 8 ปี ก็พอจะบอกใบ้ อะไรเราได้บ้างแล้วครับ
.....ปัจจุบัน เรือดำน้ำตะวันตก อายุแบตเตอรี่ 10 ปี ครับ
.....แล้วอื่นๆ ที่เราไม่มีข้อมูลอีกละ จะมีอีกกี่รายการ ?....ครับ
ถ้ามาจริง ชวนจริง ผมก็ไปครับ ฮี่ๆๆๆๆ
อยากทราบประวัติกองเรือดำน้ำของจีน ไม่ทราบท่านใดมีข้อมูลบ้างครับ
โ
ด้วยกระบวนการสรรหาแบบนี้จเลือกะยุโรป เกาหลี หรือจีนมันก็ไม่แฟร์ทั้งนั้นครับ ไม่ขออะไรมากจากกองทัพเรือครับ ขอเอกสารเปรียบเทียบแบบที่แอฟริกาใต้ทำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะชนก็พอครับ ทร กล้าพอที่จะทำมันออกมาไหมไม่ใช่แค่สมุดปกขาวที่หาสาระอะไรไม่ได้ หากมันดีจริงๆ มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆจะเป็น ส จากไหนในโลกก็เอาและเห็นด้วยหมดครับ
ผมก็สงสัยอยู่เรืองคำว่าถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งมันก็มีแค่ประโยคนี้เท่านั้นไม่เคยเห็นรายละเอียดออกมาว่าไอ้ที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี นะมันคืออะไรมั่ง ทำให้บางคนจินตนาการไปไกลถึงขั้นว่าจีนจะสอนให้เราต่อเรือดำน้ำไปโน่น แต่ถามถึงที่มาเดาว่าไม่มีคำตอบเพราะมันเกิดจากจิตนาการ บางคนพอโดนถามหนักทั้งเรื่องข้อมูลที่ ว่าไอ้ที่บอกว่า ดำได้ 21 วันนี่มันดียังไงและความเร็วใต้น้ำขณะที่ใช้ AIP นะเท่าไหร่ ก็โมโหเข้าไปอีก ผมว่างานนี้อาการหนักครับไม่ฟังเหตุผล ไม่หาข้อมูลจินตนาการอย่างเดียวไม่ก็อ่านผ่านๆแล้วก็เอามาแสดงความคิดเห็นใน Social ทันที ต่างกับยุคที่จัดหา บข.20 จริงๆตอนนั้นคือคุยกันด้วยข้อมูลและเหตุผลอ่านกันเพลินกว่านี้ครับ หรือสังคมออนไลน์มันเข้าถึงง่ายขึ้นก็ไม่รู้ ข้อมูลเท็จจริงเป็นยังไงก็ไม่สน เอาความสะใจเข้าว่า
ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ กับบางประเทศเอาไปใช้ต่อยอดสร้างของได้จริงครับ แต่กับบางประเทศใช้ไม่ได้ไม่เกิดประโยชน์ เป็นคำที่ใช้พูดใช้อ้างเพื่อให้ตัวเลขงบประมาณสูงเกินจริง อย่างมากโข สุดจะคณานับ ฮ่าๆๆๆ ของ 1000 ล้าน + ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ กลายเป็น 2000 ล้าน เย้ๆ สนุกสนาน อิ่มอร่อย มาม่าหมูสับ
ส่วนเรื่องเรือ ทำใจไว้นานแล้วครับ บ่นเอาสนุกไปเท่านั้น พอได้ระบาย ฮ่าๆๆ
ถึงคุณC2001 เรื่องพม่ามีเรือดำน้ำ 10 ลำใครบอกคุณว่าผมจะเชื่อ ไอ้เรื่องประชดประชันความเห็นต่างนิสัยแบบนี้ไม่น่าเคารพนะ
คุณมีเหตุผลของคุณ ผมก็มีเหตุผล เอาเหตุผลมาคุยกันครับ
ใจจริงไม่ได้อยากได้ไรของจีนเลย ถ้าให้เลือกได้เลือกสวีเดนดีกว่าลิ๊งค์กับทัพเรือได้อยู่แล้ว
แต่ถ้าของจีนมาจริงอยากให้ดูดีๆให้ละเอียดหน่อย
ขอโทษสมาชิกท่านอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ
เรื่องรถถังจีน ของ ทบ. ก็เรื่องของเขาครับ...เขาเป็นหัวหน้าสายการบังคับบัญชา ที่เป็นเหล่าทหารบก เหมือนกัน เขาอยากได้อะไร ก็เป็นเรื่องที่เขามอบให้กับลูกน้องเขาครับ...
แต่สำหรับเรื่องเรือดำน้ำ มันเป็นเรื่องของเหล่าทหารเรือ ที่ควรมีเกียรติของเหล่าทหารเรือ ที่ควรจะยึดถือความถูกต้อง มากกว่า ความต้องการของบุคคลภายนอก
กองทัพเรือ เป็นกำลังหลัก 1 ใน 3 ของประเทศ ที่ถ้าทหารเรือแข็งพอ ไม่ว่าใครก็ต้องเกรงใจ และไม่กล้ามาทำอะไรที่ก้าวก่ายกิจการในกองทัพเรือได้...
แต่ที่ผ่านมา มาระยะ 5-6 ปี กองทัพเรือ เหมือนกองกำลัง ของแถม...เขาวางแผนทำอะไรกันก็ไม่รู้ แต่เดี๋ยวแถมซื้ออาวุธของกองทัพเรือให้...
ความเห็นผมว่า กองทัพเรือประสบปัญหาขาดผู้นำ ที่เป็นผู้นำจริงๆ ที่ผ่านมามีแต่ผู้มีอายุครบวาระขึ้นดำรงตำแหน่งเท่านั้น...
ท่าน Fatboy ผมว่า...เขามีความต้องการซื้อจริง ๆ ครับ..ต้องการใช้งบประมาณ 36,000 ล้านบาท เพื่อตอบสนองประเทศจีน อาจจะด้วยเงื่อนไขที่จีน จะทำอะไรให้ันั้น...คงไม่สามารถรับรู้ได้ครับ...แต่คาด เดา ในความเห็นส่วนตัวว่า...เกี่ยวกับ ระบบรางที่ จีน จะร่วมลงทุนนั้นแหล่ะครับ...สังเกตุซิครับ...ซื้อ รถถัง VT-4 ปุ๊ป...จีนลงนามสัญญา รางรถไฟ 3.5 ก.ม. เลย...
สำหรับเรื่อง เรือดำน้ำจีน มีแนวโน้ม คงไม่ได้สูงครับ...เพราะ บางกอกโพสต์ ก็ลงบทความเมื่อวานว่า...Sink the Sub proposal.
คือ ให้เลิกการซื้อเรือดำน้ำตอนนี้เถอะ...
และผมค่อนข้างให้น้ำหนักข่าวท่าน Fatboy...เวลามาลือใน TAF และ TFC...ว่าจะม่ีมูลอยู่ในนั้นระดับหนึ่ง...
เช่น ผมอ่านที่ท่าน Fatboy ให้ความเห็นเรื่องภัยก่อการร้าย ใน TAF เมื่อไม่กี่วันนี้ ว่าไทย มีความพร้อมรับมือรึยัง...
พอหลังจากนั้น ก็มีข่าว คลิป เรื่อง ISIS จะทำสงครามกับ มาเลเซีย ขึ้นมาเลย...
ยิ่งท่านมาทัก เรือ LPD จีน กับ รถถังจีน ของ นย. อีก...
ผมก็ว่า มันมาแน่...แทน เรือดำน้ำ...ซึ่ง ดีล นี้ ประเด็น คงอยู่ที่เรื่องราคา แหล่ะครับ...ว่า...ทร. อย่าไปยอมเรื่องราคา...เรื่องตัวอาวุธ ผมว่า ก็พอจะรับได้ เพราะดูมันจะเป็นในส่วนสนับสนุน มากกว่ากำลังหลักทางยุทธวิธี...แต่ขอ ราคาให้มัน สมเหตุ สมผล แค่นั้นแหล่ะครับ...ไม่ใช่ว่า...เอา LPD กับ รถถัง นย. มาในราคา 13,000 ล้านบาท...
ก็คงต้อง แสดงพลังกันอีกรอบ แหล่ะครับ...
แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่า...ภายใน 5 ปีข้างหน้า...หลังจากมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้ว...ทร. จะได้โครงการ เรือดำน้ำ กลับมาอีกแน่ครับ...
โดยผมวิเคราะห์แนวโน้มของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่...และความมั่นคงทางการเมือง...โครงการ เรือดำน้ำ ถ้าทำให้ดี...รัฐบาลใหม่ กองทัพเรือ และประเทศไทย จะได้ผลประโยชน์ ทั้งในแง่ความมั่นคง และทางการเมือง ไปอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี...มันจะ ไม่ใช่ แค่ เรือดำน้ำ เท่านั้น...
เพียงแต่ ตอนนี้ มันยังไม่ถึงเวลาแค่นั้นครับ...วัตถุดิบยังไม่มี...แต่ผมคิดว่า...มันจะมีส่วนผสมที่เป็นไปได้ในความเห็นผมข้างต้นครับ...
แต่ผมกลับมีความคิดว่าภายใน 5 ปีนี้ก็ยังไม่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง (หรือมีเหมือนไม่มี)...หุๆ
สงครามสื่อ งานถนัด
ถ้าได้ก่อดี
กลบข่าวอื่นจริง ฮิๆๆ
มีคนรู้ทันนิ แต่ ช้าไปละ พี่กันยิ้มไปละ ได้บ่อกอดละ ลดให้เหลือ2
ยาวๆๆไป ..... ได้หลายเรืองเลย ดำไปเงียบๆ ฉลุยๆ
รถเกาะที่มาทดสอบใครผ่านหนอ อิๆๆๆ
สุดยอดการวางแผน
ยิงนกที่เดียว ได้ปลามาด้วย
ทัพเรือซื้อเรือดำน้ำจากจีนคงเหตุมาจากทางยุโรบเขาไม่ขายประเทศที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ขืนรอถึงตอนที่เรามีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งคงโดนต่อต้านอีกแระว่าซื้อมาทำไมและๆๆ
คนที่ต่อต้านก็เสียงดังคับประเทศเสียด้วยสิ
ความเห็นด้านบนน่าจะมีการอธิบายไว้แล้วว่า ที่ว่ายุโรปไม่ขายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะรัฐบาลนี้ก็ยังสามารถซื้อ ฮ. และอาวุธอื่นๆจากยุโรปได้หลายรายการ นอกจากนี้ เรือ ส. ไม่จัดว่าเป็นอาวุธในเชิงคุกคามสิทธิมนุษยชน จึงไม่มีเหตุใดที่ประเทศทางยุโรปจะไม่ขายให้
ตรงนี้เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ผมก็ไม่ทราบนะครับ แต่ผมมีข้อสังเกต 2 เรื่องครับ เรื่องแรกก็คือ ที่ว่ายุโรปไม่ขายนี้ ยุโรปรวมรัสเซียด้วยหรือไม่ครับ แล้วประเทศที่ไม่ใช่ยุโรป เช่น เกาหลีหละครับ รวมด้วยหรือไม่ (สองประเทศนี้ เสนอเรือ ส. ให้ ทร. พิจารณาด้วยนี่ครับ) เรื่องที่สอง หากเพราะเหตุผลนี้เป็นเหตุจำเป็นให้ต้องซื้อเรือ ส. จากจีน ก็ยังไม่สามารถแก้ต่าง เรื่องการเลือกซื้อเรือชั้นหยวนย่อส่วน ซึ่งเป็นเรือที่ไม่มีอยู่จริงได้อยู่ดีครับ
การทำความเข้าใจเรื่องเรือ ส. ไม่ว่าจะมีการพูดคุยกันมากี่ครั้ง ต่อให้คิดแบบใจกว้างอย่างที่สุดก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถตอบเรื่องการซื้อเรือที่ไม่มีตัวตนอยู่จริงได้เสียทีครับ
ครั้งที่ 1 ที่ กองทัพเรือได้รับอนุมัติซื้อเรือดำน้ำ สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี...อนุมัติซื้อ A-19 Gotland จำนวน 2 ลำ...ถูกคว่ำโดย พรรค ปชป. และ พล.ร.อ. ที่กำลังจะเข้าสู่นักการเมือง...
ครั้งที่ 2 ที่ กองทัพเรือ ตัดสินใจ ซืื้อเรือดำน้ำ ชุด type-206A ส่งเรื่องให้ สภากลาโหม ยื่นเรื่องตั้งแต่ สมัยนายก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ...แต่สภากลาโหม ไม่ยอมส่งเรื่องให้ ครม. จนมาถึงสมัย นายก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ ครม. รออนุมัติ แต่สภากลาโหม..ไม่ยอมส่งเรื่องมาสักที...และเคยมีการให้ สัมภาษณ์ผิด ว่า ครม.อนุมัติซื้อเรือดำน้ำแล้ว...แต่ต่อมา...ต้องแก้ข่าวว่า เข้าใจผิด...(เข้าใจผิดจริงหรือเปล่า ?...หรือถูกสภากลาโหม ไม่ยอมกันแน่...)
จากประวัติศาสตร์ ความจริงที่ปรากฎ...กองทัพเรือ ได้รับอนุมัติหรือได้รับความเห็นชอบ จากรัฐบาลพลเรือน ทั้งสิ้น...แต่ถูกขัดขวาง สะกัดกั้น จาก คนในกลาโหม นั่นเอง...
ผมถึง บอกว่า...กระแสประชาชน ไม่ได้มีผลมากอะไร...ถ้า กลาโหม จะเอา หรือ ไม่เอา...
เช่นเดียวกับ ตอนนี้...ที่ กลาโหม จะเอา...ถึงขั้นจะลัดขั้นตอนไปให้ สนช. อนุมัติ แทน...
แต่ด้วยที่ว่า มันมีภาพที่ไม่โปร่งใส และไม่สามารถตรวจสอบได้ เสมือนการ มัดมือ ว่าต้องเอาเจ้านี้เท่านั้น...ก็เลย อาจจะต้อง หวืด อีกครั้งหนึ่ง...ซึ่งก็ คือ กลาโหม ทำตัวเอง ใช่หรือไม่ ?
ประวัติศาสตร์ มันบอกมาเป็นแบบนี้ จริง ๆ นะ...
เรื่องยุโรปไม่ขายเรือดำน้ำนี่พูดมาเยอะมากกกก
ซึ่งไม่จริง ไม่งั้นเขาจะเสนอราคามาทำอะไรครับ เสนอเล่นๆ?
เรื่องเงินๆทองๆเนี่ย ไม่มีใครเค้าสนใจเรื่องประชาธิปไตยที่กินไม่ได้หรอก
ไม่งั้นยุโรปคงไม่มาเสนอเรือดำน้ำให้เราหรอก เพราะการสร้างอะไรต่างๆมันช่วยกระตุ้น หมุนเวียนเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงาน
ผลประโยชน์ไม่มีใครมายึดติดกับหลักการบนกระดาษคำคมสวยหรูหรอกท่าน
เรื่อง S26T คุณหงซึก็ไม่เห็นด้วยเลยด้วยซ้ำ เพราะมันยังไม่เคยสร้างจริง
ถ้าจะเอาก็อยากได้อย่างน้อยหยวน 36a/b/c ก็ว่าไป
แต่ถ้าเป็นรุ่นสร้างใหม่นี่ใครจะกล้าซื้อนอกจาก.......
แม้กระทั่งสเปนก็มีข่าวเหมือนกัน ขนาดมีความเชี่ยวชาญต่อเรือใหญ่ๆ ออกแบบเรือดำน้ำผิดพลาดหน่อยเดียว จมมิด ดำไม่โผล่เลย
ไปหาดูครับ
s 26 ใครว่ายังเป็นกระดาษมีคนมายืนยันในเฟสครับ ว่าจีนประจำการมาเป็น10ปีแล้ว ทัพเรือส่งคนไปทดลองล่าสุดก็ต้นปีนี้ครับ
ที่จีนประจำการไม่น่าจะเป็น S-26 นะครับ แต่น่าจะเป็นเรือชั้นหยวน ที่เขาบอกว่าเป็นพื้นฐานในการต่อเรือ S-26 ซึ่ง S-26 นั้นขนาดเล็กกว่าชั้นหยวน ซึ่งดูแล้วมันก็คือการออกแบบใหม่อยู่ดี ขนาดต่างกัน เครื่องยนต์ แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า ก็ไม่น่าจะเป็นขนาดเดียวกัน ดังนั้นแบบภายใน การวางอุปกรณ์ การออกแบบพื้นที่ใช้สอยย่อมต้องออกแบบใหม่ซึ่งไม่ใช่ว่าอยากจะออกแบบไว้ตรงไหนก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอย ความสมดุลตัวเรือ อะไรอีกหลายอย่าง ซึ่งเรายังไม่รู้เลยว่า S-26T ที่บอกขายเราจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับ เรือดำน้ำ S-80 ของสเปนที่มีพื้นฐานมาจากเรือดำน้ำฝรั่งเศษ ซึ่งควรจะได้ตั้งแต่ปี 2012 แต่กับมีปัญหาเรื่องความสมดุลตัวเรือซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ค่อนข้างอันตรายจนต้องแก้ปัญหากันใหม่ กว่าจะแก้ไขได้เริ่มต่อเรือก็เข้าปี 2016 หรือแม้แต่เรือดำน้ำชั้น คอลลิน ของออสเตรเลียที่เอาต้นนแบบ A19 ของสวีเดนไปขยายขนาด สุดท้ายแก้ปัญหาไม่จบต้องปลดไปและเริ่มโครงการจัดหาใหม่(คราวนี้เอาแบบขนาดใกล้เคียงต้นแบบเลย) ในขณะที่ A19 ของสวีเดน ยังคงประจำการอยู่
ถ้าบอกว่า S-26 มีประจำการแล้วขอดูข้อมูลที่จริงและยืนยันได้ด้วยครับ
ไม่ใช่ข้อมมูลมโน,จินตนาการจาก FB เพราะตอนนี้มีจิตนการไปไกลแล้วที่จีนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ไปถึงขั้นการสอนต่อเรือและรวมไปถึงเรื่องระบบอาวุธไปแล้วครับ
มั่วครับที่ว่าประจำการมาเป็น 10 ปี
อันนั้นมันชั้นหยวนครับ ที่ขนาดใหญ่กว่าที่เสนอให้กองทัพเรือเราตั้ง 1000 ตัน
หยวนระวางน้ำ 3600 ตัน แต่ S26T ที่แน่ๆคือ 2600 ตัน
คุณจะเอาเรือขนาด 3600 ตันมาย่อสเกลให้เหลือ 2600 ตัน โดยที่เราเป็นลูกค้ารายแรก และไม่เคยสร้างจริงด้วยซ้ำ
จะเอาหรือ.................คิดเอาเองครับ
ก็ร้องอยากได้ คนแก่ก็ซื้อยัดมือให้ไม่ถามลูกถามหลานเลย
จีนนั้นประสบการณ์ต่อเรือดำน้ำใหม่หมดน้อยมาก ส่วนใหญ่มีแต่ก๊อปเรือรัสเซีย มีต่อเองก็เรือซ่ง ถ้าต่อใหม่แล้วใช้ดีจริงทำไมจีนไม่ต่อเรือชั้นซ่งต่อ ทำไมถึงยังถอดแบบ กิโล636 มาทำเรือหยวน-041 เข้าประจำการ
จะบอกว่ารัสเซียก็เรือกระดาษ อาร์เมอร์-950/1650 เป็นต้น แต่ลองไล่ดูประวัติการออกแบบและต่อเรือดำน้ำต่างกันลิบลับ ในโลกนี้ส่วนตัวยกให้เยอรมัน รัสเซีย ฝรั่งเศส (สวีเดนไม่อยากนับเรือน้อยพอๆกับจีน) ที่มีประสบการณ์ต่อเรือดำน้ำดีเซลมากมากกว่าใคร ไว้ใจได้
ก็ไม่ได้อคติจีนซะหมด ถ้าจีนส่งเรือดำน้ำ5000ตันขึ้นไปเข้าแข่ง เพราะจีนต่อเรือใหญ่ขนาดนี้มานานแล้วไว้ใจได้ในระดับนึง
หรือส่งเรือ หยวนหรือซ่ง(ดัดแปลงใส่AIP) มาแข่ง(กรณีไม่คิดขนาด) อย่างน้อยก็สบายใจได้บ้างว่าเรือมาจากต้นแบบที่ต่อแล้ว มีประจำการในผู้ผลิตแล้ว
ทร.น่าจะอดใจรอ ถ้าจะเอาเรือจีนก็รอให้ของปากีฯเข้าประจำการก่อนซักพัก หรือรอเรือเกาหลี รัสเซียชั้นลาด้า เข้าประจำการจนพร้อมกว่านี้จะได้มีตัวเลือกมากขึ้น
กลัวเรือ3ลำจะฉุดงบกองเรือให้ไม่พร้อมไปตามๆกัน ครางนี้ไม่สมบูรณ์ซักมิติไม่ว่าจะใต้น้ำ ผิวน้ำ บนฟ้า
ถ้าไม่เอาตอนนี้จะได้ตอนไหน ผมว่าได้หมดทุกรัฐบาล เพียงแต่คนอนุมติเป็นใคร หากอนาคตยังเป็นพวกหลงยุค คิดแต่ตอบแทนมหามิตร ไม่คิดถึงหลักความจริง ทร.ก็ไม่มีทางมีเรือดำน้ำอย่างที่ต้องการแน่นอน
หากข่าวอย่างที่ว่ากันไว้เป็นจริง ทร.คงต้องก้มเลือกเรือผิวน้ำ+รถถังหย่อมนึงมาไว้ ดีกว่าได้เรือลึกลับที่ไม่รู้จะรบได้จริงมั้ย ฉุดงบกองเรือที่ไม่ค่อยจะมีไปอีกกี่ชาติ หรือจะกล้าท้าชะตาฟ้าเลือกเรือดำน้ำเพื่อให้ครบ3มิติแล้วนับคืนนับวัน วภาวนาอย่าให้มันพังซะก่อน
คือไปคุยในเฟสของเวปนี้ล่ะครับ แถมโดนว่าไม่เชื่อข้อมูลกองทัพแต่ไปเชื่อข้อมูลที่อื่น
ถูกใจ · ตอบกลับ · 4 กรกฎาคม เวลา 10:54 น.
Rigged ForDive มีบางท่านกล่าวในทำนอง S-26T เป็นเรือดำน้ำกระดาษยังไม่เคยสร้างบ้าง เป็นหยวนลดเกรดบ้าง ขอเรียนว่าไม่เป็นความจริงนะครับ มีการยืนยันในเอกสารข้อเสนอว่า เรือแบบเดียวกันนี้มีใช้งานใน ทร.จีนมาเกือบ 10 ปี ถ้าติดตามมาตั้งแต่ต้นก็จะทราบว่า ทร.ก็ได้ชี้แจงไปแล้วในประเด็นนี้ว่าเป็นแบบเดียวกันนะครับ
ชาวนา ซูเปอร์โซนิค ขอข้อมูลมายืนยันด้วยครับ เพราะที่ทราบมามันเป็นหยวนย่อส่วนครับ เอามาดูด้วยครับ
ชาวนา ซูเปอร์โซนิค ยังไม่เคยสร้าง จะประจำการยังไงครับ
Rigged ForDive ตกลงคุณชาวนา ซุเปอร์โซนิค จะเชื่อตามที่ใครไม่รู้โพสมากกว่าเชื่อหองทัพเรือที่เป็นหน่วยงานราชการนะครับ และนอกจากที่ผู้ผลิตจะยืนยันแล้ว กองทัพเรือก็ได้ส่งกำลังพลไปดูของจริงมากลายรอบ ล่าสุดก็เมื่อต้นปีนี้เอง
Rigged ForDive ผมไม่สามารถโพสสิ่งที่ปรากฎในเอกสารข้อเสนอซึ่งยืนยันว่า S-26T เหมือนกับเรือที่ ทร.จีนมีใช้งานมาร่วม 10 ปี ลงในเพจนี้ได้ แต่สามารถให้แอดมิน Thaifighterclub ดูได้ หากแอดมินรับรองได้ว่าจะไม่เผยแพร่ ในอินเตอร์เนต และยินดีให้การรับรองกับลูกเพจได้ ถ้าแอดมินตกลงตามนี้ inbox หาผมครับ
ชาวนา ซูเปอร์โซนิค ผมเชื่อข้อมูลที่เชื่อได้ครับ ถ้าไม่มีมายืนยันก็ไม่เชื่อครับ ของเกาหลีใต้ เยอรมัน ยังมีตามสื่อ มีภาพยืนยัน แต่จะพูดลอยๆไม่เชื่อครับ
นักปราชญ์ ศิษย์รำเตะรำตัด ผมเชื่ออยู่เเล้วถ้าไม่ดีเขาคงไม่เลือกของจีน ผมว่ากองทัพต้องมีอะไรลับๆแน่นอน
งงครับ
เขาใช้ตรรกะไหนเนี่ยในการอธิบาย
การที่จะบอกว่าประจำการมากว่า 10 ปีแล้วอันนั้นพูดได้
แต่จะบอกว่ามันคนละขนาดกันนะ
ต่อให้คุณประจำการอีกรุ่นมาเป็น 10 ปีหรือ 100 ปีของคุณ
แต่จะสร้างอีกรุ่นซึ่งจะบอกว่าเป็นแบบเดียวกันแต่ย่อส่วนบลาๆๆๆลงอะไรทำนองนั้น มันฟังไม่ขึ้นครับ
เพราะเรือขนาดย่อส่วนมันยังไม่ถูกสร้างจริงเลย ต้องเอาขนาดย่อส่วนมาพูดสิ
พูดว่าขนาด 3600 ตัน สร้างมาเป็น 10 ลำ สร้างมาเป็น 10 ปี ใครก็พูดได้
แต่การให้เหตุผลแบบนี้มันฟังไม่ขึ้นครับ
ขนาด Iphone ยังมีหลายรุ่นๆ ตอน Apple เลือกทำขนาดจอ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นรุ่นแรกใน Iphone5 ยังมีข้อผิดพลาดเลย
ไปหาดูก็ได้ เช่น ปัญหา WIFI ใน IP5 ช้ากว่า 4S เพราะการออกแบบที่ผิดพลาด
แล้วจะเอาอะไรกับเรือดำน้ำที่ยังไม่เคยสร้างขนาดย่อส่วน มันซับซ้อนกว่า IPhone เครื่องนึงเป็นพันๆเท่านะคุณ
เดี่ยวนะมันก็แค่บอกกล่าวลอยๆเท่านั้นนี่ครับ แล้วจะไปเชื่อถือได้ยัง
เพราะสิ่งที่ต้องการทราบคือเห็นแบบที่ จีนเสนอมาให้กับ ทร.นะ มีประจำการในกองทัพเรือของจีนแล้วแต่นี่ยังไม่เคยมีใครเห็น
เหมือนกับเราจะซื้อ F-16 จากสหรัฐ มันก็มีข้อมูลให้เห็นอย่างชัดเจน กระจ่างทั้งโลกว่าสหรัญมี F-16 ประจำการอยู่แล้วนี่ครับ
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับกระทู้นี้ ท่านมองอคติเกินไป เรือ ส.ในอดีตไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนเพื่อซ่อมบำรุงต่อได้เพราะภาวะสงครามและแพ้สงครามโลก ต่อให้เราไม่ซื้อจากจีน และเราซื้อจากประเทศอื่นและประเทศนั้นๆเกิดกรณีเดียวกับญี่ปุ่น ก็มองว่าไม่ต่างกันยกเว้นเรือเยอรมัน เกาหลี ที่สร้างบนแบบเดียวกัน แต่เราอย่าลืมว่าเรือจีนก็รับแบบถ่ายทอดมาจากเรือรัสเซียถึงจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็น่าจะขอความร่วมมือได้ในการแก้ไขปรับปรุง ไม่แน่ในหลายๆชิ้นส่วนจะหาง่ายกว่าเรือแบบอื่นๆก็ได้ จีนก็เป็นประเทศนึงที่ไปนอกโลกด้วยยานตัวเองมาแล้ว เรือดำน้ำจีนปัจจุบันก็ยังใช้กันในประเทศอีกเพียบ
ผมเห็นด้วยกับความเห็นคุณAAG_th1 ผมมองว่าท่านวิจารณ์โดยไม่แอนเอียงและอคติจนเกินไป
ตอบทุกคำถามคาใจ ทหารเรือไทย ก่อนใช้เรือดำน้ำจีน!
http://www.thairath.co.th/content/656326
อ่านต่อได้ตามลิ้งค์ที่ให้ไว้นะครับ
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีข่าวว่าพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเสนอให้รัฐบาลอนุมัติให้ กองทัพเรือไทยใช้งบประมาณประจำปีสั่งต่อเรือดำน้ำเป็นจำนวน 3 ลำมูลค่าลำละ 12,000 ล้านบาท รวมงบประมาณ 36,000 ล้านบาท จากจีนใช้ระยะเวลาชำระเงิน 10 ปีปีละ 3,600 ล้านบาท
ราชนาวีไทยเคยมีเรือดำน้ำขนาดเล็กประจำการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2481 เป็นจำนวน 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉาณุ, วิรุณจำบัง,สินสมุทร และพลายชุมพลเป็นเรือต่อจากอู่มิตซูบิชิประเทศญี่ปุ่นราคาลำละ 820,000 บาท มีระวางขับน้ำ 430 ตัน ดำน้ำได้ลึก 10 ฟาทอมหรือ 60 ฟุตระยะเวลาดำน้ำได้ครั้งละ 12 ชั่วโมง ใช้ปฏิบัติงานอยู่ 14 ปีปลดประจำการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2494
ผ่านมา 65 ปี ราชนาวีไทยได้จัดตั้งกองเรือดำน้ำสังกัดกองเรือยุทธการขึ้นใหม่อีกครั้งในปี งบประมาณ 2554 มีสถานที่ตั้งที่ท่าเรือดำน้ำเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 ที่ท่าเรือแหลมเทียนสัตหีบ จ.ชลบุรีในอดีตราชนาวีไทยไม่จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำเข้าประจำการแต่ปัจจุบัน ราชนาวีไทยจะต้องมีกำลังรบทั้ง 3 มิติคือ เรือรบผิวน้ำ เรือบรรทุกอากาศยานและเรือดำน้ำ
นอกจากนั้นราชนาวีต้องมีกำลังรบบนบกคือทหารนาวิกโยธินและอากาศยานสนับสนุน ขณะนี้ราชนาวีไทยขาดแค่เรือดำน้ำขณะนี้เกือบทุกประเทศในประชาคมอาเซียนล้วน มีเรือดำน้ำเข้าประจำการเกือบหมดแล้วยกเว้นลาวเท่านั้นที่ไม่ต้องมีเพราะไม่ มีพรมแดนที่ติดกับทะเล
ขณะนี้นาวีทั่วโลกมีเรือดำน้ำประจำการในกองทัพเรือรวม 48 ประเทศ กองทัพเรือเพื่อนบ้านที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการแล้วคือเวียดนามมีเรือดำน้ำ ชั้นกิโลต่อมาจากรัสเซีย 6 ลำมูลค่ารวม 84,000 ล้านบาทสิงคโปร์มี 6 ลำต่อจากอู่ของสวีเดน อินโดนีเซียมี 5 ลำต่อจากเยอรมนี มาเลเซีย 4 ลำ ต่อมาจากฝรั่งเศสเมียนมาจะมีเรือดำน้ำจากจีนที่ใช้แล้ว 10 ลำ และกัมพูชาก็จะได้เรือใช้แล้วจากจีน 3 ลำ
ฟิลิปปินส์อาจจะได้แบบให้เปล่าหรือซื้อเรือดำน้ำใช้แล้วราคาเยาจากความช่วย เหลือของสหรัฐอเมริกา 3-4 ลำ เมื่อประเมินทางหลักยุทธศาสตร์ของชาติแล้วเพื่อเป็นการป้องปรามการคุกคามทาง ทะเล ราชนาวีไทยต้องมีเรือดำน้ำที่ต่อและติดระบบอาวุธใหม่จากจีนในราคาพิเศษ
ซึ่งเป็นเรือดำน้ำขนาดไม่เกิน 2,000 ตัน ดำน้ำได้ลึกพอควรใช้พลังงานดีเซลไฟฟ้า มีตอร์ปิโดขนาด 533 มิลลิเมตร 4 ท่อยิงบรรจุตอร์ปิโดได้ 16 ลูก
และขีปนาวุธแบบซับฮาร์พูนยิงจากใต้น้ำได้ สาเหตุที่ไทยซื้อเรือดำน้ำจากจีนน่าจะมาจากคณะกรรมการของราชนาวีไทยเห็นว่า ราคาไม่สูงนักลำละ 12,000 ล้านบาทซึ่งถ้าจะซื้อจากเยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสวีเดนราคาก็จะสูงกว่าจีนมาก
http://www.naewna.com/politic/columnist/25195
เรือดำนํ้าจีนสามารถยิงซับฮาร์พูนได้ด้วยเมพขิงๆ
#แก้ลิงค์ข่าว
คุณ 461 ลงลิงค์ผิดนะครับ เพราะเนื้อข่าวเป็นของแนวหน้า
แล้วเป็นเหมือนบทวิเคราะห์ คือมั่วเองเรื่องข้อมูลตอนท้าย
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีข่าวว่าพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเสนอให้รัฐบาลอนุมัติให้กองทัพเรือไทยใช้งบประมาณประจำปีสั่งต่อเรือดำน้ำเป็นจำนวน 3 ลำมูลค่าลำละ 12,000 ล้านบาท รวมงบประมาณ 36,000 ล้านบาท จากจีนใช้ระยะเวลาชำระเงิน 10 ปีปีละ 3,600 ล้านบาท
ราชนาวีไทยเคยมีเรือดำน้ำขนาดเล็กประจำการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2481 เป็นจำนวน 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉาณุ, วิรุณจำบัง,สินสมุทร และพลายชุมพลเป็นเรือต่อจากอู่มิตซูบิชิประเทศญี่ปุ่นราคาลำละ 820,000 บาท มีระวางขับน้ำ 430 ตัน ดำน้ำได้ลึก 10 ฟาทอมหรือ 60 ฟุตระยะเวลาดำน้ำได้ครั้งละ 12 ชั่วโมง ใช้ปฏิบัติงานอยู่ 14 ปีปลดประจำการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2494
ผ่านมา 65 ปี ราชนาวีไทยได้จัดตั้งกองเรือดำน้ำสังกัดกองเรือยุทธการขึ้นใหม่อีกครั้งในปีงบประมาณ 2554 มีสถานที่ตั้งที่ท่าเรือดำน้ำเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 ที่ท่าเรือแหลมเทียนสัตหีบ จ.ชลบุรีในอดีตราชนาวีไทยไม่จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำเข้าประจำการแต่ปัจจุบันราชนาวีไทยจะต้องมีกำลังรบทั้ง 3 มิติคือ เรือรบผิวน้ำ เรือบรรทุกอากาศยานและเรือดำน้ำ
นอกจากนั้นราชนาวีต้องมีกำลังรบบนบกคือทหารนาวิกโยธินและอากาศยานสนับสนุนขณะนี้ราชนาวีไทยขาดแค่เรือดำน้ำขณะนี้เกือบทุกประเทศในประชาคมอาเซียนล้วนมีเรือดำน้ำเข้าประจำการเกือบหมดแล้วยกเว้นลาวเท่านั้นที่ไม่ต้องมีเพราะไม่มีพรมแดนที่ติดกับทะเล
ขณะนี้นาวีทั่วโลกมีเรือดำน้ำประจำการในกองทัพเรือรวม 48 ประเทศ กองทัพเรือเพื่อนบ้านที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการแล้วคือเวียดนามมีเรือดำน้ำชั้นกิโลต่อมาจากรัสเซีย 6 ลำมูลค่ารวม 84,000 ล้านบาทสิงคโปร์มี 6 ลำต่อจากอู่ของสวีเดน อินโดนีเซียมี 5 ลำต่อจากเยอรมนี มาเลเซีย 4 ลำ ต่อมาจากฝรั่งเศสเมียนมาจะมีเรือดำน้ำจากจีนที่ใช้แล้ว 10 ลำ และกัมพูชาก็จะได้เรือใช้แล้วจากจีน 3 ลำ
ฟิลิปปินส์อาจจะได้แบบให้เปล่าหรือซื้อเรือดำน้ำใช้แล้วราคาเยาจากความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา 3-4 ลำ เมื่อประเมินทางหลักยุทธศาสตร์ของชาติแล้วเพื่อเป็นการป้องปรามการคุกคามทางทะเล ราชนาวีไทยต้องมีเรือดำน้ำที่ต่อและติดระบบอาวุธใหม่จากจีนในราคาพิเศษ
ซึ่งเป็นเรือดำน้ำขนาดไม่เกิน 2,000 ตัน ดำน้ำได้ลึกพอควรใช้พลังงานดีเซลไฟฟ้า มีตอร์ปิโดขนาด 533 มิลลิเมตร 4 ท่อยิงบรรจุตอร์ปิโดได้ 16 ลูก
และขีปนาวุธแบบซับฮาร์พูนยิงจากใต้น้ำได้ สาเหตุที่ไทยซื้อเรือดำน้ำจากจีนน่าจะมาจากคณะกรรมการของราชนาวีไทยเห็นว่าราคาไม่สูงนักลำละ 12,000 ล้านบาทซึ่งถ้าจะซื้อจากเยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสวีเดนราคาก็จะสูงกว่าจีนมาก
ก็มีอยู่แล้วล่ะ ตัดข่าวชิ้นนี้ไปมโนกันในบางเพจ และก็เชื่อเป็นตุเป็นตะเลย ซึ่งก็แน่นอนในเพจนี้ก็มีคนคอยตัดข่าวจากเพจนี้ไปโจมตีเหมือนกัน 555 คือจะเอาของจีนให้ได้ถ้าคิดต่างนี่โดนด่าเละ
รอติดตามการ refit เรือดำน้ำชั้น Ming Class ของ ทร.บังคลาเทศ...ว่าจะเป็นอย่างไร...
ตอนนี้ ดูให้ อิจฉา สำหรับ เรือ Type-209 ที่ได้รับมอบสิ้นปี 58 กับ ต้นปี 59 และจะมีข่าวการรับมอบต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป อีก...
TUUM-6 underwater communication ของ Thale
เป็นอุปกรณ์สื่อสาร ระหว่าง เรือดำน้ำ, เรือผิวน้ำ และ AUV
สำหรับประเทศใน ASEAN ที่มีเรือดำน้ำ จะมีการติดตั้งระบบสื่อสารนี้
ประเทศอินโดนีเซีย
เรือชุด ซิกมา ชุดใหม่ของ ทร.อินโดนีเซีย
ประเทศมาเลเซีย
เรือชุด Kasturi
เรือชุด Gowind
จากข้อมูลข้างต้น อุปกรณ์ underwater communication ของ ประเทศเพื่อนบ้าน คือ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ระหว่างเรือรบผิวน้ำ กับ เรือดำน้ำ จะสามารถสื่อสารระหว่างกันได้...สำหรับ สิงคโปร์ ไม่มีข้อมูลที่เปิดเผย...
แล้ว กองทัพเรือไทย...ถ้าจัดหา เรือดำน้ำจากประเทศจีน...ในเรื่องการสื่อสาร ระหว่าง เรือผิวน้ำ กับ เรือดำน้ำ...ก็คงด้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 2...ตามที่ผมให้ความเห็นไว้ว่า...คงจะใช้ในวิธีการแบบดั้งเดิม...
สำหรับประเทศไทย ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ underwater communication ในเรือรบลำใด รวมถึง เรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำใหม่ด้วย...เพราะ กองทัพเรือ ยังไม่มีเรือดำน้ำ...
แต่สำหรับบางประเทศ ก็จะเหมือนกับประเทศไทย...เขาเลยใช้การติดตั้ง TUUM-6 ในเรือดำน้ำแทน เช่น เรือดำน้ำของประเทศบราซิล ในเรือชั้น scorpene และ เรือดำน้ำของประเทศ เอลกวาดอร์...ในเรือดำน้ำแบบ Type-209
การที่เรือดำน้ำ จะเป็นเรือแบบลดการตรวจจับ Stealth นั้น...จะไม่ใช่ความหมายใน รูปทรงของเรือดำน้ำ เท่านั้น...แต่จะหมายความ รวมถึง การลดการเปิดเผยตัวมากที่สุด...เช่น การสื่อสารของเรือดำน้ำ ที่ลดการเปิดเผยตัว...เช่น เรือดำน้ำที่มีระบบ VHF,HF,VLF,ELF เป็นต้น...
ซึ่งเรือดำน้ำของมาเลเซีย ชุด Tunku Abdul Rahman ก็มีมีการติตดั้งระบบสื่อสาร HF และV/UHF เป็นต้น ก็น่าจะใกล้เคียงกับการ Stealth มากที่สุด..
ซึ่งในส่วนของเรือดำน้ำชุดใหม่ของ อินโดนีเซีย ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระบบภายในเรือ...จึงยังไม่เห็นประสิทธิภาพที่จะประเมินได้มีประมาณใด...
Type-209/1400mod ของกองทัพเรืออียิปต์ ใช้ระบบอำนวยการรบ ISUS-100
ใส่รูปผิดครับ...
ระบบอำนวยการรบ ISUS-100
DSME-209/1400 ของ ทร.อินโดนีเซีย...ยังไม่มีข้อมูลในเรื่องรายละเอียด...
แต่ตามภาพ จะใช่ Flank Array Sonar หรือไม่ ?
คงจะใช่ล่ะครับ...หาข้อมูลล่าสุด เรือดำน้ำของ ทร.อินโดนีเซีย
The first two submarines are expected to be delivered in 2017 and 2018. Delivery of the third unit is not clear yet.
According to DSME, the vessels will be of 61.3 meters in length, and will be capable of carrying a crew of 40 sailors. These submarines will be fully armed with eight weapon tubes able to discharge all kinds of torpedoes, mines, and guided missiles.
The submarines will be equipped with Indra's Pegaso RESM system and Aries low-probability of intercept radar, Atlas Electronic CSU 90 hull-mounted passive and active search-and-attack sonar and flank sonar arrays, L-3's MAPPS integrated platform management systems and Sagem's Sigma 40XP inertial navigation systems.
ดูจากรูปทรงตามภาพ Flank Array Sonar
ของ ทร.อียิปต์ และ ทร.อินโดนีเซีย น่าจะเป็นรุ่น FAS-3 ส่วนของ ทร.มาเลเซีย จะเป็นของ Thale ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นแบบเดียวกันหรือเปล่า ? แต่คิดว่า เรือดำน้ำจีน คงไม่มีโซนาร์แบบนี้ มาด้วย...เพราะยังหาข้อมูล Flank Array Sonar ของจีน ยังไม่เจอ...หรือ โซนาร์ ของ เรือดำน้ำจีนที่ ทร.จะซื้อ จะมีแต่ โซนาร์หัวเรือ...
เรือดำน้ำจีน ที่ ทร.ถ้าเกิดซื้อมา คงไม่มี โซนาร์ Flank Array Sonar มาด้วยแน่...
เพราะเท่าที่หาข้อมูล กองทัพเรือจีน มีใช้ใน Type-039B ในรุ่น A จะยังไม่มีติดตั้ง...
และก็เชื่อว่า เป็นเทคโนโลยี่ ที่จีน คงไม่ขายให้ใครในขณะนี้ เพราะน่าจะเป็นระบบใหม่ ที่เพิ่งติดตั้งและใช้งาน...
สิ่งที่ กองเชียร์ เรือดำน้ำจีน พยายามจะชี้จุดเด่นของเรือจีน...โดยเมื่อได้พิจารณาแล้ว...จะเห็นว่า เป็นจุดด้อยที่เรือดำน้ำในภูมิภาค เขาไม่มีกันครับ...
1. ระบบ AIP มีความจำเป็นเฉพาะของ ทร.สิงคโปร์ เพราะอาณาเขตสั้น ในทางยุทธวิธีหลัก เรือดำน้ำของ ทร.สิงคโปร์ จะใช้ภายนอกอาณาเขตน่านน้ำของตนเอง จึงมีความจำเป็นต้องมี เพื่อซ่อนพราง เพื่อยืดอายุระยะเวลาปฏิบัติการ ส่วนประเทศอื่น ๆ เน้นเป็นอาวุธป้องกันเชิงรุก ที่ใช้การปฏิบัติภายในอาณาเขต ที่สามารถซ่อนพรางภายในอาณาเขตตัวเองได้ โดยต้องดู Endurance ของเรือที่เรือทุกแบบ จะอยู่ระยะ 30-40 วัน โดยไม่ต้องเข้าฝั่ง...ไม่ได้เน้นที่ ดำไม่เปิดเผยตัว...และ ระบบ AIP เป็นแค่ระบบเดินเรือทางเลือกใต้น้ำเท่านั้น...
2. เป็นเรือดำน้ำที่มีระวางขนาดใหญ่ ที่คอนเซปของเรือดำน้ำ คือ การจัดหาเรือดำน้ำที่ระวางเล็ก แต่มีอาวุธครบเครื่อง ตามที่ ทร. เคยได้ให้ข้อมูลไว้ว่า...เรือดำน้ำ ยิ่งเล็ก ยิ่งได้เปรียบ...ไม่ใช่ ยิ่งใหญ่ ยิ่งได้เปรียบ...ตามที่ฝ่ายเชียร์ เรือดำน้ำจีน พยายามทำแผ่นภาพว่า เรือดำน้ำไทย ใหญ่กว่าทุกประเทศในภูมิภาค (มันคือ ข้อด้อย มากกว่า ข้อเด่น...ดังนั้น จากแผ่นภาพดังกล่าว จะแสดงว่า เรือดำน้ำจีน ของไทย ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน)
3. อาวุธนำวิถีใต้น้ำ สู่ ผิวน้ำ ที่มีระยะปฏิบัติการไกลหลายร้อยกิโลเมตร...คำถาม...อาวุธนำวิถีใต้น้ำ สู่ ผิวน้ำ เป็นการยิงใต้น้ำ ที่เรือดำน้ำไม่สามารถเปิดเผยตัวได้...ดังนั้น...เรือดำน้ำ ไม่สามารถพิสูจน์เป้าได้ว่า ตัวเอง ยิงเรืออะไรอยู่...เพราะไม่มีข้อมูล...ดังนั้น เรือดำน้ำ จะต้องมีการพิสูจน์เป้า เช่น กล้องตาเรือ หรือ ข้อมูลจากฝ่ายตนเองในภายนอก เช่น จากอากาศยาน หรือ เรือผิวน้ำของฝ่ายตัวเอง...
ในขณะนี้ เรือดำน้ำจีน ก็ไม่มีระบบสื่อสารระหว่าง เรือดำน้ำ กับ เรือผิวน้ำของ ทร. ที่เป็นระบบตะวันตก...และก็ไม่ทราบว่า มันจะสื่อสาร หรือส่งข้อมูลระหว่างกันได้หรือเปล่าด้วยซ้ำ...
สุดท้าย การที่เรือดำน้ำจีน จะใช้ Submissile ในอ่าวไทย คงมีทางหลักทางเดียว คือ ใช้กล้องตาเรือ...
ทร.มาเลเซีย เคยทดสอบการใช้ Submissile UAM-39 ก็ที่ระยะ 40 ก.ม. ซึ่ง เรือดำน้ำ KD tun abdul rahman ก็จะมีระบบอำนวยการรบ และการสื่อสาร กับเรือผิวน้ำ หรือจาก อากาศยาน ก็เป็นระบบที่มาจากแหล่งเดียวกัน...(Thale)
การยิง USM ของเรือดำน้ำจีน ไม่ใช่สิ่งที่โดดเด่นแต่อย่างใด สำหรับกองทัพเรือไทย...คือ มีก็เหมือนไม่มี เพราะอาจจะต้องใช้กล้องตาเรือพิสูจน์เป้าหมาย...(ก็ใช้ ตอร์ปิโด ไม่ดีกว่าเหรือ)
สิ่งที่ เรือดำน้ำ จะโดดเด่น คือ การมี Smart Torpedo ตามที่ ท่าน กัปตันนีโม เคยให้ข้อมูล และความเห็นไว้...แล้ว ตอร์ปิโด หลักของเรือดำน้ำจีน ที่ได้มา...ก็ไม่รู้เป็นรุ่นไหน...และคงเป็นรุ่นส่งออก นั่นเอง..และก็ไม่รู้ว่า จะ ฉลาดเท่ากับ ตอร์ปิโด ประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ ?
เรื่อง Flank Array Sonar ผมขอแก้ตัวแทนเรือดำน้ำจีนนิดเดียว ที่ไม่มีเพราะ"กองทัพเรือไทยไม่ได้กำหนดความต้องการเรื่องนี้"
คือถ้าเรากำหนดความต้องการไว้ว่าต้องมี เขาคงไม่ส่งรุ่นที่ติดตั้งไม่ได้มาให้เราพิจารณาแน่ คิดว่าทางเราต้องการเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง AIP มากกว่าครับ ว่างั้นมั้ย
Flank Array Sonar ของจีนมาจากฝรั่งเศสนั่นแหละครับ
5 5 5 5...ท่าน superboy ใช้วิศวกรรมย้อนกลับเหรอครับ....
สำหรับ DSME-209/1400 ของ ทร.อินโดนีเซีย...ตามข้อมูลว่า ใช้ L-3 MAPPS เป็นผู้บูรณาการให้...
คราวนี้ ก็มาดู ประสบการณ์ของ L-3's MAPPS ว่ามีประสบการณ์ Intergrated platform management system เพียงใด..
L-3 MAPPS pioneered the development and evolution of modern Integrated Platform Management Systems (IPMS), which are comprehensive warship automation systems. It also has the most technically advanced Integrated Bridge System on the market to date.
The IPMS provides integrated monitoring and control of all of the ship’s platform machinery and systems such as propulsion, steering, electrical generation & distribution, auxiliaries, fire/smoke/flood detection and damage control. The IPMS features advanced capabilities such as on-board full mission team training and equipment health monitoring. Not only is the L-3 MAPPS IPMS the most advanced, it is the most proven system with over 14 million hours of operational experience at sea.
L-3 MAPPS was the first to develop and implement the concept of an integrated control system on the Canadian Navy’s Patrol Frigate Programme in the early 1980s. Since then, MAPPS has continued its extensive research and development activities, and offers the most comprehensive and advanced IPMS available. MAPPS marine systems are in use by 21 navies around the world, and on over 190 naval vessels.
The L-3 MAPPS Integrated Bridge System is a completely Integrated Navigation System that is the most technically advanced on the market today. Its unique multi-function workstations allow any navigation function to be performed from any console, greatly improving operator efficiency and vessel safety.
L-3 MAPPS also offers a vast array of training solutions to the marine market. From On-Board Training Systems to total turnkey training solutions, our world-class simulation expertise makes us your ultimate training partner.
United States Navy |
United States Navy |
||
United States Navy DDG-61/62 Destroyer Damage ControlSystem |
United States Navy |
||
United States Navy |
United States Navy |
||
United States Navy |
United States Navy |
||
United States Navy TAO-E Fast Combat Support Ships LM2500 Digital Engine Controller |
United Kingdom Royal Navy Type 45 Destroyers WR-21 Engine Controller |
||
United Kingdom Royal Navy Astute Class Submarine Whole Boat C&I Integrator |
United Kingdom Royal Navy Astute Class Submarine Training Service 36-Year Turnkey Training Service |
||
United Kingdom Royal Navy LPD(R) Landing Platform Dock Integrated Platform Management System |
United Kingdom Royal Navy Type 22 Frigate Platform Trainer Machinery Control Procedural Trainer |
||
United Kingdom Royal Navy CVF Aircraft Carrier Integrated Platform Management System |
United Kingdom Royal Navy Type 22 Global Combat Ship Integrated Platform Management System |
||
Canadian Navy |
Canadian Navy |
||
Canadian Navy |
Canadian Navy |
||
Canadian Navy |
Canadian Navy |
||
Republic of Korea Navy Mine Sweepers / Hunters Integrated Platform Management System |
Republic of Korea Navy Minelayers Integrated Platform Management System |
||
Republic of Korea Navy KDX II Destroyers Integrated Platform Management System |
Republic of Korea Navy LPx Landing Platforms Integrated Platform Management System |
||
Republic of Korea Navy KDX III Destroyers Integrated Platform Management System |
Republic of Korea Navy FFx - Frigates Integrated Platform Management System |
||
Republic of Korea Navy LST-II Integrated Platform Management System |
Royal Malaysian Navy MEKO® 100 RMN Patrol Vessel Integrated Platform Management System |
||
Royal Malaysian Navy Kasturi-class Integrated Platform Management System Upgrade |
German Navy K130 Corvette Integrated Platform Management System |
||
German Navy F124 Frigate Integrated Platform Management System |
German Navy F124 Frigate Land-Based Test Facility |
||
French Navy NTCD Landing Helicopter Dock Integrated Platform Management System |
Indian Navy National Offshore Patrol Vessel |
||
Indian Navy Project 17 Shivalik Class Frigate Integrated Machinery Control System |
Indian Navy Project 28 ASW Corvette Integrated Ship Management System Navigation and Integrated Bridge System |
||
Indian Navy P71 Aircraft Carrier LM2500 Engine Control Unit |
Indian Navy Hindustan Aeronautics Ltd. Test Cell LM2500 IEC Control System |
||
Indian Navy P71 Aircraft Carrier Propulsion System Integration Support |
Indian Navy LST(L) Landing Ships Integrated Machinery Control System |
||
Israeli Navy SA’AR 5 Corvette Integrated Platform Management System |
United Arab Emirates TNC 45 Patrol Boat Integrated Platform Management System Backfit |
||
Hellenic Navy Elli (S-Class) Frigate Gas Turbine Safety System |
Royal Netherlands Navy Air DFefence & Command (LCF) Frigate Integrated Platform Management System |
||
Royal Australian / New Zealand Navies ANZAC Class Frigate GE-LM2500 Digital Engine Controller |
Royal Australian / New Zealand Navies ANZAC Class Frigate Platform Systems Technical Support Centre (PSTSC) |
||
Indonesian Navy Submarines Integrated Platform Management System |
Indonesian Navy Bung Tomo-class Corvette Integrated Platform Management System |
||
South African Navy SAS Drakensberg Liquid Management, Alarm System |
Thai Navy Frigates Integrated Platform Management System |
||
Algerian Navy MEKO® A-200 Frigate Integrated Platform Management System |
Mauritius Coast Guard MGGS Barracuda Integrated Platform Management System |
ห้อง control room ของเรือชุด Bong tomo ของ ทร.อินโดนีเซีย ที่ใช้ของ L-3's เช่นเดียวกัน...
รูปแบบของ เรือดำน้ำ DSME-209/1400 ชุด ตู้ control อาจจะคล้าย ๆ กัน...
อันที่จริง L-3 ELAC Nautik มีชื่อประสบการณ์ในเรื่องระบบโซนาร์มานานมากแล้ว เพียงแต่คนไทยไม่ค่อยคุ้นชื่อกันเท่าไหร่ เพราะเราไม่ค่อยได้เลือกใช้งานสินค้าจากที่นี่ เรือดำน้ำ Type-209 ของบางประเทศก็ปรับปรุงใหญ่และใช้โซนาร์ตัวใหม่จากที่นี่
เป็นบริษัทมืออาชีพที่มีความชำนาญการ และมีสินค้ารวมทั้งการบริการที่่ราคาไม่แพงจนเกินไป ยังคิดอยู่เล่น ๆ ว่า เอาเรือหลวงจักรีมาติด Navigation Sonar System รุ่น ELAC SUBEYE เข้าไปก็น่าจะดี ผมไม่รู้จริง ๆ ว่าเรือมีติดแล้วหรือเปล่า อาจจะมียี่ห้ออื่นก็ได้ไว้สำหรับเดินเรือให้ปลอดภัย อย่างรุ่นที่ผมบอกก็มีระยะตรวจจับ 3,000 เมตรเท่านั้นแหละ
แต่ระบบสื่อสารใต้น้ำของเขาก็มีนะครับ เป็นสิ่งสำคัญมากไปแล้วสำหรับการรบยุคใหม่
เรือดำน้ำ DSME-209/1400 ของ ทร.อินโดนีเซีย...
น่าจะตอบคำถามได้ดี ถึง นวัตกรรมเปิด ที่ ทร. จะเลือกสิ่งเหมาะสม กับ สามารถเปลี่ยนแปลงหรืออัพเกรด ในเฉพาะบางเรื่องได้ ตามการพัฒนาเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลงไป...ก็เหมือนกับที่ ท่าน dcalfha ให้ความเห็นถึง ระบบอาวุธที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ของอ่าวไทย...ที่ ทร. จะใช้ ตอร์ปิโด ที่เหมาะสมและทันสมัย...ไม่ใช่ ตอร์ปิโด ที่ขาดการพัฒนามาเป็นระยะเวลานาน..และจะยังคงไม่พัฒนาต่อไปในอนาคตอีก...เช่น ตอร์ปิโด ที่จะแถมมาให้สำหรับเรือดำน้ำจีน ที่ไทยจะจัดหา...
การจัดหา เรือดำน้ำจีน คือ การผูกขาดในระยะยาว ของอุปกรณ์สนับสนุนและอะไหล่ต่าง ๆ ที่ต้องจัดหาจาก ประเทศจีน เท่านั้น...
ปัญหาการหยุดนิ่งของการพัฒนา S-26T ในอนาคตอีก 15-20 ปี...เนื่องจาก ไม่มีผู้ใช้ หรือไม่มีตลาดเกิดใหม่...หรือกลุ่มตลาดที่ ไม่มีงบประมาณ จัดหาในลักษณะเต็มประสิทธิภาพ...ก็จะไม่เห็นภาพการพัฒนาของเรือดำน้ำให้ดีกว่าเดิม...
การจะทำให้เรือดำนำ้จีนในอนาคต มีเทคโนโลยี่ทัดเทียมกับช่วงระยะเวลา...คงมีอย่างเดียว..คือ...การรื้อระบบเดิมทิ้งทั้งหมด...แล้วใส่ระบบใหม่ เข้าไปใหม่...เช่นเดียวกับ เรือดำน้ำชั้น Ming ของอียิปต์ หรือ เรือชุดกระบุรี ของ กองทัพเรือไทย...
ในขณะที่...เรือดำน้ำแบบจากฝั่งตะวันตก กำลังจะมีตลาดเกิดใหม่ที่จะทดแทนเรือดำน้ำเดิมที่หมดอายุใช้งาน และกำลังจะหมดอายุใช้งาน...หรือจะมีโครงการยืดอายุใช้งานต่อไป เช่น ทร.อินเดีย และทร.ปากีสถาน (โครงการ Agosta 90B) หรือจัดหาเพิ่มเติมใหม่ เช่น ทร.อียิปต์ ทร.อินโดนีเซีย
และปริมาณเรือดำน้ำที่มีการใช้ในแบบเดียวกันของหลายประเทศ...ก็จะเห็นการพัฒนาเทคโนโลยี่ของระบบและอุปกรณ์เรือดำน้ำ เฉพาะส่วน ๆ ไป...เพื่อนำมาทดแทน หรือปรับปรุงให้ทันกับเทคโนโลยี่ในช่วงระยะเวลานั้น...เช่น การปรับปรุง เรือดำน้ำเดิมของ ทร.อินโดนีเซีย ให้ใกล้เคียงกับ การจัดหาเรือดำน้ำชุดใหม่จากเกาหลีใต้ เป็นต้น...
ประเทศไทย สามารถจัดหาเรือดำน้ำได้ ทั่วโลก...เขาขายให้หมด...และเขาก็มาเสนอขายให้ด้วย...ในวงเงินประมาณ 36,000 ล้านบาท...หรือ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ...สามารถจัดหาเรือดำน้ำตามมาตรฐานและความเหมาะสมของกองทัพเรือไทยได้อยู่แล้ว...ไม่ใช่เฉพาะ เรือดำน้ำจีน เท่านั้น...
ทร เคย สรุปมาแล้วไม่ใช่หรอครับ แบบ u210mod เหมาะสมกับอ่าวไทยที่สุด ขนาดกระปุ๊กลุ๊ก
สเปคเรือดำน้ำที่ทร.ต้องการตามแผน 9 ปีเก่า
9.1 ประเภท : เรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังธรรมดา
9.2 โครงการ : 2 ลำ, ระยะเวลาโครงการ : 2555 - 2560
9.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
9.3.1 โจมตีเรือผิวน้ำ
9.3.2 ปราบเรือดำน้ำ
9.3.3 วางทุ่นระเบิด
9.3.4 ลำเลียงหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
9.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
9.4.1 ระวางขับน้ำใต้น้ำ 1,000 - 2,500 ตัน
9.4.2 รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 2,500 ไมล์
9.4.3 ปฏิบัติการในทะเลได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15 วัน
9.4.4 ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบดีเซลไฟฟ้า พร้อมระบบ AIP (Air Independance Propulsion)
9.4.5 มีเครื่องมือเดินเรือทั้งผิวน้ำและใต้น้ำที่สมบูรณ์
9.4.6 ระบบสื่อสารเป็นแบบรวมการ ประกอบด้วย ระบบสื่อสารภายใน สื่อสารภายนอก ทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำและระบบ GMDSS
9.4.7 อุปกรณ์ตรวจจับ ประกอบด้วย ระบบโซนาร์แบบ PASSIVE และ/หรือ ACTIVE SONAR , ระบบ ELECTRONIC WARFARE , กล้อง Periscope 2 กล้อง ได้แก่ Attack และ Search โดยมีอุปกรณ์กล้อง IR/TV/กล้องถ่ายภาพนิ่ง/เรดาร์ติดตั้งร่วมด้วย
9.4.8 ระบบอาวุธ ประกอบด้วย ตอร์ปิโด จำนวน 6 - 8 ท่อ พร้อมคลังและขีดความสามารถบรรจุ ระบบ countermeasure และระบบลวงตอร์ปิโด/โซนาร์
9.4.9 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้อย่างน้อย 30 ปี
http://www.thaiarmedforce.com/
ลองเอา สเปคเรือดำน้ำ A19 ชั้น Gotland มาเทียบดูแล้วจะรู้ว่า ทร.มีรุ่นใดอยู่ในใจ
http://www.naval-technology.com/projects/gotland/
https://en.wikipedia.org/wiki/Gotland-class_submarine
มาดู สเปค ของ เรือ Scorpene ทร.มาเลเซีย กันบ้างครับ...
ผมว่าเราเอาแบบนี้มาก่อนมั้ย ของอีหราน ลำเล็ก ไม่ซับซ้อน ขอซื้อแบบแล้วมาต่อเอง ลำละไม่น่าจะเกิน10ล้าน (ถูกกว่าเรือล่าจารเข้ของหม่อมเอ๋อที่กะลังเป็นข่าวในตอนนี้อิก) สร้างมาซัก50ลำ ดำผุดดำว่ายในอ่าวเราได้สบาย แถมยังได้องค์ความรู้ด้วยhttps://www.youtube.com/watch?v=e--y8F6vYUU
สิบล้านถูกไปปะครับท่าน
https://news.usni.org/2015/08/31/essay-inside-the-design-of-chinas-yuan-class-submarine
จากบทความ Flank array sonar เหมาะสำหรับใช้ในน้ำลึกมากกว่าน้ำตื้นครับ และการใช้อาวุธนำวิถีปล่อยใต้น้ำ เช่น YJ-82 จำเป็นต้องใช้ควบคู่กับ Flank array sonar ดังนั้นถ้าจีนจะให้อาวุธนำวิถีมาด้วยกับเรือ ผมก็จะขอคาดเดาว่าตัวเรือก็ต้องติด ระบบFlank array sonar มาด้วยครับ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เหมาะกับการใช้ในน้ำตื้นก็ตาม
เรือดำน้ำชั้น Type 039A และ Type 039B มีความแตกต่างในส่วนเหนือแนวน้ำน้อยมาก เช่น หอเรือที่ Type 039B จะมีความโค้งมนกว่า Type 039A เล็กน้อย
แต่ในส่วนใต้แนวน้ำนั้นมีไม่กี่ภาพที่ปรากฎออกมาว่าเรือดำน้ำชั้น Type 039B มี Flank Sonar ติดข้างเรือเกือบจะใต้ท้องเรือเช่นภาพนี้
ส่วนเรือดำน้ำชั้น Type 039C จะชัดเจนกว่าว่าหอเรือจะเป็นทรงโค้งมนมากซึ่งดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลการออกแบบมาจากเรือดำน้ำชั้น Virginia SSN ของสหรัฐฯ
แต่นั่นก็ดูจะเป็นการแสดงให้เห็นครับว่าการออกแบบเรือดำน้ำยุคใหม่ของจีนยังไม่นิ่งนัก ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆครับ
Type 039B
คุณลักษณะของ เรือดำน้ำ ทร.สิงคโปร์ ชุด Archer Class...
ก็นับว่า ทร.สิงคโปร์ จัดชั้นความลับของเรือดำน้ำ ในระดับหนึ่ง...เราจะทราบเพียงข้อมูลคร่าว ๆ เท่านั้น...
แต่ด้วยหลักความเปิดเผย ของผู้ผลิตระบบต่าง ๆ...ก็พอจะคาดหมายได้ว่า..น่าจะเป็นของเรือชุด Archer แม้จะไม่ระบุชื่อประเทศผู้ใช้งาน...
ระบบไหนที่ไม่ระบุชื่อประเทศผู้ใช้...แต่คาดหมายว่า น่าจะเป็นเรือชุด Archer ผมก็จะใส่คำว่า May Be วงเล็บไว้ให้ครับ...ส่วนเรื่องระบบ โซนาร์ ก็เป็นที่ประเมินของเว๊ปไซด์ต่าง ๆ ว่า น่าจะเป็นของ Thales เพราะในเว๊ปไซด์ ก็จะระบุว่า เรือชุด Archer มีตอร์ปิโดหนัก คือ ฺBlack Shark แบบเดียวกับ ทร.มาเลเซีย...
ส่วน Flank Array Sonar บางเว๊ปไซด์ ก็จะระบุว่า เป็นการพัฒนาของ สิงคโปร์ เอง ครับ...
โครงการปรับปรุง เรือดำน้ำ type-209/1300 ชุดเดิมของ ทร.อินโดนีเซีย ชื่อ Nanggala ตามข่าวเมื่อปี 2012...
ดูรายการ refit ก็น่าจะทำให้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ เรือที่จัดหาใหม่จาก DSME ซึ่งรวมถึง ความสามารถที่จะใช้ subexocet หรือ subharpoon ได้...
นี่ คือ ข้อได้เปรียบสำคัญ ของการจัดหา เรือดำน้ำ ที่มีผู้ใช้งานหลายประเทศ...ที่จะมีการพัฒนาเพื่อยืดอายุใช้งานกันอย่างต่อเนื่อง...ซึ่ง กองทัพเรือ ที่มีงบประมาณอย่างจำกัด...ควรจะใช้ ข้อสำคัญ คือ ความน่าเชื่อถือ และความเสี่ยง เป็นข้อสำคัญ เหมือนข้อกำหนดของ ทร. เอง ว่า...ควรจะมีสายการผลิตอะไหล่รองรับ ไม่น้อยกว่า 30 ปี...
ในขณะที่ ตามข้อมูลที่เคยอ่านพบ...กองทัพเรือจีน จะกำหนดอายุใช้งานของ เรือดำน้ำจีน อยู่ที่ประมาณ 20 ปี เท่านั้น...ซึ่งก็มีข้อมูลพิสูจน์ ได้ชัด ถึง การขายเรือดำน้ำมือสองของ ทร.บังคลาเทศ...ที่อายุใช้งานเรือ ครบ 20 ปี...จีน ก็ปลดประจำการและทำการขายให้กับ บังคลาเทศ...ซึ่งไม่รู้ จะดีใจ หรือ เสียใจดี...สำหรับ ทร.บังคลาเทศ...
อินโดนีเซีย เคยได้ ไลเซ่นส์ จาก เยอรมัน ในการผลิต ตอร์ปิโด SST4/SUT mod 0 ซึ่งเป็น ตอร์ปิโดแบบ Dual-role wire-guided torpedo...คือ สามารถทั้ง ทำลายเรือรบผิวน้ำ และเรือดำน้ำ...
ก็คงต้องรอดูข่าวต่อไปว่า อินโดนีเซีย จะมี ตอร์ปิโด ยุคใหม่ รุ่นไหน...จะนำเข้ามาประจำการ โดยประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง มาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็จะมี ตอร์ปิโดหนัก แบบ Black Shark ใช้งานอยู่...
โอกาสที่จะเป็น Seahawk จากค่ายเดียวกับ SST4 หรือ จะเป็น MK-48 ที่ ปัจจุบัน อินโดนีเซีย มีการสั่งซื้ออาวุธจาก สหรัฐ โดยไม่มีปัญหา...หรือจะเป็น Whrite Shark จาก เกาหลีใต้เอง...คงต้องติดตามข่าวกันต่อไป
Feb 6/12: Cakra refits done. Indonesia’s other active submarine, KRI Nanggala, returns from Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering in Busan, South Korea, after a 24-month deep refit overhaul. KRI Cakra received a similar overhaul in beginning in 2006, so this completes work on Indonesia’s current fleet of 2.
DSME replaced the upper structure from bow to stern, some parts of the propulsion system, and the submarine’s sonar, radar, weapons system and combat system. The new combat system allows the Cakra Class to fire 4 wire-guided torpedoes simultaneously at 4 different targets, or launch anti-ship missiles including the French Exocet and American Harpoon. The new structure allows safe dives to 257m, and propulsion improvements raise top speed from 21.5 to 25 knots.
โครงการจัดหา เรือดำน้ำใหม่ของ ทร.อินโดนีเซีย จาก DSME...วงเงิน 1,070 ล้านเหรียญนี้...จะเป็นเฉพาะ มูลค่า เรือดำน้ำ กับระบบต่าง ๆ บนเรือ...โดยจะเป็นสร้างที่ ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 2 ลำ และสร้างที่ อินโดนีเซีย จำนวน 1 ลำ...
โดย อินโดนีเซีย ต้องเพิ่มงบลงทุน อู่สร้างเรือดำน้ำพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้ จำนวน 150 ล้านเหรียญ และค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาอีก 30 ล้านเหรียญ และบุคคลากรอีก 70 ล้านเหรียญ รวม 250 ล้านเหรียญ...
ซึ่งดูจากการลงทุน กว่า 250 ล้านเหรียญ ในการสร้างอู่เรือดำน้ำของ อินโดนีเซีย...
เรือดำน้ำแบบ Type-209 คงจะยังมีอนาคตอีกยาวไกล ไม่ต่ำกว่า 30-45 ปี...
และเรือดำน้ำ แบบ 209 ของอินโดนีเซีย คงไม่หยุดอยู่แค่ 5 ลำ...โดยการประเมินในความเห็นส่วนตัวของผม น่าจะอยู่ที่ 9 ลำ..และอินโดนีเซีย น่าจะจัดหา เรือดำน้ำยุคใหม่ อีก 3 ลำ รวมจำนวน 12 ลำ คามแผนของ อินโดนีเซีย...โดยแบบเรือใหม่ อาจจะใช้เงื่อนไข ดีลแบบเดียวกับ ดีล ของ DSME...หรืออาจจะเป็น KSS-II ของ เกาหลีใต้ เองเลยก็ได้ เช่นกัน...เพื่อพัฒนาการต่อเรือดำน้ำของ อินโดนีเซีย...
ในขณะที่ S-26T อาจจะมีอายุอยู่เพียง 20 ปี...เพราะ ไม่มีใครใช้ ?
มาตรฐานการใช้งานของ เรือดำน้ำ ของประเทศจีน อยู่ที่ 20 ปี...
ในความเห็นส่วนตัว...
เรือดำน้ำมือสองของ ทร.บังคลาเทศ ซึ่งตามข่าว ขายช้้น 035G ให้...โดยออกข่าวเมื่อ เดือน ธ.ค. 2013
จึง เดา ว่า...น่าจะเป็นเรือ หมายเลข 356 กับ 357...
ตามแผ่นภาพครับ... จีน กำหนดการใช้งานเรือดำน้ำ ประมาณ 20 ปี...
เมื่อเอาข้อมูล มาจัดทำ อายุประจำการ ของ S-26T...
S-26T จะมี ค่าใช้จ่ายครั้งใหญ่อีก 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ปรับปรุงช่วงครึ่งอายุใช้งาน
ครั้งที่ 2 กรณี ยืดอายุใช้งาน (แบบเดียวกับที่ จีน ขายเรือดำน้ำมือสองให้ บังคลาเทศ)
ในขณะที่ S-26T แม้จะเข้าประจำการหลัง Scorpene กว่า 10 ปี แต่กลับจะหมดอายุใช้งาน เร็วกว่า Scorpene ของ มาเลเซีย...
ทร. มาเลเซีย จะเข้าทำการ Refit เรือดำน้ำ Scorpene หลังจากใช้งานมา 7 ปี โดยทำสัญญากับอู่เรือภายในประเทศ...เนื่องจาก โดยปกติ เรือดำน้ำ จะเข้าทำการ refit เมื่อใช้งานได้ประมาณ 3,000 - 4,000 ชั่วโมง...แต่ มาเลเซีย ปัจจุบัน ได้ใช้งานมากว่า 10,000 ชั่วโมง...
ตามข้อมูลข้างต้น...ก็พอจะวิเคราะห์ ได้ว่า...
ตามข้อเสนอของ จีน ที่มีให้ กองทัพเรือไทย สำหรับ เรือดำน้ำจากประเทศจีน นั้น...เป็นอะไรที่ ปกติและธรรมดา มาก ๆ....
เงื่อนไขที่ จีน เสนอ คือ
1. รับประกันระบบ เป็นเวลา 2 ปี
2. สำรองอะไหล่ให้เป็นเวลา 8 ปี
เมื่อรวมข้อ 1. กับ ข้อ 2. เข้าด้วยกัน ก็จะได้ รวมระยะเวลา 10 ปี พอดี...ซึ่ง จะหมายถึง ช่วงครึ่งอายุใช้งาน ของ S-26T พอดี...
โดยหลังจากนั้น S-26T คงเหลืออยู่ทางเดียว คือ การอัพเกรด ช่วงครึ่งอายุใช้งาน นั่นเอง....
คราวนี้ ลองมาดูข้อเสียใน เงื่อนไข ทั้ง 2 ข้อ ที่ซ่อนอยู่...
1. รับประกันระบบ เป็นเวลา 2 ปี ในขณะที่เจ้าอื่น รับประกันระบบเพียง 1 ปี...นั่น หมายถึง จีน ไม่สามารถรับรองระบบได้ว่า ภายใน 1 ปี ระบบจะไม่มีปัญหา...นั่นคือ ไม่มั่นใจ ว่าเรือจะสมบูรณ์ ภายใน 1 ปี นั่นเอง...ในขณะที่ ของเจ้าอื่นเขาไม่มีปัญหา เขารับรองว่า ภายใน 1 ปี เรือจะมีความสมบูรณ์
2. สำรองอะไหล่ ให้เป็นระยะเวลา 8 ปี นั่นหมายถึง เมื่อรวมกับระยะเวลารับรองระบบจำนวน 2 ปี แล้ว...อายุเรือ ก็จะครบ 10 ปี คือ ถึงช่วงครึ่งอายุใช้งาน ที่ เรือดำน้ำ ต้องทำการ อัพเกรด นั่นเอง...ซึ่ง การอัพเกรด นั้น...เชื่อว่า ปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรที่จะรับรองได้ว่า S-26T จะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น..นั่น หมายถึง ทร. อาจจะต้องใช้อุปกรณ์ใหม่ ทั้งหมด...หรือ มองแบบง่าย ๆ ว่า...ถ้า ทร. จะอัพเกรดการใช้งาน ตอร์ปิโดที่ดีกว่าของแถม ที่ให้มาแล้ว...ทร. อาจจะต้องเปลี่ยนระบบควบคุมการยิง หรือ ระบบอำนวยการรบ ทั้งหมด...ให้มองภาพ การอัพเกรด เรือชุดกระบุรี ครับ...เป็นไปในแนวทางเดียวกันแน่..แค่จะเปลี่ยน จาก C-801 (เนื่องจากหมดอายุ และไม่มีใครใช้งานแล้ว) มาเป็น C-802A ก็ต้องเปลี่ยนระบบทั้งหมด...
การซื้อเรือ S-26T ไม่ใช่จบเพียงงบประมาณ 36,000 ล้านบาท เท่านั้น...แต่มันจะหมายถึง อีก 10 ปีข้างหน้านับจากที่ ทร.บรรจุเข้าประจำการ...ที่ ทร. จะต้องมีงบประมาณอีกจำนวนหนึ่งพอสมควร เพื่อทำการ อัพเกรด ช่วงครึ่งอายุใช้งาน นั่นเอง...แต่จะจำนวนเท่าไหร่นั้น ? ไว้ให้ถึงเวลาตอนนั้นแหล่ะครับ...เพราะ จีน เอง ก็คงไม่ได้คิดให้ไว้ด้วย...เพราะยังไม่มีแผนว่า เรือ S-26T จะมีการพัฒนาอะไรที่เพิ่มเติมจากเดิมหรือไม่ ?
S-26T จึงดูแล้ว อาจจะมีชีวิตเหมือน เรือชุดมัจฉาณุ นั่นเอง (ประจำการได้ 12 ปี แล้วก็คงต้องกุมขมับ ว่าจะเอายังไงกับมันต่อกันดี ?)....บทเรียนที่ กองทัพเรือ ไม่คิดจะจำ...
ทำแผ่นภาพ เรือดำน้ำดีเซล ของ กองทัพเรือจีน ตั้งแต่ ชั้น Ming เป็นต้นมา...
ในความเห็นส่วนตัว ครับ...
หลังจากทำแผ่นภาพในความเห็นข้างต้น...
เลยพอจะมองภาพเห็น S-26T คือ เรือชั้น Song ในร่าง Yuan...
เพราะเรือ Yuan ยังจัดว่าเป็น เรือดำน้ำใหม่ ของ ทร.จีน มาก...ยังสร้างไม่ครบตามความต้องการ...
ส่วนเรือชั้น Song เป็นเรือที่ จีน ตั้งใจเพื่อขาย รวมถึงใช้งานด้วย...
แล้วผ่านการใช้งาน มาถึง ครึ่งอายุใช้งาน แล้ว...
ผมจึง มองว่า จีน คงไม่ขาย ระบบภายในของ Yuan ให้กับ ไทย...ซึ่งจะเป็นผลประเมิน ความสามารถปัจจุบันได้...
ดังนั้น คุณลักษณะ ของ S-26T จึงน่าจะเป็นชั้น Song มากกว่า...ซึ่ง จีน เคยเปิดเผยให้กับ สหรัฐ เยี่ยมชมมาแล้ว...และเรือที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน ก็กำหนดรหัส เพื่อการส่งออก เป็นส่วนใหญ่...ซึ่งก็ตรงกับ ในอดีต ที่ จีน เสนอขาย เรือชั้น Song ให้กับ ทร. ไทย...
เพียงแต่ปัจจุบัน ตลาดเรือดำน้ำ จะเน้นการออกแบบตัวเรือลดการตรวจจับ...จีน จึงคงใช้ ลักษณะเด่น ของ Yuan ที่ผ่านการพัฒนามาจาก Song ซึ่งจะมีคุณลักษณะ ลดการตรวจจับได้ดีกว่า ถ้าจีน จะแชร์ส่วนแบ่งการตลาด เรือดำน้ำ ในตลาดโลก...
ผมเลยสรุปแบบคุณลักษณะของ S-26T ตามแผ่นภาพ ครับ...
ได้ความรู้เยอะเลย
ถ้าคุณลักษณะ เป็นไปตามการ ประเมิน...ถามว่า ราคา 350 ล้านเหรียญ แพงไหม...ผมว่า ก็เป็นราคาเรือดำน้ำมาตรฐานทั่วไปครับ...
แต่มันจะแพง ก็ตรงที่ว่า...อายุใช้งาน เรือดำน้ำจีน มันอยู่ 20 ปี...ใช่หรือไม่ ?
ซึ่งตรงนี้ ทำให้ผม สงส้ย...เรือดำน้ำของเกาหลีใต้ ครับ...ว่า ไปกิน ดีหมี มาจากไหน ถึงจะเสนอเรือดำน้ำ ในราคาเทียบเท่า จากประเทศต้นแบบเยอรมัน...ซึ่งกรณี 209/1400mod ยังพอเข้าใจได้ว่า เป็นราคาเดียวกับ อียิปต์ ซึ่งอาจจะเป็นในเรื่องวัสดุตัวเรือ ซึ่งอาจจะใช้วัสดุที่ไม่เป็นสนิม หรือใช้ในส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างตัวเรือ แบบเดียวกับ 206A..
ซึ่ง ตามข้อมูล ของฝ่ายเชียร์เรือจีน ก็บอกอยู่ว่า ราคาของเกาหลี ถูกกว่า เยอรมัน...ซึ่งคงมี มูล อยู๋ในระดับหนึ่ง..
แต่ที่นอกเหนือจากนั้น...ผมว่า เรือดำน้ำ เกาหลีใต้ น่าจะมี Option ของระบบ AIP มาด้วย...เพราะในงบประมาณลำละ 500 ล้านเหรียญ...สูงกว่า ที่ขายให้ อินโดนีเซีย กว่า 150 ล้านเหรียญ...คงไม่จัดสเปคแบบเดียวกับอินโดนีเซีย มาให้แพ้ ประเทศต้นแบบจากเยอรมัน หรอกครับ...
จากการวิเคราะห์...ดีล เรือดำน้ำจีน ก็ไม่ได้ถูก...เป็นราคามาตรฐาน ของเรือดำน้ำมาตรฐานทั่วไป...ซึ่งก็ประเมินว่าอายุใช้งานที่จะน้อยกว่า เรือดำน้ำค่ายตะวันตก กว่า 33%...
ก็ให้ระวัง ดีล เรือดำน้ำจีน จะใช้ ม.44 หรืออาศัยอำนาจของ คสช. มาจัดซื้อนะครับ..5 5 5 5
เพราะมันจะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ (ถ้าผ่าน) ไม่สามารถเอาผิดใครได้...กรณี ถ้าเกิดปัญหาในอนาคต...
และจากการอ่านใน FB ของ กัปตันนีโม...มีความเห็นของท่านหนึ่ง...บอกว่า...AIP ของเรือดำน้ำจีน ที่จะติดมาให้นั้น...
น่าจะมีกำลังวัตต์ ประมาณ 65 Kw...ในขณะที่ ข้อมูลในเว๊ปทั่วไป ระบบ AIP ของจีน บอกว่ามีกำลังที่ 100 Kw...
และตามข้อมูลในการวิเคราะห์ของ TAF ก็มีข้อมูลว่า ระบบ AIP ของจีน จะมีความเร็วที่ประมาณ 3 นอต...(ซึ่ง AIP ของสวีเดน รุ่น Mk II จะมีความเร็วประมาณ 5 นอต...และรุ่นพัฒนาล่าสุด ที่ว่าน่าจะใช้กับ A-26 คือ รุ่น MK III ความเร็ว น่าจะดีขึ้นกว่านั้น)
ผมจึงประเมินว่า ระบบ AIP ที่จะติดตั้งมาให้นั้น...น่าจะมีคุณลักษณะ เหมือนกับ ระบบ AIP ที่ใช้ทดลองติดตั้งใน เรือดำน้ำชั้น Ming ของเรือดำน้ำหมายเลข 308...
ซึ่งน่าจะเป็น AIP ที่ Copy มาจาก สวีเดน...ไม่ใช่ รุ่นที่ พัฒนาแล้ว ที่จีนใช้งานอยู่ใน ปัจจุบัน...
ผมถึงได้ข้อสรุป ประเมินเรือดำน้ำ S-26T มาว่า
ระบบ AIP ใช้ของ Ming Class
สเปคระบบเรือดำน้ำ ใช้ของ Song Class
ทรงตัวเรือ ใช้ของ Yuan Class
ส่วนในเรื่อง ตอร์ปิโด ที่ จีน จะให้มาด้วยนั้น...
ผมคิดว่า จีน คงไม่ให้ Yu-6 รุ่นส่งออกมาให้...
เพราะ ตอร์ปิโด หนักแบบ Yu-6 ราคาในท้องตลาด จะมีราคาสูง อยู่พอสมควร...
ผมจึงคาดหมายว่า น่าจะเป็นรุ่น Yu-4 รุ่นส่งออก มากกว่า...สำหรับใช้ ทำลาย เรือรบผิวน้ำ
ส่วน Yu-5 รุ่นส่งออก...ผมยังสงสัยอยู่...ว่าจะได้มาด้วยรึเปล่า ? เพราะมันยังขาด มิติ ของตอร์ปิโด ทำลาย เรือดำน้ำ..ซึง มันก็ควรจะมาด้วย...
แต่สิ่งที่ เลวร้าย ที่สุด ที่ผม ยังไม่คิดประเมิน สำหรับ เรือดำน้ำจีน ที่จะแถม ตอร์ปิโด มาให้ ก็คือ...
แถม ตอร์ปิโด รุ่น Yu-3 Mod รุ่นส่งออก หรือ ET-32..มาแบบเดียว...โดยใช้ทั้ง ทำลายเรือรบผิวน้ำ และ เรือดำน้ำ...ซึ่งเป็น ตอร์ปิโด ขนาดเล็ก ที่ 6.6 เมตร...
อย่าลืมว่า S-26T เป็นเรือดำน้ำขนาดเล็ก ที่ จีน ยังไม่เคยมีประจำการ...เรือดำน้ำที่ จีน ประจำการส่วนใหญ่ จะมีขนาดใหญ่ ความยาวเรือ ตั้งแต่ 76 เมตร ขึ้นไป...จึงมีความสามารถรองรับ ตอร์ปิโด ขนาดใหญ่แบบ Yu-4, 5 , 6 ได้...
ส่วน S-26T มันมาจากแบบเรือ S-20 ที่มีความยาวเรือเพียง 66 เมตร ความกว้างเรือ 8 เมตร...ส่วนที S-26T เพิ่มระวางขึ้นมา มันเพิ่มในส่วนของระบบ AIP...ดังนั้น ระบบส่วนโครงสร้าง ตอร์ปิโด จึงยังคงเหมือนเดิม...
ตอร์ปิโด Yu-3, 4, 5 รุ่นส่งออก ที่ใช้รหัสตอร์ปิโด ET จะมีขนาดความยาว ตอร์ปิโด ที่ 6.6 เมตร
ในขณะที่ ตอร์ปิโด Yu 3,4,5 ที่จีนใช้งานเอง จะมีความยาว ตอร์ปิโด ที่ 7.7 - 7.8 เมตร...
ส่วน Yu-6 รุ่นส่งออก ผมยังไม่มีข้อมูล...
ดังนั้น ผมจึงประเมินว่า ตอร์ปิโด ที่จีน จะให้มาด้วยนั้น...จะเป็นตอร์ปิโด รุ่นส่งออก ขนาดความยาว 6.6 เมตร คือ ET-31 กับ ET-34..
หรือ อาจจะให้เพียง ET-32 แบบเดียว...ซึ่งใช้ยิง ได้ทั้ง เรือรบผิวน้ำ และเรือดำน้ำ..
วันนี้เป็นวันครบรอบ 78 ปี การขึ้นระวางเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยด้วยครับ
แต่เรื่องระบบของเรือผมว่าตัดไปเลยเรื่องลูกผสม ครั้งนี้จีนคงไม่ยอมแน่นอนครับ หรืออาจเป็นความต้องการของฝ่ายไทยเองครับ
ทีนี้ลองมาย้ำกันอีกที เพราะมีหลายๆคนที่เชียร์เรือจีน จินตนาการไปไกลถึงเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเลยว่า
-จีนจะสอนการต่อเรือดำน้ำให้
-ถ่ายทอดการสร้างระบบอาวุธ(ในที่นี่คงหมายถึงตอร์ปิโด)
และอีกหลายๆอย่าง พอถามว่าได้ข้อมูลมาจากไหนกลับสิ่งที่ได้รับคือความเงียบ เหมือนคนถามไม่มีตัวตนเป็นธาตุอากาศ หรือไม่ก็ออกแนวประชดประชันว่าจะให้ไปพูดคุยกับทางรัฐบาลเองเมื่อหาข้อมูลมาโต้แย้งไม่ได้ เอวังด้วยประการนี้ครับ
ทำแผ่นภาพ สงครามปราบเรือดำน้ำ ของ ทร.อินโดนีเซีย มาให้ครับ...
1. ทร.มาเลเซีย จัดหาระบบจากฝรั่งเศส ทั้งหมด ทั้งเรือรบผิวน้ำ และเรือดำน้ำ เพื่อการเชื่อมโยง ของกำลังรบทั้ง 3 มิติ
2. ทร.สิงคโปร์ จัดหาระบบจากฝรั่งเศส ทั้งหมด ทั้งเรือรบผิวน้ำ และเรือดำน้ำ เพื่อการเชื่อมโยง ของกำลังรบทั้ง 3 มิติ โดยอนาคต จะใช้ระบบอำนวยการรบของเรือดำน้ำ Type-218SG ภายใต้การพัฒนาของ สิงคโปร์ เอง
3. ทร.อินโดนีเซีย จัดหาระบบจากฝรั่งเศส ในส่วนของ เรือรบผิวน้ำ และอากาศยานประจำเรือปราบเรือดำน้ำ โดยใช้การบูรณาการจาก แคนาดา ในส่วนของเรือดำน้ำ ภายใต้มาตรฐาน นาโต้
4. ทร.ไทย จัดหาระบบจาก สวีเดน ในส่วนของ เรือรบผิวน้ำ และประสานการรบร่วมกับอากาศยานของ ทอ. และใช้ LinK-T เพื่อเชื่อมโยงกำลังรบของ กองเรือและอากาศยานกองทัพเรือ
แต่ถ้าจัดหา ทร.ไทย จัดหา เรือดำน้ำจากประเทศจีน....การใช้ระบบบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงการรบทั้ง 3 มิติ จะเป็น.......................วิ๊ด วิีด วิ๊ด วิ๊ด (เสียงจิ้งหรีดในเวลากลางคืน).......
โดยทั่วไปเรือดำน้ำจีนมักจะถูกนักวิเคราะห์ประเมินว่ามีระดับความก้าวหน้าทางวิทยาการตามหลักเรือดำน้ำตะวันตกอยู่ช่วงตัวหนึ่งอยู่แล้ว
ถ้าเรือดำน้ำรุ่นส่งของจีนที่จะส่งออกให้ไทย(S26T)และปากีสถาน(S20P) จะติดตั้งระบบอำนวยการรบ, ระบบตรวจจับ และระบบอาวุธที่เป็นรุ่นเก่ากว่าเรือที่เป็นแบบพื้นฐานที่จีนใช้เอง(Type 039A/B/C) แล้ว
มันเลวร้ายมากครับ ถ้าระบบภายในเรือดำน้ำแบบ S26T จะเป็นระบบรุ่นเก่ากว่าระบบภายในเรือดำน้ำ Type 039A/B ที่เห็นในภาพและ Clip เหล่านี้
PLAN Submarine East Sea Fleet Type 039A Yuan part1
https://www.youtube.com/watch?v=jgUG856fnOo
PLAN Submarine East Sea Fleet Type 039A Yuan part2
Type 039A control room1
Type 039G control room2
Type 039G control room3
ถ้าเรือดำน้ำแบบ S26T ที่กองทัพเรือไทยจะจัดหาจากจีนจะใช้ระบบอำนวยการบและอุปกรณ์ภายในที่เป็นระบบรุ่นก่อนที่ใช้กับเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B/C ที่เป็นแบบพื้นฐานของ S20P ปากีสถาน และ S26T ไทย
แล้วยังใช้ระบบ Torpedo หนักแบบแยกชนิดสองประเภทระหว่าง Torpedo หนักต่อต้านเรือผิวน้ำ(เช่น Yu-4 รุ่นส่งออกคือ ET31) กับ Torpedo ต่อต้านเรือดำน้ำ(เช่น Yu-3 รุ่นส่งออกคือ ET32)
ขณะที่กองกำลังเรือดำน้ำของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนปัจจุบัน ทั้งเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าและเรือดำน้ำนิวเคลียร์
ได้เปลี่ยนผ่านไปใช้ Torpedo หนักทวิประสงค์(เช่น Yu-3C, Yu-5 รุ่นส่งออกคือ ET34 และ ET36 และ Yu-6 รุ่นส่งออกคือ ET38) ที่ใช้โจมตีได้ทั้งเป้าหมายเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำแล้ว
รวมถึงการพัฒนา Torpedo หนักใหม่อย่าง Yu-9 กับ Yu-10 ที่ทันสมัยกว่าในช่วงปี 2010s แทน Yu-6 (ที่มีการอ้างว่าทำวิศวกรรมย้อมหลับจาก Mk48 Mod4 รุ่นเก่า) ด้วย
นี่มันเลวร้ายมากนะครับ
เรือดำน้ำ S-20P ของปากีสถาน ระบบควบคุมภายใน ทางปากีสถาน จะเป็นผู้เลือกเองครับ ราคาเรือดำน้ำของ ปากีสถาน ถึงราคาสูงกว่าของ ทร.ไทย หรือ ปากีสถาน อาจจะใช้ระบบที่พัฒนาเอง ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด..เพราะ ปากีสถาน ก็มีประสบการณ์ในเรื่องเรือดำน้ำระดับหนึ่ง อยู่ครับ...จะสังเกตุว่า โครงการ S-20P ปากีสถาน ไม่ได้มีระบบ AIP มาด้วย...รวมถึง ปากีสถาน ต้องการพัฒนาตัวเรือดำน้ำ ให้สามารถยิงอาวุธนิวเคลียร์แบบแนวดิ่ง ได้ (VLS) แบบเดียวกับ Qing Class ที่จีนก็ไม่ขายให้กับประเทศใด...จีน ทำหน้าที่ ประสานงานหรือออกแบบตัวเรือ S-20P ให้ติดตั้งได้เท่านั้น...
สำหรับ ตอร์ปิโด ถ้า ทร.ไทย จะต้องการ Yu-6 รุ่นส่งออก คงต้องซื้อ เอง ครับ...ราคาตอร์ปิโด คลาสนี้ ราคาพอสมควรครับ คงไม่แถมมาให้แน่...
จากที่หาข้อมูลทำแผ่นภาพ เรือดำน้ำจีน...จะเห็นว่า เรือชั้น Yuan จัดเป็นเรือดำน้ำใหม่ของ จีน...อายุประจำการ ยังอยู่ในช่วง 4-7 ปี เท่านั้น ครับ และจีน เพิ่งจะมี รุ่น ฺB เพียง 1 ลำ กับ รุ่น C เพียง 1 ลำ ที่กำลังทดสอบ...
จึงพอจะวิเคราะห์ได้ว่า จีน คงไม่ปล่อย เทคโนโลยี่ ระบบภายใน เรือชั้น Yuan มาให้แน่...เพราะจะทำให้ ฝั่งตะวันตก จะประเมินขีดความสามารถ และประสิทธิภาพของเรือดำน้ำจีน ที่จะเป็นกำลังหลักในปัจจุบันได้...และจีน กำหนดความต้องการ เรือชั้น Yuan ถึง 20 ลำ ตอนนี้ เพิ่งสร้างนำเข้าประจำการได้เพียง 14 ลำ เท่านั้น (รวมรุ่น ฺB กับ C)..ซึ่ง ผมเข้าใจว่า เรือดำน้ำชั้น Yuan น่าจะใช้ระบบภายในเป็นการพัฒนามาจาก เรือดำน้ำ ชั้น กิโล ของรัสเซีย เป็นหลักมากกว่า...
ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นไปได้มากที่สุดสำหรับเรือดำน้ำจีน ที่ ทร.ไทย จะได้ ก็คือ ระบบเรือดำน้ำชั้น Song ที่จีน ระบุคลาสเรือดำน้ำชั้น Song คือ เรือดำน้ำเพื่อการส่งออก...โดยระบบในเรือดำน้ำชั้นนี้ส่วนใหญ่ ก็เป็นระบบที่มีพื้นฐานมาจาก ค่ายตะวันตก อยู่แล้ว...รวมถึง จีน เคยเปิดให้ นายทหารเรือสหรัฐ เข้าชมมาแล้ว...ซึ่งในความเห็นของผมประเมินว่า เรือดำน้ำชั้น Song ประสิทธิภาพของเรือน่าจะประมาณเรือชุด Agosta-90B...แต่ได้ความทันสมัยของตัวเรือ กับ ระบบ AIP เพิ่มเติมขึ้นมา เท่านั้น...
แพคเกจ เรือดำน้ำจีน ถึงได้ จำนวน 3 ลำ...เพราะ ราคาดังกล่าว ก็คงอยู่ในระดับ คลาส Song รวมตอร์ปิโด ได้อยู่แล้วครับ...
ทำแผ่นภาพไป ๆ มา ๆ เลย พอจะแกะ คุณลักษณะของ เรือดำน้ำจีน S-26T ได้ มาข้างต้นแหล่ะครับ...ว่า คุณลักษณะชั้น Song แต่อยู่ในร่าง Yuan ดัดแปลง...
ซึ่ง สมมติ ถ้า ทร. จัดหามาแล้ว...ถ้า ทร. ต้องการ ตอร์ปิโด ที่มีความทันสมัย มากขึ้น เช่น Yu-6 รุ่นส่งออก...หรือ เปลี่ยนจาก YJ-82 (C-801 ระยะประมาณ 40 ก.ม.) เป็น CM-708 (C-802 ระยะประมาณ 128 ก.ม.) ก็คงต้องรอ การอัพเกรด ช่วงครึ่งอายุใช้งาน...มาแนวเดียวกับ เรือชุด กระบุรี แหล่ะครับ...และคงต้องเปลี่ยนระบบควบคุมทั้งหมด...ในช่วงระยะเวลานั้น เทคโนโลยี่ เรือชัน Yuan...ทางจีน ก็คงสามารถปล่อยออกมาขายได้แล้ว...(อายุประจำการของ Yuan ตอนนั้นก็คงจะประมาณ 14-17 ปี เตรียมปลดประจำการแล้ว)
เรือดำน้ำ ชุด Song กับ Yuan
เข้าใจอะไรผิด หรือเปล่าครับ...
คือ จีน เขาซื้อระบบฝรั่งเศส มา แล้วทำการ ผลิตเอง น่าจะเรียกว่า Copy น่ะครับ...หรือ AIP จาก สวีเดน...จีน ก็ Copy น่ะครับ...
คือ เรือดำน้ำจีน จะใช้ทุกอย่างของ จีน หมด...จีน คงไม่ไปซื้อ ระบบจากประเทศอื่น มาใส่ให้หรอกครับ...ก็มองให้ง่าย แบบ เรือชุดเจ้าพระยา นั่นแหล่ะครับ...
แม้แต่ เครื่องยนต์ ก็ใช้ เครื่องยนต์ ที่จีน ได้ ไลเซ่นส์ การผลิตของ MTU ไม่ใช่ เครื่องยนต์มาจาก เยอรมัน โดยตรง...
แล้วการที่จะเชื่อมโยงระบบการรบอะไรกันได้นั้น...มันจะหมายถึง ระบบอำนวยการรบหรือระบบสื่อสาร ครับ...คือ จะไปเอา โซนาร์ หรือเอาระบบ AIP ลิงค์ ก้บ Gripen ไม่ได้หรอกครับ...
และปัจจุบัน มันยังไม่มีการ LinK เชื่อมโยง ข้อมูล ระหว่าง เรือดำน้ำ กับระบบอื่น ๆ ได้..แต่มันจะมี การสื่อสาร ที่จะสามารถสื่อสาร ส่งข้อมูลโดยตรงกันได้...แล้ว จึง พัฒนา ไปสู่การใช้ ข้อมูลร่วมกันได้ โดยผ่านตัวกลาง...ซึ่งการสื่อสารโดยตรง อาจจะหมายถึง จากฝั่ง หรือ จากเรือผิวน้ำ ไปที่เรือดำน้ำ...มันก็แล้วแต่ ระบบที่จะรองรับกัน...
แต่ การที่จะได้ เรือดำน้ำจีน มาโดด ๆ ก็คงเป็นที่สงสัยว่า แล้วมันจะสื่อสารกันได้โดยตรง กับเรือผิวน้ำที่เป็นระบบตะวันตก กันอย่างไร ? สุดท้าย ทร.ไทย ก็ต้องมาดัดแปลง และต่อเติม เอง ใช่หรือไม่ ? และก็เชื่อว่า ตอนนี้ ทร. ก็คงยังไม่ได้คิดเหมือนกัน...คงเป็นการไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเอาอีกที....ถ้ามันเป็นแบบนั้น...ก็หมายถึง โครงการจัดหา เรือดำน้ำ ไม่ได้มีเตรียมการวางแผนอะไรเลย...บทจะซื้อ ก็ซื้อ...ไม่ได้ ซื้อ มาจากผลของการวางกรอบการพัฒนากองทัพตามเป้าหมาย...ซื้อ เพียงแค่ได้ชื่อว่า...มีเรือดำน้ำ...แค่นั้น...
บอกแล้วให้เอา A26 ตั้งแต่แรก ก็จบ
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำของจีนที่เป็นระบบส่งออกหลักปัจจุบันก็คือ C-802/C-802A(Improved YJ-8/YJ-83)
ที่จะเห็นได้จากการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.กระบุรี ทั้ง๒ลำของไทย รวมถึงกองทัพเรือประเทศต่างๆที่จัดหาไปใช้ในช่วง ๑๐ปีหลังมานี้
ทำให้ดูเหมือนว่าสายการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำหลักของจีนสำหรับส่งออกที่ทำตลาดในปัจจุบันคงจะมีแค่ C-802A/C-803 แทนที่ C-801 เลิกทำการตลาดไปตั้งแต่ปี 2003 แล้วด้วย
ฉะนั้นจึงเข้าใจว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือดำน้ำที่จะนำมาใช้เรือดำน้ำแบบ S26T น่าจะเป็นระบบที่พื้นฐานจาก C-802A/C-803 สำหรับส่งออกคือ
CM-708UNA ระยะยิง 128km ซึ่งเปิดตัวไปในงาน Zhuhai Airshow 2014 เช่นเดียวกับ CM-708UNB ระยะยิง 290km ซึ่งเปิดตัวไปในงาน Defense Services Asia 2016 มากกว่า CM-708UN รุ่นแรกที่มีระยะยิงเพียง 55km
แต่ก็มีข้อมูลบางแหล่งระบุว่าจีนยังคงสายการผลิตระดับต่ำสำหรับ C-801 เพื่อการส่งออกและซ่อมบำรุงให้ลูกค้าที่ใช้งานและซื้อสิทธิบัตรการผลิตไปสร้างเองในประเทศตนอยู่
ซึ่งถ้าเรือดำน้ำแบบ S26T ใช้ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ CM-708UN รุ่นเก่าแทนที่จะเป็น CM-708UNA รุ่นใหม่กว่า ก็นับว่าเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกครับ
CM-708UNA at Zhuhai Airshow 2014
ตรงนี้ ผมก็พยายามหาข้อมูลของ CM-708UNA เหมือนกันครับว่า ปัจจุบัน จีน นำเข้าประจำการหรือยังครับ...
แต่ด้วยความคลุมเครือของข้อมูล เหมือนกับว่า จีน ส่งออก CM-708 แล้ว..แต่พออ่านเนื้อเรื่อง อาจจะมีความเข้าใจผิดกันหรือเปล่า ครับ...
ในงานแสดงเทคโนโลยี่ ที่ซูไห่ เหมือนกับเป็นการจัดแสดง การพัฒนาอาวุธของ ประเทศจีน...ซึ่ง หัวเรื่องของ CM-708 นั้น มันดันไปอยู่ในหัวเรื่องที่ จีน เปิดตลาดขายเรือ LCU เป็นหัวข้อเรื่องเดียวกัน...เลยเหมือนกับว่า จีน จะเปิดตลาดขาย CM-708 แล้ว...แต่ความคิดผมว่า จีน แค่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ เท่านั้น...
ซึ่งผมคิดว่า จีน น่าจะยังไม่ขาย CM-708UNA...
ประกอบกับ พอลองอ่านถึง คุณสมบัติของ CM-708UNA...ซึ่งเป็น ครุยส์ มิสไซด์ แล้ว..จรวดชนิดนี้ ต้องใช้การนำทางเป้า ด้วยระบบดาวเทียม ด้วย...ไม่ได้ไปด้วยตัวเอง ทั้งหมด...ผมเลยยังให้น้ำหนักว่า...CM-708 คงไม่มากับชุดเรือดำน้ำจีน ของไทย...
เพราะลำพังแค่ ระยะยิง 40 ก.ม. ที่ ทร.จะยิงจากเรือดำน้ำจีน...ผมยังนึกภาพไม่ออกว่า ทร.จะติดต่อสื่อสารกับ เรือดำน้ำจีน อย่างไร...แล้วยิ่ง จะใช้ มิสไซด์ ที่ต้องนำทางด้วยระบบดาวเทียมด้วย ก็ยิ่งน่าจะเป็นไปไม่ค่อยได้เท่าไรครับ..
ผมเลยตัด CM-708UNA ออกจากแพคเกจ ไป...ซึ่ง YJ-82 ยังเป็นระบบอาวุธหลักของ เรือดำน้ำจีนอยู่...ผมเลยให้น้ำหนักในตัวนี้ มากกว่า ครับ...
และเท่าที่ไปสืบค้นข้อมูล...ก็มีแต่ ความเห็นส่วนตัวในเว๊ปเท่านั้นครับ...ที่บอกว่า จีน จะให้ YJ-8X ซึ่งเป็น C-80X...จะมีระยะยิงกว่า 120 ก.ม. ซึ่งก็เหมือนกับจะเป็นข้อมูลลักไก่ ยังไงไม่ทราบเหมือนกัน...เพราะถ้าเป็น C-802 ควรจะใช้รุ่น CM-70XXX ยังพอจะเข้าใจได้...เพราะ C-802 รุ่นที่ใช้งานในเรือดำน้ำ ไม่ใช้รหัส YJ จะใช้ รหัส CM...
ถ้าท่านใดมีข้อมูล มาขยายความต่อ ก็ยินดีครับ...
รหัส CM...น่าจะหมายถึง Cruise Missile..
ดังนั้น จึงดูเหมือนว่า จีน จะกำหนดให้ C-802 รุ่นใช้งานในเรือดำน้ำ เป็น Cruise Missile มากกว่าจะเป็น USM (Underwater to Surface Missile)...
ที่รวบรวมจาก Wikipedia จะได้ข้อมูลประมาณนี้ครับ
YJ-8 เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำที่ใช้งานในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน พัฒนาในช่วงปี 1980s ระยะยิง 40km
C-801 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-8 ที่จีนส่งออกต่างประเทศในช่วงปลายปี 1980s มีลูกค้าหลายประเทศ เช่น กองทัพเรือไทย
YJ-8A เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำที่ปรับปรุงจาก YJ-8 สำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน โดยปรับปรุงให้ปีกจรวดพับเก็บในท่อยิงแล้วกางออกเมื่อยิงจากท่อยิง ระยะยิง 80km
C-801A รุ่นส่งออกต่างประเทศของ YJ-8A เริ่มทำตลาดช่วงต้นปี 1990s
YJ-81 เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากอากาศยานของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
C-801K รุ่นส่งออกของ YJ-81 Wikipedia ระบุว่ามีอิหร่านเป็นลูกค้าประเทศหนึ่ง
YJ-1 เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงเรือดำน้ำของ YJ-8 ที่ทดสอบยิงจากเรือดำน้ำชั้น Type 033G ที่ดัดแปลงท่อยิงข้างหอเรือจำนวน ๖นัด ปัจจุบันจีนเลิกใช้งานแล้ว(ทั้งเรือและจรวด)
YJ-82 เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากท่อยิง Torpedo ของเรือดำน้ำของ YJ-8 มีใช้งานในกองทัพเรือจีนเท่านั้น
C-801Q รุ่นส่งออกของ YJ-82 มีข่าวลือว่าอิหร่านมีใช้งาน (ระยะยิงประมาณ 40km)
CM-708UN อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำที่ปรับปรุงจาก C-801Q ระยะยิงเพิ่มเป็น 55km
C-802 อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำ เป็นรุ่นปรับปรุงของ YJ-8 สำหรับส่งออก มีระยะยิง 120km จีนเริ่มทำตลาดขายในช่วงกลางปี 1990s
YJ-83 เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำสำหรับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนช่วงปลายปี 1990s ปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ,ระบบการควบคุม, ระบบค้นหา และหลายๆอย่าง ระยะยิง 180km
C-802A อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำสำหรับส่งออกของ YJ-83 ที่เพิ่มระยะยิงเป็น 180km จีนเริ่มทำตลาดขายในช่วงปี 2000s ส่งออกได้หลายประเทศ เช่นที่ติดตั้งกับเรือฟริเกตชุด ร.ล.กระบุรี ที่ปรับปรุง ๒ลำของไทย
YJ-83K เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากอากาศยานกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ระยะยิง 250km
YJ-83KH เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นสำหรับอากาศยานกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่พัฒนาจาก YJ-83K
C-802AK อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากอากาศยานรุ่นส่งออกของ YJ-83K
C-802KD อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากอากาศยานสำหรับส่งออก พัฒนาจาก C-802A มีระยะยิง 180km
C-802AKG อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากอากาศยานสำหรับส่งออก พัฒนาจาก C-802A เพิ่ม Datalink กับระบบค้นหา IR ระยะยิง 230-280km
YJ-83A เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำสำหรับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่ปรับปรุงจาก YJ-83 ระยะยิง 250km
C-803 อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือผิวน้ำสำหรับส่งออกของ YJ-83A ระยะยิง 250km (ดูเหมือนยังไม่มีข้อมูลลูกค้าตอนนี้)
KD-88 ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้นยิงจากอากาศยานของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน นำวิถีด้วย INS/TV เพิ่ม data-link ระยะยิง 180-200km พบว่ามีใช้ในปี 2006
YJ-2 ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้นยิงจากอากาศยานของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนเหมือน KD-88 เพิ่มระบบนำวิถีดาวเทียม
YJ-85 ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีภาคพื้นดินยิงจากเรือ นำวิถีด้วยดาวเทียมและ TERCOM
CM-708UNA ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำระยะยิง 128km (น่าจะเสนอสำหรับส่งออกต่างประเทศด้วย)
CM-708UNB ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำระยะยิง 290km (น่าจะเสนอสำหรับส่งออกต่างประเทศด้วยเช่นกัน)
แต่ทั้งนี้ข้อมูลใน Wikipedia อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ
ส่วนจัดแสดงข้อมูลของ CM-708UNA ที่ตั้งแสดงในงาน Zhuhai Airshow 2014
CM-708UNA description
ตามอ่านกระทู้เกี่ยวกับเรือดำน้ำมาสักพัก... ที่ค่อนข้างชัดเจนคือสมาชิกส่วนใหญ่ไม่ปลื้มเรือจีน (ผมด้วย) แต่อย่างนึงที่ผมยังไม่เคลียร์เลยก็คือ มีบางท่านให้ข้อมูลในบลอกนี้ ( ทั้งกล่าวตรงๆ และ อ้อมๆ ) ว่าดีลที่ บ อื่นๆนำเสนอให้ ทร นั้น ในงบที่กำหนด มีแค่เรือเปล่าๆ ไม่มีอาวุธติดมาให้ อันนี้มันเป็นข้อเท็จจริงหรือมโนครับ ใครทราบบ้าง
ดีลอื่น - เรือ 2 หรือ 3 ลำ ไม่มี อาวุธ ไม่มี AIP
ดีลจีน - เรือ 3 ลำ + อาวุธ + AIP
ซื้อเรือรบ ซื้อเครื่องบิบรบ ก็ไม่มีแถมลูกจรวดหรอกครับ..ไม่ว่าดีลของประเทศไหนครับ แต่น่าจะเป็น การจัดหาระบบอำนวยการรบ และระบบควบคุม ที่จะบูรณาการกับ ลูกจรวด ทีจะจัดหามาได้ครับ เช่น Archer Class ของ ทร.สิงคโปร์ ที่มีทั้ง Black Shark และ ตอร์ปิโด ปราบเรือดำน้ำของสวีเดน type-431/451 สามารถใช้งานร่วมกันได้ในเรือลำเดียว หรือ ของ ทร.อินโดนีเซีย ที่จะสามารถใช้ตอร์ปิโด จากค่ายหนึ่ง และใช้ Sub Missile จากอีกค่ายหนึ่งได้ โดยระบบควบคุมการยิง ที่จะสามารถบูรณาการร่วมกันได้...
แต่ดีลจีน...เขาบอกว่าเป็นแพคเกจ...คือ มีตอร์ปิโด กับ อาวุธนำวิถีมาด้วย...
ซึ่งจากการทำข้อมูลข้างต้น..ก็พอจะบอกได้ครับว่า...เรือดำน้ำจีน คงไม่สามารถจะไปใช้ตอร์ปิโด หรืออาวุธนำวิถีจากที่อื่นได้...ต้องใช้ของจีนเท่านั้น คือ เราไม่สามารถจะเลือกอาวุธจากแหล่งอื่นได้ ซึ่งก็คงหมายถึง ระบบอำนวยการรบ ระบบควบคุมการยิง ใช้ได้กับตอร์ปิโด กับ อาวุธนำวิถี จากจีนเท่านั้นครับ
ด้วยที่ไม่สามารถจะบูรณาการกับอาวุธจากประเทศไหนได้...การขายจึงต้องมาแบบแพคเกจ...แล้วแพคเกจที่มา มาจำนวนกี่ลูก นั่นคือ สิ่งที่ต้องค้นหาต่อไปครับ...ต้องซื้อเพิ่มหรือไม่ในอนาคต และราคาเท่าไหร่...แล้วจะแตกต่างอย่างไร กับ ดีลอื่น เพราะก็ต้องซื้ออาวุธเพิ่มอยู่ดีครับ แต่เราสามารถเลือกอาวุธตอร์ปิโด และอาวุธนำวิถี จากแหล่งอื่นได้ ระบบอำนวยการรบ ระบบควบคุมการยิง สามารถบูรณาการได้
อายุตอร์ปิโด หรือ อาวุธนำวิถี จากแหล่งอื่น มีอายุยืนยาวกว่าของจีนหรือไม่ ฮาร์พูน ของเรือชุดรัตนโกสินทร์ เอ็กโซเซ่ ของเรือราชฤทธิ์ เมื่อเทียบกับ C-801 ของเรือชุดเจ้าพระยา คงจะเป็นคำตอบที่พิสูจน์ได้ ถึงอายุใช้งาน และความร่วมสมัยครับ...
ภารกิจและขีดความสามารถ
จาก แผ่นภาพ อำนาจใต้สมุทร พลังยุทธ์ที่วางใจได้ โดย กองทัพเรือ
แนวโน้มของการใช้เรือดำน้ำ เพื่อรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และรูปแบบของสงครามมิได้จำกัดอยู่เพียงการโจมตีเรือผิวน้ำอีกต่อไป
แต่เรือดำน้ำเป็นยานที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติการทางลับ เช่น การรับ - ส่ง ชุดปฏิบัติการพิเศษ การลาดตระเวณหาข่าวทางอิเล็คทรอนิกส์ ทั้งในแบบ COMINT เพื่อการปฏิบัติการข่าวสาร และ SIGNT เพื่อตรวจจับการเคลื่อนกำลังของฝ่ายตรงข้าม รวมถึงการวางทุ่นระเบิดทางรุก
ภารกิจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นภารกิจในพื้นที่น้ำตื้น/ใกล้ฝั่ง ซึ่งยิ่งขนาดเรือดำน้ำใหญ่ขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการมากขึ้นเท่านั้น....
จากข้อมูลอ้างอิง ข้างต้น...ซึ่งก็คงไม่ต้องสงสัยครับว่า...แบบ เรือดำน้ำจีน เมื่อเทียบกับเรือทุกแบบที่ นำเสนอให้ กองทัพเรือ..แบบเรือ S-26T จะประสบอุปสรรค มากกว่าแบบเรือจาก เยอรมัน เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส เป็นลำดับ 2 รองจาก Kilo ของ รัสเซีย...
ในเรื่องความสิ้นเปลือง
เนื่องจากเรือดำน้ำใน Mode การทำงานปกติ (การดำ) จะไม่ได้รับอิทธิพลจของคลื่นลม ขนาดของตัวเรือที่ใหญ่ขึ้นจึงไม่ช่วยให้เรือดำน้ำมีความคงทนทะเลเพิ่มขึ้นแต่ประการใด แต่กลับทำให้มีแรงเสียดทาน (Hydordynamic Drag) เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
บทสรุปของแผ่นภาพ ก็กล่าวถึงว่า
ด้วยธรรมชาติ และหลักนิยมในการปฏิบัติการของเรือดำน้ำ โดยเฉพาะประเภท ดีเซล-ไฟฟ้า
ขนาดของเรือยิ่งเล็กยิ่งเอื้อต่อการตอบสนอง "ขีดความสามารถหลัก" มากขึ้นเท่านั้น
โดยปัจจัยแวดล้อม เงื่อนไขการปฏิบัติการ และประสบการณ์ในการรบและปฏิบัติการทางเรือที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นว่า
ขนาดที่กระทัดรัดไม่ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อ "ขีดความสามารถที่จำเป็นต้องมีและใช้" แต่อย่างใด..
หลายคนยังไม่เคยข้อเสนอของทุกชาติที่นำเสนอเรือดำน้ำ เลยไม่ใครรู้ว่าเสนออะไรมามั่ง
แต่พอมีข่าวว่าเลือกเรือดำน้ำจากจีน เพราะมี AIP และเสนอ มา 3 ลำพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ประเทศอืนเสนอ มา 2 ลำ
กองเชียร์ก็ถือว่าเป็นท่าไม้ตาย ท่องไว้ก่อน AIP ทำให้ดำนาน 21 วันดีกว่าอยู่แล้วแต่ไม่รู้ว่าถ้าใช้ AIP อาจทำความเร็วได้ไม่มากเท่าของประเทศอื่น แถมขายให้ 3 ลำ กำไรเห็นๆ ถ่ายทอดเทคโนโลยีคืออะไรไม่รู้ แต่จินตนาการไว้ก่อน สอนให้สร้างเรือดำน้ำ สอนให้ทำตอร์ปิโด พอถามเอามาจากไหนคือเงียบหายไม่ก็ออกแนวประชดเพราะหาข้อมูลมาตอบไม่ได้ ไม่ก็บอกว่าเอกสารยังเปิดเผยไม่ได้ แต่บางทีจะคาดคั้นเอาเอกสารข้อมูลของประเทศอื่นที่นำเสนอ แปลกไหมละครับ
เวรกรรม !
แบบเรือรบที่จีนออกแบบสร้างขึ้นมาสำหรับส่งออกในปัจจุบันจะกำหนดชื่อรหัสแบบตามประเภทเรือและระวางขับน้ำพื้นฐาน เช่น
เรือคอร์เวต Type 056 รุ่นส่งออกมีสองแบบคือ
P18N เป็นรุ่นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือไนจีเรีย ตัวเรือยาว 95m ระวางขับน้ำปกติ 1,800tons
และ C13B เป็นรุ่นเรือคอร์เวตของกองทัพเรือบังคลาเทศ ตัวเรือยาว 90m ระวางขับน้ำปกติ 1,300tons
เรือรบสำหรับส่งออกของจีนอีกแบบคือเรือคอร์เวตแบบ C28A ของกองทัพเรือแอลจีเรีย ระวางขับน้ำปกติ 2,880tons ระวางขับน้ำเต็มอัตรา 3,000tons
จากข้างต้นอาจจะอนุมานได้ว่าการกำหนดรหัสแบบเรือคือ P คือ Patrol ,C คือ Corvette
ตามด้วยสองเลขหน้าของระวางขับน้ำปกติของแบบเรือคือ 13 จาก 1,300tons, 18 จาก 1,800tons และ 28 จาก 2,880tons
ตัวอักษรท้ายคือแบบเรือสำหรับประเทศนั้นๆ N=Nigeria, B=Bangladesh และ A=Algeria
สำหรับเรือดำน้ำแบบ S26T ถ้าใช้หลักการกำหนดชื่อแบบเรือที่จีนส่งออกในข้างต้น S= Submarine, 26= 2,6xxtons และ T=Thailand
แต่ทั้งนี้เรือดำน้ำนั้นจะมีระวางขับน้ำตัวเรือที่ต่างกันคือเมื่อเรือลอยอยู่ผิวน้ำและเมื่อตัวเรือดำอยู่ใต้น้ำ
เช่น เรือดำน้ำชั้น Kilo รัสเซียซึ่งเป็นเรือดำน้ำแบบตัวเรือสองชั้นจะมีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำและใต้น้ำต่างกันมากคือ ระวางขับน้ำ 2,300-2,350tons ที่ผิวน้ำ และ3,000-4,000tons ที่ใต้น้ำ
ฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่าเรือดำน้ำแบบ S26T จะมีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำปกติที่ 2,6xxtons และมีระวางขับน้ำเมื่อดำใต้น้ำที่ 3,600tons เช่นเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Type 039A ที่เป็นแบบพื้นฐานซึ่งใช้ตัวเรือสองชั้นก็น่าจะมีความเป็นไปได้
ซึ่งนั้นอาจจะหมายความว่า S26T คือเรือดำน้ำชั้น Type 039A จีนรุ่นส่งออกก็เป็นได้ครับ
ปัจจุบัน เรือดำน้ำชั้น Kilo ที่รัสเซีย ขายจะเป็นรุ่น 636M เช่น ของ ทร.เวียดนาม จะเป็น Kilo 636MV
ระวางผิวน้ำปกติ 2,352 ตัน ระวางดำน้ำสูงสุดที่ 3,126 ตัน...
ถ้า S-26T คือ Type-039A ที่ระวางผิวน้ำปกติ 2,600 ตัน ระวางดำน้ำสูงสุดที่ 3,600 ตัน...
ทร.ไทย ก็จะมี เรือดำน้ำที่ใหญ่ และยาว ที่สุดใน อาเซียน...ปฏิบัติการในทะเล ที่เฉลี่ยตื้นที่สุดใน อาเซียน...
แล่นโดดเด่น เป็นสง่า น่าเกรงขาม สมกับที่ อดีต ผบ.เรือดำน้ำ ชื่นชม จริง ๆ...
เป็นเรือดำน้ำ รุ่น ที่ ลึกลับ ที่สุดในโลกจริง ๆ...
สำหรับ แบตเตอรี่ เรือดำน้ำ Kilo ตามข้อมูลจากเว๊ปไซด์ ที่รวบรวมเกี่ยวกับเรือดำน้ำชุด Kilo...เขาบอกว่า อายุแบตเตอรี่ จะอยู่ระหว่าง 2-5 ปี...(พอดี หาข้อมูล เรือดำน้ำของ ทร.เวียดนาม ว่าจะทำแผ่นภาพครับ)
ก็คงต้องรอติดตามชมกันต่อไปครับ...สำหรับ เรือดำน้ำ ทร.ไทย...
ผมเชื่อท่าน FatBoy ครับ
เวรกรรมเป็นของกองเชียร์อย่างผมครับ ส่วน ทร. ผมว่าท่านทำตัวท่านเอง เลิกคบครับ
ใหญ่เทียบเท่าเรือฟริเกตลำใหม่กันเลยทีเดียว ฮ่า ฮ่า
ถ้า S-26T คือ Type-039A...
ระวางขับใต้น้ำ จะสูงที่สุดใน ASEAN...
การซ่อนพราง ในอ่าวไทย...ก็จัดว่า น้อยกว่าใคร ใน ASEAN...
ถ้า S26T คือ Yuan 039A จริง จะเป็นเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเลยครับ สมควรนำไปประจำการมีฝั่งทะเลอันดามันครับค่อยเหมาะสม link นี้เป็นวิเคราะห์ขนาดของเรือชั้นนี้ครับ
https://news.usni.org/2015/08/31/essay-inside-the-design-of-chinas-yuan-class-submarine ใหญ่กว่า kilo. อีก
ดีครับลำใหญ่ๆ เอามาให้ฝึกค้นหาเรือดำน้ำครับ
ขอถามข้อสงสัยครับ คำว่า Beam หมายถึงส่วนกว้างของเรือ และ Draft หมายถึงส่วนสูงหรือเปล่าครับ ถ้าใช่แล้วจะเป็นส่วนสูงจากตรงไหนของเรือ
และจาก link ที่ท่าน Trio ให้มา ผมว่าถ้าต้องใช้เรือจีนจริงๆ เรือชั้น song จะเหมาะกว่าเพราะมีขนาดเล็กกว่า แต่ต้องเป็นรุ่นปรับปรุงระบบให้ทันสมัยเทียบเท่าชั้น yuan B จึงจะเหมาะสม ครับ แต่ถ้าเลือกได้ขอเป็นของสวีเดน A19mod จะดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเทศที่ขัดแย้งกันในทะเลจีนใต้
Draft คือ ส่วนใต้สุดของเรือถึงแนวพ้นน้ำ ครับ...
หรือความหมายว่า กินน้ำลึก เวลาลอยเหนือผิวน้ำ น่ะครับ...
เท่าที่ลองเก็บข้อมูล ถ้าเราจะประมาณความสูงเรือ ก็เอา Draft คูณ 2 จะได้ใกล้เคียงกับความสูงเรือ (ความสูงเรือ หมายถึง สุดหอสะพานเรือ ครับ)
ประมาณนี้ครับ
ท่านทั้งหลาย ถ้าเป็น หยวน เอ/บี เวลาเข้าออกฐานทัพเรือ ด. ที่สัตหีบ คงต้องแล่นอวดธงอวดเสาเปอริสโคปให้ชาวบ้านเค้ารู้กันทั้งบาง ปิดลับไม่ได้ เพราะทะเล ก. ไก่ มันตื้น หรือไม่ก็ต้องไปสร้างฐาน ด. ที่สงขลาหรือพังงาใหม่มั้งครับ
และในอนาคตอันไกลๆ ข้างหน้า เรามิต้องซื้อหาเรือ ส. ชายฝั่ง ระวางขับน้ำไม่เกินพันตัน เอาไว้เฝ้าอ่าวไทยส่วนในอีกชุดหรือครับ เฮ้อ..มันส์ พิลึก !
แล้วถ้าจีนมันดันมีเรือเล็ก S-10T ขึ้นมาอีกละ ? เวรกรรมซ้ำสอง..
สรุปคือไม่ใช่เรือกระดาษจริงๆด้วยสินะ
ถ้าผมจะร้องเป็นภาษาไทยสำเนียงแต้จิ๋วว่า ไอ้ชิกหาย นี่จะโดนแอดมินแบนมั้ยเนี่ย
ตายๆๆ
แล้วถ้าเจอ s10t นี่คงต้องร้องไอ้ชิกหายสองรอบ
แล้วตอนเราให้บริษัทเสนอขายมานี่เราไม่ได้กำหนดระวางขับน้ำหรืออย่างไร
จากสำนักข่าวอิศราครับ ลองคลิกเข้าไปดูตามลิ้งค์นะครับ ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆ กองเชียร์เรือจีน คงต้องหยุดจินตนาการกันก่อนแล้วละครับ
http://www.isranews.org/isranews-article/item/48703-s26t.html
Copy มาให้ดูเป็นบางส่วนนะครับ
จากหลักฐานเอกสารหมายเลข 1 ในข้อเสนอโครงการเรือดำน้ำ S26T ของบริษัท CHINA SHIPBUILDING & OFFSHORE INTERNATIONAL CO., LTD. (CSOC) จากประเทศจีน ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยที่ใดมาก่อน ได้เสนอรายการที่ทางบริษัท “จะส่งมอบให้กองทัพเรือ” (Scope of supply) ภายใต้กรอบวงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท (รวมภาษี) ประกอบด้วย
- เรือดำน้ำ 3 ลำ
- การฝึก
- การสนับสนุน ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ท่าเรือ เครื่องมือพิเศษ (ไม่รวมถึงการปรับปรุงอู่ซ่อม)
- ลูกตอร์ปิโดลูกจริง 4 ลูก ลูกฝึก 2 ลูก
- การสนับสนุนหลังการขาย เช่น การแลกเปลี่ยนการฝึก การฝึกร่วม การสนับสนุนการช่วยเหลือกู้ภัย การสนับสนุนการซ่อมบำรุงและการใช้งาน เป็นต้น
และ
เอกสารหมายเลข 1: ส่วนของข้อเสนอเรือดำน้ำ S26T ที่ระบุรายการที่จะส่งมอบภายในงบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
ส่วนเอกสารหมายเลข 2 เป็นส่วนของเอกสาร RFO ที่ระบุ “Option เสริม” ในข้อเสนอที่หากกองทัพเรือต้องการจะต้องจ่ายเพิ่มเติม (ไม่รวมอยู่ในวงเงิน 3 หมื่น 6 พันล้านบาท) ได้แก่
- ระบบส่งกำลังบำรุงรวม (Integrated Logistic System)
- อะไหล่ 2 ปี
- เครื่องฝึก Simulator
- ลูกอาวุธเพิ่มเติม (ตอร์ปิโด เป้าลวง ทุ่นระเบิด)
- อาวุธปล่อยนำวิถี
โดยเฉพาะเรื่องอาวุธปล่อยนำวิถี ที่กองเชียร์จีนบางคนบอกมาหน้าตาเฉยเลยว่า มีมาในแพ็คเกจ ยังไม่รวมถึงเรื่องอื่นๆอีกครับ
พอได้อ่านตามบทความของสำนักข่าวฯ แล้วก็ได้แต่ปลง มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศเราครับ
เพราะผมไม่เชื่อว่า ท่านๆผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะพิจารณาแยกแยะไม่ออกว่า อะไรดี อะไรดีกว่า อะไรดีที่สุด
แต่ดูเหมือนมันมีอะไรที่มันมากกว่าที่เราๆนั่งเดากันอยู่(น่าจะเดาถูกด้วย) มาบดบังสมอง และวิจารณญาน
ของท่านๆผู้มีอำนาจทั้งหลายจนหมดสิ้น
หมดกันสำหรับผม กับความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นที่เคยมีต่อ ทร.(มากที่สุดในเหล่าทัพ)
คงได้แต่กล่าวไว้นะวันนี้ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" อยากเตือนสติว่าเวรกรรมมันมีจริงนะครับ
และพุทธสาสนาก็เป็นวิทยาศาสตร์นะครับ ผมคงยังมีเวลานั่งดูชะตากรรมของพวกท่านๆทั้งหลาย
ว่าสุดท้าย.....ท่านจะได้ผลตอบแทนอย่างไร?
ไปต่อกันที่กระทู้ใหม่ล่าสุด สำนักข่าวอิสรา ของท่าน MIGGERS ดีกว่าครับ ประเด็นใหม่มันทิ่มแทงใจดำเสียจริงๆ