~~The French offer for the A$50 billion ($39 billion) contract to build 12 submarines trumped those by Japan’s Mitsubishi Heavy Industries Ltd., Kawasaki Heavy Industries Ltd., and Thyssenkrupp AG of Germany. DCNS will build the fleet in Adelaide and the project should create about 2,800 jobs, a point Prime Minister Malcolm Turnbull made in announcing the winner Tuesday ahead of an election expected in July.
è The DCNS Shortfin Barracuda submarine.
square before the information The DCNS Shortfin Barracuda submarine. Source: DCNS
จากข่าว 12 ลำ นะครับ ไม่ใช้น้อย จะสร้างงานให้ ออสชี่ อย่างมาก ไทยเราน่าจะ ไปขอเอี่ยวด้วยนะครับ จะได้ถูกลง
......ข้อเสนอที่มาล่าสุด ของ dcn
......(..จริงๆ ...ก็คือข้อเสนอที่มาทีหลัง) หลังจากพลาดรอบแรกไปแล้ว
......DCN เสนอมา มูลค่า 39 พันล้านดอลล่าร์ (12 ลำ ขนาด 5,000 ตัน รู้สึกจะเป็นนิวเคลียร์ด้วย)
......เป็น "ตัวยอ" ของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ แต่เครื่องดีเซล
......ของญี่ปุ่น มีมูลค่า 21-22 พันล้านดอลล่าร์ (12 ลำ ขนาด 4,000 ตัน)
......ไม่ต้องเดาก็รู้....ครับ ว่าใครจะชนะ...
.......เพราะออสซี่ บอกแต่แรกแล้วว่า ต้องการดีเซล และเทคโนโลยี่ ของญี่ปุ่น
.......แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้เพราะ นักการเมือง และผลประโยชน์ ที่ดีกว่า (ถ้าเป็นการเสนอเรือพลังนิวเคลียส์ นี่ก็น่าสน)
.......งบประมาณของออสซี่่ ตั้งไว้แค่ 34 พันล้านดอลล่าร์ เท่านั้นเอง ครับ (ยกเว้นนักการเมืองจะเพิ่มให้อีก)
.......ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรดีกว่า...ของญี่ปุ่น (แต่ญี่ปุ่นจะยอมให้ออสซี่ผลิตเองทั้ง 12 ลำหรือเปล่านี่ซิ...ครับ)
.....................................................
.......ส่วนไทย ผมว่าถอยออกมาห่างๆ ดูคนรวยเค้าต่อรองกันดีกว่า...ครับ (เบี้ยน้อย หอยน้อย ต้องเจียมตัว ครับ)
.......ของญี่ปุ่น ก็ลำละ 1,000 กว่า ล้านดอลล่าร์ ปลายๆ แล้วครับ ไทยเรายังซื้อไม่ไหวหรอก...ครับ
เข้าใจว่าแบบเรือดำน้ำที่ฝรั่งเศสเสนอ เป็นแบบเรือเดียวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของเขาเอง (แต่เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลกับแบตเตอรี่รุ่น Lithium Ion ) จึงรับประกันซ่อมห้างได้เลยว่าเรือรุ่นนี้จะมีปัญหาน้อย และสมควรที่จะน้อยสุดในบรรดา 3 แบบเรือสุดท้ายที่เข้ารอบ
ที่ไม่เอาเยอรมันเพราะไม่เคยต่อเรือดำน้ำขนาด 3,000 ตัน ที่ไม่เอาญี่ปุ่นเพราะไม่เคยจัดการโครงการขายเรือดำน้ำขนาดใหญ่ขนาดนี้ ออสเตรเลียเลือกเส้นทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดครับ คือให้ความสำคัญกับ risk management มากกว่าด้านอื่น (ส่วนพี่ไทย ????)
เรื่องออปชั่นข้อเสนอทั้งหลายยังคงต้องคุยกันอีกทีแบบยาวๆล่ะครับ คำแถลงจากรัฐบาลออสเตรเลียร่างเอาไว้ก่อนแล้ว แค่ใส่ชื่อประเทศผู้ชนะเท่านั้นเอง ยังไม่มีใครบอกได้ว่าเรือทั้ง 12 ลำจะต่อเองในออสเตรเลียทั้งหมดหรือไม่อย่างไร รอดูก่อนต่อไปครับแต่คงไม่มีดราม่าหรอก
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ฝรั่งเศสขายอาวุธได้เยอะขึ้น เยอะขึ้น และเยอะขึ้น ดีลใหญ่ๆสำคัญๆพ่อเก็บเรียบ สาเหตุแรกคือสินค้าตรงกับที่ลูกค้าต้องการ สาเหตุต่อมาคือเรื่องออปชั่นทั้งหลายดีทัดเทียมหรือเหนือกว่าประเทศอื่นๆอยู่นิดๆ สาเหตุสุดท้ายต้องยกความดีความชอบให้คณะรัฐมนตรีเขาด้วย เพราะช่วยขายของแบบออกหน้าออกตาและช่วยเรื่องปล่อยเงินกู้ระยะยาวให้ด้วยซ้ำ ยอมแม้กระทั่งยกเรือรบและเครื่องบินของตัวเองให้ไปก่อนเลย และเมื่อกเกิดปัญหาก็ยังเข้ามาช่วยเต็มที่ ดูได้จากดีลเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์รัสเซียที่อียิปต์เอาไปแล้ว (เพื่อ ??)
เรื่องพวกนี้ญีปุ่นยังเขี้ยวไม่พอครับ (กระดูกคนล่ะเบอร์กัน) ขณะที่สินค้าไม่ได้ดีกว่าคนอื่นชนิดหน้ามือหลังมือ ก็ต้องกินแห้วไปก่อนชะเอิงเอย
อาวุธฝรั่งเศส เรื่อง ซื้อใจลูกค้า หรือบริการหลังการขาย ต้องพยายามให้ดีกว่าคนอื่น
ส่วนนึงจากอดีต ที่มีชื่อเสียงไม่ค่อยดีนัก
ถ้าเงินถึง ไม่เรื่องมาก ดูกรณี อียิปต์ แล้วอิจฉาเลยครับ
แต่ถ้าเขี้ยวแบบอินเดีย สงสัยคงต้อรออีกนาน (เห็นว่าดีลราฟาล จบที่ 36 ลำ ไม่รู้จบจริงป่าว กลัวมีภาคต่อ)
ส่วนตัวว่าเทคโนโลยีไม่ต่างกันแต่ประสบการณ์ต่างกัน
เพราะในกลุ่มนี้มีฝรั่งเศสเจ้าเดียวที่ต่อเรือดำน้ำขนาดใหญ่เกิน5000ตัน มาก่อน ถึงจะเป็นเรือดำน้ำนิวเคลียร์ก็เถอะ แต่ก็ถือว่ามีประสบการณ์ในการต่อเรือใหญ่