ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ SPYDER-SR จะมาพร้อมกับ ELM-2288/ER air defense radar และ 36D6 radar system สามารถติดตั้งได้ทั้งจรวดนำวิถีอินฟาเรด Python และจรวดนำวิถีเรดาร์ Derby ซึ่งคาดว่าเวียตนามจะจัดหาทั้ง 2 ชนิดมาใช้งานแต่ในช่วงแรกอาจจะเป็นแค่จรวด Python ก่อนกระมังครับ
ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลาง S-125 Pechora-2T หรือ SA-3 Goa เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นเก่าเทคโนโลยี 1960 คือนำวิถีด้วยระบบคลื่นวิทยุ มีระยะยิงไกลสุดประมาณ 35 กิโลเมตร วิทยุ จรวดทั้ง 2 ระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีโดยให้ SPYDER-SR ดูแลในพื้นที่ระดับต่ำและ S-125 Pechora-2T ดูแลท้องฟ้าระดับสุงกว่าตามความถนัดของเขา โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่ว่า เป้าหมายดังกล่าวจะเล็ดลอดมาจากระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกล S-300PMU1 และเครื่องบินขับไล่โจมตี Su-30MK2 ให้ได้เสียก่อน จรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นใหม่ทั้ง 2 ระบบจะช่วยเสริมเครือข่ายการป้องกันภัยทางอากาศของเวียตนามให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ผมเนี่ยไม่ได้จงเกลียดจงชังจรวดรุ่นไหนเลยนะครับ แต่ระบบนำวิถีคลื่นวิทยุซึ่งจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นใหม่ของทอ.ไทยก็ใช้ด้วยมันเป็นเทคโนโลยีจากยุค60 เหมือนจรวดซีแคทที่เคยติดตั้งอยู่บนเรือหลวงมกุฎราชกุมารนั่นแหละ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันเก่าแต่ยังคงใช้งานได้ ส่วนจะดีไม่ดีโดนแจมยากง่ายแแค่ไหนก็อีกเรื่อง
จรวดพื้น-สู่-พื้นนำวิถีระยะไกล EXTRA (Guided Rocket Anti-Landing) ล๊อตแรก 20 นัดถูกส่งมอบให้กับเวียตนามแล้ว อาวุธจากอิสราเอลตัวนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมมีหลายประเทศจัดหาไปแล้วและอีกหลายประเทศมองตามเป็นมัน จรวดนำวิถี (Guided Rocket) ที่ไม่ใช่อาวุธปล่อยนำวิถี (Guided Missile) ระยะยิงไกลสุด 150 กิโลเมตร มีขนาดหัวรบ 120 กิโลกรัมนำวิถีด้วยระบบ GPS และทำงานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับได้ ดูจากภาพแล้วเวียตนามจัดมาครบแหละครับ แต่ใช้แท่นยิง 2 นัดขนาดกระทัดรัดราคาไม่แพง เทียบกับของอาเซอร์ไบจันที่เป็นแท่นยิง 8 นัดแล้วฝ่ายหลังดูแน่นกว่าดูกว่าสยองเดชกว่าพอสมควร
นิดเดียวครับ ที่จัดหาจรวดทั้ง 3 นรุ่นคือกองทัพเรือนะครับ ก็ต้องเป็นหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งล่ะ ส่วน S-300PMU1 น่าจะเป็นของกองทัพอากาศกระมังครับไม่แน่ใจ
http://defense-studies.blogspot.tw/2016/02/vietnam-confirmed-purchasing-of-20.html
http://asitimes.blogspot.com/2011/11/succesfull-training-exercice-for.html
http://defense-studies.blogspot.com/2014/12/vietnam-navy-shows-guided-rocket-anti.html
http://tuoitrenews.vn/politics/31293/vietnam-buys-israelimade-air-defense-missile-system-radar
ว่าแต่ guided missle กับ guided rocket มันต่างกันยังไงครับ มีการจำแนกแบบที่ยอมรับเป็นสากลหรือไม่ เพราะผมว่าเอาจรวดมาติดระบบนำวิถี โดยทางเทคนิคมันก็เหมือนกันแล้วหรือเปล่า
ระบบจรวด EXTRA ที่เวียดนามจัดหา เคยเห็นข่าวเมื่อสองสามเดือนก่อน จัดหาเป็นระบบโครงข่าย มีแท่นยิงจรวด สถานีระบบตรวจการณ์ต่างๆพร้อมดาต้าลิงค์ ติดตั้งตามชายฝั่งตามเกาะต่างๆ ใช้ป้องกันการโจมตี ยกพลขึ้นบกก็ดูเหมาะสมกับภัยคุกคามเค้าล่ะครับ
ฟิลิปปินส์ไม่ลองจัดหาบ้าง
น่าจะเป็นการเล่นคำมั้งครับ
มิสไซล์ แปลว่า ขีปนาวุธ ขีปนะ แปล ว่าซัดทำลาย สนธิกับอาวุธ เป็น ขีปนาวุธ แปลว่า อาวุธซัดทำลาย คือเน้นว่ามันเป็นอาวุธ มีอันตราย
ร้อคเกต แปลว่าจรวด จรวดเป็นวัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงของการพ่นก้าซออกจากส่วนท้าย มีความเร็วมากๆ (คลุมเคลือ ไปถึง ซุปเปอร์โซนิคเจ็ท) จรวดอาจจะเป็นอาวุธก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ อย่าง บั้งไฟ หรือ จรวดส่งยานอาพอลโล่ 13 ไม่ใช่อาวุธ แต่ ไฮดร้า หรือ เห่าฟ้า เห่าไฟ พวกนี้เป็นอาวุธ
ไก้ดิ้ง แปลว่าการนำทาง ทาง แปลว่า วิถี หรือ การนำวิถี นั่นเอง
ไก้ดิ้ง มิสไซล์ จึงแปลว่า อาวุธซัดการนำวิถี คือ มันเป็นอาวุธซัดที่เคลื่อนที่ออกไปด้วยการนำวิถี มุ่งหมายให้เป็นอาวุธ
ไก้ดิ้ง ร้อคเก็ต แปลว่า จรวด นำวิถี คือ จรวดทีเคลื่อนที่ไปด้วยการนำวิถี มุ่งหมายด้วยความเข้าใจว่า น่าจะเป็นอาวุธ
ฟิลิปปินส์มอง EXTRA จนตาเหล่แล้วครับ ติดอยู่ว่าเป็นของอิสราเอล ยังต้องฟันฝ่าอุปสรรค์จากพ่อค้ารายอื่นอีกเยอะ
Rocket กับ Missile นี่ค่อนข้างต่างกันนะให้นึกถึงจรวดเห่าไฟกับจรวดไซด์ไวน์เดอร์ไว้เลย แต่พอเป็น Guide Rocket ผมก็งงอยู่เหมือนกัน 555
ไม่เก็ทว่าการที่เป็นสินค้าอิสราเอลจะเป็นปัญหาในการซื้อกับฟิลิปปินส์ยังไง
ตามความหมายคำว่า missile เอาจริงๆ ก็คือก้อนอะไรก็ได้ที่ถูกเขวี้ยง หรือพุ่งด้วยตัวเอง ด้วยความเร็วแรงใส่เป้าหมาย ดังนั้น missile อาจจะไม่ใช่จรวดก็ได้ จะเป็นเจ็ทอะไรก็ว่าไป แต่ส่วนใหญ่ก็คือใช้เครื่องจรวดนั่นแหละ ส่วนใหญ่ missile ณ ปัจจุบันก็หมายถึงนำวิถีด้วย
rocket ก็คือจรวดอย่างที่เข้าใจทั่วไป เผ้าไหม้เชื้อเพลิงเกิดแรงขับ และอาวุธที่ตั้งชื่อว่า rocket ส่วนใหญ่ไม่ได้นำวิถี
ผมว่าคนจะเรียกอะไรเขาก็คงตั้งชื่ออาวุธตัวเองไปเรื่อย ไม่ได้ต่างอะไรกัน
จริงๆขีปนาวุธน่าจะตรงกับ Ballistic Missile มากกว่ารึเปล่าครับ เป็นอาวุธปล่อยที่โคจรตามหลักขีปนวิธี (Ballistics)
Guided Missile ก็อาวุธปล่อยนำวิถี (ตามศัพท์บัญญัติของไทย...หรือแค่ของทร.หว่า?)
มีคนอยากขายจรวดพื้น-สู่-พื้นให้ฟิลิปปินส์เยอะยังไงล่ะครับ บางคนในกองทัพอยากให้เป็นแบบเดียวกับจรวดที่จะซื้อมาติดบนเรือรบ เช่น Harpoon (ตัวเกร็ง เหอๆๆ) หรือ Exocet อะไรทำนองนี้ บางคนก็อยากได้ที่มันติดกับ ASW เฮลิคอปเตอร์ลำใหม่ที่ซื้อมา 2 ลำได้ด้วย