เห็น USA ส่วนมากเวลาที่เขาอยากได้อาวุธใหม่ๆ จะกำหนดสเปคที่ต้องการแล้วก็ให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมประมูล ในความคิดส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะดีกว่าที่รัฐบาลจะมาทำเองเพราะเราสามารถกำหนดสเปคและวันส่งมอบได้ หากทำไม่ได้ตามสเปคหรือล่าช้าก็ยังสามารถฟ้องร้องให้บริษัทเอกชนจ่ายค่าปรับได้ หมายความว่าบริษัทเอกชนต้องดิ้นรน ทำทุกวิถีทางเพื่อพัฒนาอาวุธให้ได้ตามสเปคและส่งมอบให้ทันเวลาเพื่อไม่ให้โดยปรับ ในขณะเดียวกันหากรัฐบาลตั้งหน่วยงานราชการมาทำ ถึงจะทำไม่ได้ตามสเปคก็แค่พัฒนาไปเรื่อยๆโดยไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะแล้วเสร็จตอนไหน และไม่ต้องจ่ายค่าปรับใดๆให้รัฐบาล
ตอบง่ายๆ เลยครับว่าไม่มีตังค์ไปทำหรอก โปรแกรมของเมกาแต่ละอันราคาสูงกว่างบประมาณกระทรวงกลาโหมของเราหลายๆ ปีบวกกันเลยทีเดียว ยกตัวอย่างโครงการพัฒนาเครื่องบินรบ f-35 ประมาณมูลค่าแค่ค่าพัฒนากับวิจัยประมาณ 5.5 หมื่นล้านเหรียญ มากกว่างบฯ กลาโหมต่อปีของเราถึงสิบเท่า ยังไม่รวมค่าซื้อเครื่องบินด้วยซ้ำ
อีกข้อคือประเทศเรามีบริษัทเอกชนสักกี่รายถึงจะประมูลแข่งกันได้ นอกจากนี้วันส่งมอบที่พูดถึง เมกาก็ไม่เห็นทำได้ซํกทีครับ ล่าช้าตลอด ฟ้องเอาก็ไม่ได้ด้วยซ้ำ รัฐบาลเราหรือหน่วยงานอื่นๆ ถ้าพัฒนาเองก็มีการกำหนดตารางเวลาอยู่แล้ว จะไม่มีได้ไง เพราะขนาดเด็กประถมทำโปรเจกท์ในวิชาเรียนยังต้องมีเลย เพียงแต่มันมีดีเลย์ ซึ่งก็ห้ามไม่ได้
สุดท้ายคือปริมาณที่เราจะซื้อ บางอย่างก็คุ้มได้เช่น ปืน รถ อะไรเทือกนี้ที่ไม่แพงและซับซ้อนมากไป แต่ถ้าเป็นเครื่องบิน เรือดำน้ำ หรืออะไรที่พัฒนายากและแพงก็ไม่น่าจะคุ้ม
วิธีที่เหมาะสุดถ้าหากอยากทำเองคือไปซื้อลิขสิทธิ์คนอื่นมาต่อยอดครับ ถูกกว่าเยอะ ประเทศที่กำลังมาด้านนี้ก็เริ่มมาจากอย่างนี้ทั้งนั้น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฯลฯ
บริษัทอาวุธอเมริกาเวลาพัฒนาอาวุธในโครงการต่างๆ รัฐบาลสนับสนุนงบนะครับ พอนำมาแข่งกับบริษัทอื่นแล้วแพ้ ไม่ได้รับเลือกเขาก็ไม่เจ็บตัว เพราะเงินวิจัยจากรัฐบาล
ข้อเสียของระบบอเมริกาคือ เป้าหมายของบริษัทเอกชนคือการหาเงินหากำไร
ผลคือในทางปฏิบัติ หลายๆครั้งบริษัทเหมือนหลอกกินตังรัฐบาลซึ่งมาจากภาษีประชาชน เป็นที่รู้กันว่าพวก ผบ.เหล่าทัพหรือหน่วยงานจัดหาโครงการพวกนี้ โดยเฉพาะโครงการใหญ่ๆ พอเกษียณจะไปโผล่ที่บริษัทที่ชนะโครงการที่ตัวเองอนุมัติในฐานะที่ปรึกษาบริษัท กินเงินเดือนอื้อซ่า พูดกันตรงๆคือมีผลประโยชน์ทับซ้อน
แล้วไม่รู้เป็นไร หลายๆครั้งสัญญามักจะทำรัฐบาลเสียผลประโยชน์ ไม่รู้ว่าคนทำสัญญาตั้งใจเอื้อผลประโยชน์ให้บริษัทพวกนี้หรือเปล่า เช่นกรณีสินค้าไม่ถึงสเป็ค หรือเสียหาย (คือผลิตมาห่วยนั่นแหละ) รัฐบาลต้องจ่ายค่าซ่อม แทนที่จะได้ซ่อมฟรีๆ
หรือกรณี f-35 ไม่มีการตั้งเพดานงบฯโครงการ ก็เลยงบฯบานปลายไปเรื่อยๆ อัพเกรด (เครื่องต้องทำการอัพเกรดซอฟท์แวร์กับฮารด์แวร์หลายรอบตามกำหนดการถึงจะมีประสิทธิภาพตามที่ตั้งไว้ คืออีกหลายปี) ทีหลายพันล้านดอลล์ ล็อคฮีดก็เบิกงบเพิ่มๆ กลายเป็นโครงการจัดหาอาวุธที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์
@akekolos ไม่เจ็บตัวแล้วยังเอาสินค้าไปพัฒนาขายที่อื่นต่ออีกแน่ะ กินทั้งขึ้นทั้งล่อง
อุตสาหกรรมอาวุธบ้านเราค่อนข้างถือเป็นสิ่งควบคุม และปิดมากครับ ไม่ได้ติดว่าไม่อยากทำแต่ไม่อนุญาตให้ทำง่ายๆ ครับ
ผลที่ตามมาคือแทบไม่มีเอกชนทำ ที่ทำก็นับเจ้ากันได้ ไม่เชื่อลองขออนุญาตเปิดสนามยิงปืน สนามฝึก
หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องกระสุนดูสิครับ แล้วจะพบความหรรสาเรื่องใบอนุญาตระดับที่ไม่เคยเจอเลยในชีวิต