เคยได้ข่าวว่ามีการทดสอบ DTI ที่สร้างในประเทศไทยแล้วยิงได้ระยะไกล 10 km.ซึ่งระยะดังกล่าวก็ใกล้เคียงกับบั้งไฟหมื่นที่นำมาจุดและยิงในมุม 45 องศา (บั้งไฟทางไกล แข่งขันโดยวัดระยะจากจุดปล่อย) ระยะที่ยิงไปได้ประมาณ 4-6 km. หากใช้บั้งไฟ 10 ล้าน มาทำเป็นบั้งไฟทางไกลคงไปได้เกิน 20 km. จะเป็นไปได้ไหมหากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจะร่วมมือกับชาวบ้านในภาคอีสานพัฒนา DTI ต้นทุนต่ำ อาจจะเพิ่มอุปกรณ์อิเลคทรอทิคบังคับทิศทางให้มันบินไปลงเป้าหมายที่ต้องการ
จะไปร่วมมือทำไมครับ คือบัั้งไฟโดยพื้นฐานก็คือจรวดนี่แหละ แค่มาตรฐานต่ำ
ซึ่งจรวดทางทหารก็ต้องทำให้มีมาตรฐาน ทั้งความน่าเชื่อถือ ความเสถียร ประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย (ไม่ระเบิดโป้งป้างขึ้นมา หรือยิงแล้วดินปืนด้าน วิถีการบินแม่นยำ ไม่บินๆร่วงลงโคลน) ฯลฯ ซึ่งมันก็แพงตรงนี้ไงครับ จะใช้ท่อแป๊บท่อไรมาทำไม่ได้แล้ว ต้องของที่ผลิตเฉพาะ
สรุปคือการร่วมมือกันดีทีไอจะไม่ได้อะไรที่มีประโยชน์ขึ้นมาเลย ไม่ได้ได้องค์ความรู้อะไรที่เป็นประโยชน์ที่ไม่ได้มีอยู่แล้ว
เราก้าวไป 10 ก้าวแล้ว
แล้วจะถอยกลับไปก้าวที่ 1 ใหม่เพื่ออะไรครับ
อย่าบอกว่าความแม่นยำต่ำกว่าเลยครับ เรียกว่าไม่มีความแม่นยำเลยดีกว่า
นอกจากนี้บั้งไฟยิงไปก็กลายเป็นกระบอกเปล่าๆ ร่วงลงมา ไม่ได้มีดินระเบิดที่จะไปทำความเสียหายให้คู่ต่อสู้
ที่ทุกๆ คนกำลังพยายามจะบอกอยู่ คือ ดีทีไอทำบั้งเฟงเองได้ครับ ไม่ต้องไปศีกษาจากชาวบ้านที่ทำบั้งไฟ แต่คำถามคือจะทำไปเพื่ออะไร เพราะไม่มีคุณค่าทางยุทธการเลย รังแต่จะเป็นภาระที่จะระเบิดเข้าหน้าตัวเองตอนยิงครับ อาวุธต้องการความเสถียร ความเชื่อถือได้ด้วยครับ
ดีทีไอซื้อท่อแป๊บมาอัดดินปืนเป็นแน่นอน แต่กองทัพเราก็ไม่ได้จนขนาดต้องไปเอาบั้งไฟมารบ เพราะราคาปืน ปลย กระบอกนึงบวกกระสุนก็คงไม่ได้ถูกกว่าบั้งไฟเท่าไร
ถ้าจะเอาถูกๆ สู้ยิงปืนครกเถอะครับ เล็กกว่า เบากว่า ตั้งยิงกับเก็บได้รวดเร็วฉับไว ระยะไม่ไกลแต่สามารถเล็งทิศทางได้อยู่ บั้งไฟยิงไปบางทีลงหัวตัวเองบ้าง ระเบิดตายคาแท่นบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง คือบังคับทิศทางอะไรไม่ได้เลย แถมกว่าจะยิงออกทีละลูก ควันฟุ้งไปทั่ว ไม่เป็นอันรบเลย เห็นแล้วนึกว่ากำลังปล่อยม่านควันพรางข้าศึกขณะล่าถอย (ฮา)
ถ้าจะบอกว่าเอาบั้งไฟมาพัฒนาให้มีความปลอดภัย ใช้วัสดุที่ดีกว่าไม้ไผ่หรือท่อแป๊บ ไม่ระเบิดใส่คนยิงเอง มีดินระเบิดด้วย ไม่ใช่มีแต่ดินขับอย่างเดียว มีระบบชนวน มีครีบเพื่อควบคุมทิศการยิง มันก็คงกลายเป็นจรวดธรรมดา ราคาธรรมดา ไม่ได้ถูกเป็นบั้งไฟ ซึ่งดีทีไอก็ทำได้อยู่แล้วอีกน่ะสิ
ก็ DTI1 ไง และจรวดหลาดลำกลองไง ถูกกว่า บั้งไฟ 10 ล้าน อีก การทำงานเหมือนกันอนุภาพร้ายเเรงกว่าอีก ประเทศไทยผลิตใช่เอง
ผมว่ากำลังจะไปเสนอ โครงการ เครื่องบินบังคับเด็กเล่นติดระเบิด ระยะทำการ 100เมตร กับ โคลมไฟ นำวิธี ให้ DTI ทำอยู่นะครับ
สนใจไปเสนอด้วยกันไหมครับ ฮ่าๆๆ
//ขำๆนะไม่ต้อง ซีเรียส
ถ้าพูดถึงการทำบั้งไฟ10ล้าน ผมอยากให้มันสามารถระเบิดกลางอากาศแล้วติดสารฝนเทียมไปปล่อยได้ด้วยมากว่า เอาไปทำอาวุธนะครับ
ผมว่า ร่วมมือให้บั้งไฟ 10 ล้าน อยู่ในอากาศได้สัก 6-10 นาทีสิครับ ............... เงิน เงินทั้งนั้น...........
DTI ยินดีแบ่งปันเทคโนโลยี่ ให้ผู้ทำบั่งไฟในภาคอีสาน นำไปพัฒนาต่อยอด ทำ DTI ต้นทุนต่ำครับ...เอาไปเลยครับ
(จะได้ช่วยกันทำไง.....ครับ) เอาไปเลยครับ...ให้ 2 อัน
"เครื่องยนต์จรวด..ครับ" "เครื่องยนต์จรวด" ขายเงินสดครับ ไม่มีเงินผ่อน....ครับ
หากประเทศของท่าน ไม่ปิดการค้าขายกับเรา "ชาวรัสเซียน" เรายินดี จำหน่ายให้ท่าน พร้อมบริการจัดส่ง...ถึงบ้าน ครับ
มีขนาดให้เลือกใช้ ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 220 ม.ม. จนถึง 30,000 ,ม.ม. ขึ้นไป ตามความต้องการของลูกค้า ..ครับ
ถ้าอยากให้จรวดไปได้ไกล แค่ 10 กิโลเมตร ก็ใส่เชื้อเพลิงลงไปน้อยๆ หน่อย แค่เท่านั้นเอง...ครับ
ดีทีไอ น่าจะซื้อไปใช้นะครับ เครื่องยนต์จรวดหน่ะของโซเวียต เผื่อยิงไกลขึ้น................ ........... ครีบบังคับนั้น บั้งไฟใช้ไม่ได้ครับ กติกาให้ใช้หาง ....... เครื่องยนต์จรวดนั้น เห็นท่อทางมั้ยครับ ทราบมั้ยครับ ว่ามันใช้เชื่อเพลิงอะไร บั้งไฟใช้เชื้อเพลิงแข็งครับ ..............
เพิ่มเติมนะครับ ขณะที่เรานั่งทับอยู่บนเทคโนโลยี่ เสพและใช้ พร้อมประกาศ้เหมือนรู้จักมัน..... ถามจริงๆนะครับ ........... ที่จริงแล้ว แต่ละศาสตร์แต่ละสาขารู้กันจริงเหรอ ???
หลายคนบอก ดีทีไอ โคตรเจ๋ง ..... ถามหน่อย มันเจ๋งยังงัย???? (อย่าพึ่งไปเปิดตำรานะครับ) ......................... หลายคนเห็นบั้งไฟแต่อ้อนแต่ออก บางคนทึ่งอ้าปากค้าง ................ บางคน เฉยๆ บั้งไฟก็คือบั้งไฟ มันก็แค่กระบอกไม้ไผ่ ใส่ดินปืน ด้วยช่าง ป.4 จุดๆ ให้ลอยขึ้น.................... พวกนี้ สมอง โตด้านเดียว ................... คุณลองมองด้วยภูมิพื้นปัญญา ระดับการศึกษา แล้วบวกลบด้วยงานที่ออกสิครับ คุณจะทึ่ง พอๆ กับ เอดิสันคิดค้น รังสีเอ็กซ์เรย์ มาดามคูรี่ ค้นพบวงจรชีวิตพญาติตัวตืด ที่รังไข่............
คุณรู้มั้ย บั้งไฟโบราณ แท้ๆ ใช้วิธีหลีกเลี่ยงการใหม้ของเชมเบอร์ ด้วยการ คอมบัส จากหัวลงมาหาง อึ้งสิ อึ้งๆๆๆ มี ต่อ ........
บั้งไฟโบราณ ชื่อก็บอกแล้วว่าโบราณ วัสดุศาสตร์ในยุคนั้นอาศัยสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ขณะที่บางระจันหล่อปืนใหญ่ทรงกระบอกด้วยโลหะ แต่บั้งไฟคำนึงถึงน้ำหนัก จึงใช้ไผ่ลำทะลวงปล้องเป็นส่วนบรรจุเชื้อเพลิงและห้องเผาใหม้ ................. ไม้ไผ่สเตร้งน้อยจึงใช้เชือกป่านพันรอบเป็นเรนซฟอรซ ส่วนปิดด้านบนเรียกเถือด ลำไม้ไผ่บรรจุด้วยเชื้อเพลิงคือดินประสิวผสมถ่านและกำมะถัน อัดแน่นแล้วปิดจุกด้านล่าง(เถือดล่าง) ช่างเจาะรูกลวง ทะลุจากบนลงมาถึงเถือดล่าง .............มีต่อ
สิ่งที่ผมอึ้งตั้งแต่แปดขวบ คือ บังไฟโบราณจุดจากส่วนบนให้ลามลงมาส่วนล่าง นั่นก็คือ หลังจากชะนวนไฟผ่านรูเถือดบน เชื้อเพลิงก็เริ่มการเผาใหม้ในแบบแกซสิฝิเคชั่น....... แก้ซส่วนใหญ่เผาใหม้ในที่อับ ถูกขับดันผ่านรูเจาะลงมาถึงเถือดล่าง แล้วสันดาปสมบูรณ์อีกครั้งที่ตรงปลายรูนั้น เกิดแรงขับดันบั้งไฟเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (ไม่มีเครื่องยนต์) ...
อีกด้านแก้ซส่วนน้อย ก็พ่นขึ้นด้านบน แล้วสันดาปอีกครั้งที่รูบน อันนี้เกิดเป็นแรงต้าน.......................... จะเห็นว่า การเผาใหม้จะเริ่มจากบนลงสู่ล่าง พร้อมๆกับขยายจากผิวภายในของรูตลอดลำ ลึกเข้าไปเรื่อยๆ ...............
ที่เป็นเช่นนี้ เกิดจากภูมิปัญญา เป็นวิธีหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการคอมบัสหรือเผาใหม้ที่ส่วนล่าง เพราะความร้อนอย่างต่อเนื่องจะไปทำลายผิวภายในไม้ไผ่ ไหม้กลายเป็นบั้งไฟตูดโบ๋ ................สิ่งที่วัดได้คือ ความเที่ยงตรงของวิถี....... บั้งไฟโบราณจะเคลื่อนตรง แม้เวลาจะผ่านไปพอสมควร การรักษาขีปณวิธียังดีอยู่ ต่างจากบั้งไฟ พีวีซี ซึ่งออกตัวแรงกว่า แต่เมื่อผ่านไปสักระยะ พลาสติคหลอมและเสียรูป ก็เสียขีปณวิถี เกิดควงสว่าน เสียงานเสียความสูง............... มีต่อ
บั้งไฟ แข่งกันที่เวลาการเกาะอากาศ ................ สิ่งที่ปารถนาจึงมี 2 อย่างนั่นคือ ขึ้นให้สูงที่สุด และ ลงให้ช้าที่สุด
ส่วนใหญ่มองแค่ขาขึ้น ..... ทำอย่างไร บั้งไฟจะขึ้นสูง....... ดินขับต้องดี อัดด้วยความหนาแน่นพอดี ลำไม้ไผ่แข็งแรงดี ต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยระบบหล่อเย็น ( ถ้าไม่หล่อเย็น ดินขับมีแรงทางเคมีสูงๆ ก็เหมือนดินระเบิด ใหม้เร็ว ขยายตัวเร็ว มันคือดินระเบิด ...... ก่อนจุด ช่างจึงใช้ไม้ผ้าชุบน้ำโชก ทะลวงตลอดรู ให้น้ำเข้าไปชุ่มอยู่ในดินขับ ทำหน้าที่ "บัลหลาด" หน่วงไม่ให้คอมบัสเร็วเกินไป (การนำบังไฟขึ้นไปค้างร้านตากแดดนานๆ โอกาสกลายเป็นพลุจะมีเยอะ))
ขาลง ก็สำคัญ ต้องอาศัยหลัก แอโร่ไดนามิค ............ ทำไมบั้งไฟจึงใช้หาง ไม่ใช้ครีบเหมือน คคห. ข้างบน .... ตอบ ตอนลงก็เอาหัวลงตุ๊บ หน่ะสิ อย่างที่บอก แพ้ชนะวัดกันที่เวลาเกาะอากาศ ท่าลงที่ช้าที่สุดคือ ท่าลงที่มีแรงต้านมากที่สุด..... มีต่อ
ดังนั้น บั้งไฟตกลงในลักษณะระนาบ ต้องเอาพื้นมากปะทะอากาศ มันคือศิลปะ ที่ช่างทำบั้งไฟจะต้องรังสรรค์ ......................
เนื่องจาก จุดศูนย์ถ่วง แปลผันตาม นน. ที่หายไป การเลือกไม้ไผ่ ที่มีความยาว และน้ำหนักพอดี เพื่อบังคับทิศทางตอนขึ้น และคงสภาพ ไม่ถูกทำลายหักหรือคดจากความร้อนของไอเสีย เพื่อสร้างมสมดุล ซีจี ทำให้บั้งไฟขวางลำร่อนลงมาช้าๆ แบบที่เซียนเรียก บั้งไฟค้างฟ้านั้น มันเป็นโคตรงานศิลป์....... เพราะช่าง ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เรียนโมเมนต์ศูนย์ถ่วง ไม่ได้เรียนพลศาสตร์ใดๆทั้งสิ้น มันเป็น ประสบการณ์ และศิลป ล้วนๆ อย่าง ที่อาจารย์ถวัล ดัชนี บอกไว้ว่า สัมผัสมันด้วยความรู้สึก อย่าสัมผัสมันด้วยความรู้........ ....................
ถ้าศาสตร์และศิลป สมดุลย์กันแล้ว สมองจะ ปิ๊ง เหมือนกับ โธมัส อัลวา ซาดัส นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก ผู้คิดค้น ทฤษฎี สัมพัธภาพ (สำ-พัด-ทะ-พาบ) ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยเวลา และภพชาติ ตามสมการ พลังงาน เท่ากับ ความเร็วแสงคูณกันสองครั้ง คูณด้วย มวลนิวเคลี๊ยสที่หายไปหรือเพิ่มขึ้น............
แก้ใหม่ ให้อ่านง่ายขึ้นครับ...
เอิ่ม...
ป่าว แค่เล่าให้ฟัง...... ครับ ไม่ได้มีประเด็นอะไรกับท่าน...5555
หลังจากอ่าน ข้อความของท่าน กบ คบแล้ว.... ผมนึกว่าผมพาดโมเม้น อะไรไปหรือเปล่าเลยที่เดียว
และ อ่านจบแล้ว ความรู้สึกเหมือน ไอสไตน์ เข้าสิงร้างกันเลยที่เดียว ฮ่าๆๆ
(แต่ผ่านไป2นาที บัพฟาโล เข้าสิงร้างเหมือนเดิม..... )
ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับผม ท่านกบ ฮ่าๆๆ