20 เมษายน 2558 ผมได้ลงข้อมูลเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ไปรอบหนึ่งแล้ว เป็นโครงการของของสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือนะครับ ราคารวมทั้งโครงการอยู่ที่ 2,850ล้านบาท โดยเป็นราคาเรือ 2,355,000 ล้านบาท (ซื้อแบบและพัสดุ) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างเรือ480ล้านบาท และการบริหารฝึกอบรมอีก15ล้านบาท
กระทู้เก่าเข้าไปอ่านได้ครับ
วันนี้มีข้อมูลของปี 2559 เพิ่มเติมและค่อนข้างชัดเจน ในปีนี้เองกองทัพเรือได้จัดสรรงบประมาณ 2,650 ล้านบาทสำหรับเรือลำนี้รายละเอียดประกอบไปด้วย
1 จัดซื้อระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ 1,400 ล้านบาท
2 จัดซื้อระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น 360 ล้านบาท
3 จัดซื้อระบบปืนหลัก 76/62 มม. 370 ล้านบาท
4 จัดซื้อระบบปืนรอง 30 มม. 150 ล้านบาท
5 การบริหารโครงการและฝึกอบรม 370 ล้านบาท
ภาพใหญ่เหมือนกันแต่น่าจะมานะครับ
เท่ากับว่ากองทัพเรือได้ตั้งวงเงิน 2 ปีสำหรับเรือลำนี้อยู่ที่ 2,850+ 2,650 = 5,500 ล้านบาท ซึ่งก็จะรวมจรวดต่อสู้เรือรบและอาวุธทุกชนืดบนเรืออย่างครบครันพร้อมปฎิบัติการณ์ว่าอย่างนั้นเถอะ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด (คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ หรือกองทัพเรือไปดึงเงินจากยอดที่แล้วมาซื้ออาวุธ ซึ่งก็ไม่น่าเป็นไปได้เพราะค่าแบบเรือกับวัสดุก็ 2,355 ล้านบาทแล้ว) ก็นับเป็นวงเงินก้อนโตพอสมควร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าเงินบาทของเรามันอ่อนลงกว่า 3 ปีก่อนเยอะเลย เทียบราคาจากตารางท่านจูดาสปืน 76/62 มีราคาแพงขึ้นอย่างมีนัยยะ จะเป็นปืนรุ่นใหม่(Dart)ที่ยิงกระสุนต่อระยะได้หรือเปล่า อันนี้ฝากเพื่อนๆไปคิดกันเล่นๆครับ อิอิ
ชัดเจนแล้วว่าจรวดต่อสู้เรือรบมาแน่ๆ ESM และเป้าลวงก็คงตามมาด้วยอย่าง 100 เปอร์เซนต์ ปัญหาคือโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์(รุ่นพับเก็บได้ก็ยังดี)คงลำบากพอสมควร เพราะแบบเรือเดิมจากอังกฤษไม่ได้มีการเผื่อเอาไว้เลย คงต้องรอดูกันต่อไป
เพื่อนๆมีเวลาว่างอ่านอีก 2 กระทู้นี้ครับ จะได้เห็นภาพชัดเจนแจ่มแจ๋ว
แต่ถ้าคิดอีกมุมหนึ่ง โดยใช้ราคาแบบเรือท่านจูดาสเป็นตัวตั้งบวกด้วยอาวุธ จะได้ประมาณนี้
1 จัดซื้อระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ 1,400 ล้านบาท
2 จัดซื้อระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น 360 ล้านบาท
3 จัดซื้อระบบปืนหลัก 76/62 มม. 370 ล้านบาท
4 จัดซื้อระบบปืนรอง 30 มม. 150 ล้านบาท
5 การบริหารโครงการและฝึกอบรม 370 ล้านบาท
6 แบบเรือ 1,700 ล้านบาท
รวม = 4,350 ล้านบาท ตัดข้อ 5 ทิ้งจะเป็นวงเงินสำหรับเรือและอาวุธอยู่ที่ 3,980 ล้านบาท
ว่าเข้าไปนั่น เริ่มมั่วแล้วตรู รอความเห็นคนอื่นดีกว่า
เอา opv ติดอาวุธปล่อยเลยหรอครับ....? แบบนี้หมายความว่าในอนาคต จะเหลือแค่ฟรีเกตสมรรถนะสูง(รวมชั้นนเรศวรด้วย) + opv ติดอาวุธปล่อยหรือเปล่า ที่เป็นกำลังหลัก ทร มีแผนต่อชั้นกระบี่กี่ลำหรอครับ
กองทัพเรือไทยจะมีเรือฟริเกต 8 ลำแหละครับ นเรศวร 2 ลำ DSME 2 ลำ เจ้าพระยา 2 ลำ กระบุรี 2 ลำ
เรือชั้น เจ้าพระยาและกระบุรี เข้าประจำการก่อน นเรศวรไม่กี่ปีเอง ต่อจากจีนด้วยเทคโนโลยีเดียวกันก็น่าจะมีอายุการใช้งานไม่ต่างกัน เพียงแต่เรือไม่ได้ติดอาวุธทันสมัยอะไรมากมายนัก แต่ก็ยังใช้งานได้ดีมีค่าใช้จ่ายไม่มากเพราะเครื่องยนตืดีเซลล้วน อนาคตหลังจากเรือจีนทั้ง 6 ลำปลดประจำการไม่กล้าคาดเดา แต่เรือชั้นนเรศวรคงจะอยู่นานหน่อยเพราะลงทุนไปเยอะ
เห็นว่ากองทัพเรือต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรวม 8 ลำ ตอนนี้มี ปัตตานี 2 ลำ กระบี่ 1 ลำ + ต่อใหม่ 1 ลำ ก็ยังคงต้องการอีก 4 ลำครับ ส่วนจะเป็นแบบเรือกระบี่อีกหรือเปล่าก็ควรจะใช่นะ อาจจะโมมากกว่านี้หรือยังไงก็ว่ากันไป
ดีใจกับทัพเรือครับที่ เรือกระบี่ลำที่ 2 ได้สร้างสักที ยังเหลือที่ต้องสร้างอีก 2- 4 ลำ ก็อยากให้มีการพัฒนาแบบอีกหน่อยให้สมบูรณ์ โดยอาจเพิ่มความยาวเรือไปอีกให้สามารถมีโรงเก็บ ฮ. จะได้ออกไปปฏิบัติการไกลฝั่งได้เต็มที่พร้อมอากาศยาน และเผื่อที่ด้านหน้าไว้เผื่อติดจรวด VLS สักชุด เท่านี้ก็หรูสุดแล้วครับ ( ปล. หากทำจริง ก็ต่อเรือที่ติดอาวุธเต็มสัก 1 ลำ เพื่อให้มั่นใจว่าที่ออกแบบไว้ทำได้จริง)
อาวุธประจำเรือ อยากจะได้แบบสิงคโปร์ oto melara 76/62 super rapid+VL Mica หรือถ้ามีแค่ปืนเรืออย่างเดียว ก็ขอเป็น Oerlikon Millennium 35mm พลเรือจะได้มั่นใจอีกนิดเวลาออกรบ
เรือรบสิงคโปร์ทุกลำจะติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานเป็นมาตราฐานครับ อย่างเรือลำเก่าที่จะถูกแทนที่ซึ่งมีขนาดเพียง 500 ตันก็ยังติดจรวดมิสตรัลแท่นคู่ที่ด้านท้ายเรือด้วย เรือLPD Endurance Class ของเขาก็มีจรวดมิสตรัลเช่นกัน
ส่วนเรือลำใหม่ของเขาเมื่อติดจรวด VL-MICA แล้ว ก็จำเป็นจะต้องใช้ระบบอำนวยการรบที่ทันสมัยมากขึ้นและแพงขึ้น รวมทั้งต้องใช้เรดาร์ที่มีประสิทธิภาพสุงนั่นก็คือ Thales NS100 3D (เรดาร์เรือเราหนองเหน่งหนองแกละมาก)เรือสิงคโปร์ใช้ระบบอัตโนมัติเป็นหลักพลประจำเรือจึงน้อย เพราะฉะนั้นราคาเรือของเขาจะแพงมากขึ้นตามอาวุธและอุปกรณ์ที่ติดตั้ง ส่วนเรื่องมาตราฐานการต่อเรือถึงจะไม่ใช่เรือรบแท้ๆ แต่เขามีอุปกรณ์ดีกว่าทันสมัยกว่าและคนมีประสบการณ์มากกว่า เพราะฉะนั้นเรือของเขาจะมีมาตราฐานดีกว่าและใช้งานได้ยาวนานกว่าเรือเราแน่นอน
กลับมาที่เรือของเราที่ต่อเองในประเทศ ด้วยสภาพความพร้อมของอุปกรณ์และอู่ต่อเรือที่ไม่ดีเอาเสียเลย ถ้าลองกลับไปอ่านกระทู้เก่าๆที่ผมใส่มาให้ด้วยจะเห็นว่าปัญหาและอุปสรรค์เยอะมาก รอดูลำนี้ก่อนดีกว่าไหมครับว่าจะผลงานจะออกมาดีมากน้อยแค่ไหน และใช้เงินเกินงบไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร จากนั้นจึงพอจะตอบได้ถึงอนาคตของเรือ OPV อีก 4 ลำ
อย่างที่ผมเคยพูดบ่อยๆนะ ไม่ใช่นึกอยากจะติดอาวุธหรืออุปกรณ์อะไรก็ทำได้เลย ถ้าแบบเรือไม่ได้รองรับมาตั้งแต่แรกระหว่างโมเพิ่มกับเปลี่ยนแบบเรือไปเลยอย่างหลังดีกว่า ปัญหาที่ตามมาจะน้อยและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เรือหลวงกระบี่คงใส่VLSไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเรือแฝดพี่อย่าง Khareef class ก็คงไม่มีปัญหา ราคาในปี 2007 ลำล่ะ 6,800 ล้านบาท ผ่านมา 10 ปี 8,000 ล้านบาทเอาอยู่ไหมเนี่ย
ถ้าตามที่ผมไปอ่านๆมาแล้วมาสรุปใจความ คือ opv มันจะต่อตามมาตรฐานเรือพาณิชย์ครับ ดังนั้นพวกระบบรองรับความเสียหายต่างๆ จะแค่มาตรฐานเรือพาณิชย์ พวกเรือรบแท้ๆ เช่นคอร์แวต ฟรีเกต จะรองรับได้มากกว่า ระบบรองรับความเสียหายนี่คือ พวกระบบจัดการต่างๆเวลาเรือมีปัญหาเช่น น้ำเข้าเรือ ไฟไหม้ และ พวกความถึกทนของอุปกรณ์ต่างๆมั้งนะครับ เห็นว่าแค่รุปแบบการเดินท่อ สายต่างๆ ก็ต่างกัน การออกแบบอัปเฉาเรือก็ต่างกัน 55555 ผมก็อยากได้ผู้รู้มาเคลียร์ให้มันชัดเจนเหมือนกัน
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ถ้าจะมองคุณสมบัติแบบง่ายๆ ก็คือ มันคือ เรือตรวจการณ์ เท่านั้นครับ
มันไม่ใช่ เรือฟริเกต หรือ เรือคอร์เวต ที่เป็น เรือรบเต็มรูปแบบ
ปัจจุบัน ถ้าจะจัดหมวดเรือที่ใช้งานของ ทร. ก็จะเห็น เรือ OPV หรือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ของ กองทัพเรือ จำนวน 6 ลำ ด้วยกัน คือ
ซึ่ง ร.ล.ตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำใหม่ ก็น่าจะพอ วิเคราะห์ ว่า คงมาแทนที่ เรือชุดตาปี หรือ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ของกองเรือฟริเกตที่ 1 (กองเรือปราบเรือดำน้ำ) ที่ทำงานแทนอยู่ในปัจจุบัน และที่มีการติดตั้งอาวุธนำวิถีเพิ่มเติม ก็น่าจะเป็นการ ทดแทน กับเรือชุด ราชฤทธิ์ ในสังกัดกองเรือตรวจอ่าวด้วยในคราวเดียวกัน
และสำหรับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำใหม่ ที่ติดตั้ง อาวุธ นำวิถี นั้น ก็คงไม่แปลกไปจากอัตราปกติของ กองเรือตรวจอ่าว ที่จะมี เรือติดอาวุธนำวิถี อยู่ในสังกัด กองเรือตรวจอ่าว ด้วย เช่น เรือชุด ราชฤทธิ์
เลยลองทำภาพ ในความเห็นส่วนตัว พอจะมองภาพของ กองเรือตรวจการณ์ และ กองเรือฟริเกต ของ กองทัพเรือ ในอนาคต
ในแผนภาพของท่าน juldas ที่ว่า OPV ชุดใหม่ ASW นี่คือจะเป็นชั้นอื่นหรอครับ??? หรือจะยังเป็นกระบี่อยู่
แบบนั้นก็น่าเสียดายนะครับ ทร เราชอบต่อเรือชั้นละสองลำ มันทำให้มีเรือคละแบบเยอะไปหมด แต่ก็ช่วยไม่ได้ละครับ ปัญหางบประมาณเรื่องใหญ่จริงๆ
ตอนนี้ ทร. มีเรือ OPV ใหม่ 2 แบบที่เคยใช้งาน คือ เรือชั้นปัตตานีกับเรือชั้นกระบี่ ถ้าเราตัดเรื่องแหล่งที่มาของเรือ แล้วมาดูกันจริงๆว่าแบบเรือแบบไหนประสิทธิภาพเทียบกับราคาแล้วคุ้มกว่ากันก็น่าจะต่อแบบนั้นเพิ่ม เช่น ถ้าสรุปว่าแบบเรือปัตตานีดีกว่า คุ้มกว่า ก็แค่ขอซื้อแบบเรือมาต่อเองเพื่อแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพเรือ หรืออาจแก้ไขแบบเล็กน้อยๆจุดที่บกพร่อง น่าจะดีกว่าหาแบบใหม่เลยทั้งหมดเพราะเท่ากับต้องทดลองใช้อีกรอบ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีข้อบกพร่องตรงไหนอีก
เรือจีนพร้อมโซนาร์ลากท้าย Type-056T อาาาาาห์
ในความเห็นส่วนตัวครับ ถ้า สมมติ ทร. จัดหา OPV แบบ type-056 ผมขอสเปค ไม่มาก แค่มี
1. ปืน 76 ม.ม. ออโตโมโรล่า
2. ปืน 30 ม.ม. DS-30 จำนวน 2 แท่นยิง
3. ท่อยิง ตอร์ปิโด แท่น 3 จำนวน 2 ชุด
3. ระบบอำนวยการรบแบบ ร.ล.กระบี่ ลำที่ 1
4. ระบบโซนาร์ แบบหัวเรือ ระบบเดี่ยวกับ ชุด นเรศวร
5. โรงเก็บ ฮ.
รวมจำนวน 2 ลำ วงเงินน่าจะไม่เกิน ลำละ 60 - 85 ล้านเหรียญ รวมประมาณ 120 - 170 ล้านเหรียญ ต่อที่ โรงงานจีน เลย ไม่ต้องเสียเวลามาต่อที่ อู่เรือไทย
ตัวเลข สมมติ ทั้งสิ้น กรุณาอย่าเอาเป็น บรรทัดฐาน แต่ราคาเรือ เอาจาก ที่ ไนจีเรีย จัดหา ราคา 40 ล้านเหรียญต่อลำ
เวอร์ชั่นท่านจูดาสว่ามาก็ไม่เลวนะครับ ตำแหน่งปืนรองของเรืออยู่แถวหอบังคับการณ์ ทำให้ใช้เรดาร์ควบคุมการยิงร่วมกับปืนหลักได้ (เหมือนเรือหลวงกระบี่นี่แหละ แต่ควบคุมได้ทีล่ะกระบอก) จุดติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานท้ายเรือก็ถอดออก ทำเป็นโรงเก็บฮ.แบบพับได้ก็ยังดี ท่อตอร์ปิโดใส่กลางเรือตำแหน่งท่อยิงจรวดต่อสู้เรือรบก็ได้ DSQS-24d sonar ก็น่าจะใส่ไหว Kasturi class ขนาด 1,850 ตันของมาเลย์ที่ใหญ่กว่าไม่มากยังได้เลย ท้ายเรือปล่อยโล่งไว้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์บรรทุกคนก็ได้ มีเงินค่อยหาโซนาร์ลากท้ายราคาไม่แพงนักมาเสริมเอา
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมอยากเห็นประเทศเรารวมถึง ทร.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือ เพื่อพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในประเทศมากกว่า จริงอยู่ค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่าแต่ระยะยาวจะเป็นประโยชน์แก่ของประเทศในอนาคต (พม่า คือแบบอย่างในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารภายในประเทศ แม้เทคโนโลยีจะด้อยกว่าแต่เค้าก็มีความพยายามในการพึ่งพาตนเอง) ไม่อยากให้ยกเลิกโครงการพึ่งพาตนเองแบบที่แล้วๆมา แบบเรือกระบี่ หากคิดว่าไม่สามารถพัฒนาให้รบแบบ 4 มิติได้ ก็ควรหาแบบเรือที่ใกล้เคียงกัน เช่น แบบเรือชั้น krareef class ซัก 6 ลำ ก็ได้ วางแผนในระยะยาว ผมคิดว่าเพียงพอ เหมาะกับประเทศเรา แบบเรือก็ไม่มากจนเกินไป (เหมือนที่สิงคโปร์กำลังทำ OPV ซึ่งเค้าต่อถึง 10 ลำ) ไม่อยากให้คิดแต่จะซื้อแต่ของชาติอื่น หวังผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว จนแบบเรือเยอะแยะไปหมด อะไรทำเองได้ เช่น โครงสร้าง ตัวเรือ ก็อยากให้เราทำเอง ระบบอำนวยการรบ อาวุธ จะซื้อบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ก็ขอให้นำไปสู่การต่อยอดพัฒนาเองบ้าง ศักยภาพคนไทย ไม่ด้อยกว่าใคร เพียงแต่เราขาดการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงใจ จริงจัง
ปัญหา คือ เรื่อง การจัดสรร งบประมาณ ครับ...ตราบใด ที่ เรายังคงสัดส่วน ทบ. 5 ส่วน ของ ทร. 2 ส่วน ของ ทอ. 2 ส่วน อื่น ๆ อีก 1 ส่วน...
การพัฒนาอาวุธใช้งานเอง ในส่วนของ ทร. และ ทอ. เป็นไปได้ยาก ครับ...เพราะ ไม่กำหนด งบประมาณ พิจารณาจาก ความจำเป็นและการพัฒนายุทธศาสตร์...
ทั้ง ทร. และ ทอ. ก็ต้อง ขาด ๆ เกิน ๆ ไปแบบนี้ แหล่ะครับ...
ซึ่ง เมื่อมองถึง สภาพ งบประมาณที่ ทร. ได้จัดสรรแล้ว...ผมว่า...ทร. ก็บริหาร งบประมาณ ลักษณะพัฒนาความสามารถได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว...คือ พัฒนา จาก OPV เป็น OPV ติดระบบอาวุธหลัก และพัฒนาขึ้นเป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ภายในงบประมาณของ ตัวเอง...ผมว่า ได้แค่นี้ ก็ใช้ได้แล้วครับ...
ขืนให้ ทร. มานั่ง ต่อเรือ OPV เอง ทั้งหมดเลยทีเดียว...กว่าจะได้เรือครบ ก็คง ไม่ทันกับ ภัยรอบด้าน ครับ...คือ ไม่ทันใช้ นั่นเอง...เหมือนในอดีต ที่ผ่านมา...
สิงคโปร์นี่ต่อเรือมาหลายสิบปีแล้วนะครับ เพราะสมัยก่อนมีอู่ต่อเรือของอังกฤษมาเปิดกิจการอยู่บนเกาะ และต่อเรือรบขนาดเล็กถึงกลางขายหลายสิบลำคนเขาจึงมีประสบการณ์มาก ถึงจะปิดกิจการไปแล้วแต่ทิ้งอะไรต่อมิอะไรไว้มากมาย ทำให้ ST Marine เริ่มต้นได้จาก 6-7-8 เลยไม่ใช่ 1-2-3 แบบเรา
เรือ OPV ลำใหม่ของเรากำหนดส่งมอบปี 2019 ครับ ถ้าต่อเองอีก 2 ลำทันทีก็จะส่งมอบปี 2023 และ 2027 ตามลำดับไหล่
พม่าเป็นประเทศที่ปกครองด้วยทหาร+เขามีเงิน และได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากจีน+เกาหลีเหนือ ก็เลยเดินหน้าได้ไว
จะให้เราเดินหน้าไวก็ต้องมีอู่ต่อเรือรบของเอกชนขนาดใหญ่มาตราฐานจำนวน 2-3 แห่งครับ จะได้ช่วยกันต่อเรือด้วยมาตราฐานเดียวกันทำให้ส่งมอบเรือได้ในเวลาที่สมควร (เช่น 4ลำใน 6 ปี ไม่ใช่ 4 ลำใน 12 ปี) โมเดลนี้เวียตนามกำลังทำอยู่กับเรือ OPV ของเขาและอนาคตก็คงจะกับเรือคอร์เวตซิกม่าด้วย ส่วนอู่ของเราในตอนนี้มีแต่ราคาคุย พอเอาเข้าจริงมีปัญหาเยอะมาก
ยากครับยังไงก็ยังต้องซื้อเรือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเรือฟริเกตสมรรถนะสุงนี่ผมอยากให้ต่อจากนอกทั้งลำเลยนะครับ เวลามีปัญหาจะได้ไม่มีการโยนขี้ว่าเพราะเอามาประกอบในบ้านเรา
เรื่องการต่อเรือรบมันต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่มูลค่าการลงทุนสูง และเมื่อลงทุนไปแล้วต้องทำต่อเนื่อง + มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา/พัฒนาเทคโนโลยีให้แข่งขันใด้ ถ้าโครงการไม่สามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐศาสตร์ใด้ มันก็จะไม่ยั่งยืนครับ
ตามที่ท่านSuperboy ว่าสิงคโปร์ต่อเรือมานาน
Why ? เพราะมี บ. อังกฤษมาลงทุน
Why ? เพราะเห็นลู่ทางการตลาดในการซ่อมบำรุงเรือที่เดินทางผ่านไปมาในช่องแคบมะละกา
ธุรกิจเกี่ยวกับการเดินเรือมันก็ไปใด้แน่ๆ อยู่ที่ฝีมือ ของแต่ละ บ. ที่จะดึงลูกค้า/สร้างฐานในการพัฒนา ต้นกำเนิดมาจาก Strategic location
เห็นมีการคุยเรื่องเมืองท่าทวาย คอคอดกระ นั่นเป็น strategic location alteration. จะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายทรัพยากร/ทุนเกี่ยวกับการธุรกิจการเดินเรืออย่างมหาศาล
ที่ ทร ทำไป/กำลังทำอยู่ เป็นความพยายามในการบริหาร งป. และโครงสร้าง พฐ. ที่มีอย่างจำกัดให้เกิดองค์ความรู้ในการต่อเรือขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ถ้าเราอยากต่อเรือขนาดใหญ่แบบอุตสาหกรรมใด้จริงๆ มันต้องมี ultimate goal และแผนงานที่เป็นวาระระดับชาติครับ ไม่ใช่แค่ให้ ทร ไปคิดไปทำเอาเอง