http://www.janes.com/article/55843/australia-retires-adelaide-class-frigate-hmas-sydney
The Royal Australian Navy (RAN) has decommissioned an FFG 7 Adelaide (Oliver Hazard Perry)-class guided-missile frigate.
HMAS Sydney (03) was retired at its namesake city on 7 November in a ceremony attended by senior RAN and government officials, including Australian minister for defence Senator Marise Payne.
" Sydney is being decommissioned to make way for the Hobart-class guided-missile destroyers, which will provide Australia with an improved warfighting capability," said the Department of Defence (DoD) in a statement to mark the vessel's retirement.
According to IHS Jane's Fighting Ships , Sydney was built by Todd Pacific Shipyard Corporation in Seattle, US, and was commissioned into the RAN in January 1983. The ship carried one 76 mm Oto Melara main gun, launchers for anti-surface and anti-air missiles, and six 324 mm torpedo tubes for submarine prosecution. Under Project SEA 1390, Sydney had also been part of an upgrade programme, including the installation of the Mk 41 vertical launching system (VLS) and the Evolved SeaSparrow Missile (ESSM).
The DoD noted in its statement that the ship deployed off Kuwait during the 1991 Gulf War - an operation for which it received a Meritorious Unit Citation - and conducted subsequent deployments to the Middle East as well deploying to East Timor in 1999.
Sydney is the third Adelaide-class ship to be retired in the past decade. Canberra was decommissioned on 12 November 2005, while Adelaide was retired on 19 January 2008. Three other ships - Darwin (04), Melbourne (05), and Newcastle (06) - remain in service. The vessels are homeported at Fleet Base East in Sydney. Melbourne is currently on operations in the Middle East.
----------------------------------------------------------------------------------
HMAS Sydney เป็นเรือฟริเกตติดจรวดต่อสู้อากาศยาน SM-1 ชั้น Oliver Hazard Perry ของออสเตรเลียที่มีทั้งหมดจำนวน 6 ลำด้วยกัน ประมาณปี 1996-2000 ได้มีการปรับปรุงเรือครั้งใหญ่ ทั้งระบบควบคุมการยิง ระบบตรวจจับเรือดำน้ำ และจรวดต่อสู้อากาศยาน โดยได้มีการติดท่อยิงแนวดิ่ง MK-41 VLS เข้าไปด้านหน้าเรือเพื่อรองรับจรวดต่อสู้อากาศยาน ESSM อีก 32 ลูก และที่สำคัญก็คือสามารถใส่จรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกล SM-2MR ในท่อยิง MK-13ได้ด้วย (เพราะฉะนั้นน่าจะเป็น 32 SM-2MR + 8 Harpoon ใน MK-13 และ 32 ESSM ใน MK-41)
HMAS Sydney ปลดประจำการในวันที่ 7 พย. 2015 หลังเข้าประจำการ 32 ปีเต็ม เป็นลำที่ 3 ของทั้งหมดทำให้เหลือเรือประจำการอยู่อีก 3 ลำเท่านั้น เรือที่จะมาแทนที่ก็คือเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศระบบเอจิส Hobart class air warfare destroyers ที่ลำแรกสุดใกล้เสร็จเต็มทีแล้ว
ปล : OHP ของเรายังไม่เกิดเสียที แต่ของเขาปลดประจำการไปเสียแล้ว คิดว่ายังไงดีล่ะครับ หรือว่าท่านจูดาสกับท่านนีโอจะเอาเงิน 100 ล้านเหรียญไปสู่ขอมาอยู่ด้วยดี ^__^ ฮ่าๆ... เห็นห้องมันเงียบๆเลยเอามาจิ้นเสียงั้น
ลำล่ะ 100 ล้านเหรียญ ผมขอยกมือสนับสนุน 3 ลำ ฝั่งอ่าวไทย 2 อันดามัน 1
100 ล้านเหรียญนี่คือค่าเรืออย่างเดียวในสภาพเดิมๆซึ่งก็คือ hot transfer นะครับท่าน rayong แบบเดียวกับที่เราได้เรือหลวงพุทธมา เรือได้รับการปรับปรุงใหญ่มาแล้วก็จริงแต่ก็ 15 ปีผ่านมาแล้ว เพราะฉะนั้นพูดแบบคนมองโลกในแง่ร้ายหน่อย ถ้าเอาตามราคานี้ก็จะใช้เรือได้แค่5ปีเท่านั้นจากนั้นก็จอดสิ เพราะถ้าเรือมีสภาพดีจริงๆออสเตรเลียคงไม่ปลดก่อนเพื่อนแน่ แต่ถ้าอยากให้เรือประจำการได้อีก 15 ปีเต็มๆ ก็ต้องมีการ refurbished ครั้งใหญ่แบบที่อเมริกาเสนอให้เรา ราคาเดิมที่ปากีสถานเคยทำเมื่อ 8 ปีก่อนกับเรือOHP อายุ 32 ปีก็คือ 65 ล้านเหรียญในปี 2008 ผมใจดีบวกเพิ่มแค่หน่อยเดียวเป็น 70 ล้านเหรียญแล้วกัน
ทีนี้มาถึงเรื่องอาวุธ เรือติดอาวุธตามภาพเปะๆแต่ไม่มีจรวดและกระสุนปืนนะครับ เอาตามมาตราฐานทร.คือแค่พอป้องกันตัวเองได้ เริ่มจากจรวด Harpoon Block II ปี 2011ลูกละ 1.2 ล้านเหรียญ ผมบวกเพิ่มหน่อยเดียวเป็น 1.3 ล้านเหรียญ 8 ลูกก็จะได้เท่ากับ 10.4 ล้านเหรียญพอดี จรวดต่อสู้อากาศยาน ESSM 12 นัด พร้อม MK25 Quad Pack canisters 3 ชุด MK783 shipping containers 10 ชุด เทียบราคาที่เพิ่งจัดซื้อน่าจะประมาณ 22.6 ล้านเหรียญ ตอร์ปิโดเบาปราบเราดำน้ำรุ่น Mk 54 ลูกล่ะ 850,000 เหรียญจำนวน 6 ลูกเท่ากับ 5.1 ล้านเหรียญ(ออสเตรเลียใช้รุ่นนี้กับเรือลำนี้ ใช้รุ่นอื่นได้ไหมก็น่าจะได้แต่ต้องปรับปรุงโน่นนี่อีกพอตัว) กระสุนปืนขนาด 20 มม.ของฟาลังซ์ (แพงหน่อย) และขนาด 76/62 มม. รวมทั้งระบบเป้าลวง Mark 36 SRBOC และ nulka ด้วย ตีรวมอยู่ที่ 1.9 ล้านเหรียญ
ราคารวมระบบอาวุธแค่เพียงป้องกันตัวเท่านั้นทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านเหรียญพอดี บวกกับค่าปรับปรุงเรืออีก 70 ล้านเหรียญเท่ากับ 110ล้านเหรียญ นั่นก็คือลำล่ะ 210ล้านเหรียญคิดเป็นเงินไทยเทียบ36บาทต่อ1เหรียญก็คือ 7560 ล้านบาท คือราคาต่ำสุดสำหรับเรือลำนี้
แล้วถ้าต้องการติด SM-2MR หล่ะ ราคาที่ออสเตรเลียสั่งซื้อในปี 2010 จำนวน 17 นัดอยู่ที่ 46 ล้านเหรียญ ผ่านมา5ปีผมเพิ่มหน่อยเดียวเป็น 16 นัดที่ 50-55 ล้านเหรียญ ส่วนค่าซ่อมบำรุงเรืออันนี้ไม่รู้นะ แต่น่าจะแพงพอสมควรเพราะระบบ MK-13นี่ก็วุ่นวายยุ่งยากน่าดู ไหนจะเรื่องเครื่องยนต์ gas turbines ล้วนซึ่งกินน้ำมันน่าดูชมและต้องดูแลให้ดีๆด้วย ทางที่ดีควรจะหาเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือด้วยน้ำตระกูล S-70 พร้อม datalink มาใช้ด้วยเพราะจะทำให้ใช้งานระบบปราบเรือดำน้ำได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งถ้าจะให้ดีเยี่ยมที่สุดก็ต้อง 2 ลำครับ ไหวไหมนะ
ปล. แค่พอขำๆนะครับไม่ใชเรื่องจริง
ผมว่าไม่คุ้มครับ ต่อ OPV ปราบ ด. พร้อมโรงเก็บ ฮ ดีกว่าครับ เอา 76 มม หัวเรือ ,30มม 2 แท่น,แรม ,โซนาร์หัวเรีอติดโซนาร์ลากท้าย ,ตอร์ 533 มม สักชุด ค่าปฏิบัติการน่าจะถูกกว่า มีตังค์ค่อยซื้อ ฮ มาเพิ่ม อยู่ได้อีก 30 ปี ราคาไม่รวม ฮ น่่าจะราวๆหมื่นล้าน
ชั่วโมงนี้ผมเห็นด้วยกับคุณAusangi ตอนนี้เราต้องการเรือใหม่มาทดแทนเรือเก่าที่กำลังจะปลดหลายลำ และการต่อเรือในประเทศกำลังเริ่มขยับ OPVที่ต่อเองจะคุ้มต่ากว่าซื้อเรือเก่าครับ(ถึงสมรรถนะเรือจะเทียบกันไม่ได้ก็เถอะ)
ผมอยากให้มองแยกกันระหว่างความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์กับความคุ้มค่าทางทหาร คือ ด้วยจำนวนเงินลงทุนที่เท่ากัน สมมุติมีเงิน 15,000 ล้านบาท
กรณีมองความคุ้มค่าทางทหาร เน้นความสามารถทางการรบจะได้เรือฟริเกตเก่าที่มีสมรรถนะทางการรบสูง 2 ลำ แต่ใช้งานได้ไม่เกิน 20 ปี แต่เป็น 20 ปีที่ฝ่ายตรงข้ามต้องเพิ่มความระวังตัวหากจะมาสู้รบด้วย
กรณีมองความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เงินจำนวนเท่ากันจะได้เรือ OPV ใหม่ชั้นกระบี่ ที่อาจเพิ่มโรงเก็บ ฮ. จำนวนถึง 6 ลำใช้งานนานกว่า 40 ปี
คำถามคือ สมมุติเราเป็นข้าศึก ส่งเรือฟริเกต 2 ลำติดอาวุธครบทั้งจรวดโจมตีเรือ จรวดต่อสู้อากาศยาน จรวดต่อต้านเรือดำน้ำ แถมติด ฮ. ติดอาวุธได้อีก 1 ลำ จะกลัวเรือ OPV ใหม่เอี่ยมจำนวน 6 ลำไหม กลับกัน หากเราต้องเจอกับเรือฟริเกตเก่า 2 ลำเท่ากัน แต่อาวุธครบเหมือนกัน เราจะกล้าเข้ารบด้วยไหม ซึ้งเป็นผมต่อให้มีเรือ OPV มากกว่านี้ ผมคิดว่าจัดการได้สบายมาก
ต่อน่ะครับ แล้วทางออกที่เหมาะคืออะไร
ผมคิดว่า หากเราต่อเรือฟริเกตสมมรถนะสูงแล้ว 2 ลำ แล้วคิดจะต่อใหม่อีกเป็นลำที่ 3 ก็เปลี่ยนเป็นไม่สร้างลำที่ 3 แต่โยกงบไปลงที่เรือฟริเกตเก่า 1 ลำ 7500 ล้านบาท และอีก 7500 ล้านบาทไปลงที่เรือ OPV ใหม่ 3 ลำ น่าจะดีกว่า
ส่วนตัวผมยังมองว่าเรือฟริเกตมือสองราคา 200 ล้านเหรียญ แพงเกินไป น่าจะต่อราคาได้ เอาล่ะในฐานะที่ไทยเป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกันมากขอตั้งโต๊ะเจรจาเลยแล้วกันว่าออสเตรเลียเก็บไว้ก็ทำลายทิ้งไปเปล่าๆ สู้ขายไทยในราคาถูกจะดีกว่าไหม แถมการปรับปรุงก็ทำที่ออสเตรเลีย เป็นการสร้างงานให้อู่ต่อเรือในออสเตรเลียด้วย คุ้มค่าทั้งสองฝ่าย
ผมให้ราคาตาม option ท่าน Superboy ไว้ที่ 150 ล้านเหรียญก็แล้วกันครับ 2 ลำ 300 ล้านเหรียญ (11,000 ล้านบาท) เหลือเศษอีก 4,000 ล้านเอาไปลงที่เรือ OPV ชั้นกระบี่ 2 ลำ งบที่อาจไม่พออีกเล็กน้อย น่าจะเจียดจากงบตรงอื่นมาได้ ครับ ออสเตรเลียเพื่อนๆกันคงไม่ปฏิเสธ
สิ่งที่จะได้มาสมมุตินะครับ hot transfer มา งบ 15000 ล้านบาท ซื้ออาวุธติดใหม่ทั้งหมดแถมติดได้ไม่เต็มแน่ๆภายในงบเท่านี้ ได้โซนาร์เทพมาชุดหนึ่ง พร้อมระบบรองรับ SM 2 อยู่ได้เต็มที่ 15 ปี จะเป็นเรือรบแท้ๆถ้าจัดเต็มและ ต่างจาก OHP ที่ ทร.ไม่สนใจแค่ แท่นยิง MK 41 และแท่นยิง MK-13 แถมเครื่องยนต์อัตตราบริโภคมหาศาล เทียบกับ ผมต่อ OPV แบบพี่สิงค์นะครับมี VL MICAแต่เพิ่ม Harpoon + ฟาลังค์เข้าไป+โซนาร์และตอร์ปิโด อยู่ได้อีก 30 ปี ผมว่าแบบหลังคุ้มกว่าครับ น่าเกรงขามน้อยกว่าแต่อ่อนตัวทางภารกิจและค่าใช้จ่ายระยะยาวครับ ข้าศึกเข้ามาคงคิดหนักพอสมควรล่ะครับ
ถ้าได้ opv ติดอาวุธเต็มอย่างนั้นผมก็เห็นด้วยครับ ล่าสุดอ่านจาก web thaiarmforce เรือopv ลำใหม่ก็ติดอาวุธเพิ่มแล้ว แต่ขอเพิ่ม จรวดต่อสู้อากาศยาน โซนาร์และตอปิโดร์ปราบเรือดำน้ำ กับ ฟาลังค์ จะยอดเยี่ยมไปเลยครับ แต่ผมว่าอย่าใช้คำว่า opv เลยครับ ใช้ว่าเรือคอร์เวต หรือ เรือฟริเกตเบา จะดูน่าเกรงขามกว่า
ถึงOHPจะเกิดมาเพื่อเป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำก็ตาม แต่ออสซี่ปรับปรุงให้เป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศไปแล้ว ซึ่งเราจะเอาไปเทียบกับเรือOPVติดอาวุธนี่ ผมว่ามันไม่ค่อยตรงกันเท่าไหร่นา
OHP ของออสซีปลดประจำการและแยกชิ้นส่วนไปแล้ว 2 ลำ(ซึ่งเป็นลำที่ไม่ได้ปรับปรุง) HMAS Sydney เป็นลำที่ 3 หลังจากนั้นก็จะเป็นคิวของอีก 3 ลำที่เหลือ แต่ช่วงเวลาปลดประจำการจะแตกต่างกันออกไปนะครับ ขึ้นอยู่กับว่า Hobart class ที่ต่อขึ้นมาทดแทนจำนวน 3 ลำนี่จะเสร็จเร็วมากน้อยแค่ไหน ทางโน้นเขาต่อเองในประเทศและมีปัญหาเรือความล่าช้าบวกกับงบประมาณที่บานทะโร่กว่าเดิมเยอะ ส่วนตัวคิดว่า 6-8 ปีนั่นแหละครับกว่าจะครบเข้าประจำการทุกลำจริงๆ ฉะนั้นอีก 3 ลำที่เหลือก็จะประมาณ 2-3 ปีปลดประจำการ 1 ลำไรงี้ไปเรื่อยๆ
ความเห็นส่วนตัว อยากได้ลำนี้เหมือนกันนะเอามาจอดคู่เรือหลวงจักรีในภาะกิจป้องกันภัยทางอากาศ แต่ก็อยากได้แค่ลำเดียวเท่านั้นเองใส่จรวดต่อสู้อากาศยานSM-2เข้าไปเยอะๆหน่อยเท่าที่สู้ไหว (ในกรณีที่เขายอมขายเรือและเมกายอมขายจรวดด้วยนะครับ) คือถ้าซื้อจริงๆเนี่ยราคาเรือ hot transfer คงไม่น่าแพงขนาดนั้น แต่ราคาปรังปรุงเรือหรือจรวดทั้งหลายก็น่าจะใกล้เคียงตามนั้นแหละ ประมาณว่ารีบเอาเงินไปสู่ขอแล้วแล่นมาปรับปรุงในประเทศเรานี่เลย เสร็จช้าเร็วยังไงก็ไม่สำคัญนัก
เรือ BAE OPV ลำที่ 2 ของเราน่าจะออกมาตามหวยล๊อคในอดีต แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่ดีกว่ามันจะมีโรงเก็บฮ.ยังไงกันนะ
มองที่ความคุ้มค่าของเรือกับงบประมาณที่จะใช้สิครับ เรือป้องกันภัยทางอากาศจัดไม่เต็มมือ 3 ( ในแง่ของจำนวนอาวุธที่จะซื้อมาติดตั้ง)ใช้งานได้ 15 ปี แถมค่าใช้จ่ายในการออกงานแต่ละรอบสาหัส เทียบกับเรือ OPV ติดอาวุธในงบประมาณที่ใกล้ๆกัน ถึงแม้มันจะไม่ใช่เรือรบแท้ๆก็ตามแต่หลากภารกิจกว่า ผมมองว่าถ้าจะเอามาจริงๆสู้ต่อ OPV แบบนี้ดีกว่าครับแถมได้เปรียบในเรื่องจำนวนด้วย รอให้มีเงินถุงเงินถังค่อยไปถอยเรือป้องกันภัยทางอากาศแท้ๆมือ1 มาเลยดีกว่า แบบ F100 ก็ได้ครับ
ผมเห็นด้วยทั้งกรณีเรือ OHP มือสองออสเตรเลีย และ เรือ OPV ติดอาวุธครบ สำหรับผม 15 ปีถือว่านานพอสมควร ยิ่งสำหรับไทยอาจอยู่นานถึง 20 ปีก็ได้ ปัญหาหลักๆคืองบประมาณ ถ้ามีเงินน้อย รองจัดลำดับการใช้เงินให้น้อยสุดไหมครับ
1. เรือ OPV ใหม่มีการจัดงบไปแล้ว สองพันกว่าล้านแต่อาวุธยังไม่ครบทุกมิติ ก็จัดงบเพิ่มในส่วน จรวดต่อสู้อากาศยาน โซนาร์หัวเรือ ส่วน ฟาลังค์ ชุดยิงตอร์ปิโด อาจนำมาจากเรือเก่าที่ปลดประจำการไป รวมเงินคงไม่เกิน 2,000 ล้านบาท
2. เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศติด SM2 ผมขอประหยัดเงินโดยเอางบไปเพิ่มให้เรือฟริเกตที่ต่อจากเกาหลีทั้ง 2 ลำให้ยิง SM2 ได้ เอาแค่ลำล่ะ 4 นัดก่อน เพราะยังมี ESSM ต้องใช้อีก 2 cell 8 นัด เหลืออีก 2 cell ค่อยว่ากันว่าจะติดอะไรดี รวมเงินที่ต้องเพิ่ม 2 ลำ ไม่น่าเกิน 3,000 ล้าน
3. ถ้ายังมีเงินเหลือก็ไปสู่ขอ OHP ออสเตรเลียมาสัก 1 ลำ แค่ปรับปรุงคืนสภาพก็พอ จรวด Harpoon 4 ลูก เอาจากของเก่าเก็บของไทยเองน่าจะมี ฮ. ปราบเรือดำน้ำซีฮอกค์ ของเก่ามีอยู่แล้ว ส่วน ESSM 2 cell 8 ลูก ก้ไปเอาจากเรือชั้นนเรศวรทั้ง 2 ลำ เดิมมี 12 นัดต่อลำ เอามาลำล่ะ 4 ลูก รวมใน OHP จะได้ ESSM 8 ลูก เหลือซื้อเพิ่มแค่ SM2 4-6 ลูก ตีราคาประมาณ 22 ล้านเหรียญ สำหรับตัวเรือเจรจาดีๆ อาจได้เรือฟรีแต่เสียค่าปรับปรุงคืนสภาพราคาอาจอยู่ที่ 70 ล้านเหรียญ ถ้ารวมราคาเรือและอาวุธจะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญ หรือ 3,600 ล้านบาท (คิดดูน่ะครับ ถ้าเราเป็นออสเตรเลีย จะเอาไหม เรือที่ตีค่าเป็นศูนย์แถมต้องเสียเงินค่าทำลาย แต่มีคนมาขอฟรีแต่จ้างปรับปรุง 3,600 ล้านบาท เป็นเราจะเอาไหม ผมเอาน่ะครับ)
รวมทั้ง 3 โครงการ 8,600 ล้านบาท เดาๆราคาเอาน่ะครับ แต่ถ้าใช้งบเท่านี้ แบ่งจ่าย 3 ปี ผมว่าไม่น่าจะเกินความสามารถของ ทร. ครับ
เรือ OPV ไม่ใช่เรือรบแท้ๆนะครับ อย่างเรือหลวงกระบี่นี่ต้นฉบับไม่ได้ออกแบบมาเพื่อติดอาวุธมากแบบที่เรากำลังจะทำ ซึ่งถ้าอยากติดจรวดต่อสู้อากาศยานด้วยทาง BAE ก็มีรุ่นที่รองรับ เป็นเรือคอร์เวตต่อด้วยมาตราฐานเรือรบแท้ๆและราคาแพงกว่าเยอะพอสมควร ผมเอาเรือมาเลย์มาเปรียบเทียบชัดๆเลยนะครับ เรือลำนี้จากอู่ต่อเรือ DSME ใช้ชื่อว่าเรือคอร์เวต ติดอาวุธก็แค่ปืน 76/62มม และ 30มม.เท่าเรือOPVเราเลยขนาดก็ใกล้เคียงกัน แต่ระบบเรดาร์และอุปกรณ์ต่างๆทันสมัยมีราคาแพงกว่า และต่อด้วยมาตราฐานเรือรบแท้ๆ ราคาต่อลำคือ 600 ล้านริงกิต แปลงเป็นเงินไทยวันนี้คือ 4,945,554,364.14 บาท หรือ 5 พันล้านบาท(ไม่รวมจรวดและกระสุนปืน) เราใช้เรือ OPV ออกไปรบในสงครามเต็มรูปแบบไม่ได้นะครับ ความสูญเสียจะมีสุงมากกว่าความประหยัดหรือความคุ้มค่า
เรื่องระบบปราบเรือดำน้ำยุคนี้เปลี่ยนไปแล้ว จากภาพก็จะเห็นว่าเรือมาเลย์ไม่มีโซนาร์และตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ เพราะเรือเขามีขนาดไม่ใหญ่สามารถใส่ได้แค่โซนาร์ตัวเล็กระยะตรวจจับ 10-20 กม.เท่านั้น (เทียบเท่ากับเรือรบของเราในอดีตนั่นแหละ) แต่ปัจจุบันใส่ไปก็เอวังเอาไปไล่ล่าเรือดำน้ำที่ทันสมัยมากในทะเลลึกไม่ได้เลย ซึ่งถ้าจะทำภาระกิจปราบเรือดำน้ำก็จะต้องใส่โซนาร์ลากท้ายทันสมัยหน่อย จะมีระยะตรวจจับไกลมากขึ้นอย่างน้อยก็ 50 กม.ก็มีความปลอดภัยมากขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องหาโซนาร์หัวเรือขนาดปานกลางมาใส่จะมีระยะตรวจจับเพิ่มขึ้นเป็น 30-40 กม. อย่างเรือหลวงนเรศวรปรับปรุงใหม่นี่ก็ใช่ถึงจะไม่มีโซนาร์ลากท้ายแต่ยังพอเอาตัวรอดได้ดีมากกว่าเดิม
เพราะฉะนั้นการติดโซนาร์ขนาดเล็กเพื่อทำภาระกิจปราบเรือดำน้ำจึงไม่มีใครทำอีกแล้ว นอกจากชาติขนาดเล็กซึ่งไม่มีทางเลือกอันนี้ว่ากันไม่ได้ อย่างเรือมาเลย์ตามภาพถ้าเจอเตือนเรื่องเรือดำน้ำเขาก็จะถอนตัวออกมา แล้วส่งเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำแท้ๆเข้าไปแทนซึ่งพอสูสีกันหน่อย ไม่ใช่ว่ามีโซนาร์แล้วจะรอดเพราะเรือดำน้ำทันสมัยรุ่นใหม่ แมร่-งน่ากลัวอิ๊บอ๋าย
ความคุ้มค่าของเรือรบไม่ใช่อยู่ที่ตัวเลขนะครับ แต่อยู่ที่ว่าคุณจะรอดจากสมรภูมิรบได้หรือไม่และทำภาระกิจสำเร็จหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นทุกชาติคงต่อเรือOPVกันให้เกร่อแล้วสิ จะไปสร้างเรือฟริเกตติดระบบเอจิสราคาแพงแสนแพงทำไมกัน
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของเรือหลวงกระบี่ที่ทุกคนไม่สนใจ นั่นก็คือเรือทำความเร็วสุงสุดได้ต่ำกว่าความต้องการของทร.นะครับ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนเรือจะไม่ผ่านการเซ็นรับอย่างแน่นอน และถ้าเอามาแบกอาวุธโน่นนี่เพิ่มมากขึ้นเรือก็จะมีความเร็วสุงสุดน้อยลงตามลำดับ
ความเร็วสุงสุดสำคัญมากไหมผมว่าสำคัญมากทีเดียว เรือไม่จำเป็นต้องวิ่งเร็ว45น๊อตแบบสมัยก่อนแต่ก็ไม่ใช่อืดเป็นเต่ากัดยาง ในการทำภาระกิจจริงๆนี่เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ชี้เป็นชี้ตายได้เลย แล้วพ่ออ้วนลมโกรกของผมจะไหวไหมหนอไม่อยากจะคิด
ส่วนตัวผมไม่สนับสนุนการอัพOHPเอาซะเลย โดยเฉพาะลำที่อายุมากๆ
ออสซี่อัพเกรดตั้งแต่เรืออายุยังน้อย ใช้ได้นานพอสมควร(ถ้าตามมาตรฐานเขาน่ะนะ) ตอนนี้เรือล่อเข้าไปสามสิบกว่าแล้ว จะลากใช้ได้อีกกี่ปีเองครับ ผมว่าถ้ามีตังค์เหลือมาอัพเกรดเรือมือสองนะ เอาไปใช้กับโครงการเรือฟริเกตใหม่ให้มันออกมาดีๆตั้งแต่แรกดีกว่า เหอๆๆๆ
ข่าวล่าสดมากๆจากTAFบอกว่าไทยสนใจเรือคอร์เวต khareef class ซึ่งก็คือลำที่ผมเพิ่งพูดถึงไปตะกี้เองเดจาวูมาก ถ้าเป็นลำนี้โอเคครับเป็นเรีอรบจริงๆไม่ใช่ไก่กา โอมานสั่งซื้อในปี 2007 จำนวน 3 ลำวงเงิน 650 ล้านเหรียญ แปลงเป็นเงินไทยคือลำละ 7,775 ล้านบาทครับ
ถ้าทร.ซื้อเรือในปีนี้ปีหน้าอย่างน้อยก็ 8,000ล้านบาทล่ะครับ แน่นอนที่สุดไม่มีระบบตรวจจับเรือดำน้ำและตอร์ปิโดแต่อย่างใด จะเห็นได้อย่่างชัดเจนว่าเรือOPVและเรือคอร์เวตราคาต่างกันพอสมควร ซึ่งก็ไม่แปลกหรอกเพราะมันต่อกันคนล่ะมาตราฐานนี่นา แต่ khareef class ก็ใหญ่ขึ้นเยอะแบกอาวุธได้มากขึ้น ถ้าใส่ระบบตรวจจับเรือดำน้ำเข้าไปมีโซนาร์ลากท้ายรุ่นไม่น่าเกลียดซักหน่อย ก็คงเฉียด1หมื่นล้านกระมัง อาจจะพอลดราคาลงมาได้ถ้าต่อเองภายในประเทศ แต่จะประสบปัญหาเรื่องความล่าช้าหรือไม่อันนี้ไม่กล้าเดาครับ เพราะบ้านเรายังไม่มีอุปกรณ์ต่อเรือรบแบบมาตราฐานเหมือนคนอื่นเขา ต้องลงทุนตรงนี้อีกเยอะเลยถึงจะต่อเรือรบด้วยคุณภาพสุงและตรงตามเวลาได้
11/11/2558 22.15 น. ThaiArmedForce.com - แหล่งข่าว ระบุกองทัพเรือไทย กำลังให้ความสนใจ แบบเรือคอร์เวต ความยาว 99 เมตร (ระวางขับน้ำ 2,660 ตัน) ของ BAE Sytems Maritime - Naval Ships (เดิม คือ บริษัท BVT Surface Fleet)
ปัจจุบัน แบบนี้ที่อยู่ระหว่างเข้าประจำการเป็นเรือชั้น Khareef ของกองทัพเรือโอมานจำนวน 3 ลำ ซึ่งเป็นแบบที่พัฒนาต่อมาจากแบบเรือ OPV ชั้น River ที่กองทัพเรือไทยเลือกมาใช้เป็นแบบของ ร.ล. กระบี่ โดยมีความยาวมากขึ้น 9 เมตร ความกว้างเพิ่มขึ้น 0.9 เมตร และมีขีดความสามารถสูงกว่าเรือ OPV หลายด้าน โดยติดตั้งอาวุธปล่อยฯ พื้น-สู่-อากาศ VL MICA ของ MBDA 2 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง และเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ 3 มิติ SMART-S Mk 2 ของ Thales รวมทั้งมีลานจอดและโรงเก็บ ฮ. ที่รองรับ ฮ. ขนาด 12 ตัน (ฮ. S-70B หรือ MH-60S) ได้
ทั้งนี้ในอนาคตอันใกล้ กองทัพเรือไทย มีความต้องการเรือ OPV เพิ่มเติม อีกอย่างน้อย 2 ลำ (ไม่รวมลำที่อยู่ระหว่างเตรียมการสร้างนี้) สำหรับในระยะยาว กองทัพเรือน่าจะมีความต้องการเรือคอร์เวต หรือเรือฟริเกตเบา/ฟริเกตตรวจการณ์ (Patrol Frigate: PF) เพื่อทดแทน ร.ล.ปิ่นเกล้า ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ต่อไป
------------------------------------------------------------------------
ปล. เมื่อไหร่เราจะสั่งซื้อเรือฟริเกตลำที่ 2 ล่ะครับท่านภู นาทีนี้ไม่ต้องแก้แบบแล้วขอแค่ไม่แท้งก็พอ เรือหลวงพุทธ1 คงอยู่ช่วยราชการได้อีกไม่นานนัก ยิ่งสั่งช้าของก็ยิ่งแพงขึ้นเพราะซื้อแค่นิดๆหน่อยๆคงไม่ได้ราคาขายส่งแน่ >__<
งบประมาณนี่แหละครับตัวปัญหา หลายๆชาติมีการทดแทนเรือฟริเตุรุ่นเก่าด้วย OPV ติดอาวุธครับ เพื่อคงไว้ซึ่งจำนวนและความหลากภารกิจ ส่วนเอาไปรบกัน OPV ยังไงคือ OPV ครับ แต่ในความคุ้มค่าที่จะเอา OHP มือสามมา ผมมองว่ามันไม่คุ้มเลยสู้ต่อ OPV ติดอาวุธยังดีกว่าครับ ส่วนกระบี่ลำแรกไม่ขอวิจารณืมากครับ หลับตาข้างเดียวกันตรวจรับหลายยก ทั้งระบบท่อทาง สายไฟ และอีกหลายๆอย่าง เป็นตัวอย่างที่สำคัญในการต่อเรือของเราในสภาพที่อู่ต่อเรือมีศักยภาพเท่าที่เห็นครับ ส่วน คอร์เวต ใจจริงแล้วมันดีเลยล่ะครับ เล็กหน่อยแต่จิ๊ดจ๊าดกว่า OPV ติดอาวุธเยอะ หากระบบอาวุธมาเต็มครับ
ปล. เห็นข่าวอู่ DSME ไฟไหม้นะครับ แต่ไม่รู้ว่าอู่ไหนข้อมูลยังไม่ชัดเจน หวังว่าจะไม่กระทบกับเรือฟริเกตครับ
คุณausangiครับ HMAS Sydneyต่อที่USให้australiaเลยครับ ถ้าเราซื้อจะเป็นมือสองครับ ผมเข้าใจครับว่าOPVเที่ยบกับเรือฟรีเกตไม่ได้ แต่การเอาเรือเก่าที่มีoperating costสูงแถมยังไม่คุ้มกับการMod.มาใช้นี่สิ แถมในภาวะนี้ที่ปัญหางบประมาณน่าปวดหัวที่สุด รวมทั้งความพยายามที่จะต่อเรือเองด้วยแล้ว ผมมองอนาคตของOPVที่จะต่อเองมากกว่าเรือมือสอง
ถ้าได้มา ลำหรือสองลำ จะเป็นเรือที่มีความสามารถทุกด้าน มากกว่าเรือของเราที่มีทั้งหมดทันที.....
^
ไม่หรอกครับ ถ้าไม่มีลูกจรวด ไม่มีฮ.ให้มัน และไม่มีเงินค่าปฏิบัติการ