ความเดิมตอนที่แล้วผมได้พูดถึงเรือฟริเกต FFX Batch III มาบ้างในบทความเรื่อง กองทัพเรือเกาหลีใต้และกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น ---> ต้นฉบับ
และในงาน Marine Week 2015 exhibition ซึ่งจัดในเกาหลีใต้เองก็ได้มีการเผยโฉมโมเดลเรือลำนี้ให้ได้ชมกัน FFX Batch-III ถูกกำหนดให้เป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ (Anti-Air Warfare frigate) จึงได้มีการติดตั้งระบบเรดาร์รุ่นใหม่ทันสมัยที่ติดตั้งInfra-red search and track (IRST) sensors ชนิดตายตัวทั้ง4ด้านของเสากระโดงเรือ (หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่าแปะกอเอี๊ยะนั่นเอง) ระบบ Integrated Mast (I-MAST) system ของเกาหลีใต้พัฒนามาจากระบบ I-MAST ของThales ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว มาดูภาพกันเลยดีกว่าครับ
ระบบเรดาร์รุ่นใหม่ที่ติดตั้งบนเรือ พัฒนาโดย Hanwha Thales
FFX Batch III model
FFX Batch I (left) and Batch III (right)
รายละเอียดของเรือก็ยังไม่มีอะไรมากนัก ที่ชัดเจนหน่อยก็คือจะมีการติดตั้งจรวดต่ออากาศยาน K-SAAM ที่ LIG Nex1 พัฒนาขึ้นมา
จรวดรุ่นนี้มีความยาว 2.07 เมตร ระบบนำวิถีที่ระบุคือ inertial mid-course guidance and a dual microwave and imaging infrared seeker for terminal guidance จากโมเดลจะติดตั้งกับแท่นยิงK-VLSชนิด4ท่อยิงต่อ1หน่อย เกาหลีใต้จะใช้ท่อยิงK-VLSจำนวน4หน่วยสำหรับติดตั้งK-SAAM เท่ากับว่าจะมีจรวดต่อสู้อากาศยานรวมทั้งหมด16นัดต่อเรือ1ลำ (ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าFFX-III มีระบบK-VLSมากสุดได้เท่าไหร่ ถ้า32ท่อยิงส่วนที่เหลือคงไว้สำหรับจรวดร่อนหรือจรวดปราบเรือดำน้ำ) พวกเขาตั้งใจจะนำมาแทนที่จรวดRAMในอนาคต เกาหลีใต้ระบุว่าเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานระยะปานกลางแต่เอามาแทนจรวดต่อสู้อากาศยานระยะสั้น ฟังดูก็ทะแม่งๆนิดหน่อยเหมือนกันนะครับ เข้าใจว่าคงเข้ามาเสริมทัพมากกว่าเพราะเรือบางลำที่ติดตั้งจรวดRAMอยู่ก็ไม่ไ่ด้มีพื้นที่สำหรับระบบ K-VLS แต่อย่างใด ก็ว่ากันไปครับมีข้อมูลมากกว่านี้ค่อยมาคุยกันอีกที
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณครับท่าน superboy สำหรับข่าวสาร
ที่ว่าเอามาแทน SAM ระยะสั้นแบบ RAM แต่ K-SAAM มีระยะยิงอาจจะถึง 20 km. อาจจะเป็นเพราะว่า RAM block2 ที่กำลังออกมานั้นมีระยะยิงแระมาณ 20 km เช่นกัน และจรวดขนาดใกล้กันทั้งหมดจะมีระยะยิง 20-25 km ไม่ว่าจะเป็น MICA seacepior พูดง่ายๆเทรนในอนาคตมาแนวนี้ ก็บอกว่าเกาหลีเขาตามเทรนทัน
4 cell บรรจุได้ 16 นัด ก็พอๆกับ mk-41 น่าสนในะครับ
แต่โมเดลเสาเรือกอเอี๊ยะนั้นไม่สวยเลย สวยสู้ต้นฉบับไม่ได้
เรดาร์เล่นเอาไปวางแบบนั้นเลยเรอะ เล่นง่ายดีแฮะ
จากรูปที่ท่าน superboy ลงไว้ จำนวน K-VLS น่าจะเป็นแบบ 32 cell และจากข่าวคราวว่าเรือ ASW frigate ใหม่ของเรานั้นมีการแก้ไขบริเวณดาดฟ้ายกด้านหน้า และคงมีการแก้ไขหน้าตาของ superstructure ของสะพานเดินเรือและย้ายฟาลังค์ไปด้านท้ายเรือเหนือโรงเก็บ ฮ. นั้น
ทำให้ผมคิดว่า รูปร่างหน้าตาของเรือ ASW ของทร.ไทยอาจจะเป็นแนวนี้เลยก็ได้ครับ แต่เสากระโดงหน้าตาคงเหมือนเดิม ซึ่งจะดูดีกว่า batch 3 ของเกาหลี
เรด้าร์ใหม่ถ้ามีข้อมูลตามมาจะดีมากครับ ถ้าสเปกใกล้ๆ cea far หรือ APAR ก็ถือได้ว่า ทร. มีตัวเลือกในการ upgrade เรือเพิ่มขึ้น และระบบ K-VLS ของเกาหลีก็ รองรับ KM-SAM K-SAAM Hyunmoo 3 K-ASROC ทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้นว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบจากอเมริกาถ้าไม่มีทางเลือก
ปล. อยากให้เกาหลีพัฒนา KM-SAM ระยะยิง 150 Km จนc]h;เสร็จออกมาเป็นตัวเป็นตนจริงๆซะทีครับ จะได้มีทางเลือกนอกเหนือจาก SM-2
มีการพูดถึงว่าเกาหลีกำลังพัฒนาระบบเรด้าร์ใหม่ คือ sky bow M-SAM ที่เป็น AESA น่าจะใช่ตัวที่ท่าน superboy ลงรูปไว้ และพูดถึง ABM M-SAM ด้วย แสดงว่าเกาหลีคงมีการซุ่มพัฒนา KM-SAM ระยะยิงไกลและมีความสามารถระดับ anti-ballistic missile หรือ ABM ด้วย น่าสนใจมากครับสำหรับ batch 3
ถ้าเรือเกาหลีมีการพัฒนาต่อเนื่อแบบนี้ น่าสนใจครับ บอกแล้วของเกาหลีก็ไม่น่าเกลียด
จรวด K-SAAM ผมก็ยังงงๆอยู่นะครับว่าตกลงมันสเป็กไหนและใส่ในท่อได้เท่าไหร่กันแน่ แต่จากภาพนี้ชึ่งเป็นK-VLSที่ขนาดใหญ่กว่าโดยเฉพาะกว้างกว่าMK-41 VLS อยู่บ้างก็น่าจะ4ท่อยิงx4นัด=16นัดต่อ1หน่วยนะครับ และเรือก็น่าจะใส่K-VLSได้แค่4หน่วย=16 ท่อยิงเท่านั้นตามความยาวของเรือ ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรถ้าจะใส่ K-SAAM 32 นัดกับ K-ASROC 8นัด หรือถ้าทำภาระกิจAAWก็อาจจะใส่จรวดที่ท่านนีโอว่ามาเข้าไปแทน K-ASROC อันนี้ก็ว่ากันไปครับ
จากรูป-1 K-SAAM หรือ sea bow แสดง quadpack แบบ mk-41 และ 4 cell K-VLS ขนาดเล็กมีความลึกแค่ 4 เมตรกว่าๆ สั้นกว่า mk-41 SDF อีก เหมาะสำหรับติดตั้งบนเรือขนาดเล็กพื้นที่จำกัด มันน่าสนแฮะ
รูป-2 แผนภาพแสดงโร้ดแมปว่าเกาหลีจะพัฒนาระบบเรด้าร์สำหรับ KM-SAM ให้เหมือนระบบ IMAST ของ thales ผมว่ามันคือรูปของท่าน superboy ลงเอาไว้ให้เราดู ผมขอตั้งชื่อให้แล้วกันว่า K-I-MAST
อ้าวรูปที่ 2 ไม่มา 55555....5555 รูปเดียวกันเลยครับท่าน superboy แต่จากคำอธิบายในภาพ K-VLS ตัวนี้มีจนาดเล็กกว่า K-VLS ปกติครับ ยาว 2.6 m กว้าง 2.9 m ลึก 4.6 m และเป็น 4 cell เท่านั้นแต่จะมี quadpack สำหรับ K-SAAM ด้วย ทำให้ 4 cell นี้สามารถติดตั้ง K-SAAM ได้ 16 นัด
แต่ K-VLS ตัวใหม่จะมีความลึกน้อยกว่า mk-41 self defense ที่ลึก 5.3 m และเป็น 8 cell น่าจะเรียกว่า mini K-VLS มากกว่านะครับ ความลึกเพียงเท่านี้ กินพื้นที่ความลึกของดาดฟ้าเรือแค่ 1 ชั้นเท่านั้น โผล่พ้นออกมาประมาณ 2 m น่าจะสามารถติดตั้งบนเรือขนาดเล็กได้ น่าเอามา upgrade เรือชั้นกระบี่นะครับ
เอ้าลงรูปที่สองอีกที แสดงroadmap การพัฒนาระบบเรด้าร์ KM-SAM ว่าจะเป็น fix-phase array นะ แต่ภาพนี้คงเก่าไปแล้ว เพราะน่าจะเป็นหน้าตาแบบรูปที่ท่าน superboy ลงไว้ น่าจะเป็นรูปล่าสุด เห็นในเวปอื่นในเน็ตบอกว่าจะมีระยะตรวจจับไกลกว่า block แรกมาก คาดว่าตัวจรวดเองคงมีระยะยิงไกลมากขึ้นด้วย และหวังว่าตัวจรวด K-S-400 หรือ KM-SAM นั้น จะมีขนาดเล็กลง นำ้หนักน้อยลง เพราะ block แรกสุด มีขนาดและน้ำหนักพอๆกับ SM2 แต่ระยะยิงแค่ SEEM block 1 เท่านั้น
ผมขอขนานนามว่าระบบ K-I-MAST ก็แล้วกันครับ แต่หน้าตานี่รับไม่ได้เลย เด้ยเห่ยมากกกก....
อ้าว ไม่มาอีก สงสัยใหญ่ไป
ดูรูปสอง ตามลิ้งที่ให้ไปดีกว่าครับ สงสัยผมลงภาพใหญ่เกินไป http://i.imgur.com/7wRHMPU.jpg
รูป 3 แสดงแบบจรวด 4 แบบ จากซ้ายไปขวานะครับ ซ้านสุด K-SAAM รูปต่อมาทางขวา ไม่ทราบแบบจรวด รูปที่ 3 ไปทางชวาคือ KM-SAM หรือ K-S-400 นั้นเอง รูปขวาสุด ไม่ทราบแบบครับ
KM-SAM นี่ชื่อเรียกเยอะครับจนสับสน ไม่ว่าจะชื่อ cheolmae 2 หรือ cheongung หรือ M-SAM KM-SAM K-S-400 นิกเนมนี่เพียบเลย แต่เป็นการเอาแนวคิดรัสเซียมาผสมแนวคิดอเมริกันได้อย่างน่าสนใจครับ
ตามวิกิพีเดีย https://en.wikipedia.org/wiki/KM-SAM
บอกว่าเกาหลีต้องการพัฒนาระบบจรวดอีก 2 แบบที่ต่อยอดจาก cheolmae 2 คือ cheolmae 4H ที่ทำหน้าที่แบบ THAAD ของอเมริกัน โดยมีระยะยิง 150 km และ อีกระบบ คือ ABM ที่เทียบเท่ากับ patriot pac-3 โดยมีระยะยิง 100-150 km เดาจากระยะยิงของทั้งสองแบบ ขนาดจรวดคงจะเล็กกว่าเดิมได้ยาก ก็คือ มีขนาดใกล้เคียง SM 2
รูป comment ข้างบน จรวดทางขวาสุด มีระบบท่อปรับทิศทางอยู่แบบ cheolmae 2(รูระบายแก๊สเล็กๆโดยรอบใกล้ๆตรีบด้านหน้า) ดังนั้น ในตวามเห็นส่วนตัวของผม คาดว่าน่าจะเป็น cheolmae 4 H ไม่ก็ ABM
แต่ไม่เห็นเกาหลีมีระบบที่เทียบเท่า ESSM block 1 เลย อเมริกาก็กำลังออก ESSM block 2 แล้ว คาดว่าระยะยิงน่าจะไกลกว่า 55 km ไม่รู้ว่าจะเป็น active homing หรือเปล่า
หรือว่าเกาหลีจะพัฒนา K-SAAM ให้มีระยะยิงไกลขึ้นให้เหมือน ASTER 15 หรือเปล่า เพราะเส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดใกล้กัน แต่จรวดของเกาหลีมีความยาวแค่ 2 m เศษๆเท่านั้น น่าจะสามารถขยายความยาวในส่วนของ booster ออกไปได้อีกกว่า 1 m ซึ่งน่าจะให้ระยะยิงไกลใกล้ๆ ESSM block 1 ได้ครับ อันนี้ผมเดาเอานะครับ
จากภาพเป็น Chulmae-2 สเป็ครัสเซีย(ก็Almazมาช่วยทำ)ฉะนั้นเรื่องประสิทธิภาพน่าสนใจ อนาคตน่าฝากผีฝากไข้ได้
เท่าที่หาเจอตัวนี้ Cold-lunch ระยะยิง40ก.ม.ความสูง20ก.ม. พอๆกับลูก9M96 ส่วนยิงไกลกว่านี้ส่วนตัวยังไม่เจอข้อมูลตัวสำเร็จ แต่ก็คงมีระดับASTER-15 แน่ๆ
สเป็คล่ะ
ขอบคุณครับท่าน mig31
รุ่น block 2 แหง๋ ดูดีกว่าแบบแรกเยอะ น้ำหนักน้อยกว่า 9M96E แต่ระยะยิงไม่เพิ่ม ขนาดลูกใหญ่กว่า ESSM แต่เล็กกว่า SM2 แต่ถ้ารัสเซียมีส่วนร่วมในการออกแบบ งานนี้น่าเชื่อถือได้มากทีเดียว บางเวปบอกว่ามีระยะ 40 - 80 km แต่สเปกที่ท่าน MIG31 ลงไว้มีระยะ 40 km เท่าเดิม แต่จากขนาดของลูกจรวด ไม่น่าจะสามารถทำ quadpack ใส่ K-VLS ได้เสียดายมาก เลยไม่สามารถยิงได้ 4 นัดต่อ 1 cell แบบ ESSM คงต้องรอการพัฒนาต่อไปเพื่อให้ได้แแบบ ESSM ครับ
ทร. ตาดีนะครับที่แก้แบบดาดฟ้าเรือด้านหน้า ย้ายฟาลังก์ออกไปด้านหลัง คงสามารถรองรับ MK-41 หรือ K-vls ได้ 32 cell เรือใหม่เราก็จะสามารถแปลงร่างกลายเป็นฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศได้เมื่อเงินมี และมีทางเลือกมากขึ้นมากกว่าระบบของ อเมริกา-ออสเตเรีย และ ยุโรป โดยมีระบบของเกาหลีมาให้เลือกเพิ่มเติม
โสมขาวน่าจะต้องการระบบป้องกันภาคพื้นมาก่อนเป็นอันดับแรกล่ะ มีโครงการL-SAM ระยะยิง150กม. อยู่ พอๆกับระบบS-350 Vityaz เช่นกัน ซึ่งในตลาดตอนนี้มีแต่ของจีน รัสเซียและฝรั่งเศส
ส่วนทางเรือระบบจากรัสเซียคงไม่เอามาเป็นแบบเพราะขนาดใหญ่มากในขณะที่สหรัฐเล็กกว่า ยิงไกลกว่า เราอาจยังไม่ได้เห็นตัวที่จะมาแข่งกับESSM SM-2 ผลิตโดยเกาหลีเองในเร็ววันนี้
โดยส่วนตัวมองว่าจรวดต่อสู้อากาศยานระยะยิงไม่เกิน 50 กม. จรวด ESSM ยังดีที่สุดอยู่ในตอนนี้และที่สำคัญเหมาะสมกับเรามากที่สุด ส่วนถ้าต้องการจรวดที่ยิงได้ไกลกว่านั้นและไม่เลือกSM-2 ผมมองไปที่อิสราเอลครับ ทั้งนี้เนื่องมาจากมีสินค้าที่เป็นทั้งตัวจรวดก็ดี เรดาร์ควบคุมการยิงก็ดี และเรดาร์ตรวจจับเป้าหมายก็ดี ที่เป็นสินค้าผลิตออกมาจริงและขายได้จริงๆแล้วอีกต่างหาก ถ้าต้องการเข้าไปแจมโครงการร่วมกับอินเดียเลยครับรับรองว่าโครงการไม่มีวันล่มแน่ สาเหตุเพราะว่าอิสราเอลเป็นคนทำอินเดียเป็นแค่คนใช้งาน
โครงการของเกาหลีใต้ยังไงต้องรอดูกันต่อไป ผมเองก็ยังงงๆกับระบบ K-VLS ขนาดเล็กนั่นอยู่ว่า ตกลงแล้วมันใส่ได้4หรือ16นัดกันแน่ แต่ไม่ว่าจะใส่ได้เท่าไหร่เท่ากับเป็นการผูกมัดให้ใช้งานจรวดได้แค่นี้ เพราะไม่ใช้ระบบVLSมาตราฐานที่สามารถใส่จรวดได้หลากหลายแบบเหมือน SYLVER หรือ MK-41 จะยัด K-ASROC ก็ไม่ได้ไม่ค่อยปลื้มเท่าไหร่
ว่ากันตรงๆถ้าจะเอาประสิทธิภาพดีตามมาตราฐานโลก VL-MICRA และ Sea Captor น่าสนใจกว่านะ และถ้าจะเอาถูก Umkhonto ของแอฟริกาใต้เป็นมือวางอันดับ1 ในอนาคตจะมีรุ่นที่ยิงได้ไกล 60 กม.รออยู่โดยใช้ท่อเดียวกันได้ด้วยอย่างแน่นอน เรือของเราไม่ได้ใช้THALESแบบเมื่อก่อนแล้วด้วย ยังมองไม่เห็นอนาคตร่วมกันเลยแม้แต่น้อย
เคยได้ยินว่าทร.ไม่ปลื้มบริการหลังขายอิสราเอลนะครับ