|
|||
19 ตุลาคม 2558 00:22 น. (แก้ไขล่าสุด 19 ตุลาคม 2558 00:31 น.) |
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สาธารณรัฐยูเครนจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ชองกองทัพ ตั้งแสดงให้ผู้สนใจทั่วไปได้ชม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งหมดเป็นเขี้ยวเล็บ ที่ผลิตภายในประเทศ ในนั้นมีหลายชิ้นที่ออกแบบเองและประดิษฐ์เองล้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ปืนไรเฟิลแบบบุลพับ (Bullpub) รุ่นใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมี T-84 "โอปล็อต-M"และ T-64TM "บูลัต" (Bulat) ซึ่งเป็นรถถังหลักอีกครอบครัวหนึ่ง งานแสดง "แสนยานุภาพใหม่ของกองทัพ" จัดขึ้นที่กระทรวงกลาโหม ในย่านใจกลางกรุงเคียฟ โดยรัฐวิสาหกิจค้าและส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ยูโครโบรอนพร็อม (Ukroboronprom) ยังได้นำยานยนต์หุ้มเกราะลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกล้อยาง ครอบครัว BTR-3 โฉมใหม่ออกโชว์ เช่นเดียวกับยานหุ้มเกราะต่อสู้โจมตีสำหรับทหารราบ หรือ IFV (Infantry Fighting Vehicle) ยานยนต์ล้อยางเคลื่อนเร็ว ATV (All Terrain Vehicle) ที่สามารถเข้าได้ทุกพื้นที่ ซึ่งพัฒนามาติดตั้งปืนกล และ ติดตั้งระบบปืนต่อสู่อากาศยานบินต่ำความเร็วต่ำ พวกเฮลิคอปเตอร์ และโดรน อีกด้วย ในบรรดายานหุ้มเกราะ ยังประกอบด้วยรถยนต์ ที่ดัดแปลงใช้เป็นรถอำนวยการเคลื่อนที่ ติดตั้งระบบสื่อสาร กับ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ครบครัน เช่นเดียวกับรถ ATV อีกรุ่นหนึ่ง ที่ดัดแปลงติดจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง ปืนใหญ่อัตตาจรอีกรุ่นหนึ่ง และ รถบรรทุกหนักตระกูลท้องถิ่น รวมทั้ง Kraz และ อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง "มาลุค" (Malyuk) หรือ "เจ้าหนูน้อย" เป็นชื่อของไรเฟิลบุลพับ รุ่นล่าสุดที่ผลิตในยูเครน ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2548 ออกแนะนำตัว ใน IDEF 2015 (International Defence Industry Fair) เดือน พ.ค.ปีนี้ หลังเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ไม่นาน สำหรับกองทัพบก และ อีกครั้งหนึ่งในงาน Arms and Security 2015 ในกรุงเคียฟสัปดาห์ปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา กองทัพบกยูเครนทะยอยนำไรเฟิลบุลพับรุ่นนี้ เข้าประจำการ เป็นอาวุธประจำกายกำลังพล แทนไรเฟิลคาลาสนิคอฟทั้งหมด แม้ว่ามาลุคจะก่อเกิดขึ้นมา บนพื้นฐานของปืนอาก้า ก็ ตาม แต่ไม่ได้เหลือร่องรอยเดิมๆ ให้เห็นแม้ต่น้อย ต่างไปจากบุลพับรุ่นก่อนคือ "เว็บร์" (Vepr-หมูป่า) ที่ผลิตออกมาเมื่อปี 2546 โดยมีรูปลักษณ์ ราวกับใช้ชุดแต่ง ประกบลงบน AK-47 เช่นที่นิยมกันในสหรัฐ และ ต่างกับบุลพับอีกรุ่นหนึ่งคือ ฟอร์ต (Fort) 221 และ 222 ซึ่งเป็นไรเฟิลที่โคลนจากทาวอร์ (Tavor) ของอิสราเอล เพียงแต่เปลี่ยนชุดรีซีฟเวอร์ เป็นคาลิเบอร์มาตรฐานของค่ายโซเวียต/รัสเซีย มาลุคยังเป็นบุลพับไรเฟิลของยูเครน เพียงรุ่นเดียว ที่ติดรางแบบพิแคนตินนี ทั้งบนสันปืนและปลายล่าง ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้หลากหลายชนิด มาลุคสำหรับกองทัพบกยูเครน ยังคงใช้กระสุนของอาก้าทั้งสามขนาด คือ 5.45x39mm และ 7.62x39mm แต่ผู้บริหารบริษัทอินเตอร์โปรอินเวสต์ (Interproinvest) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและผลิต ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ไรเฟิลบุลพับของตน สามารถทำเป็น "โมดุลลาร์" ได้ คือ เปลี่ยนขนาดลำกล้องกับชุดยิง ให้เป็นคาลิเบอร์มาตรฐานของนาโต้ได้ . Ukraine made bullpup machine gun "Malyuk" from . .
. |
||||
2 อาวุธของยูเครนไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในย่านนี้ กองทัพบกไทยเซ็นซื้อ T-84 "โอปล็อต-M" จำนวน 49 คันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ปัจจุบันกำลังรอรับล็อตที่ 3 อีก 5 คัน รวมเป็น 15 อย่างไรก็ตาม สำหรับ T-64 "บูลัต" อาจจะเป็นเรื่องใหม่ นี่คือรถถังหลักอีกครอบครัวหนึ่ง ที่ยูเครนพัฒนาต่อมาจากยุคสหภาพโซเวียต โรงงานมาลีเชฟแห่งเมืองคาร์คิฟ เพิ่งจะเปิดสายการผลิตบูลัตฃ เมื่อไม่กี่ปีมานี้่ เพื่อใช้แทนที่ T-64 รุ่นเก่า ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ขณะเดียวกันโรงงานมาลีเชฟก็กำลังเร่งผลิต Oplot-M ออกมา เพื่อเป็นรถถังหลักตัวใหม่ ขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมลูกเล่นแพรวพราวมากขึ้น เทคโนโลยีล้ำยุคสมัย เมื่อ T-64 กลายมาเป็น "บูลัต" คุณสมบัติโดยหลักๆ ในเรื่องของเขี้ยวเล็บ แทบจะไม่มีอะไรต่างไปจากโอปล็อต-M ตั้งแต่ปืนใหญ่ 125 มม. ลำกล้องเกลี้ยง ซึ่งเป็นอีกรุ่นหนึ่ง แต่ใช้ยิงเป็นท่อยิงจรวดนำวิถี ยิงรถถังข้าศึกได้เช่นเดียวกันกับปืน 125 มม.ของ Oplot-M ติดตั้งระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาด 30 มม.อัตโนมัติ กับปืนกลขนาดเดียวกัน และ ติดตั้งเกราะปฏิกิริยาแบบ "เฉื่อย" หรือ Passive Explosive Reactive Armor ได้ ต่างกันที่เครื่องยนต์ขนาดเล็กกว่า โครงของรถทั้งคันมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักน้อยกว่า และ รัศมีปฏิบัติการสั้นกว่า โอปล็อต-M ไม่กี่มานี้ ยูเครนได้กลายมาเป็นแหล่งผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางเลือกรายใหญ่สำหรับตลาดโลก ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอะไร เนื่องจากสาธารณรัฐแหงนี้ เคยเป็นแหล่งผลิตอาวุธหลากชนิด ตั้งแต่ครั้งเป็นรัฐบริวารหนึ่งของอาณาจักรสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานหุ้มเกราะ กับรถถังหลักอีก 2-3 รุ่น ยูเครนยังเป็นแหล่งผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ เทคโนโลยีอาวุธ ที่ก้าวหน้าอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำรวจดูในภูมิภาคนี้ จะพบว่าหลายประเทศ เริ่มหันไปหายุทโธปกรณ์จากยูเครน รวมทั้งกองทัพบกไทย ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นลูกค้ารายแรกของโอปล็อต-M หากยังเป็นลูกค้ารายใหญ่ของยานหุ้มเกราะลำเลียงพลติดอาวุธล้อยาง 8x8 ของยูเครนอีกด้วย ปัจจุบันไทยมี BTR-3 ประจำการอยู่แล้วกว่า 200 คัน ขณะทีกองทัพบกพม่ามีกว่า 300 คัน จากที่สั่งซื้อทั้งหมด 1,000 คัน. |
||||
3 |
||||
4 |
||||
5 |
||||
6 |
||||
7 |
||||
8 |
||||
9 |
||||
10 |
||||
11 |
||||
12 |
||||
13 |
||||
14 |
ล่าสุดให้ข่าวปีหน้า Oplot จะเปลี่ยน FCS เป็นของตะวันตก โปแลนด์
(ล่าสุด แปล งงๆ น่าจะปรับปรุง T-72 ส่วน Oplot น่าจะได้เม็ดเงินจากต่างประเทศมาปรับปรุงสายการผลิต)
http://www.radiosvoboda.org/content/article/27313605.html